ชีวิตแบบ Spider-Neighbor ฮีโร่ของไทย เพื่อนบ้านคนใหม่ใน Bangklyn (Earth-112)

ติดตาม ‘Spider-Man’ มาตั้งแต่เวอร์ชันแรก ไม่เคยคิดเลยว่าจะมีฮีโร่คนนี้อยู่ในจักรวาลอื่นๆ ด้วย แต่ ‘Spider-Man : Across the Spider-Verse’ ก็ทำให้เราได้เห็นแล้วว่า ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหนบนจักรวาลนี้ ก็สามารถเป็นฮีโร่แมงมุมได้ด้วยเหมือนกัน พอได้เห็น Spider-Man ในภาพที่แตกต่างกันออกไปมากมายแล้วก็แอบนึกสงสัยว่า ถ้าหากมีไอ้แมงมุมในประเทศไทยของเราบ้างจะเป็นอย่างไร จะสามารถเดินทางข้ามตึกโดยเท้าไม่แตะพื้นเหมือนที่นิวยอร์กได้หรือเปล่า หรือจะต้องเผชิญกับรถจำนวนมากบนท้องถนนเหมือนกับที่มุมแบตตันกันนะ คอลัมน์ Urban Isekai ขอพาทุกคนไปติดตาม ‘Spider-Neighbor’ ฮีโร่เพื่อนบ้านที่แสนดีในเวอร์ชันที่ต้องใช้ชีวิตที่เมือง ‘Bangklyn’ กันว่า ในโลกหมายเลข 112 นี้ชีวิตของเขาจะเป็นอย่างไรบ้าง Daily Life : ถึงจะมีตัวช่วยทำให้ชีวิตเปลี่ยนไป แต่การเดินทางก็ยังยากลำบากเหมือนเดิม ครั้งหนึ่ง Spider-Neighbor เคยมีชีวิตธรรมดาเหมือนกับ Spider-Man ในโลกอื่นๆ ก่อนหน้านี้เขาเป็นนักศึกษาที่ใช้เวลาเดินทางในแต่ละวันไม่ต่ำกว่า 1 ชั่วโมง เคยเดินสะดุดฟุตพาทเพราะกระเบื้องไม่เสมอกันจนทำให้เลือดท่วมมาแล้ว แต่หลังจากโดนแมงมุมกัดจนกลายเป็น Spider-Neighbor เขาก็มีตัวช่วยอย่างใยแมงมุมที่ควรจะช่วยร่นเวลาเดินทางในเมืองได้ แต่ด้วยข้อจำกัดหลายอย่างของ Bangklyn ไม่ว่าจะเป็นจำนวนตึกสูงที่มีน้อยและตั้งอยู่ห่างกันจนไม่สามารถโหนตัวข้ามตึกได้ รวมถึงเสาไฟฟ้าและสายไฟระโยงระยางที่กีดขวางการห้อยโหน ทำให้ต้องโหนตัวระดับที่ต่ำและใกล้กับพื้นดิน ซึ่งวิธีนี้ยังเสี่ยงต่อการถูกรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ชนอีกด้วย […]

‘สองเทพบุตรสุดที่รัก’ ลิเกมรดกไทยร่วมสมัย | THE PROFESSIONAL

“แก่นแท้มันมีสามแก่น หนึ่งคือ ศิลปวัฒนธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถลืมได้ เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่ขาดการร้อง การรำ นั่นคือไม่ใช่ลิเก “แก่นที่สองคือ แก่นที่ปรับเข้ายุคตามสมัย ปรับให้เข้ากับสิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน “แก่นที่สามคือ AI เป็นสิ่งที่ทำให้คนดูตื่นตาอลังการเหมือนอยู่ในโรงละคร ทั้งหมดสามแก่นรวมเป็นหนึ่งเดียวคือ คณะลิเกสองเทพบุตรสุดที่รัก” รายการ The Professional ชวนไปเที่ยวชมมหรสพชมลิเก และร่ายรำพูดพร่ำทำเพลงไปกับสามพี่น้องคณะลิเก ‘สองเทพบุตรสุดที่รัก’ ที่จะมาเล่าเรื่องลิเก๊ลิเกฉบับยุค 5G ที่พวกเขาพัฒนาเข้ากับยุคสมัย เพื่อหวังให้ลิเกเป็นศิลปวัฒนธรรมที่ไม่ได้เป็นที่รู้จักแค่ในประเทศไทย แต่อยากให้กลายเป็นป็อปคัลเจอร์ที่คนทั่วโลกเอนจอย

