ชวนไปชมความสร้างสรรค์ย่านปากคลองตลาดและบางลำพู ในงาน Bangkok Design Week 2025

เชื่อว่าหลายๆ คนรวมไปถึงศิลปินแขนงต่างๆ ล้วนมีไอเดียมากมายที่อยากพัฒนาพื้นที่ หรือใช้ความคิดสร้างสรรค์ผลักดันให้คนทั่วไปค้นพบความน่าสนใจในย่านต่างๆ ทว่าติดตรงที่ต้องมีทุนต่อยอดให้ภาพในหัวเกิดขึ้นจริงให้ได้ British Council คือหนึ่งในองค์กรที่สนับสนุนการพัฒนาโครงการใหม่ๆ ทางศิลปะหรือความคิดสร้างสรรค์ จึงก่อตั้งทุนความร่วมมือทางวัฒนธรรมหรือ Connections Through Culture เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทักษะ ความรู้ หรือการร่วมผลิตผลงาน โดยทุนนี้มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือเชิงสร้างสรรค์ระหว่างเอเชีย-แปซิฟิก และสหราชอาณาจักร ซึ่งทางองค์กรเชื่อว่า ความร่วมมือข้ามพรมแดนในสาขาศิลปะต่างๆ จะนำไปสู่ความคิดและแนวทางใหม่ๆ ที่ช่วยแก้ไขปัญหาท้าทายระดับโลก ในขณะเดียวกัน ความร่วมมือที่เกิดขึ้นยังเป็นส่วนช่วยสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวระหว่างศิลปิน นักปฏิบัติด้านสร้างสรรค์ และองค์กรทางศิลปะและวัฒนธรรมต่างๆ จากสหราชอาณาจักรและประเทศไทย ในปีนี้เอง เราจะได้ชมและเข้าร่วมกิจกรรมสนุกๆ ของโปรเจกต์ Street Wise ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการที่ได้รับทุน Connections Through Culture 2024 และจัดแสดงในเทศกาล Bangkok Design Week 2025 ที่งาน ‘Bangkok Flower Market Festival’ ย่านปากคลองตลาด และย่านบางลำพูกับงาน ‘Bang Lamphu Festival’ ที่ New World […]

House of Bean Book Cafe ร้านเช่าการ์ตูนเก่าย่านลาดพร้าว ที่ผันตัวมาเสิร์ฟกาแฟคุณภาพดีพร้อมมังงะให้อ่านฟรีกว่า 80,000 เล่ม

ในยุคที่ใครๆ บ่นว่าการ์ตูนแพง อยากอ่าน Sakamoto Days ก็ปาไปเล่มละ 300 บาท จะซื้อเล่มเดียวก็พาจะขาดตอน แถมร้านเช่าการ์ตูนก็ค่อยๆ เลือนหายไปตามกาลเวลา House of Bean Book Cafe เป็นหนึ่งในร้านเช่าการ์ตูนเก่าที่ปรับตัวมาเป็นคาเฟ่แต่ยังคงไว้ซึ่งกลิ่นอายของหนังสือการ์ตูน ที่ทางร้านได้เก็บสะสมมังงะเก่าๆ กว่า 80,000 เล่มเอาไว้อย่างดี ที่นี่เป็นร้านเล็กๆ ตั้งอยู่ในซอยเสนานิคม 42 ย่านลาดพร้าว บรรยากาศภายในร้านอบอุ่นและเป็นกันเอง สองข้างของร้านขนาบด้วยชั้นหนังสือไม้ที่มีหนังสือการ์ตูนหลากหลายสไตล์วางไว้ พร้อมด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้และของตกแต่งน่ารักๆ ที่เข้ากับเหล่าการ์ตูน นอกจากนี้ ที่นี่ยังมีเมล็ดกาแฟดีๆ ที่ได้รับรางวัล 2 ปี จากทั้งออสเตรเลียและเยอรมนีให้เลือกสรร ด้วยราคาที่เข้าถึงง่ายและรสชาติไม่ซับซ้อนจนเกินไป หรือใครไม่ใช่คอกาแฟก็มีเมนูอื่นๆ อย่างมัตฉะให้ชิมกันด้วยนะ ใครอยากจิบกาแฟอร่อยๆ และตามหาการ์ตูนที่อยากอ่านหรือมังงะเก่าๆ ที่อาจลืมไปแล้วว่าเมื่อก่อนเคยชอบเรื่องนี้มากๆ ไปกันได้ที่ House of Bean Book Cafe ซอยเสนานิคม 42 เปิดทุกวัน ตั้งแต่ 06.30 – 18.00 น. […]

