องค์การอนามัยโลกประกาศ ความเหงาอาจไม่เท่าอวกาศ แต่อันตรายเท่าสูบบุหรี่ 15 มวน

ถือเป็นเรื่องน่าตกใจสำหรับหนุ่มสาวขี้เหงา เมื่อ ‘องค์การอนามัยโลก’ (WHO) ประกาศยกให้ ‘ความเหงา’ เป็นปัญหาน่ากังวลด้านสาธารณสุขของโลก ก่อนหน้านี้ความเหงามักถูกมองเป็นเพียงปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่เมื่อมีการระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ WHO หันมาให้ความสนใจภัยเหงามากขึ้น และตัดสินใจตั้งคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศให้จัดการกับความเหงาในฐานะภัยคุกคามด้านสุขภาพ เนื่องจากภาวะล็อกดาวน์ที่ทำให้เกิดการชะงักงันของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลให้ระดับความเหงาของมนุษย์เพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยการวิจัยพบว่า การอยู่อย่างโดดเดี่ยวเป็นเวลานานเป็นอันตรายต่อสุขภาพเทียบเท่าการสูบบุหรี่ 15 มวนต่อวัน จนอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรมากถึง 30 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงมีความเสี่ยงร้ายแรงเทียบเท่าผู้ที่มีโรคอ้วนและผู้ที่ออกกำลังกายน้อย Murthy ศัลยแพทย์ทั่วไปของสหรัฐอเมริกากล่าวว่า มีผู้สูงอายุมากถึง 1 ใน 4 จากทั้งหมดทั่วโลกที่ต้องเผชิญกับความเหงา และความเหงาเหล่านี้ก่อให้เกิดความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อมที่อาจทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบในเวลาต่อมาได้มากขึ้นถึง 50 เปอร์เซ็นต์ และไม่เพียงแค่ผู้สูงอายุที่ต้องเผชิญกับความเหงาเท่านั้น แต่มีวัยรุ่นถึง 15 เปอร์เซ็นต์ที่กำลังประสบกับภาวะนี้ และคาดการณ์ว่าตัวเลขจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตเช่นกัน ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้อาจเกิดภาวะเครียดจนมีแนวโน้มที่จะไม่ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา นำไปสู่ปัญหาความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการว่างงานในอนาคต พูดได้ว่า ความเหงาอาจเป็นภัยที่กำลังคุกคามสุขภาพและสังคมอย่างเงียบๆ ไม่เว้นแม้กระทั่งประเทศไทย กลายเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่รัฐควรเริ่มมองหาวิธีรับมืออย่างจริงจังตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่ความเหงาจะลุกลามเป็นวงกว้างในสังคม Sources :Global News | t.ly/1OmGgPeople | t.ly/O4NXzThe Guardian […]

FYI

ชวนคนเมืองดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืน ด้วยอาหารดูแลสุขภาพเชิงรุก เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการกิน ‘หมูมีโอเมก้า 3’

