
LATEST
kintaam ไอศกรีมแซนด์วิชจากเชียงใหม่ ที่หยิบวัตถุดิบไทยมาสร้างสรรค์เมนูให้คนกินตามอัธยาศัย
ลัดเลาะเข้ามาในซอยสาทร 11 ท่ามกลางเสียงเจี๊ยวจ๊าวของเด็กๆ และภาพคนทำงานเดินขวักไขว่ ร้านไอศกรีมเล็กๆ ตั้งตระหง่านอยู่ริมถนน ประตูหน้าร้านถูกเปิดเข้า-ออกเป็นระยะ ช่วงเวลาสั้นๆ ที่ใช้ในร้าน ผู้คนที่เดินเข้าไปต่างกลับออกมาพร้อมกับแซนด์วิชหนึ่งชิ้นและรอยยิ้มกว้าง kintaam (กินตาม) คือชื่อร้านที่เราพูดถึง นี่คือแบรนด์ไอศกรีมแซนด์วิชของ น้ำอบ-ถมทอง ไชยจินดา และ น้ำทิพย์ ไชยจินดา สองพี่น้องชาวเชียงใหม่ผู้รักไอศกรีม ขนมอบ และการทดลองเป็นชีวิตจิตใจ พวกเธอไม่ได้เป็นนักธุรกิจ ก่อนจะเปิดร้านก็ไม่ถึงกับเชี่ยวชาญในการทำไอศกรีม มีเพียงความชอบกิน ความสนุกจากการสร้างสรรค์ และความกล้าบ้าบิ่นอีกหนึ่งหยิบมือที่เป็นส่วนผสมในการสร้างแบรนด์ขึ้นมา กินตามเกิดขึ้นจากธุรกิจไอศกรีมพรีออเดอร์ช่วงโควิด เติบโตสู่ไอศกรีมฝากขายในร้านอาหารเหนือ หอมด่วน และร้านขายของชำสุดชิก The Goodcery เพียงสองขวบปี สองสาวก็สร้างร้านของตัวเองที่เชียงใหม่และกรุงเทพฯ ได้สำเร็จ คอลัมน์ประจำจังหวัดครั้งนี้ขอชวนทุกคนล้างมือให้สะอาด แล้วตามไปกินกินตาม ไอศกรีมแซนด์วิชที่เรารับรองว่าไม่มีใครเหมือน พลางฟังน้ำอบและน้ำทิพย์เล่าเรื่องการทำแบรนด์ไอศกรีมที่เรามั่นใจว่าไม่เหมือนใคร เตือนอีกครั้งก่อนกินว่า วิธีกินที่ถูกต้องคือกินแบบเบอร์เกอร์ ไม่ต้องใช้ช้อนส้อม แค่จับด้วยสองมือแล้วกัดเท่านั้น เชื่อเถอะว่าจะเลอะสักนิดสักหน่อยก็ไม่เป็นไรหรอก กิน’ติม kintaam มาจาก ‘กินตามอัธยาศัย’ วลีที่คนในครอบครัวของน้ำอบและน้ำทิพย์ชอบใช้บ่อยๆ ครอบครัวของสองพี่น้องไม่ได้ทำธุรกิจเกี่ยวกับไอศกรีมมาก่อน หากจะมีอะไรที่จุดประกาย คงเป็นความชอบในการกินและทำขนมของน้ำทิพย์ เรื่องมีอยู่ว่า หน้าร้อนในปีที่โควิดระบาดหนัก […]
‘ให้พื้นที่ตัวเองได้หายใจบ้าง’ ลองเปลี่ยนจาก ‘ตั้งเป้าในปีหน้า’ เป็น ‘ขอบคุณสำหรับปีนี้’
กะพริบตาไม่กี่ครั้ง เวลาก็ผ่านมาจะหมดเดือนธันวาคมของปีแล้ว ทุกๆ ปี ผู้เขียนกับเพื่อนๆ จะมีกิจกรรมโรแมนติกของเราคือการเขียนข้อตั้งใจหรือความหวังที่อยากให้เป็นจริงในปีใหม่ที่กำลังจะถึงนี้ หรือเรียกสั้นๆ แต่ก็ยาวอยู่ดีว่า ‘New Year’s Resolution’ แต่ได้โปรดอย่าลืมว่าชีวิตประจำวันก็กดดันพอแล้ว อย่ากดดันกับการคาดหวังถึงอนาคตเกินไปเลย หากเราไม่ชอบตัวเองในปีนี้ อยากก่นด่า อยากทำโทษตัวเอง แล้วฝากใจไว้ปีหน้าว่าต้องดีกว่าตอนนี้ให้ได้ จนนำความโกรธแค้น ความไม่ได้ดั่งใจของปีนี้ไปนำทาง