‘สดชื่นสถาน’ บริการพื้นฐานให้คนไร้บ้านเข้าถึงชีวิตประจำวันที่ดีขึ้น ผ่านการอาบน้ำ ซักผ้า และอบผ้าฟรี

ด้วยแนวคิดที่อยากให้ ‘กรุงเทพฯ’ เป็นเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน ไม่ทิ้งใครให้ต้องลำบาก โดยเฉพาะกลุ่มคนเปราะบางอย่างเด็ก ผู้พิการ ผู้สูงวัย หรือคนไร้บ้าน และเพื่อให้เมืองแห่งนี้น่าอยู่มากขึ้น ทางสำนักงานกรุงเทพมหานคร จับมือกับ ‘มูลนิธิกระจกเงา’ ร่วมกันเปิด ‘สดชื่นสถาน’ โครงการความสะอาดเพื่อคนไร้บ้าน ที่ใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฝั่งพระนคร ‘สดชื่นสถาน’ คือบริการพื้นฐานที่จะทำให้คนไร้บ้านเข้าถึงการใช้ชีวิต​ประจำ​วันได้อย่างมีคุณภาพ​มากขึ้น​ ผ่านการทำความสะอาด​และการรักษา​สุขอนามัยอย่าง​บริการซักผ้า​ อบผ้า​ หรืออาบน้ำฟรี​ ฯลฯ โดยมี ‘บริษัทบุญถาวร’ ที่มาช่วยจัดสร้างห้องน้ำสาธารณะ แบ่งเป็นห้องสุขาชาย-หญิงอย่างละ 2 ห้อง และห้องอาบน้ำชาย-หญิงอย่างละ 2 ห้อง รวมทั้งหมด 8 ห้อง เปิดให้ใช้งานทุกวัน แบ่งเป็นวันจันทร์-ศุกร์ 05.00 – 21.00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ 08.30 – 16.00 น. โดยมีแม่บ้านหลายคนที่เคยเป็นคนไร้บ้านมาก่อนคอยดูแลความสะอาดตลอดทั้งวัน และยังมีบริการรถซักอบผ้าจาก ‘Otteri’ ให้คนไร้บ้าน ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00 – 15.00 […]

