นักศึกษา USA ทำมาสก์ให้คนหูหนวกและหูตึงสามารถอ่านปากได้ - Urban Creature

ตอนนี้สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 สูงสุดกว่า 2 แสนราย ผู้คนต้องดิ้นรนหาซื้อ ‘หน้ากากอนามัย’ จนขาดตลาด และหนึ่งในปัญหามากมายท่ามกลางวิกฤตินี้คือ ‘การสื่อสาร’ ที่คนทั่วไปสามารถพูดคุย และเข้าใจกันแม้จะมีหน้ากากอนามัยปิดหน้าปิดตาอยู่ แต่สำหรับ ‘คนหูหนวกและหูตึง’ แล้ว เขาต้องอาศัยการอ่านรูปปากเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น นั่นหมายความว่า ในท้องตลาดไม่มีหน้ากากอนามัยที่ตอบโจทย์คนกลุ่มนี้ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้นักศึกษาจากรัฐเคนทักกีผุดไอเดียดีๆ เพื่อช่วยเหลือสังคม

เด็กสาววัย 21 ผู้มองเห็นปัญหา

‘แอชลีย์ ลอว์เรนซ์’ นักศึกษาสาขาการศึกษาในผู้บกพร่องทางการได้ยิน ที่ Eastern Kentucky University ในรัฐเคนทักกี สหรัฐอเมริกา เธอเห็นว่าตอนนี้หน้ากากอนามัยขาดแคลนจนผู้คนหันมาทำหน้ากากอนามัยกันเอง และด้วยความที่เรียนด้านนี้มา เธอมองเห็นถึงปัญหา นั่นคือคนหูหนวกและหูตึงต้องเจอกับอุปสรรคในการสื่อสารที่ไม่เข้าใจในวิกฤต COVID-19 ที่ทุกคนใส่หน้ากากอนามัยกันหมด ซึ่งเธอก็ไม่เห็นหน้ากากอนามัยที่ออกแบบมาสำหรับคนกลุ่มนี้ เธอจึงลงมือทำเอง !

หน้ากากปิดปาก แต่เห็นปาก

ลอว์เรนซ์ได้ไอเดียนี้มาจากหน้ากากผ่าตัดของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งการออกแบบนั้นก็แก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด เพราะผู้บกพร่องทางการได้ยินสามารถอ่านรูปปาก และเห็นสีหน้าท่าทางของของฝ่ายตรงข้ามได้เข้าใจยิ่งขึ้น โดยหลังจากที่เธอโพสต์เจ้าหน้ากากนี้ลง Facebook ของตัวเอง ก็ได้รับความสนใจอย่างล้นหลามเลยทีเดียว

อยากให้ทุกคนช่วยกัน

เริ่มแรกลอว์เรนซ์ผลิตหน้ากากนี้ออกมาจำนวนหนึ่ง และแจกให้ผู้ที่ต้องการแบบฟรีๆ เมื่อเห็นว่ามีคนต้องการหน้ากากอนามัย บวกกับความอยากให้ชุมชนในรัฐเคนทักกีของเธอเข้าถึงหน้ากากอนามัยนี้ เธอจึงเขียนอีเมลไปถึงสำนักข่าวต่างๆ เพื่อช่วยเป็นกระบอกเสียงว่าเธอกำลังทำอะไร และต้องการกำลังคนจำนวนมากเพื่อเข้าร่วมและช่วยโปรเจกต์นี้

การลงแรงทำหน้ากากของลอว์เรนซ์ ช่วยให้สังคมเห็นว่ายังมีอีกหลายคนที่อาศัยร่วมกับผู้บกพร่องทางการได้ยิน ได้ฉุกคิดว่าในโลกเรามีความหลากหลาย และต้องการคนที่เห็นความสำคัญของทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน


SOURCE
LEX 18
CNN

Writer

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.