LATEST
สงสัยไหม ทำไมกรุงเทพฯ มีซอยตันเยอะ
หลายครั้งการขับรถผิดทางทำให้เราต้องเกิดอาการหัวร้อนหงุดหงิด โดยเฉพาะเวลาเลี้ยวเข้าผิดซอย แต่ก็ไม่สามารถไปต่อหรือกลับรถตรงนั้นได้ เพราะซอยที่ว่านั้นทั้งแคบและยังเป็น ‘ซอยตัน’ ที่บังคับให้คนขับรถต้องเข้าเกียร์ R ถอยหลังออกไปตั้งหลักใหม่อย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งคนที่ขับรถในกรุงเทพฯ จะรู้ว่าเมืองหลวงของเรามีซอยตันเยอะมากเสียด้วย ทำให้เกิดความสงสัยว่า ทำไมในมหานครแห่งนี้ถึงได้มีซอยตันกระจายตัวแทบจะทุกพื้นที่เลย นอกจากจะเป็นอุปสรรคในการขับรถแล้ว ซอยตันยังส่งผลอะไรต่อการใช้ชีวิตของคนกรุงเทพฯ อีกบ้าง คอลัมน์ Curiocity จะพาไปเปิดทางตันและหาคำตอบของเส้นทางเล็กๆ เหล่านี้กัน เมืองขยายตัว เกิดซอยจำนวนมาก ในยุคหนึ่งที่เป็นช่วงการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ประเทศไทยเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม ซึ่งกรุงเทพฯ ได้กลายเป็นจุดมุ่งหมายที่ผู้คนหลากหลายกลุ่มจากหลากหลายจังหวัดเดินทางเข้ามาทำงาน เกิดความหนาแน่นของประชากร ตามมาด้วยการขยายงานและที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน เพราะเหตุนี้ เมืองจึงขยายตัวออกไปในแถบชานเมืองและรอบนอกที่ยังมีพื้นที่สำหรับก่อสร้างอาคารและที่อยู่อาศัยเพิ่มเติม โดยที่ดินแถบนั้นส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่สำหรับทำเกษตรกรรม ซึ่งเจ้าของพื้นที่มักจะตัดแบ่งที่ดินเพื่อขายหรือสร้างสิ่งปลูกสร้างให้ได้จำนวนมากขึ้น จึงเกิด ‘ซอย’ หรือ ‘ถนนเส้นเล็กๆ’ เชื่อมต่อถนนหลักขึ้นตามการแบ่งพื้นที่ขายในหลายพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ นั่นเอง กว่า 45 เปอร์เซ็นต์ของความยาวถนนในกรุงเทพฯ เป็นซอยตัน เมื่อการแบ่งที่ดินและการสร้างถนนเล็กๆ เพื่อขายเกิดขึ้นโดยไม่ได้คำนึงถึงผังเมืองกรุงเทพฯ หรือไม่ได้วางแผนเพื่อเชื่อมต่อซอยต่างๆ กับถนนหลัก จึงทำให้ซอยเหล่านี้กระจายตัวอย่างไม่เป็นระเบียบ ทั้งมีขนาดเล็ก มีความซับซ้อน รวมถึงยังเป็นซอยที่มีทางเข้า-ออกเพียงแค่ทางเดียว โดยปลายทางของถนนเล็กๆ เหล่านี้ยังไม่สามารถทะลุออกไปไหนได้ หรือที่เรียกกันว่า ‘ซอยตัน’ นั่นเอง ปี […]
‘ศรีเทพ’ ได้ขึ้นเป็นมรดกโลก แต่ ‘เวนิส’ เสี่ยงหลุดจากลิสต์ เหตุเพราะน้ำท่วมและนักท่องเที่ยว
ในวันที่ ‘เมืองศรีเทพ’ ของไทยได้รับประกาศจากองค์การยูเนสโก (UNESCO) ให้เป็นเมืองมรดกโลกแห่งล่าสุด ในช่วงเวลาเดียวกัน ‘เวนิส’ ได้รับคำเตือนว่าอาจจะขึ้นบัญชีดำที่มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกถอดออกจากรายชื่อมรดกโลก ที่เป็นเช่นนั้นเพราะรัฐบาลอิตาลีและการปกครองท้องถิ่นเวนิสไม่ได้มีมาตรการหรือกลไกที่ผลักดันการปกป้องความอ่อนไหวของการมีสถานภาพเป็นเมืองมรดกโลก