LATEST
Skatepark Under Fabiani Bridge ลานสเกตใต้สะพาน ประเทศสโลวีเนีย แก้ปัญหาพื้นที่เสื่อมโทรม แหล่งมั่วสุมยาเสพติด
ปัญหาพื้นที่เสื่อมโทรมในเขตเมืองที่ถูกทิ้งร้างจากการไม่ได้ใช้งานและตกสำรวจ จนกลายเป็นแหล่งรวมยาเสพติดและอาชญากรรม คือหนึ่งในปัญหาที่หลายเมืองต้องเผชิญ ไม่เว้นแม้กระทั่งเมืองลูบลิยานา ประเทศสโลวีเนีย ที่หลังจากสร้างสะพาน Fabiani เพื่อความสะดวกสบายในการสัญจร แต่กลับทำให้บริเวณด้านล่างถูกทิ้งร้าง ไม่มีการควบคุมเฝ้าระวัง นำไปสู่การใช้งานที่ไม่พึงประสงค์ตามมา เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ เมืองลูบลิยานาจึงตั้งงบประมาณโครงการฟื้นฟูพื้นที่และจัดหาโครงสร้างพื้นฐานด้านกีฬาใหม่สำหรับเมือง เพื่อเปลี่ยนพื้นที่ใต้สะพานที่ทิ้งร้างให้กลายเป็นลานสเกตสาธารณะสำหรับคนในชุมชน โดยมี ‘Scapelab’ รับหน้าที่เป็นผู้ออกแบบ ลานสเกตเกิดขึ้นภายในระหว่างเสา 4 ต้นของสะพาน ประกอบด้วยทางลาดขนาดเล็กครึ่งวงกลมที่เป็นเหมือนลานประลองลวดลายของนักสเกต มีไฟส่องสว่างเพื่อให้ใช้สนามในช่วงเย็นได้ รวมไปถึงมีการสร้างรั้วและประตูเพื่อเสริมความปลอดภัยและป้องกันการมั่วสุมเหมือนในอดีต ปัจจุบัน Skatepark Under Fabiani Bridge ได้รับความนิยมอย่างมาก จนสนามใต้สะพานแห่งนี้เปิดทำการมาแล้วกว่า 5 ปี ตั้งแต่ปี 2018 และมีการขยับขยายเวลาเปิดให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง เนื่องจากมีผู้คนใช้งานตลอดเวลา กลายเป็นหนึ่งโครงการแก้ปัญหาพื้นที่เสื่อมโทรมที่ได้ผลดีที่สุดในประเทศสโลวีเนีย Sources : ArchDaily | t.ly/m3OlHLjubljana | t.ly/8p8SPScapelab | scapelab.com/en/skatepark
Creative Art District : TOYS ธีสิสที่ใช้ ‘ของเล่น’ มาพัฒนาเมือง ให้สร้างสรรค์ผ่าน ‘ย่านสะพานเหล็ก’
การพัฒนาเมืองยังคงต้องเกิดขึ้นทุกวันไม่มีหยุด เพื่อปรับเปลี่ยนไปตามวิถีชีวิตของผู้อยู่อาศัย หลายสถานที่เป็นไปตามแบบแผน และอีกหลายพื้นที่ก็ยังคงเป็นปัญหา โดยเฉพาะปัญหาจากการเข้ามาของสิ่งใหม่ที่ผลักให้คุณค่าของความดั้งเดิมทั้งชุมชน วิถีชีวิต ภูมิปัญญา หรือวัฒนธรรมต่างๆ สูญหายไป ‘แนน-นภัสสร จันทรเสนา’ บัณฑิตจบหมาดๆ จากสาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สนใจการพัฒนาเมืองในเรื่องของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชุมชนดั้งเดิม ได้จัดทำผลงานวิทยานิพนธ์ชื่อว่า ‘โครงการฟื้นฟูบูรณะเมืองและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ย่านสะพานเหล็ก สู่ย่านของเล่นร่วมสมัย’ ขึ้นมาเพื่อสะท้อนให้เห็นว่า การพัฒนาเมืองนั้นมีหลายวิธี และ ‘การพัฒนาย่านสร้างสรรค์’ เป็นหนึ่งวิธีที่ธีสิสนี้เลือกใช้ คอลัมน์ Debut วันนี้พาไปรู้จักวิทยานิพนธ์ดีเด่นด้านความคิดสร้างสรรค์จากเวที TOY ARCH Thailand ประจำปี 2566 กับไอเดียการพัฒนาเมืองที่มีแนวคิดจาก ‘ของเล่น ของสะสม’ จะนำไปสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ในรูปแบบไหนได้บ้าง ไปดูกัน ‘ของเล่น