
LATEST
ยกอาณาจักรจิบลิมาไว้กลางเซ็นทรัลเวิลด์ กับงาน ‘The World of Studio Ghibli’s’ เปิดให้เข้าชม 1 ก.ค. – 30 ก.ย. 66
ใครเป็นสาวกสตูดิโอจิบลิต้องไม่พลาดกับงาน ‘The World of Studio Ghibli’s Animation Exhibition Bangkok 2023’ นิทรรศการแอนิเมชันจิบลิที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ยกพลขนทัพกันมาไว้กลางเซ็นทรัลเวิลด์ ครั้งนี้ ‘Live Nation Tero’ จัดใหญ่จัดเต็มด้วยการเนรมิตพื้นที่กว่า 1,890 ตารางเมตรของ ‘เซ็นทรัลเวิลด์ ไลฟ์’ อย่างยิ่งใหญ่ ให้แฟนๆ ได้ดำดิ่งลงไปในโลกแห่งจินตนาการ เวทมนตร์ และความฝัน เต็มอิ่มไปด้วยซีนสุดประทับใจจากจักรวาลภาพยนตร์แอนิเมชันจิบลิ ตั้งแต่ผืนป่าของโทโทโร่ ขึ้นรถไฟแห่งวิญญาณไปกับเจ้าคาโอนาชิ แวะเยี่ยมร้านขนมปังของโอโซโนะ ไปจนถึงไฮไลต์สุดพิเศษอย่าง ‘ลาพิวต้า’ (Laputa) ปราสาทกลับหัวจากเรื่อง Castle in the Sky ที่มาจัดแสดงที่กรุงเทพฯ เป็นที่แรก The World of Studio Ghibli’s Animation Exhibition Bangkok 2023 จะเปิดปราสาทเวทมนตร์ต้อนรับแฟนๆ ชาวไทย ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม ถึง […]
‘Katsura Library’ อ่านหนังสือที่ ม.เกียวโต พร้อมชมวิวป่าไผ่ ห้องสมุดใหม่ที่รวม 5 ห้องสมุดเก่าให้กลายเป็นหนึ่ง
ถ้าพูดถึงมหาวิทยาลัยอันดับต้นๆ ของประเทศญี่ปุ่น หนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ติดท็อป 3 ทุกปี คงหนีไม่พ้น ‘มหาวิทยาลัยเกียวโต’ (Kyoto University) เพราะนอกจากการเรียนการสอนที่ดี สภาพแวดล้อมในบริเวณมหาวิทยาลัยยังร่มรื่น ชวนให้เกิดความรู้สึกอยากเรียนรู้ไม่น้อย ไม่เว้นแม้แต่มหาวิทยาลัยเกียวโต วิทยาเขต Katsura ที่ได้ทำการปรับปรุงพื้นที่ห้องสมุดใหม่ ให้ตอบโจทย์การใช้งานของนักศึกษาและบุคคลทั่วไปมากขึ้น ด้วยการรวมเอาห้องสมุดทั้ง 5 แห่งเดิมที่แยกตามการจัดหมวดหมู่ของวิชามาไว้ด้วยกัน และสร้างห้องสมุดใหม่ที่มีฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อทำหน้าที่เป็น Area-Focus Hub Library ให้วิทยาเขตแห่งนี้ ‘Katsura Library’ เป็นห้องสมุดขนาดใหญ่กว่า 4,556 ตารางเมตรที่สร้างขึ้นภายใต้การควบคุมการออกแบบที่เข้มงวด เพื่อทำให้ภาพลักษณ์ใหม่ยังคงสอดคล้องไปกับตัววิทยาเขตเดิม ด้วยความร่วมมือจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ รวมไปถึงการควบคุมออกแบบจาก ‘Waro Kishi + K.ASSOCIATES/Architects’ อดีตศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยเกียวโตและสตูดิโอของเขา ภายในของ Katsura Library ประกอบด้วยพื้นที่ห้องสมุดขนาดใหญ่ พื้นที่การเรียนรู้แบบสาธารณะที่มีตั้งแต่ห้องทดลองแบบเปิด ห้องวิจัยทั่วไป และห้องสร้างสื่อ รวมไปถึงห้องอ่านหนังสือที่เปิดให้นักศึกษาและเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยเข้าถึงได้อย่างอิสระ โดยแต่ละส่วนจะให้ความรู้สึกที่เงียบสงบ แต่เชื่อมต่อถึงกันด้วยพื้นที่ห้องโถงใหญ่และกระจกใสกั้นห้อง ผนังภายนอกของ Katsura Library ตกแต่งด้วยกระเบื้องพอร์ซเลน ผสมกับคอนกรีตแบบเปลือย และการออกแบบหลังคาทรงเรียบ […]
