LATEST
Urban Eyes 39/50 เขตบางบอน
ตัวเราอยู่ใกล้ๆ กับเขตบางบอน แต่ไม่เคยรู้เลยว่าพื้นที่เขตนี้ใหญ่ขนาดไหน พอได้มาดูแผนที่ก็พบว่าเขตนี้กินพื้นที่ค่อนข้างยาว มีถนนเอกชัยตัดผ่านกลาง และถนนกาญจนาภิเษกเฉี่ยวมาหน่อย ปกติเราเข้าออกถนนเอกชัยในช่วงสั้นๆ แต่คราวนี้มาลงพื้นที่ถ่ายรูปที่บางบอน เลยได้มีโอกาสสำรวจถนนเอกชัย ถือว่าเป็นถนนที่ดี เดินทางปลอดภัย ไม่ค่อยมีสิ่งก่อสร้าง มีสะพานลอยและฟุตพาทที่คนเดินได้ รวมถึงตลาดนัดขนาดเล็ก-ใหญ่อยู่เป็นช่วงๆ และสวนสาธารณะที่ใหญ่มากๆ แต่จากข้อมูลที่ได้มาเหมือนตัวสวนยังไม่เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเสียที ว่าแต่เราไปที่ไหนมาบ้าง ลองไปดูกัน วัดบางบอน ━ เนื่องจากวัดนี้มีโรงเรียนอยู่ติดกัน ช่วงเลิกเรียนก็จะมีผู้ปกครองมารอรับเด็กๆ ทำให้มีคนเยอะ ค่อนข้างวุ่นวาย แต่ด้วยสถานที่ที่มีพื้นที่จอดรถเป็นลานใหญ่ ทำให้จอดรถได้สบาย ไม่แออัด แถมโบสถ์ก็สวยงาม น่าไปแวะเวียนเยี่ยมชม 101 market ━ ที่นี่เหมือนศูนย์อาหารมากกว่าตลาด เพราะส่วนใหญ่มีแต่ร้านอาหาร ภายใต้โครงสร้างหลังคาใหญ่ แสงช่วงบ่ายจะเข้าหลังร้านอาหาร ส่วนจุดที่เราชอบมากๆ คือตามร้านอาหารจะมีผ้าใบสีสดๆ มาช่วยบังแดด ทำให้ด้านหลังของบูทร้านอาหารเกิดเป็นช่องสี ถ้าโชคดีน่าจะได้ภาพแนว Silhouette สวยๆ สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติฯ บางบอน (สวน 9 เนิน) ━ สวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่เพิ่งสร้างได้ไม่นานเท่าไหร่ ยังไม่ค่อยมีต้นไม้ใหญ่ แต่เท่าที่สัมผัสดูก็มีพื้นที่ร่มเงาอยู่บ้าง คนส่วนใหญ่จะมาช่วงเย็นเพื่อมาเดินเล่น วิ่งออกกำลังกาย ปั่นจักรยาน […]
‘สวนนก Bird Paradise’ แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศแห่งใหม่ในสิงคโปร์ เปิดพื้นที่ให้ใกล้ชิดกับนกในธรรมชาติกว่า 3,500 ตัว
เมื่อพูดถึงการศึกษาพันธุ์นกต่างๆ หรือการชมนกหายาก ภาพที่หลายคนนึกถึงอาจเป็นการต้องเข้าไปในป่าลึก ซ่อนตัวตามพื้นที่เพื่อรอนกสักตัวบินมาให้เห็น แต่ปัจจุบันใครที่อยากสัมผัสเจ้าสัตว์ชนิดนี้แบบง่ายๆ แค่ตีตั๋วไปประเทศสิงคโปร์ก็สามารถใกล้ชิดและสัมผัสชีวิตนกเหล่านี้ตามธรรมชาติได้ที่ ‘สวนนก Bird Paradise’ แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์แห่งใหม่ สวนนก Bird Paradise เป็นหนึ่งในสวนนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชีย ตั้งอยู่บนพื้นที่ 170,000 ตารางเมตรใน ‘เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่ามันได’ ให้ทั้งนักท่องเที่ยวและผู้คนที่ชื่นชอบนกได้มาสัมผัสวิถีชีวิตของสัตว์ชนิดนี้ตามธรรมชาติอย่างใกล้ชิดกว่า 3,500 ตัวจาก 400 สายพันธุ์ ทั้งจากแอฟริกา อเมริกาใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย ภายในสวนนกมีทั้งหมด 10 โซน และกรงนกขนาดใหญ่จำนวน 8 กรงที่เชื่อมต่อกัน เพื่อความสะดวกสบายในการเดินสำรวจและเรียนรู้วิถีชีวิตตามธรรมชาติของนกสายพันธุ์ต่างๆ อีกทั้งแต่ละกรงนั้นได้จำลองระบบชีวนิเวศจากทั่วโลกเอาไว้ ทั้งป่าฝนแอฟริกา พื้นที่ชุ่มน้ำในอเมริกาใต้ นาข้าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงป่ายูคาลิปตัสของออสเตรเลีย นอกจากนี้ สวนนกแห่งนี้ยังเป็นสถานที่ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับพืช สัตว์ และระบบนิเวศในท้องถิ่นจากสื่อการเรียนรู้เชิงโต้ตอบภายในพื้นที่ได้อีกด้วย รวมถึงมีการให้อาหารนกที่จะมีนกสายพันธุ์ใหม่ๆ ให้ชมกันอย่างใกล้ชิด เช่น นกเอี้ยงกิ้งโครง นกเงือกแอฟริกัน และนกเงือก ที่โซน Heart of Africa, นกกระทุงที่โซน Kuok […]
ความรุ่มรวยของ ‘สุราชุมชน’ และ ‘วัฒนธรรมการดื่ม’ ของญี่ปุ่น
หนุ่มสาวออฟฟิศใส่สูทผูกไทนั่งสังสรรค์กันในร้านเหล้า มนุษย์เงินเดือนออกไปดื่มกับหัวหน้าและลูกค้าจนดึก แถมยังเมาเละเทะจนหมดสภาพ เหตุการณ์เหล่านี้คือภาพสะท้อนสังคมญี่ปุ่นที่หลายคนคงเคยเห็นในข่าวหรือสื่อต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง ส่วนใครที่เคยไปเยือนญี่ปุ่นด้วยตัวเองก็น่าจะนึกภาพตามได้ไม่ยาก เพราะเราสามารถพบเห็นวิถีชีวิตแบบนี้ได้ทั่วไปในแดนอาทิตย์อุทัย โดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างโตเกียว ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ‘การดื่ม’ คือส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่คนญี่ปุ่นสืบทอดกันมานานแล้ว มากไปกว่านั้น ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของแดนปลาดิบยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้คนเข้าถึงน้ำเมาได้ง่ายและสะดวกสบาย ที่สำคัญ ภาครัฐยังส่งเสริมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งในฝั่งของแบรนด์ใหญ่ไปจนถึงผู้ผลิตรายย่อยระดับท้องถิ่น ชาวญี่ปุ่นกับวัฒนธรรมการดื่ม ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมการดื่มที่ยาวนาน และยังแทรกซึมอยู่ในชีวิตประจำวันของประชาชนในปัจจุบัน ที่เป็นแบบนั้นเพราะการดื่มของผู้คนในแดนปลาดิบไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อผ่อนคลายหรือสังสรรค์เพียงอย่างเดียว แต่ยังสะท้อนถึงวัฒนธรรมทางสังคมและธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดกันมานาน ชาวญี่ปุ่นมองว่าการดื่มคือหนึ่งวิธีแบ่งปันความรู้สึกของ ‘การอยู่ร่วมกัน’ (Togetherness) และ ‘ความซื่อสัตย์’ (Honesty) ที่นี่จึงมีวัฒนธรรมการดื่มที่เรียกว่า ‘โนมิไก’ (NoMiKai) ซึ่งมาจากคำว่า ‘nomi’ (飲み) ที่แปลว่าดื่ม และ ‘kai’ (会) ที่แปลว่างานรวมหรืองานประชุม เมื่อนำมารวมกัน