ของสะสม’สู่แนวคิดการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ แนนมีบ้านเกิดอยู่จังหวัดร้อยเอ็ด เธอเลือกเข้ามาเรียนคณะสถาปัตยกรรมฯ ที่จุฬาฯ เพราะมีความชอบด้านงานศิลปะและการออกแบบเป็นทุนเดิม บวกกับที่เธอชอบการท่องเที่ยวและเป็นนักสำรวจพื้นที่ใหม่ๆ จากการได้มาใช้ชีวิตเรียนหนังสือในเมืองอย่างกรุงเทพฯ ทำให้ทุกๆ วันจะได้พบกับมุมมองที่ต่างออกไป ตลอดระยะเวลา 4 – 5 ปีของการศึกษา แนนพบว่าตัวเองนั้นอยากพัฒนาเมืองในเรื่องวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาของชุมชนดั้งเดิม […]
‘Hair Room TOARU’ ร้านเสริมสวยในชนบทเมืองไซตามะ ให้ความรู้สึกเหมือนนั่งทำผมกลางธรรมชาติ
ร้านทำผมทั่วไปที่เราไปใช้บริการกันนั้นมักเป็นร้านที่แบ่งสัดส่วนและตกแต่งด้วยอุปกรณ์ทำผมหลากหลายชนิด แต่หากใครมีโอกาสได้ไปเที่ยวที่ไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น อาจมีโอกาสได้เจอกับ ‘Hair Room TOARU’ ร้านทำผมที่สตูดิโอสถาปนิก ‘Ateliers Takahito Sekiguchi’ ปรับปรุงให้ออกมาสวยงามสะดุดตา แตกต่างจากร้านทำผมอื่นๆ ที่เคยเห็นกันมาก่อนหน้านี้ Hair Room TOARU ตั้งอยู่ริมถนนในพื้นที่ชนบทของไซตามะ และบริเวณโดยรอบของร้านนั้นล้อมรอบไปด้วยการจราจรและสภาพแวดล้อมป่าเขา การจัดเรียงข้าวของต่างๆ จึงอยู่ในลักษณะที่เหลื่อมกัน ไม่ว่าจะเป็นเคาน์เตอร์ไม้ ผนัง คอนกรีตเสริมเหล็ก และกระจกบานใหญ่ ทำให้มีช่องเปิดขนาดใหญ่เพื่อสร้างความเชื่อมโยงให้กับตัวร้านและธรรมชาติด้านนอก โดยทีม Ateliers Takahito Sekiguchi เลือกใช้ผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก (RC) เพื่อป้องกันเหตุไฟไหม้ และใช้หลังคา CLT ที่ทำจากไม้ในท้องถิ่น ที่นอกจากช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว ยังช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างให้น้อยลง ซึ่งหลังคานี้มีการออกแบบให้ระบายอากาศตามธรรมชาติ และรับแสงเพื่อช่วยให้ภายในร้านสว่างแบบทางอ้อมอีกด้วย Sources :Ateliers Takahito Sekiguchi | takahitosekiguchi.comDesignboom | tinyurl.com/3vjrvwbf
‘บางจาก’ ชวนร่วมสัมมนา ‘Bangchak Group Greenovative Forum ครั้งที่ 13’ พลังงานสะอาดตอบโจทย์เดินทางอย่างยั่งยืน 23 พ.ย. 66 ที่ M Tower สำนักงานใหญ่
โลกยังต้องการการเปลี่ยนผ่านของพลังงานไปสู่พลังงานสะอาด แต่พลังงานสะอาดยังไม่สามารถตอบโจทย์ได้ทันที เรายังต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล แต่จะทำอย่างไรให้เชื้อเพลิงฟอสซิลอยู่กับเรา กับโลก ได้อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในภาคขนส่ง ทั้งเครื่องบิน รถ เรือ เชื้อเพลิงที่จะมาช่วยให้การเดินทางและขนส่งยั่งยืนยิ่งขึ้น ตอบโจทย์การใช้พลังงานควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม พลังงานทางเลือกเพื่อโลก คืออะไร พบกับคำตอบได้ในงานสัมมนา ‘Bangchak Group Greenovative Forum ครั้งที่ 13’ ในชื่อ Regenerative Fuels: Sustainable Mobility วันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00-12.00 น. ที่ห้องประชุมใบไม้ ชั้น 8 อาคาร M Tower สำนักงานใหญ่ บริษัท บางจากฯ ใครที่สนใจเข้าร่วมสัมมนา ลงทะเบียนได้ทาง : tinyurl.com/ymu3tkr2