กลับมาอีกครั้งกับ Reading Seoul Plaza ห้องสมุดกลางแจ้งบนพื้นที่สีเขียวในโซล ให้คนพักผ่อน ทำกิจกรรมฟรีถึงปลายปี
เมื่อปีที่แล้ว กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ได้ริเริ่มโปรเจกต์เปลี่ยนพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองให้กลายเป็นห้องสมุดกลางแจ้งสุดชิล พร้อมต้อนรับนักอ่านและนักกิจกรรมทุกเพศทุกวัย ซึ่งในปีนี้ทางรัฐบาลกรุงโซลก็นำกลับมาจัดกิจกรรมอีกครั้ง เพื่อเพิ่มชีวิตชีวาให้กับเมือง ‘โซลพลาซา’ (Seoul Plaza) คือพื้นที่บริเวณลานกว้างที่ตั้งอยู่หน้าศาลาว่าการกรุงโซล ที่ถูกเปลี่ยนให้เป็นห้องสมุดกลางแจ้งขนาดใหญ่ในชื่อ ‘Reading Seoul Plaza’ ซึ่งโปรเจกต์นี้เกิดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองวันหนังสือและลิขสิทธิ์สากล (World Book and Copyright Day) หลังจากได้รับกระแสตอบรับที่ดี รัฐบาลกรุงโซลได้อัปเกรดและปรับปรุงพื้นที่แห่งนี้ให้ดีขึ้นสำหรับประชาชนที่จะมาอ่านหนังสือ นอกจากบรรยากาศอันอบอุ่นแสนสบายที่มาพร้อมกับบีนแบ็กหลากสีสันและร่มกันแดด ปีนี้หนังสือจะมีให้เลือกหลากหลายประเภทขึ้น ทั้งยังเพิ่มโปรแกรมปรึกษาสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้ชาวพนักงานออฟฟิศ ตลอดจนกิจกรรมสนุกๆ ให้เด็กๆ มามีส่วนร่วมในวันหยุดสุดสัปดาห์ด้วย ใครที่มีแพลนไปเกาหลีช่วงนี้ อย่าลืมแวะไปอาบแดดอุ่นๆ อ่านหนังสือในพื้นที่สีเขียวใจกลางเมืองที่ Reading Seoul Plaza กันนะ ห้องสมุดกลางแจ้งโซลพลาซาเปิดให้ประชาชนนั่งอ่านหนังสือชิลๆ ‘ฟรี’ ทุกวันพฤหัสบดี-วันศุกร์ เวลา 11.00 – 17.00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 10.00 – 17.00 น. ระหว่างวันที่ 23 เมษายน – 2 […]
Urban Eyes 34/50 เขตพระโขนง Phra Khanong
หลายคนอาจคุ้นชินชื่อพระโขนงจากหนังผีเรื่อง ‘แม่นาค พระโขนง’ แต่จริงๆ แล้วศาลแม่นาคนั้นตั้งอยู่ที่เขตสวนหลวง และตอนที่เราหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเขตนี้ ก็ได้ทราบว่าสะพานพระโขนงและตลาดพระโขนงไม่ได้อยู่เขตนี้ แต่อยู่เขตวัฒนาต่างหาก ถ้าให้อธิบายง่ายๆ เขตนี้อยู่ด้านล่างของสถานีรถไฟฟ้าอ่อนนุชถึงอาคาร True Digital Park (เลยสถานีรถไฟฟ้าปุณณวิถีไปนิดเดียว) เป็นเขตที่คนค่อนข้างอยู่เยอะ แต่ส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัยและบริษัท SMEs มีโรงกลั่นน้ำมันบางจากอยู่ด้วย ถือว่าเป็นเขตที่มีโพเทนเชียลในการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในอนาคตคงมีอะไรเกิดขึ้นอีกเยอะมาก True Digital Park ━ เราอยากแนะนำที่นี่เป็นที่แรกเลย เพราะนับว่าเป็นคอมมูนิตี้มอลล์ที่ใหญ่อลังการ ทำสถานที่ได้น่าสนใจมาก แถมยังผสมผสานพื้นที่สีเขียวเข้ากับตัวอาคารได้อย่างลงตัว มีพื้นที่ให้ถ่ายรูปเล่นเยอะ แถมยัง Pet Friendly อีก ยังไม่นับรวมพื้นที่สนามเด็กเล่นสำหรับเด็กๆ ร้านอาหารหลากหลายแนวตั้งแต่ฟู้ดคอร์ตถึงร้านไวน์ และมีห้องสมุด TK Park ให้ใช้บริการฟรี เรียกว่าแค่ไปเดินเล่นก็คุ้มแล้ว วัดธรรมมงคลฯ ━ วัดนี้มีเจดีย์ขนาดสูงมาก ถ้าใครผ่านไปที่ True Digital Park จะมองเห็นทันที เป็นวัดที่อยู่ข้างหลังทรูฯ นั่นแหละ เสียดายว่าในช่วงเวลาที่เราไปนั้นทางวัดกำลังบูรณะบริเวณเจดีย์ ทำให้เราไม่สามารถขึ้นไปข้างบนหรือกระทั่งเข้าไปข้างในตัวอาคารของเจดีย์ได้เลย แต่ที่นี่ยังมีอีกจุดที่น่าสนใจคือ บริเวณที่เป็นพื้นที่เก็บอัฐิทำออกมาได้เป็นระเบียบเรียบร้อย เลยขึ้นไปหน่อยก็มีพระพุทธรูปมรกตให้ไหว้สักการะ […]
Casal Salolio เปลี่ยนโฉมบ้านในชนบทอันเรียบง่าย ให้เป็นพื้นที่พิพิธภัณฑ์ร่วมสมัยที่ไม่ทิ้งอดีตให้หายไป
บางครั้งอาคารหรือสถาปัตยกรรมเก่าแก่มักถูกรื้อทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย เพราะไม่ใช่เพียงโครงสร้างที่หายไป แต่เรื่องราวของอาคารเหล่านั้นก็ได้หายไปด้วยนั่นเอง วิธีหนึ่งที่เรียบง่ายและช่วยทำให้สถาปัตยกรรมเหล่านี้ยังคงอยู่คือ การรักษาสิ่งเก่าให้คงอยู่และมีชีวิตชีวามากขึ้นด้วยการต่อเติมผสมผสานความร่วมสมัยเข้าไป ตัวอย่างเช่น ในเมือง Cascais ประเทศโปรตุเกส สตูดิโอจากลิสบอนชื่อ ‘Miguel Marcelino Arquitecto’ ได้เปลี่ยนบ้านชนบทอันเรียบง่ายที่ชื่อว่า ‘Casal Salolio’ ซึ่งเป็นบ้านที่เก่าแก่ที่สุดหลังหนึ่งในพื้นที่ ให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ โดยบ้านหลังเก่าแห่งนี้ได้รับการเปลี่ยนแปลงและขยายพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สถาปัตยกรรมนี้มีเรื่องราวประวัติศาสตร์ตามกาลเวลา เดิมทีบ้านหลังนี้มีโครงสร้างเป็นห้องเดียวแบบว่างโล่ง ซึ่งต่อมามีการเพิ่มห้องเสริมและปีกด้านข้าง ต่อจากนั้นก็มีเตาอบหิน เพนียด และต่อเติมชั้นสอง รวมถึงเสริมภาคผนวกอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ยังติดคานสองอันเพื่อแก้ปัญหาโครงสร้างอีกประการ ภายนอกของอาคารแสดงให้เห็นรูปทรงเรขาคณิตที่แยกส่วนกันและมีความไม่สม่ำเสมอ ทำให้สถาปนิกได้พบและเข้าใจร่องรอยวิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมแห่งนี้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จึงได้ต่อเติมอาคารอีกสองส่วนที่มีขนาดใกล้เคียงกันและออกแบบให้ล้อไปกับลักษณะของสถาปัตยกรรมเดิม มีความกลมกลืนไปกับบริบทของชนบท และส่วนใหม่ที่ต่อเติมขึ้นมานี้เป็นรูปตัว L ที่ทำให้เกิดพื้นที่เป็นลานกว้างภายในบ้านด้วย การเปลี่ยนแปลง Casal Salolio ให้เป็นพื้นที่พิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ถือเป็นข้อพิสูจน์ว่า การออกแบบนั้นสามารถที่จะยังคงนึกถึงอดีตและคงรูปแบบสถาปัตยกรรมเดิมไว้ ในขณะที่ก็ยังผสมผสานองค์ประกอบแบบร่วมสมัยอย่างลงตัวได้อีกด้วย Source :Archello | bit.ly/3HekzV0
