‘SOAPBOTTLE’ ขวดสบู่จากสบู่ที่ใช้ได้ทั้งข้างนอกและข้างใน ช่วยลดขยะพลาสติกจากบรรจุภัณฑ์

โดยเฉลี่ยแล้วในแต่ละปี โลกของเรามีปริมาณขยะพลาสติกจากขวดสบู่และแชมพูมากถึง 75 กิโลตัน และขยะเหล่านี้ต่างใช้เวลาในการย่อยสลายตัวเองเฉลี่ยมากถึง 500 ปี ด้วยเหตุนี้ ‘Jonna Breitenhuber’ นักออกแบบชาวเบอร์ลินจึงได้หาแนวทางแก้ไขปัญหาเหล่านี้ด้วยวิธีอันชาญฉลาด ด้วยการนำสบู่เหลวใส่ไปในสบู่ก้อน และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่เปิดให้ระดมทุนเมื่อปี 2021 โดยใช้ชื่อว่า ‘SOAPBOTTLE’ ความพิเศษของ SOAPBOTTLE คือไม่ว่าจะเป็นบรรจุภัณฑ์หรือสบู่ภายในต่างใช้งานได้จริง เพราะทำมาจากทรัพยากรธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เป็นวีแกน ไม่ก่อให้เกิดขยะพลาสติกเมื่อใช้สบู่เหลวหมดขวด และทุกกระบวนการผลิตยังไม่ทดลองใช้กับสัตว์ด้วย หลักการทำงานของ SOAPBOTTLE คือเมื่อเราเปิดใช้สบู่เหลวภายในหมดแล้ว บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากสบู่ข้างนอกจะค่อยๆ ละลายกลายเป็นสบู่สำหรับล้างมือ หรือนำไปแปรรูปเป็นสบู่สำหรับทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ ปัจจุบัน SOAPBOTTLE ได้ปิดรับการระดมทุนและอยู่ในขั้นตอนการวิจัย ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ และมองหาพันธมิตรที่เหมาะสม เพื่อขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ให้ครอบคลุมไปถึงของเหลวประเภทอื่นๆ อย่างแชมพูหรือครีมนวดผม และเตรียมพร้อมในการปล่อยผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดในอนาคต Sources : SOAPBOTTLE | soapbottle.com/aboutYanko Design | t.ly/5CA4GDesignboom | t.ly/mheMz

Bordeaux Brazza UCPA Sport Station ศูนย์กีฬาสูง 6 ชั้นกลางเมืองบอร์โด ฝรั่งเศส ที่ก่อสร้างแบบประหยัดพลังงาน ช่วยลดปริมาณคาร์บอน

‘Bordeaux Brazza UCPA Sport Station’ เป็นศูนย์กีฬาแห่งใหม่สำหรับเยาวชนในเมืองบอร์โด ประเทศฝรั่งเศส ในพื้นที่กว่า 15,700 ตารางเมตร บนความสูง 6 ชั้นแห่งนี้อัดแน่นไปด้วยหลากหลายกีฬาให้เลือกสรร ไม่ว่าจะเป็นการปีนเขา เทนนิส สควอช และฟิตเนส รวมไปถึงมีพื้นที่ที่ออกแบบมาสำหรับเด็กโดยเฉพาะอย่างโซนอีสปอร์ตและสนามพัตต์กอล์ฟบนชั้นดาดฟ้า ตลอดการใช้งานภายในอาคารหลังนี้ คุณจะรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยดูแลรักษาโลกของเรา เนื่องจาก Bordeaux Brazza UCPA Sport Station ออกแบบขึ้นโดยคำนึงถึงการลดปริมาณคาร์บอนฟุตพรินต์ระหว่างการก่อสร้างและการใช้งานอาคาร เพราะไม่ว่าจะเป็นพื้นกระเบื้อง คาน หรือแม้กระทั่งเสาคอนกรีต ต่างถูกสร้างขึ้นจากวัสดุคาร์บอนต่ำ มีการใช้วัสดุประเภทตาข่ายในส่วนที่เปิดโล่งสำหรับถ่ายเทอากาศและแสงจากภายนอกสู่ภายใน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการประหยัดพลังงานของอุปกรณ์ทำความร้อน เครื่องปรับอากาศ และลดการใช้ไฟจากหลอดไฟภายในอาคารให้ได้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ โดยหลังเปิดทำการเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา พบว่าศูนย์กีฬา Bordeaux Brazza UCPA Sport Station แห่งนี้สามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าไปได้ถึง 900,000 กิโลวัตต์ชั่วโมง/ปี หรือลดการบริโภคไฟฟ้าลงถึง 56 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับโครงการประเภทเดียวกัน อีกทั้งในช่วงของการก่อสร้างยังสามารถลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนฟุตพรินต์ได้ถึง 2,270 ตันอีกด้วย Source : ArchDaily | t.ly/0MJhi

