
LATEST
Faces of Amata Nakorn ‘อมตะนคร’ นครนิรันดร์
‘อมตะนคร’ คือนิคมอุตสาหกรรมที่เป็นเสมือน ‘เมืองแห่งใหม่’ ในจังหวัดชลบุรี ในอดีตพื้นที่แห่งนี้เคยเป็นทุ่งนาว่างเปล่า แต่ปัจจุบันมีโรงงานและสำนักงานของบริษัทต่างๆ กว่า 700 แห่งตั้งเรียงรายอยู่
ออกแบบเมือง ‘Demon Slayer’ ให้มนุษย์อยู่ร่วมกับอสูรได้ ด้วยนโยบายที่ดาบไม่ต้องพิฆาตอสูร
‘Demon Slayer’ (Kimetsu no Yaiba) หรือ ‘ดาบพิฆาตอสูร’ เป็นหนึ่งในผลงานหนังสือการ์ตูนยอดฮิตจากญี่ปุ่น ที่เขียนโดย ‘โคโยฮารุ โกโตเกะ’ (Koyoharu Gotouge) และถูกนำไปสร้างเป็นอานิเมะและภาพยนตร์ที่หลายต่อหลายเสียงต่างบอกต่อกันมาว่า ดี! แบบตะโกน จักรวาลของ ‘ดาบพิฆาตอสูร’ เริ่มต้นด้วย ‘คามาโดะ ทันจิโร่’ เด็กหนุ่มผู้มีจมูกดมกลิ่นเป็นเลิศ ซึ่งมีครอบครัวที่อยู่ห่างไกลในหุบเขา วันหนึ่งเขาแบกถ่านไปขายในเมืองและกลับมาถึงบ้านก็พบว่า ทั้งครอบครัวถูกอสูรฆ่าอย่างโหดร้าย เหลือเพียงน้องสาวที่รอดชีวิตมาได้ และต้องกลายร่างเป็นอสูร จากเหตุการณ์นั้นกลายเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ชีวิตของทันจิโร่ต้องเผชิญกับความหม่นหมองเศร้าตรม ทว่าในความมืดมน เขาได้พบกับนักล่าอสูรที่มองเห็นคุณค่าบางอย่างในตัวของเขา และช่วยชี้หนทางหลุดพ้นจากสถานการณ์นี้ด้วยการแนะนำให้เดินทางไปพบเสาหลักอาวุโส เพื่อทำการฝึกฝนวิชาเป็นนักล่าอสูร นำไปสู่ภารกิจแก้แค้นอสูรที่ฆ่าคนในครอบครัว และทำให้น้องสาวของเขากลับมาเป็นมนุษย์อีกครั้ง “ถ้ามนุษย์กับอสูรอยู่ร่วมกันได้ก็คงดี แต่เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว ตราบใดที่อสูรยังกินมนุษย์” บทสนทนาตอนหนึ่งในเรื่องทำให้เรารู้ว่า แท้จริงแล้วไม่ว่าจะเป็นฝ่ายธรรมะหรืออธรรมก็ต่างมีเหตุผลของการต้องดิ้นรนมีชีวิต เพื่อต้อนรับการมาถึงของดาบพิฆาตอสูรภาคล่าสุด ‘หมู่บ้านช่างตีดาบ’ ที่เพิ่งเข้าฉายใน Netflix คอลัมน์ Urban Isekai จึงอยากสวมบทบาทเป็นเสาหลักเข้าไปสร้างเมืองที่ ‘มนุษย์อยู่ร่วมกับอสูรได้’ โดยนำพลังของมนุษย์และอสูรมาใช้พัฒนาให้ทุกคนและทุกตนให้เกิดความเข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน นำไปสู่การพัฒนาเมืองที่มนุษย์จะอยู่ร่วมกับอสูรได้ และกระจายอำนาจไปยังเมืองต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการรวมศูนย์หรือผูกขาดอำนาจในอนาคต พื้นที่มืดกลางแสงแดด (Outdoor Spaces) […]
เมืองที่ออกแบบไม่ดี ทำให้คนขี้เกียจ กับสถาปนิกผังเมือง | Unlock the City EP.24