ก็ยากที่จะไปถึงความรู้สึกดีๆ ที่ฝันไว้ได้ เพราะตัวเราเองแทบไม่คุ้นชินกับความรู้สึกดีๆ ไหนเลย หลายครั้งที่ข้อตั้งใจของเราไม่สำเร็จดังวาดไว้ เพราะระบบในร่างกายเราต้องใช้เวลาปรับตัวเข้ากับ ‘สิ่งใหม่’ นั้น ช่วงแรกๆ แน่นอนว่ายังมีพลังจะทำตามข้อตั้งใจ แต่เมื่อถึงช่วงหมดโปรโมชัน เกิดความท้อ ความกลัว ความเหนื่อย ความขี้เกียจเข้ามาแทรก มันก็ง่ายที่เราจะกลับไปอยู่ในจุดเดิมที่ตัวเองชินมานาน อยู่ในอารมณ์ไหนบ่อย จิตใจเราก็จะชิน เมื่อเราฝากความหวังไว้กับปีหน้า ตั้งตาต้อนรับสิ่งที่ฝันไว้ แต่ไม่เคยซ้อมหรือกระทั่งเตรียมใจปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงดีๆ นี้เลย ก็เป็นการยากที่จะมีสะพานเชื่อมความฝันกับความจริงให้มาเจอกัน เช่น ปีหน้าอยากรวยขึ้นเดือนละหมื่นบาท แต่ปีนี้ไม่ได้วางแผนการเงินเพิ่ม ฝึกตัวเองให้ขยันขึ้น หรืออย่างน้อยรู้สึกเชื่ออย่างสุดใจว่าเราคู่ควรกับเงินที่เพิ่มขึ้น ก็ไม่แปลกที่มันจะไม่เกิดขึ้นจริง อีกอย่าง เมื่อเราคุ้นเคยกับสิ่งไหน เราก็มักดึงตัวเองกลับไปสู่สิ่งนั้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เราคิดว่าดีหรือแย่ เพราะความคุ้นเคยที่ทำบ่อยๆ ได้กลายเป็นสิ่งที่เรารู้สึกปลอดภัยกับมันไปแล้ว รวมไปถึงนิสัยและอารมณ์ด้วย […]
ร่วมออกแบบอนาคตจังหวัดของตัวเอง UNDP ชวนประชาชนใน 15 จังหวัดนำร่องทำแบบสอบถามเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
‘การพัฒนาที่ยั่งยืน’ ถือเป็นเป้าหมายที่หลายภาคส่วนต้องการผลักดันให้เกิดขึ้น เพราะจะช่วยส่งเสริมความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของผู้คนอย่างรอบด้านในระยะยาว แต่แนวคิดนี้จะเกิดขึ้นได้จริงและพัฒนาเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อประชาชนทุกคนช่วยกันส่งเสียงและระบุต้นตอปัญหาในพื้นที่ของตัวเอง เพราะเชื่อว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นเรื่องของทุกคน โครงการ SDG Localization จาก UNDP อยากชวนประชาชนใน 15 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก อุดรธานี นครราชสีมา อุบลราชธานี กรุงเทพมหานคร เพชรบุรี ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ร่วมกันทำแบบสอบถามเพื่อออกแบบสังคมที่ยั่งยืนในจังหวัดของตัวเอง UNDP จะนำข้อมูลเกี่ยวกับความเร่งด่วนของปัญหาและความต้องการของประชาชนที่ได้รับจากแบบสอบถามนี้ ไปร่างและออกแบบแผนพัฒนาระดับจังหวัดให้สอดคล้องกับ 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และสอดรับกับปัญหาที่มีความเฉพาะตัวในแต่ละพื้นที่ ร่วมกับกระทรวงมหาดไทยและสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่อไป ร่วมทำแบบสอบถามออนไลน์และแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นเรื่องความยั่งยืนได้ที่ bit.ly/3TtWjoN