จากวัดอรุณฯ สู่ย่านไทย-จีน ไอศกรีม Pop Icon ออกรสชาติใหม่ แรงบันดาลใจจากถนนเยาวราช

หลังจากเป็นไวรัลไอศกรีมลายกระเบื้องวัดอรุณฯ ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้แวะเวียนไปลองชิมและถ่ายรูปกันจนแทบขายไม่ทัน ครั้งนี้แบรนด์ ‘Pop Icon’ ยังมีอีกสองรสชาติออกใหม่ที่วางขายในย่านเยาวราช พร้อมกับลายมังกรและลายสิงโตที่สวยงามไม่แพ้กระเบื้องวัดอรุณฯ Urban Creature ได้ติดต่อกับ ‘น้ำตาล ศิริญญา’ เจ้าของแบรนด์ Pop Icon อีกครั้ง เพื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับไอศกรีมรสชาติใหม่นี้ โดยน้ำตาลได้เล่าถึงที่มาของการเลือกถนนเยาวราชเป็นจุดขายแห่งใหม่ เพราะมีความสนใจในวัฒนธรรมไทย-จีนเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และถนนเยาวราชเองก็เป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวของไทยที่ติดอันดับโลก ทำให้มีความสนใจในสถานที่แห่งนี้เป็นพิเศษ จึงนำมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบไอศกรีมรสใหม่ออกมา ไอศกรีม Pop Icon แบบใหม่มาพร้อมสองลวดลาย ลายแรกคือ ‘มังกรเขียว เหนี่ยวทรัพย์’ (Dragon Delight) ที่ได้แรงบันดาลใจจากอีกชื่อหนึ่งของถนนเยาวราช นั่นคือ ‘ถนนมังกร’ ที่จะมีมังกรซ่อนตัวอยู่ตามสถานที่ต่างๆ ทั่วเยาวราช นอกจากลายมังกรบนไอศกรีมแล้ว ยังมีคำว่า ‘เยาวราช’ และสิ่งที่เป็นมงคลต่างๆ ของจีน ไม่ว่าจะเป็นลูกแก้ว ดอกเหมย หรือเงินทองอยู่ล้อมรอบตัวมังกรเพื่อเสริมความเป็นมงคลเข้าไปด้วย ส่วนรสชาติของลายนี้เป็นรสชาเขียว ที่นำมาจากวัฒนธรรมการเจี๊ยะแต๊หรือการจิบน้ำชา ซึ่งเป็นวัฒนธรรมและประเพณีสำคัญที่อยู่ในชีวิตประจำวันของชาวไทยเชื้อสายจีนมานาน ส่วนอีกหนึ่งลายคือ ‘สิงโต นำโชค’ (Lucky Lion) ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากป้ายต่างๆ อันเป็นสัญลักษณ์ของถนนเยาวราช และการเชิดสิงโตจากเทศกาลตรุษจีน […]

Sustrends 2024 เสวนา 50 เทรนด์ความยั่งยืนที่กำลังเปลี่ยนโลกจากทุกหน่วยงานด้านความยั่งยืน

ทิศทางเรื่องความยั่งยืนในอนาคตมีอะไรบ้าง และเราจะขับเคลื่อนทุกองคาพยพให้เติบโตอย่างยั่งยืนได้อย่างไร งาน Sustrends 2024 รวบรวมคำตอบไว้หมดแล้ว วันที่ 31 สิงหาคมที่ผ่านมาคือครั้งแรกของการจัดงาน Sustrends 2024 เวทีสัมมนาความยั่งยืนแนวใหม่ที่รวบรวม 50 เทรนด์ความยั่งยืนที่กำลังเปลี่ยนโลกจาก 20 วิทยากรตัวจริงของทุกหน่วยงานด้านความยั่งยืน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และหน่วยงานไม่แสวงหากำไรบนเวทีเดียวกัน เพื่อส่งต่อองค์ความรู้และเทรนด์ต่างๆ หวังชวนทุกคนออกเดินทางหาสมดุลให้กับตัวเองและโลกใบนี้ โดยตัวอย่างวิทยากรที่ร่วมเวทีนี้ ได้แก่ ‘เรอโน เมแยร์’ ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย กับหัวข้อบทบาทของ UNDP ในการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนจากภาพรวมของโลกสู่การทำงานในประเทศไทย โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง พร้อมย้ำถึงการผลักดันเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ซึ่งทุกภาคส่วนของสังคมสามารถมีส่วนร่วมเพื่อทำให้เกิดขึ้นจริงได้ ‘ผศ.ชล บุนนาค’ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับหัวข้อการบรรยายเปิดเหตุผลของการปรับปัญหาความยั่งยืนจาก 17 เป้าหมายของ SDGs ให้กลายเป็น 6 กลุ่มปัญหา ได้แก่ คุณภาพชีวิตและศักยภาพของมนุษย์, ทรัพยากรร่วมทางธรรมชาติของโลก, เศรษฐกิจที่เป็นธรรมและยั่งยืน, ระบบอาหารที่ยั่งยืนและโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพ, การลดก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงานและการเข้าถึงถ้วนหน้า […]

โครงการติดตั้งตู้กดน้ำสาธารณะ 10 จุด และแผนที่จุดเติมน้ำกว่า 100 แห่งทั่ว กทม.

ในบรรดาคนเมืองที่เดินทางไปเรียน ทำงาน หรือกระทั่งท่องเที่ยว น่าจะมีคนจำนวนไม่น้อยที่พกพากระบอกน้ำติดตัวไปด้วย เพราะนอกจากจะสะดวก ไม่สร้างขยะเพิ่มเติม เราก็ยังดื่มน้ำเย็นชื่นใจหรือชากาแฟที่ชงจากบ้านได้ตลอด แต่อุปสรรคสำคัญของการพกพากระบอกน้ำทุกๆ วันในกรุงเทพฯ คงหนีไม่พ้นปัญหาเรื่องจุดเติมน้ำที่มีค่อนข้างจำกัด หรือต่อให้เจอ บางทีเครื่องก็เสียหรือดูสกปรกจนเราไม่กล้าใช้เติมน้ำ เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา Environmental Justice Foundation Thailand (EJF) ได้เปิดตัวโครงการ ‘Bottle Free Seas’ ร่วมกับเครือข่าย Refill Bangkok เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนที่ต้องการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาพลาสติกมาร่วมผนึกกำลังกันอย่างคับคั่ง สร้างเทรนด์พกกระบอกน้ำเพื่อลดพลาสติกก่อนล้นโลก การร่วมมือนี้แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ การที่ EFJ ร่วมกับกรุงเทพมหานคร ติดตั้งตู้กดน้ำสาธารณะที่ใช้ระบบเซนเซอร์ในการเติมน้ำลงขวดเท่านั้น รวมถึงมีระบบแจ้งเตือนไส้กรองและตัวเลขที่แจ้งว่าเติมน้ำไปจำนวนกี่ขวดแล้วในพื้นที่ 10 จุดทั่วกรุงเทพฯ ซึ่งนำร่องติดตั้ง 2 จุดแรกไว้ที่สวนเบญจกิติ ส่วนอีก 8 จุดจะมีการติดตั้งและแจ้งข่าวเพิ่มเติมต่อไป ส่วนที่สองคือเว็บเพจ refillbkk.greendot.click ที่ทำหน้าที่เป็น One Stop Service สำหรับจุดเติมน้ำดื่มใกล้ตัว ประกอบด้วยแผนที่จุดเติมน้ำดื่มในเครือข่ายทั่วกรุงเทพฯ กว่า 100 จุด […]

