
LATEST
ธงไพรด์หรือธงรุ้งสำคัญไฉน | Now You Know
Now You Know เอพิโสดนี้ ขอเล่าเบื้องหลังของ ‘ธงสีรุ้ง’ (Rainbow Flag) ที่เป็นสัญลักษณ์ของชาว LGBTQIAN+ ยุคนั้นประเด็นเกี่ยวกับเพศเป็นเรื่องที่ซีเรียสขนาดไหน และทำไมเราจึงไม่ควรนำสีรุ้งมาทำการตลาดโดยปราศจากความเข้าใจที่แท้จริง
สวยด้วยนะ รักโลกด้วยนะ ถูกใจมากๆ ‘Absolut Vodka’ ออกแบบขวดกระดาษที่ทั้งสวยงามและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไร้สีในขวดแก้วใสคือภาพจำของวอดก้าที่สายดื่มคุ้นชิน แต่ล่าสุด ‘Absolut Vodka’ ได้ออกแบบขวดวอดก้ารูปแบบล่าสุดที่มีความโดดเด่น สวยงาม และเป็นมิตรกับธรรมชาติ เพราะทำจากกระดาษ 57 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือเป็นขวดพลาสติกรีไซเคิล 43 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ขวดวอดก้าถูกออกแบบให้อยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่ใกล้เคียงกับกล่องน้ำผลไม้ ไม่ใช่รูปแบบเดิมๆ ที่เป็นขวดแก้ว ขวดกระดาษนี้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระหว่าง Paper Bottle Company (Paboco), Coca-Cola Company, Carlsberg, P&G และ L’Oréal โดยผ่านการทดสอบครั้งแรกที่งานเทศกาลต่างๆ ในสหราชอาณาจักรและสวีเดน และพร้อมวางจำหน่ายในเทสโก้ 22 แห่งทั่วมหานครแมนเชสเตอร์ในช่วงฤดูร้อนนี้ เพื่อดูว่าขวดรูปแบบใหม่ส่งผลต่อตลาดอย่างไร ขวดรูปแบบใหม่ที่สร้างขึ้นยังคงออกแบบภายใต้รูปทรงเดิมที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ โดยขวดมีขนาด 500 มิลลิลิตร ซึ่งมีปริมาณแอลกอฮอล์อยู่ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ แทนที่จะเป็น 5 เปอร์เซ็นต์แบบเครื่องดื่ม Absolut Mixt พร้อมดื่ม และจำหน่ายในราคาประมาณ 690 บาท ที่สำคัญขวดนี้ยังมีน้ำหนักเบากว่ากระจกถึง 8 เท่า ทำให้ง่ายต่อการพกพาและขนส่ง อีกทั้งยังนำขวดไปรีไซเคิลได้เช่นเดียวกับกระดาษและขยะอื่นๆ ทั่วไปในบ้าน […]
#แพทย์ลาออก เสียงสะท้อนจากเหล่าบุคลากรทางการแพทย์
จากกระแส #แพทย์ลาออก ที่กลายเป็นประเด็นร้อนของสังคมในตอนนี้ ทำให้บุคลากรทางการแพทย์หลายต่อหลายคน ทั้งคนที่กำลังเรียนอยู่ กำลังอยู่ในช่วงทำงานใช้ทุน หรือกระทั่งทำงานมานานแล้ว ออกมาแสดงความคิดเห็นถึงประเด็นนี้กันข้ามวันข้ามคืน เพราะบุคลากรทางการแพทย์ก็เป็นคนทำงานเหมือนๆ กับทุกอาชีพ ที่ต้องการระบบการทำงานที่ดี มีเพื่อนร่วมงานที่ไม่เป็นพิษ Work-life Balance ที่เหมาะสม และคุณภาพชีวิตที่ดีเช่นกัน ด้วยวาระนี้เอง Urban Creature จึงติดต่อไปหา 5 บุคลากรทางการแพทย์ เพื่อเป็นพื้นที่ให้พวกเขาส่งเสียงสะท้อนถึงระบบการทำงานที่ไม่เอื้อต่อการมีชีวิตที่ดี ทั้งยังทำให้คนทำงานหมดแรงหมดใจไปเรื่อยๆ อ. อายุ 24 ปีแพทย์จบใหม่ที่พยายามอยู่ในระบบให้ได้ เราเป็นแพทย์จบใหม่ที่เพิ่งเข้ามาอยู่ในระบบราชการได้ราวๆ 1 เดือน เหตุผลที่ตัดสินใจยังอยู่ในระบบเพราะการเรียนต่อเฉพาะทางในสาขาที่เราสนใจ เราโชคดีที่จับฉลากได้อยู่จังหวัดใกล้กรุงเทพฯ ซึ่งต้องแก่งแย่งกับเพื่อนๆ จากโควตาภาคกลางอันน้อยนิด บางคนโชคร้ายต้องไปอยู่ไกลบ้านมากๆ บางคนต้องไปอยู่จังหวัดที่พูดชื่อขึ้นมาก็ยังนึกไม่ออกว่าอยู่ตรงไหนในแผนที่ประเทศไทยด้วยซ้ำ การทำงานในทุกๆ วันมีความเครียดและกดดัน ทั้งคนไข้ปริมาณมหาศาลที่ต้องตรวจให้หมดในเวลาอันจำกัด การต้องอดนอน ทำงานติดต่อกันหลายวัน รวมถึงความเครียดจากสตาฟฟ์เวลาปรึกษาปัญหาของคนไข้ กลายเป็นว่าบางครั้งเราต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ยากๆ คนเดียว ทั้งที่เราเองก็ไม่ได้มีประสบการณ์ การเป็นหมอเคยเป็นสิ่งที่เรารู้สึกชอบและสนุกเวลาทำงาน แต่ด้วยระบบและสิ่งแวดล้อม มันค่อยๆ บั่นทอนแพสชันของเราและเพื่อนไปเรื่อยๆ จนตอนนี้ในหัวคิดไปเป็นวันๆ ว่าเราจะผ่านวันนี้ไปยังไงให้สุขภาพจิตของเรายังดีเหมือนเดิม โอ๊ต อายุ 23 […]
‘Rainy Day People’ มนุษย์เมืองใต้ฝนฟ้าที่ไม่เป็นใจ
“ดูท่าเหมือนฝนจะตก หยิบร่มติดตัวไปด้วยเป็นยันต์กันฝน” นี่คือประโยคที่หลายคนพูดล้อเล่นกันบ่อยๆ ในช่วงที่ไม่มีใครสามารถคาดเดาสภาพอากาศในป่าคอนกรีตที่ร้อนระอุอย่างกรุงเทพมหานครได้ แม้จะมีกรมอุตุนิยมวิทยาคอยพยากรณ์ให้ก็ตาม บางวันบอกว่าจะตกหนัก แต่ดันไม่หนักบริเวณที่เราอยู่ บางวันบอกว่าฟ้าจะสว่างสดใส แต่เมื่อมองออกไปนอกหน้าต่างกลับมีฝนตกโปรยปรายเสียอย่างนั้น การหลบฝนใต้ร่มเงาสะพาน สวมถุงกันผมชื้น หรือฝืนเดินฝ่าม่านน้ำไป เลยอาจถูกมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะคนเมืองอย่างเราๆ ล้วนต้องปรับตัวและใช้ชีวิตเพื่อรับมือกับสภาพอากาศที่คาดเดายากมานานแล้ว จนบางครั้งก็อาจลืมไปว่าเราใช้ชีวิตอยู่กับปัญหาจนกลายเป็นความเคยชินไปแล้วหรือเปล่า ระหว่างติดฝนจนกลับบ้านไม่ได้ครั้งหนึ่ง เราจึงลองมองพฤติกรรมของ ‘มนุษย์เมืองใต้ฝน’ ที่อยู่รอบๆ ตัว ซึ่งน่าสังเกต น่าสนใจ และน่าคิดตาม ทำให้เราอยากบันทึกเอาไว้ว่าครั้งหนึ่งพวกเราต่างต้องเอาตัวรอดกันให้ได้ในมหานครแห่งนี้ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes ส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]
จาก ‘Quattro Design’ สู่ ‘qd’ กับภารกิจคัดสรรเฟอร์นิเจอร์ที่ดึงตัวตนของผู้ใช้ผ่านสายตาดีไซเนอร์
เวลาเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์สำหรับแต่งบ้าน คุณคำนึงถึงเรื่องอะไรบ้าง ความสวยงาม ความสบาย หรือฟังก์ชั่นการใช้งาน หรือถ้าคุณกำลังแต่งบ้านแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร เราอยากพาคุณไปรู้จักกับ ‘เหมี่ยว-พราวพรรณ เลาหพงศ์ชนะ’ ผู้ก่อตั้ง กรรมการผู้จัดการ และดีไซน์ ไดเร็คเตอร์ของ ‘Quattro Design’ ผู้จำหน่ายเฟอร์นิเจอร์นำเข้า ออกแบบ และผลิตเฟอร์นิเจอร์ระดับพรีเมียม ที่ทำการตลาดในไทยจนครองใจผู้คนมานานกว่า 15 ปี แต่การเจอเหมี่ยวครั้งนี้ถือว่าพิเศษกว่าครั้งไหนๆ เพราะเราจะได้พบกับตัวตนใหม่ของ Quattro Design หลังจากรีแบรนด์ดิ้งเป็น ‘qd’ อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของตลาดเฟอร์นิเจอร์ และทำให้ลูกค้ามีประสบการณ์การเลือกซื้อของตกแต่งบ้านที่ดียิ่งขึ้น เพราะ qd เชื่อว่า ‘บ้าน’ ไม่ใช่เพียงที่อยู่อาศัย ‘เฟอร์นิเจอร์’ จึงไม่ใช่แค่การตกแต่งเพื่อความสวยงาม แต่ยังเป็นความสุนทรีย์ที่มีองค์ประกอบของเรื่องราว ความรู้สึก และฟังก์ชั่นที่ตอบสนองความต้องการ รวมไปถึงสะท้อน ‘ตัวตน’ ของผู้อยู่อาศัยออกมาได้ดีที่สุด รีแบรนด์ใหม่ เข้าใจตัวตนผู้บริโภคมากขึ้น เหมี่ยวเริ่มต้นเล่าว่า จากการอยู่ในวงการเฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้านภายใต้แบรนด์ Quattro Design มานานกว่า 15 ปี ทำให้เธอมองเห็นว่าผู้บริโภคมีมุมมองต่อที่อยู่อาศัยเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก […]
Coors Light เบียร์สัญชาติอเมริกัน คิดค้นฉลากเปลี่ยนสี ให้แช่ฟรีซได้แบบไม่ต้องกลัวขวดระเบิด
เมื่อปีที่แล้ว ‘Coors Light’ แบรนด์เบียร์สัญชาติอเมริกันได้เปิดตัว ‘สีทาเล็บ’ เปลี่ยนสีได้ ที่นอกจากจะสร้างความสวยงามให้เล็บแล้ว ยังเป็นตัวช่วยให้รู้ว่าเบียร์ในมือของเรานั้นอยู่ในอุณหภูมิเหมาะสมที่จะดื่มแล้วหรือยัง มาปีนี้ ในช่วงอากาศร้อนๆ ที่เหมาะกับเครื่องดื่มเย็นๆ แบรนด์เบียร์เจ้าเดิมได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่มาช่วยแก้ปัญหาที่หลายๆ คนมักนำขวดเครื่องดื่มไปแช่ไว้ในช่องฟรีซเพื่อเพิ่มความสดชื่นให้การดื่ม แต่บ่อยครั้งดันลืมขวดที่แช่ไว้ เปิดมาอีกทีก็พบเศษแก้วระเบิดเละเทะเต็มตู้เย็น ด้วยเหตุนี้ ‘Coors Light’ จึงคิดฉลากสุดพิเศษที่เปลี่ยนสีได้ เพื่อช่วยให้เหล่านักดื่มรู้ถึงอุณหภูมิเบียร์ที่เย็นพอดี ผ่านการรวมเอาเครื่องมืออัจฉริยะเข้ากับผลิตภัณฑ์ วิธีการคือ เมื่อนำขวดของ Coors เข้าไปแช่ช่องฟรีซ เราจะสังเกตระดับความเย็นของเครื่องดื่มได้จากรูป ‘ภูเขา’ ที่เป็นสัญลักษณ์เด่นบนฉลาก