Heart GURU การ์ดเกมว่าด้วยเรื่องหัวใจ ความสัมพันธ์ และเพศสัมพันธ์ ที่อยากให้สังคมไทยตระหนักรู้เรื่องความรุนแรงทางเพศมากขึ้น
‘ความรุนแรงทางเพศ’ และ ‘อคติทางเพศ’ ในสังคมไทยเปรียบเสมือนสำนวนภาษาอังกฤษที่ว่า ‘Elephant in the Room’ ซึ่งหมายถึงปัญหาใหญ่ที่ทุกคนรับรู้ดี เห็นได้ชัดเจน แต่กลับหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงหรือตั้งใจทำเป็นมองไม่เห็นมัน ไม่ว่ากี่ปีผ่านไปเราก็ยังเห็นปัญหาเหล่านี้กันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ผ่านเรื่องเล่าของคนใกล้ตัวที่ตกเป็นเหยื่อ หรือแม้แต่พาดหัวข่าวตามสื่อต่างๆ ที่สะท้อนว่าการใช้ความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศได้ฝังรากลึกอยู่แทบทุกแวดวง ไม่ว่าจะเป็นวงการบันเทิง การศึกษา ภาคธุรกิจ หรือแม้แต่ในพรรคการเมืองเองก็ตาม ทว่ายังมีกลุ่มคนจำนวนไม่น้อยที่พยายามส่งเสียงและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ หนึ่งในนั้นคือ Thaiconsent สื่อออนไลน์ที่อยากชวนสังคมไทยพูดคุยเรื่องเพศและความสัมพันธ์ในเชิงลึก Thaiconsent พยายามสื่อสารประเด็นเรื่องเพศผ่านช่องทางออนไลน์มาตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรุนแรงทางเพศ การล่วงละเมิดทางเพศ รวมถึงความยินยอมพร้อมใจในการมีเพศสัมพันธ์ (Sexual Consent) และล่าสุด Thaiconsent ต้องการสื่อสารกับผู้คนในรูปแบบใหม่ จึงพัฒนาและออกแบบการ์ดเกม ‘Heart GURU รอบรู้เรื่องหัวใจ’ โดยตั้งใจทำให้เป็นสื่ออีกประเภทหนึ่งที่ส่งต่อข้อมูลที่ถูกต้อง และชวนให้คนแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ในมิติต่างๆ ตามไปคุยกับ ‘นานา-วิภาพรรณ วงษ์สว่าง’ ผู้ก่อตั้ง Thaiconsent ถึงแนวคิดเบื้องหลังการออกแบบการ์ดเกม Heart GURU และความตั้งใจที่จะส่งต่อความรู้เกี่ยวกับหัวจิตหัวใจ ความสัมพันธ์ และเพศสัมพันธ์ ให้ไปถึงคนจำนวนมากที่สุด จุดเริ่มต้นของ Heart GURU นานาเล่าย้อนความให้ฟังว่า […]
ถุงกาแฟลดปัญหาขยะพลาสติกจากแบรนด์ ‘North Star Coffee’ ที่ทุกส่วนย่อยสลายได้ 100%