เบื้องหลังเอ็มวี strawberry ice cream เพลงเดบิวต์ MXFRUIT เกิร์ลกรุ๊ปไทยที่ดังไกลถึงเกาหลี โดยสอง ศาศวัต
ในช่วงที่กระแส T-POP ยังมาแรงอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นศิลปินเดี่ยวหรือศิลปินกลุ่มที่ทยอยเดบิวต์กันเรื่อยๆ แต่ละวงล้วนแล้วแต่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและเสน่ห์ที่แตกต่างกันไป ซึ่งผู้ชมอย่างเราๆ จะเห็นได้จากการร้อง การเต้น และการแสดงของพวกเขาในเอ็มวี หนึ่งในวงที่เราสนใจช่วงนี้คือ ‘MXFRUIT’ (มิกซ์ฟรุต) วงเกิร์ลกรุ๊ปที่เต็มไปด้วยสีสันมากมายคล้ายผลไม้เมืองร้อน ซึ่งเหล่าสมาชิกของวงประกอบด้วย มิเคลล่า, อปป้าเพชร, สกาวเดือน, ขนมจีน และโรเชล แอบสารภาพว่าตอนฟังเพลงวงนี้ครั้งแรก เรานึกว่าเป็นวงต่างประเทศด้วยซ้ำ เพราะจากเนื้อเพลงที่เป็นภาษาอังกฤษ สำเนียงการร้อง รวมถึงมู้ดในเพลงที่มีความอินเตอร์ แต่พอกดเปิดดูเอ็มวีก็พบว่าจริงๆ แล้ววงนี้เป็นวงไทย แถมยังใช้สถานที่ในการถ่ายเป็นย่านต่างๆ ในกรุงเทพฯ ที่ไม่ซ้ำใคร ตั้งแต่ร้านคั่วไก่ ตลาดสด จนถึงตรอกซอยเล็กๆ ที่บางแห่งเรายังไม่เคยไปด้วยซ้ำ ด้วยเหตุนี้ เราจึงนัดหมาย ‘สอง-ศาศวัต เลิศฤทธิ์’ ผู้กำกับเอ็มวีเพลงเดบิวต์ของพวกเธอทันที เพราะนอกจากเขาจะดึงตัวตนที่สดใสร่าเริง และเสน่ห์ของสมาชิกวง MXFRUIT ออกมาผ่านเอ็มวีตัวแรกในชีวิตของพวกเธอได้เป็นอย่างดีแล้ว เรายังรู้มาว่าเขาคือคนหนึ่งที่อยู่กับสาวๆ มาตั้งแต่ต้น แถมยังมีส่วนกำหนดทิศทางของวงให้ออกมาเป็นมู้ดโทนอย่างที่ทุกคนเห็น เพื่อที่ผู้ชมจะได้รู้สึกหลงรักวงผลไม้ผสมนี้เหมือนอย่างที่สองรู้สึก ความเป็นธรรมชาติของ MXFRUIT ด้วยความที่สองอยู่ในวงการทำภาพยนตร์มาก่อนแล้ว และเคยกำกับเอ็มวีให้วงอื่นๆ มามากมาย การได้รับโจทย์จากค่าย ILY LAB โดยบริษัท […]
Walk The Talk บอร์ดเกมใหญ่ที่สุดในโลกในสวนพฤกษศาสตร์มิลาน ให้ผู้เล่นเลือกวิธีการเดินทางที่ยั่งยืนด้วยตัวเอง
หากใครเป็นสายบอร์ดเกมคงเคยคิดอยากจะเอาตัวเองลงไปเป็นเบี้ยตัวละครที่ได้ผจญภัยบนเกมกระดานกันสักครั้ง ซึ่งทางสถาปนิก ‘Italo Rota’ และบริษัทสถาปัตยกรรม ‘Carlo Ratti Associati’ ก็ได้ร่วมมือกันสร้างฝันให้หลายๆ คนเป็นจริงด้วยการเปลี่ยนสวนพฤกษศาสตร์ของมิลานให้กลายเป็นบอร์ดเกมที่ใหญ่ที่สุดในโลก สำหรับงาน Milan Fashion Week ทว่านี่ไม่ใช่การออกแบบเพื่อทุบสถิติใดๆ แต่เป็นการชวนทุกคนให้มาผจญภัยด้วยการเลือกเส้นทางในมิลานด้วยตัวเอง เพื่อไตร่ตรองว่าทางเลือกในชีวิตประจำวันนั้นสามารถสร้างความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างไรบ้าง ‘Walk The Talk’ เป็นบอร์ดเกมขนาดกว่า 3,500 ตารางเมตร ครอบคลุมพื้นที่สวนพฤกษศาสตร์ของมิลาน ที่มีแรงบันดาลใจจากการจำลองเส้นทางการเดินเล่นในเมืองผ่านสถานที่สำคัญที่ปรากฏบนกระเบื้องไม้กว่า 400 แผ่น และมีไอคอน 32 รูปแบบเป็นตัวแสดงอุปสรรคหรือการแก้ปัญหาการเดินทาง เช่น