Urban Eyes 50/50 เขตสาทร

ในที่สุดโปรเจกต์ Bangkok Eyes ก็เดินทางมาถึงเขตที่ 50 ซึ่งเป็นเขตสุดท้ายแล้ว หลายคนอาจคุ้นเคยกันดีกับถนนสาทร ย่านธุรกิจชื่อดัง มีตึกสูงใหญ่ติดถนน และการจราจรที่หนาแน่นโดยเฉพาะช่วงเย็นวันศุกร์ แต่สิ่งหนึ่งที่บางคนอาจยังไม่ทราบคือ ถนนสาทรอยู่ติดกับ 2 เขต โดยมีคลองสาทรเป็นเส้นแบ่งเขต ทางสาทรเหนือจะอยู่ในเขตพื้นที่บางรัก ส่วนถนนสาทรใต้อยู่ในเขตพื้นที่สาทร เขตนี้กินพื้นที่จากถนนสาทรใต้ไปถึงถนนจันทน์ และมีอะไรให้ไปสำรวจมากกว่าการเป็นย่านเศรษฐกิจเท่านั้น ลองตามไปดูพร้อมๆ กัน ท่าเรือสาทร ━ ที่ท่าเรือใต้สะพานตากสินมีคนสัญจรไปมาตลอดเวลา ซีนช่วงเวลาเย็นแสงสวยเป็นพิเศษ เพราะมีแหล่งกำเนิดแสงทั้งหลอดนีออน หลอดไฟธรรมดาสีส้ม และแสงของท้องฟ้ายามเย็น ที่ผสมออกมาทำให้เกิดซีนแห่งแสง แถมจุดนี้คนก็ขึ้น-ลงเรืออยู่เป็นระยะ ฉะนั้นไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีซับเจกต์อยู่ในภาพเลย วัดยานนาวา ━ วัดนี้มีจุดเด่นที่สังเกตได้ชัดคือพระเจดีย์บนเรือสำเภาสีขาวที่ตั้งอยู่กลางวัด แถมตัววัดยังอยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา มีลานอยู่เลียบแม่น้ำ ที่จริงแล้ววัดนี้เป็นวัดโบราณที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อก่อนชื่อ ‘วัดคอกควาย’ ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีก็ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวง และมีชื่อใหม่ว่า ‘วัดคอกกระบือ’ จากนั้นในรัชกาลที่ 3 ท่านโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์และสร้างเรือสำเภาเจดีย์ ขึ้นทีหลัง จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น ‘วัดยานนาวา’ จนถึงปัจจุบัน สุสานวัดดอน (สุสานแต้จิ๋ว) ━ สุสานสาธารณะจีนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ ชั้นใน […]

Letní kino Prachatice โรงภาพยนตร์กลางแจ้งกลางเมือง ที่ใช้ประโยชน์ได้มากกว่าแค่ฉายหนัง