ในทุกๆ ปี การผลิตพลาสติกนั้นใช้น้ำมันในปริมาณมากเท่ากับการใช้น้ำมันในอุตสาหกรรมการบินทั้งหมด และถึงแม้ว่าจะมีการโฆษณาว่าพลาสติกบางชนิดนำไปรีไซเคิลได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วมีเพียง 14 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ถูกรีไซเคิล โดยที่เหลือนั้นไปอยู่ในหลุมฝังกลบ และอีกกว่า 8 ล้านตันลงสู่มหาสมุทร อย่างไรก็ตาม เราทุกคนต่างรู้ดีว่าการเลิกใช้ถุงพลาสติกนั้นเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม แต่ในเมื่อยังไม่สามารถลดการใช้งานได้ทั้งหมด แล้วจะทำอย่างไรหรือหาวัสดุแบบไหนมาใช้ทดแทนพลาสติกโดยที่ไม่ทำลายโลกด้วย ‘North Star Coffee’ โรงคั่วกาแฟในเมืองลีดส์ ร่วมมือกับ ‘Grounded Packaging’ บริษัทผลิตบรรจุภัณฑ์จากออสเตรเลีย สร้างบรรจุภัณฑ์สำหรับถุงกาแฟขนาด 250 กรัม ที่ย่อยสลายได้เอง 100 เปอร์เซ็นต์ชนิดแรกในสหราชอาณาจักร เพราะถุงกาแฟที่ย่อยสลายได้หลายแบบในท้องตลาดนั้นจะสลายตัวได้ในปุ๋ยหมักอุตสาหกรรมเท่านั้น และก่อนจะเข้าสู่กระบวนการย่อยสลาย ผู้บริโภคต้องนำส่วนประกอบต่างๆ บนถุง เช่น ฉลาก วาล์ว และแถบที่ปิดผนึกได้ออกก่อน ถุงใบนั้นถึงจะย่อยสลายได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่บรรจุภัณฑ์ของ North Star Coffee นั้นสามารถย่อยสลายตัวเองได้ในถังปุ๋ยหมักที่บ้านภายในเวลา 6 เดือน บรรจุภัณฑ์ชนิดนี้มีส่วนผสมของวัสดุชีวภาพ ไม่ว่าจะเป็นเซลลูโลส กระดาษคราฟต์ และอ้อย พร้อมวาล์วที่ย่อยสลายได้ รวมไปถึงหมึกพิมพ์ที่ใช้ก็ย่อยสลายได้ด้วยเช่นกัน เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าจะไม่มีชิ้นส่วนไหนบนสินค้าจาก North Star Coffee […]
‘Or Collective’ บริการเช่าเสื้อผ้าแบบสมัครสมาชิกสำหรับเด็กเล็ก ลดขยะเสื้อผ้าจากการที่เด็กโตขึ้น
ปัญหาที่พ่อแม่ลูกเล็กหลายบ้านต้องเผชิญ ส่วนหนึ่งคงหนีไม่พ้นการต้องซื้อเสื้อผ้าใหม่จำนวนมากในแต่ละปี เนื่องจากเด็กในวัยแรกเดินจนถึงประมาณ 4 ขวบนั้นเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จนเผลอแป๊บเดียวเสื้อผ้าที่ซื้อมาก็ใส่ไม่ได้ กลายเป็นขยะเสื้อผ้าทิ้งไว้ให้จัดการ จากปัญหานี้ Studio Parallel เอเจนซีด้านการออกแบบและการสร้างแบรนด์ ตัดสินใจสร้างแบรนด์เสื้อผ้าเด็กที่ให้บริการเช่าโดยสมัครสมาชิกขึ้นในชื่อ ‘Or Collective’ โดยที่ Or ย่อมาจากคำว่า On Rotation ที่หมายถึงการหมุนเวียน เสื้อผ้าภายใน Or Collective ถูกออกแบบอย่างเรียบง่ายและอ่อนโยนต่อผิวเด็กตั้งแต่ทารกจนถึง 4 ขวบ อีกทั้งราคายังสบายกระเป๋าผู้ปกครองด้วยแผนการสมัครสมาชิกรายเดือนที่มีให้เลือกถึง 4 ขนาด ตั้งแต่ 5 ชิ้นต่อเดือนไปจนถึง 20 ชิ้นต่อเดือน ในราคาเริ่มต้นเพียง 22 