หากมีการเปลี่ยนแปลงจาก ‘สีเทา’ เป็น ‘สีฟ้า’ ที่เปล่งแสงสดใสออกมา นั่นแหละคืออุณหภูมิที่เหมาะสม หยิบออกมาเปิดดื่มได้เลย นอกจากนี้ ทางแบรนด์เบียร์ยังร่วมกับบริษัทเอเจนซี ‘Alma’ และช่างภาพ ‘Ale Burset’ ทำแคมเปญโฆษณาที่บันทึกช่วงเวลาขวดระเบิดจากหลายตู้เย็น ดังจะเห็นได้ในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น The New York Times, San Francisco Chronicle และโฆษณาตามสถานที่ต่างๆ ติดตามงานดีไซน์และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของแบรนด์เบียร์สัญชาติอเมริกันนี้ได้ที่ Coors […]
เจาะลึกนโยบายพัฒนาเมือง กับนักผังเมืองพรรคก้าวไกล | Unlock the City EP.28
เมื่อพรรคก้าวไกลคือพรรคที่มีแนวโน้มมากที่สุดที่จะได้จัดตั้งเป็นรัฐบาล Urban Creature ชวนนักผังเมืองรุ่นใหม่ไฟแรง ‘ณัฐพงศ์ เปรมพูลสวัสดิ์’ ว่าที่ ส.ส. เขต 21 กรุงเทพฯ มาคุยกันถึงเรื่องนโยบายผังเมืองให้ประชาชนเห็นภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นนโยบายภาพใหญ่ของพรรค และนโยบายภาพย่อยของเขต
‘รัฐสภา’ ย้อนดูความเป็นมาของสถานที่เริ่มต้นในการพัฒนาประเทศและต่อสู้ทางอุดมการณ์
หลังจากสถานีการเลือกตั้งอันแสนดุเดือดจบลง สถานีต่อไปที่ประชาชนจับตามองคือ กระบวนการที่รัฐบาลชุดใหม่เข้าไปทำหน้าที่ในรัฐสภา แน่นอนว่าเมื่อพูดถึง ‘รัฐสภา’ สถานที่แห่งนี้ย่อมเป็นที่รู้จักของประชาชนโดยทั่วไปอยู่แล้ว เพราะเป็นสถานที่ที่มีไว้ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหลายเข้าไปประชุมกันเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศ รวมถึงถ้าหากฝ่ายรัฐบาลทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง ฝ่ายค้านก็จะอภิปรายไม่ไว้วางใจ เหมือนอย่างที่เห็นกันตามสื่อต่างๆ ในยุครัฐบาลที่ผ่านมา แม้จะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ประกอบด้วยอิฐ หิน ดิน ทราย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ‘รัฐสภา’ คือฉากหลังสำคัญในการต่อสู้ทางอุดมการณ์ของเหล่านักการเมืองทุกยุคทุกสมัย ในช่วงเวลาที่สายลมแห่งการเปลี่ยนผ่านพัดพาสู่การเมืองไทย คอลัมน์ Urban Tales จะมาเล่าถึงประวัติศาสตร์รัฐสภาของประเทศไทยว่ามีความเป็นมายังไง แต่ละแห่งมีคอนเซปต์และความสำคัญอย่างไรบ้าง รัฐสภาแห่งแรกของประเทศไทย หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่า สถานที่แห่งแรกที่ใช้เป็นรัฐสภาคือ ‘พระที่นั่งอนันตสมาคม’ ซึ่งเป็นท้องพระโรงของพระราชวังดุสิตนั่นเอง ส่วนเหตุผลที่สภาผู้แทนราษฎรเข้าไปประชุมในนั้น