‘ศิลปะบนฝาท่อ’ คืนพื้นที่ทางเดินเท้าด้วยฝีมือคนในชุมชนและนักออกแบบกลุ่มเมืองยิ้ม

การนำศิลปะเข้าไปรวมอยู่กับสิ่งเล็กๆ ที่หลายคนมองข้าม อาจเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ช่วยเพิ่มความน่าสนใจของเมืองให้มากขึ้น ยกตัวอย่าง ‘ศิลปะบนฝาท่อ’ ของประเทศญี่ปุ่น ที่หยิบเอาสถานที่หรือสัญลักษณ์ในประเทศมาออกแบบและสื่อถึงเอกลักษณ์สำคัญๆ บนฝาท่อ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจของย่านหรือเมือง จนเป็นเหมือนแบรนด์ดิงของพื้นที่นั้นๆ ที่ชวนให้นักท่องเที่ยวได้สนุกกับการเดินเท้า มองหาศิลปะตามเส้นทาง และใช้เวลาเอนจอยกับระหว่างทางมากขึ้น ในขณะเดียวกัน กรุงเทพฯ เองก็เคยมีศิลปะบนฝาท่อในย่านคลองโอ่งอ่างมาก่อนหน้านี้ และในตอนนี้มีอีกหนึ่งพื้นที่อย่างบริเวณคลองผดุงกรุงเกษม ที่เราอาจนึกไม่ถึงว่านอกจากตลาดโบ๊เบ๊ที่เป็นสถานที่ใกล้เคียงแถวนั้นแล้ว จะมีสิ่งที่น่าสนใจอย่างฝาท่อสีสันสดใสวางเรียงรายตามทางเท้าด้วย คอลัมน์ Art Attack ขออาสาพาทุกคนไปเดินชมฝาท่อที่ถูกแต่งแต้มด้วยศิลปะจากจินตนาการและการใช้ชีวิตของเด็กๆ ที่อาศัยอยู่ในบริเวณคลองผดุงกรุงเกษม ผ่านความร่วมมือระหว่าง ‘กลุ่มเมืองยิ้ม’ และกรุงเทพมหานคร ที่ต้องการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้ดีขึ้น และคืนพื้นที่ทางเท้าให้กับผู้คนในย่านได้ออกมาใช้ชีวิตร่วมกันมากกว่าเดิม กลุ่มนักออกแบบที่อยากมอบรอยยิ้มให้ผู้คน ‘กลุ่มเมืองยิ้ม’ เกิดจากการรวมตัวกันของสามสมาชิกที่ทำงานด้านการออกแบบหลากหลายแขนง ได้แก่ ‘ดิว-วรรธนะ ทรงเพ็ชร์มงคล’ นักวิจัยผังเมืองและนักออกแบบ, ‘ธาม ศรีเพริศ’ นักออกแบบภายใน และ ‘ลอนทราย กังขาว’ สถาปนิก ทั้งสามสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีมาด้วยกัน แต่ด้วยความที่เรียนคนละสาขา ทำให้ตลอดระยะเวลาการเรียนพวกเขายังไม่เคยมีโอกาสร่วมงานกันมาก่อน หรือกระทั่งเข้าสู่ช่วงทำงานแล้วทั้งหมดก็ยังไม่เคยลงมือทำโปรเจกต์ใดๆ ด้วยกันเลย ถึงจะเรียนคนละสาขา และต่างคนต่างมีหน้าที่การงานที่ถนัดของตัวเอง ทั้งสามคนก็มีความสนใจร่วมกันอยู่ นั่นคือ การสร้างพื้นที่อยู่อาศัยที่สามารถมอบรอยยิ้มให้กับผู้ใช้งาน ซึ่งนำมาสู่การรวมตัวกันและเป็นที่มาของชื่อกลุ่มเมืองยิ้มที่เริ่มต้นขึ้นในช่วงเดือนกันยายน ปี […]

นักวิจัยเมืองชี้วิกฤตเมืองในอนาคตจากปัญหามลพิษและภาวะโลกร้อน จะทำให้คนอยู่ยาก-ลำบาก-เครียด

เมื่อไม่นานนี้ มีการจัดเสวนา ‘MQDC Sustainnovation Forum 2022 เมืองเปลี่ยน คนต้องปรับ รับมือวิกฤตอย่างไร’ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่าง 4 องค์กรสำคัญด้านการพัฒนาเมือง ได้แก่ FutureTales LAB, RISC, Creative Lab และ Unisus-EEC โดยได้เปิดเผยข้อมูลวิจัยสภาพเมืองแห่งอนาคตที่มีแนวโน้มน่าเป็นห่วง พร้อมระดมวิธีการแก้ปัญหาจากหลายภาคส่วนเพื่อเตรียมรับมือวิกฤตต่างๆ และร่วมกันขับเคลื่อนกรุงเทพมหานคร ในฐานะ Resilient City ไปสู่ทิศทางที่เหมาะสมและยั่งยืนมากที่สุด  ดร.การดี เลียวไพโรจน์ ผู้อำนวยการบริหาร ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา FutureTales LAB ได้นำเสนอการคาดการณ์อนาคตเมืองปี 2050 โดยพิจารณาจากข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก อัตราการใช้พลังงาน และพฤติกรรมของผู้คน พบว่า โลกในอนาคตจะเต็มไปด้วยมลภาวะที่ทำให้การอยู่อาศัยของมนุษย์ยากกว่าในปัจจุบันอย่างเทียบไม่ติด เนื่องจากอุณหภูมิทุกแห่งจะสูงขึ้นเฉลี่ย 1.5 องศาเซลเซียส ทำให้น้ำทะเลหนุนสูงขึ้นมากกว่า 1 เมตร ผู้คนมากกว่า 200 ล้านคนต้องย้ายถิ่นฐาน และกว่า 400 ล้านคนต้องประสบภัยพิบัติจากการขาดแคลนน้ำและอาหาร รวมถึงภัยแล้งสุดขั้ว ซึ่งประเทศไทยเองก็หนีวิกฤตเหล่านี้ไม่พ้นแน่นอน เพราะการอพยพเคลื่อนย้ายประชากรและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในปัจจุบันล้วนเชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก […]

