
LATEST
Better Public Transport Station สร้างสถานีขนส่งสาธารณะใหม่ ฉบับนึกถึงหัวใจคนเดินทาง
ภาพสถานีขนส่งโทรมๆ คลาคล่ำไปด้วยผู้คนจากทั่วทุกสารทิศที่ต้องการเดินทางกลับไปยังบ้านเกิดที่ตนจากมา บ้างนั่งรอรถโดยสารอย่างใจจดใจจ่อ บ้างก็นอนพักรอให้เวลาเดินทางมาถึง บรรยากาศเหล่านี้กลายเป็นภาพที่เราเห็นกันจนคุ้นชิน โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดยาวของทุกๆ ปี แต่ภายใต้ความคุ้นชิน กลับไม่ใช่สิ่งที่สร้างความสะดวกสบายให้กับบรรดาผู้โดยสารที่ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงภายในสถานีขนส่งสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นความแออัดวุ่นวาย สภาพแวดล้อมที่มืดและสกปรก โครงสร้างที่ทรุดโทรม ไหนจะป้ายบอกทางที่สับสน รวมถึงฟังก์ชันต่างๆ ไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้บริการเอาเสียเลย วันนี้ Urban Creature จึงขออาสาดีไซน์สถานีขนส่งสาธารณะแห่งใหม่ ที่มาพร้อม 4 พื้นที่ใช้งานซึ่งเกิดจากแนวคิดที่นึกถึงหัวใจคนเดินทางเป็นหลัก มีตั้งแต่จุดซื้อตั๋วที่สะดวกรวดเร็ว ไปจนถึงการขึ้นลงรถโดยสารที่สะดวกและไม่วุ่นวาย ซึ่งเราเชื่อว่าถ้าการออกแบบเหล่านี้เกิดขึ้นได้จริง สถานีขนส่งสาธารณะแห่งใหม่คงจะน่าใช้งานและตอบโจทย์ผู้โดยสารกว่าเดิมเยอะเลย 01 | One-stop Booking Serviceจองตั๋วรถง่ายด้วยปลายนิ้ว เคยเจอปัญหาที่ไม่รู้ว่าต้องซื้อตั๋วรถโดยสารสาธารณะจากที่ไหนไหม พอไปซื้อที่สถานีล่วงหน้า เขาก็บอกให้รอซื้อวันเดินทางจริง พอถึงวันเดินทางจริง พนักงานกลับบอกว่าทำไมไม่ซื้อออนไลน์ แต่พอจะเข้าจองออนไลน์ก็งงเข้าไปใหญ่ เพราะเสิร์ชเข้าไปเจอเป็น 10 เว็บไซต์ แล้วอย่างนี้ต้องจองตรงไหนกันแน่ จะปล่อยให้คนเดินทางปวดหัวแบบนี้ต่อไปคงไม่ไหว เราเลยขอเปลี่ยนระบบการจองใหม่ให้เป็น ‘One-stop Booking Service’ เว็บไซต์กลางสำหรับจองตั๋วที่ไม่ว่าจะเป็นรถทัวร์หรือรถตู้ค่ายไหน ก็จองได้ง่ายผ่านเว็บไซต์เดียว ไม่ต้องค้นหากันให้วุ่นวาย แต่สำหรับใครที่ไม่สะดวกซื้อตั๋วผ่านออนไลน์ ในสถานีก็จะมีตู้จำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ และบริการจำหน่ายตั๋วโดยเจ้าหน้าที่บริเวณเคาน์เตอร์ เพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ที่ไม่คุ้นชินกับการจองออนไลน์ หรือมีเหตุให้ต้องเดินทางแบบกะทันหัน 02 […]
JAIKLA แบรนด์ขนมหมาจากโปรตีนแมลงที่เชื่อว่าน้องหมาก็ช่วยโลกได้
สัมภาษณ์ผู้คนที่ทำธุรกิจเพื่อความยั่งยืนมาหลายคน ใครจะคิดว่าวันหนึ่งเราจะได้นั่งคุยกับเจ้าของธุรกิจขนมหมา ‘ขนมหมากู้โลก’ แวบแรกที่ได้ยินนิยามนี้ของขนมยี่ห้อ JAIKLA เราก็ไม่กล้าเชื่อเท่าไหร่ แต่เมื่อได้สนทนากับผู้ก่อตั้งแบรนด์อย่าง ‘โด่ง-อิทธิกร เทพมณี’ และ ‘เพชร-พชรพล อัจฉริยะศิลป์’ เราก็เชื่อว่ามันเป็นไปได้จริงๆ เพราะนี่ไม่ใช่ขนมหมาธรรมดา แต่เป็นขนมที่ทำมาจากโปรตีนแมลงที่เลี้ยงอย่างดีในฟาร์มเฉพาะ เลี้ยงด้วยเศษผักและอาหารส่วนเกินที่รับมาจากแหล่งต่างๆ ในไทย นอกจากจะนำแมลงเหล่านั้นมาแปรรูปเป็นขนมคุกกี้กรอบรสชาติถูกใจเหล่าน้องๆ ในปี 2022 พวกเขายังช่วยลดปริมาณอาหารส่วนเกินในบ้านเราไปได้เกือบ 15 ตัน! ใครจะคิดว่าน้องหมาสี่ขาที่บ้านเราจะช่วยเซฟสิ่งแวดล้อมได้ แต่พวกเขาก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าทำได้ เรื่องราวการทำขนมของโด่งและเพชรก็น่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะต่อให้เป็นพ่อหมาที่เลี้ยงหมาของตัวเองอยู่แล้ว พวกเขาก็สารภาพกับเราว่าการทำขนมหมานั้นไม่ง่ายเลย ยิ่งท้าทายเข้าไปอีกเพราะเป็นขนมหมากู้โลก นอกจากโปรตีนแมลงที่เป็นส่วนผสมหลัก ขนมแบรนด์ JAIKLA มีอะไรเป็นส่วนประกอบบ้าง ให้บทสนทนาต่อจากนี้ของพวกเขาเล่าให้ฟัง ส่วนประกอบที่ 1ความมั่นคงทางอาหารที่ถูกสั่นคลอน ‘รู้จักประเด็นโลกร้อนแค่ผิวเผิน และไม่ได้รู้สึกว่าต้องเข้าไปแก้ไขอะไรมัน’ ถ้าคุณเคยรู้สึกแบบเดียวกัน โด่งบอกว่าเราเป็นเพื่อนกันได้ ด้วยพื้นฐานความรู้ด้านบริหารธุรกิจ เคยไปนั่งตำแหน่งนักวิเคราะห์การลงทุนที่ให้ความสำคัญกับเงินและประโยค ‘Greed is Good’ (ความโลภคือสิ่งดี) อยู่หลายปี โด่งไม่เคยคิดว่าวันหนึ่งจะได้มาเป็นส่วนหนึ่งของแวดวงที่ขับเคลื่อนเรื่องสิ่งแวดล้อม แต่ก็เป็นการงานอีกนั่นแหละที่ดึงดูดให้เขาได้เข้าไปคลุกคลีกับเรื่องนี้ เพราะต้องติดตามเทรนด์ธุรกิจ ซึ่งหนึ่งในเทรนด์ที่มาแรงและมีผลต่อทุกอุตสาหกรรมคือความยั่งยืน โดยโด่งไปอ่านเจองานวิจัยหนึ่งขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture […]
อ่านบันทึกเรื่องราวของชาว LGBTQ+ ที่เชื่อมโยงความทรงจำกับสถานที่ บนแผนที่ออนไลน์ ‘Queering the Map’
ทุกคนย่อมมีพื้นที่หรือสถานที่ในความทรงจำ เช่น สวนสาธารณะแห่งนี้เพื่อนสนิทที่เคยแอบชอบมักพามานั่งเล่น ใต้ต้นไม้ต้นนี้เป็นที่ที่เราบอกชอบแฟนคนแรก หรือกระทั่งถนนเส้นนี้เป็นถนนเส้นโปรดของแฟนเก่าที่เธอใช้บอกเลิกเราเมื่อหลายปีก่อน ฯลฯ หลายคนอาจเลือกที่จะเก็บงำไว้กับตัว แต่บางคนก็อยากบอกเล่าความทรงจำเหล่านี้ให้คนอื่นได้รับรู้ Queering the Map เป็นแพลตฟอร์มที่มีหน้าตาคล้ายกับ Google Maps ที่เรารู้จักกันดี แต่ความพิเศษคือ มันเป็นแผนที่สีชมพูที่เปิดให้กลุ่ม LGBTQ+ เข้ามาบันทึกหรือแบ่งปันเรื่องราวในความทรงจำหรือความรู้สึกต่อสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งก็ไม่ได้มีแต่เรื่องเล่าผ่านความทรงจำเท่านั้น แต่ในแผนที่นี้ยังอัดแน่นไปด้วยการเปิดเผยตัวตน การเผชิญหน้ากับความรุนแรง ช่วงเวลาแห่งความรักที่ลืมไม่ลง หรือแม้แต่ความอาลัยต่อช่วงเวลาในอดีต พูดง่ายๆ ว่า Queering the Map ทำหน้าที่เป็นเหมือนที่เก็บบันทึกชีวิตของกลุ่ม LGBTQ+ ซึ่งถ้าใครคิดว่าเรื่องราวเหล่านั้นมีความสำคัญกับตัวเอง แน่นอนว่าสำหรับ Queering the Map ก็มองว่าเรื่องราวที่ถูกบันทึกไว้มีความสำคัญต่อเว็บไซต์ด้วยเช่นกัน ‘Lucas LaRochelle’ ผู้สร้างโปรเจกต์นี้เล่าถึงจุดกำเนิดของ Queering the Map ต่อสื่อต่างๆ ว่า ตัวเองได้แรงบันดาลใจจากต้นไม้ที่มักขี่จักรยานผ่าน ซึ่งเป็นจุดที่เขาได้เจอกับคู่ชีวิต และยังเป็นที่ที่พวกเขาทั้งคู่ได้พูดคุยและเปิดเผยตัวตนทางเพศของตัวเอง หลังจากนั้นเมื่อเขาผ่านไปยังต้นไม้ต้นนั้นอีกครั้ง ก็จะรู้สึกถึงความเชื่อมโยงกับพื้นที่ตรงนั้นเสมอ และทำให้เขาคิดถึงสถานที่อื่นๆ ที่ทำให้รู้สึกแบบนี้ด้วยเหมือนกัน ตามไปอ่านเรื่องราวและประสบการณ์ต่างๆ บนแผนที่สีชมพูฉบับนี้ได้ที่ […]
คู่มือเลือกตั้ง 2566 รวบตึงสิ่งที่ควรรู้ก่อนเข้าคูหา
แม้ว่าเราจะไม่เคยนอนหลับทับสิทธิ์กับทุกการเลือกตั้ง แต่ก็ใช่ว่าจะเข้าถึงข้อมูลการเลือกตั้งได้ง่ายๆ โดยเฉพาะการเลือกตั้งใหญ่ในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้ ยิ่งปีนี้การเลือกตั้งมีการเปลี่ยนแปลงไปจากปี 2562 เล็กน้อย ประชาชนก็ยิ่งต้องหาข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจและจะได้ไปอธิบายให้ญาติผู้ใหญ่เข้าใจด้วยว่า การเลือกตั้งครั้งนี้มีอะไรที่แตกต่างไปจากเดิม และคะแนนเสียงของเรานั้นจะไปอยู่ในส่วนไหน มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเลือกนายกรัฐมนตรีอย่างไรบ้าง ไม่ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกหรือครั้งที่เท่าไรของคุณก็ไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะ Urban Creature ได้รวบตึงข้อมูลที่จำเป็นมาอธิบายให้เห็นภาพและเข้าใจง่ายๆ ในโพสต์นี้แล้ว ที่สำคัญ อย่าลืมตรวจสอบสิทธิ์เลือกตั้งของตัวเองที่ boraservices.bora.dopa.go.th/election/enqelection และตามไปดูผลงานเก่าๆ ประกอบการตัดสินใจเลือกผู้แทนที่ election66.wevis.info 01) รัฐสภา ประกอบด้วย 750 คน โครงสร้างรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญปี 60 ประกอบไปด้วยสมาชิกทั้งหมด 750 คน แบ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 500 คน และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 250 คน 02) ต้องได้ ส.ส.เท่าไหร่ถึงจัดตั้งรัฐบาลได้ ตามปกติแล้ว การจัดตั้งรัฐบาลต้องมีจำนวน ส.ส.เกินครึ่งหนึ่งของที่นั่ง ส.ส.ทั้งหมดในสภา ดังนั้นพรรคที่ต้องการจัดตั้งรัฐบาลจึงต้องมี ส.ส.จำนวน 250 ที่ขึ้นไป ในกรณีที่รวมคะแนน ส.ส.แบบแบ่งเขตกับ […]
ตัวช่วยพ่อแม่รุ่นใหม่รับมือลูกเล็ก แอปฯ วิเคราะห์เสียงร้องไห้ ‘CryAnalyzer’ เพื่อแปลงเป็น 5 อารมณ์ ผ่านอีโมจิน่ารัก
