ตัวตนและการทำงานของ ‘แอดมินหมู’ มือไลฟ์คู่หูผู้ว่าฯ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’

“สวัสดีคร้าบบบ คุณผู้ชม ขณะนี้เราอยู่ที่สวนลุมพินีครับ” หลายคนคงคุ้นเคยการทักทายเป็นกันเองแบบนี้จาก ‘การถ่ายทอดสด’ หรือ ‘ไลฟ์’ ของ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ผู้ว่าฯ กทม. คนที่ 17 ซึ่งตั้งแต่รับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ชัชชาติได้ถ่ายทอดสดภารกิจในแต่ละวัน ตั้งแต่การวิ่งในเมืองแบบ City Run ช่วงเช้าตรู่ การลงพื้นที่พบปะชาวบ้าน ไปจนถึงการประชุมกับหน่วยงานต่างๆ ให้ประชาชนได้สำรวจกรุงเทพฯ ไปพร้อมกับผู้ว่าฯ แบบเรียลไทม์แทบจะตลอดทั้งวัน การถ่ายทอดสดของชัชชาติได้รับความนิยมอย่างมาก ไลฟ์แต่ละครั้งมียอดผู้ชมแบบ Real Time ทะลุหลักหมื่นอย่างรวดเร็ว ส่วนคอมเมนต์ก็เพิ่มขึ้นรัวๆ จนอ่านแทบไม่ทัน และมียอดวิวถึงหลักล้าน เราเชื่อว่าความสำเร็จเหล่านี้ส่วนหนึ่งเกิดจากความมุ่งมั่นในการทำงาน การเปิดเผยข้อมูลแบบตรงไปตรงมา รวมไปถึงการให้ข้อมูลของชัชชาติที่ครอบคลุมการแก้ไขปัญหาเมืองอย่างหลากมิติ ส่วนอีกคนที่ต้องยกเครดิตให้ก็คือ ‘แอดมินหมู’ มือไลฟ์เสียงนุ่ม มาดกวนนิดๆ ที่ตั้งคำถามแทนผู้ชมทางบ้านแบบตรงๆ แถมยังคอยแซวและหยอกล้อชัชชาติอย่างเป็นกันเอง ทำให้การไลฟ์สนุก ไม่น่าเบื่อ ดูได้เรื่อยๆ จนหลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า พวกเขาเสพติดการดูไลฟ์ชัชชาติงอมแงมชนิดที่ว่าดูแทนซีรีส์ยังได้  วันนี้เราขอพาทุกคนมาพูดคุยกับ ‘หมู-วิทยา ดอกกลาง’ หรือ ‘แอดมินหมู’ จากเพจ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ […]