ยุคนี้ใครๆ ก็หันมาใส่ใจสุขภาพและใช้ชีวิตอย่างสมดุลมากขึ้น เพราะทนไม่ไหวกับสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ย่ำแย่ลงเรื่อยๆ จากการทำงานหนัก การผจญรถติดวันละหลายชั่วโมง รวมถึงสภาพอากาศที่แปรปรวนและมลพิษรอบตัว แม้จะมีหลายวิธีที่คนเมืองอย่างเราๆ สามารถเปลี่ยนสุขภาพของตัวเองให้แข็งแรงขึ้นได้ แต่หนึ่งในแนวทางที่ง่ายที่สุดคือการปรับพฤติกรรมการกินของตัวเอง ซึ่ง Urban Creature มีทริกแนะนำที่ทำได้ง่ายๆ เพียงเลือกกินเนื้อหมูมีโอเมก้า 3 ที่เต็มไปด้วยประโยชน์ในมื้ออาหารของเราทุกวัน ก็สามารถบำรุงร่างกายของเราให้เฮลตี้ เพราะในปัจจุบันสังคมไทยมีอัตราการเจ็บไข้ได้ป่วยที่เพิ่มสูงขึ้นในคนทุกช่วงวัย โดยเฉพาะสัดส่วนผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable Diseases : NCDs) เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น ซึ่งหนึ่งในสาเหตุสำคัญของโรคเหล่านี้คือ พฤติกรรมการกินของเรานั่นเอง เพื่อส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของคนทั่วโลก คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และภาคีเครือข่ายทั้งภาคการศึกษาและเอกชน จึงร่วมกันจัด การประชุมวิชาการนานาชาติด้านสาธารณสุข สิ่งแวดล้อม และการศึกษา เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและการเรียนรู้ตลอดชีวิต เมื่อวันที่ 28 – 29 กันยายน 2566 โดยภายในงานมีผู้เชี่ยวชาญทั้งไทยและต่างประเทศร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ และนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะช่วยสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับสังคม Urban Creature ได้สรุปความรู้น่าสนใจจากสัมมนาที่เหมาะกับคนเมืองยุคใหม่ภายใต้หัวข้อ ‘การส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี’ […]

‘EKM6’ แพลนต์เบสด์คอมมูนิตี้สเปซใจกลางเอกมัย ที่อยากให้คนเมืองได้สัมผัสธรรมชาติ และกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

“เราอยากให้คนที่มารู้สึกว่าทุกช่วงเวลาที่อยู่ที่นี่คือ Kind Moment ทั้งกับตัวเอง ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม” ‘แพม-เปรมมิกา ศรีชวาลา’ ผู้ก่อตั้ง ‘EKM6’ แพลนต์เบสด์คอมมูนิตี้สเปซสีเขียวเล็กๆ ภายในซอยเอกมัย 6 บอกกับเราถึงสิ่งที่อยากส่งต่อไปยังผู้เข้าใช้บริการ หลายคนอาจไม่รู้ว่า ภายในใจกลางย่านเอกมัยยังมีสถานที่หนึ่งที่เป็นเหมือนโอเอซิสสำหรับคนรักสุขภาพให้ได้มาใช้เวลาร่วมกับธรรมชาติไปพร้อมๆ กัน โดยชื่อของ EKM6 ถูกตั้งขึ้นให้ล้อไปกับสถานที่ตั้งของตัวโครงการอย่าง ‘ซอยเอกมัย 6’ และคำว่า ‘E(very) K(ind) M(oment)’ ยังเป็นการย้ำเตือนว่าที่นี่จะทำให้คุณได้ดื่มด่ำไปกับธรรมชาติรอบตัว รวมถึงอาหารและผลิตภัณฑ์ในรูปแบบ Plant-based จากผู้ประกอบการรายเล็กในประเทศไทย จนทุกช่วงเวลากลายเป็น Every Kind Moment E(verything) has a beginning. “เราไม่ได้คิดเรื่องธุรกิจตั้งแต่ต้น แต่มันเริ่มมาจากลูกแพ้นมและไข่ แล้วเขาอยากกินไอศกรีม เราเลยลองหาสูตรจากอินเทอร์เน็ตมาทำ จนกลายเป็นไอเดียเล็กๆ ที่ผุดมาจากลูกชายว่าทำไมไม่ลองทำขายดู” แพมเล่าถึงจุดเริ่มต้นที่ทำให้เธอเข้าสู่วงการแพลนต์เบสด์อย่างเป็นทางการ ก่อนเริ่มขยับขยายมาเป็นผู้ประกอบการรายเล็กที่ออกอีเวนต์ขายไอศกรีมแพลนต์เบสด์ในชื่อ Beyond Pops และได้พบกับกลุ่มผู้ประกอบการรายอื่นที่มีความสนใจในเรื่องสุขภาพเหมือนกัน แต่ด้วยความที่เมืองไทยไม่ค่อยมีคอมมูนิตี้ของคนชื่นชอบอาหารแพลนต์เบสด์ให้รวมตัวกัน บวกกับแพมเองก็เห็นช่องว่างว่าบ้านเรายังไม่มีพื้นที่ที่รวมธุรกิจเหล่านี้ไว้และเปิดขายได้ทุกวันโดยไม่ต้องรองานอีเวนต์ นั่นจึงทำให้เธอตัดสินใจสร้างสถานที่แบบนั้นขึ้นมาด้วยตนเอง “เรารู้สึกว่าคนที่มาอีเวนต์เกี่ยวกับแพลนต์เบสด์ มันมีตั้งแต่คนที่ให้ความสนใจแพลนต์เบสด์อยู่แล้วไปจนถึงคนทั่วไปที่เขาสงสัยว่าอาหารประเภทนี้คืออะไร เราเลยคิดเล่นๆ […]

