เทพโลเคชัน หาโลเคชันถ่ายหนังแบบเทพๆ

เวลาเราดูภาพยนตร์สักเรื่องหนึ่ง เราจะเห็นตัวละครอาศัยอยู่ในสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโดฯ ห้างฯ หรือโรงเรียน ซึ่งเป็นสถานที่ที่พบเห็นได้ทั่วไปในเมืองของเรา แต่คนที่ทำหน้าที่สรรหาและจัดการให้สถานที่เหล่านี้มาปรากฏบนจอคือคนทำอาชีพ Location Manager ที่ต้องตามหาโลเคชันตามโจทย์ของผู้กำกับ และดูแลความเป็นไปของกองถ่ายและสถานที่ให้ออกมาอย่างราบรื่นที่สุด “อาชีพ Location Manager คือการดูแลความรู้สึกของเจ้าของสถานที่และกองถ่าย ต้องเยียวยาจิตใจของทั้งสองฝ่าย” Urban Creature ในคอลัมน์ The Professional ชวนคุยกับ ‘เทพ-ธัญญเทพ สุวรรณมงคล’ เจ้าของเพจ ThepLocation (เทพโลเคชัน) ที่ทำอาชีพ Location Manager มาถึง 20 ปี มีผลงานทั้งภาพยนตร์ ละคร โฆษณา และซีรีส์ โดยพูดถึงเบื้องหลังการจัดการโลเคชันถ่ายทำ และการเล่าเรื่องสถานที่ที่ไม่ได้เป็นแค่สถานที่ แต่คือผู้คน

บอกเล่าความเจ็บปวดด้วยงานศิลปะ กับนิทรรศการ ‘ผิดพลาด จึงผลิบาน’ วันนี้ – 28 มี.ค. 67 ที่ 1559 Space

คำว่า ‘ผิดพลาด’ สำหรับใครหลายคนอาจตีความหมายไปในแง่ลบ แต่แท้จริงแล้ว ความผิดพลาดนั้นถือเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้กับมนุษย์ทุกคน ขึ้นอยู่ว่าเมื่อเกิดขึ้นแล้วเราจะจมปลักอยู่กับมัน หรือลุกขึ้นสู้เพื่อเปลี่ยนความผิดพลาดให้เป็นพลังก้าวข้ามปัญหา เช่นเดียวกับ ‘นารฺซิด’ ศิลปินชาวไทยผู้ทำงานศิลปะเกี่ยวเนื่องกับตำนาน ความเชื่อ ศาสนา และการตีความ เมื่อปี 2564 เขาเลือกสลัดทิ้งความเศร้าจากการเผชิญหน้ากับปมหลายอย่างในชีวิตมาสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ผสมผสานความซับซ้อนของปรัชญา ความเชื่อ และจิตวิญญาณ ถ่ายออกมาผ่านภาพวาดเชิงเปรียบเทียบด้วยประติมานทางศาสนาและสัญญะจากปกรณัมต่างๆ จนเกิดเป็นนิทรรศการ ‘ผิดพลาด จึงผลิบาน’ (Broken, thus Bloom) ผิดพลาด จึงผลิบาน เป็นนิทรรศการที่ถ่ายทอดเรื่องราวของการยอมรับถึงธรรมชาติอันเปราะบางของมนุษย์ ว่าเป็นเรื่องแสนธรรมดาที่เราต้องเผชิญหน้ากับการสูญสลายของตัวตนก่อนที่จะเริ่มเดินทางสู่ความสมบูรณ์ของจิตใจ นารฺซิดได้นำเอาแนวคิดของ Carl Gustav Jung นักจิตวิทยาชาวสวิตเซอร์แลนด์ที่พูดถึงเรื่อง ‘จิตไร้สำนึกที่สะสมมาแต่อดีตกาล’ (Collective Unconscious) มาใช้อธิบายเรื่องราวความเจ็บปวดผ่านผลงานภาพวาดทั้ง 11 ชิ้น ที่จะเป็นตัวเชื่อมโยงเรื่องราวของผู้คน และสร้างช่องว่างให้พวกเขาเติมเรื่องราวของตัวเองเข้าไปได้อีกด้วย มาร่วมเดินทางสู่ความสมบูรณ์ของจิตใจกับนิทรรศการ ผิดพลาด จึงผลิบาน (Broken, thus Bloom) ได้แล้ววันนี้ – 28 มีนาคม 2567 ที่ […]