กิจกรรม My Story, Our Story ฉายหนังจากกองทุน Netflix เพื่อความหลากหลายบนหน้าจอ

ในเดือนแห่งความหลากหลายนี้ นอกจากเรื่องเพศที่สังคมควรให้ความสำคัญและผลักดันอย่างเต็มที่แล้ว ภายใต้ร่มของความหลากหลายก็ยังมีมิติอื่นๆ ที่มองข้ามไปไม่ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเชื้อชาติ สีผิว หรือความเชื่อ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายนที่ผ่านมา Netflix ได้จัดงานฉายภาพยนตร์ ‘My Story, Our Story’ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการสนับสนุนผู้สร้างผลงานจากประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ไม่ได้มีโอกาสถ่ายทอดผลงานของตัวเอง ให้ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานและร่วมเฉลิมฉลองการเล่าเรื่องที่แตกต่างหลากหลาย ภายในกิจกรรมมีการจัดฉายภาพยนตร์สั้นที่ได้รับการสนับสนุนและสร้างขึ้นจากกองทุน ‘Netflix Fund for Creative Equity’ ที่ทาง Netflix ลงทุนมากกว่า 100 ล้านดอลลาร์ตลอดระยะเวลา 5 ปี เพื่อปูเส้นทางให้แก่ผู้สร้างผลงานที่ไม่ได้มีโอกาสถ่ายทอดผลงานของตัวเองทั่วโลก ภาพยนตร์ที่ฉายในงานมีทั้งหมด 3 เรื่อง ประกอบด้วย ‘Dear You’ (ประเทศไทย) โดย ‘เหมือนดาว กมลธรรม’ ที่เล่าเรื่องของแม่เลี้ยงเดี่ยวผู้ต่อสู้ดิ้นรนในช่วงโรคระบาด ‘Soul-Kadhi’ (ประเทศอินเดีย) โดย ‘Sameeha Sabnis’ ที่หยิบเอาความแฟนตาซีมาผสมกับดราม่า เพื่อสำรวจถึงเสรีภาพผ่านสายสัมพันธ์ของลูกสะใภ้และแม่สามี และ ‘Pao’s Forest’ (ประเทศเวียดนาม) โดย […]

“ให้คิดว่าเป็นเหมือนทรัพย์สินของเราเอง” รู้จักอาชีพ ‘คนตรวจบ้าน’ กับ Mylovecondo

“ให้คิดว่าเป็นเหมือนทรัพย์สินของเราเอง” รู้จักอาชีพ ‘คนตรวจบ้าน’ ผ่านการทำงานตามแบบ Mylovecondo

คุยกับเจ้าของแบรนด์ ‘Pop Icon’ ไอศกรีมลายกระเบื้องพระปรางค์วัดอรุณฯ ขายความเป็นไทยกินได้ แถมน่ารักด้วย