ฮาวทูชาร์จแบตฯ กายใจในเมืองใหญ่ที่ดูดพลังเราทุกวัน คุยกับนักละครบำบัด ‘กิ๊ฟท์ ปรีห์กมล’

ในฐานะคนที่จากบ้านเกิดมาอยู่เมืองใหญ่หลายปี สิ่งที่ทำใจให้ชินไม่ได้สักทีคือความรู้สึกไม่มีพลังในการควบคุมสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ฉันไม่อาจเรียกตัวเองว่าเพื่อนสนิทกับขนส่งสาธารณะ ไม่ชอบความแออัด กะเวลาไม่ได้ ถ้าจะเดินทางครั้งหนึ่งก็ต้องเผื่อเวลาอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง ไหนจะฝุ่นควันในอากาศและสถานการณ์บ้านเมืองที่ทำให้หัวร้อนได้ทุกวัน  ‘เมืองนี้สูบพลัง’ คือความคิดตั้งแต่วันแรกที่มาอยู่ที่นี่จนถึงปัจจุบัน ความรู้สึกต่อมาที่หลายคนน่าจะมีเหมือนกันคือ ‘ฉันอยากออกไปจากที่นี่ แต่ยังไปไหนไม่ได้’ ด้วยเหตุผลนับร้อยพันที่แต่ละคนมีไม่เหมือนกันคอยฉุดรั้งไว้ นั่นคือเหตุผลที่ฉันมาพบกับ ‘กิ๊ฟท์-ปรีห์กมล จันทรนิจกร’ หญิงสาวผู้ที่หลายคนอาจรู้จักในฐานะผู้ก่อตั้ง Ma.D Club for Better Society กิจการเพื่อสังคมที่ซัปพอร์ตกลุ่มคนผู้อยากสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีในสังคมเมื่อหลายปีก่อน ประสบการณ์เกี่ยวกับสุขภาพจิตจากตัวเธอเองและคนรอบข้างในช่วงเวลานั้น ทำให้ปรีห์กมลสนใจด้านจิตใจและการบำบัดมากขึ้นไปอีก โดยเฉพาะละครบำบัดที่ทำงานกับเธอได้ดีเป็นพิเศษ หลังจาก Ma.D ปิดตัวลงในปลายปี 2018 เธอจึงเดินทางไปเรียนต่อ MA Drama and Movement Therapy ที่ The Royal Central School of Speech and Drama ประเทศอังกฤษ และกลับมาทำงานที่นี่ในฐานะนักละครบำบัด และในฐานะคนทำงานเกี่ยวข้องกับร่างกายและจิตใจอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ปรีห์กมลคือคนที่เราอยากขอคำปรึกษาเรื่องการกลับมาดูแลกายใจในเมืองสูบพลังที่เรา (จำเป็น) ต้องใช้ชีวิตอยู่ เล่าให้ฟังหน่อยสิว่าหลักของละครบำบัดที่คุณทำอยู่คืออะไร และมันต่างจากการบำบัดแบบอื่นอย่างไร สำหรับเรา […]