สวมวิญญาณนักเดินทาง สำรวจดาวอาร์ราคิสใน Dune ตามหา ‘สไปซ์’ เพื่อกลับไปช่วยโลก

ในอนาคตอันแสนไกลนับหมื่นปี เทคโนโลยีเดินทางในอวกาศได้ก้าวล้ำจนมนุษย์อาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วทั้งกาแล็กซี ด้วยการใช้ ‘สไปซ์ เมลานจ์’ (Spice Melange) สารเสพติดที่มีค่ามากที่สุดในจักรวาล เพราะใช้ในการเดินทางในอวกาศได้อย่างปลอดภัย ยืดอายุขัย และช่วยเพิ่มพูนทักษะต่างๆ ทว่าสิ่งนี้กลับมีอยู่แค่ในดาว ‘อาร์ราคิส’ (Arrakis) เพียงดวงเดียวในจักรวาลเท่านั้น ในขณะที่ดาวโลกสีน้ำเงินของเรากำลังตกอยู่ในวิกฤตโลกเดือด และทุกพื้นที่กำลังกลายเป็นทะเลทรายจนมนุษย์ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ ทำให้เราต้องรีบค้นหาดาวเคราะห์ดวงใหม่สำหรับมนุษยชาติด้วยการตามหา ‘สไปซ์’ ชาว Urban Creature ขออาสาเป็นนักเดินทางจากดาวโลก พาทุกคนมาสำรวจดวงดาวอาร์ราคิสอันโด่งดังในจักรวาล ‘Dune’ กัน นอกจากการตามหาสไปซ์แล้ว เรายังควรดูดาวอาร์ราคิสเป็นกรณีศึกษาในกรณีที่โลกทั้งใบได้กลายเป็นทะเลทรายไปแล้วจริงๆ เทียบท่าจอด ณ ‘อาร์ราคิส’ ดวงดาวที่ร้อนกว่าประเทศไทย แค่ก้าวเท้าลงมาจากยาน อากาศที่ร้อนระอุกว่า 60 องศาเซลเซียสก็พัดกระแทกหน้าอย่างจัง ที่นี่ร้อนกว่าเมืองไทยของเราเสียอีก มองไปทางไหนก็เห็นแต่เนินทรายสีทองกว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตา ก่อนเราจะก้าวลงเดินบนพื้นทราย ไกด์นำทางของเราได้ยื่นชุด ‘สติลสูท’ (Stillsuit) ให้ เพราะชุดนี้จะรีไซเคิลของเหลวในร่างกายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นของเสีย เหงื่อ ปัสสาวะ หรือแม้แต่ลมหายใจของเรา ให้กลับมาเป็นน้ำใช้ใหม่อีกครั้ง เพื่อป้องกันผู้สวมใส่ไม่ให้ขาดน้ำตายบนความแห้งแล้งของอาร์ราคิส คืนนี้เราจะนอนกันที่ ‘อาร์ราคีน’ (Arrakeen) เมืองหลวงของดาวอาร์ราคิส ก่อนที่จะออกไปตามล่าสไปซ์ในวันรุ่งขึ้น […]

ชมฟรี ‘Five Films for Freedom’ เทศกาลภาพยนตร์สั้น LGBTQIA+ ที่หอภาพยนตร์ 16 มี.ค. และทางออนไลน์