กทม.เปิดโครงการ #ไม่เทรวม ชวนแยกขยะก่อนทิ้งแบบง่ายๆ แค่แยกขยะทั่วไปและเศษอาหาร

การแยกขยะไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ทำเองได้ไม่ยาก กับนโยบายใหม่ของกรุงเทพมหานครอย่าง #ไม่เทรวม โครงการที่ชวนประชาชนทุกคนเริ่มต้นแยกขยะแบบง่ายๆ ก่อนทิ้ง เพื่อรณรงค์การแยกและการจัดการขยะอย่างถูกวิธี มีประสิทธิภาพ รวมถึงสร้างความเคยชินกับการแยกขยะให้แก่ผู้คนด้วย  วิธีแยกขยะตามนโยบายใหม่นี้ทำได้ง่ายแสนง่าย เพียงแค่แยก ‘ขยะทั่วไปหรือขยะแห้ง’ ลงใน ‘ถุงดำ’ และ ‘ขยะเศษอาหาร’ ลงใน ‘ถุงใสหรือถุงเขียว’ ซึ่งบนรถขยะเองก็จะติดตั้งถังขยะสำหรับใส่ขยะเศษอาหารแยกไว้ด้วย มั่นใจได้เลยว่าขยะที่ทุกคนช่วยกันแยกเอาไว้จะไม่ถูกเทรวมกันที่ปลายทาง  การแยกขยะแบบนี้จะช่วยให้จัดการกับขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการส่งขยะไปรีไซเคิล, ทำปุ๋ยหมัก หรือทำเชื้อเพลิง RDF (Refuse Derived Fuel) และช่วยลดการฝังกลบขยะที่จะก่อให้เกิดปัญหาทางสภาวะแวดล้อมอื่นๆ ตามมา โดยโครงการ #ไม่เทรวม นี้จะเริ่มเส้นทางทดลองใน 3 เขตนำร่อง ได้แก่ เขตหนองแขม เขตปทุมวัน และเขตพญาไท แต่ไม่ว่าจะอาศัยอยู่ที่เขตไหนหรือจังหวัดใด ทุกคนสามารถเริ่มแยกขยะแบบง่ายๆ ตามแนวทางของ กทม. ได้ทันที ไม่แน่ว่าในอนาคต ประเทศไทยอาจเปลี่ยนให้การแยกขยะกลายเป็นความรับผิดชอบและวิถีชีวิตของประชาชนอย่างที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นหรือประเทศอื่นๆ ก็เป็นได้ ที่สำคัญ กรุงเทพมหานครยังมีคลิปวิดีโอสั้นๆ ที่จะช่วยให้เข้าใจการแยกขยะฉบับมือใหม่กันด้วย ใครสนใจเข้าไปดูได้ที่ bit.ly/3x0qPdJ และ bit.ly/3CWuoW2 ติดตามรายละเอียดโครงการ #ไม่เทรวม และกิจกรรมอื่นๆ […]

‘กัลชนา เนตรวิจิตร’ พนักงานกวาดถนน ผู้เป็นฟันเฟืองของเมืองที่มากกว่าแค่ทำความสะอาด