Healthy City จำลองเมืองสุขภาพดีให้คนสุขภาพดีตามแบบฉบับ WHO

‘เมืองสุขภาพดี’ คือเมืองที่เอื้อให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีจากสภาพแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัย ตอบสนองความต้องการพื้นฐาน และเปิดโอกาสให้คนมีปฏิสัมพันธ์จากการทำกิจกรรมร่วมกัน แต่ปัจจุบันเมืองใหญ่จำนวนไม่น้อยมีสุขภาพย่ำแย่ลงเรื่อยๆ เนื่องจากคนจากต่างจังหวัดหรือพื้นที่อื่นๆ ย้ายเข้ามาอยู่มากขึ้น ด้วยความหวังว่าจะมีชีวิตดีและก้าวหน้ามากกว่าเดิม  เมื่อคนส่วนใหญ่มารวมตัวกันอยู่ในเมือง ปัญหาที่ตามมาก็คือประชากรมีมากเกินไป ทำให้โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่แล้วไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้อยู่อาศัยทุกคนได้ ทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น ที่อยู่อาศัยคับแคบ ความเหลื่อมล้ำด้านสาธารณสุข ระบบขนส่งมวลชนไม่ครอบคลุม พื้นที่สาธารณะมีจำกัด มลพิษทางอากาศ หรือแม้แต่อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำลง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนสร้างผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของชาวเมืองได้ทั้งสิ้น ดังนั้น คอลัมน์ Urban Sketch จึงขออาสาจำลองเมืองสุขภาพดีตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อพัฒนาเมืองและคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในระยะยาว ปัจจัยอะไรบ้างที่จะช่วยส่งเสริมสุขภาพของทั้งเมืองและผู้คนอย่างถ้วนหน้า ไปติดตามพร้อมกันได้เลย  1. ดูแลสุขภาพจิตของผู้คน ปัญหาที่คนเมืองต้องพบเจอในทุกๆ วัน ไม่ว่าจะเป็นความกดดันในการใช้ชีวิตและการทำงาน ความยากจน มลภาวะ โครงสร้างพื้นฐานที่ย่ำแย่ ฯลฯ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความเครียดจนนำไปสู่อาการป่วยทางจิตได้ ดังนั้น ผู้คนควรมีสิทธิ์เข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพจิตมากขึ้น เช่น การเข้าถึงการปรึกษาหรือการรักษาผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งจะช่วยให้คนได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่พวกเขาเจอในแต่ละวันและระบายความเครียดได้ 2. เพิ่มพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียว การสร้างตึกและอาคารคือการเจริญเติบโตของเมืองที่ทำให้เมืองแออัด และทำให้มีพื้นที่ในการใช้ชีวิตน้อยลงเรื่อยๆ ไม่เพียงเท่านั้น เมืองที่หนาแน่นจนรู้สึกอึดอัดยังอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้อยู่อาศัยอีกด้วย เพราะฉะนั้นการเพิ่มพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียวจึงเป็นแนวทางสำคัญที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์ทางสังคมและกิจกรรมทางกายของผู้คน รวมถึงเปิดโอกาสให้คนที่ใช้ชีวิตคนเดียวได้พบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนความเห็นกับคนอื่นๆ ซึ่งจะช่วยลดความเครียด […]