สื่อบันเทิงอย่างภาพยนตร์นั้นถือว่าเป็นตัวกลางที่ช่วยสร้างความรู้และความเข้าใจต่างๆ ให้กับสังคมได้ง่ายที่สุด เช่นเดียวกับเทศกาลภาพยนตร์สั้นเพื่อความหลากหลายทางเพศ ‘Five Films for Freedom’ ที่จัดขึ้นโดย British Council ร่วมกับ BFI Flare เทศกาลภาพยนตร์ LGBTQIA+ จากกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ที่ใช้ภาพยนตร์สั้นเรียกร้องต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยเปิดให้ชมฟรีทางออนไลน์ทุกๆ ปี ปีนี้ Five Films for Freedom กลับมาอีกครั้ง พร้อมเฉลิมฉลองครบรอบปีที่ 10 ด้วยการนำภาพยนตร์เข้ามาฉายที่หอภาพยนตร์ ให้ชาวไทยได้รับชมหนังสั้น 5 เรื่องจาก 5 ประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักร อินเดีย สเปน ฟิลิปปินส์ และสหรัฐอเมริกา พร้อมกับอีก 1 ภาพยนตร์จากประเทศไทย รวมถึงวงเสวนาเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ ในวันที่ 16 มีนาคม 2567 ที่หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) โดยภาพยนตร์ทั้ง 5 เรื่องนี้นำเสนอเรื่องราวของ LGBTQIA+ จากทั่วโลกที่ต้องพบเจอภายใต้สภาพสังคมและเรื่องราวอันโหดร้ายผ่านมุมมองของความแตกต่างทางเพศ […]

เปิดไทม์ไลน์ ‘สร้าง เสริม ซ่อม’ ถนนพระราม 2 ถนนสายประวัติศาสตร์ที่กำลังสร้างมากว่าครึ่งศตวรรษ

แม้จะเป็นเหมือนมุกตลกร้าย แต่เมื่อมองให้ลึกถึงสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคเก่าและยุคใหม่อย่าง ‘มหาพีระมิด เมืองกีซา ประเทศอียิปต์’ และ ‘ทัชมาฮาล เมืองอาครา ประเทศอินเดีย’ ทั้งสองแห่งใช้เวลาในการสร้างรวมกันแล้วยังน้อยกว่า ‘ถนนพระราม 2’ เสียอีก ถนนพระราม 2 หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 ถือเป็นหนึ่งเส้นทางหลักในการเดินทางของพี่น้องชาวฝั่งธนฯ และเป็นถนนสายสำคัญที่เชื่อมไปยังภาคใต้ ซึ่งแท้จริงถนนเส้นนี้สร้างเสร็จมานานแล้ว แต่มีโครงการเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร และยังคงมีการก่อสร้างอยู่เป็นเวลา 54 ปีหากนับถึงตอนนี้ จนทำให้การจราจรติดขัดและเกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เราขออาสาพาไปดูไทม์ไลน์ถนนประวัติศาสตร์เส้นนี้ว่ามีจุดเริ่มต้นอย่างไร เพื่อคลายข้อสงสัยว่าทำไมมันถึงสร้างไม่เสร็จสักที ยุคแรกสร้างถนนพระราม 2 (พ.ศ. 2513 – 2516) ก่อนที่จะมีการสร้างถนนพระราม 2 ประเทศไทยมี ‘ถนนเพชรเกษม’ เป็นถนนสายหลักที่มุ่งสู่ภาคใต้อยู่แล้ว แต่ในช่วงสมัยรัฐบาลของ ‘จอมพล ถนอม กิตติขจร’ มีนโยบายให้สร้างถนนพระราม 2 ขึ้น ตัดผ่านกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดราชบุรี โดยเริ่มจากถนนสุขสวัสดิ์ (เขตจอมทอง กรุงเทพฯ) ไปบรรจบกับถนนเพชรเกษม (วังมะนาว […]