ส.สะพานมอญ โรงเรียนสอนขับรถที่ส่งต่อความใส่ใจบนท้องถนนให้คนกรุงมากว่า 75 ปี

เสียงเครื่องยนต์ดังแว่วในอากาศ  มองแวบแรก ภาพตรงหน้าของเราคือสวนร่มรื่นที่น่าเดินไม่หยอก แต่หากกวาดสายตาดูดีๆ ภายในสวนกว้างแห่งนี้มีถนนกว้างที่ถูกดีไซน์เป็นทางตรง ทางโค้ง และเนินสูง มีป้ายจราจรที่เด่นหราอยู่ท่ามกลางสีเขียวของพืชพรรณ ไหนจะรถยนต์จอดเรียงรายหลายสิบคัน หนึ่งในนั้นคือรถจี๊ปคันใหญ่ที่ดูจากทรงและสีก็รู้ว่าผ่านร้อนผ่านหนาวมานาน ที่นี่คือสนามหัดขับรถ และไม่ใช่สนามหัดขับรถธรรมดา แต่เป็นสนามของ ส.สะพานมอญ โรงเรียนสอนขับรถยนต์เก่าแก่ประจำกรุงเทพฯ ที่เปิดมานานกว่า 75 ปี เปลี่ยนผู้บริหารมาแล้วสองรุ่น และสอนนักเรียนให้ขับรถได้ดีจนกลายเป็นเจ้าของใบขับขี่มาแล้วกว่า 86 รุ่น อะไรทำให้โรงเรียนสอนขับรถยนต์แห่งนี้ยืนระยะมาได้อย่างยาวนาน ในยามสายของวันที่อากาศเป็นใจ เรามีนัดกับ ครูใหญ่ฑิตยาภรณ์ ทาบทอง ทายาทรุ่นสองที่ใครต่อใครเรียกติดปากว่า ‘ครูใหญ่’ ผู้รับช่วงต่อในการสอนและบริหารโรงเรียนแห่งนี้ ครูใหญ่เดินเข้ามาต้อนรับเราที่อาคารสำนักงานของโรงเรียนอย่างใจดี และเมื่อเสียงเครื่องยนต์ในอากาศเบาลง ท่านก็เริ่มเล่าประวัติศาสตร์และหัวใจของโรงเรียนแห่งนี้ให้ฟัง เรียนขับรถ 15 บาท ย้อนกลับไปเมื่อ พ.ศ. 2490 ครูสวง ยังเจริญ และครูพิศพงศ์ ยังเจริญ พ่อแม่ของครูใหญ่เริ่มทำธุรกิจจากการเปิดปั๊มน้ำมัน 1 หัวจ่ายของบริษัท Shell ตั้งอยู่ริมถนนเจริญกรุง ซึ่งถือว่าเป็นถนนสายหลักในกรุงเทพฯ ในสมัยนั้น ส่งผลให้มีลูกค้ามากมายแวะเวียนมาไม่ขาด เมื่อธุรกิจไปได้ดี อาจารย์สวงผู้เป็นพ่อก็เริ่มมีความคิดอยากสอนขับรถนักเรียนบ้าง เนื่องจากคุณย่าของครูใหญ่เคยเปิดโรงเรียนสอนขับรถชื่อ ‘สมบูรณ์ดี’ […]

ชัชชาติจับมือกับ Traffy Fondue เปิด LINE Chatbot ให้ประชาชนแจ้งปัญหาเส้นเลือดฝอยทั่วกรุงเทพฯ

‘การแก้ปัญหาเส้นเลือดฝอย’ คือหนึ่งในนโยบายที่ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ให้ความสำคัญมาโดยตลอด เพราะปัญหาใกล้ตัว เช่น ทางเท้าพัง ถนนเป็นหลุมบ่อ น้ำท่วมขัง ถนนเปลี่ยว และขยะสะสม คือสิ่งที่กระทบการใช้ชีวิตของคนกรุงเทพฯ ในทุกๆ วัน เพราะเหตุนี้ ทีมงาน ‘เพื่อนชัชชาติ’ จึงนำเทคโนโลยี ‘Traffy Fondue (ทราฟฟี่ฟองดูว์/ท่านพี่ฟ้องดู)’ ที่พัฒนาขึ้นมาโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) กลับมาใช้อีกครั้ง เพื่อให้ประชาชนทุกคนรายงานปัญหารอบตัวที่พบเจอในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้ทันที Traffy Fondue คือแพลตฟอร์มบริหารจัดการเมืองด้วยการใช้ระบบแจ้งและบริหารจัดการด้วย AI Chatbot เพื่อรับแจ้งปัญหาแบบอัตโนมัติ เพิ่มประสิทธิภาพ ลดภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่ และยกระดับการมีส่วนร่วมของพลเมืองและผู้เกี่ยวข้องได้ทุกพื้นที่และทุกเวลา ที่สำคัญ AI จะช่วยวิเคราะห์ข้อมูลและส่งปัญหาไปยังผู้รับผิดชอบโดยตรง วิธีแจ้งปัญหาเส้นเลือดฝอยมีดังต่อไปนี้ 1) แอดไลน์เพื่อนชัชชาติได้ที่ t.ly/SNxL 2) เมื่อเจอปัญหาของเมือง ผู้ใช้งานรายงานผ่านไลน์เพื่อนชัชชาติ โดยคลิกที่ ‘รายงานปัญหาเส้นเลือดฝอย’ หลังจากนั้นลิงก์จะโยงไปที่ไลน์ของ ‘Traffy Fondue’ สำหรับระบุรายละเอียดปัญหา ส่งรูปภาพ และส่งพิกัด 3) ระบบหลังบ้านจะทำการรวบรวมปัญหา […]