โนมิไกจึงแปลว่างานสังสรรค์ที่เน้นการดื่มมากกว่าการกิน และเป็นการสังสรรค์กันหลังเลิกงาน โดยส่วนใหญ่การดื่มลักษณะนี้จะเกิดขึ้นที่ร้านอาหารและบาร์สไตล์ญี่ปุ่นที่เรียกว่า ‘อิซากายะ’ (Izakaya) แม้ว่าโนมิไกจะไม่ใช่การบังคับ แต่พนักงานส่วนใหญ่มักถูกคาดหวังให้เข้าร่วมการดื่มหลังเลิกงาน เนื่องจากคนส่วนใหญ่มองว่าการเข้าสังคมลักษณะนี้คือส่วนหนึ่งของการทำงาน ซึ่งจะช่วยเชื่อมโยงคนทำงานเข้าหากัน เหมือนเป็นการสร้างคอนเนกชันที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์ และอาจส่งผลต่อความก้าวหน้าในสายอาชีพเช่นกัน แต่การสังสรรค์ลักษณะนี้ไม่ได้ใช้กับบริบทการทำงานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะยังรวมถึงการดื่มเพื่อทำความรู้จักเพื่อนใหม่ หรือสร้างความสนิทสนมระหว่างกลุ่มเพื่อนด้วย สำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของญี่ปุ่น หลายคนอาจนึกถึง […]
Architecture and the Machine สถาปัตยกรรมที่พื้นที่ทุกระดับเชื่อมถึงกัน ผนวกฟอร์มและฟังก์ชันเข้าไว้เป็นหนึ่งเดียว
‘Georges Batzios’ สตูดิโอออกแบบสถาปัตยกรรมในประเทศกรีซ ได้คิดค้นรูปแบบการสร้างสถาปัตยกรรมที่ผนวกเข้ากับความงามตามแบบศิลปะ เกิดเป็นโปรเจกต์ ‘Architecture and the Machine’ ที่มีความตั้งใจจะหลุดพ้นจากขอบเขตที่มนุษย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล โปรเจกต์นี้เป็นการกำหนดนิยามใหม่ของภูมิสถาปัตย์ด้วยการสร้างลูกผสมที่หลอมรวมรูปแบบงานประติมากรรมให้เข้ากับการใช้งานจริง ในสถานที่ที่ครอบคลุมพื้นที่กว่า 1,600 ตารางเมตร บริเวณตอนเหนือของกรีซ โครงสร้างสถาปัตยกรรมแห่งนี้ถูกออกแบบให้มีลักษณะเป็นทางลาดหลายระดับ ที่จะช่วยให้ผู้เข้าใช้บริการสามารถเดินชมพื้นที่ทุกระดับได้อย่างราบรื่น “ในโปรเจกต์นี้ เราได้ค้นพบและพัฒนาเงื่อนไขการทำงานที่ทำให้ใช้ดีไซน์ได้อย่างอิสระ โดยไม่มีเงื่อนไขใดมาจำกัดมิติศิลปะของเรา เช่น ความไฮบริดในเชิงสถาปัตยกรรม ซึ่งรวมฟอร์มและฟังก์ชันเข้าไว้ด้วยกัน” ตัวแทนสตูดิโอกล่าว ทางเดินหมุนเวียนเหล่านี้ยังทำหน้าที่เป็นเฉลียงกลางแจ้ง 4 ระดับ เกิดเป็นรูปทรงระนาบที่เชื่อมต่อกัน สร้างความรู้สึกของการเคลื่อนไหว เมื่อเส้นที่คมชัดตัดกับโครงสร้างหลัก จะแสดงให้เห็นถึงพื้นผิวที่โฉบเฉี่ยวกับด้านหน้าที่เป็นรูปทรงเรขาคณิต พื้นที่ใช้สอยด้านล่างใช้กระจกล้อมรอบ เพิ่มความโปร่งแสงภายในอาคาร เพื่อที่มองออกไปด้านนอกแล้วจะได้เชื่อมต่อกับภูมิทัศน์ทางธรรมชาติโดยรอบ และสถานที่แห่งนี้ยังมีความกลมกลืนกับธรรมชาติด้วยเหล่าต้นไม้เล็กๆ ที่เรียงรายตามลานลาดชัน แถมเมื่อยืนอยู่บนดาดฟ้าก็มองเห็นวิวของสวนสาธารณะได้อีกด้วย Source :Designboom | bit.ly/3Nfm1tF
ธงไพรด์หรือธงรุ้งสำคัญไฉน | Now You Know