รู้ไหมว่าการที่คนญี่ปุ่น คนออสเตรเลีย หรือคนในแถบสแกนดิเนเวีย มีนิสัยชอบเดิน ชอบขยับตัว มีความคล่องแคล่วว่องไวนั้น ไม่ได้มีสาเหตุจากค่านิยมหรือการปลูกฝังต่อๆ กันมาเท่านั้น แต่เหตุผลสำคัญที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังคือ การออกแบบเมืองที่ดี กระตุ้นให้คนเดินได้และเดินดีนั่นเอง แน่นอนว่าเมื่อเราสามารถเดินทางด้วยสองเท้าของเราได้ในเมือง ก็ไม่มีเหตุผลให้ต้องนั่งมอเตอร์ไซค์ สั่งเดลิเวอรี หรือไม่ออกไปข้างนอก เพราะถนนหนทางที่ออกแบบมาโดยให้ความสำคัญกับผู้คน ได้รองรับสองเท้า ไม้เท้า หรือกระทั่งล้อวีลแชร์ไว้เรียบร้อยแล้ว ยังไม่นับรวมพื้นที่สาธารณะที่กลายเป็นพื้นที่ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมแอ็กทีฟอื่นๆ อีก ใครที่อยากรู้ว่าการออกแบบเมืองทำให้คนคล่องแคล่วหรือขี้เกียจได้อย่างไร ‘พนิต ภู่จินดา’ โฮสต์รายการ Unlock the City จะมาอธิบายถึงประเด็นนี้อย่างเจาะลึกให้ฟัง ติดตามฟัง Unlock the City ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/anrELk5j5_A Spotify : http://bit.ly/3KUMJX2 Apple Podcasts : http://bit.ly/3o9nibm Podbean : http://bit.ly/3KSdUSn
‘The Penny Piggy Bank’ กระปุกออมสินหมูแม่เหล็ก ที่ทุบแตกกี่ครั้ง ก็ประกอบใหม่ได้
ถ้าถามถึงความเศร้าหนึ่งที่เราต้องเผชิญในวัยเด็ก คงเป็นการหยอดกระปุกออมสินหมูมานานแรมปี แต่เมื่อต้องทุบหมูเซรามิกเพื่อเอาเหรียญที่หยอดไว้ออกมากลับทำใจไม่ได้ซะอย่างนั้น เพื่อให้ฝันของเด็กไม่ต้องสลายไป ‘Dario Narvaez’ จึงได้ออกแบบกระปุกออมสินหมูขึ้นมาใหม่ โดยมีความพิเศษคือสามารถทุบเพื่อนำเศษเหรียญออกมา และประกอบกระปุกออมสินเข้าด้วยกันใหม่ได้ โดยตั้งชื่อให้การออกแบบนี้ว่า ‘The Penny Piggy Bank’ กระปุกออมสินหมูสีขาวล้วนที่เผยให้เห็นพื้นผิวที่แตกร้าวแทนที่จะปกปิดไว้อย่างแนบเนียน เป็นกิมมิกเล็กๆ ของ The Penny Piggy Bank ที่ Dario Narvaez ได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปะการซ่อมแซมเครื่องปั้นดินเผาด้วยทองและยางไม้ ที่รู้จักกันในชื่อ ‘คินสึงิ (Kintsugi)’ เมื่อออกแรงทุบไปที่ The Penny Piggy Bank รอยแตกร้าวดังกล่าวจะแบ่งตัวกระปุกออมสินหมูออกเป็นชิ้นส่วน PVC ทั้งหมด 12 ชิ้น ที่ทนทานต่อแรงกระแทกสูง ทนต่อรอยขีดข่วนที่เกิดจากการทุบกระปุกออมสินซ้ำๆ และสามารถประกอบขึ้นใหม่ได้ตลอดการใช้งานด้วยแม่เหล็กที่ถูกซ่อนไว้ภายใน นอกจากนี้ The Penny Piggy Bank ยังช่วยเสริมสร้างจินตนาการสำหรับเด็กผ่านการประกอบกระปุกออมสินขึ้นมาใหม่ เพราะโครงสร้างที่ไม่เหมือนใครของกระปุกออมสินจะทำให้ผู้ใช้งานสามารถประกอบขึ้นในรูปแบบใหม่ได้หลายพันวิธี ผ่านการจัดเรียงหรือหมุนชิ้นส่วนบางชิ้นในลักษณะต่างๆ คล้ายตัวการ์ตูน Mr. Potato Head ในเรื่อง Toy […]