เสริมความมั่นใจแบบไม่ทำลายโลก ‘Bohktoh’ ขนตาปลอมย่อยสลายได้ ผลิตจากพลาสติกชีวภาพ

บางครั้งเราอาจลืมนึกไปว่า เครื่องสำอางหรืออุปกรณ์เสริมความงามของเราจะเป็นมลพิษต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้ เพราะพลาสติกจากผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายไม่สมบูรณ์ จะทำให้เกิดการแบ่งตัวเป็นพลาสติกขนาดเล็กหรือไมโครพลาสติกกระจายไปตามแหล่งน้ำหรือล่องลอยไปในอากาศ เพื่อลดการเกิดไมโครพลาสติกเหล่านั้น Urban Creature ขอแนะนำไอเทมที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและเสริมสร้างความมั่นใจให้เราไปพร้อมๆ กัน ด้วยขนตาปลอมรุ่น ‘Sisnature Lash’ ที่ย่อยสลายได้จาก Bohktoh แบรนด์ขนตาปลอมของประเทศไทย แม้ขนตารุ่นนี้จะมีความฟุ้ง ฟู ยาว ตรงตามมาตรฐานขนตาในอุดมคติ แต่ตัวขนตานั้นมีน้ำหนักเบา ไม่หนา สบายตา อีกทั้งยังผลิตจากพลาสติก Polylactic Acid (PLA) หรือพลาสติกชีวภาพที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ไหม เส้นผมของมนุษย์ และเส้นใยจากพืช ความพิเศษคือ หากไม่ใช้งานแล้วขนตาจะสลายตัวตามธรรมชาติในเวลา 180 วัน โดยไม่ปล่อยสารเคมีที่เป็นอันตรายหรือก่อให้เกิดมลพิษจากไมโครพลาสติก เพราะปกติแล้วขนตาสังเคราะห์ที่ทำจากเส้นใยปิโตรเคมีใช้เวลาหลายร้อยปีในการย่อยสลาย โดยปล่อยสารเคมีที่เป็นพิษสู่สิ่งแวดล้อมในขณะที่สลายตัวด้วย นอกจากนี้ กล่องบรรจุภัณฑ์ยังผลิตจากกระดาษคราฟต์ หรือ Bio Kraft Paper และพลาสติกที่ย่อยสลายได้ (PLA) ทำให้มั่นใจได้เลยว่า นอกจากจะแข็งแรงทนทานแล้ว ยังย่อยสลายได้เช่นเดียวกันกับขนตาปลอม ใครที่สนใจ ขนตารุ่น Sisnature Lash วางจำหน่ายแล้วที่ EVEANDBOY, […]

ทำไมบางเมืองถึงยอมแลกความเจริญกับการถูกถอดออกจากมรดกโลก

‘รักษาสิ่งเก่า’ หรือ ‘พัฒนาไปสู่สิ่งใหม่’ ถ้าสองอย่างนี้สามารถดำเนินไปด้วยกันได้คงจะดี แต่บางครั้งเราก็จำเป็นต้องเลือก โดยเฉพาะยามที่มีเรื่องผลประโยชน์ของส่วนรวมเข้ามาพัวพันด้วย ‘เมืองอยุธยาเสี่ยงจะถูกถอดออกจากมรดกโลกเพราะรถไฟความเร็วสูง’ หากมองจากสายตาคนนอก คงเป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับโบราณสถานที่มีอายุมากกว่าหลายร้อยปี แต่ในสายตาของคนท้องถิ่น คนจำนวนไม่น้อยต้องการความเจริญอย่างรถไฟความเร็วสูงมากกว่าการเป็นมรดกโลก และสิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในไทย ก่อนอื่นขออธิบายก่อนว่า ‘แหล่งมรดกโลก’ คือพื้นที่ทางธรรมชาติหรือสิ่งก่อสร้างรวมไปถึงเมือง ที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือด้านอื่นๆ ซึ่งได้รับการปกป้องคุ้มครองทางกฎหมายตามอนุสัญญาว่าด้วยเรื่อง ‘มรดกโลก’ ของยูเนสโก เพื่อให้ประชาชนเกิดการตระหนักรู้ในการอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบทอดต่อไป และที่สำคัญคือ การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์จะนำรายได้ไม่น้อยมาให้ท้องถิ่นและชุมชน ทุกอย่างเหมือนจะดูดี แต่เหรียญย่อมมีสองด้านเสมอ บางครั้งกฎเกณฑ์ที่มากเกินไปอาจทำให้การพัฒนาพื้นที่ทำได้ยากกว่าเดิม จึงมีบางประเทศเลือกที่จะยอมถูกถอดออกจากมรดกโลกเพื่อต้องการพัฒนาเมืองให้ดีกว่าเดิม ยกตัวอย่าง เมืองลิเวอร์พูล (Liverpool) ประเทศอังกฤษ และเมืองเดรสเดิน (Dresden) ประเทศเยอรมนี ที่ชาวเมืองสนับสนุนการพัฒนาเมืองมากกว่าการเป็นเมืองมรดกโลก หรือมรดกโลกอาจขัดขวางการพัฒนาเมือง จากความจริงที่ว่า ‘เมืองไม่เคยหยุดนิ่ง’ จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและเม็ดเงินที่ไหลเวียนเข้ามา ย่อมนำมาซึ่งการขยับขยายพัฒนาเมืองเพื่อตอบโจทย์ชาวเมือง ปฏิเสธไม่ได้ว่า การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทำให้เมืองไม่สามารถขยับตัวพัฒนาในบางจุดได้เท่าที่ควร และในเมื่อต้องเลือกเพียงแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง หนึ่งในเมืองที่ขึ้นทะเบียนเมืองมรดกโลกอย่าง ‘ลิเวอร์พูล’ จึงเลือกหันหลังให้มรดกโลกเพื่อแลกกับความเจริญ ‘ลิเวอร์พูล มาริไทม์ เมอร์แคนไทล์ ซิตี’ (Maritime Mercantile City) […]