Now You Know เอพิโสดนี้ ขอเล่าเบื้องหลังของ ‘ธงสีรุ้ง’ (Rainbow Flag) ที่เป็นสัญลักษณ์ของชาว LGBTQIAN+ ยุคนั้นประเด็นเกี่ยวกับเพศเป็นเรื่องที่ซีเรียสขนาดไหน และทำไมเราจึงไม่ควรนำสีรุ้งมาทำการตลาดโดยปราศจากความเข้าใจที่แท้จริง
สวยด้วยนะ รักโลกด้วยนะ ถูกใจมากๆ ‘Absolut Vodka’ ออกแบบขวดกระดาษที่ทั้งสวยงามและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไร้สีในขวดแก้วใสคือภาพจำของวอดก้าที่สายดื่มคุ้นชิน แต่ล่าสุด ‘Absolut Vodka’ ได้ออกแบบขวดวอดก้ารูปแบบล่าสุดที่มีความโดดเด่น สวยงาม และเป็นมิตรกับธรรมชาติ เพราะทำจากกระดาษ 57 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือเป็นขวดพลาสติกรีไซเคิล 43 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ขวดวอดก้าถูกออกแบบให้อยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่ใกล้เคียงกับกล่องน้ำผลไม้ ไม่ใช่รูปแบบเดิมๆ ที่เป็นขวดแก้ว ขวดกระดาษนี้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระหว่าง Paper Bottle Company (Paboco), Coca-Cola Company, Carlsberg, P&G และ L’Oréal โดยผ่านการทดสอบครั้งแรกที่งานเทศกาลต่างๆ ในสหราชอาณาจักรและสวีเดน และพร้อมวางจำหน่ายในเทสโก้ 22 แห่งทั่วมหานครแมนเชสเตอร์ในช่วงฤดูร้อนนี้ เพื่อดูว่าขวดรูปแบบใหม่ส่งผลต่อตลาดอย่างไร ขวดรูปแบบใหม่ที่สร้างขึ้นยังคงออกแบบภายใต้รูปทรงเดิมที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ โดยขวดมีขนาด 500 มิลลิลิตร ซึ่งมีปริมาณแอลกอฮอล์อยู่ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ แทนที่จะเป็น 5 เปอร์เซ็นต์แบบเครื่องดื่ม Absolut Mixt พร้อมดื่ม และจำหน่ายในราคาประมาณ 690 บาท ที่สำคัญขวดนี้ยังมีน้ำหนักเบากว่ากระจกถึง 8 เท่า ทำให้ง่ายต่อการพกพาและขนส่ง อีกทั้งยังนำขวดไปรีไซเคิลได้เช่นเดียวกับกระดาษและขยะอื่นๆ ทั่วไปในบ้าน […]
#แพทย์ลาออก เสียงสะท้อนจากเหล่าบุคลากรทางการแพทย์
จากกระแส #แพทย์ลาออก ที่กลายเป็นประเด็นร้อนของสังคมในตอนนี้ ทำให้บุคลากรทางการแพทย์หลายต่อหลายคน ทั้งคนที่กำลังเรียนอยู่ กำลังอยู่ในช่วงทำงานใช้ทุน หรือกระทั่งทำงานมานานแล้ว ออกมาแสดงความคิดเห็นถึงประเด็นนี้กันข้ามวันข้ามคืน เพราะบุคลากรทางการแพทย์ก็เป็นคนทำงานเหมือนๆ กับทุกอาชีพ ที่ต้องการระบบการทำงานที่ดี มีเพื่อนร่วมงานที่ไม่เป็นพิษ Work-life Balance ที่เหมาะสม และคุณภาพชีวิตที่ดีเช่นกัน ด้วยวาระนี้เอง Urban Creature จึงติดต่อไปหา 5 บุคลากรทางการแพทย์ เพื่อเป็นพื้นที่ให้พวกเขาส่งเสียงสะท้อนถึงระบบการทำงานที่ไม่เอื้อต่อการมีชีวิตที่ดี ทั้งยังทำให้คนทำงานหมดแรงหมดใจไปเรื่อยๆ อ. อายุ 24 ปีแพทย์จบใหม่ที่พยายามอยู่ในระบบให้ได้ เราเป็นแพทย์จบใหม่ที่เพิ่งเข้ามาอยู่ในระบบราชการได้ราวๆ 