Make Bangkok Liveable Again จำลองกรุงเทพฯ ให้น่าอยู่ตามนโยบายของ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’

‘กรุงเทพฯ’ ในฝันตามแบบฉบับของ ‘ชัชชาติ’ จะเป็นแบบไหนกันนะ หนึ่งในบุคคลที่กระแสแรงที่สุดในช่วงนี้ก็คือ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม. คนที่ 17 ผู้คว้าชัยชนะการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 อย่างถล่มทลาย สูงสุดในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ หรือกว่า 1,386,769 คะแนน (คะแนนอย่างไม่เป็นทางการ) ช่วงหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ชัชชาติยังเป็นขวัญใจของคนหลายกลุ่ม จากภาพลักษณ์ธรรมดาๆ เข้าถึงง่าย วิธีหาเสียงที่คำนึงถึงผู้คนและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงสโลแกน ‘กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน’ มาพร้อมนโยบายกว่า 214 ข้อที่เกิดจากการลงพื้นที่ฟังเสียงของชาว กทม. นานกว่า 2 ปี โดยรวบรวมให้ทุกคนอ่านอย่างละเอียดที่ www.chadchart.com คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากจำลองและออกแบบเมืองกรุงเทพฯ ให้ทุกคนเห็นว่า หากชัชชาติพัฒนาเมืองตามนโยบายเหล่านี้ได้จริง เมืองน่าอยู่ในสายตาของเขาจะมีหน้าตาประมาณไหน โดยเราได้หยิบยกไอเดียมาจากนโยบายที่น่าสนใจ ครอบคลุมบริบทของเมืองกรุงเทพฯ หลากมิติ เช่น พื้นที่สาธารณะ ระบบขนส่งสาธารณะ สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย […]

(ไม่ใช่) คน กทม. ขอเลือกตั้งด้วย WeVis เปิดคูหาออนไลน์ให้ผู้อยู่อาศัยใน กทม. ได้ลองเลือกผู้ว่าฯ แม้ไม่มีทะเบียนบ้าน

ใกล้เลือกตั้งผู้ว่าฯ และ สก. กรุงเทพฯ เข้ามาทุกที แน่นอนว่าสำหรับชาวกรุงเทพฯ ที่มีชื่อในทะเบียนบ้านคงเตรียมตัวเลือกตั้ง พร้อมจับปากกากากบาทผู้สมัครที่ใช่กับนโยบายที่ชอบแล้ว แต่ขณะเดียวกัน ประชากรแฝงอีก 4 – 5 ล้านคนที่เข้ามาอาศัยในกรุงเทพฯ เพื่อเรียนและทำงานกลับไม่มีสิทธิ์เลือกตั้ง ต้องฝากฝังความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้คนกลุ่มที่กล่าวไปข้างต้น เพียงเพราะไม่มีทะเบียนบ้าน แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าความจริงแล้วกรุงเทพฯ ต้องการผู้ว่าฯ และ สก. คนไหนกันแน่ กลุ่ม WeVis ที่ทำงานด้านข้อมูลทางการเมืองเพื่อนำเสนอให้คนทั่วไปเข้าใจ จึงสร้างแพลตฟอร์มที่ทำหน้าที่เสมือนคูหาเลือกตั้งออนไลน์ให้ผู้อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ต่างจังหวัดสามารถเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และ สก. ได้ วิธีการลงคะแนนเลือกตั้งก็ไม่มีอะไรซับซ้อน แค่เข้าเว็บไซต์ wevotebkk.wevis.info แล้วเลือกเขต กทม. ที่คุณพักอาศัย จากนั้นจะมีข้อมูลของผู้สมัครผู้ว่าฯ และผู้สมัครสมาชิกสภา กทม. โชว์ขึ้นมา โดยคุณสามารถศึกษาข้อมูลพื้นฐานกับประวัติการทำงานของผู้สมัครคนนั้นๆ ได้เพียงแค่คลิกลิงก์เพิ่มเติม ปิดท้ายก่อนหย่อนบัตรลงคะแนน ด้วยการให้พิสูจน์ความเป็นคนต่างจังหวัดด้วยการกรอกจังหวัดภูมิลำเนา แม้การโหวตนี้จะไม่มีผลทางกฎหมาย แต่ WeVis ก็ต้องการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนที่ใช้ชีวิตใน กทม. แม้ไม่มีทะเบียนบ้าน มีสิทธิ์ออกแบบเมืองที่ตัวเองอยู่อาศัย อีกทางหนึ่งก็ทำหน้าที่เหมือนเป็นโพลเลือกตั้งมหาชนว่าใครกันแน่ที่คนกรุงเทพฯ อยากให้มาบริหารจัดการเมืองหลวงแห่งนี้ แต่ถ้าเป็นไปได้ […]