เบาะนั่งจากกระบองเพชรและอวนจับปลา ทางเลือกของสายการบินแบบยั่งยืน เพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี 2050

ธุรกิจสายการบินเป็นสาเหตุหลักๆ ในการสร้างมลภาวะทางอากาศ ทำให้หลายบริษัทต่างหาวิธีการดำเนินงานบนความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และแข่งขันกันเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 ซึ่งหนึ่งในวิธีการแก้ปัญหาของธุรกิจเหล่านี้เริ่มจากการเปลี่ยนที่นั่งบนสายการบินให้เป็นวัสดุรีไซเคิล ภายในงาน Singapore Airshow ที่เป็นงานแสดงการบินและอวกาศระหว่างประเทศ ได้มีการเปิดตัว ‘RECARO Aircraft Seating GmbH’ ที่นั่งชั้นประหยัดจากบริษัทเยอรมนี ที่ทำขึ้นจากโฟมรีไซเคิลในที่นอนเก่า ที่วางแขนประกอบด้วยไม้และสารประกอบไม้ก๊อก ด้านหลังมีกระเป๋าตาข่ายทำจากตาข่ายดักปลา ส่วนผิวกระบองเพชรกลายเป็นทางเลือกแทนการใช้พลาสติกหรือหนังสัตว์ในการห่อหุ้มตัวเบาะ วัสดุกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของเบาะนั่งนั้นทำมาจากวัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ รวมไปถึงตัวเบาะเองก็สามารถรีไซเคิลได้ นอกจากนี้ ด้วยน้ำหนักที่ค่อนข้างเบากว่าเบาะปกติยังเป็นการช่วยประหยัดเชื้อเพลิงบนเครื่องบินอีกด้วย ที่นั่งดังกล่าวจะพร้อมจำหน่ายในปีนี้ โดยคาดว่าจะมีการส่งมอบครั้งแรกในปี 2025 เพราะส่วนประกอบบางอย่างยังต้องได้รับการรับรอง ไม่แน่ว่าในอนาคต ผู้โดยสารจากสายการบินต่างๆ อาจจะได้นั่งเบาะที่ทำจากหนังกระบองเพชรและอวนจับปลาที่ถูกทิ้งร้าง เนื่องจากอุตสาหกรรมการบินพยายามทำทุกวิธีเพื่อเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นรูปแบบการขนส่งที่ยั่งยืนให้ได้มากที่สุด Sources :Daily Maverick | bit.ly/3uZfqNGTimes of india | bit.ly/3TwT8wh

Yeodamjae Library เปลี่ยนวัดร้างกลางภูเขาในกรุงโซล ให้กลายเป็นห้องสมุดเด็กและประวัติศาสตร์เฟมินิสต์