7 กลุ่มโรคร้ายที่คนไทยเสียชีวิตมากที่สุด

เดือนแห่งการเริ่มต้นใหม่เวียนกลับมาอีกครั้ง เชื่อว่าหลายคนคงตั้ง New Year’s Resolution หรือเป้าหมายชีวิตที่อยากทำให้สำเร็จในปีกระต่ายเอาไว้บ้างแล้ว ทั้งเรื่องการงาน การเงิน การใช้ชีวิต รวมถึงการดูแลสุขภาพ  ‘สุขภาพ’ ถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ ที่หลายคนอยากปฏิวัติให้สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะหากละเลยหรือปล่อยให้สุขภาพย่ำแย่ วันใดวันหนึ่งอาจล้มป่วยจนต้องเข้าโรงพยาบาล แย่ที่สุดคือการเป็นโรคร้ายที่รุนแรงถึงชีวิต ใครๆ ก็อยากสุขภาพดีปลอดโรคกันทั้งนั้น แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีคนไทยเสียชีวิตจากโรคร้ายแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คอลัมน์ City By Numbers จึงอยากพาทุกคนไปสำรวจว่า โรคใดบ้างที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุดในปีที่ผ่านมา และต้นตอสาเหตุของโรคต่างๆ มาจากอะไร เผื่อใครลองปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตให้รอบคอบมากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคร้ายเหล่านี้ ข้อมูลจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NESDB) ปี 2564 เปิดเผยว่า หากจำแนกตามอัตราเสียชีวิตต่อประชากร 100,000 คน สามารถแบ่งสาเหตุการเสียชีวิตได้เป็น 7 กลุ่มโรคร้ายดังต่อไปนี้ 1) มะเร็งและเนื้องอกทุกชนิด 128.50 คน2) หลอดเลือดในสมอง 55.50 คน3) ปอดบวม 49.70 คน4) หัวใจขาดเลือด 33.50 […]

City Checkup ตรวจสุขภาพเมือง ประจำปี 2566

ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีใหม่ เราเชื่อว่าทุกคนก็ยังคงใช้ชีวิตไม่ต่างจากเดิมเท่าไรนัก แต่หนึ่งสิ่งที่ทุกคนมักแอดเข้าลิสต์ของ New Year’s Resolution คือเรื่องการดูแลตัวเอง ยิ่งหลังจากที่อยู่กับโรคระบาดมาเป็นเวลานาน สุขภาพร่างกายและจิตใจก็กลายเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องหันมาใส่ใจกันอย่างจริงจังมากขึ้น ว่าแล้วก็ถึงเวลาที่ต้องตรวจสุขภาพประจำปี เราไม่ได้แค่อยากเตือนให้ทุกคนหาเวลาดูแลตัวเองอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังอยากชวนมาตรวจเช็กสุขภาพเมืองของเราไปพร้อมๆ กันด้วย เพราะถ้าหากเมืองเจ็บป่วยแค่ส่วนใดส่วนหนึ่ง ย่อมเกิดผลกระทบต่อเนื่องแน่นอน ซึ่งผู้ได้รับความเดือดร้อนก็หนีไม่พ้นชาวเมืองอย่างพวกเรานี่แหละ Urban Creature ขอรับบทเป็นคุณหมอมาตรวจสุขภาพโดยรวมของเมืองกัน ตอนนี้อวัยวะสำคัญยังใช้งานได้ดีหรือถึงเวลาแล้วที่ต้องเยียวยารักษา ต่อแถวเข้าคิวเช็กอัปใน คอลัมน์ Overview ประจำซีรีส์เดือนนี้ได้เลย เมืองอาจเป็นโรคหัวใจ เพราะพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของประชาชน หากพูดถึง ‘หัวใจของเมือง’ ก็คงหนีไม่พ้น ‘ผู้คน’ ที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนให้เมืองดำเนินชีวิตต่อไปได้ ซึ่งพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเมืองอย่างการทำงานหนักจนแทบไม่มีเวลาดูแลตัวเอง รวมถึงปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย เหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดบ่อยขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หรือแม้แต่โควิด-19 ที่ยังคงระบาดอยู่ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อสุขภาพของผู้คน และอาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเมือง รายงานจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเผยว่า ในไตรมาสที่สามของปี 2565 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเฝ้าระวังเพิ่มขึ้นจากปี 2564 ถึง 275.4 เปอร์เซ็นต์ โดยโรคที่คนเป็นเยอะที่สุดคือโรคมือเท้าปาก ซึ่งมีผู้ป่วยมากถึง 77,349 ราย สูงกว่าปีก่อนหน้าประมาณ 56 เท่า รองลงมาคือโรคไข้หวัดใหญ่ […]

คนไทยหมดเงินไปเท่าไหร่ เพื่อแลกความมั่นใจกับคำว่า ‘น้ำดื่มสะอาด’