สนทนาถึงปัญหาสัตว์จรจัดกับ ‘นัชญ์ ประสพสิน’ แห่งบ้านพักพิงแมวจร ‘Catster by Kingdomoftigers’
ในขณะที่คนรุ่นใหม่นิยมเลี้ยง ‘สัตว์เลี้ยง’ แทนการมี ‘ลูก’ มากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะเลี้ยงแมวมากกว่าแต่ก่อน เนื่องจากแมวเป็นสัตว์ที่สามารถอยู่อาศัยในพื้นที่จำกัดและดูแลตัวเองได้ แต่จากการพูดคุยกับ ‘นัชญ์ ประสพสิน’ เจ้าของบ้านพักพิงแมวจร ‘Catster by Kingdomoftigers’ หรือหลายคนอาจคุ้นหูมากกว่าในชื่อเพจ ‘ทูนหัวของบ่าว’ ช่องทางที่ให้ความช่วยเหลือแมวและสัตว์จรจัดมาอย่างต่อเนื่องกว่า 10 ปี เรากลับพบว่าการที่คนให้ความสนใจในการเลี้ยงสัตว์มากขึ้นแต่ขาดความเข้าใจและความรับผิดชอบ ก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เกิดสัตว์จรจัดไม่ต่างจากในอดีต แถมยังเพิ่มมากขึ้นด้วยซ้ำในช่วงโรคระบาด จากสาเหตุนี้เอง ทำให้ Catster by Kingdomoftigers หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่าบ้านพักพิงแมวจร ที่รับดูแลตั้งแต่การปรับนิสัย ปรับพฤติกรรม รักษาสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตของแมวเพื่อรอการหาบ้าน มีแมวจรจัดต่อคิวเข้าอยู่เป็นจำนวนมาก “ปัจจุบันคนรักสัตว์มีเยอะขึ้น แต่คนที่ไม่รักและมองว่าสัตว์ไม่ควรได้รับความช่วยเหลือก็ยังมีอยู่ เราอยากให้คนมีความรู้เกี่ยวกับแมวจรมากขึ้น เพราะเวลาสัตว์เป็นอะไรนิดๆ หน่อยๆ คนจะเริ่มกังวลและไม่ดูแล เอาไปทิ้งก็เยอะ” จากเพจ ‘ทูนหัวของบ่าว’ กลายมาเป็น ‘Catster by Kingdomoftigers’ ได้อย่างไร จุดเริ่มต้นของ Catster by Kingdomoftigers มาจากการที่เราทำเพจทูนหัวของบ่าวมาประมาณ 10 กว่าปี และพบว่าแม้เราจะพยายามช่วยเหลือสัตว์จรจัด […]
บริการพาผู้สูงอายุไปหาหมอตามนัด สำหรับครอบครัวที่ไม่สะดวกพาไปเอง กับเพจเฟซบุ๊ก ‘ลูกสาวพาหาหมอ’
เมื่อถึงวัยหนึ่ง การไปหาหมอตามนัดอาจกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา แต่พออายุมากขึ้น การจะไปไหนมาไหนเองคงไม่สะดวก ลูกหลานก็อาจไม่ว่างพาไปหาหมอทุกครั้ง บริการพาผู้สูงอายุไปหาหมอตามนัดจึงเกิดขึ้นเพื่อแก้ Pain Point ข้อนี้ ‘ลูกสาวพาหาหมอ’ คือธุรกิจให้บริการพาผู้สูงอายุไปหาหมอในโซนกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่เกิดขึ้นจาก ‘เอมี่-อมรรัตน์ ขันตยาภรณ์’ และลูกสาวผู้ทำหน้าที่พาผู้สูงอายุในบ้านไปหาหมอเป็นประจำ เนื่องจากญาติคนอื่นๆ มักไม่ค่อยมีเวลาว่าง ทำให้ทั้งคู่นึกถึงครอบครัวอื่นๆ ที่คนในครอบครัวอาจประสบปัญหาไม่ว่างพาผู้สูงอายุไปหาหมอ จนเกิดเป็นไอเดียที่อยากให้บริการนี้ขึ้นมา หน้าที่ของ ‘ลูกสาวพาหาหมอ’ จะเริ่มต้นตั้งแต่รับผู้สูงอายุจากที่บ้าน พาไปโรงพยาบาล ดำเนินการเรื่องเอกสาร เข้าพบคุณหมอพร้อมกับผู้ป่วยด้วยหากเป็นเคสที่ต้องการ ไปจนถึงพากลับบ้านอย่างปลอดภัย โดยตลอดระยะเวลาที่อยู่โรงพยาบาลนั้นจะมีการอัปเดตความคืบหน้าให้ญาติผู้สูงอายุทราบอยู่เรื่อยๆ แต่เนื่องจากเป็นงานที่ต้องนัดล่วงหน้า ‘ลูกสาวพาหาหมอ’ จึงไม่สามารถรับผู้ป่วยฉุกเฉินได้ รวมถึงผู้ป่วยเองต้องสามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง เช่น พูดคุยสื่อสารและเดินได้ เพราะด้วยข้อจำกัดของพื้นที่รถยนต์ ทำให้พวกเธอไม่สะดวกรับผู้ป่วยที่นั่งวีลแชร์ตลอดเวลาได้ อัตราค่าบริการนี้อยู่ที่ 1,000 บาทต่อ 8 ชั่วโมง โดยยังไม่รวมค่าเดินทางที่เริ่มต้นด้วย 300 บาท หรือคิดตามระยะทางระหว่างบ้านลูกค้าถึงโรงพยาบาลทั้งขาไป-ขากลับ ซึ่งหากใครต้องการใช้บริการต้องจองล่วงหน้าอย่างน้อยสามวันก่อนถึงวันนัด เพราะถ้าจองช้าคิวอาจเต็มก่อนได้ ปัจจุบัน ‘ลูกสาวพาหาหมอ’ เน้นการให้บริการเพียงพาผู้สูงอายุไปหาหมอเท่านั้น แต่ในอนาคต หากลูกค้ามีความต้องการอื่นๆ ก็อาจมีบริการเพิ่มเติม เช่น การพาไปซื้อของหรือบริการอื่นๆ […]
Light Rail Tunnel Karlsruhe ชานชาลารถไฟฟ้าที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นตัวเอกในหนังรักโรแมนติก
แม้ว่าชานชาลารถไฟฟ้าใต้ดินจะเป็นฉากที่เราเห็นกันอยู่บ่อยๆ ในหนังรักโรแมนติก แต่ความเป็นจริงแล้วที่นี่กลับเป็นสถานที่ที่มีบรรยากาศอึมครึม เต็มไปด้วยผู้คน เสียงดัง และความวุ่นวายจนมองหาความโรแมนติกไม่ค่อยจะเจอ ถ้าคุณกำลังมองภาพสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินเป็นแบบนี้ เราอยากชวนไปสัมผัสความโรแมนติกของชานชาลารอรถไฟฟ้าใต้ดินรางเบาทั้ง 7 แห่งบริเวณใจกลางเมืองคาร์ลสรูเออ ประเทศเยอรมนี อย่าง ‘Light Rail Tunnel Karlsruhe’ พร้อมๆ กัน ผ่านการออกแบบและติดตั้งไฟที่จะทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกเหมือนกำลังเป็นตัวเอกในหนังรักโรแมนติกสักเรื่อง Light Rail Tunnel Karlsruhe เป็นผลงานการออกแบบของสตูดิโอออกแบบ ‘allmannwappner’ ร่วมกับ ‘Ingo Maurer’ นักออกแบบอุตสาหกรรมชาวเยอรมันที่เชี่ยวชาญด้านการออกแบบโคมไฟและการติดตั้งไฟ ทำให้ชานชาลาทั้ง 7 แห่งสามารถถ่ายทอดความเรียบง่ายออกมาได้ จนทำให้ผู้ใช้งานเกิดความสงบ ไม่ต้องเร่งรีบตลอดเวลาเหมือนตอนใช้งานรถไฟฟ้าใต้ดินแห่งอื่นๆ พื้นที่สีขาวที่เรียบง่ายและสม่ำเสมอตลอดเส้นทาง เกิดจากการใช้วัสดุชนิดเดียวกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นบนเพดาน ผนัง หรือพื้น เพื่อลดสัญญาณรบกวนทางสายตาและให้ความสำคัญกับองค์ประกอบสำคัญอื่นๆ อย่างรถไฟ สัญลักษณ์ และตัวอักษรสีแดงภายในชานชาลาได้มากขึ้น นอกจากนี้ Ingo Maurer ยังใช้หลอดไฟ LED สีขาวให้แสงสว่างกับสถานี ส่งผลให้ชานชาลาแห่งนี้มีความมินิมอลเรียบง่าย ให้ความรู้สึกสบายตามากยิ่งขึ้น และพิเศษไปกว่าเดิมด้วยการเล่นแสงจากสปอตไลต์ RGB สีแดง น้ำเงิน […]
ตามล่าขุมทรัพย์ปริศนาแห่งธนบุรีไปกับ ‘เกมท่องธน’ (Game of Thon) ที่ผสมการเล่นบนจอและโลกจริงไว้ด้วยกัน
‘ธนบุรี’ คืออดีตเมืองหลวงที่มีเรื่องราวมากมายซ่อนไว้ ซึ่งไม่ได้อยู่เพียงแค่ในวัดวังและโบราณสถานอันยิ่งใหญ่เท่านั้น แต่ยังซุกซ่อนอยู่ตามซอกซอย เส้นทาง และผู้คน รอคอยให้ใครสักคนมาค้นพบในสักวัน เร็วๆ นี้ ทุกคนจะได้สัมผัสการผจญภัยครั้งสำคัญกับ ‘เกมท่องธน’ (Game of Thon) เกมรูปแบบใหม่ที่ผสมผสานการเล่นบนหน้าจอสมาร์ตโฟนกับการเล่นในสถานที่จริงเข้าไว้ด้วยกัน โดยตัวเกมจะพาทุกคนไปตามหาเรื่องราวในอดีตของฝั่งธนฯ และเปลี่ยนประสบการณ์การท่องเที่ยวในย่านนี้ให้แตกต่างไปจากเดิม ผู้นำเสนอเกมท่องธนคือกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่อยากพัฒนาย่านฝั่งธนบุรี ‘ยังธน’ ร่วมกับ ‘CROSSs’ และ ‘กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์’ ซึ่งภายในเกมมีฟีเจอร์ที่น่าสนใจ ดังนี้ 1) สวมบทบาทเป็นนักผจญภัย ตามหาขุมทรัพย์ในอดีตของธนบุรีที่หายไป2) ผสมผสานการเล่นทั้งโลกหน้าจอและโลกจริงเข้าด้วยกันอย่างแนบเนียน3) เปลี่ยนย่านบางกอกใหญ่ให้เป็นดินแดนการผจญภัยแสนสนุก4) ลับสมองประลองปัญหากับมินิเกมจากสถานที่ต่างๆ ทั่วบางกอกใหญ่5) เพิ่มความสนุกและตื่นเต้นไปกับเรื่องราวของย่าน ด้วยการสะสมสัตว์เลี้ยงและการ์ดต่างๆ6) สนับสนุนและกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น ด้วยระบบคูปองแลกซื้อสินค้าจากร้านชุมชน “Game of Thon คือเกมที่จะทำให้ผู้เล่นได้รู้จักฝั่งธนฯ มากขึ้น เราอยากให้เกมนี้เป็นเหมือนตัวกลางที่ทำให้คนในพื้นที่และคนนอกพื้นที่ได้เจอมาเจอกัน และแลกเปลี่ยนความรู้ด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ คุณค่าของย่าน รวมไปถึงขับเคลื่อนเศรษฐกิจในชุมชนด้วย” ‘เมฆ สายะเสวี’ สมาชิกกลุ่มยังธน เล่าให้ฟังถึงความตั้งใจของการพัฒนาเกมนี้ มากไปกว่านั้น กลุ่มยังธนยังคาดหวังว่า เกมท่องธนจะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ทำให้ผู้คนรู้จักย่านต่างๆ ในธนบุรีมากขึ้น โดยผู้เล่นเกมสามารถใช้เกมนี้ในการชักชวนเพื่อนๆ […]