ที่ให้คนเข้าไปศึกษา ชื่นชม และเรียนรู้ จนอาจทำให้เกิดการสูญเสียความเป็นแก่นแท้ของสถานที่ นอกจากนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของยูเนสโกก็ยังเสนอให้นำเมืองเวนิสไปอยู่ในลิสต์ของการเป็นมรดกโลกที่เสี่ยงต่อการถูกทำลายอย่างไม่สามารถกู้คืนกลับมาได้ในสถานภาพของการเป็นมรดกโลก โดยมีเหตุผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศในปี 2019 ที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ในเวนิส ไปจนถึงการเกิดปรากฏการณ์ Overtourism หรือปัญหานักท่องเที่ยวล้นทะลัก ที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ สภาพแวดล้อม และสภาพการเป็นเมืองมรดกโลก ถ้าย้อนไปดูตั้งแต่ปี 1987 ที่เวนิสได้รับการประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลก ยูเนสโกได้ส่งคำเตือนถึงประเด็นนี้เป็นครั้งที่ 2 แล้วจากการพัฒนาเมืองที่มากเกินไปเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว และผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมที่ทำให้อาคารเก่าแก่ทั้งหลายมีความเสี่ยงถูกทำลาย รวมถึงการท่องเที่ยวขนาดใหญ่ ที่ผ่านมารัฐบาลอิตาลีและเมืองเวนิสได้พยายามออกนโยบายและสร้างแผนการปกป้องเมืองด้วยการจำกัดไม่ให้เรือขนาดใหญ่แล่นผ่านคลองของเมือง เปิดใช้งานกำแพงกันน้ำท่วมอย่างเต็มรูปแบบเมื่อปี 2020 และมีแผนเก็บค่าธรรมเนียมการเดินทางของนักท่องเที่ยวด้วย แต่ถึงอย่างนั้น ยูเนสโกก็มองว่าทั้งหมดนี้ยังไม่เพียงพอต่อการรักษาสภาพของการเป็นเมืองมรดกโลกตามมาตรฐาน และจากปัญหานักท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการอยู่อาศัย ทำให้คนเวนิสจำนวนไม่น้อยย้ายออกไปจากเมืองจนตอนนี้เหลือคนในพื้นที่เพียงห้าหมื่นคนเท่านั้น ซึ่งนั่นย่อมสั่นคลอนต่อสถานภาพการเป็นเมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่ยังมีชีวิตอยู่ของเวนิส Sources :APOLLO | tinyurl.com/2y7zwe4eBBC | tinyurl.com/283cvvg5Podcast : ‘เมือง-หมา-นุด’ EP.51 Venice กับความเสี่ยงถูกถอนออกจากเมืองมรดกโลก | tinyurl.com/2xwdvvwfTravel and […]
‘The Areas of Signature Vibe’ พาไปดู 4 ย่านกรุงเทพฯ ที่สะท้อนสุนทรียะการอยู่อาศัยของคนเมือง
การเลือกที่อยู่อาศัยในเมือง แค่ความสวยงามและทำเลที่ถูกใจคงไม่เพียงพอ เพราะแต่ละคนมีไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกัน ดังนั้นการเลือกย่านที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับตัวเอง จึงเป็นหนึ่งการลงทุนด้านคุณภาพชีวิตที่ดีที่จะส่งผลต่อเนื่องในระยะยาว วันนี้ Urban Creature ขออาสาพาทุกคนไปสำรวจ 4 ย่านในกรุงเทพฯ ที่มีไวบ์ตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยหลากหลายสไตล์ ไม่ว่าจะเป็น ‘สีลม’ ย่านศูนย์กลางธุรกิจชั้นนำ ‘อโศก-พระราม 9’ กับความเป็นย่านเศรษฐกิจใหม่ ‘สุขุมวิท’ ที่เป็นศูนย์รวมความหลากหลายใจกลางเมือง และ ‘พระราม 4 – คลองเตย’ กับย่านชุมชนเก่าที่กำลังก้าวเข้าสู่การเป็นสมาร์ตคอมมูนิตี้ที่พัฒนาอย่างยั่งยืน นอกจากความน่าสนใจที่เป็นเอกลักษณ์ของทั้ง 4 ย่านแล้ว ภายในย่านยังมีคอนโดมิเนียมใน Signature Collection จาก ‘Ananda’ ที่คัดมาแล้วว่าครอบคลุมทุกความต้องการที่อยู่อาศัยของคนเมือง อีกทั้งยังมีการออกแบบและฟังก์ชันที่สอดคล้องกับความพิเศษของแต่ละไวบ์ในย่าน เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยได้มีความสุขในทุกชั่วขณะอีกด้วย Urban Vibe – ศูนย์กลางธุรกิจชั้นนำที่ครบครันทุกความสะดวกสบาย เมื่อพูดถึงย่านเก่าแก่ในกรุงเทพฯ ‘สีลม’ ถือเป็นย่านหนึ่งที่เป็นจุดมุ่งหมายของการทำการค้า ทั้งจากคนไทยและชาวต่างชาติ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของหลายธุรกิจ ทำให้สีลมกลายเป็นย่านการค้าที่เรียกว่าสำคัญที่สุดในกรุงเทพฯ เลยก็ว่าได้ แม้จะเป็นย่านที่ผ่านมาหลายยุคสมัย แต่สีลมก็เป็นย่านที่มีความทันสมัยและมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา จนในปัจจุบันสีลมได้ขึ้นแท่นเป็น ‘CBD’ (Central Business District) […]
ได้เวลานักสร้างสรรค์ปล่อยของ ใน ‘Bangkok Design Week 2024’ เปิดรับผลงานวันนี้ – 30 ก.ย. 2566
กลับมาอีกครั้งกับงานเทศกาลออกแบบสุดสร้างสรรค์แห่งปี ‘เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2567’ หรือ ‘Bangkok Design Week 2024’ (BKKDW2024) ที่ครั้งนี้จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์ 2567 เป้าหมายของงานนี้คือ ต้องการเปลี่ยนหลากหลายย่านทั่วกรุงเทพฯ อาทิ เจริญกรุง-ตลาดน้อย, พระนคร, ปากคลองตลาด, นางเลิ้ง, พร้อมพงษ์, อารีย์-ประดิพัทธ์ และย่านอื่นๆ ให้น่าอยู่ น่าลงทุน และน่าเที่ยว แบบที่เป็นมิตรกับทั้งผู้คนในเมือง นักลงทุน และผู้มาเยี่ยมเยือนไปพร้อมๆ กัน ภายใต้ธีม ‘Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี’ ด้วยเหตุนี้ BKKDW2024 จึงเปิดรับ ‘Open Call’ เชิญชวนนักออกแบบ นักสร้างสรรค์ ผู้ประกอบการธุรกิจ ผู้ผลิต ศิลปิน หน่วยงาน และคนทำงานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ต้องการลงมือทำให้เมืองดีขึ้น เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลฯ เพื่อทำให้งานนี้ออกมาสมบูรณ์แบบมากขึ้น โดยจะแบ่งการเข้าร่วมเป็นผู้ร่วมจัดเทศกาลฯ (Participation Level) […]
เมื่อการ Manifest ทำให้เรากดดันกับการ ‘คิดยังไงให้กลายเป็นจริง’