หากสำรวจไปในเมืองต่างๆ เราจะพบเห็นพื้นที่เก่าที่มีเรื่องราวประวัติศาสตร์ผ่านความเป็นมาของยุคสมัยอยู่หลายแห่ง และมีจำนวนไม่น้อยที่ถูกทิ้งร้าง ไม่ได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใดๆ สถาปนิก ‘Mimosa Architects’ จากสาธารณรัฐเช็ก ได้เปลี่ยนโรงหนังเก่าแก่ที่มีความจุมหาศาลถึง 800 ที่นั่ง แต่อยู่ในสภาพทรุดโทรมในเมือง Prachatice ทางตอนใต้ ให้กลายเป็น ‘Letní kino Prachatice’ หรือโรงหนังกลางแจ้งขนาด 350 ที่นั่ง ที่มีจำนวนที่นั่งน้อยลงแต่ใช้งานได้คุ้มค่ากว่า แน่นอนว่าเหตุผลที่ต้องรื้อของเก่าแล้วสร้างใหม่นั้นก็เพราะโครงสร้างที่มีอยู่ยากเกินกว่าจะซ่อมแซมได้ บวกกับสภาพแวดล้อมที่ปรับปรุงยาก และในบางส่วนอย่างตัวกำแพงที่ใช้เป็นจอฉายหนังก็บดบังแสงแดด ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในสวนสาธารณะข้างๆ ด้วย หลังจากปรับปรุงแล้ว โรงหนังกลางแจ้งแห่งนี้ได้เพิ่ม 3 ส่วนใหม่ขึ้นมา ซึ่งใช้เป็นอาคารสำหรับขายตั๋ว ขายอาหาร และเป็นห้องฉายหนัง ส่วนบริเวณฝั่งจอภาพด้านหลังก็ยังใช้เป็นพื้นที่ห้องพักศิลปินและห้องเก็บของได้อีก โรงภาพยนตร์แห่งนี้ได้รับการดีไซน์ปรับเปลี่ยนให้กลมกลืนไปตามธรรมชาติ เช่น พื้นที่ลาดเอียงลงไปยังผนังฉายภาพ หรือการใช้วัสดุ ‘หิน’ ที่เมืองแห่งนี้ใช้กันทั่วไป ซึ่งบริเวณพื้นที่สาธารณะหรือโดยรอบเมืองจะปูหินแข็ง ในขณะที่ภายในบริเวณโรงภาพยนตร์จะใช้หินเจียระไนที่ให้ความรู้สึกอ่อนนุ่มและเป็นธรรมชาติมากกว่า แม้จะได้ชื่อว่าเป็นโรงหนังกลางแจ้ง แต่ไม่ว่าจะเป็นตอนบ่ายที่มีแดดจัดหรือบางคืนที่ฝนตก สถานที่แห่งนี้ก็มีหลังคาผ้าใบที่ขึงพาดไว้ระหว่างอาคาร เพื่อช่วยให้ร่มเงาแก่นักแสดงและผู้ชม นอกจากนี้ โครงสร้างด้านบนหลังคายังสะท้อนให้เห็นถึงแรงบันดาลใจในการออกแบบจากแกนม้วนแผ่นฟิล์ม แต่ในที่นี้จะใช้สายเคเบิลแทนเพื่อปรับความตึงของหลังคาได้นั่นเอง และขณะเดียวกัน การมีผ้าใบก็ยังเป็นส่วนช่วยซับเสียงจากโรงภาพยนตร์ได้ด้วย.จากประโยชน์ใช้สอยและการออกแบบที่ร่วมสมัย ทำให้ที่นี่กลายเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง เพราะเป็นพื้นที่สร้างความรื่นรมย์ให้กับคนในชุมชน แถมยังตั้งอยู่ใกล้กับจัตุรัสกลางเมืองและสวนสาธารณะ […]