1 เดือน เหตุผลที่ตัดสินใจยังอยู่ในระบบเพราะการเรียนต่อเฉพาะทางในสาขาที่เราสนใจ เราโชคดีที่จับฉลากได้อยู่จังหวัดใกล้กรุงเทพฯ ซึ่งต้องแก่งแย่งกับเพื่อนๆ จากโควตาภาคกลางอันน้อยนิด บางคนโชคร้ายต้องไปอยู่ไกลบ้านมากๆ บางคนต้องไปอยู่จังหวัดที่พูดชื่อขึ้นมาก็ยังนึกไม่ออกว่าอยู่ตรงไหนในแผนที่ประเทศไทยด้วยซ้ำ การทำงานในทุกๆ วันมีความเครียดและกดดัน ทั้งคนไข้ปริมาณมหาศาลที่ต้องตรวจให้หมดในเวลาอันจำกัด การต้องอดนอน ทำงานติดต่อกันหลายวัน รวมถึงความเครียดจากสตาฟฟ์เวลาปรึกษาปัญหาของคนไข้ กลายเป็นว่าบางครั้งเราต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ยากๆ คนเดียว ทั้งที่เราเองก็ไม่ได้มีประสบการณ์ การเป็นหมอเคยเป็นสิ่งที่เรารู้สึกชอบและสนุกเวลาทำงาน แต่ด้วยระบบและสิ่งแวดล้อม มันค่อยๆ บั่นทอนแพสชันของเราและเพื่อนไปเรื่อยๆ จนตอนนี้ในหัวคิดไปเป็นวันๆ ว่าเราจะผ่านวันนี้ไปยังไงให้สุขภาพจิตของเรายังดีเหมือนเดิม โอ๊ต อายุ 23 […]
‘Rainy Day People’ มนุษย์เมืองใต้ฝนฟ้าที่ไม่เป็นใจ
“ดูท่าเหมือนฝนจะตก หยิบร่มติดตัวไปด้วยเป็นยันต์กันฝน” นี่คือประโยคที่หลายคนพูดล้อเล่นกันบ่อยๆ ในช่วงที่ไม่มีใครสามารถคาดเดาสภาพอากาศในป่าคอนกรีตที่ร้อนระอุอย่างกรุงเทพมหานครได้ แม้จะมีกรมอุตุนิยมวิทยาคอยพยากรณ์ให้ก็ตาม บางวันบอกว่าจะตกหนัก แต่ดันไม่หนักบริเวณที่เราอยู่ บางวันบอกว่าฟ้าจะสว่างสดใส แต่เมื่อมองออกไปนอกหน้าต่างกลับมีฝนตกโปรยปรายเสียอย่างนั้น การหลบฝนใต้ร่มเงาสะพาน สวมถุงกันผมชื้น หรือฝืนเดินฝ่าม่านน้ำไป เลยอาจถูกมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะคนเมืองอย่างเราๆ ล้วนต้องปรับตัวและใช้ชีวิตเพื่อรับมือกับสภาพอากาศที่คาดเดายากมานานแล้ว จนบางครั้งก็อาจลืมไปว่าเราใช้ชีวิตอยู่กับปัญหาจนกลายเป็นความเคยชินไปแล้วหรือเปล่า ระหว่างติดฝนจนกลับบ้านไม่ได้ครั้งหนึ่ง เราจึงลองมองพฤติกรรมของ ‘มนุษย์เมืองใต้ฝน’ ที่อยู่รอบๆ ตัว ซึ่งน่าสังเกต น่าสนใจ และน่าคิดตาม ทำให้เราอยากบันทึกเอาไว้ว่าครั้งหนึ่งพวกเราต่างต้องเอาตัวรอดกันให้ได้ในมหานครแห่งนี้ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes ส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]
จาก ‘Quattro Design’ สู่ ‘qd’ กับภารกิจคัดสรรเฟอร์นิเจอร์ที่ดึงตัวตนของผู้ใช้ผ่านสายตาดีไซเนอร์
เวลาเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์สำหรับแต่งบ้าน คุณคำนึงถึงเรื่องอะไรบ้าง ความสวยงาม ความสบาย หรือฟังก์ชั่นการใช้งาน หรือถ้าคุณกำลังแต่งบ้านแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร เราอยากพาคุณไปรู้จักกับ ‘เหมี่ยว-พราวพรรณ เลาหพงศ์ชนะ’ ผู้ก่อตั้ง กรรมการผู้จัดการ และดีไซน์ ไดเร็คเตอร์ของ ‘Quattro Design’ ผู้จำหน่ายเฟอร์นิเจอร์นำเข้า ออกแบบ และผลิตเฟอร์นิเจอร์ระดับพรีเมียม ที่ทำการตลาดในไทยจนครองใจผู้คนมานานกว่า 15 ปี แต่การเจอเหมี่ยวครั้งนี้ถือว่าพิเศษกว่าครั้งไหนๆ เพราะเราจะได้พบกับตัวตนใหม่ของ Quattro Design หลังจากรีแบรนด์ดิ้งเป็น ‘qd’ อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของตลาดเฟอร์นิเจอร์ และทำให้ลูกค้ามีประสบการณ์การเลือกซื้อของตกแต่งบ้านที่ดียิ่งขึ้น เพราะ qd เชื่อว่า ‘บ้าน’ ไม่ใช่เพียงที่อยู่อาศัย ‘เฟอร์นิเจอร์’ จึงไม่ใช่แค่การตกแต่งเพื่อความสวยงาม แต่ยังเป็นความสุนทรีย์ที่มีองค์ประกอบของเรื่องราว ความรู้สึก และฟังก์ชั่นที่ตอบสนองความต้องการ รวมไปถึงสะท้อน ‘ตัวตน’ ของผู้อยู่อาศัยออกมาได้ดีที่สุด รีแบรนด์ใหม่ เข้าใจตัวตนผู้บริโภคมากขึ้น เหมี่ยวเริ่มต้นเล่าว่า จากการอยู่ในวงการเฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้านภายใต้แบรนด์ Quattro Design มานานกว่า 15 ปี ทำให้เธอมองเห็นว่าผู้บริโภคมีมุมมองต่อที่อยู่อาศัยเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก […]
Coors Light เบียร์สัญชาติอเมริกัน คิดค้นฉลากเปลี่ยนสี ให้แช่ฟรีซได้แบบไม่ต้องกลัวขวดระเบิด
เมื่อปีที่แล้ว ‘Coors Light’ แบรนด์เบียร์สัญชาติอเมริกันได้เปิดตัว ‘สีทาเล็บ’ เปลี่ยนสีได้ ที่นอกจากจะสร้างความสวยงามให้เล็บแล้ว ยังเป็นตัวช่วยให้รู้ว่าเบียร์ในมือของเรานั้นอยู่ในอุณหภูมิเหมาะสมที่จะดื่มแล้วหรือยัง มาปีนี้ ในช่วงอากาศร้อนๆ ที่เหมาะกับเครื่องดื่มเย็นๆ แบรนด์เบียร์เจ้าเดิมได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่มาช่วยแก้ปัญหาที่หลายๆ คนมักนำขวดเครื่องดื่มไปแช่ไว้ในช่องฟรีซเพื่อเพิ่มความสดชื่นให้การดื่ม แต่บ่อยครั้งดันลืมขวดที่แช่ไว้ เปิดมาอีกทีก็พบเศษแก้วระเบิดเละเทะเต็มตู้เย็น ด้วยเหตุนี้ ‘Coors Light’ จึงคิดฉลากสุดพิเศษที่เปลี่ยนสีได้ เพื่อช่วยให้เหล่านักดื่มรู้ถึงอุณหภูมิเบียร์ที่เย็นพอดี ผ่านการรวมเอาเครื่องมืออัจฉริยะเข้ากับผลิตภัณฑ์ วิธีการคือ เมื่อนำขวดของ Coors เข้าไปแช่ช่องฟรีซ เราจะสังเกตระดับความเย็นของเครื่องดื่มได้จากรูป ‘ภูเขา’ ที่เป็นสัญลักษณ์เด่นบนฉลาก หากมีการเปลี่ยนแปลงจาก ‘สีเทา’ เป็น ‘สีฟ้า’ ที่เปล่งแสงสดใสออกมา นั่นแหละคืออุณหภูมิที่เหมาะสม หยิบออกมาเปิดดื่มได้เลย นอกจากนี้ ทางแบรนด์เบียร์ยังร่วมกับบริษัทเอเจนซี ‘Alma’ และช่างภาพ ‘Ale Burset’ ทำแคมเปญโฆษณาที่บันทึกช่วงเวลาขวดระเบิดจากหลายตู้เย็น ดังจะเห็นได้ในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น The New York Times, San Francisco Chronicle และโฆษณาตามสถานที่ต่างๆ ติดตามงานดีไซน์และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของแบรนด์เบียร์สัญชาติอเมริกันนี้ได้ที่ Coors […]