สำหรับพ่อแม่มือใหม่ การต้องรับมือกับเสียงร้องไห้ของลูกเล็กคงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะไม่ว่าจะฟังอย่างไรก็แยกไม่ออกอยู่ดีว่า ระหว่างร้องไห้เพราะหิวกับร้องไห้เพราะง่วงนอน มีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร ‘CryAnalyzer’ คือแอปพลิเคชันวิเคราะห์เสียงเด็กร้องไห้ ที่อาจเป็นตัวช่วยให้พ่อแม่ผู้ปกครองเข้าใจเสียงร้องไห้ของเด็กได้มากขึ้นผ่านการวิเคราะห์เสียงจาก AI CryAnalyzer เป็นผลงานการออกแบบของ ‘First Ascent inc.’ บริษัทเทคโนโลยีสำหรับเด็ก สัญชาติญี่ปุ่น ที่เกิดขึ้นจากการเก็บตัวอย่างช่วงอารมณ์ต่างๆ ของทารกอายุตั้งแต่แรกเกิด – 2 ปี จำนวนมากกว่า 20,000 คน เพื่อนำมาวิเคราะห์เสียงร้องไห้และแปลงเป็น 5 อารมณ์ ได้แก่ หิว ง่วงนอน เบื่อ โกรธ หรือรู้สึกไม่สบายตัว ผ่านอีโมจิน่ารักๆ ส่วนวิธีการอ่านค่าความรู้สึกก็ทำได้ง่ายๆ แค่กดบันทึกเสียงร้องของทารกเป็นเวลา 5 – 10 วินาที จากนั้นแอปฯ จะทำการวิเคราะห์อารมณ์ให้ตรงกับความต้องการเฉพาะของทารกตามข้อมูลประวัติที่จัดเก็บไว้ โดยคำนึงถึงเพศและอายุของทารกร่วมด้วย ซึ่งทางทีมผู้พัฒนาแอปฯ อ้างว่ามีความแม่นยำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ในการระบุสภาวะทางอารมณ์ เพื่อให้พ่อแม่มือใหม่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ของทารกดีขึ้น นอกจากนี้ ภายในแอปฯ ยังมีการแสดงประวัติการร้องไห้ย้อนหลัง สำหรับดูความเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ของลูกน้อยได้อีกด้วย ผู้ที่สนใจ ดาวน์โหลดแอปฯ ‘CryAnalyzer’ […]
‘ปล่อยวางเขา แล้วเอางานกับตัวเองให้รอดก่อน’ เมื่อภาวะทางใจคนที่ทำงานมากระทบใจเรา
ชาวออฟฟิศหลายคนล้วนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ในชีวิตหนึ่งสัปดาห์ ใช้เวลาอยู่ที่ทำงานมากกว่าอยู่บ้านเสียอีก ยิ่งช่วงไหนที่ประชุมบ่อย งานด่วน โปรเจกต์ใหม่ใกล้เปิดตัว ฯลฯ บ้านเราจริงๆ ก็มีไว้แค่กลับไปอาบน้ำนอนเท่านั้นแหละ ‘การมี ‘Work BFF’ หรือเพื่อนรักในออฟฟิศคือลาภอันประเสริฐ’ จึงเป็นคำกล่าวที่จริงมาก เพราะสมัยก่อนตอนเราทำงานออฟฟิศ เมื่อไหร่ก็ตามที่มีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัวหรือความขัดแย้งกับเจ้านาย ก็ได้เพื่อนสนิทที่นั่งโต๊ะข้างๆ กันนี่แหละคอยแชร์ความเข้าใจ ความห่วงใย กอดคอรอดไปพร้อมๆ กัน แต่ความเจ็บปวดอีกระดับที่จะเกิดขึ้นคือ เมื่อคนที่ควรเป็นที่พึ่งและความอุ่นใจของเรา ดันกลายเป็นพื้นที่ที่ไม่ปลอดภัยแทนซะแล้ว อาจเพราะด้วย ‘ภาวะทางใจ’ ไม่ว่าจะเป็นโรคหรืออาการทางจิตใจต่างๆ ที่กระทบเขาอย่างรุนแรง จนห้วงอารมณ์และความเป็นตัวตนของเขาเปลี่ยนไป จนทำให้เราแทบจำเวอร์ชันเก่าไม่ได้ ส่งผลให้การทำงานของเขาและเรายากขึ้นตามไปด้วย แล้วชีวิตการทำงานของเราจะรอดได้ยังไง หากต้องรับมือเหตุการณ์หนักๆ นี้ไปทุกวัน ‘มันคืออาการหรือโรคที่ทำให้เขาเป็นแบบนี้ ถ้าทุกอย่างปกติ เขาจะไม่ทำกับเราแบบนี้’ เมื่อไหร่ก็ตามที่สภาพจิตใจเผชิญเรื่องราวหนักหนาจนตั้งรับไม่ไหว สภาพร่างกายและอารมณ์ก็จะแสดงความสุดโต่งต่างๆ ออกมา เช่น เกรี้ยวกราด ด่าทอ เฉยชา หงุดหงิดง่าย ฯลฯ สิ่งนี้เรียกว่าระบบป้องกันตัวในยามที่สภาพร่างกายและจิตใจอยู่ในช่วงฉุกเฉิน คนคนนั้นจำเป็นต้องสร้างตัวตนอื่นมาตั้งรับกับสภาวะแปลกใหม่ที่เขากำลังเจออยู่ และแน่นอน ‘นั่นไม่ใช่การรับมือแบบปกติทั่วไป’ เช่น ถ้าเพื่อนของเราเพิ่งสูญเสียสมาชิกครอบครัวอย่างกะทันหัน ส่งผลให้เพื่อนคนนี้เครียดมาก ปล่อยวางไม่ได้ […]