ส่องน้องเหมียวในวัดโพธิ์กับกิจกรรม ‘Trip มองแมวจรในโลกเมือง’ บทเรียนการอยู่ร่วมกันของวัดและน้องแมวกว่า 200 ตัว

เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ชาว Urban Creature ได้มีโอกาสร่วม ‘Trip มองแมวจรในโลกเมือง’ หนึ่งในกิจกรรมจาก ‘มิวเซียมสยาม’ ใน Activity Series ‘ส่องสรรพในประวัติศาสตร์ ว่าด้วยนานาสัตว์’ เรื่อง แมวในมุมมอง กิจกรรมนี้ต้องการบอกเล่าเรื่องของน้องเหมียว สัตว์เลี้ยงที่ครองใจมนุษย์มาแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบัน จากเดิมที่แมวเคยได้รับการสักการะในฐานะเทพเจ้า กลายมาเป็นแมวจรในสังคมเมืองปัจจุบัน ซึ่งในกรุงเทพฯ แมวยังคงเป็นสัตว์เลี้ยงยอดนิยม และเพิ่มจำนวนขึ้นมากจนก่อให้เกิดปัญหามากมายตามมา ทำให้เกิดแคมเปญรณรงค์ ‘คิดก่อนเลี้ยง ดูแลจนตาย’ ซึ่งมิวเซียมสยามมองว่าการให้ความรู้ในแง่ประวัติศาสตร์แมวในสังคมไทย ความเข้าใจเรื่องธรรมชาติของแมว และปลูกฝังความรับผิดชอบของผู้เลี้ยง อาจช่วยลดปัญหาเรื่องแมวจรจากสังคมไทยในอนาคตได้ ใน Trip มองแมวจรในโลกเมือง เราได้ ‘พระมหานรินทร์’ ผู้ดูแลระบบจัดการแมวในวัดพระเชตุพนฯ มาเป็นวิทยากรบอกเล่าถึงระบบการจัดการแมวจรที่มาอาศัยอยู่ในวัด ให้พื้นที่ธรรมเป็นพื้นที่ปลอดภัย มนุษย์และแมวอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข พร้อมชี้ชวนให้ดูแมวที่อาศัยอยู่ภายในวัดไปตลอดทาง พระมหานรินทร์เล่าว่า ในอดีตทางวัดเองก็มีความพยายามจัดการแมวโดยเรียกให้เจ้าหน้าที่เทศบาลของกรุงเทพฯ มาจับไปอยู่เหมือนกัน แต่ต่อให้จับไปเท่าไหร่สุดท้ายแมวก็กลับมาอยู่ดี อีกทั้งกระบวนการจับยังเป็นที่น่าหดหู่ใจสำหรับท่าน ด้วยเหตุนี้ ในช่วงปี 2557 – 2558 พระมหานรินทร์จึงตั้งใจดูแลแมวภายในวัดเอง ด้วยการควักเงินส่วนตัวในการดูแล ตั้งแต่ซื้ออาหาร จัดหาอุปกรณ์เครื่องใช้ที่จำเป็น ดูแลพยาบาล […]

Thai Temple Festival สีสันงานวัด

งานวัดที่มีแสงสีสวยงามเป็นมากกว่ากิจกรรมบันเทิง เนื่องจากสะท้อนถึงความเชื่อมโยงระหว่างวัฒนธรรม ศาสนา และวิถีชีวิตของคนในชุมชน ยามค่ำคืนที่สว่างไสวด้วยแสงไฟหลากสีไม่เพียงแต่สร้างบรรยากาศที่สนุกสนาน แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ของความหวังและการเฉลิมฉลองชีวิต แสงไฟจากโคมและเครื่องเล่นต่างๆ เป็นตัวแทนของความเจริญรุ่งเรือง และความปรารถนาที่จะนำความสว่างเข้ามาสู่ชีวิต แม้ในยามที่ต้องเผชิญกับความท้าทาย ในขณะเดียวกัน งานวัดยังเป็นพื้นที่ที่สะท้อนถึงมิติทางศาสนาและวัฒนธรรม การทำบุญ ไหว้พระ และพิธีกรรมทางศาสนาที่เกิดขึ้นภายในงาน คือการสานต่อความศรัทธาและประเพณีที่สืบทอดมาหลายชั่วอายุคน การผสมผสานระหว่างความเชื่อทางจิตวิญญาณกับความบันเทิงทางโลกร่วมสร้างสมดุลที่ลงตัว ซึ่งบ่งบอกถึงความลึกซึ้งของชีวิตที่ไม่อาจแยกออกจากกันได้ แสงสีจากงานวัดจึงไม่ได้เป็นเพียงการตกแต่งเพื่อความงดงาม แต่ยังเป็นเครื่องหมายของการเชื่อมโยงระหว่างอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เป็นที่ที่คนในชุมชนมารวมตัวกัน แลกเปลี่ยนความสุข ความหวัง และการสะท้อนถึงความหมายของชีวิต ติดตามผลงานของ ภาสกร บรรดาศักดิ์ ต่อได้ที่ Facebook : Phatsakorn Bundasak Instagram : @dave_street_photo หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