นั่นก็เพราะในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รัชกาลที่ 7 อนุญาตให้ใช้พระที่นั่งฯ เป็นสถานที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 28 มิถุนายน 2475 โดยใช้ห้องโถงชั้นบนของพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นที่ประชุม ต่อมาในปี 2489 รัฐธรรมนูญได้มีการกำหนดให้รัฐสภาไทยเป็นแบบสองสภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนฯ และพฤฒสภา (สภาสูงหรือสภาอาวุโส) จึงกำหนดให้ใช้พระที่นั่งอภิเศกดุสิตเป็นที่ประชุมของพฤฒสภาอีกแห่งหนึ่ง หลังจากนั้นหนึ่งปี หรือปี 2490 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) ส่งผลให้พระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นที่ประชุมเพียงแห่งเดียว […]
‘Flashback’ กล้องฟิล์มใช้แล้วไม่ทิ้ง กล้องลูกผสมระหว่างฟิล์มกับดิจิทัลที่ออกแบบมาเพื่อลดขยะพลาสติก
ในยุคที่คนหวนคิดถึงยุคแอนะล็อกกันมากขึ้น ‘กล้องฟิล์ม’ เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่กลับมาเป็นที่นิยมของตลาดและจับใจเด็กยุค 2000 ด้วยเสน่ห์ความคลาสสิกและโรแมนติกแบบที่หาไม่ได้ในกล้องดิจิทัล แต่ด้วยความที่การใช้กล้องฟิล์มแต่ละครั้งก่อให้เกิดขยะพลาสติกจากตัวฟิล์มและบอดี้ตัวกล้องใช้แล้วทิ้งจำนวนมาก ‘Kelric Mullen’ และ ‘Mackenzie Salisbury’ คู่หูนักออกแบบที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมจึงสร้าง ‘กล้องฟิล์มกึ่งดิจิทัล’ ที่รับผิดชอบต่อปัญหาขยะพลาสติกขึ้นในชื่อ ‘Flashback’ เมื่อมอง Flashback แบบผิวเผินอาจดูเหมือนเป็นกล้องฟิล์มทั่วๆ ไป ที่มาพร้อมช่องมองภาพ ตัวหมุนโฟกัส และแฟลชแบบ Xenon แต่ความจริงแล้วภายใต้รูปลักษณ์แบบคลาสสิกที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล Flashback ยังซ่อนรูปแบบของความเป็นดิจิทัลได้อย่างแนบเนียน แต่ละครั้งที่กดชัตเตอร์ ภาพจะถูกบันทึกด้วยเทคโนโลยีฟิล์มดิจิทัล (Digital Film Technology) ที่แม้จะไม่มีม้วนฟิล์มอยู่ภายใน แต่ยังให้ความรู้สึกเหมือนกำลังถ่ายภาพด้วยกล้องฟิล์มที่สามารถถ่ายภาพได้สูงสุด 27 ภาพอยู่จริงๆ หลังจากถ่ายภาพครบหนึ่งชุด ภาพถ่ายทั้งหมดจะถ่ายโอนแบบไร้สายไปยังแอปพลิเคชัน ‘Flashback’ บนสมาร์ตโฟน ที่ต้องรอเวลาอีก 24 ชั่วโมงถึงจะได้ออกมาเป็นรูปภาพแบบสมบูรณ์ให้เราเห็น ถือเป็นการคงไว้ซึ่งความโรแมนติกของการถ่ายภาพแบบแอนะล็อก นอกจากนี้ ตัวกล้อง Flashback ยังสามารถใช้ซ้ำได้เรื่อยๆ ผ่านการชาร์จไฟด้วยสาย USB ที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายจำนวนมากเมื่อเทียบกับการใช้กล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้ง และตัวฟิล์มที่มีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ ใครที่สนใจ สั่งซื้อกล้อง Flashback ในราคาเริ่มต้นที่ […]
เช็กแนวโน้มประชาธิปไตยได้ง่ายๆ ผ่านเว็บไซต์ Our Voice Matters นับเสียง ส.ส. และ ส.ว. ฝั่งประชาชน
หลังจากเลือกตั้งเสร็จสิ้นจนถึงวันนี้ เรื่องการจัดตั้งรัฐบาลก็ยังมาแรงอย่างต่อเนื่อง เพราะหากนับคะแนนเสียงในสภา ต่อให้พรรคการเมืองฝั่งประชาธิปไตยจะชนะเลือกตั้ง ก็ไม่ได้หมายความว่าจะได้ขึ้นเป็นรัฐบาล เนื่องจากมีเหล่า ส.ว. อีก 250 เสียงที่ยังอยู่ในสมการ ourvoicematters.co คือเว็บไซต์ช่วยนับคะแนนเสียง ส.ว. และ ส.ส. ที่ตัดสินใจอยู่ข้างประชาชนตอนนี้ ซึ่งจากข้อมูลอัปเดตล่าสุด วันที่ 21 พ.ค. 2566 มีจำนวน ส.ว. และ ส.ส. ที่พร้อมโหวตตัวแทนจากพรรคฝั่งประชาธิปไตยแล้ว 334 เสียง นอกจากจะรายงานถึง ส.ว. และ ส.ส. ที่อยู่ฝั่งเดียวกับประชาธิปไตย และจำนวนเสียงที่ขาดไป เพื่อไปให้ถึงประชาธิปไตยที่แท้จริงภายใต้กฎกติกาตอนนี้แล้ว อีกหนึ่งกิมมิกของเว็บนี้คือ เซกชัน ‘อยากบอกอะไร ส.ส. กับ ส.ว. ที่อยู่ข้างเราไหม?’ ที่มีข้อความให้กำลังใจมากมายอยู่บนหน้าเว็บไซต์ ทั้ง “ขอบคุณที่ทำให้เสียงของเราไม่สูญเปล่า” “ขอบคุณที่ฟังเสียงประชาชน” “ขอบคุณที่ทำหน้าที่ ส.ว. อย่างถูกต้อง” เป็นต้น ซึ่งถ้าเราต้องการบอกอะไรกับพวกเขาผู้ยืนหยัดอยู่ข้างประชาชน ก็จิ้มข้อความเหล่านั้นเพื่อให้กำลังใจได้เลย และในส่วนท้ายสุดของเว็บไซต์เป็นหน้ากระดานข่าวที่รายงานข้อมูลเกี่ยวกับพรรคอื่นๆ รวมถึง ส.ว. […]
Adamant Hospital โรงพยาบาลจิตเวชลอยน้ำในปารีส ที่สร้างบรรยากาศให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่โดดเดี่ยวในเมืองใหญ่
เพื่อให้การไปโรงพยาบาลจิตเวชสำหรับชาวปารีสไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอย่างที่คิด สตูดิโอออกแบบ ‘Seine Design’ ที่เชี่ยวชาญการออกแบบสิ่งปลูกสร้างลอยน้ำจึงรับหน้าที่ออกแบบโรงพยาบาลจิตเวช ‘Adamant Hospital’ ตั้งอยู่ใกล้กับสะพาน ‘Pont Charles-de-Gaulle’ บริเวณใจกลางกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส Adamant Hospital เป็นโรงพยาบาลลอยน้ำในลักษณะสมมาตรที่แยกตัวออกมาจากโรงพยาบาลหลักอย่าง ‘Esquirol Hospital’ เพื่อดูแลผู้ป่วยจิตเวชและผู้มีปัญหาด้านจิตใจโดยเฉพาะ ผ่านการออกแบบที่ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นสตูดิโอส่วนตัวของศิลปินมากกว่าโรงพยาบาลในขนาดเพียง 600 ตารางเมตร Seine Design อธิบายการออกแบบ Adamant Hospital ไว้ว่า เป็นแนวคิดการออกแบบอาคารที่เปลี่ยนสิ่งธรรมดาให้น่าตื่นเต้น