ปอนด์ต่อเดือน (ประมาณ 970 บาท) ตามความต้องการและเงินในกระเป๋า นอกจากนี้ ผู้ปกครองยังสามารถปรับแผนสมาชิกได้อย่างยืดหยุ่น ไม่ว่าจะเป็นการเลือกเสื้อผ้าและขนาดได้อย่างอิสระ หยุดการต่อสมาชิกรายเดือนแบบชั่วคราวหรือถาวรเมื่อไหร่ก็ได้ หรือถ้ามีเสื้อผ้าชิ้นไหนถูกใจอยากจะซื้อเก็บไว้เป็นของตัวเองก็ทำได้เช่นกัน แถมในการส่งคืนแต่ละครั้งยังไม่ต้องกังวลถึงเรื่องคราบสกปรกจากการเล่นของเด็ก เพราะ Or Collective จะไม่เรียกเก็บเงินเพิ่มเติมในกรณีเกิดคราบหรือเสื้อผ้าสึกหรอ เพื่อให้ตรงตามความตั้งใจของ Or Collective ที่ต้องการต่อสู้กับปัญหาขยะเสื้อผ้าเด็ก […]
กทม. ชวนเช็กสภาพรถ เปลี่ยนน้ำมันเครื่องกับโครงการ ‘คลินิกรถ ลดฝุ่น PM2.5’ ที่ศูนย์บริการใกล้บ้าน วันนี้ – 29 ก.พ. 67
ปลายปีแบบนี้ มองไปทางไหนก็พบเจอแต่ฝุ่นละออง PM 2.5 ที่เพิ่มสูงขึ้น จนผู้คนรอบตัวเริ่มทยอยป่วยเพราะปัญหาสภาพอากาศย่ำแย่ แถมเจ้าฝุ่นที่ว่านี้ยังมีต้นเหตุหลักมาจากควันรถยนต์ที่จราจรบนท้องถนน กทม. ที่พยายามแก้ปัญหานี้ ได้ร่วมมือกับกระทรวงพลังงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และตัวแทนค่ายรถยนต์ผู้ค้าน้ำมันในประเทศไทย จัดทำโครงการ ‘คลินิกรถ ลดฝุ่น PM2.5’ เพื่อจัดโปรโมชันลดค่าบริการตรวจสอบสภาพรถ ทั้งการเปลี่ยนไส้กรองอากาศ ไส้กรองน้ำมัน และตรวจเช็กรถยนต์กว่า 35 รายการฟรี ที่ศูนย์บริการใกล้บ้าน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนกรุงเทพฯ และทุกจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจาก PM 2.5 โปรโมชันนี้ออกมาสำหรับรถยนต์ที่อายุการใช้งานตั้งแต่ 2 – 15 ปี เรียกได้ว่ายิ่งอายุรถยนต์มาก บริษัทที่เข้าร่วมก็จะให้ส่วนลดมากขึ้นตามไปด้วย โดยส่วนลดสูงสุดอยู่ที่ 55 เปอร์เซ็นต์ เพื่อจูงใจให้ประชาชนที่มีรถยนต์เก่าเข้ามารับบริการบำรุงรักษา ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้ของรถยนต์นั่นเอง รถของบ้านไหนที่เข้าเกณฑ์ เจ้าของรถสามารถเข้าร่วมตรวจเช็กสภาพรถยนต์ เปลี่ยนถ่ายน้ำมัน รวมถึงเข้ารับการบำรุงรักษาเครื่องยนต์ได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ศูนย์บริการใกล้บ้าน และหากใครมีแพลนเดินทางในช่วงที่ฝุ่น PM 2.5 เพิ่มสูง ติดตามการคาดการณ์สถานการณ์ฝุ่นล่วงหน้า รวมถึงรายละเอียดส่วนลดและระยะเวลาเข้าร่วมโครงการของแต่ละบริษัทได้ที่เพจ กรุงเทพมหานคร
Spacebar Zine สตูดิโอและร้านซีน (หนังสือทำมือ) ย่านจตุจักร คอมมูนิตี้เปิดใหม่ของคนทำสิ่งพิมพ์อิสระ