เที่ยวกรุงเทพฯ ไปกับพยัญชนะไทย คอลเลกชันโปสต์การ์ดและโปสเตอร์ โดยแบรนด์ดีไซน์ Phayanchana

เราอาจเคยเห็นภาพของกรุงเทพฯ ที่ถ่ายทอดผ่านภาพนิ่ง วิดีโอ ภาพวาด แต่มีใครบ้างที่เคยเห็นกรุงเทพฯ ผ่านตัวพยัญชนะไทย ก.ไก่ ข.ไข่ ค.ควาย ที่เราเรียนๆ กัน http://loans-cash.net หลังจากประสบความสำเร็จจากโปรเจกต์เปลี่ยน 44 พยัญชนะไทยให้กลายเป็นภาพกราฟิกที่สนุกสนาน ‘อังกูร อัศววิบูลย์พันธุ์’ ดีไซเนอร์และเจ้าของแบรนด์นาม Phayanchana ก็สร้างสรรค์โปรเจกต์พิเศษเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 240 ปี โปรเจกต์ที่ว่านี้คือการที่ Phayanchana หยิบเอา 7 สถานที่สำคัญในกรุงเทพฯ มาประยุกต์กับการออกแบบพยัญชนะอย่างที่เคยทำ เพื่อนำเสนอภาพของเมืองหลวงแห่งนี้ผ่านพยัญชนะไทย โดยใช้ชื่อคอลเลกชันว่า ‘Krung Thep Maha Nakhon’ “ด้วยความที่ช่วงหลังๆ คัลเจอร์ของเอเชียได้รับความนิยมมาก เราเลยอยากทำให้ตัวอักษรไทยเป็นที่รู้จักเหมือนตัวอักษรจีนที่คนต่างประเทศเอาไปสัก เอาไปทำงานดีไซน์บ้าง เราเลยพยายามทำให้ผู้คนเข้าใจภาษาของเราด้วยวิธีง่ายๆ อย่างการปรับตัวอักษรให้เป็นวรรณรูป (การนำคำมาสร้างให้เกิดเป็นรูปภาพ)” อังกูรเล่าถึงที่มาที่ไปของการทำแบรนด์ Phayanchana หลังจากนั้น อังกูรต่อยอดไอเดียด้วยการผสมผสานการออกแบบตัวอักษรไทยกับสถานที่สวยๆ ของกรุงเทพฯ เพื่อนำเสนอความเป็นไทยให้ครอบคลุมและสนุกขึ้น จึงเกิดเป็นคอลเลกชัน ‘Krung Thep Maha Nakhon’ อย่างที่เราเห็น เสาชิงช้า อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย […]