โดยให้ความหมายกับเหตุการณ์และสภาพอากาศทั่วไปในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น ไม่ว่าจะฝนตกหรือแดดออก ผ่านการใช้ไม้แบบโมดูลาร์และมีบานประตูหน้าต่างแบบเคลื่อนย้ายได้ เพื่อให้ตัวอาคารเชื่อมต่อกับบรรยากาศธรรมชาติและเป็นมิตรกับผู้ป่วยมากขึ้น โดยภายในของ Adamant Hospital ประกอบไปด้วยห้องทำงานของทีมแพทย์ และพื้นที่สำหรับรับรองผู้ป่วยที่เน้นไปที่การออกแบบกิจกรรม ‘Therapy Workshops’ ในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่การทำเครื่องปั้นดินเผา เล่นดนตรี หรือการวาดภาพ เพื่อช่วยฟื้นฟูให้ผู้ป่วยสามารถกลับคืนสู่สังคมได้อย่างมีความสุข และไม่รู้สึกโดดเดี่ยวในเมืองใหญ่อีกต่อไป Sources : ArchDaily | t.ly/gJuQSeine Design | www.ronzatti.com/adamant.html
‘สรรสรางค์ แกลเลอรี’ พื้นที่สร้างสรรค์และห้องสมุดในตัวเมืองนครศรีธรรมราช
สถานที่พักผ่อนหย่อนใจของผู้คนในปัจจุบันไม่ใช่แค่ห้างสรรพสินค้าใหญ่โตอีกต่อไป แต่เป็นแกลเลอรีแสนน่ารัก ห้องสมุดบรรยากาศอบอุ่น หรือพื้นที่ทำกิจกรรมที่ให้คนมาพบปะ พูดคุย และเรียนรู้นอกเหนือตำราเรียน แน่นอนว่าสถานที่เหล่านี้หาได้ง่ายมากในกรุงเทพฯ แต่ในทางกลับกัน จังหวัดอื่นๆ กลับหาสถานที่พักผ่อนแบบนี้ได้ยากเหลือเกิน ซึ่ง ‘ต๊ะ-ณัฐชยา สุขแก้ว’ ก็คิดแบบนี้เช่นเดียวกัน เธอจึงตัดสินใจใช้ช่วงเวลาพักจากงาน IT กลับมาที่บ้านเกิดจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อสร้างพื้นที่แห่งศิลปะ การเรียนรู้ และเป็นมิตรกับจิตใจให้ผู้คนในจังหวัดของเธอ ต๊ะเล่าที่มาของชื่อ ‘สรรสรางค์ แกลเลอรี’ ว่ามาจากคำว่าสรรค์สร้าง แต่เธอนำคำมาปรับใหม่เพื่อให้ได้ความรู้สึก Feminine และสร้างความสมดุลกับสิ่งต่างๆ ในจังหวัดมากขึ้น เพราะเธอรู้สึกว่าสิ่งต่างๆ ในจังหวัดบ้านเกิดมีความ Masculine ทั้งการแสดงออกและศิลปะ เธอจึงอยากทำสถานที่นี้เป็นเหมือน Safe Space ที่ทำให้ศิลปะและความรู้เข้าถึงง่ายกว่าที่เคย ด้วยความที่ใช้เวลาพักงานในการสรรค์สร้างพื้นที่แห่งนี้ขึ้นมา ต๊ะจึงมีเวลาจัดการทุกอย่างแค่ 1 เดือนกว่าเท่านั้น ซึ่งหลายๆ คนที่ไปเยือนจะได้เห็นว่าส่วนต่างๆ ของตึกมีการจัดการแบบ Minimum คือตั้งใจปรับปรุงเท่าที่จำเป็น เพื่อปล่อยออกไปสำรวจตลาดก่อน ที่เป็นแบบนั้นเพราะต๊ะเล่าว่า นี่คือการสร้าง Minimum Viable Product (ผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง) โดยอิงจากข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์นักเรียนทั้งอาชีวะและสายสามัญ รวมถึงคนทำงานในจังหวัด หรือพูดง่ายๆ […]