ช่วงนี้หลายคนน่าจะเห็นเทรนด์การมานิเฟสต์หรือการขอให้จักรวาลฟังเสียงของตัวเอง เพื่อดึงดูดสิ่งดีๆ หรือทำให้สิ่งที่ขอเป็นจริงในหลากหลายโซเชียลมีเดีย แม้ฟังเหมือนเป็นการขอพรทั่วๆ ไปที่เราทำกันอยู่แล้ว แต่หากลงลึกในรายละเอียด จะพอเห็นว่าการมานิเฟสต์มีแนวคิดที่ค่อนข้างแตกต่างออกไป โดยผูกกับมายด์เซต แนวคิด ความเชื่อ และความปรารถนาที่แรงกล้าด้วย ก่อนอื่นผู้เขียนขออธิบายถึงคำว่า มานิเฟสเทชัน (Manifestation) ก่อน คำนี้แปลให้เห็นภาพง่ายๆ คือ ‘การสร้างสิ่งที่อยู่ในหัวให้ออกมาอยู่ในชีวิตจริง’ แต่ขั้นตอนของการนำสิ่งที่เราคิดให้กลายมาเป็นความจริงในโลกกายหยาบนี้ได้ ในสายโลกจิตวิญญาณเขาบอกว่า ต้องมีความเชื่อว่าเราได้ เราเป็น เราคู่ควรกับสิ่งนั้นก่อน และเมื่อเรารู้สึกถึงประสบการณ์ที่เรามีกับสิ่งนั้น เข้าถึงมันซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ ผ่านการใช้เวลา ไม่ว่าจะทั้งทางอารมณ์และความรู้สึก ภาพที่ชัดอยู่ในหัวและการกระทำของเราในแต่ละวันจะถือเป็นการเตรียมพร้อมให้สิ่งที่อยากให้เกิดขึ้น กลายเป็นความจริงที่เราจับต้องได้ในชีวิตตอนนี้ ยกตัวอย่าง ถ้าอยากมีแฟนที่มีหน้าที่การงานดี วางตัวภูมิฐาน ฉลาดรอบรู้ การจะมานิเฟสต์ให้ได้สิ่งนี้ เราต้องเชื่อว่านี่คือสิ่งที่เหมาะสมกับเรา เชื่อลึกลงไปในทุกอณูร่างกาย เพราะถ้านั่นคือสเปกผู้ชายหรือผู้หญิงที่เราอยากคบ แต่ในแต่ละวันเรายังนั่งคิดว่าตัวเองด้อยกว่าคนอื่นเยอะ มองแต่ข้อเสียของตัวเอง เพิ่มความรู้สึกดีไม่พอเข้าไป มันก็ยากที่ระบบในร่างกายและจิตใจของเราจะประทับลงไปว่า เรานี่ล่ะคู่ควรกับคนรักแบบนี้ นอกจากนั้นเราต้องดื่มด่ำด้วยใจเป็นสุขกับความคิดที่ว่า เรากำลังคบกับคนแบบนี้อยู่ ในแต่ละวันเราจะทำกิจกรรมอะไรกันบ้าง มันสนุกแค่ไหน การใช้ชีวิตของเราในแต่ละวันจะเปลี่ยนไปอย่างไร และที่สำคัญ เราต้องเตรียมพร้อมที่จะให้ภาพนี้เป็นจริงขึ้นมาด้วย อย่าลืมตั้งคำถามกับตัวเองว่า แล้วผู้หญิงหรือผู้ชายในฝันของคนในฝันของเราคนนี้จะต้องเป็นอย่างไรนะ แล้วในแต่ละวันตอนนี้เราทำอะไรบ้างเพื่อให้ได้เป็นคนในฝันของเขาคนนั้น เช่น เราออกจากบ้านบ่อยแค่ไหน […]
ไปศึกษาและชิมชาไต้หวันแบบเนิร์ดๆ ใน ‘Taiwanese Tea Workshop’ วันที่ 22 / 23 ก.ย. 66 ที่ร้าน Casa Formosa
ไม่ต้องบินไปไกลถึงไต้หวัน สายชาก็สามารถเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชา วิถีดื่มชา และวิธีการชงชาแบบคนไต้หวันแท้ๆ ได้ใน ‘Taiwanese Tea Workshop’ กิจกรรมเวิร์กช็อปโดย ‘Taa Experience’ และ ‘Casa Formosa Taiwan Tea House’ นอกจากการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชาแบบลงลึกแล้ว ผู้เข้าร่วมกิจกรรมยังได้ชิมชามากกว่า 10 ชนิด พร้อมของว่างและชา 6 เซตจากกิจกรรมที่อัดแน่นตลอด 3 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็น Taiwanese Tea Workshop จะจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 22 และวันเสาร์ที่ 23 กันยายน (เลือกวันใดวันหนึ่ง) ตั้งแต่เวลา 09.00 – 12.00 น. ที่ร้าน Casa Formosa Taiwan Tea House โดยมีค่าใช้จ่ายในการร่วมกิจกรรม 1,700 บาท/คน ติดตามรายละเอียดและการจองได้ทาง Instagram : taaexperience