‘วิโรจน์ ลักขณาอดิศร’ จากดาวสภาฯ สู่การท้าชิงผู้ว่าฯ กทม. ที่พร้อมฟาดระบบนายทุน

ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ใครติดตามการประชุมสภาฯ เป็นประจำคงคุ้นเคยกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อคนหนึ่ง ที่วิพากษ์วิจารณ์และตั้งคำถามถึงการทำงานของประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้อย่างมีอรรถรส ฟาดแบบดุเด็ดเผ็ดมัน ตรงไปตรงมา และอัดแน่นไปด้วยชุดข้อมูลและเหตุผลที่ถี่ถ้วน จนหลายคนต้องยอมรับเลยว่า เขาได้พูดแทนใจคนไทยจำนวนมากที่สิ้นหวังกับรัฐบาลชุดปัจจุบันได้อย่างหลากมิติ ใช่ เรากำลังพูดถึง ‘วิโรจน์ ลักขณาอดิศร’ อดีต ส.ส. บัญชีรายชื่อ จากพรรคก้าวไกล  ที่ผ่านมา เขามีผลงานโดดเด่นจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจอยู่หลายๆ ประเด็น เช่น การเปิดหลักฐานแฉปฏิบัติการ Information Operation (IO) แผนจัดหาวัคซีนโควิด-19 จอมลวงโลก รวมไปถึงการที่รัฐคุกคามนักเรียนที่ออกมาแสดงจุดยืนทางการเมือง แต่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เขาประกาศตัดสินใจลาออกจากการเป็น ส.ส. และขอพิสูจน์ตัวเองในบทบาทใหม่ ด้วยการเป็น ‘แคนดิเดตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร’ พร้อมชูนโยบายล้มระบบส่วย ยกเลิกราชการรวมศูนย์ ท้าชนนายทุนที่เอาเปรียบประชาชน และมุ่งแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตของชาวกรุงภายใต้สโลแกน ‘หมดเวลาซุกปัญหาไว้ใต้พรม พร้อมชนเพื่อคนกรุงเทพฯ’ วันนี้ เราจึงนัดพูดคุยกับวิโรจน์กับตำนานบทใหม่ของเขา เพื่อตอบข้อสงสัยว่า ทำไมเขาถึงยอมสละตำแหน่งดาวรุ่งในสภาฯ มาลงสมัครตำแหน่งผู้ว่าฯ เขามีความหวังอย่างไรกับการแก้ปัญหาของเมืองที่ ‘นายทุนต้องมาก่อนใคร’ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน และทำให้ ‘ทุกคน’ […]

หวนรำลึกถึงอาคารสมัยใหม่ในกรุงเทพฯ ที่กำลังหายไปใน ‘Something Was Here.’ โดย Foto_momo 15 – 27 มี.ค. 65 ที่ BACC

หากต้องการสำรวจว่าบ้านเมืองในแต่ละยุคสมัยเป็นอย่างไร นอกจากดูที่ความคิดความสนใจของคนในสังคมช่วงเวลานั้นแล้ว อาคารสถานที่สิ่งก่อสร้างทั้งหลายก็เป็นเครื่องมือบอกเล่าที่สำคัญว่าเรารับเอากระแสนิยมหรือมีอิทธิพลใดที่ส่งผลถึงประเทศบ้าง และเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรหาวิธีอนุรักษ์มรดกของกาลเวลาเหล่านี้เอาไว้ หลังจากตระเวนถ่ายภาพสถาปัตยกรรมในกรุงเทพฯ มาหลายปี เบียร์-วีระพล สิงห์น้อย เจ้าของโปรเจกต์ Foto_momo ได้ร่วมมือกับ Docomomo Thai กลุ่มคนที่ทำงานเกี่ยวกับคุณค่าของอาคารไทยสมัยใหม่ จัดนิทรรศการภาพถ่ายเล็กๆ ที่มีชื่อว่า ‘Something Was Here.’ กับคอนเซปต์ The Fading Memories of Bangkok Modern Architecture. (ความทรงจำอันเลือนรางของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในกรุงเทพฯ) นิทรรศการนี้จะจัดแสดงภาพถ่ายอาคารประมาณ 20 หลังทั่วกรุงเทพฯ รวมถึงโรงละครสกาลาที่ถูกรื้อถอนเมื่อปีที่แล้ว ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของสังคม จุดประสงค์ของนิทรรศการ Something Was Here. คือการหวนรำลึกถึงความรุ่งโรจน์ของฝีมือการออกแบบและเทคโนโลยีการก่อสร้างอาคารในยุคสมัยหนึ่งที่เคยเป็นหน้าเป็นตาของความ “สมัยใหม่” ไม่ว่าจะเป็นอาคารสถานบันเทิง สถานศึกษา ที่พักอาศัย และออฟฟิศทำงาน ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่บ่งบอกว่าสังคมไทยนั้นพร้อมปรับตัวเข้ากับวิถีชีวิตรูปแบบใหม่จากตะวันตกแล้ว  คำถามคือ เมื่อเวลาผ่านไป สงครามเย็นสิ้นสุดลงและเทคโนโลยีการก่อสร้างก็ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ ความสมัยใหม่เหล่านี้ได้ไร้คุณค่าไปด้วยหรือไม่ ในฐานะคนที่ติดตามถ่ายภาพอาคารเก่ามาตลอด วีระพลอยากชวนทุกคนมาหาวิธีจัดการกับมรดกสถาปัตยกรรมเหล่านี้ภายใต้สมการของการอนุรักษ์และการพัฒนา มิฉะนั้นแล้ว เราอาจไม่มีอาคารเหล่านี้ให้จดจำ นิทรรศการจัดแสดงที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร BACC ผนังโค้งชั้น […]