Urban Eyes 31/50 เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
คราวนี้โปรเจกต์ Bangkok Eyes ขอมากับเขตที่อยู่ในตัวเมืองบ้าง เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายเป็นเขตที่เราค่อนข้างคุ้นเคย และมีเอกลักษณ์ที่สำคัญคือ การเป็นเขตเมืองเก่าที่อุดมไปด้วยประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม พื้นที่หลักๆ อยู่ในบริเวณเวทีมวยราชดำเนินถึงตลาดโบ๊เบ๊ และอีกมุมหนึ่งคือ วงเวียน 22 กรกฎาคม ไปถึงแถวเสือป่า จนไปสิ้นสุดอีกทีก็เกือบแถวคลองโอ่งอ่าง ความประทับใจของเราต่อเขตนี้คือ เราสามารถเดินเท้าถ่ายภาพได้อย่างสบายๆ เพราะนอกจากเส้นทางที่ค่อนข้างเอื้อแล้ว ระหว่างทางก็มีอะไรให้แวะชมอยู่ตลอด ทั้งสิ่งก่อสร้างที่มีกลิ่นอายของอดีต และบรรยากาศชุมชนเก่าที่ให้ความรู้สึกเหมือนบ้าน ส่วนสถานที่ไหนในเขตนี้ที่เราหยิบยกมานำเสนอบ้าง ไปชมกันในอัลบั้มได้เลย ตลาดโบ๊เบ๊ ━ ส่วนใหญ่ที่นี่จะขายส่ง-ปลีกเสื้อผ้า ชุดว่ายน้ำ กระเป๋า รองเท้า และของจิปาถะอีกหลากหลายอย่าง ถ้าไปถูกช่วงเวลาจะเจอพ่อค้าแม่ขายเอาของขึ้นลง เก็บสต็อก ยกเข้าร้าน ใครที่อยากไปถ่ายภาพ พยายามดูแสงดีๆ เพราะบางจุดเป็นซอกซอย ช่วงเวลาตอนเช้าหรือเย็นอาจไม่มีแสงลอดเข้าไป แต่ถ้าไปช่วงสายถึงบ่ายจะมีแสงลอดผ่านร่มร้านค้าหรือช่องระหว่างตึกให้ได้ปั้นซีนถ่ายรูปได้มากขึ้น วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (ภูเขาทอง) ━ วัดนี้เรียกว่าเป็นไฮไลต์ของเขตเลยก็ว่าได้ ด้วยความสูงใหญ่เป็นดั่งแลนด์มาร์กของประเทศไทย ตามข้อมูลบอกว่าที่นี่มีบันไดทั้งหมด 344 ขั้น ถ้าใครจะไปเยือนต้องเผื่อแรงเดินขึ้นไว้ด้วย ส่วนสิ่งที่เราชอบมากๆ คือบันไดสีแดงที่ตัดกับสีขาวของตัวอาคาร มันเพิ่มความโดดเด่นทางสีสันให้วิชวลที่เราพยายามเสนอ บางทีแค่ใส่คนเข้าไปภาพก็สวยแล้ว ยิ่งเดินขึ้นไปถึงข้างบนตัวยอดเจดีย์ บวกกับผู้คนที่ไหว้พระเดินไปเดินมาหรือนั่งพัก ก็ยิ่งเป็นองค์ประกอบฉากชั้นดี ทีนี้เราแค่พยายามมองทิศทางของแสงให้เหมาะกับซีนที่พยายามจะถ่ายก็พอ […]
O_building เปลี่ยนเส้นทางระหว่างอาคารที่มืดทึบให้น่าเดิน ด้วยกระจกครึ่งบาน รับแสงแดดและเพิ่มพื้นที่