‘Kinder Land Bridge’ สะพานข้ามถนนบนอุโมงค์ทางหลวงใน Houston เพิ่มความปลอดภัยและพื้นที่สีเขียวให้ชุมชน
ปกติแล้วการข้ามถนนบนทางม้าลายหรือพื้นที่ที่ทำไว้สำหรับข้ามถนนนั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เพราะเป็นวิธีที่ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุได้ แต่หากเป็นถนนขนาดใหญ่ การเดินตัดผ่านถนนอาจไม่ปลอดภัยเท่าไรนัก ใน ‘Memorial Park’ ที่เมืองฮิวสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา มี ‘Memorial Drive’ ถนนทางหลวงขนาด 6 เลนที่ตัดผ่านสวนขนาดใหญ่ เพื่อความสะดวกสบายของการสัญจรรถยนต์ แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้คนและสัตว์ต่างๆ ข้ามไปอีกฝั่งลำบากมากขึ้น ดังนั้นจึงมีการสร้าง ‘Kinder Land Bridge’ และเปิดให้ใช้บริการเมื่อต้นปีที่ผ่านมา Kinder Land Bridge เป็นส่วนหนึ่งของโครงการแผนสิบปีในการรีโนเวตพื้นที่นอกตัวเมืองฮิวสตันด้วยการครอบสะพานที่ทอดยาวเหนือทางหลวง และมีสวนสาธารณะด้านบน เพื่อเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงชัยชนะของสีเขียวที่อยู่เหนือสีเทา โดยที่ตั้งของมันอยู่บริเวณใจกลาง Memorial Park ทำหน้าที่เชื่อมต่อฝั่งเหนือและฝั่งใต้ของสวนสาธารณะเข้าด้วยกัน หลังจากที่ถูกแยกออกจากกันเพื่อสร้าง Memorial Drive ในปี 1955 โครงการนี้อยู่ภายใต้การดำเนินงานของสตูดิโอ ‘Nelson Byrd Woltz Landscape Architects’ จากสหรัฐอเมริกา ในการสร้างอุโมงค์และใช้พื้นที่ด้านบนเป็นสะพานข้ามผ่าน Memorial Drive เพื่อความปลอดภัยจากการจราจร ซึ่งทำให้คนที่ผ่านไปผ่านมาเพลิดเพลินไปกับจุดชมวิวในเมืองฮิวสตันด้วย ส่วนพื้นที่สีเขียวบนสะพานนั้นจะกลายเป็นสวนสาธารณะแห่งใหม่ที่ผู้คนเข้าไปใช้งานเป็นพื้นที่พักผ่อน เพลิดเพลินกับการชมวิวทิวทัศน์และธรรมชาติรอบตัว รวมถึงจัดกิจกรรมสังสรรค์ต่างๆ ในบริเวณนี้ได้ นอกจากนี้ยังมีการฟื้นฟูระบบนิเวศของอุทยาน […]
ร่วมส่งต่อความมหัศจรรย์ของหนังสือภาพกับ ‘เทศกาลหนังสือภาพสำหรับเด็ก 2566’ วันที่ 24 ก.ย. – 29 ต.ค. 66 ที่ TCDC
ในขณะที่บ้านเรามีงานหนังสือใหม่ๆ เกิดขึ้นให้ไปเดินสำรวจหนังสือใหม่ เติมกองดองกันแทบทั้งปี ก็เป็นที่น่ายินดีไม่น้อยที่แวดวงหนังสือไทยได้มีงานหนังสือสำหรับเด็กที่จัดขึ้นอย่างค่อนข้างเป็นทางการแล้วในปีนี้ ‘เทศกาลหนังสือภาพสำหรับเด็ก 2566’ หรือ Children’s Picture Book Festival มีโต้โผหลักคือ สำนักพิมพ์ Barefoot Banana ที่อยากส่งเสริมและผลักดันให้หนังสือเด็กในไทยมีคุณภาพมากขึ้น ผ่านการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายคนทำงานเกี่ยวกับเด็ก