ในวันที่คนเกาหลีใต้ไม่ชอบเด็กจนพบเห็นป้าย ‘ห้ามเด็กเข้า’ หรือ ‘เขตปลอดเด็ก’ ทั่วไป อีกทั้งยังเป็นสังคมปิตาธิปไตยที่สร้างความเกลียดชังต่อ ‘เฟมินิสต์’ (Feminist) และ ‘ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ’ (LGBTQIA+) แต่บริเวณใจกลางภูเขา Naksan เขต Changsin-dong แขวง Jongno-gu ในเมืองโซล ยังมีพื้นที่แห่งหนึ่งที่โอบกอดพวกเขาเหล่านั้นไว้ ภายใต้สถาปัตยกรรมทางศาสนา นั่นก็คือ ‘Yeodamjae Library’ Yeodamjae Library เป็นห้องสมุดสาธารณะที่แต่เดิมเคยเป็นวัดในพุทธศาสนาชื่อ Wongaksa ที่สร้างขึ้นในปี 1983 ก่อนจะถูกทิ้งร้างในปี 2003 เนื่องจากมีการสร้างกำแพงกันดินสำหรับอะพาร์ตเมนต์ใกล้เคียง ทำให้ผู้คนเข้าไปในสถานที่ได้จากเส้นทางภูเขาทางเหนือที่ทอดจากภูเขา Naksan เท่านั้น จนกลายเป็นสถานที่มั่วสุมของเด็กและเยาวชน เดิมที Yeodamjae Library ถูกวางแผนให้เป็นห้องสมุดเทศบาลสำหรับเด็ก โดยสำนักงานเขต Jongno-gu แต่ไม่ประสบความสำเร็จในระหว่างการเจรจา ทำให้ภายหลัง รัฐบาลกรุงโซล (SMG) ที่กำลังผลักดันให้มีการก่อสร้างศูนย์วัฒนธรรมสำหรับพลเมืองหญิงในขณะนั้นได้เข้ามาสานต่อโครงการ โดยร่วมมือกับสตูดิโอออกแบบ Emer-sys แผนการคือเปลี่ยนสถาปัตยกรรมโบราณแห่งนี้ให้กลับมาสวยงามและใช้งานได้อีกครั้ง ด้วยการรื้อกำแพงกันดินเดิมที่กั้นระหว่างวัดกับสวนสาธารณะออก และสร้างอาคารกระจกเชื่อมตัววัด เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานในอนาคต โดยมีห้องสมุดเด็กและสตรีนิยมเป็นหัวใจหลัก ทำให้ภายใน […]

Urban Regeneration of Hat Yai Inner City ธีสิสฟื้นฟูเมืองหาดใหญ่ สร้างย่านเศรษฐกิจใหม่จากพื้นที่เดิม

‘หาดใหญ่’ เปรียบเสมือนเมืองหลวงของภาคใต้ที่มีพหุวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของผู้คนที่หลากหลาย เนื่องด้วยเป็นชุมทางรถไฟสายใต้ที่มีพื้นที่ติดต่อค้าขายกับประเทศมาเลเซีย แต่ปัจจุบันเมืองท่าแห่งนี้กลับเงียบเหงากว่าอดีตมาก หลังจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 เมื่อหลายปีที่ผ่านมา เพราะมีการปิดพรมแดนระหว่างไทย-มาเลเซีย ซึ่งถือเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ ด้วยเหตุนี้ ‘เกรท-กมลฉัตร ชื่นจิตต์ศิริ’ อดีตนิสิตภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เกิดและเติบโตในพื้นที่หาดใหญ่ ตัดสินใจทำธีสิส ‘Urban Regeneration of Hat Yai Inner City’ ออกแบบพื้นที่ไฮไลต์ในตัวเมืองหาดใหญ่ใหม่ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในบ้านเกิดให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง คอลัมน์ Debut ชวนทุกคนนั่งรถไฟลงใต้ ไปสำรวจความเป็นไปได้ของการพัฒนาเมืองที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ผ่านธีสิสของลูกหลานหาดใหญ่คนนี้กัน จุดเริ่มต้นการฟื้นฟูของหาดใหญ่ “เราโตมากับหาดใหญ่ พอได้ทำธีสิสเลยเลือกพื้นที่ตรงนี้มาพัฒนา เพราะเห็นว่าปัจจุบันตัวเมืองค่อนข้างเงียบเหงา ซึ่งเรามองว่าหาดใหญ่สามารถไปได้ไกลกว่านี้” เกรทเล่าถึงความตั้งใจในการทำธีสิส โดยยึดจากปัญหาที่พบในบ้านเกิดของเธอเอง เดิมทีหาดใหญ่ได้รับความเจริญจากการเข้ามาของ ‘สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่’ ที่แบ่งการเดินทางแยกออกเป็น 2 สาย คือ ปลายทางสถานีรถไฟสุไหงโก-ลก และปลายทางเมืองบัตเตอร์เวิร์ท ประเทศมาเลเซีย นอกจากนี้ยังมีท่าอากาศยานหาดใหญ่ ที่ทำให้เมืองนี้มีบทบาทเป็นพื้นที่จุดศูนย์กลางการเดินทาง ควบตำแหน่งเมืองการค้าที่สำคัญเนื่องจากติดกับชายแดน แหล่งรวมความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชุมชนคนไทย จีน และมุสลิม ที่ตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่ มากไปกว่านั้น ทางเทศบาลนครหาดใหญ่ยังมีการวางแผนสร้างระบบ ‘รถไฟฟ้ารางเดี่ยว’ […]