หากพูดถึงฟันเฟืองเล็กๆ ที่ทำให้เมืองของเราน่าอยู่ขึ้น คุณจะคิดถึงอะไร คำตอบแรกสำหรับเราที่ผุดขึ้นมาในหัวคงเป็นบรรดาพี่ๆ ที่ทำงานบริการใน 50 เขตทั่วกรุงเทพฯ ยิ่งในเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยขยะจากใบไม้กับเศษกิ่งไม้ที่ร่วงหล่น ไปจนถึงเศษซากอาหาร ถุงขนม กระดาษ ขวดพลาสติก หรือขยะชิ้นเล็กๆ อย่างก้นบุหรี่กับหมากฝรั่งที่เคี้ยวแล้วจากฝีมือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง ยิ่งทำให้ ‘พนักงานกวาดถนน’ ทวีความสำคัญขึ้นไปอีก วันนี้เราจึงเดินทางมายังเขตจตุจักรเพื่อพูดคุยถึงเรื่องราวชีวิตของ ‘แก้ว-กัลชนา เนตรวิจิตร’ ลูกจ้างชั่วคราวพนักงานทั่วไป (กวาด) ที่ก่อนหน้านี้เธอออกสื่อมาแล้วมากมาย เนื่องจากมีโอกาสได้รับประทานอาหารกับผู้ว่าฯ กทม. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ หลังจากเหตุการณ์ช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนหอวังที่โดนโจรจี้  เราหวังว่าถ้อยคำต่อจากนี้จะทำให้ทุกคนเข้าใจถึงการทำงาน ความเป็นอยู่ ทั้งในเรื่องของรายได้และรัฐสวัสดิการของอาชีพพนักงานกวาดถนนมากขึ้นอีกหน่อย แล้วทุกคนจะรู้ว่าคนทำงานตัวเล็กๆ ที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันมีความสำคัญต่อเมือง และต้องการคุณภาพในการใช้ชีวิตไม่ได้ยิ่งหย่อนไปจากอาชีพอื่นๆ เลย พนักงานกวาด ที่ไม่ได้มีหน้าที่แค่กวาด ในขณะที่ชีวิตของใครหลายคนเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้า แต่ชีวิตทุกวันของแก้วกลับเริ่มต้นขึ้นในยามที่ดวงจันทร์กำลังลาลับไป “เราตื่นนอนออกจากบ้านประมาณตีสี่ครึ่ง มาถึงก็ไปเอาไม้กวาดกับบุ้งกี๋มากวาดตรงจุดรับผิดชอบที่เขากำหนด จากนั้นมีเวลาพักช่วงแปดถึงเก้าโมงหนึ่งครั้ง ก่อนกลับมากวาดรอบสอง และนั่งอยู่บริเวณที่รับผิดชอบเผื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน” ‘เหตุการณ์ฉุกเฉิน’ ที่ว่ารวมตั้งแต่เรื่องเล็กๆ อย่างขยะปลิว ไปจนถึงต้นไม้หัก น้ำท่วม หรือรถยนต์ที่ผ่านไปมาทำน้ำมันหก ทั้งหมดนี้อยู่ในความดูแลของพนักงานกวาดถนนทั้งนั้น  แม้ขึ้นชื่อว่าเป็นพนักงานกวาดถนน แต่หน้าที่การงานไม่ได้ทำแค่กวาดอย่างที่ใครหลายคนเข้าใจ เพราะควบรวมไปถึงการดูแลความเรียบร้อยทุกอย่างในพื้นที่นั้นๆ ด้วย […]

ใช้เวลา 3 นาที ร่วมทำแบบสำรวจ พัฒนาการเข้าถึงข้อมูลเปิดของกรุงเทพฯ ผ่าน BMA Open Data Survey

ใช้เวลา 3 นาที ร่วมทำแบบสำรวจพัฒนาการเข้าถึงข้อมูลเปิดของกรุงเทพฯ ผ่าน BMA Open Data Survey  หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องการตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานรัฐของกรุงเทพฯ หรือเข้าถึงข้อมูลออนไลน์ เพื่อศึกษาและนำไปใช้ประโยชน์ กรุงเทพฯ เปิดโอกาสให้คุณเสนอความคิดเห็นต่อประเด็นนี้แล้ว ‘BMA Open Data Survey’ เป็นแบบสำรวจขอบเขตความสนใจและมุมมองต่อการเข้าถึงข้อมูลเปิดของกรุงเทพฯ เพื่อนำไปปรับปรุงมาตรฐานและพัฒนาการทำงานของสำนักกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ทุกคนอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ทั้งนี้อาจช่วยให้ชาวเมืองสามารถติดตามผลการดำเนินงานและเรียกดูข้อมูลต่างๆ เพื่อรับทราบความเป็นไปของโครงการต่างๆ ที่ทาง กทม.รับผิดชอบอยู่ ที่สำคัญแบบสำรวจนี้ใช้เวลาเพียง 3 นาทีเท่านั้น ผ่านการตอบคำถามสองส่วนหลักๆ ได้แก่ ‘ข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถาม’ ซึ่งผู้ทำแบบสำรวจจำเป็นต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลบางส่วน โดยจะนำไปใช้ภายใต้การรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว ส่วนที่สองเป็นชุดคำถาม ‘ขอบเขตความสนใจและมุมมองต่อการเข้าถึงข้อมูลเปิดของกรุงเทพฯ’ เช่น ชุดข้อมูลที่ต้องการให้กรุงเทพฯ ให้บริการบน data.bangkok.go.th เหตุผลที่กรุงเทพฯ ควรเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ และเรื่องสำคัญใดที่ควรแก้ไขปัญหาเพื่อพัฒนาเมืองในปัจจุบันที่สุด เป็นต้น ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงด้านการเข้าถึงข้อมูลเปิดของกรุงเทพฯ และพัฒนาเมืองให้ดีขึ้นได้ที่ bit.ly/3A4TYp2 