ความหวังใหม่เมืองกาญจน์? พาชมรถเมล์ไฟฟ้าทดลองวิ่งโฉมใหม่ ในเส้นทาง ตลาดลาดหญ้า-ท่าม่วง

รถเมล์ไฟฟ้าอาจเป็นสิ่งปกติที่เห็นจนชินตาของคนกรุงเทพฯ แต่สำหรับจังหวัดอื่นๆ หรือแม้แต่ตัวเมืองหลายจังหวัดต่างไม่มีรถเมล์ที่รอบวิ่งแน่นอน หรือกระทั่งไม่มีรถเมล์วิ่งในพื้นที่ด้วยซ้ำไป แต่เหมือนว่าอนาคตอันใกล้นี้จะมีสัญญาณที่ดีขึ้นในจังหวัดกาญจนบุรีแล้ว เพราะเมื่อวันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมา ทาง ‘อบจ.กาญจนบุรี’ ได้ร่วมมือกับ ‘บริษัท ไทยแสงเจริญ เซอร์วิส จำกัด’ บริษัทนำเข้ารถโดยสารในประเทศไทย ในการนำรถเมล์แอร์พลังงานไฟฟ้าที่เป็นรถชานต่ำ ซึ่งไม่ต้องก้าวขึ้นบันไดหลายขั้นเหมือนรถเมล์แบบเดิม และมีทางลาดรองรับรถเข็นวีลแชร์เข้ามาทดลองให้บริการในตัวเมืองกาญจนบุรี เส้นทางระหว่างตลาดลาดหญ้า-ท่าม่วง นับเป็นครั้งแรกจากเดิมที่มีเพียงแค่รถสองแถวและรถเมล์พัดลมคลาสสิกวิ่งอยู่เท่านั้น ตัวรถได้ทำการทดลองออกวิ่งในช่วงเช้าและเย็นจำนวน 2 รอบ ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม จนถึง 3 กุมภาพันธ์ 2568 และคาดว่าจะเปิดให้บริการจริงในช่วงกลางปีนี้ โดยมีผู้ใช้บริการหลักเป็นนักเรียนในพื้นที่ที่จำเป็นต้องใช้รถสาธารณะในการไป-กลับโรงเรียนและที่พักอาศัยอยู่แล้ว จังหวัดกาญจนบุรีถือเป็นจังหวัดที่ 2 ที่มีการนำรถเมล์ไฟฟ้าออกมาทดลองให้บริการ ต่อจากก่อนหน้านี้ที่มีการทดลองวิ่งที่จังหวัดภูเก็ต ในเส้นทางรถเมล์ของ อบจ.ภูเก็ต มาแล้วในช่วงประมาณต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา เรียกได้ว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เริ่มมีแนวคิดเกี่ยวกับการเปิดเส้นทางรถสาธารณะในตัวเมืองโดย อบจ.เองมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้มีแนวโน้มเห็นรถสาธารณะในตัวเมืองต่างจังหวัดมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีความน่ากังวลใจอยู่ไม่น้อย เนื่องจากส่วนมากหลังการทดลองให้บริการ รัฐมักไม่ให้บริการเองแต่เปิดให้เอกชนที่สนใจมาให้บริการมากกว่า ส่งผลให้ถึงแม้เส้นทางมีความต้องการ แต่ถ้าเอกชนเห็นว่าให้บริการแล้วไม่คุ้มทุน เส้นทางเหล่านี้ก็จะถูกลดรอบให้น้อยลงจนไม่สะดวกสบายกับคนในพื้นที่และหายไปอีกครั้งหนึ่งในที่สุด Sources :EV-roads | tinyurl.com/yycrun5xเมืองกาญจน์.com | […]

Flowerrarium ร้านจัดดอกไม้และสวนขวดย่านเมืองเก่าของอดีตผู้แทนยาที่อยากให้ทุกคนมอบดอกไม้แก่กันได้โดยไม่ต้องรอโอกาสพิเศษ