เมื่อพูดถึงอาคารที่อยู่อาศัย เรามักนึกถึงตึกสูงที่ตั้งชิดกันจนแทบไม่เหลือพื้นที่ว่างให้เดิน เช่นเดียวกันกับเมือง Musashino ในเมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ที่มีอาคารพาณิชย์ตั้งเรียงรายจนทำให้เกิดทางเดินที่คับแคบและมืดทึบ สตูดิโอ Yohei Kawashima Architects จึงออกแบบ ‘O_building’ อาคารที่ล้อมรอบไปด้วยกระจกครึ่งบานและทางเดินที่เต็มไปด้วยธรรมชาติ เพื่อเพิ่มมุมมองที่สวยงามของเมืองโตเกียว O_building เป็นอาคารสามชั้นที่ออกแบบโดยสถาปนิกชื่อ ‘Yohei Kawashima’ มีลักษณะเป็นอาคารที่อยู่อาศัยรูปทรงเสาธง (Flagpole-shaped Residence) ที่ล้อมรอบไปด้วยธรรมชาติทั้งทิศเหนือและทิศใต้ของโครงสร้างอาคาร Yohei Kawashima Architects พยายามออกแบบให้พื้นที่ทางเดินด้านข้างมีชีวิตชีวามากขึ้นด้วยการวางแผ่นกระจกครึ่งบานไว้ตามทาง เพื่อทำหน้าที่รับแสงและเงาของแดดที่ส่องผ่านเข้ามาตามช่องว่าง ทั้งยังช่วยให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกว่ามีพื้นที่มากขึ้นจากการสะท้อนภาพอาคารและด้านหลังของอาคารอีกฝั่งหนึ่งที่อยู่ติดกันด้วย นอกจากนี้ ทางทีมสถาปนิกยังเสริมความน่ามองของทางเดินด้วยต้นไม้เขียวขจี เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยมาใช้เวลาพักผ่อนตรงบริเวณนี้ หรือผู้คนที่ผ่านไปผ่านมาได้สัมผัสกับธรรมชาติ และพวกเขายังเชื่อว่าทางเดินเล็กๆ ข้างอาคารแห่งนี้จะช่วยเปลี่ยนประสบการณ์การเดินท่ามกลางแสงแดดให้สดชื่นขึ้น รวมถึงเปลี่ยนคุณภาพพื้นที่ที่เชื่อมต่อระหว่างอาคารได้อย่างแน่นอน Source :Designboom | bit.ly/40A77Cm
ชง ดม ชิมกาแฟสายเลือดอีสาน และม่วนคักกับการแข่งขัน AeroPress ที่เทศกาล Brew Barn Fest 2023
ซีนกาแฟในอุบลราชธานีกำลังสนุกและคึกคักขึ้นเรื่อยๆ เห็นได้จากร้านกาแฟเล็กใหญ่ที่กระจายตัวอยู่ทั่วจังหวัด นอกจากเสิร์ฟคาเฟอีนหอมๆ ให้ลูกค้าได้ลิ้มรสความกลมกล่อมกันแล้ว หลายเจ้ายังต่อยอดธุรกิจของตัวเองด้วยการผันตัวเป็นโรงคั่วกาแฟ เพื่อส่งต่อรสชาติเมล็ดกาแฟที่มีเอกลักษณ์ให้คอกาแฟในพื้นที่อื่นด้วย แต่การเติบโตของคอมมูนิตี้กาแฟในจังหวัดอุบลฯ ไม่ได้หยุดอยู่เพียงเท่านั้น เพราะปีนี้มีการจัด ‘Brew Barn Fest 2023’ เทศกาลกาแฟครั้งใหญ่ที่เป็นหมุดหมายของคนฮักกาแฟทั่วอีสานไปเมื่อวันที่ 11 – 12 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งหัวเรือใหญ่ของงานนี้คือร้านกาแฟ Specialty แห่งแรกๆ ของอุบลฯ อย่าง Anna Coffee Roasters จับมือกับนักจัดอีเวนต์เกี่ยวกับกาแฟอย่าง The Coffee Calling คอลัมน์ One Day With ขอพาทุกคนออกเดินทางไปยังผืนดินและทุ่งหญ้าสีเขียวในตำบลหัวเรือ จังหวัดอุบลฯ เพื่อสัมผัสธรรมชาติและดมกลิ่นเมล็ดกาแฟหอมๆ ในเทศกาล Brew Barn Fest 2023 ที่มาพร้อมการออกบูทของเหล่าร้านค้าเจ้าดังในโซนภาคอีสาน วงเสวนาและข้อมูลข่าวสารของวงการกาแฟ ไปจนถึงการแข่งขัน ‘Isan Thailand AeroPress Championship 2023 (iTAC2023)’ เพื่อหาผู้ชนะไปแข่งขันในระดับประเทศและระดับโลกต่อไป แน่นอนว่ากิจกรรมเหล่านี้จะมาเติมเต็มความม่วนให้คอมมูนิตี้คนฮักกาแฟ […]
EDEN Singapore Apartments อะพาร์ตเมนต์ในสวนแนวตั้ง เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้คนเมืองได้ใกล้ชิดธรรมชาติ
ราว 50 ปีที่แล้ว ‘สิงคโปร์’ ถูกนิยามว่าเป็น ‘เมืองในสวน’ ด้วยนโยบายของประเทศที่วางแผนสร้างเมืองที่มีตึกสูงระฟ้า แต่ขณะเดียวกันก็อุดมไปด้วยพื้นที่สีเขียว มีวิวทิวทัศน์สบายตา ‘Heatherwick Studio’ บริษัทสถาปัตยกรรมในลอนดอน จึงได้นำแรงบันดาลใจจากแนวคิดเช่นนี้มาออกแบบ ‘EDEN Singapore Apartments’ อาคารที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ประวัติศาสตร์อย่างย่าน Newton ประเทศสิงคโปร์ สตูดิโอแห่งนี้ปรับเปลี่ยนวิธีการสร้างตึกสูงที่มีเพียงโครงสร้างแบบเหล็กและกระจก ทำการเพิ่มส่วนประกอบของธรรมชาติที่ให้อารมณ์แบบบ้านในสวน เพื่อเป็นส่วนเติมเต็มให้คนเมืองได้พบกับที่พักอาศัยบนตึกสูงที่อยู่ท่ามกลางทิวทัศน์ธรรมชาติ หากมองไกลๆ จะเห็นว่า EDEN Singapore Apartments แห่งนี้มีโครงสร้างแกนกลางคล้ายกระดูกสันหลัง จัดการออกแบบให้มีหน้าต่างบานเรียวแนวตั้งมีลักษณะคล้ายใบมีด และเมื่อมองจากด้านหน้าจะพบว่าตึกแห่งนี้มีระเบียงที่ดูคล้ายกับสวนแขวนขนาดใหญ่ ที่ถูกแบ่งพื้นที่ให้เป็นระเบียงซึ่งอัดแน่นไปด้วยพรรณไม้ที่ถักทอขึ้นด้านบนและแผ่ขยายไปรอบๆ อาคาร ทำให้พื้นที่สี่เหลี่ยมของอาคารที่อยู่อาศัยแบบดั้งเดิมถูกปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นพื้นที่ใช้สอยบริเวณด้านนอก เพื่อให้ผู้พักอาศัยมีสวนส่วนตัวบนท้องฟ้าอันเขียวชอุ่ม ได้เชื่อมโยงกับธรรมชาติและโอบรับประสบการณ์การใช้ชีวิตที่เงียบสงบ นั่งคุย นั่งชิลได้ทุกเมื่อ เสมือนอยู่บนสวนสวรรค์สมชื่อ สิงคโปร์ยังคงพัฒนาเมืองด้วยแนวคิดแบบ City in a Garden เสมอมา มีกลิ่นอายของความอุดมสมบูรณ์ หรูหรา และกลมกลืนกับสภาวะแวดล้อมแบบร้อนชื้น โดยให้ความสำคัญต่อพื้นที่สีเขียวและใส่ใจดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมที่สบายตา รวมถึงยังไม่หลงลืมที่จะผสมผสานพืชพรรณต่างๆ ให้เข้ากับตึกสูงได้อย่างลงตัว เพื่อให้ผู้คนในเมืองยังคงได้ใกล้ชิดความสวยงามของธรรมชาติตลอดไป Sources :Eden | bit.ly/43cBwIuParametric […]