เคลียร์กองดอง บริจาคหนังสือสำหรับผู้ต้องขังเรือนจำกลางคลองเปรม วันนี้ – 30 เม.ย. 66
หลายคนไม่รู้ว่ากิจกรรมที่เป็นหนึ่งในความรื่นรมย์ของผู้ต้องขังในเรือนจำคือการอ่านหนังสือ ‘ไผ่ ดาวดิน’ นักกิจกรรมที่เคยถูกคุมขังในเรือนจำเนื่องจากคดีทางการเมือง เคยเล่าว่า การอ่านหนังสือคือกิจกรรมที่เขาทำมากที่สุดตอนอยู่ในเรือนจำ โดยอ่านทุกอย่างตั้งแต่วรรณกรรม หนังสือประวัติศาสตร์ ยันนิตยสารรถยนต์ หลังหยุดยาววันสงกรานต์ที่ผ่านมา ชวนทุกคนเคลียร์กองดอง แยกหนังสือที่อ่านจนหนำใจแล้ว หรือซื้อหนังสือใหม่อ่านสนุก ส่งไปยังโครงการเผยแพร่วิชานิติศาสตร์ (ค.พ.น.) ที่เปิดรับบริจาคหนังสือสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำกลางคลองเปรม ไม่ว่าจะเป็นหนังสือตำรา สารคดี หรือหนังสือความรู้ต่างๆ ก็นำมาบริจาคได้หมดที่ กล่องรับบริจาคบริเวณหน้าศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ชั้น 1 ของคณะนิติศาสตร์ ส่วนคนที่ไม่สะดวกเดินทาง ทางโครงการฯ ก็เปิดให้ส่งหนังสือที่อยากบริจาคมาที่ ศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เลขที่ 99 ม.18 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี รหัสไปรษณีย์ 12121 บริจาคได้ตั้งแต่วันนี้ – 30 เมษายน 2566 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมทาง โครงการเผยแพร่วิชานิติศาสตร์ (ค.พ.น.)
AG Campus โครงการเชื่อมต่อความรู้สู่ธรรมชาติ ด้วยห้องเรียนสีเขียวใจกลางกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม
จากกระแสที่สังคมให้ความสนใจเกี่ยวกับพื้นที่สีเขียวของเมืองและความยั่งยืนกันมากขึ้น ทำให้ ‘AG Insurance’ บริษัทประกันภัยสัญชาติเบลเยียมตัดสินใจรีโนเวตอาคารสำนักงานใหม่ เพื่อให้บริเวณชั้นใต้ดินและชั้นหนึ่งเป็นเหมือนห้องเรียนสีเขียวที่เชื่อมต่อความรู้สู่ธรรมชาติในชื่อ ‘AG Campus’ AG Campus ตั้งอยู่ใจกลางกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ภายในประกอบด้วยห้องเรียน ห้องประชุม พื้นที่เลานจ์ และ 2 หอประชุมขนาดใหญ่ ที่ออกแบบโดยมีเป้าหมายหลักคือการเล่นกับแสงสว่าง พื้นที่ว่าง และเชื่อมต่อกับธรรมชาติให้ได้มากที่สุด เพื่อสร้างความสะดวกสบายสำหรับผู้ใช้งานอาคาร และสร้างความยั่งยืนในโลกของเรา AG Insurance ออกแบบอาคารโดยใช้วัสดุที่ยั่งยืนและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์สำหรับผลิตพลังงานหมุนเวียน มีการกักเก็บน้ำฝนสำหรับนำมาใช้ในอาคาร รวมถึงสร้างหลังคาสีเขียวขึ้นจากพืชคลุมดิน และสวนสาธารณะขนาดเล็กภายในพื้นที่ว่างที่ช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวรวมกว่า 1,500 ตารางเมตร คำแนะนำทั้งหมดเกี่ยวกับวัสดุก่อสร้างและระบบต่างๆ ที่มีความยั่งยืนของ AG Campus ต่างได้รับความช่วยเหลือจาก ‘Rotor’ สตูดิโอออกแบบที่สร้างแนวปฏิบัติการออกแบบอย่างยั่งยืนขึ้น เพื่อให้ AG Campus แห่งนี้เป็นเหมือนโครงการตัวอย่างสำหรับการออกแบบอาคารที่ยั่งยืนในอนาคต Sources : ArchDaily | t.ly/0UZYArchiweek | t.ly/O-Sy