ฝนตกใหญ่ น้ำท่วมฉับพลัน ทำไมระบบรถไฟฟ้าใต้ดินของไทยถึงน้ำไม่ท่วม?

ที่ผ่านมา หลายคนคงได้เห็นข่าวที่ฝนตกหนักจนน้ำท่วมเข้าไปในระบบรถไฟฟ้าของหลายประเทศ เช่น จีน อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และล่าสุดคือกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ที่ชาวเน็ตพากันแชร์คลิปน้ำท่วมไหลบ่าจากพื้นดินสู่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ไปจนถึงสิ่งก่อสร้างภายในที่ได้รับความเสียหายจากน้ำที่ซึมผ่านเข้ามา เห็นเหตุการณ์แบบนี้ เราเลยสงสัยว่าไทยเองก็น้ำท่วมบ่อย แถมเมื่อปี 2554 กรุงเทพฯ เองก็เจอน้ำท่วมใหญ่นานเป็นเดือนๆ จนหลายคนถึงขนาดต้องทิ้งบ้านทิ้งรถหนีน้ำย้ายไปอยู่ที่อื่นชั่วคราว แล้วระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) บ้านเราเป็นยังไงบ้างนะ จะโดนน้ำท่วมหรือได้รับผลกระทบแบบที่ประเทศอื่นเจอหรือไม่ หลังจากหาข้อมูลและสอบถามคนกรุงเทพฯ รอบตัว ผลปรากฏว่า ระบบรถไฟฟ้าใต้ดินบ้านเราไม่เคยมีน้ำท่วมแบบที่ต่างประเทศประสบเลย นั่นเพราะ MRT ไทยมีมาตรการและระบบป้องกันน้ำท่วมที่ออกแบบมาแล้ว ทำให้ไม่ว่าจะฝนตกหนักแค่ไหน หลายพื้นที่ประสบน้ำท่วมจนต้องดับรถ เดินลุยน้ำสูงระดับเอว ผู้ใช้งานที่ติดอยู่ในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน จะไม่ประสบกับน้ำท่วมไหลบ่าเข้ามาในสถานีจนเป็นอันตรายต่อชีวิตแน่นอน คอลัมน์ Curiocity จึงอยากชวนไปดูเบื้องหลังมาตรการความปลอดภัยของ MRT ในไทย ว่าทำไมเราถึงไม่ต้องกังวลว่าจะประสบภัยแบบที่ต่างประเทศพบเจอ ก่อนอื่นชวนมาทำความเข้าใจก่อนว่า ด้วยความที่กรุงเทพฯ มักประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่บ่อยๆ ทำให้ระบบรถไฟฟ้า MRT มีการออกแบบโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและป้องกันน้ำท่วมภายในสถานีกับอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินไว้ตั้งแต่แรกแล้ว โดยใช้ค่าระดับน้ำท่วมสูงสุดในรอบ 200 ปีของกรุงเทพฯ เป็นเกณฑ์ในการออกแบบทางเข้า-ออก และช่องเปิดต่างๆ เพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้า  การยกระดับทางเข้า-ออกสถานี ปล่องระบายอากาศ และช่องเปิดต่างๆ MRT […]