เจาะลึกนโยบายพัฒนาเมือง กับนักผังเมืองพรรคก้าวไกล | Unlock the City EP.28
เมื่อพรรคก้าวไกลคือพรรคที่มีแนวโน้มมากที่สุดที่จะได้จัดตั้งเป็นรัฐบาล Urban Creature ชวนนักผังเมืองรุ่นใหม่ไฟแรง ‘ณัฐพงศ์ เปรมพูลสวัสดิ์’ ว่าที่ ส.ส. เขต 21 กรุงเทพฯ มาคุยกันถึงเรื่องนโยบายผังเมืองให้ประชาชนเห็นภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นนโยบายภาพใหญ่ของพรรค และนโยบายภาพย่อยของเขต
‘รัฐสภา’ ย้อนดูความเป็นมาของสถานที่เริ่มต้นในการพัฒนาประเทศและต่อสู้ทางอุดมการณ์
หลังจากสถานีการเลือกตั้งอันแสนดุเดือดจบลง สถานีต่อไปที่ประชาชนจับตามองคือ กระบวนการที่รัฐบาลชุดใหม่เข้าไปทำหน้าที่ในรัฐสภา แน่นอนว่าเมื่อพูดถึง ‘รัฐสภา’ สถานที่แห่งนี้ย่อมเป็นที่รู้จักของประชาชนโดยทั่วไปอยู่แล้ว เพราะเป็นสถานที่ที่มีไว้ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหลายเข้าไปประชุมกันเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศ รวมถึงถ้าหากฝ่ายรัฐบาลทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง ฝ่ายค้านก็จะอภิปรายไม่ไว้วางใจ เหมือนอย่างที่เห็นกันตามสื่อต่างๆ ในยุครัฐบาลที่ผ่านมา แม้จะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ประกอบด้วยอิฐ หิน ดิน ทราย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ‘รัฐสภา’ คือฉากหลังสำคัญในการต่อสู้ทางอุดมการณ์ของเหล่านักการเมืองทุกยุคทุกสมัย ในช่วงเวลาที่สายลมแห่งการเปลี่ยนผ่านพัดพาสู่การเมืองไทย คอลัมน์ Urban Tales จะมาเล่าถึงประวัติศาสตร์รัฐสภาของประเทศไทยว่ามีความเป็นมายังไง แต่ละแห่งมีคอนเซปต์และความสำคัญอย่างไรบ้าง รัฐสภาแห่งแรกของประเทศไทย หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่า สถานที่แห่งแรกที่ใช้เป็นรัฐสภาคือ ‘พระที่นั่งอนันตสมาคม’ ซึ่งเป็นท้องพระโรงของพระราชวังดุสิตนั่นเอง ส่วนเหตุผลที่สภาผู้แทนราษฎรเข้าไปประชุมในนั้น นั่นก็เพราะในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รัชกาลที่ 7 อนุญาตให้ใช้พระที่นั่งฯ เป็นสถานที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 28 มิถุนายน 2475 โดยใช้ห้องโถงชั้นบนของพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นที่ประชุม ต่อมาในปี 2489 รัฐธรรมนูญได้มีการกำหนดให้รัฐสภาไทยเป็นแบบสองสภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนฯ และพฤฒสภา (สภาสูงหรือสภาอาวุโส) จึงกำหนดให้ใช้พระที่นั่งอภิเศกดุสิตเป็นที่ประชุมของพฤฒสภาอีกแห่งหนึ่ง หลังจากนั้นหนึ่งปี หรือปี 2490 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) ส่งผลให้พระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นที่ประชุมเพียงแห่งเดียว […]