“ในกรุงเทพฯ ร้านหนังสือสิ่งพิมพ์อิสระยังมีไม่ค่อยมาก ยิ่งเป็นร้านขาย Zine (ซีน) หรือหนังสือทำมือสไตล์กุ๊กกิ๊ก เข้าใจง่าย มีคอนเซปต์สนุกๆ ก็ยิ่งไม่ค่อยมี เราเลยคิดว่าเปิดหน้าร้านดีกว่า” นี่คือเหตุผลที่ทำให้ ‘วิว-วิมลพร วิสิทธิ์’ และ ‘ภูภู่ฯ-วิศรุต วิสิทธิ์’ จาก Spacebar Design Studio สตูดิโอที่เรียกตัวเองว่า Zine Producer หรือผู้รับผลิตซีน สิ่งพิมพ์อิสระ อาร์ตบุ๊ก และพ็อกเกตบุ๊ก ตัดสินใจเปิดหน้าร้าน Spacebar Zine ขึ้นอีกครั้ง หลังจากก่อนหน้านี้ต้องปิดหน้าร้านไปในช่วงโควิด พื้นที่แห่งนี้ได้รวบรวม Zine ทั้งที่ทาง Spacebar Design Studio ทำเองและคัดเลือกมาระหว่างการเดินทางไปออกบูทในงาน Art Book Fair ในประเทศต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น Zine ในรูปแบบของงาน Illustration หรือภาพถ่ายที่มีคอนเซปต์น่ารักๆ เข้าใจง่าย และอ่านได้เพลินๆ รวมไปถึงสารพัดของกุ๊กกิ๊กเกี่ยวกับงานวาดที่ชอบอย่าง Art Print พิน และเข็มกลัดก็มีเหมือนกัน […]
My Diary of Culture Shock in BKK บันทึกการเดินทางของเด็กต่างจังหวัด เมื่อเข้ามาเยือนเมืองกรุงครั้งแรก
ฉันเป็นนิสิตฝึกงานชั้นปีที่ 4 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคอีสาน ฉันเป็นคนอีสานโดยกำเนิด เกิดมาไม่เคยเข้ากรุงเทพฯ เลยสักครั้ง เมื่อก่อนฉันคิดว่าการเข้าเมืองกรุงเป็นเรื่องยากมากๆ มันเลยทำให้ฉันไม่กล้าออกไปเผชิญกับสิ่งใหม่ๆ ทว่าด้วยเวลาที่ประจวบเหมาะกับเป็นช่วงฝึกงานของนิสิตชั้นปีสุดท้ายก่อนจบการศึกษา ฉันก็เลยมีความคิดอยากท้าทายตัวเองด้วยการลองก้าวข้าม Comfort Zone หาสิ่งใหม่ๆ ให้ตัวเองเรียนรู้ จนได้มีโอกาสเดินทางมาฝึกงานในกรุงเทพมหานครกับ Urban Creature เพจที่เล่าเรื่องเมืองและอยากทำให้คนรักเมืองมากขึ้น นับจากวันแรกถึงตอนนี้ ฉันเก็บข้าวของแบกกระเป๋าขึ้นเครื่องบิน เหินฟ้ามาสัมผัสรสชาติความเจริญในเมืองกรุงเพื่อฝึกงานได้รวมๆ เกือบจะหนึ่งเดือนแล้ว นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ฉันเห็นความแตกต่างโดยสิ้นเชิงของกรุงเทพฯ กับจังหวัดมหาสารคามที่ฉันอยู่ ซึ่งมีทั้งเรื่องชวนให้ตื่นเต้น แปลกใจ และเข้าใจ ผสมปนๆ กันไป พร้อมกับการพยายามปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตของคนกรุงเทพฯ ให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ขนส่งสาธารณะ การจราจร อากาศ และสภาพแวดล้อมต่างๆ ของเมืองแห่งนี้ อากาศแบบใด ก่อนอื่นเลยตอนที่ฉันมาถึงกรุงเทพฯ วันแรก ก้าวขาออกจากสนามบินปุ๊บ ไอร้อนก็ตีแสกหน้าทันที