กทม. เปิดเทศกาล ‘บางกอกวิทยา’ เปลี่ยนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้สนุก จัดกิจกรรมตลอดเดือนสิงหาคมนี้

ยังคงมีกิจกรรมสำหรับคนเมืองกันอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ และ ศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าฯ ได้เปิดตัว ‘บางกอกวิทยา’ เทศกาลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นเทศกาลประจำเดือนสิงหาคม ภายใต้นโยบาย ‘12 เทศกาลตลอดปีทั่วกรุงเทพฯ’ โดยในเดือนนี้จะมีการเปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้เป็นห้องเรียนขนาดใหญ่ เน้นเปิดพื้นที่เรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ให้กลายเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สนุกและเข้าถึงง่าย  กิจกรรมในเดือนสิงหาคมนี้จะเริ่มที่ Science Carnival Bangkok โดย อพวช. ที่จะพาทุกคนไปสำรวจความงดงามทางวิทยาศาสตร์ผ่านกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ – นิทรรศการ เวิร์กช็อป เสวนาพูดคุย รวมถึงมีการแข่งขันนวัตกรรมด้วยเทคโนโลยี ณ สามย่านมิตรทาวน์ วันที่ 17 – 21 สิงหาคม – KidBright Science Lab โดย สวทช. กับการแข่งขันสนาม Formula Kid 2022 สนาม Formula Kid […]

เตรียมร่ม สวมบูต ชมหนังกลางแปลง ในเทศกาล ‘กรุงเทพฯ กลางแปลง’ ทั่วมุมเมือง กทม. 7 – 31 ก.ค. 65

หลังจากเดือนที่ผ่านมา ได้มีเทศกาลดนตรีในสวนที่ชวนให้ผู้คนออกไปเอนจอยกับกรุงเทพฯ อีกครั้ง จนทำให้เมืองนี้กลับมามีสีสันและชีวิตชีวา เดือนนี้ก็เป็นคราวของสายภาพยนตร์และคนชอบดูหนังบ้าง เพราะตลอดเดือนกรกฎาคมจะมีงานใหญ่เป็นเทศกาล ‘กรุงเทพฯ กลางแปลง’ งานฉายหนังกลางแปลงที่จะเกิดขึ้นทั่วมุมเมืองกรุงเทพฯ ตั้งแต่ใจกลางเมืองไปจนถึงชานเมือง ถือเป็นการเติมพลังให้วงการหนังไทยที่ซบเซาไป รวมถึงได้ช่วยเหลือพ่อค้าแม่ขายในพื้นที่ และขยายโอกาสในการเข้าถึงการชมหนังให้แก่ประชาชนทั่วไปด้วย  เทศกาล ‘กรุงเทพฯ กลางแปลง’ จะจัดให้มีการฉายหนัง 25 เรื่อง กระจายไปยัง 10 สถานที่ทุกช่วงสุดสัปดาห์ของเดือน โดยหนังทั้งหมดได้รับการคิวเรตจากกรุงเทพมหานคร ร่วมกับหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย และสมาคมหนังกลางแปลง ซึ่งมีหลากหลายรสชาติ ทั้งหนังเก่าตั้งแต่ปี 2502 ถึงปัจจุบัน ทั้งยังอ้างอิงจากพื้นที่ถ่ายทำกับพื้นที่ที่ฉาย เหมาะสมกับผู้ชมทุกเพศทุกวัยในละแวกนั้นๆ  นอกจากนี้ ภายในงานยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ เวิร์กช็อปหัวข้อ Storytelling Workshop โดย underDOC Film โปรดักชันเฮาส์ผู้ทำหนังสารคดี ‘เอหิปัสสิโก’ กับ พวงสร้อย อักษรสว่าง ผู้กำกับหนังเรื่อง ‘นคร-สวรรค์’, กิจกรรมพูดคุยกับผู้กำกับและนักแสดงก่อนฉายหนัง, กิจกรรมแสดงดนตรี โดยกลุ่มนักดนตรีในสวน และ Street […]

ตัวตนและการทำงานของ ‘แอดมินหมู’ มือไลฟ์คู่หูผู้ว่าฯ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’