เรียนขี่ม้าในกรุงเทพฯ กับ ‘ครูจิ๊บ-ศิระ สีเสม’ ที่โรงเรียนสอนขี่ม้า Rodeo Horse Riding
คงท้าทายไม่น้อยหากเราขึ้นไปอยู่บนหลังม้าที่กำลังวิ่ง แล้วต้องควบคุมมันให้ตัวเราไม่ร่วงลงมา เพราะต้องใช้ทั้งสมาธิและสัญชาตญาณในการควบคุมสัตว์ชนิดนี้.ในอดีตเราขี่ม้าเพื่อศึกสงคราม ไล่ล่าศัตรู แต่ปัจจุบันการขี่ม้าได้กลายเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยเรื่องการออกกำลังกายและผ่อนคลายความเครียด อีกทั้งยังส่งเสริมบุคลิกภาพให้คนที่อยู่บนหลังม้าอีกด้วย “ม้าเป็นสัตว์ที่มีเสน่ห์ เวลาใครเห็นก็อยากมอง เวลามันวิ่งหรือยกหางจะดูน่าสนุก ตื่นเต้น” คอลัมน์ The Professional พาไปสนทนากับ ‘ครูจิ๊บ-ศิระ สีเสม’ เจ้าของโรงเรียนสอนขี่ม้า Rodeo Horse Riding ถึงความน่าสนใจ ความสนุก และความท้าทายของการขี่ม้าที่กลายเป็นกิจกรรมทางเลือกใหม่ในยุคนี้
‘การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน’ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยกระบวนการคิดและนวัตกรรมนโยบาย
‘ขอนแก่น’ คือหนึ่งในเมืองที่หลายฝ่ายจับตามอง เพราะที่นี่เปรียบเสมือน ‘ศูนย์กลางความเจริญ’ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การศึกษา หรือแม้แต่ความหลากหลายของวัฒนธรรมอีสาน แต่การเติบโตของเมืองย่อมตามมาด้วยปัญหาที่ซับซ้อน โดยเฉพาะการหลั่งไหลเข้ามาของประชากรที่ก่อให้เกิดความท้าทายอื่นๆ เช่น ปัญหาที่อยู่อาศัย การแย่งงานของคนในพื้นที่และคนต่างถิ่น รวมถึงความเหลื่อมล้ำและคนจนเมือง เพื่อส่งเสริมการเติบโตของเมืองโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง Thailand Policy Lab ร่วมกับ UNDP Accelerator Lab Thailand จากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดกิจกรรม ‘Policy Innovation Journey’ หรือ ‘เส้นทางสานฝันสร้างนโยบายครั้งที่ 4’ โดยยกห้องปฏิบัติการไปที่อำเภอเมืองขอนแก่น เพื่อนำเสนอ ‘นวัตกรรมนโยบาย’ ให้แก่นักวางแผนนโยบายระดับท้องถิ่น ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน การจัดทำเส้นทางสานฝันสร้างนโยบายครั้งที่ 4 นี้ไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนในจังหวัดขอนแก่นเพียงแห่งเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงพื้นที่อื่นๆ ทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เห็นได้จากผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ที่มาจากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ภาครัฐ อบจ. อบต. ผู้นำชุมชน ภาคประชาสังคม และภาคเอกชนจากทั่วภาคอีสาน เครื่องมือนโยบายที่ Thailand Policy Lab […]
‘World Architecture Festival 2023’ เวทีระดับโลกของวงการสถาปัตยกรรม 29 พ.ย. – 1 ธ.ค. ที่ประเทศสิงคโปร์