จำได้ไหมว่าได้รับดอกไม้ครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ เวลาเห็นใครสักคนถือช่อดอกไม้ หรือเดินผ่านร้านดอกไม้ ก็มักจะชวนให้นึกถึงโอกาสพิเศษอย่างวันเกิด วาเลนไทน์ คริสต์มาส หรือวันครบรอบ แถมยังต้องเป็นความสัมพันธ์ที่พิเศษพอจะมอบดอกไม้ให้กันอีกด้วย แต่รู้ไหมว่าจริงๆ แล้วโอกาสในการให้ดอกไม้ไม่จำเป็นต้องจำกัดไว้เพียงแค่วันบางวันหรือบางช่วงเวลา แต่เราให้ดอกไม้กันได้ทุกวัน เพราะมันเป็นของที่เพียงได้รับก็รู้สึกดีแล้ว หรือการให้ดอกไม้ขอบคุณตัวเองที่ผ่านวันทั้งดีและแย่ก็ไม่ใช่เรื่องผิดแปลกอะไร พอพูดถึงเรื่องดอกไม้ คอลัมน์ Urban Guide เลยขอพาไปรู้จักกับ ‘เยีย-อารยา ภู่ผึ้ง’ เจ้าของ Flowerrarium ร้านต้นไม้-ดอกไม้ใจกลางย่านเมืองเก่าอย่างชุมชนเลื่อนฤทธิ์ เขตการค้าเก่าแก่กว่า 100 ปี ที่เพิ่งรีโนเวตใหม่ให้กลายเป็นตึกสีขาวเหลืองตัดสีเขียวสวยเด่น เราเดินเข้าไปในชุมชนเลื่อนฤทธิ์จนสุดซอย ก่อนเจอเข้ากับเหล่าต้นไม้ ดอกไม้ วางประดับสวยงามอยู่หน้าร้าน พร้อมป้ายสีเขียวเข้มของร้านดูสบายตา สดชื่น ต้อนรับวันใหม่ จากผู้แทนยาสู่เจ้าของร้านดอกไม้ “เยียทำงานเป็นผู้แทนยามาสิบกว่าปี จนรู้สึกว่าถึงจุดอิ่มตัว เลยเริ่มมองหาแพสชันใหม่ๆ ลองเวิร์กช็อปไปเรื่อยๆ จนได้มาเจอว่าเราชอบดอกไม้กับสวนขวด รวมถึงตัวเราที่ชื่อเยียก็มาจากดอกเยียบีรา พี่สาวเป็นคนตั้งให้ ก็เลยเริ่มศึกษาเรื่องดอกไม้มาเรื่อยๆ” หลังส่งตัวเองศึกษาการจัดต้นไม้-ดอกไม้มาสักพัก ก็ถึงเวลาเปิดร้านที่เยียใช้คำว่า เปิดขึ้นได้ด้วย ‘จังหวะ’ จังหวะที่อยากจัดดอกไม้ จังหวะที่บังเอิญมาเจอชุมชนเลื่อนฤทธิ์ จังหวะที่ชอบตึกเก่าในย่านสงบ และจังหวะที่อยากให้คนได้รับดอกไม้ที่ตรงใจ ตลอดช่วงเวลา 6 เดือนที่เยียเปิดร้านนี้ขึ้นมา เธอได้เรียนรู้เกี่ยวกับความหลากหลายในความสนใจเรื่องดอกไม้ของคนไทย […]

ไม่ต้องไปถึงที่ก็อุดหนุนสินค้าหัตถกรรมไทยได้ ‘ThailandPostMart’ จาก SACIT และไปรษณีย์ไทย แพลตฟอร์มผลักดันงานท้องถิ่นไทยไปสู่สากล