‘ออสโล’ กับแผนการสร้างเมืองให้ผู้คนสูงวัยได้อย่างแข็งแรงและมีความสุข

โลกของเรามีประชากรสูงอายุเยอะขึ้นทุกปี และตัวเลขนี้ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากผู้คนมีอายุขัยยาวนานกว่าเดิม องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้คาดการณ์ว่า ภายในปี 2025 โลกจะมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 2 พันล้านคน หรือราว 20 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลกทั้งหมด เพราะเหตุนี้หลายประเทศทั่วโลกจึงเริ่มทยอยก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ รวมถึงพัฒนาแผนการรับมือที่จะทำให้เมืองของตัวเองรองรับประชากรวัยชราได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งเมืองที่ตื่นตัวรับมือกับความท้าทายนี้ได้ดีเป็นอันดับต้นๆ ของโลกคือ ‘ออสโล’ ประเทศนอร์เวย์ เมืองหลวงแห่งนี้กลายเป็นเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ และส่งเสริมให้ทุกคนเติบโตอย่างมีความสุขได้อย่างไร คอลัมน์ City in Focus ขอชวนไปหาคำตอบกัน การเปลี่ยนเมืองให้เป็นมิตรกับประชากรสูงวัย “เมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงวัยคือ เมืองที่มีสภาพแวดล้อมครอบคลุมและเข้าถึงได้ ซึ่งส่งเสริมให้ประชากรมีอายุมากขึ้นได้อย่างแข็งแรงและมีสุขภาพดี” นี่คือคำนิยามของ ‘เมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงวัย’ หรือ ‘Age-friendly City’ ที่ระบุไว้ในแผนปฏิบัติงาน ‘Action Plan for an Age-friendly City’ และ ‘Plan for Safe and Diversified Care of Older People’ […]

‘No Worries If Not’ สำรวจความกดดันในการใช้ชีวิตของผู้หญิงผ่านบอร์ดเกมที่จำลองจากสถานการณ์จริง

จุดร่วมของผู้หญิงทั่วโลกคือ การรู้สึกว่าสังคมออกจะกดดันการใช้ชีวิตของพวกเธอมากเกินไป ต้องผจญกับอุปสรรค ต่อสู้กับกรอบความคิดต่างๆ ราวกับอยู่ในเกมที่ไม่ได้อยากเล่น แต่ถึงอย่างนั้น ผู้หญิงก็อยากลองเอาชนะกับสิ่งที่ต้องพบเจอดูบ้าง ทางสตูดิโอออกแบบ ‘Little Troop’ และ ‘Billie’ แบรนด์ความงามจากสหรัฐอเมริกา จึงร่วมมือกันนำปัญหาต่างๆ ที่ผู้หญิงต้องเจอมาออกแบบและพัฒนาเป็นบอร์ดเกมที่มีชื่อว่า ‘No Worries If Not’ เพื่อพาผู้เล่นไปสำรวจความคาดหวังและความกดดันจากสังคมที่ผู้หญิงต้องเจอ ‘Georgina Gooley’ ผู้ร่วมก่อตั้ง Billie กล่าวถึงไอเดียของเกมว่า ได้มาจากแนวคิดการใช้ชีวิตในฐานะผู้หญิงในปัจจุบัน ที่ทำให้หลายคนรู้สึกเหมือนกำลังเล่นเกมที่ไม่สามารถควบคุมและทำอย่างไรก็เอาชนะไม่ได้เลย จึงตัดสินใจนำความคิดเหล่านี้มารวมเข้ากับบอร์ดเกม No Worries If Not ถึงแม้ว่าตัวเกมจะสดใส สนุกสนาน ดูเหมือนมองโลกในแง่ดี แต่ Little Troop เลือกที่จะสร้างความไม่เป็นธรรมให้กับผู้เล่นด้วยอุปสรรคที่นำมาจากปัญหาที่ผู้หญิงต้องเผชิญ เช่น การขอโทษมากเกินไป การที่ต้องทำให้คนอื่นพอใจ หรือแม้แต่คำพูดว่าคิดมากไป เพราะทางสตูดิโออยากให้บอร์ดเกมนี้เป็นพื้นที่ที่ให้ผู้หญิงได้เล่นและควบคุมชีวิตตัวเองเพื่อลองเป็นผู้ชนะบ้าง โดยเนื้อหาที่นำมาใช้บนตัวเกมนั้นอ้างอิงมาจากการสัมภาษณ์กลุ่มหญิงสาวถึงความคาดหวังทางเพศและความท้าทายที่ต้องเจอในการใช้ชีวิตแต่ละวัน ส่วนวิธีการเล่นก็เหมือนกับบอร์ดเกมทั่วไป ที่ผู้เล่นต้องทอยลูกเต๋าเพื่อพาตัวเกมของตนเดินตามจำนวนที่ทอยได้ โดยระหว่างทางจะเจอกับหลุมพรางต่างๆ บนกระดาน เช่น The Wage Gap (ความแตกต่างของค่าจ้างระหว่างผู้ชายและผู้หญิง), Smile […]