ในช่วงไม่กี่วันมานี้ หลายคนน่าจะได้เห็นไวรัลไอศกรีมลายกระเบื้องวัดอรุณฯ สีส้มและสีฟ้าผ่านตาจำนวนมาก ซึ่งบางคนอาจไม่ได้แค่เห็นเท่านั้น แต่ยังตามไปซื้อมาถ่ายภาพคู่กับพระปรางค์ที่วัดอรุณฯ ถึงที่ด้วยซ้ำ ส่วนใครที่อยากกินช่วงนี้ก็อาจต้องพึ่งความไวสักนิด เพราะทางแบรนด์ ‘Pop Icon’ เจ้าของไอศกรีม 3 มิติกำลังอยู่ในช่วงรีสต็อก หลังจากขายดีเป็นเทน้ำเทท่า และจะกลับมาขายอีกทีวันที่ 15 มิถุนายนหรือวันนี้นี่เอง ระหว่างที่รอเวลาเลิกงานหรือเลิกเรียนเพื่อแวะไปที่วัดเย็นนี้ Urban Creature ได้ต่อสายตรงคุยกับ ‘ตาล ศิริญญา’ เจ้าของแบรนด์ Pop Icon ที่ใช้เวลาทำไอศกรีมลายดอกไม้รุ่งอรุณที่ป็อปที่สุดในเวลานี้มาเป็นเวลากว่า 2 ปีเลยทีเดียว “แบรนด์นี้เกิดจากความชอบไอศกรีมของเรา บวกกับความอยากส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย อีกอย่างตัวเราก็ชอบเรื่องประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมไทยอยู่แล้ว ซึ่งก็มองเห็นว่าในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวบ้านเรา พวกของที่ระลึกยังเป็นรูปแบบเดิมๆ อยู่ เช่น โปสต์การ์ด แม่เหล็ก พวงกุญแจ ถ้าเราสามารถทำให้มันมีสีสันมากขึ้นด้วยการตีความใหม่ก็น่าจะดีต่อนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศ” ตาลเท้าความถึงจุดเริ่มต้นของไอเดีย ส่วนเหตุผลที่เลือกทำไอศกรีม เธอเล่าว่านอกจากความชอบแล้ว ขนมชนิดนี้ยังเหมาะกับประเทศไทย เพราะอากาศบ้านเราร้อน และแลนด์มาร์กของไทยส่วนใหญ่อยู่กลางแจ้ง การทานไอศกรีมในวันร้อนๆ จึงตอบโจทย์ที่สุด นอกจากนี้ เธอยังมองว่าวัฒนธรรมไทยไม่จำเป็นต้องนำเสนอในรูปแบบเดิมๆ หรือความโบราณเก่าก่อนเสมอไป การหยิบเอาศิลปะไทยมานำเสนอผ่านไอศกรีมน่าจะทำให้คนเข้าถึงความเป็นไทยมากขึ้น แถมยังอาจทำให้คนเกิดความสนใจ […]