ไม่ว่าจะเป็นนักเขียน นักแปล นักวิชาการ นักเล่านิทาน ห้องสมุด และสำนักพิมพ์ชั้นนำ ที่พากันมาส่งต่อความมหัศจรรย์ของหนังสือภาพ ภายในงานมีกิจกรรมมากมายให้เหล่าผู้ปกครองพาลูกหลานไปร่วม รวมถึงองค์ความรู้ที่คนทำงานด้านนี้ไม่ควรพลาด ตั้งแต่นิทรรศการและโชว์เคสที่จัดแสดงตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน – 29 ตุลาคม ที่ TCDC บางรัก ไปจนถึงโปรแกรมกิจกรรมต่างๆ ที่จัดยาวๆ ทุกวันเสาร์-อาทิตย์เรื่อยไปตลอดทั้งเดือนตุลาคม โดยดูรายละเอียดและสมัครได้ที่ barefootbanana.co/festival เทศกาลหนังสือภาพสำหรับเด็ก 2566 จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน – 29 ตุลาคม 2566 ที่ TCDC บางรัก โดยตัวนิทรรศการเปิดให้เข้าชมฟรีตั้งแต่เวลา 10.30 – […]
2023 Chinese Opera บันทึกเรื่องงิ้วปี 2566
เสียงการแสดงงิ้วจากเทปคาสเซ็ตที่ถูกเปิดโดยอากงของผมดังมาจากชั้นสองของบ้านในทุกๆ เช้าจนเป็นกิจวัตร ภาพของการปิดถนนเส้นเยาวราชจนถึงสำเพ็งเพื่อจัดงานฉลองเทศกาลตรุษจีน ขนมสาคูที่ต้มด้วยน้ำตาลกรวดและเปลือกส้มของเหล่าบรรดาแม่ยกที่ทำมาจากบ้าน เพื่อนำมาแจกจ่ายให้กับคนที่มาร่วมงานศาลเจ้า ทั้งหมดนี้คือความทรงจำของผมที่มี ‘งิ้ว’ เป็นส่วนประกอบอยู่เสมอ ตั้งแต่ที่ผมย้ายออกจากบ้านที่สำเพ็งไปในช่วงวัยสิบสามปีก็ไม่เคยได้มีประสบการณ์ร่วมกับงิ้วอีกเลย จนกระทั่งปี 2563 ที่ทาง Documentary Club นำภาพยนตร์เรื่อง Farewell My Concubine ที่แสดงนำโดยเลสลี จาง มาฉาย ผมเองก็เป็นหนึ่งในคนที่เข้าชมในตอนนั้น หลังออกมาจากโรงภาพยนตร์ก็เกิดคำถามขึ้นกับตัวเองมากมาย หนึ่งในคำถามนั้นคือ การแสดงงิ้วในไทยที่เราเคยเห็นเมื่อ 15 ปีก่อนตอนยังเป็นเด็ก ปัจจุบันนี้ยังมีอยู่ไหม เวลาผ่านไปสามปี ประจวบเหมาะกับแผนการทำโปรเจกต์พิเศษ Lost & Found ผมจึงถือโอกาสนี้มาหาคำตอบคลายความสงสัยของตัวเองที่ติดค้างมานาน ก่อนอื่นเลยผมต้องขอบคุณ ‘ท็อบ’ โปรดิวเซอร์หน้ามนคนรามคำแหงของ Urban Creature ที่คอยช่วยผมหาคณะงิ้วที่ยังอยู่และเป็นธุระติดต่อให้ และ ‘พี่พงษ์’ จากเพจใจรักงิ้วที่คอยแนะนำหลายๆ เรื่องเกี่ยวกับงิ้วให้ผม ในช่วงเย็นวันหนึ่ง ผมนั่งมอเตอร์ไซค์จากคอนโดฯ ไปที่ศาลเจ้าปุนเถ้ากง ย่านสี่พระยา เพื่อไปดูการแสดงงิ้วของคณะซิงอี่ไล้เฮง เมื่อผมมาถึง คนแรกที่ได้เจอคือพี่พงษ์จากเพจใจรักงิ้วที่กำลังง่วนกับการประกอบโทรศัพท์เข้ากับขาตั้ง เพื่อเตรียมบันทึกการแสดงสดของวันนั้น ผมพูดคุยกับพี่พงษ์ได้ไม่นานเท่าไร ‘เจ๊กี’ เจ้าของคณะงิ้ว […]
ห้องสมุดเปิดใหม่ ‘ประชาชี’ ที่เกิดจากกองดองของคนศิลปะ ใช้งานฟรี ในซอยเจริญกรุง 26