งานหัตถกรรมเป็นสินค้าขึ้นชื่อของไทย ไม่ว่านักท่องเที่ยวชาติไหน หากได้ไปเที่ยวต่างจังหวัดก็มักจะซื้อสินค้าท้องถิ่นติดไม้ติดมือกลับไปทุกครั้ง แต่ถ้าพวกเขาหรือกระทั่งตัวเราเองไม่ได้มีเวลาแวะเวียนไปล่ะ จะมีทางไหนที่เราสามารถเลือกซื้อสินค้าหัตถกรรมไทยโดยไม่ต้องไปถึงแหล่งบ้าง สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ SACIT ได้มองหาวิธีการนำเสนอเรื่องเล่าของงานฝีมือผ่านสินค้าชนิดต่างๆ จากผู้ประกอบการ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศ ส่งต่อไปให้กับคนนอกชุมชน เพื่อสร้างฐานลูกค้าในวงกว้าง และเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตให้สามารถจำหน่ายสินค้าถึงมือผู้บริโภคอย่างมีคุณภาพ จากแนวคิดนี้นำมาสู่การร่วมมือกันระหว่าง SACIT และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ขยายการจำหน่ายสินค้าหัตถกรรมไทยบนช่องทางออนไลน์ในรูปแบบ ‘เลือก สั่ง จ่าย ส่ง’ หวังเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้างานหัตถกรรมไทยได้ง่ายขึ้น พร้อมจัดส่งถึงมือลูกค้าผ่านแพลตฟอร์ม www.thailandpostmart.com ความพิเศษคือ ไม่ใช่แค่ลูกค้าในประเทศไทยเท่านั้นที่สั่งสินค้าได้ แต่ลูกค้านอกประเทศเองก็สั่งสินค้าได้ด้วยเหมือนกัน ถือว่าเป็นการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงงานศิลปหัตถกรรมไทยในกลุ่มลูกค้าสากล เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความสำเร็จและการเติบโตอย่างยั่งยืนของสินค้าประเภทนี้ในไทย นอกจากสินค้าหัตถกรรมแล้ว บนแพลตฟอร์มนี้ยังมีสินค้าท้องถิ่นอื่นๆ ทั้งสินค้าอุปโภคและบริโภคหลากหลายชนิดให้เลือกซื้ออีกด้วย ใครที่อยากสนับสนุนผู้ประกอบการไทย แค่เลือกดู กดสั่ง และจ่ายเงิน หลังจากนั้นก็รอรับสินค้าที่ไปรษณีย์ไทยมาส่งให้ถึงหน้าบ้านได้เลย

‘โซล เกาหลีใต้’ เมืองที่เชื่อว่าฝุ่นจะหมด ฟ้าจะใสในอีก 5 ปีข้างหน้า ด้วยนโยบาย Clearer Seoul 2030

ท้องฟ้ามัวๆ สีเทาอมเหลืองกลายเป็นภาพที่ชินตาของประชาชนชาวเกาหลีใต้ ถึงขนาดกลายเป็นมุกตลกว่า เหตุผลที่คนเกาหลีใต้ชอบสวมเสื้อผ้าสีดำก็เพราะว่าถ้าใส่เสื้อผ้าสีอ่อนหรือสีขาวออกจากบ้านไป กลับบ้านมาจะได้เสื้อสีเทาเพราะฝุ่นแทน แต่วันนี้มุกตลกเหล่านั้นอาจใช้ไม่ได้แล้ว เพราะเมื่อวันที่ 9 มกราคมที่ผ่านมา (2025) อินสตาแกรมทางการของรัฐบาลเกาหลีใต้ได้ลงประกาศเฉลิมฉลองวันที่เกาหลีใต้มีอากาศสะอาด ฝุ่นลดลงสูงสุดในรอบหลายปี ด้วยหลากหลายนโยบายและความพยายามของชาวเกาหลีใต้ โดยนโยบายที่โดดเด่นที่สุดก็คือ Clearer Seoul 2030 ที่สืบเนื่องมาจากนโยบาย Clear Seoul ในปี 2007 ซึ่งเป็นความพยายามสร้างอากาศสะอาดให้ชาวแทฮันมินกุกได้หายใจกันอย่างเต็มปอดยาวนานกว่า 20 ปี เปลี่ยนรถบนท้องถนนเพื่อลดฝุ่น หลังพบว่า 28 เปอร์เซ็นต์ของสาเหตุการเกิดฝุ่น PM 2.5 เกิดจากรถยนต์ดีเซล รัฐบาลเกาหลีใต้จึงออกแผนเปลี่ยนรถยนต์ดีเซลทั่วเมืองให้กลายเป็นรถที่ปล่อยมลพิษต่ำ โดยเฉพาะรถที่ต้องวิ่งระยะใกล้เข้าตัวเมือง ซอยบ้านเรือนและเขตที่พักอาศัยบ่อยๆ อย่างรถขนส่งพัสดุ รถบัสเข้าเมือง (Town Bus) หรือแม้กระทั่งรถทำความสะอาด รวมถึงมอเตอร์ไซค์ส่งอาหาร เนื่องจากวัฒนธรรมการสั่งอาหารเดลิเวอรีที่เติบโตมากในเกาหลีใต้ ด้วยรูปแบบอาหารคุ้นหน้าคุ้นตาอย่างต็อกโบกี ไก่ทอด หรือเบอร์เกอร์ง่ายๆ สำหรับมื้อดึก อีกทั้งวัฒนธรรม ‘ฮนจก’ หรือวัฒนธรรมการชอบอยู่คนเดียวของคนเกาหลีใต้ ขัดกับร้านอาหารที่มักเสิร์ฟเป็นมื้อใหญ่และบางร้านไม่รับลูกค้าเพียงคนเดียวสำหรับการเปิดโต๊ะ ความนิยมสั่งข้าวมากินที่บ้านจึงเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้มอเตอร์ไซค์ส่งอาหารต้องวิ่งวนอยู่ในเขตเมืองตลอดทั้งวันทั้งคืน มอเตอร์ไซค์เหล่านี้ถูกสั่งให้เปลี่ยนเป็นยานพาหนะไฟฟ้าทั้งหมด เพราะจักรยานยนต์เป็นหนึ่งในต้นตอปัญหาที่ปล่อยมลพิษสูง นอกจากนั้น […]