ญี่ปุ่นกับนโยบายเช่าและขายบ้านราคาถูก ที่หวังแก้ปัญหาคนกระจุก บ้านร้างกระจาย

อีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่ทำเอารัฐบาลประเทศญี่ปุ่นปวดหัวไม่แพ้กับปัญหาสังคมผู้สูงอายุเลยคือ การเพิ่มจำนวนของ ‘บ้านร้าง’ ที่กระจายตัวอยู่ทั่วทุกพื้นที่บนหมู่เกาะ เนื่องจากคนรุ่นใหม่มีมุมมองเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยที่ต่างไปจากเดิม จนไม่ต้องการเสียเงินไปกับค่าใช้จ่ายในการซื้อและบำรุงรักษาบ้านอีกต่อไป เกิดเป็นปรากฏการณ์ที่ใครหลายคนพากันทิ้งบ้าน เดินทางเข้าหัวเมืองใหญ่เพื่อเช่าหรือซื้อห้องพักบนตึกสูงประเภทคอนโดฯ แทน เนื่องจากมองว่ามีความสะดวกสบายและดูแลรักษาได้ง่ายกว่าบ้านในรูปแบบเดิมๆ ปัญหาที่ตามมาคือการกระจุกตัวของผู้คนและที่อยู่อาศัยจำนวนมากบริเวณใจกลางเมืองใหญ่ เพราะไม่อยากให้บ้านถูกทิ้งไว้จนเปล่าประโยชน์ รัฐบาลญี่ปุ่นจึงต้องเร่งแก้ไขปัญหา และออกมาตรการผลักดันให้บ้านที่ถูกทิ้งร้างเหล่านี้กลับมามีเจ้าของอีกครั้ง ด้วยการเปิดขายบ้านราคาถูกและออกนโยบายช่วยเหลือในส่วนต่างๆ คอลัมน์ City in Focus ชวนไปดูปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการผุดขึ้นของบ้านร้างในประเทศญี่ปุ่น ไปจนถึงการแก้ปัญหาของรัฐบาลที่ต้องการกระจายคนไปตามบ้านร้างต่างๆ ทั่วประเทศ แทนที่จะกระจุกตัวอยู่แค่ใจกลางเมือง จำนวนบ้านร้างที่เพิ่มขึ้น ถ้าจะพูดว่า ในตอนนี้แดนอาทิตย์อุทัยกำลังตกอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกเกี่ยวกับปัญหาที่อยู่อาศัยก็คงไม่ผิดนัก เพราะการเก็บสถิติในปี 2018 พบว่า ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับปัญหาบ้านร้างที่กระจายตัวอยู่ทั่วทุกมุมเกาะมากถึง 8.49 ล้านหลัง และสถาบันวิจัยโนมูระยังคาดการณ์ว่า ตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านหลังภายในปี 2023 แต่เนื่องจากเทรนด์การเลือกซื้ออสังหาริมทรัพย์ของคนรุ่นใหม่ที่นิยมที่อยู่อาศัยมือหนึ่งในรูปแบบคอนโดมิเนียมกันมากขึ้น และไม่นิยมซื้อบ้านมือสองอีกต่อไป ทำให้จำนวนบ้านร้างมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่มีคนเข้าไปอยู่อาศัยหรือรับช่วงต่ออย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งความนิยมคอนโดฯ มือหนึ่งที่กำลังเกิดขึ้นนี้สอดคล้องกับข้อมูลจากกระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสารที่ระบุว่า เมื่อปี 2018 ญี่ปุ่นมีที่อยู่อาศัยซึ่งรวมทั้งบ้านและคอนโดฯ ทั้งหมด 62.41 ล้านยูนิต และมีการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 65.46 ล้านยูนิตภายในปี 2023 กราฟที่เพิ่มสูงขึ้นชี้ให้เห็นว่า ขณะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์มือหนึ่งกำลังเติบโตขึ้น […]

Samsung เปิดตัว ‘Less Microfiber™ Filter’ ตัวกรองไมโครพลาสติกสำหรับเครื่องซักผ้า ที่ดักจับพลาสติกและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ผลการวิจัยของทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติรายงานว่า ปัจจุบันในทะเลทั่วโลกมีไมโครพลาสติกสะสมถึง 171 ล้านล้านชิ้น โดยมีไมโครพลาสติกกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ที่มีแหล่งที่มาจากสิ่งทอสังเคราะห์ที่หลุดออกมาในช่วงซักล้าง เพื่อเป็นด่านแรกในการดักจับไมโครพลาสติกระหว่างการปล่อยน้ำเสียหลังการซักเสื้อผ้าในแต่ละวัน ‘Samsung’ ได้เปิดตัว ‘Less Microfiber™ Filter’ ตัวกรองไมโครพลาสติกสำหรับติดตั้งบนเครื่องซักผ้า ที่ช่วยดักจับไมโครพลาสติกที่ปะปนในน้ำได้มากถึง 98 เปอร์เซ็นต์ หรือเทียบเท่ากับขวดพลาสติกขนาด 500 มิลลิลิตร 8 ขวดต่อปี ด้วยตาข่ายดักจับไมโครพลาสติกขนาด 65 – 70 ไมโครเมตรที่อยู่ภายใน Less Microfiber™ Filter เป็นผลงานการออกแบบที่ได้รับแรงบันดาลใจจากผู้ผลิตเสื้อผ้าแบรนด์ ‘Patagonia’ และผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรอนุรักษ์มหาสมุทรระดับโลกอย่าง ‘Ocean Wise’ ผ่านเป้าหมายการลดปริมาณไมโครพลาสติกในท้องทะเล และช่วยให้การซักผ้าเป็นไปอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เครื่องซักผ้าของแบรนด์ Samsung เท่านั้น แต่ Less Microfiber™ Filter ยังนำไปติดตั้งอยู่บนเครื่องซักผ้าแบรนด์อื่นๆ ได้ด้วย ผ่านการเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชัน ‘SmartThings’ แพลตฟอร์มการเชื่อมต่ออัจฉริยะของ Samsung ที่จะแสดงผลการใช้งานของตัวกรอง และแจ้งเตือนผู้ใช้งานเมื่อจำเป็นต้องทำความสะอาด ปัจจุบัน Less Microfiber™ […]