บ้านหลังนั้นมีตุ่มสีดินแดงสี่ใบไว้เก็บน้ำฝนสำหรับดื่ม และในตู้เย็นมีขันเงินใส่น้ำฝนแช่ไว้ดื่มเย็นชื่นใจ มาถึงวันนี้น้ำฝนฟรีจากฟ้ามีสารเคมีปนเปื้อนเพิ่มขึ้น การดื่มเข้าไปมากๆ ย่อมส่งผลร้ายต่อร่างกาย การซื้อน้ำดื่มจากขวดบรรจุภัณฑ์ย่อมให้ความรู้สึกที่สะอาดกว่า ด้วยเหตุนี้ ทำให้บ้านเรามีน้ำดื่มที่วางขายตามห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต หรือตามร้านขายของชำ จำนวนหลายสิบยี่ห้อให้เลือกดื่มตามราคา และเนื่องจากน้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญของร่างกาย มนุษย์ทุกคนไม่ว่ายากดีมีจนต้องดื่มน้ำเป็นประจำทุกวันอยู่แล้ว โดยข้อมูลจากสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Academy of Sciences : NAS) และ สถาบันแพทยศาสตร์ (The Institute of Medicine : IOM) ให้คำแนะนำสำหรับการดื่มน้ำไว้ว่า – ผู้หญิง ควรดื่มน้ำวันละประมาณ 2.7 ลิตร หรือประมาณ 11.5 แก้ว– ผู้ชาย ควรดื่มน้ำวันละประมาณ 3.7 ลิตร หรือประมาณ 15.5 แก้ว ในช่วงเวลาที่มีการถกเถียงกันเรื่องน้ำสะอาดและค่าครองชีพ คอลัมน์ City by Numbers ขอพาไปดูกันว่า ในดินแดนที่ขึ้นชื่อว่าอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติแห่งนี้ คนไทยหมดเงินกันไปเท่าไหร่กับการแลกความมั่นใจในคำว่า ‘น้ำดื่มสะอาด’ ราคาของการเข้าถึงน้ำดื่มสะอาด สมมติว่าในหนึ่งวันคนเราต้องดื่มน้ำประมาณ […]

เช็กสุขภาพง่ายๆ จากผิวหนัง! นักวิจัยเยอรมันพัฒนารอยสักเปลี่ยนสีได้ เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น-ต่ำลง

ในอนาคต ‘รอยสัก’ อาจจะไม่ใช่ศิลปะบนเรือนร่างที่สะท้อนตัวตนและความเชื่อเท่านั้น แต่ลวดลายเหล่านี้อาจเป็น ‘เครื่องมือ’ ที่ช่วยชี้วัดสุขภาพของผู้คนได้ด้วย  เพราะล่าสุดทีมนักวิทยาศาสตร์ในเยอรมนี นำโดย Ali Yetisen วิศวกรเคมีจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งมิวนิกได้คิดค้น ‘รอยสักเปลี่ยนสีได้’ เมื่อระดับน้ำตาลกลูโคส อัลบูมิน และค่าความเป็นกรด-เบส (pH) ในเลือดสูงขึ้นหรือต่ำลง เป็นเสมือนเซนเซอร์บนผิวหนังที่ช่วยให้ผู้ป่วยหรือคนที่มีรอยสักนี้ติดตามสุขภาพของตัวเองได้แบบเรียลไทม์ โดยไม่ต้องเดินทางไปพบแพทย์หรือใช้เครื่องมือต่างๆ ให้ยุ่งยาก รอยสักนี้เรียกอีกอย่างว่า ‘Biosensors’ หรือ ‘อุปกรณ์ตรวจวัดทางชีวภาพ’ โดยทางทีมวิจัยกำหนดให้รอยสักวัดระดับน้ำตาลกลูโคส อัลบูมิน และค่า pH ในเลือด เนื่องจากทั้งสามส่วนนี้คือตัวชี้วัดสำคัญที่บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงในร่างกายมนุษย์อย่างค่อนข้างชัดเจน  ยกตัวอย่าง ค่า pH ของร่างกายที่ไม่สมดุลอาจเป็นสัญญาณบอกว่าไตและปอดอาจไม่สามารถควบคุมความเป็นกรดของร่างกายได้แล้ว สำหรับระดับอัลบูมิน (ระดับโปรตีนในเลือด) ที่ผิดปกติอาจบ่งบอกถึงปัญหาเกี่ยวกับไต ตับ หรือหัวใจ ส่วนน้ำตาลกลูโคสในเลือดคือระดับที่ควรได้รับการควบคุมอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน วิธีการสัก Biosensors นั้นมีลักษณะเหมือนกับการสักทั่วไปที่ใช้เข็มเจาะบนชั้นหนังกำพร้า ซึ่งเป็นผิวหนังชั้นบนสุดของร่างกาย ก่อนจะปล่อยเม็ดสีเข้าไปในชั้นหนังแท้ ทำให้รอยสักอยู่บนผิวหนังถาวร แต่ทางทีมวิจัยไม่ได้เปิดเผยว่าตัวสีที่ใช้ผลิตมาจากอะไรและต้องใช้ปริมาณเท่าไหร่ ทั้งนี้ สิ่งที่ทำให้เจ้า Biosensors ต่างจากรอยสักทั่วไปคือสีที่เปลี่ยนได้ตามสุขภาพของร่างกาย เช่น เมื่อระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดต่ำ รอยสักจะเป็น ‘สีเหลือง’ […]