ถึงแม้ว่าจะเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวแล้วก็เถอะ แต่กรุงเทพฯ ไม่มีท่าทีว่าจะหนาวให้ฉันได้กอดผ้าอุ่นๆ ดูตึกสูงระฟ้ายามค่ำคืนดื่มด่ำความมโน ทั้งๆ ที่ตอนนี้จังหวัดของฉันหรืออีกหลายจังหวัดคงเริ่มหนาวจนผิวแตกเป็นข้าวจี่แล้ว ยิ่งช่วงฤดูหนาวแบบนี้ ถ้าเกิดอยากสูดอากาศบริสุทธิ์ในยามเช้าเหมือนอยู่บ้านที่ต่างจังหวัดก็ทำไม่ได้นะ เพราะแค่ออกไปข้างนอกก็เจอฝุ่น PM 2.5 ที่พร้อมจะทำให้เป็นภูมิแพ้ ทั้งอากาศร้อนอบอ้าว ทั้งฝุ่นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ […]
‘Subterranean Ruins’ ศูนย์ชุมชนหมู่บ้าน Kaggalipura ในอินเดีย ที่ซ่อนตัวอยู่ภายใต้ต้นไม้และดูคล้ายซากปรักหักพัง
ในหลายประเทศย่อมมีพื้นที่รกร้างที่ถูกปล่อยทิ้งไว้ นอกจากจะเสียประโยชน์ด้านการใช้งานแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดอันตรายและสร้างความไม่ปลอดภัยให้กับผู้คนที่ผ่านไปผ่านมาอีกด้วย ในรัฐกรณาฏกะ ประเทศอินเดีย ก็มีพื้นที่รกร้างที่เต็มไปด้วยต้นมะม่วง ต้นกล้วย ต้นมะพร้าว และต้นอ้อยด้วยเหมือนกัน ทางสตูดิโอสถาปัตยกรรมท้องถิ่น ‘A Threshold’ จึงออกแบบพื้นที่ตรงนั้นให้กลายเป็น ‘Subterranean Ruins’ ศูนย์ชุมชนของหมู่บ้าน ‘Kaggalipura’ ที่ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเรียน งานสัมมนา คอนเสิร์ต หรือพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจของชุมชน พื้นที่แห่งนี้ถูกออกแบบมาให้เหมือนซากปรักหักพังที่มีกำแพงอิฐที่เจาะช่องเปิดแบบครึ่งวงกลม ซึ่งแต่ละช่องจะเรียงตรงกัน คล้ายๆ การสร้างเส้นทางหลักของพื้นที่ ส่วนแผ่นอิฐชิ้นอื่นๆ ที่นำมาปูเป็นพื้นจะถูกจัดวางในลักษณะที่หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีต้นไม้ เพื่อปล่อยให้พืชพรรณเหล่านั้นเติบโตตามธรรมชาติและปกคลุมสถานที่แห่งนี้ภายใต้ใบไม้สีเขียว ศูนย์ชุมชนฯ ถูกแบ่งพื้นที่โดยมีลานกลางแจ้งเป็นพื้นที่ส่วนกลางที่เชื่อมพื้นที่ทั้งหมดเข้าด้วยกัน โดยลานนี้จะเปิดให้เด็กๆ เข้ามาวิ่งเล่น หรือใช้จัดนิทรรศการกลางแจ้งก็ได้ และห้องต่างๆ ภายในศูนย์ก็ออกแบบให้ปรับใช้งานได้หลายแบบ ทั้งห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องนิทรรศการ หรือห้องเรียน ขณะเดียวกัน ทางผู้ออกแบบต้องการแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมผ่านโครงการนี้ ผ่านวัสดุต่างๆ ที่ใช้สร้างทั้งภายนอกและภายในศูนย์ชุมชน ซึ่งมาจากวัสดุท้องถิ่นในรัศมี 50 กิโลเมตร ไม่ว่าจะเป็นอิฐสีแดงสำหรับผนัง หินสำหรับปูพื้น และหินแกรนิตสีดำที่ทำหน้าที่เป็นกรวด กำแพงกันดินรอบโครงการก็มาจากก้อนหินที่ขุดขึ้นมาจากบริเวณโดยรอบ รวมไปถึงเครื่องปรับอากาศเองก็ไม่จำเป็นต้องใช้ในศูนย์ชุมชนแห่งนี้ เนื่องจากมีต้นไม้มากเพียงพอที่จะให้ร่มเงาผู้คนที่เข้ามาใช้งาน Sources :Designboom […]