Idol Ambassador ไม่ได้สร้างมูลค่าให้แค่แบรนด์ แต่ยังส่งเสริมสังคมวัตถุนิยมในเกาหลีใต้

ที่ผ่านมา ‘วงการเคป็อป’ และ ‘สินค้าแบรนด์เนม’ แทบจะกลายเป็นของคู่กันมาตลอด เหล่าแฟนคลับล้วนต้องติดตามแฟชั่นของศิลปินที่ตัวเองชื่นชอบ ไม่ว่าจะเป็นแฟชั่นสนามบิน แฟชั่นในงานอีเวนต์ หรือกระทั่งแฟชั่นที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในงานเพลง เพราะอยากรู้ว่าแบรนด์ไหนน่าทำความรู้จัก หรือมีสินค้าอะไรให้ซื้อใช้ตามศิลปินคนโปรดได้บ้าง ยิ่งในช่วงหลังๆ มานี้ เรามักเห็นแบรนด์ระดับโลกหลายแบรนด์ทำการตลาดโดยเลือกใช้ศิลปินเกาหลีในฐานะ ‘แบรนด์แอมบาสเดอร์’ (Brand Ambassador) เพื่อเป็นตัวแทนโปรโมตสินค้าและส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ เพื่อขยายฐานผู้บริโภคที่มากกว่าแค่กลุ่มคนที่ชื่นชอบแฟชั่น นั่นคือเหล่าแฟนคลับและผู้ติดตามวงการเคป็อปที่ส่วนใหญ่เป็นคนชนชั้นกลางขึ้นไป ส่งผลให้มูลค่าการจับจ่ายสินค้าแบรนด์เนมในเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนแตะอันดับสูงที่สุดของโลก แน่นอนว่าเม็ดเงินปริมาณมหาศาลที่เพิ่มขึ้นนี้คือผลประโยชน์ที่แบรนด์ต่างๆ ได้รับโดยตรง แต่ในขณะเดียวกัน การจับจ่ายใช้สอยสินค้าราคาแพงอาจเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมวัฒนธรรมวัตถุนิยมในประเทศเกาหลีให้เพิ่มมากขึ้น เพราะแฟนคลับย่อมอยากใช้สินค้าแบบเดียวกับศิลปินที่ชอบ เพื่อเป็นเครื่องยืนยันถึงความเป็นแฟนคลับและแสดงออกถึงฐานะทางสังคม จนบางครั้งอาจกลายเป็นเครื่องมือช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ มากกว่าจะเป็นสินค้าที่ซื้อมาเพราะชื่นชอบหรือใช้งานจริงๆ ‘เกาหลีใต้’ ประเทศแห่งวัตถุนิยม ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ‘เกาหลีใต้’ คือประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับรูปลักษณ์ภายนอกเป็นอย่างมาก ทั้งในเรื่องของ ‘บิวตี้สแตนดาร์ด’ (Beauty Standard) ที่ผู้คนต้องสวยหล่อตรงตามมาตรฐานที่สังคมกำหนดไว้ ไปจนถึงเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เครื่องประดับต่างๆ ที่อย่างน้อยต้องมีสักชิ้นที่เป็นสินค้าจากแบรนด์หรูแบรนด์ดัง เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ตัวเอง เพราะคนเกาหลีจำนวนไม่น้อยเชื่อว่าสินค้าเหล่านี้เป็นเสมือนใบเบิกทางที่จะช่วยให้พวกเขามีตัวตนในสังคมมากขึ้น จากค่านิยมนี้ ส่งผลให้สังคมเกาหลีใต้โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ค่อนข้างยกย่องเชิดชูคนที่มีภาพลักษณ์ดี มีฐานะ ดูร่ำรวย และใช้สินค้าราคาแพงเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่าง อินฟลูเอนเซอร์และยูทูบเบอร์ ‘ซงจีอา’ […]