ASICS 15:09 UPLIFT CHALLENGE ออกกำลัง 15:09 นาที ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น และร่วมบริจาคให้ Wall of Sharing

ASICS (เอซิคส์) เปิดตัวกิจกรรม ASICS 15:09 Uplift Challenge ชวนทุกคนมาออกกำลังกายและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยยกจิตใจคนและสังคมตลอดทั้งเดือนมิถุนายนนี้ เนื่องในโอกาสวันวิ่งโลก พร้อมทั้งเผยผลลัพธ์จากการทดลอง Mind Race ซึ่งเป็นการทดลองผลกระทบที่เกิดกับสภาวะทางจิตใจเมื่อคนเราไม่ออกกำลังกาย  โดยการทดลอง Mind Race ได้แสดงให้เห็นว่าการที่เราหยุดออกกำลังกาย 1 สัปดาห์ ทำให้เกิดผลกระทบกับจิตใจใกล้เคียงกับคนที่นอนหลับไม่สนิทมาเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ผู้เข้าร่วมในการทดลองได้รายงานถึงการเกิดสภาวะคิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน (Racing Thoughts) ที่เพิ่มขึ้นกว่า 23 เปอร์เซ็นต์ ​​ศาสตราจารย์เบรนดอน สตับส์ (Brendon Stubbs) นักวิจัยด้านการออกกำลังกายและสุขภาพจิต ได้เฝ้าสังเกตดัชนีชี้วัดสุขภาพจิต (State of Mind Scores) ของผู้เข้าร่วมในงานวิจัย ซึ่งเป็นคนที่มีสุขภาพดีและออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยผู้เข้าร่วมจะหยุดออกกำลังกายเป็นเวลา 1 สัปดาห์เพื่อเข้าร่วมการทดลอง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นพบว่าการไม่ออกกำลังกายส่งผลต่อการรับรู้และอารมณ์ของพวกเขา เพราะเมื่อคนที่มีไลฟ์สไตล์ที่แอ็กทีฟหยุดออกกำลังกาย ความมั่นใจของพวกเขาจะลดลง 20 เปอร์เซ็นต์ ความคิดเชิงบวกลดลง 16 เปอร์เซ็นต์ ระดับพลังงานลดลง 23 เปอร์เซ็นต์ และความสามารถในการจัดการความเครียดลดลง […]

เซนเซอร์ติดหน้ากากอนามัย FaceBit วัดชีพจร ช่วยเช็กรอยรั่วที่หน้ากาก และรายงานผลสุขภาพผ่านแอปพลิเคชัน