ขนส่งสาธารณะและรถยนต์ไฟฟ้า ผู้เล่นสามารถเดินทางผ่านเมืองได้ด้วยการหาวิธีแก้ปัญหาจากความท้าทายต่างๆ ในแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และทุกๆ เส้นทางการเดินนั้นก็จะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้เล่นนั่นเอง ความน่าสนใจก็คือ กระเบื้องที่นำมาทำเป็นบอร์ดเกมนั้นสามารถเก็บพลังงานระหว่างวันเอาไว้ได้ และจะส่องแสงสว่างเมื่อพระอาทิตย์ตกดิน ทำให้เล่นเกมต่อไปได้แม้ว่าฟ้าจะมืดลงแล้วก็ตาม Italo Rota สถาปนิกผู้ร่วมสร้างบอกว่า Walk The Talk นำแนวคิดการเล่นเกมมาใช้เพื่อสร้างการสนทนาระหว่างผู้ที่มาเยี่ยมชมสวนพฤกษศาสตร์แห่งนี้ รวมไปถึงยังเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมกับสถานที่ต่างๆ ในเมือง ตลอดจนสร้างประสบการณ์ที่ผู้คนสามารถแบ่งปันกันได้ในขณะที่ร่วมเล่นเกมนี้ด้วยกัน Sources :Carlo Ratti Associati | […]
Caucasia แสงแดด ภูเขา วัว และทุ่งหญ้า
‘จอร์เจีย’ คือประเทศที่เราไม่เคยคิดฝันมาก่อนว่าสักวันจะมีโอกาสไปเยือน แต่ด้วยเหตุผลและเหตุการณ์ต่างๆ รู้ตัวอีกทีเราก็กำลังนั่งอยู่บนเครื่องบินที่มุ่งหน้าสู่ทบิลีซี เมืองหลวงของจอร์เจียแล้ว จอร์เจียตั้งอยู่ในภูมิภาคเทือกเขาคอเคซัส เป็นจุดตัดระหว่างยุโรปและเอเชียแบบพอดิบพอดี เป็นดินแดนเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 2,500 ปี ระหว่างทางเราจึงเห็นบ้านเก่า กำแพงโบราณ หรือโบสถ์ ที่อาจจะตั้งอยู่ตรงนั้นก่อนที่มนุษย์จะมีไฟฟ้าใช้ด้วยซ้ำ ภาพถ่าย ‘Caucasia’ ชุดนี้จึงเป็นเหมือนการบันทึกเรื่องราวในดินแดนคอเคเซียที่เราไม่รู้จักมาก่อน เราใช้กล้องถ่ายรูปและฟิล์มที่น่าจะหมดอายุแล้วเก็บความทรงจำ บรรยากาศ แสงแดด และหุบเขาที่โอบล้อมดินแดนสองทวีปแห่งนี้ เป็นเหมือนสถานที่ในฝันที่แม้ภาพจำจะเลือนราง แต่ความรู้สึกยังคงชัดเจนทุกครั้งที่กลับมาดูรูปภาพในอัลบั้มนี้ เราจดจำและสัมผัสช่วงเวลาเหล่านั้นได้เสมอ
Bangkok Through Poster นิทรรศการโปสเตอร์รณรงค์เลือกตั้ง จากเหล่านักออกแบบที่อยากเห็นประเทศดีขึ้น
ในบรรดาการสื่อสาร ข้อความและการอธิบายถือเป็นวิธีการสื่อสารที่ง่ายและตรงไปตรงมาที่สุด ทว่าหลายต่อหลายครั้ง งานประเภทภาพวาด งานออกแบบ หรือภาพถ่าย ก็สามารถใช้เป็นสื่อที่ส่งสารได้อิมแพกต์ไม่แพ้กัน และนี่คือการจัดงานเป็นครั้งที่ 4 แล้วสำหรับโปรเจกต์ ‘BANGKOK THROUGH POSTER’ ที่แม่งานอย่างแกลเลอรี KINJAI CONTEMPORARY เปิดรับผลงานการออกแบบโปสเตอร์จากศิลปิน นักออกแบบ คนทำงานสร้างสรรค์ทุกแขนง และผู้ที่สนใจ ทั้งบุคคลและองค์กร มาจัดแสดงในรูปแบบนิทรรศการ ความพิเศษของนิทรรศการครั้งนี้คือ ปีนี้เป็นปีที่มีการเลือกตั้งครั้งใหญ่ BANGKOK THROUGH POSTER จึงมาพร้อมกับธีม ‘#ทราบแล้วโหวต’ ภายใต้ความร่วมมือกับ iLaw โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน ภายในงานมีการคัดเลือกและจัดแสดงชิ้นงานทั้งหมด 66 ชิ้น