เปิดพิกัดอีกหนึ่งห้องสมุดแห่งใหม่ ‘ห้องสมุดประชาชี’ ในย่านเจริญกรุง ที่เปิดให้ผู้คนเข้าไปใช้งานพื้นที่ฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ห้องสมุดแห่งนี้มีจุดเริ่มต้นง่ายๆ จากการรวมตัวกันของคนทำงานศิลปะอย่าง ‘ลี-อัญชลี อนันตวัฒน์’ จาก ‘สปีดี้แกรนด์มา’ และ ‘น้ำหวาน-วิรุฬห์วรรณ พิทักษ์ทอง’ กับ ‘ออดี้-กฤตธี ตัณฑสิทธิ์’ จาก ‘น้ำขึ้น คอลเลกทีฟ’ “ก่อนหน้านี้เราอยู่กันที่ซอยเจริญกรุง 24 ซึ่งในตึกนั้นจะมีห้องหนึ่งที่ใช้เป็นห้องคอมมอนรูม เรามักเอาหนังสือไปวางๆ กันจนเกิดเป็นห้องสมุดเฉพาะกิจขึ้นมา พอเราย้ายมาที่ใหม่บริเวณซอยเจริญกรุง 26 ห้องสมุดประชาชีก็เกิดขึ้น” ออดี้เล่าถึงจุดเริ่มต้นของห้องสมุดแห่งนี้ และด้วยการเริ่มต้นในรูปแบบนี้ ทำให้หนังสือเกือบ 90 เปอร์เซ็นต์เป็นหนังสือจากคอลเลกชันส่วนตัวของทั้งสามคน บวกกับหนังสือที่เพื่อนๆ นำมาวางด้วย ห้องสมุดเล็กๆ แห่งนี้จึงมีทั้งหนังสือภาษาอังกฤษและภาษาไทย โดยเน้นไปที่กลุ่มเฟมินิสต์ เควียร์ ศิลปวัฒนธรรม และการเมือง ไปจนถึงเป็นแหล่งรวมหนังสือทำมือ (Zine) และสูจิบัตรจากงานนิทรรศการต่างๆ แม้ห้องสมุดประชาชีเปิดให้เข้าใช้พื้นที่ได้ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคมที่ผ่านมา แต่ออดี้บอกกับเราว่า นี่ยังไม่ใช่การเปิดแบบเต็มรูปแบบ เพราะในส่วนของชั้น 1 ที่เป็นตัวห้องสมุดในขณะนี้มีการจัด ‘นิทรรศการคำสาปที่ราบสูง Arcane Plateau’ ร่วมด้วย […]
ครบรอบ 30 ปี ‘พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย’ สถานที่รวมประวัติศาสตร์ของคนทำงาน ที่รัฐไม่เคยเหลียวแล
‘พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย’ เป็นแหล่งท่องเที่ยวหนึ่งในเขตราชเทวี ตั้งอยู่บนถนนนิคมมักกะสัน ด้านหน้าของอาคารชั้นเดียวแห่งนี้จะมองเห็น ‘อนุสาวรีย์ศักดิ์ศรีแรงงาน’ เป็นรูปปั้นคนงานหญิงชายกำลังผลักกงล้อประวัติศาสตร์ให้เคลื่อนไปข้างหน้า ใต้กงล้อมีรถถังถูกบดขยี้ อันบ่งบอกความหมายถึงการคัดค้านเผด็จการ สร้างขึ้นเพื่อยืนยันความมีศักดิ์ศรีของ ‘ชนผู้ใช้แรงงานไทย’ และถือเป็นอนุสาวรีย์แห่งแรกของผู้ใช้แรงงานอีกด้วย พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เกิดจากกระบวนการรวมตัวกันของเหล่าคนทำงาน นักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ด้านแรงงาน ฯลฯ และได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท เยอรมัน ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำการศึกษาเรื่องสิทธิแรงงานและประเด็นทางสังคมต่างๆ มาพูดคุยแลกเปลี่ยนลงมติร่วมกันเพื่อสร้างสถานที่รวบรวมและจัดแสดงเรื่องราวของผู้ใช้แรงงานไม่ให้หายสาบสูญไปจากหน้าประวัติศาสตร์ไทย เปิดทำการเมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม 2536 ผ่านร้อนฝนมาจนเวลาที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยกำลังจะมีอายุครบรอบ 30 ปี คอลัมน์ Urban Guide