ไม่ต้องตบก้นขวดอีกต่อไป Heinz ดีไซน์ขวดที่มีฝาปิดสองฝั่ง บีบซอสมะเขือเทศได้หมดจนหยดสุดท้าย
สาวกซอสมะเขือเทศคงรู้ดีว่า การเทซอสออกจากขวดนั้นต้องใช้เทคนิคสารพัด ทั้งการเขย่าขวดครั้งแล้วครั้งเล่าก่อนเปิดฝาครั้งแรก ไปจนถึงการตบก้นขวดหรือเขย่าแรงๆ เพื่อเทซอสที่เหลืออยู่ก้นขวดให้ไหลออกมา ซึ่งวิธีนี้มักทำให้ซอสกระเด็นและหกเลอะเทอะไปทั่ว เป็นปัญหาน่าหงุดหงิดใจที่คนชอบกินซอสต้องเจอ แบรนด์ซอสมะเขือเทศระดับโลก Heinz จึงปิ๊งไอเดีย คิดค้น ‘Heinz Ketch-Up & Down Bottle’ ซอสมะเขือเทศรุ่นพิเศษที่มีฝาปิดอยู่สองฝั่งตรงข้ามกัน เพื่อให้ผู้บริโภคเทซอสได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งเป็นไอเดียที่ต่อยอดจากซอสขวดคว่ำที่ทางแบรนด์เคยเปิดตัวเมื่อปี 2010 ทาง Heinz เปิดเผยว่า แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากการศึกษาความชอบและพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยทางแบรนด์พบว่าลูกค้าแต่ละคนมีวิธีการใช้สินค้าที่แตกต่างกันไป บางคนชอบบีบขวดแรงๆ ขณะที่บางคนอาจชอบเขย่าขวดซอสก่อนใช้ ส่วนวิธีจัดเก็บก็เป็นเรื่องที่ซับซ้อนอยู่ไม่น้อย เพราะบางคนอาจวางขวดให้ตั้งตรง คว่ำ หรือตั้งตะแคง “จากความสำเร็จของขวดซอสกลับหัวที่เปิดตัวเมื่อปี 2010 เรามองเห็นโอกาสที่จะแก้ไขปัญหาอื่นๆ ที่ผู้บริโภคหลายคนของ Heinz เผชิญอยู่ หากแก้ปัญหาได้ตรงจุดมากขึ้น เราอาจพลิกโฉมการทานซอสมะเขือเทศให้ผู้บริโภคก็เป็นได้” Passant El Ghannam หัวหน้าฝ่ายการตลาดของ Heinz กล่าว ตอนนี้ Heinz Ketch-Up & Down Bottle เป็นเพียงแนวคิดต้นแบบเท่านั้น ยังไม่ได้ผลิตเพื่อจำหน่ายจริง แต่ถ้าทาง Heinz […]
Urban Eyes 32/50 เขตสายไหม Sai Mai
สัปดาห์นี้โปรเจกต์ Bangkok Eyes อยู่กันที่เขตสายไหม ซึ่งเป็นเขตที่เราแทบไม่เคยผ่านไปเลย แถมแหล่งท่องเที่ยวก็แทบไม่มี เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัย เช่น บ้านเดี่ยวและหมู่บ้าน แทบไม่มีห้างฯ ใหญ่อยู่ในเขตนี้ แหล่งช้อปปิงส่วนใหญ่เป็นตลาดเปิด มีคอมมูนิตี้มอลล์อยู่หนึ่งแห่งถ้วน และสวนสาธารณะขนาดเล็กมาก ขนาดที่พี่วินมอเตอร์ไซค์ในพื้นที่ยังไม่รู้เลยว่าเขตสายไหมมีสวนด้วย ด้วยความที่เขตนี้ไม่ได้อยู่ใจกลางเมือง ทำให้ขนส่งสาธารณะมีน้อย จะเดินเท้าอย่างเดียวคงลำบาก เราจึงต้องพึ่งพารถยนต์ส่วนตัว และทั้งหมดนี้คือสถานที่ที่เราไปเก็บภาพผ่านสายตาแนวสตรีทโฟโต้ วัดเกาะสุวรรณาราม ━ เป็นวัดขนาดกลาง ผู้คนเข้ามากราบไหว้ยักษ์ทั้งสี่อยู่เรื่อยๆ แถมยังมีการประดับประดาวัดที่สวยงามน่าสนใจ บริเวณโดยรอบเป็นแหล่งชุมชน มีคนเดินผ่านไปผ่านมาอยู่เรื่อยๆ ตลาดออเงิน ━ ที่นี่เป็นเหมือนตลาดในร่ม ขายของจิปาถะเล็กๆ น้อยๆ ส่วนใหญ่เน้นไปทางร้านขายอาหารและของสด ช่วงตอนเย็นๆ บรรยากาศก็คึกคักพอสมควร ตลาดวงศกร สายไหม ━ ตลาดที่นี่จะคล้ายๆ ตลาดออเงินแต่มีขนาดใหญ่กว่า ร้านรวงก็มีจำนวนมากกว่า ช่วงเย็นบางวันก็มีตลาดนัด ดูเป็นแหล่งค้าขายที่คนในเขตสายไหมน่าจะเคยมากัน สายไหม อเวนิว (Saimai Avenue) ━ คอมมูนิตี้มอลล์เพียงแห่งเดียวของเขตนี้ ถ้าใครอยากทานอาหารขึ้นห้างฯ ต้องมาที่นี่เลย ตอนเย็นๆ ที่นี่แดดจะลงผ่านอิฐบล็อกสวยมาก เป็นสถานที่หนึ่งที่น่าจะถ่ายภาพแนว Portrait […]
‘Sabus’ รถบัสเก่าที่เปลี่ยนให้เป็นซาวน่าเคลื่อนที่ ออกเดินทางให้บริการรอบจังหวัดเฮียวโกะ
เมื่อไม่มีการนำไปใช้งานต่อ ‘รถบัสรุ่นเก่า’ อาจต้องจอดทิ้งไว้เฉยๆ เพื่อรอการแยกชิ้นส่วน แต่บริษัทสตาร์ทอัปในประเทศญี่ปุ่นเล็งเห็นถึงประโยชน์ที่ยังใช้งานได้ของรถโดยสารประเภทนี้ จึงเกิดเป็นไอเดียที่ผสมผสานการชมวิวผ่านหน้าต่างรถและการอบซาวน่าไว้ในรถคันเดียวกัน ‘OSTR’ บริษัทสถาปัตยกรรมในโอซาก้าได้ร่วมมือกับบริษัทสตาร์ทอัป ‘Sauna Ikitai’ ในการเปลี่ยนรถบัสเก่าให้กลับมาใช้งานได้ แต่เป็นในรูปแบบของซาวน่าเคลื่อนที่ ที่จะเดินทางให้บริการรอบจังหวัดเฮียวโกะ ซาวน่าติดล้อนี้มีชื่อว่า ‘Sabus’ เป็นรถบัสที่ได้รับการปรับปรุงให้กลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้ง ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถเลือกระดับความร้อนได้จากตำแหน่งที่นั่งและระยะห่างจากเพดาน โดยแถวแรกจะอยู่ใกล้เตาที่สุดและได้รับความร้อนโดยตรง ซึ่งสามารถควบคุมปุ่มทำความร้อนเองได้ แถวที่สองจะมีพื้นสูงและอยู่ใกล้เพดานมากที่สุด และแถวสุดท้ายจะนั่งสบายที่สุด ด้วยม้านั่งแบบยาวที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการยืดขาหรือจะนอนก็ยังได้ อุปกรณ์ซาวน่าส่วนใหญ่ทำขึ้นจากการนำชิ้นส่วนในรถบัสมาใช้ใหม่หรือปรับปรุงใหม่ ไม่ว่าจะเป็นราวจับที่ติดกับที่นั่งที่นำป่านมาหุ้มเพื่อให้รู้สึกสบายยิ่งขึ้น สายสำหรับห่วงจับถูกนำมาใช้กับเทอร์โมมิเตอร์เพื่อบอกอุณหภูมิภายใน กล่องตั๋วที่มีหมายเลขก็ถูกเปลี่ยนเป็นภาชนะสำหรับใส่น้ำหอม ส่วนบริเวณด้านหน้าของรถบัสยังถูกปรับให้เป็นพื้นที่สำหรับนั่งพักผ่อนและเก็บสัมภาระ โดยรถคันนี้ยังคงรักษาหน้าต่างขนาดใหญ่เอาไว้เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ชมวิวทิวทัศน์ระหว่างที่ซาวน่าเคลื่อนตัวไปด้วย สำหรับรูปลักษณ์ด้านนอกนั้นยังคงลักษณะของรถบัสสีส้มเอาไว้ แต่มีการเพิ่มเติมองค์ประกอบบางอย่าง เช่น เติมเส้นสีฟ้าอ่อนเพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างซาวน่ากับอ่างน้ำเย็น เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการใช้งานใหม่ และป้ายข้อมูลไฟฟ้าด้านหน้ารถบัสที่เปลี่ยนให้เป็น ‘ซาวน่าไอน้ำ 37’ ซึ่งหมายถึงซาวน่าที่จะพกพาไปยังที่ต่างๆ รวมไปถึงรูปสัญลักษณ์ของรถเข็นวีลแชร์ที่ถูกเปลี่ยนให้เป็นสัญลักษณ์ของห้องซาวน่าแทน Sources :Designboom | bit.ly/3zP5bdyOSTR | bit.ly/3ZWpnVySauna Ikitai | bit.ly/3mrI6dW