ซึ่งประกอบด้วยผลงานจากนักสร้างสรรค์ที่ได้รับเชิญ ไม่ว่าจะเป็นนักออกแบบ นักวาด ศิลปิน องค์กร หรือนักสร้างสรรค์ประเภทอื่นๆ จำนวน 33 ชิ้น และผลงานที่ได้รับการคัดเลือกจากรอบ Opencall อีกจำนวน 33 ชิ้น โดยชิ้นงานทั้งหมดจะนำไปโพสต์และทำแคมเปญส่งต่อให้ประชาชนได้นำไปใช้ประชาสัมพันธ์ผ่าน Hashtag #ทราบแล้วโหวต และช่องทางออนไลน์ต่างๆ ต่อไป นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจให้ไปร่วมและเยี่ยมชมอีกมากมาย […]
หลบร้อนมาอ่านหนังสือศิลปะในมุมสงบ ที่ ‘ห้องสมุดลับ’ กลิ่นอายประวัติศาสตร์ ชั้น 2 หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน
อากาศร้อนๆ แบบนี้ แวะไปหลบแดดในสถานที่เย็นฉ่ำ และดื่มด่ำกับบรรยากาศกลิ่นอายประวัติศาสตร์ด้วยกันไหม ถ้าสนใจ เราขอแนะนำห้องสมุดเล็กๆ จนเกือบลับอย่าง ‘ห้องสมุดศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย’ ที่มีแอร์ ปลั๊ก และหนังสือให้อ่านฟรี ซ่อนตัวอยู่ใน ‘หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน’ บนถนนราชดำเนินใจกลางกรุงเทพฯ ห้องสมุดศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย แทรกตัวอยู่กับพื้นที่นิทรรศการในอาคารหอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนินที่มีความสูง 3 ชั้น พื้นที่ใช้สอยกว่า 5 พันตารางเมตร แม้ห้องสมุดที่อยู่บนชั้น 2 ของอาคารแห่งนี้จะมีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด แต่ก็ครบครันไปด้วยหนังสือ วารสาร เอกสารวิชาการ ด้านศิลปะร่วมสมัยที่มีคุณค่าและหาชมได้ยากเก็บสะสมไว้ เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้เข้ามาศึกษาและค้นคว้าหาองค์ความรู้เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายและไม่ต้องสมัครสมาชิก ซึ่งนอกจากห้องสมุด ตัวหอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนินเองก็ยังคงบอกเล่าเรื่องราวของศิลปะ ผ่านการจัดแสดงผลงานนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทยหลากหลายแขนง ตลอดจนส่งเสริมการเรียนรู้ด้านศิลปะร่วมสมัยของไทย เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอด สู่การสร้างมูลค่าเพิ่มอันมีรากฐานต่อยอดมาจากศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิม ภายใต้การบริหารงานโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ห้องสมุดศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ตั้งอยู่บนชั้น 2 อาคารหอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน เปิดให้บริการทุกวันอังคาร-อาทิตย์ (หยุดวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 10.00 – 17.30 น. ใช้บริการได้ฟรี ไม่ต้องสมัครสมาชิก ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.rcac84.com หรือโทร. […]
ชวนส่งบทกวีหัวข้อ ‘เสรีภาพ’ ร่วมอ่านในเทศกาลบทกวี ‘น่านโปเอซี 3’ วันนี้ – 30 เม.ย. 66