“ขอเป็นผู้ว่าฯ ในหัวใจเธอ” เอ้ สุชัชวีร์ กับการอาสาเป็นพ่อบ้านและนายช่างใหญ่ให้คน กทม.

ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ถ้าถามคนกรุงเทพฯ หลายๆ คนว่า เวลาก้าวเท้าออกนอกบ้านแล้วเห็นหน้าใครบ่อยที่สุด หนึ่งในคำตอบที่ได้รับ คงไม่พ้นใบหน้าของ เอ้-สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ แคนดิเดตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจากพรรคประชาธิปัตย์บนป้ายประกาศ ที่มาพร้อมกับสโลแกนปลุกใจชาวกรุง ‘เปลี่ยนกรุงเทพฯ เราทำได้’  จากที่ปกติได้เห็นหน้าค่าตาของเขาบนป้ายตามจุดต่างๆ ของกรุงเทพฯ และได้ยินชื่อเขาผ่านกระแสไวรัลบนหน้าสื่อ อย่างกรณีทายาทสายตรงไอน์สไตน์ หรือบทบาทอธิการบดีแนวใหม่ที่ไม่ซ้ำแบบใครในอดีต ไม่ว่าคุณจะรู้จักเขาในมุมไหน แต่สุชัชวีร์ย้ำกับเราหลายต่อหลายครั้งว่า ถึงเวลาอันสมควรแล้วที่เขาจะเป็นผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ วันนี้ เรานัดหมายพูดคุยกับสุชัชวีร์ที่บ้านของเขาในย่านลาดกระบัง ใช่แล้ว บ้านหลังใหญ่หลังนั้นล่ะที่หลายคนได้เห็นคนแชร์จำนวนมากบนโลกออนไลน์ซึ่งเอาเข้าจริงการเปิดบ้านครั้งนั้นก็ทำให้ชื่อของเขากลายเป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้นไปอีก  เมื่อเข้าไปในบ้าน สุชัชวีร์ต้อนรับขับสู้เราเป็นอย่างดี เขาอยู่ในชุดสบายๆ เหมาะกับการอยู่บ้านในวันหยุดสุดสัปดาห์ เจ้าบ้านเล่าให้เราฟังว่า กิจวัตรประจำวันของเขามักเริ่มต้นด้วยการออกกำลังกาย เพราะเชื่อว่าร่างกายที่แข็งแรง สมองที่แจ่มใส คือบ่อเกิดของความคิดที่ดี ที่ผ่านมา สุชัชวีร์หรือ ‘พี่เอ้’ ของเหล่านักศึกษาทำงานด้านวิศวกรรมและงานการศึกษามาตลอด  ตัวอย่างผลงานที่คนส่วนใหญ่รู้จักคือ การเข้าไปดำรงอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในช่วงเวลาที่ประสบวิกฤติการเงิน เพราะเงิน 1,600 ล้านบาทสูญหายไปจากบัญชี ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานให้ร่วมสมัยโดยใช้ระบบเดียวกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ทั้งยังเป็นผู้บุกเบิกก่อตั้งโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร และถือกำเนิดคณะวิชาใหม่ๆ ให้เท่าทันต่อบริบทสังคม แต่เหตุผลใดที่ทำให้สุชัชวีร์ ผู้ขับเคลื่อนการทำงานด้วยความรัก ตัดสินใจออกจากการงานฝั่งบริหารการศึกษามาลงสนามการเมืองหรืองานบริหารระดับเมือง เขามองเห็นความเป็นไปได้และอนาคตอะไรของกรุงเทพฯ จนต้องอาสาขอมาแก้ปัญหาให้เมืองหลวงที่เต็มไปด้วยปัญหาหลากหลายมิติแห่งนี้ ทำไมคุณตัดสินใจลงชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ […]