โรงเรียนอนุบาลใต้ทางรถไฟยกระดับในโตเกียว บรรยากาศอบอุ่น มีสนามเด็กเล่นกึ่งกลางแจ้ง ไอเดียเปลี่ยนพื้นที่รกร้างให้มีประโยชน์และปลอดภัย
ในความหนาแน่นของเมืองและผู้คน การเพิ่มพื้นที่ใช้สอยคือหนึ่งในโจทย์สำคัญที่หลายเมืองทั่วโลกยังคงหาทางออกอยู่เสมอ วันนี้เราอยากพาไปดูหนึ่งไอเดียสำหรับการออกแบบพื้นที่ซึ่งเป็นส่วนที่เหลือจากการใช้ประโยชน์ ถูกนำมาปรับเปลี่ยนให้เกิดประโยชน์มากขึ้นกว่าเดิม สถานที่แห่งนี้คือ ‘โรงเรียนอนุบาล’ ที่ตั้งอยู่ใต้ทางรถไฟยกระดับในมาจิยะ ใจกลางเมืองโตเกียว ทางรถไฟที่ว่านี้ถูกสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2474 เมื่อมีการเกิดขึ้นของทางรถไฟยกระดับแห่งนี้ ผลที่ตามมาก็คือมีร้านค้าและบ้านเรือนถูกสร้างขึ้นอยู่บริเวณพื้นที่ทางด้านล่าง ก่อเกิดเป็นภูมิทัศน์ใจกลางเมืองที่ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาอยู่อาศัย ในเวลาต่อมา ชาวเมืองถูกเวนคืนพื้นที่เพื่อเปิดทางให้กับการเสริมโครงสร้างยกระดับจากแผ่นดินไหว สถานที่ดังกล่าวถูกทิ้งร้างให้ว่างเปล่าเป็นเวลานาน และได้เริ่มต้นนำกลับมาใช้ใหม่โดยปรับปรุงพื้นที่ด้วยการสร้างโรงเรียนอนุบาล ซึ่งเป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่เมืองกำลังขาดแคลนเพราะไม่มีที่ทางจะสร้างนั่นเอง โดยโครงสร้างทางยกระดับที่ตัดผ่านตัวเมืองแห่งนี้มีคานที่สูงประมาณ 3.9 เมตร และมีระยะความกว้างระหว่างเสาประมาณ 6 เมตร ซึ่งกว้างขวางพอเหมาะมากสำหรับการสร้างพื้นที่ห้องเรียนหรือห้องอเนกประสงค์ต่างๆ ในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี และทางสถาปนิกก็ยังทำการออกแบบหลังคาขนาดใหญ่ยาว 70 เมตร เพื่อให้สอดคล้องกันระหว่างขนาดของโครงสร้างยกระดับและขนาดของสถาปัตยกรรม รวมถึงยังทำผนังของโรงเรียนอนุบาลแห่งนี้ให้ปลอดภัยและห่างไกลอันตรายจากความเร่งรีบของการจราจรบนท้องถนน ภายใต้สะพานยกระดับซึ่งเป็นหลังคาขนาดใหญ่ของโรงเรียนแห่งนี้ มีสนามเด็กเล่นกึ่งกลางแจ้งที่ไม่เหมือนใคร สร้างขึ้นจากการซ้อนทับของโครงสร้าง และโครงสร้างที่สูงก็กลายเป็นหลังคาช่วยปกป้องสนามเด็กเล่นจากแดดจ้า ฝนชุ่มช่ำ และทำให้แสงยังสอดส่องได้อย่างเพียงพอ นอกจากเครื่องเล่นแล้ว โรงเรียนอนุบาลยังมีลานซักล้างและลานจอดจักรยานด้วย จากพื้นที่ที่คนเมืองรู้สึกอันตรายอย่างใต้ชายคาทางยกระดับ ถูกออกแบบให้มีความปลอดภัยและกลายเป็นอีกสถานที่ในเมืองที่ทำให้ผู้คนได้เพลิดเพลินไปกับดอกไม้และต้นไม้ที่ปลูกบริเวณโรงเรียน และเมื่อมีการสัญจรผ่านไปบนท้องถนนก็จะทำให้ผู้ที่ผ่านไปผ่านมาได้เห็นชีวิตประจำวันของเด็กๆ เป็นเสมือนฉากการเติบโตขึ้นของอนาคตประชากรของเมืองที่เลื่อนเปลี่ยนผ่านไปในทุกวัน Source :ArchDaily | t.ly/Oq4jd