“สวัสดีคร้าบบบ คุณผู้ชม ขณะนี้เราอยู่ที่สวนลุมพินีครับ” หลายคนคงคุ้นเคยการทักทายเป็นกันเองแบบนี้จาก ‘การถ่ายทอดสด’ หรือ ‘ไลฟ์’ ของ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ผู้ว่าฯ กทม. คนที่ 17 ซึ่งตั้งแต่รับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ชัชชาติได้ถ่ายทอดสดภารกิจในแต่ละวัน ตั้งแต่การวิ่งในเมืองแบบ City Run ช่วงเช้าตรู่ การลงพื้นที่พบปะชาวบ้าน ไปจนถึงการประชุมกับหน่วยงานต่างๆ ให้ประชาชนได้สำรวจกรุงเทพฯ ไปพร้อมกับผู้ว่าฯ แบบเรียลไทม์แทบจะตลอดทั้งวัน การถ่ายทอดสดของชัชชาติได้รับความนิยมอย่างมาก ไลฟ์แต่ละครั้งมียอดผู้ชมแบบ Real Time ทะลุหลักหมื่นอย่างรวดเร็ว ส่วนคอมเมนต์ก็เพิ่มขึ้นรัวๆ จนอ่านแทบไม่ทัน และมียอดวิวถึงหลักล้าน เราเชื่อว่าความสำเร็จเหล่านี้ส่วนหนึ่งเกิดจากความมุ่งมั่นในการทำงาน การเปิดเผยข้อมูลแบบตรงไปตรงมา รวมไปถึงการให้ข้อมูลของชัชชาติที่ครอบคลุมการแก้ไขปัญหาเมืองอย่างหลากมิติ ส่วนอีกคนที่ต้องยกเครดิตให้ก็คือ ‘แอดมินหมู’ มือไลฟ์เสียงนุ่ม มาดกวนนิดๆ ที่ตั้งคำถามแทนผู้ชมทางบ้านแบบตรงๆ แถมยังคอยแซวและหยอกล้อชัชชาติอย่างเป็นกันเอง ทำให้การไลฟ์สนุก ไม่น่าเบื่อ ดูได้เรื่อยๆ จนหลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า พวกเขาเสพติดการดูไลฟ์ชัชชาติงอมแงมชนิดที่ว่าดูแทนซีรีส์ยังได้  วันนี้เราขอพาทุกคนมาพูดคุยกับ ‘หมู-วิทยา ดอกกลาง’ หรือ ‘แอดมินหมู’ จากเพจ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ […]