Thaipography Archive แพลตฟอร์มคลังป้ายฟอนต์ไทย จากกลุ่มคนรักในตัวอักษรที่จะมาป้ายยาให้คนสนใจป้ายมากขึ้น

นี่คือเว็บไซต์รวบรวมการออกแบบฟอนต์ไทย โดย ‘บูม-พร้อมพรรณ ศุขสุเมฆ’ ที่อยากชวนทุกคนหยุดดูป้ายร้านค้า ตึก อาคารบ้านเรือนให้นานขึ้น พร้อมถ่ายภาพเก็บไว้ลงคลัง เพราะเมื่อผ่านไปแล้วเราอาจไม่มีโอกาสได้กลับมาเห็นป้ายเหล่านี้อีก Thaipography Archive เป็นส่วนหนึ่งของ Thaipography Project ที่มาจากความตั้งใจออกแบบฟอนต์ตัวอักษรไทยแล้วนำมาดัดแปลงเป็นตัวอักษรแบบละติน หรือกลุ่มตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ยังคงความเป็นไทยอยู่ ซึ่งเป็นกระบวนการออกแบบตัวอักษรแบบย้อนกลับ เพราะปกติการออกแบบฟอนต์ภาษาไทยที่ใช้กันทั่วไปนั้นจะออกแบบด้วยตัวละตินก่อนแล้วค่อยแปลงเป็นภาษาไทย นับเป็น ‘การทดลอง’ เล็กๆ ของผู้มีความสนใจในตัวอักษรว่า หากเราสลับวิธีออกแบบแล้ว คนไทยจะดูออกไหมว่าฟอนต์นี้เริ่มต้นจากแบบอักษรไทย และชาวต่างชาติจะอ่านตัวอักษรละตินเหล่านี้ออกไหมหากสวมความเป็นไทยเข้าไป ซึ่งก่อนจะนำมาสู่กระบวนการทดลองทั้งหมดก็ต้องมีคลังรูปแบบตัวอักษรไทยที่มากพอจะเห็นเอกลักษณ์และแนวทางได้ แพลตฟอร์มคลังป้ายตัวอักษรไทยจึงถือกำเนิดขึ้นมา ด้วยเวลากว่า 6 ปีที่บูมสนใจในเรื่องตัวอักษรและลายเส้นของไทย เธอเริ่มจากการศึกษาข้อมูลที่รวบรวมตัวอักษรและการออกแบบของไทย จนปี 2022 บูมเจอหนังสือ ‘แกะรอยตัวพิมพ์ไทย’ ของ ‘ประชา สุวีรานนท์’ และได้รู้ว่าอาจารย์ใช้เวลาเป็น 10 ปีในการรวบรวมรูปแบบการออกแบบ และทำให้รู้ว่ามีคนสนใจเรื่องนี้เหมือนกัน แต่ยังขาดแหล่งที่รวบรวมการออกแบบ ฟอนต์ และแบบตัวอักษรที่อาจสูญหายไว้ เธอจึงสร้าง Thaipography Archive ไว้เป็นพื้นที่แบ่งปันและเก็บรักษางานออกแบบดีๆ พร้อมชวนผู้ที่สนใจในภาพป้ายไทยอย่าง @thaiposign และ @thaipography_photo มาช่วยรวบรวมตัวอักษรและเรียนรู้ข้อมูลงานออกแบบเหล่านี้ให้ละเอียดขึ้น โดยคาดหวังให้แพลตฟอร์มนี้เป็นแหล่งความรู้สำหรับนักเรียน […]

‘Sakamoto Days’ ช่วยซาคาโมโตะออกแบบร้านชำแห่งใหม่ในไทย ให้กลมกลืนกับพื้นที่และเฟรนด์ลีกับลูกค้าทุกคน

ถึงจะวางมือจากการรับจ้างฆ่าและผันตัวเป็นเจ้าของร้านขายของชำไปแล้ว แต่ดูเหมือนว่าในแต่ละวันของ ‘ซาคาโมโตะ ทาโร่’ ในการ์ตูนเรื่อง Sakamoto Days จะไม่ได้ขายของอย่างสงบสุขเลยสักครั้ง เพราะมีแขกไม่ได้รับเชิญเข้ามาเยี่ยมเยียนและสร้างความปวดหัวให้กับร้านทุกวัน และถ้าจะต้องเปิดร้านขายของไป เตรียมต่อสู้กับเหล่านักฆ่าที่หมายจะเอาค่าหัวไป ร้านชำแห่งนี้คงเจ๊งกะบ๊งแน่ๆ เพื่อความสงบสุข ครอบครัวซาคาโมโตะและเหล่าพนักงานอาจต้องโยกย้ายไปอยู่ทำเลใหม่ หลบหนีพวกนักฆ่า คอลัมน์ Urban Isekai ขอชวนซาคาโมโตะซังมาตั้งรกรากที่ไทย และช่วยออกแบบร้านชำแห่งใหม่ให้กลมกลืนกับพื้นที่ แถมได้ช่วยเหลือผู้คนตามที่ให้สัญญากับภรรยาด้วย เลือกทำเลในชุมชนให้อยู่ใกล้ผู้คนมากที่สุด ก่อนจะตั้งร้านก็ต้องเลือกทำเลที่บริการได้อย่างทั่วถึงก่อน เราจึงแนะนำซาคาโมโตะให้เลือกเปิดสาขาใหม่ในชุมชนที่อยู่ใกล้กับสถานที่สำคัญต่างๆ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล วัด เพื่อเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ที่ผู้คนจะนึกถึงเวลาซื้อของ และเพื่อความสะดวกสบายในการเข้าถึงบริการสาธารณะ (เกิดมีการต่อสู้ขึ้นมาอีกจะได้มีสถานที่รองรับ) รวมไปถึงเป็นคอมมูนิตี้เล็กๆ ให้คนในชุมชน หรือเหล่านักฆ่าที่ผันตัวมาเป็นครอบครัวพนักงานร้านชำซาคาโมโตะได้มาพบปะกัน ต้องการสินค้าอะไร ซาคาโมโตะหาได้ทุกอย่าง  เป็นแหล่งขายสินค้าในชุมชนทั้งทีก็ต้องพร้อมให้บริการอย่างครบวงจร ไม่ว่าใครต้องการอะไร ซาคาโมโตะจะหามาให้ทุกอย่าง ตั้งแต่สากกะเบือยันเรือรบ หากเป็นสินค้าที่ไม่มีอยู่ในสต๊อก ก็แค่แจ้งความต้องการทิ้งไว้ ถ้าได้สินค้าชิ้นนั้นมาแล้วทางร้านจะรีบแจ้งให้ลูกค้ากลับมารับสินค้าที่สั่งไว้ทันที แต่ขอเตือนเอาไว้ก่อนว่า อย่าคิดจะสั่งสินค้าที่หามาไม่ได้จริงๆ เพราะเหล่าลูกน้องนักฆ่าของซาคาโมโตะพร้อมจะสั่งสอนอยู่ตลอดเวลานะ! อาหารรองท้อง พร้อมดื่ม พร้อมทาน ไม่ใช่แค่ของใช้หรือของสดเท่านั้นที่มีให้ แต่ร้านแห่งนี้ยังเป็นสถานที่ฝากท้องให้คนในชุมชนด้วย กับเมนูง่ายๆ กินได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นน้ำเต้าหู้ […]

ตามล่า ‘ฝาท่อเยาวราช’ ผ่านแอปฯ Coral 18 ลาย 18 จุด แลกของรางวัลฟรี จาก รพ.เทียนฟ้ามูลนิธิ ถึงบริพัตร คลองโอ่งอ่าง