Volkswagen เปิดตัวรถตู้โฟล์กไฟฟ้า ที่ผสมผสานความเรโทรและร่วมสมัย ทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ยานยนต์ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า เป็นสิ่งที่หลายบริษัทยานยนต์กำลังพัฒนาออกมาเพื่อเป็นทางเลือกการใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยปีที่แล้ว ‘Volkswagen’ แบรนด์รถตู้โฟล์กสุดคลาสสิกได้เปิดตัว ‘2025 ID. Buzz’ มินิแวนไฟฟ้ามาสร้างความประทับใจให้ผู้ที่ชื่นชอบรถยนต์ ความเรโทร และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และเมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา รถตู้โฟล์กไฟฟ้ารุ่นล่าสุดที่ผลิตขึ้นโดยเฉพาะสำหรับตลาดอเมริกา ก็ได้เดินทางมาถึงอเมริกาเหนือและเปิดตัวในงาน Volkswagen Bus Day ไปเป็นที่เรียบร้อย แน่นอนว่ารถตู้โฟล์กรุ่นนี้เป็นที่ฮือฮาของมหาชนชาวเรโทร เพราะ ‘2025 ID. Buzz’ ได้มีการอัปเกรดพละกำลังให้เพิ่มขึ้นด้วย โดยรุ่นพื้นฐานขับเคลื่อนล้อหลังมาพร้อมกับมอเตอร์ไฟฟ้าเดี่ยวกำลังสูงสุด 286 แรงม้า ส่วนรุ่นมอเตอร์ไฟฟ้าคู่ที่ขับเคลื่อนแบบ 4 ล้อกำลังสูงสุดจะเพิ่มขึ้นเป็น 335 แรงม้า สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยความเร็วสูงสุด 99 ไมล์ต่อชั่วโมง นอกจากนี้ยังขยายขนาดของรถให้ยาวขึ้นอีก 10 นิ้ว โดยมีความยาวเป็น 192.4 นิ้ว ส่งผลให้ภายในห้องโดยสารกว้างขวางขึ้น ทำให้ผู้โดยสารได้รับประสบการณ์การเดินทางที่สะดวกสบาย และแม้จะมีการเพิ่มที่นั่งแถวที่ 3 ซึ่งกินพื้นที่บางส่วน แต่ตัวเบาะแถวที่ 2 นั้นมีฟังก์ชันพับได้ เพื่อเปลี่ยนเป็นพื้นที่ที่มอบความสะดวกสบายมากขึ้น รวมถึงที่นั่งแถวที่ 3 ก็สามารถถอดออกได้เช่นกัน ตอบโจทย์ความยืดหยุ่นในการบรรทุกสัมภาระตามที่ผู้ใช้งานต้องการ อีกความโดดเด่นของรถตู้โฟล์กรุ่นนี้คือความจุของแบตเตอรี่ที่มีขนาด […]

พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ขอนแก่น เปลี่ยนสำนักงานธนาคารเดิมเป็นพิพิธภัณฑ์ พื้นที่สาธารณะ แลนด์มาร์กใหม่ของคนขอนแก่น

หากพูดถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรืออีสาน จังหวัดแรกๆ ที่ผุดขึ้นมาในความคิดหลายคนคงหนีไม่พ้นจังหวัด ‘ขอนแก่น’ เมืองที่เต็มไปด้วยศิลปวัฒนธรรมแห่งอีสานที่รอให้ผู้คนไปค้นหา โดยล่าสุดขอนแก่นยังมีพิพิธภัณฑ์ที่เปิดใหม่บริเวณใจกลางเมือง ซึ่งรายล้อมไปด้วยโรงเรียน ตลาด แหล่งชุมชน และที่อยู่อาศัย ที่ได้ ‘Plan Motif’ มาเป็นผู้ออกแบบนิทรรศการ ‘Plan Architect’ มาช่วยดูแลในส่วนงานสถาปัตยกรรมการปรับปรุงอาคาร และได้ ‘GLA Design Studio’ เข้ามาดูในส่วนของงานภูมิสถาปัตยกรรม จนออกมาเป็น ‘พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ขอนแก่น’ (The Treasury Museum Khonkaen) พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ขอนแก่นเกิดขึ้นหลังจากที่พื้นที่ถูกเปลี่ยนมือกลับสู่ ‘กรมธนารักษ์’ อีกครั้ง เนื่องจาก ‘ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ’ ที่ใช้พื้นที่อยู่เดิมได้ย้ายที่ตั้งสำนักงานไปยังบริเวณอื่น ทำให้ทางกรมธนารักษ์ที่ได้พื้นที่คืนมาตัดสินใจส่งต่อพื้นที่นี้ให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับคนในเมืองขอนแก่นต่อไป ภายใต้ความตั้งใจของกรมธนารักษ์และ Plan Architect ที่ต้องการเปลี่ยนอาคารสำนักงาน บ้านพักพนักงาน และแผนกธนบัตรที่ถูกรื้อถอนเดิม ให้กลายเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ พื้นที่จัดแสดง ศาลาอเนกประสงค์ สวนสาธารณะ และสำนักงานที่สามารถรองรับกิจกรรมต่างๆ ที่จะรับรองการใช้ชีวิตของผู้คนในเมืองขอนแก่นให้ได้มากที่สุด ซึ่งแต่ละส่วนถูกออกแบบใหม่โดยใช้ลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นผสมผสานกับเอกลักษณ์ของยุคสมัยใหม่ เพื่อสร้างพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ของขอนแก่นที่ไม่ใช่แค่การฟื้นฟูอาคารเดิมให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง แต่ผู้ใช้งานยังต้องได้รับคุณค่าทางประวัติศาสตร์ผ่านการใช้งานด้วย โดยในอาคารหลักบริเวณชั้น 1 ได้รื้อผนังทึบสูงเดิมออกเพื่อให้แสงธรรมชาติเข้าสู่อาคารได้มากขึ้น เพื่อรองรับการเป็นพื้นที่ส่วนกลางและโซนห้องสมุด […]

Mappa บ้านของนักออกแบบการเรียนรู้ที่อยากให้คนรุ่นใหม่ได้ร่วมกันดีไซน์สังคมที่ดีกว่าเดิม

ในฐานะคนที่เรียนหนังสือแบบท่องจำมาตลอด การได้ฟัง ‘มิรา เวฬุภาค’ ผู้ก่อตั้ง Mappa และทีมเล่าเรื่องราวการเรียนรู้แบบใหม่ที่เราไม่คุ้นเคยนั้นช่างน่าฉงนสงสัย ในขณะเดียวกันก็น่าตื่นเต้นเหลือเกิน เราเคยได้ยินเรื่องโรงเรียนทางเลือก โฮมสคูล และแอปฯ ส่งเสริมการเรียนรู้มาบ้าง ทั้งยังเคยฟังเด็กๆ โอดครวญด้วยความห่อเหี่ยวใจเรื่องระบบการศึกษาบ้านเราหลายหน ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือ Pain Point และแรงบันดาลใจสำคัญที่ทำให้เกิด Mappa ในวันนี้ หลายคนรู้จักพวกเขาในฐานะสื่อออนไลน์ที่ผลิตคอนเทนต์สนุกๆ บนพื้นฐานความเชื่อว่าความรู้เกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ และสร้างได้จากทุกสิ่ง แต่แท้จริงแล้ว Mappa ไม่ใช่แค่สื่อ พวกเขาคือแพลตฟอร์มเพื่อการศึกษาที่อยากผลักดันให้การเรียนรู้ของเด็กไทยไปไกลกว่ากรอบเดิมๆ ผ่านเครื่องมืออันหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชัน เว็บไซต์ บอร์ดเกม สื่อการเรียนรู้ ไปจนถึงคอร์สอบรมมนุษย์ผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของเด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ คุณครู หรือคนที่มีพื้นที่เรียนรู้ ไม่ได้เรียนแค่เรื่องวิชาการจ๋า แต่อยากให้เด็กๆ ได้มีสกิลซึ่งโรงเรียนอาจจะลืมสอนไป เช่น การสร้างความสัมพันธ์ การเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและสังคม สุนทรียภาพ กระบวนการคิด ฯลฯ มากกว่านั้น ผู้ก่อตั้งอย่างมิรายังอยากปลุกปั้น ‘Learning Designer’ หรือ ‘นักออกแบบการเรียนรู้’ ที่เป็นคนรุ่นใหม่ เพื่อช่วยยกระดับการศึกษาในอนาคตให้เด็กเจเนอเรชันต่อไปได้มีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายกว่าเก่า เช้านี้ที่น่าฉงนสงสัยและน่าตื่นเต้นเป็นพิเศษ ทีม […]