เดชรัต สุขกำเนิด กับปรัชญาการทำงานในสังคมต่างวัย

ในวันที่ ‘คนรุ่นใหม่’ มีบทบาทในสังคมมากกว่าทุกยุคทุกสมัยที่ผ่านมาแล้ว ‘ผู้อาวุโส’ จะอยู่ตรงไหนในสังคมการทำงานและการใช้ชีวิตร่วมกัน สนทนาถึงประเด็นนี้กับ ‘อาจารย์เดชรัต สุขกำเนิด’ ผู้อำนวยการ Think Forward Center แห่งพรรคก้าวไกล ที่ใครๆ ก็เห็นว่าเป็นองค์กรที่เต็มไปด้วยคนรุ่นใหม่ คนสูงวัยหรือผู้อาวุโสควรวางตัวอย่างไร ต้องปรับมายด์เซตแบบไหนให้ไม่เป็นพิษกับเด็กๆ รอบข้าง ตามไปฟังคำแนะนำจากผู้อาวุโสคนหนึ่งที่พยายามไม่ใช้ความอาวุโสไปกดทับใครในบทสัมภาษณ์นี้ ‘Super Seniors’ คือซีรีส์คอนเทนต์จาก Urban Creature ที่ต้องการฉายภาพสถานการณ์สังคมผู้สูงอายุที่ไทยและหลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญ พร้อมกับชวนไปสำรวจโครงสร้าง นโยบาย และมายด์เซตที่เมืองของเราได้เตรียมพร้อมไว้ให้คนกลุ่มนี้

The Old Men and The Park สูงวัยในสวนสาธารณะ

ในเมืองใหญ่แห่งนี้มีพื้นที่สาธารณะที่เหมาะสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุให้ได้มาพบปะ สังสรรค์ ทำกิจกรรมร่วมกันค่อนข้างน้อย จะมีก็แต่สวนสาธารณะที่ดูเข้าถึงง่ายหน่อย ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักออกมาทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายที่สวนสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นการเดิน วิ่ง รำมวยจีน เต้นลีลาศ หรือแอโรบิก บางคนมาเป็นประจำทุกวันจนกลายเป็นกิจวัตรไปแล้ว เริ่มตั้งแต่ตอนเกษียณจนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลากว่า 10 – 20 ปี แต่หากพูดถึงการเดินทางมาสวนสาธารณะ เราได้พูดคุยกับผู้สูงอายุจำนวนหนึ่งที่มาสวนเป็นประจำ ได้รับคำตอบว่า เพราะสวนอยู่ใกล้บ้านมากๆ ทำให้พวกเขาเดินเท้ามาได้เลย ถึงอย่างนั้นกับบางคนก็ใช้ระยะเวลาในการเดินทางค่อนข้างนาน มีความยากลำบากอยู่ไม่น้อย แต่พวกเขาก็ยอมเดินทางมา เพราะพื้นที่สวนสาธารณะในกรุงเทพฯ ไม่ได้มีตัวเลือกมากมายขนาดนั้น เราคิดว่า ถ้ามีสวนสาธารณะในกรุงเทพฯ มากขึ้นกว่านี้ก็คงดี เพราะนอกจากส่งผลดีต่อผู้สูงอายุในแง่พื้นที่การออกกำลังกายและนัดหมายพบปะเพื่อนฝูงแล้ว ยังทำให้วัยรุ่นและวัยทำงานได้ออกมาทำกิจกรรมร่วมกัน แถมยังเป็นหนทางปลีกตัวออกจากสังคมเมืองที่เต็มไปด้วยความวุ่นวาย แล้วมาผ่อนคลายท่ามกลางธรรมชาติ หากไปดูในต่างประเทศ ทุกชุมชนล้วนมีสวนสาธารณะขนาดย่อมตั้งอยู่ ทำให้ใครๆ ต่างอยากออกมาเดินเล่นและพักผ่อนหย่อนใจ เนื่องจากอยู่ใกล้บ้าน เดินทางสะดวก หรือในบางประเทศที่ออกแบบสวนสาธารณะได้สวยงามมากๆ ก็ต่อยอดเป็นแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่นได้ด้วย