ส.สะพานมอญ โรงเรียนสอนขับรถที่ส่งต่อความใส่ใจบนท้องถนนให้คนกรุงมากว่า 75 ปี

เสียงเครื่องยนต์ดังแว่วในอากาศ  มองแวบแรก ภาพตรงหน้าของเราคือสวนร่มรื่นที่น่าเดินไม่หยอก แต่หากกวาดสายตาดูดีๆ ภายในสวนกว้างแห่งนี้มีถนนกว้างที่ถูกดีไซน์เป็นทางตรง ทางโค้ง และเนินสูง มีป้ายจราจรที่เด่นหราอยู่ท่ามกลางสีเขียวของพืชพรรณ ไหนจะรถยนต์จอดเรียงรายหลายสิบคัน หนึ่งในนั้นคือรถจี๊ปคันใหญ่ที่ดูจากทรงและสีก็รู้ว่าผ่านร้อนผ่านหนาวมานาน ที่นี่คือสนามหัดขับรถ และไม่ใช่สนามหัดขับรถธรรมดา แต่เป็นสนามของ ส.สะพานมอญ โรงเรียนสอนขับรถยนต์เก่าแก่ประจำกรุงเทพฯ ที่เปิดมานานกว่า 75 ปี เปลี่ยนผู้บริหารมาแล้วสองรุ่น และสอนนักเรียนให้ขับรถได้ดีจนกลายเป็นเจ้าของใบขับขี่มาแล้วกว่า 86 รุ่น อะไรทำให้โรงเรียนสอนขับรถยนต์แห่งนี้ยืนระยะมาได้อย่างยาวนาน ในยามสายของวันที่อากาศเป็นใจ เรามีนัดกับ ครูใหญ่ฑิตยาภรณ์ ทาบทอง ทายาทรุ่นสองที่ใครต่อใครเรียกติดปากว่า ‘ครูใหญ่’ ผู้รับช่วงต่อในการสอนและบริหารโรงเรียนแห่งนี้ ครูใหญ่เดินเข้ามาต้อนรับเราที่อาคารสำนักงานของโรงเรียนอย่างใจดี และเมื่อเสียงเครื่องยนต์ในอากาศเบาลง ท่านก็เริ่มเล่าประวัติศาสตร์และหัวใจของโรงเรียนแห่งนี้ให้ฟัง เรียนขับรถ 15 บาท ย้อนกลับไปเมื่อ พ.ศ. 2490 ครูสวง ยังเจริญ และครูพิศพงศ์ ยังเจริญ พ่อแม่ของครูใหญ่เริ่มทำธุรกิจจากการเปิดปั๊มน้ำมัน 1 หัวจ่ายของบริษัท Shell ตั้งอยู่ริมถนนเจริญกรุง ซึ่งถือว่าเป็นถนนสายหลักในกรุงเทพฯ ในสมัยนั้น ส่งผลให้มีลูกค้ามากมายแวะเวียนมาไม่ขาด เมื่อธุรกิจไปได้ดี อาจารย์สวงผู้เป็นพ่อก็เริ่มมีความคิดอยากสอนขับรถนักเรียนบ้าง เนื่องจากคุณย่าของครูใหญ่เคยเปิดโรงเรียนสอนขับรถชื่อ ‘สมบูรณ์ดี’ […]

ชัชชาติจับมือกับ Traffy Fondue เปิด LINE Chatbot ให้ประชาชนแจ้งปัญหาเส้นเลือดฝอยทั่วกรุงเทพฯ

‘การแก้ปัญหาเส้นเลือดฝอย’ คือหนึ่งในนโยบายที่ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ให้ความสำคัญมาโดยตลอด เพราะปัญหาใกล้ตัว เช่น ทางเท้าพัง ถนนเป็นหลุมบ่อ น้ำท่วมขัง ถนนเปลี่ยว และขยะสะสม คือสิ่งที่กระทบการใช้ชีวิตของคนกรุงเทพฯ ในทุกๆ วัน เพราะเหตุนี้ ทีมงาน ‘เพื่อนชัชชาติ’ จึงนำเทคโนโลยี ‘Traffy Fondue (ทราฟฟี่ฟองดูว์/ท่านพี่ฟ้องดู)’ ที่พัฒนาขึ้นมาโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) กลับมาใช้อีกครั้ง เพื่อให้ประชาชนทุกคนรายงานปัญหารอบตัวที่พบเจอในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้ทันที Traffy Fondue คือแพลตฟอร์มบริหารจัดการเมืองด้วยการใช้ระบบแจ้งและบริหารจัดการด้วย AI Chatbot เพื่อรับแจ้งปัญหาแบบอัตโนมัติ เพิ่มประสิทธิภาพ ลดภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่ และยกระดับการมีส่วนร่วมของพลเมืองและผู้เกี่ยวข้องได้ทุกพื้นที่และทุกเวลา ที่สำคัญ AI จะช่วยวิเคราะห์ข้อมูลและส่งปัญหาไปยังผู้รับผิดชอบโดยตรง วิธีแจ้งปัญหาเส้นเลือดฝอยมีดังต่อไปนี้ 1) แอดไลน์เพื่อนชัชชาติได้ที่ t.ly/SNxL 2) เมื่อเจอปัญหาของเมือง ผู้ใช้งานรายงานผ่านไลน์เพื่อนชัชชาติ โดยคลิกที่ ‘รายงานปัญหาเส้นเลือดฝอย’ หลังจากนั้นลิงก์จะโยงไปที่ไลน์ของ ‘Traffy Fondue’ สำหรับระบุรายละเอียดปัญหา ส่งรูปภาพ และส่งพิกัด 3) ระบบหลังบ้านจะทำการรวบรวมปัญหา […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.