ตาม Mean Lee ศิลปินไทยไปดูงานอาร์ตทั่วเมืองเบอร์ลิน
“ทุกคนดูมีความสุขที่จะมีงานนี้ขึ้นมาทำให้คนเกิดแรงบันดาลใจได้ง่ายมากมันยิ่งรู้สึกดีที่คนในประเทศเขาให้ค่ากับสิ่งนี้” เมื่อกลางปี 2022 ที่ผ่านมา ที่เยอรมนีได้จัดงาน Berlin Art Week และ Stuttgarter Comictage ขึ้น ซึ่งเป็น 2 งานเทศกาลศิลปะที่ชวนให้คนได้มา Art Hopping ด้วยการจัดงานที่หลากหลายและเข้าถึงง่าย ทำให้ชาวเมือง ศิลปิน และนักท่องเที่ยว ตื่นเต้นและพร้อมใจกันตบเท้าเข้ามาสร้างสีสันและความคึกคักให้แก่เมืองเบอร์ลิน Mean Lee หรือ ‘มีน-ธันยธรณ์ ลี้ไวโรจน์’ นักวาดภาพประกอบที่มีสีสันฉูดฉาดและข้อความยั่วล้อสังคมซุกซ่อนอยู่ในงาน คือศิลปินที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย ในการเดินทางไปที่เมืองเบอร์ลินครั้งนี้ และกลับมาแชร์ประสบการณ์ให้ชาว Urban Creature เกิดความหวังในการมีเมืองที่ ‘ทำให้คนเกิดแรงบันดาลใจได้ง่าย’ กับเขาบ้าง
Crystal presents The Sound of Water Rhythmsphere งานดนตรีป็อปอัปจากคริสตัลที่เชื่อว่าทุกคนควรมีเวลาพัก
ในจุดที่หัวสมองตื้อ ความเครียดจู่โจม วิธีผ่อนคลายของหลายคนอาจเป็นการฟังเพลงที่เป็น Comfort Song สักเพลง เอนตัวนอน แล้วปล่อยอารมณ์ให้ล่องลอยไป แต่กับบางคนแค่สวมหูฟังแล้วดำดิ่งไปกับเมโลดี้อาจไม่พอ การพาตัวเองไปอยู่ท่ามกลางผู้คนใหม่ๆ และรับประสบการณ์ทางดนตรีด้วยกันอาจจะสดชื่นกว่า เพราะชาว Urban Creature เป็นมนุษย์อย่างหลัง เราจึงพาตัวเองมาอยู่ในงาน Crystal Presents The Sound of Water Rhythmsphere จัดโดยคริสตัล แบรนด์น้ำดื่มคุณภาพที่อยู่คู่คนไทยมาหลายปี ด้วยความเชื่อเดียวกันกับที่เรามี นั่นคือ คริสตัลเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนควรมีช่วงเวลาพักผ่อนเพื่อให้ได้เคลียร์ความคิด นอกจากน้ำดื่มจะมีประโยชน์ต่อร่างกายจิตใจ อารมณ์และความคิด พวกเขาได้จัดกิจกรรมดนตรีแบบใหม่เพื่อชวนคอดนตรีมาเคลียร์ความคิดด้วยกัน งานนี้คริสตัลจับมือกับอาร์เอส มิวสิค ขน 3 ศิลปินดังมาเล่นดนตรีใน 3 จุดชิลทั่วกรุงเทพฯ ทั้ง Sarah Salola ที่หน้าตึกพาร์ค สีลม, Scrubb ที่อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ และ Slapkiss ที่ตั้งวง ณ อุทยานเบญจสิริ รวมถึงเทศกาลดนตรี COOL […]