หลายคนรู้จัก ‘วรพจน์ พันธุ์พงศ์’ จากการเป็นนักเขียนและนักสัมภาษณ์ที่โดดเด่นด้วยการลงพื้นที่ไปปะทะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และนำมาถ่ายทอดบอกเล่าผ่านหนังสือเกือบ 30 เล่มภายใต้สำนักพิมพ์ No.1 banglumpoo ที่เขาเป็นเจ้าของ ชื่อของเขายังเป็นที่รู้จักในฐานะสื่อมวลชนที่เคยโลดแล่นอยู่ในสนามข่าว ทั้งเป็นนักหนังสือพิมพ์และเป็นคอลัมนิสต์ให้นิตยสารและสื่อออนไลน์หลายสำนัก อาทิ GM, open, IMAGE หรือ WRITER เป็นต้น นอกจากนี้ เขายังเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ยืนหยัดเรียกร้องสิทธิของความเป็นคนเท่ากันมาโดยตลอด ในปี 2559 วรพจน์ตัดสินใจย้ายรังชีวิตจากเมืองหลวงสู่ดินแดนถิ่นเหนือที่จังหวัดน่าน ท่ามกลางการดำเนินชีวิตที่ห่างไกลจากเมือง เขายังคงเขียนหนังสือและประกอบอาชีพคอลัมนิสต์ อีกทั้งยังลงแรงสร้างสนามกับเหล่าเพื่อนพ้องน้องพี่ เปิดพื้นที่อิสระให้ศิลปินและเหล่ากวีได้พูด คิด อ่าน เขียน แสดงออกและสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างไม่ต้องห่วงการถูกปิดกั้นใดๆ พื้นที่ที่ว่าคือ น่านโปเอซี (NanPoésie) เทศกาลบทกวีประจำปีในจังหวัดน่าน ที่จัดขึ้น ณ ‘ห้องสมุดบ้านๆ น่านๆ’ โดยมีเจ้าของสถานที่อย่าง ‘ครูต้อม-ชโลมใจ ชยพันธนาการ’ ร่วมเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันให้เทศกาลนี้เกิดขึ้น น่านโปเอซีเกิดขึ้นมาแล้ว 2 ครั้งเมื่อปี 2561 และ 2562 โดยได้รับการตอบรับจากเหล่ากวีทั่วภูมิภาคและประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงผู้ที่สนใจทั้งในจังหวัดและพื้นที่อื่นๆ มารวมตัวกันรับสัมผัสถึงความงดงามของสิ่งที่เรียกว่า ‘บทกวี’ หลังจากห่างหายจากการจัดงานไปกว่า […]
ไขข้อข้องใจการจัดการบริหารพื้นที่ของ PMCU | Unlock the City EP.25
ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยน่าจะเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับการพูดถึงอย่างเป็นวงกว้างในสังคมมากที่สุด เนื่องจากมีส่วนเอี่ยวกับสถานที่และพื้นที่ในความทรงจำหลายแห่งของชาวกรุงเทพฯ โดยมีสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) ที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ หลายคนอาจตั้งข้อสงสัยว่า พื้นที่ที่เป็นของ PMCU มีหลักการการจัดสรรปันส่วนพื้นที่ และแนวคิดหรือแนวทางในการบริหารจัดการพื้นที่ รวมถึงโครงการอื่นๆ ที่กำลังเกิดขึ้นทั้งตอนนี้และในอนาคตอย่างไร รายการ Unlock the City เอพิโสดนี้ ได้ชวน ‘รศ. ดร.จิตติศักดิ์ ธรรมาภรณ์พิลาศ’ รองอธิการบดีด้านการจัดการทรัพย์สินและกายภาพ จุฬาฯ มาช่วยไขข้อสงสัยต่อเรื่องต่างๆ ที่สังคมตั้งคำถามถึงมหาวิทยาลัยในช่วงที่ผ่านมา ติดตามฟัง Unlock the City ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/D82MvFY8gv0 Spotify : https://spoti.fi/3Nen8de Apple Podcasts : https://apple.co/3oBjjoe Podbean : https://bit.ly/3NebVcI