ไม่มีเทพสร้าง ไม่มีอัศวินม้าขาวช่วย แต่กรุงเทพฯ มี ‘หวัง’ ในสายตา ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’

“ประมาณหกโมงเช้าไปวิ่งมา แล้วก็ออกไปดูพื้นที่เขตบางบอน จากนั้นข้ามไปหนองแขมเพื่อดูปัญหาในชุมชนและเดินตลาดต่อ”  ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ แคนดิเดตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครบอกกับเรา บริเวณใต้ร่มร้านขายของชำใกล้สวนสาธารณะเขตบางบอน วันเสาร์นั้นแดดจัด ช่วงใกล้เที่ยง พระอาทิตย์ส่องจ้ากลางหัว เขาโดยสารรถสองแถวหลังคาสูงมาพร้อมทีมงานที่สวมเสื้อดำสกรีนคำเขียวเข้มสะท้อนแสง ‘ทำงาน ทำงาน ทำงาน’  ช่วงนี้เขาออกวิ่งทุกวันเสาร์ ตระเวนวิ่งในแต่ละเขตทั่วกรุง เราสะดุดตาที่วันนี้ชัชชาติสวมรองเท้าวิ่งข้างหนึ่งสีขาว อีกข้างสีดำ เขาเล่าข้อมูลเขตบางบอนที่ศึกษามาว่า “เขตบางบอนเป็นเขตที่พื้นที่มีความยาว แต่เดิมเป็นพื้นที่ทำสวน ปัจจุบันหมู่บ้านจัดสรรเริ่มเข้ามา คนมาอาศัยในเขตนี้มากขึ้น ตอนนี้มีประชากรประมาณหนึ่งแสนคน”  ตลอดเส้นทางที่สัญจรมาที่นี่ เราขับรถผ่านถนนสองเลนที่ตัดผ่านย่านชุมชน ผ่านเส้นทางรถไฟ และ สถานี ‘รางโพธิ์’ สถานีหลักประจำพื้นที่ซึ่งเป็นสถานีหมุดหมายของรถไฟฟ้าสายสีแดงที่จะวิ่งผ่านในอนาคต ชัชชาติชี้ให้เห็นว่า ปัญหาเรื่องการคมนาคมและขนส่งสาธารณะเป็นหนึ่งในโจทย์ใหญ่ของเขตบางบอน เขาเล่าประสบการณ์การเดินทางในช่วงเช้าก่อนมาเจอเราว่า “รถติดมาก เส้นเอกชัย-บางบอน หรือถนนบางบอน 3 หรือ 5 และขนส่งสาธารณะก็ยังไม่ดี รถไฟก็เป็นแบบท้องถิ่นที่มีความถี่น้อย ประชาชนจึงต้องใช้รถส่วนตัว”  ถ้าลองเปิดแผนที่ดู เขตบางบอนคือพื้นที่ขอบกรุงเทพฯ ที่ติดกับจังหวัดสมุทรสาครซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่สำคัญของอุตสาหกรรมประมง มีแรงงานชาวพม่าที่มาทำงานในพื้นที่อาศัยอยู่เยอะ ทำให้มีอีกโจทย์ตามมาว่าจะพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับแรงงานต่างชาติ และประชากรในพื้นที่อย่างไรไม่ให้อยู่อย่างแออัด นี่คือความหลากหลายและความซับซ้อนของสิ่งที่ต้องจัดการจากพื้นที่เพียงหนึ่งเขต เพราะความเป็นจริง กรุงเทพฯ มีทั้งหมด 50 เขต […]