ตั้งแต่โลกนี้มีโควิด-19 นวัตกรรมเกี่ยวกับหน้ากากอนามัยก็พัฒนาให้ล้ำได้อย่างไม่รู้จบ เพราะทุกวันนี้หน้ากากอนามัยแทบจะกลายเป็นอวัยวะใหม่ของร่างกายไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ต้องใส่หน้ากากนานถึง 12 ชั่วโมง/วัน นอกจากจะใส่ในชีวิตประจำวัน ยังต้องใส่ทำงานและป้องกันการรับไวรัสโดยตรงอีกด้วย แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าหน้ากากที่เราใช้อยู่ป้องกันไวรัสได้ดีแค่ไหน? เทคโนโลยีล่าสุดของการตรวจวัดข้อมูลสุขภาพไม่ได้อยู่แค่รูปแบบนาฬิกา (Fitness Tracker) อีกต่อไป แต่นักวิจัยจาก Illinois’ Northwestern University ได้คิดค้นอุปกรณ์ต้นแบบตัวใหม่ในชื่อ ‘FaceBit’ มีฟังก์ชันคล้ายกับ Fitbit แต่เป็นเซนเซอร์ขนาดเล็กใช้สำหรับติดบนหน้ากากอนามัยทุกประเภท เซนเซอร์อัจฉริยะ FaceBit ตัวนี้มีขนาดเท่าเหรียญ 25 เซ็นต์เท่านั้น สามารถติดไว้ข้างในหน้ากากประเภทไหนก็ได้ด้วยแม่เหล็กขนาดเล็ก ไม่ว่าจะเป็น หน้ากาก N95, หน้ากากผ้า, หรือหน้ากากทางการแพทย์  เซนเซอร์ FaceBit ตัวนี้ สามารถจับลมหายใจได้ มีฟังก์ชันในการวัดสัญญาณชีพจร สามารถคำนวณอัตราการหายใจ วัดอัตราการเต้นของหัวใจจากการขยับศีรษะที่สอดคล้องกับจังหวะหัวใจ และตรวจสอบได้ว่ามีรอยรั่วบนหน้ากากหรือไม่ เพื่อช่วยในการป้องกันไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เซนเซอร์นี้ยังใช้แบตเตอรี่เสริมด้วยระบบ Onboard ที่รวบรวมพลังงานมาจากการเคลื่อนไหว แสง ความร้อน และแรงจากลมหายใจในขณะที่เราสวมใส่ ทำให้แบตเตอรี่อึดมากๆ อยู่ได้ราว 11 วัน ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง […]

100 ภาคีจัด Good Society แบบ Virtual Event ธีม Hope In Crisis เพื่อสังคมที่ดีของทุกคน

เมื่อเชื่อว่าเราทุกคนต้องอยู่ด้วยกันให้ดีและมีความสุขให้ได้ Good Society หรือเครือข่ายสังคมดี เลยชักชวนทุกคนออกมาสร้างสรรค์สังคมที่พวกเราอยากจะอยู่ไปพร้อมกันในวันที่ 19-21 พฤศจิกายน 2564 ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังไม่หมดไป ในปีนี้เครือข่าย Good Society จึงกลับมาอีกครั้งในรูปแบบ Virtual Event ที่ชวนทุกคนมาร่วมกิจกรรมดีๆ อย่าง Good Society Summit 2021 และในช่วงเวลาเช่นนี้ ที่ ‘ความหวัง’ เป็นสิ่งสำคัญ งานในครั้งนี้จึงมาในธีม “Hope In Crisis ในวิกฤติยังมีหวัง” ครอบคลุมกิจกรรมที่น่าสนใจถึง 3 รูปแบบ ทั้ง Learn, Action และ Scale Impact จัดเต็มตลอด 3 วันแบบจุใจ หนึ่งคือ Learn เวทีระดมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาสังคม ที่จะชวนทุกคนร่วมกันคิดและพูดคุยถึงเป้าหมายของประชาชน ในประเด็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น การลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มคุณภาพชีวิต โดยไม่ลืมที่ชวนจะเป็น Active Citizen พลเมืองที่มีส่วนร่วมเพื่อส่วนรวม […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.