ทางออกความรุนแรงผ่าน ‘แนวทางการเสริมสร้างการอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายทางสังคม’

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญความท้าทายทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจที่ซับซ้อนและหลากมิติ ตั้งแต่ความยากจน ความเหลื่อมล้ำ ความไม่เท่าเทียม การเลือกปฏิบัติ ไปจนถึงการกีดกันหรือไม่ให้ความสำคัญกับชนกลุ่มน้อยทางด้านสัญชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนา หรือภาษา ทั้งหมดนี้คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความไม่พึงพอใจและอาจเป็นแรงผลักให้บุคคลหรือกลุ่มคนไปสู่ ‘แนวความคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรง’ (Violent Extremism) ในระดับสังคม ประเทศ และโลก ถือเป็นภัยคุกคามที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง ความรุนแรง รวมถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการฟูมฟักของอุดมการณ์และความคิดสุดโต่งที่อาจพัฒนาไปเป็นเครื่องมือในการสร้างความแตกแยกและความรุนแรง สหประชาชาติเสนอแนะให้ประเทศสมาชิกพิจารณาพัฒนา ‘แผนปฏิบัติการระดับชาติเพื่อป้องกันแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรง’ (National Action Plans to Prevent Violent Extremism) เพื่อส่งเสริมแนวทางที่มุ่งเน้นแก้ปัญหาต้นตอที่ทำให้คนหันไปนิยมแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรง โดยแนวทางหลักที่ใช้คือ การสร้างความอดทนอดกลั้น เฉลิมฉลองความแตกต่างหลากหลาย และแก้ปัญหาตัวแปรทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อยกระดับสถานะและความปลอดภัยของกลุ่มเปราะบาง ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเป็นการทำงานร่วมมือกันระหว่างภาคส่วนต่างๆ ของสังคม และระหว่างหน่วยงานรัฐทั้งองคาพยพ และที่สำคัญ เป็นแผนที่พัฒนาโดยแต่ละประเทศเอง จึงเหมาะสมกับบริบทของประเทศนั้นๆ แม้ประเทศไทยจะยังไม่มีความรุนแรงสุดโต่งปรากฏให้เห็นชัด แต่สังคมไทยมีความท้าทายหลายมิติ โดยเฉพาะความท้าทายทางเศรษฐกิจ การเมือง และการเข้าไม่ถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของกลุ่มคนชายขอบและกลุ่มเปราะบาง ที่ก่อให้เกิดการแบ่งฝักฝ่ายและขั้วความคิดที่ค่อนข้างชัดเจนขึ้น ทั้งยังมีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เพราะเหตุนี้ ประเทศไทยจึงลงนาม ‘แผนปฏิบัติการอาเซียนว่าด้วยการป้องกันและการต่อต้านการขยายตัวของการบ่มเพาะแนวคิดหัวรุนแรงและแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรง 2562 […]

1 69 70 71 72 73 355

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.