การเดินในเมืองจะไม่น่าเบื่ออีกต่อไป ด้วยแอปพลิเคชัน Coral ที่ชวนทุกคนมาตามล่าลาย ‘ฝาท่อเยาวราช’ เพื่อชมงานศิลปะและศึกษาประวัติศาสตร์ของย่านนี้ไปพร้อมๆ กัน เพียงแค่โหลดแอปฯ Coral จากนั้นเข้าไปในหน้ากิจกรรม ‘ฝาท่อ Chinatown เยาวราช’ แล้วเปิดแมปเดินตามเก็บ 18 ลายฝาท่อ จาก 18 โลเคชัน ตั้งแต่บริเวณหน้าโรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิไปจนถึงถนนบริพัตร คลองโอ่งอ่าง โดยใช้ฟังก์ชันเปลี่ยนจากฝาท่อจริงให้กลายเป็นของสะสมดิจิทัลลายฝาท่อได้เลย มากไปกว่านั้น ภายในแอปฯ ยังมีรายละเอียดภาพวาดและสถานที่ของลวดลายฝาท่อนั้นๆ ให้เราอ่านกันด้วย ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีในการศึกษาประวัติศาสตร์และเรื่องราวของพื้นที่บนถนนเยาวราชแบบสนุกๆ ด้วยการนำแนวคิด Gamification มาประยุกต์ ส่วนใครที่เก็บฝาท่อดิจิทัลคู่กับตัวฝาท่อจริงครบแล้ว ก็ไปแลกรับของที่ระลึกสุดน่ารัก สติกเกอร์ลายฝาท่อ และตราปั๊มได้ที่1) ร้าน Culture Connex ชุมชนเลื่อนฤทธิ์ เวลา 11.00 – 19.00 น. (ปิดวันจันทร์)2) อาคารพิชัยญาติ เคาน์เตอร์บริการลูกค้า ชั้น 2 เวลา 07.00 – 21.00 น. ทุกวัน3) ร้าน […]

‘บ้านผีเสื้อ’ เชียงใหม่ บ้านหลังแรกของโลก ที่ใช้พลังงานสะอาด และผลิตไฟฟ้าด้วยตัวเองได้ 100% 

บ้านพักอาศัยบนพื้นที่ 18 ไร่ ที่เชียงใหม่หลังนี้มีความโดดเด่นคือ เป็นบ้านที่พึ่งพาตนเองจากพลังงานแสงอาทิตย์ 100% โดยใช้เทคโนโลยีอิเล็กโทรไลเซอร์ไฮโดรเจนในการแปลงน้ำเป็นไฮโดรเจน เพื่อผลิต จัดเก็บ และใช้ไฮโดรเจนเป็นพลังงาน ทำให้บ้านสามารถผลิตพลังงานเองได้ทั้งหมดโดยไม่ต้องพึ่งพาโครงข่ายไฟฟ้า บ้านผีเสื้อ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 10 ปีก่อน โดยมีเป้าหมายในการลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ด้วยการใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนธรรมชาติที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ตอบสนองต่อความพยายามในการเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2065 ของประเทศไทย ที่นี่ใช้ระบบพลังงานแบบออฟกริดโดยอาศัยพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อนำมาขับเคลื่อนบ้านด้วยพลังงานสะอาดตลอด 24 ชั่วโมง แม้ในช่วงที่ไม่มีแสงแดด ก็ยังมีการจ่ายพลังงานอย่างต่อเนื่องและเสถียร โดยลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลและไม่ปล่อยคาร์บอน ด้วยระบบของแผงโซลาร์เซลล์ขนาด 140 กิโลวัตต์ (kWp) ซึ่งผลิตกระแสไฟฟ้าในช่วงกลางวันเพื่อใช้ในบ้านและตอบสนองความต้องการพลังงานทันที  ขณะที่พลังงานแสงอาทิตย์ส่วนเกินจะถูกนำมาผลิตไฮโดรเจนผ่านอิเล็กโทรไลเซอร์ขนาด 20 kW ที่ทำการแยกน้ำออกเป็นไฮโดรเจนและออกซิเจน ไฮโดรเจนจะถูกเก็บในรูปแบบก๊าซที่แรงดัน 35 บาร์ ในถังจะเก็บไฮโดรเจนได้สูงสุด 42 กิโลกรัม ซึ่งสามารถจ่ายพลังงานให้กับบ้านได้ประมาณ 600 กิโลวัตต์-ชั่วโมง (kWh) ในเวลากลางคืนหรือช่วงที่มีแสงแดดน้อย ไฮโดรเจนที่เก็บไว้จะถูกแปลงกลับเป็นกระแสไฟฟ้าโดยใช้ระบบเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน (Fuel Cell) ขนาด 8 กิโลวัตต์ […]

1 4 5 6 7 8 369

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.