FYI

‘ชีวิตคือความลำบาก’ วัยเกษียณที่ไม่มีจริงของ ‘ผู้สูงวัย’ ในเมืองแรงงาน

ในวันหยุดแสนสบาย อากาศแจ่มใส เมฆหนาลอยเกลื่อนอยู่บนฟ้า เราพาตัวเองออกเดินไปในเมืองตามย่านต่างๆ เพื่อสำรวจความเป็นอยู่ของผู้คน และได้พบว่า ‘กรุงเทพฯ’ นั้นมีผู้คนมากหน้าหลายตาพลัดถิ่นเข้ามาใช้ชีวิตและทำงาน ไม่ใช่แค่วัยหนุ่มสาวที่เป็นกำลังแรงหลัก ทว่าผู้สูงวัยในเมืองนี้ก็ยังคงต้องทำงานเช่นกัน เราแวะทักทายคุณลุงคุณป้าที่เดินสวนกัน บางคนกำลังเข็นรถขายของ บางคนกำลังขะมักเขม้นอยู่กับการงานตรงหน้า เรามองเห็นผิวหนังกรำแดด ร่องรอยเหี่ยวย่นของกาลเวลา และพบเจอบางสิ่งบางอย่างจากแววตาของลุงๆ ป้าๆ ที่สะท้อนให้รู้ว่า ‘ชีวิตคือความลำบาก’ เพราะในสังคมที่ความเหลื่อมล้ำมีระยะห่างมากเกินไป แม้สังขารจะไม่เที่ยง ร่างกายจะชำรุด หรือเรี่ยวแรงเหลือน้อยเต็มที แต่ผู้สูงวัยหลายคนเหล่านั้นล้วนห่างไกลจากคำว่า ‘ชีวิตหลังวัยเกษียณ’ และอาจต้องทำงานไปตลอดชีวิตที่เหลืออยู่เพื่อดูแลตัวเองให้ไม่เดือดร้อนใคร พาไปสำรวจความเป็นอยู่ของผู้คนสูงวัยในมหานครแห่งนี้ ผ่านบทสนทนาอันหวานขมของชีวิต พร้อมกับคำอวยพรจากคนวัยเก๋าที่ฝากให้คนรุ่นใหม่ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทุกคนสู้ สู้ สู้กันต่อไป ชื่อ : ลุงเกียรติ พรมรุกชาติอาชีพ : ปั่นรถถีบสามล้ออายุ : 64 ปีภูมิลำเนา : บุรีรัมย์ ดวงตะวันเกือบตรงหัว บนถนนที่รถราแล่นสวนกันไปมามุ่งหน้าสู่จุดหมาย ‘ลุงเกียรติ พรมรุกชาติ’ เองก็กำลังปั่นสามล้อคู่ใจมองหาผู้โดยสาร เราโบกมือให้ลุงจอดและเอ่ยทักทายพูดคุยกับเขา “ชีวิตคนเราต้องดิ้นรน จากบุรีรัมย์ผมก้าวเข้ามาอยู่ที่นี่ (ตัวเมืองพระประแดง) ราวปี 2539 เมื่อก่อนเศรษฐกิจดี […]

1 72 73 74 75 76 372

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.