ขอพาทุกคนไปเดินเล่นท่องเที่ยวรู้จักพิพิธภัณฑ์แห่งแรกในประเทศไทยที่บอกเล่าเรื่องราวของชนชั้นกรรมาชีพให้มากขึ้น เด็กช่าง คนดนตรี นักเคลื่อนไหว ผู้อุทิศตนเป็นปากเสียงของแรงงาน เราได้พบกับผู้จัดการพิพิธภัณฑ์และเขาจะมาเป็นไกด์นำทัวร์วันนี้ ‘วิชัย นราไพบูลย์’ ผู้อุทิศตนให้กับการขับเคลื่อนเรื่องสิทธิแรงงานมาตั้งแต่เรียนจบจนถึงปัจจุบันในวัย 67 ปี พี่วิชัยเล่าว่า เขาเรียนจบช่างยนต์ที่เทคนิคกรุงเทพ จากนั้นเข้าทำงานโรงงานแถวรังสิต ผ่านหนึ่งปีไปนิดหน่อยก็ถูกเลิกจ้าง และออกไปเล่นดนตรีหาเลี้ยงชีพ ผลิตผลงานเพลงออกขาย เขาเติบโตมากับเรื่องสิทธิแรงงาน เมื่อมีงานประท้วงหรือการจัดกิจกรรมชุมนุมเกี่ยวกับเรื่องแรงงานเมื่อไหร่ จะได้พบกับวิชัยและผองเพื่อนนักดนตรีไปเล่นให้กำลังใจอยู่เสมอ (หาฟังเพลงของพี่วิชัยได้ที่ วงภราดร หรือวงอินโดจีน เป็นต้น) ส่วนงานด้านวิชาการเขาก็เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสำรวจ […]
The Woodlands เปลี่ยนโมเทลเก่าในลอสแอนเจลิสให้มีชีวิตชีวา โปรเจกต์ช่วยแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยสำหรับครอบครัวไร้บ้าน
เมืองเติบโตมีการเปลี่ยนแปลงและขยายขอบเขตกว้างไกลขึ้นทุกวัน ส่งผลให้จำนวนประชากรเพิ่มตามมา หลายๆ คนหรือครอบครัวมีโอกาสไร้ที่อยู่อาศัยจากปัญหาขาดแคลนที่อยู่ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่หลายเมืองทั่วโลกต่างกำลังหาทางเตรียมพร้อมรับมือ Urban Creature ขอหยิบไอเดียการแก้ปัญหาที่ว่าจากสหรัฐอเมริกามาให้ทุกคนชมกัน โดย ‘Kadre Architects’ สตูดิโอนักออกแบบจากลอสแอนเจลิสตั้งใจจะเปลี่ยนโมเทลที่ทรุดโทรมในหุบเขา San Fernando ให้เป็นพื้นที่อยู่อาศัยที่มีสีสันและเป็นมิตรสำหรับครอบครัวที่ประสบปัญหาไร้ที่อยู่อาศัย โครงการนี้มีชื่อว่า ‘The Woodlands’ เป็นส่วนหนึ่งของ ‘Project Homekey 2.0’ ที่นำโรงแรมทรุดโทรมหรืออาคารที่ไม่ค่อยได้ใช้งานจำนวน 14 แห่งมาเปลี่ยนเป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราวและอาจจะถาวร สำหรับผู้ที่ไม่มีที่อยู่อาศัยหรือมีความเสี่ยงจะเป็นคนไร้บ้าน ซึ่งได้รับความร่วมมือจากองค์กรการกุศล ‘Hope the Mission’ ต่อเนื่องมาจาก Project Homekey 1.0 ที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงที่พัก 10 แห่งทั่วแคลิฟอร์เนีย The Woodlands เป็นโมเทลหลังที่สองต่อจากการปรับปรุงโรงแรม The Alvarado ใน เมืองลอสแอนเจลิสที่เปิดให้บริการไปเมื่อช่วงต้นปี 2566 โดยความแตกต่างคือ The Woodlands จะแสดงให้เห็นถึงความท้าทายที่ยิ่งใหญ่กว่า The Alvarado ในแง่ของการสร้างพื้นที่ชุมชนที่มีเอกลักษณ์ เอกลักษณ์ที่ว่าคือ การที่สถาปนิกเลือกใช้สีสะดุดตาเพิ่มเติมชีวิตชีวาให้กับลานจอดรถยางมะตอยที่ดูไม่พิสมัยให้กลายเป็นพื้นที่หลากสีสัน ด้วยเฉดสีเขียวสดใส […]