ถ้ากรุงเทพฯ กลายเป็นมนุษย์ หน้าตาและนิสัยจะเป็นแบบไหนกันนะ

ถ้ากรุงเทพฯ เป็นมนุษย์ คุณคิดว่ามันจะมีรูปร่างหน้าตาแบบไหน มีบุคลิกและนิสัยหรือจิตใจยังไง จะน่าคบหาหรือควรถอยห่างคนแบบนี้กันนะ เมื่อพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างเมืองกรุงเทพฯ กับคนกรุงเทพฯ หรือคนต่างจังหวัดที่มาอาศัยอยู่ในเมืองแห่งนี้ เราคิดว่าส่วนใหญ่น่าจะนิยามเป็นความสัมพันธ์ที่ทั้งรักทั้งชัง (Love-Hate Relationship) รักในแง่ความเจริญ มีชีวิตชีวา มีความสร้างสรรค์ และมีโอกาสมากมายให้ไขว่คว้า ขณะเดียวกันก็ชังที่ความเจริญนี้มีเพียงวัตถุ แต่โครงสร้างพื้นฐานของเมืองไม่ได้งอกงามตามไปด้วย ผู้คนยังต้องใช้ชีวิตท่ามกลางความเครียด ฝุ่นควัน หมดเวลากับการเดินทางเป็นชั่วโมงๆ หมุนวนไปกับการทำงานรายวันที่ยากจะมีโอกาสหลุดพ้นจากความเหลื่อมล้ำ เมื่อวินาทีนี้ เรากำลังเข้าใกล้ฤดูกาลเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ อยู่ทุกชั่วขณะ คอลัมน์ Urban Sketch จึงใช้โอกาสนี้นำเสนอเสียงสะท้อนของคนกรุงเทพฯ ผ่านภาพวาดในหัวข้อ ‘ถ้ากรุงเทพฯ กลายเป็นมนุษย์ หน้าตาและนิสัยจะเป็นแบบไหนกันนะ’ โดยคนกรุงเทพฯ และคนต่างจังหวัดที่อาศัยอยู่เมืองหลวงแห่งนี้ จำนวนสามคน ต่างเพศ ต่างวัย ต่างอาชีพ ต่างมุมมอง พวกเขามองกรุงเทพฯ เป็นคนแบบไหน เรายื่นโจทย์ให้ทุกคนวาดภาพกรุงเทพฯ ออกมาเป็นคนด้วยจินตนาการของตัวเอง หน้าตาจะน่ารักหรือน่าคบไหม เราตามไปดูพร้อมๆ กันได้เลย ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์ อายุ 30 ปีอาชีพ สถาปนิกภูมิลำเนา กรุงเทพฯ “เราคิดว่า ถ้าต้องวาดกรุงเทพฯ […]

Bangkok vs Krung Thep Maha Nakhon ทั่วโลกรู้จักกรุงเทพฯ ในชื่อไหนมากกว่ากัน?

สัปดาห์ที่แล้ว เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ล้นหลาม หลังมีรายงานว่า ราชบัณฑิตยสภาเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษเมืองหลวง ‘กรุงเทพมหานคร’ ของไทย จาก ‘Bangkok’ เป็น ‘Krung Thep Maha Nakhon’  ทำให้หลายคนตั้งคำถามว่า เปลี่ยนแล้วได้ประโยชน์อะไร? เพราะชื่อเดิมก็ดี และเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวต่างชาติส่วนใหญ่อยู่แล้ว บ้างมองว่า Krung Thep Maha Nakhon นั้นยาวไป และอาจเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ถ้าต้องเปลี่ยนป้ายใหม่ทั้งหมด หลังจากเกิดการถกเถียงไม่นาน สำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้ชี้แจงผ่านเฟซบุ๊กว่า เป็นเพียงการปรับปรุงการทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ และปรับเครื่องหมายเพียงเล็กน้อย จากเดิม ‘Krung Thep Maha Nakhon; Bangkok’ เป็น ‘Krung Thep Maha Nakhon (Bangkok)’ เพื่อใช้เป็นมาตรฐานของทางราชการ และให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบันเท่านั้น พร้อมยืนยันว่า ‘กรุงเทพมหานคร’ ใช้ได้ทั้ง Krung Thep Maha Nakhon และ Bangkok อย่างไรก็ตาม ก็อดสงสัยไม่ได้ว่า คนทั่วโลกรู้จักและใช้คำไหนมากกว่ากัน?  […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.