ป๊อก ป๊อก รับหิ้วมื้อเด็ดส่งถึงที่

หากเราขี้เกียจจะเดินออกไปกินข้าวแต่อยากกินอาหารมากมาย สิ่งที่เราทำก็คงหนีไม่พ้นการสั่ง Food Delivery ให้มาส่งถึงหน้าบ้านของเรา แต่กว่าจะเลือกอาหารที่จะกินได้ก็คงเสียเวลาเลือกร้านอาหารที่ถูกใจไม่ใช่น้อย จะดีกว่าไหมถ้าหากมีบริการที่เลือกร้านอาหารเด็ดมาให้แล้วเราแค่เลือกจากในนั้น Pok Pok คือแพลตฟอร์มที่รวมร้านอาหารเด็ดมากมาย จนเหมือนกับเราไปเดินหาของกินใน Food Court ที่มีทั้งร้านดังที่มีชื่อเสียง หรือร้านเด็ดประจำถิ่น รับหิ้วมาให้เราในครั้งเดียว และหลายครั้งยังบริการส่งอาหารข้ามโซนโดยไม่เสียค่าส่ง อีกทั้งวิธีการที่ Pok Pok ให้ลูกค้าสั่งอาหารนั้นก็ง่ายดายจนติดใจกลุ่มผู้สูงวัยจนกลายเป็นลูกค้าประจำ Urban Creature คุยกับ ‘นาย-นัฐพงษ์ จารวิจิต’ ผู้ร่วมก่อตั้ง Pok Pok ถึงจุดเริ่มต้นของธุรกิจนี้ และความคาดหวังที่จะกลายเป็น 1 ใน Food Delivery ที่ใครๆ ก็หันมาใช้กัน

เปิดเวที THE POWER BAND 2024 SEASON 4 เฟ้นหาสุดยอดวงดนตรีหน้าใหม่ ที่เป็นได้สุด เป็นไปได้ ด้วยพลังแห่งดนตรี

เผลอแป๊บเดียวเวทีประกวดเฟ้นหาสุดยอดวงดนตรีหน้าใหม่อย่าง ‘THE POWER BAND’ ที่จัดกันเป็นประจำทุกปี ก็เข้าสู่ปีที่ 4 แล้ว โดยปีนี้กลับมาอีกครั้งด้วยคอนเซปต์ ‘Let The Music Power Your World เป็นได้สุด เป็นไปได้ ด้วยพลังแห่งดนตรี’ ครั้งนี้ ‘King Power’ จัดใหญ่ จับมือกับคนในอุตสาหกรรมดนตรีอย่างคับคั่ง ไม่ว่าจะเป็นวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ 6 ค่ายเพลงดัง ได้แก่ Muzik Move, LOVEiS Entertainment, Smallroom, What The Duck, Warner Music Thailand และ XOXO Entertainment ที่พร้อมมาส่งต่อประสบการณ์และถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เข้าร่วมประกวดทุกคน ถ้าถามว่า ‘THE POWER BAND 2024 SEASON 4’ ในครั้งนี้จัดใหญ่จัดเต็มแค่ไหน วันนี้คอลัมน์ Art Attack […]

1 6 7 8 9 10 331

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.