เวทีประกาศรางวัลในวงการต่าง ๆ ถือได้ว่าเป็นการการันตีความสามารถของผู้ผลิตผลงาน รวมถึงยังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนในวงการเหล่านั้นมีกำลังใจในการผลิตผลงานดี ๆ ออกมาอีกด้วย เช่นเดียวกันกับวงการสถาปัตยกรรมก็มีงานระดับโลกอย่าง ‘World Architecture Festival’ งานประกาศรางวัลเพื่อเชิดชูผลงานและความสามารถของสถาปนิกและนักออกแบบทั่วโลก ที่สามารถเปรียบเทียบได้ว่าเป็นงาน ‘Oscars’ ของวงการสถาปัตยกรรม World Architecture Festival เป็นงานใหญ่ในวงการสถาปัตยกรรมที่ไม่ได้เป็นแค่การมอบรางวัลเท่านั้น แต่ยังเป็นเวทีพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของสถาปนิกและนักออกแบบทั่วโลก อีกทั้งยังช่วยเปิดโอกาสในการสร้างเครือข่าย ต่าง ๆ ในวงการสถาปัตยกรรม รวมถึงเป็นพื้นที่ให้กับเหล่าสถาปนิกรุ่นใหม่ ๆ ได้แสดงผลงานสู่สาธารณะอีกด้วย ไม่ใช่แค่ WAF เท่านั้น แต่ยังมีงาน ‘Inside World Festival of Interiors’ ที่จัดควบคู่ในเวลาและสถานที่เดียวกัน ซึ่งงานนี้เป็นงานที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ การสร้างแรงบันดาลใจ และการแลกเปลี่ยนความรู้ในแวดวงการออกแบบภายใน สำหรับปีนี้ World Architecture Festival 2023 จะจัดขึ้นที่ Marina Bay Sands ประเทศสิงคโปร์ ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน – […]
‘โกเบ’ เมืองแห่งการออกแบบที่เติบโตได้ด้วยความคิดสร้างสรรค์
‘เมืองโกเบ’ ประเทศญี่ปุ่น ไม่ได้เป็นแค่แหล่งผลิตเนื้อวัวเกรดพรีเมียมชื่อดังระดับโลกอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่ที่นี่ยังเป็นศูนย์รวมการค้าระหว่างประเทศของญี่ปุ่นมาช้านาน และเป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากที่สุดแห่งหนึ่งของแดนปลาดิบ เท่านั้นไม่พอ โกเบยังนำการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์มาใช้ฟื้นฟูและพัฒนาเมืองอย่างรอบด้าน ทำให้ยูเนสโกประกาศให้เมืองท่าแห่งนี้เป็น ‘เมืองแห่งการออกแบบ’ (City of Design) ในปี 2018 โดยโกเบตั้งใจใช้การออกแบบสร้างเมืองที่ส่งเสริมคนทุกกลุ่มให้ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข แต่การออกแบบที่เรากำลังพูดถึงไม่ได้มีแค่สีสันและโครงสร้างของเมืองเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการสนับสนุนให้ผู้คนใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างเมืองที่น่าอยู่ด้วย แนวทางการพัฒนาเมืองตามแบบฉบับของโกเบเป็นแบบไหน คอลัมน์ City in Focus ชวนไปหาคำตอบพร้อมกัน การพัฒนาทิวทัศน์ของเมือง มิติแรกของการออกแบบในเมืองโกเบที่อยากพูดถึงคือ ‘ภาพทิวทัศน์ของเมือง’ หรือ ‘Cityscape’ ที่โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมที่แปลกตา และอยู่ใกล้ทั้งท้องทะเลและภูเขา โดยโกเบได้พัฒนา Cityscape ผ่าน 4 แนวทางหลักๆ ได้แก่ 1) การปรับปรุงย่านซันโนะมิยะ : ซันโนะมิยะ (Sannomiya) เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่เปรียบเสมือนประตูสู่เมืองโกเบ ที่สำคัญย่านนี้ยังมีกิจกรรมมากมาย เป็นที่ตั้งของเส้นทางรถไฟหลายสาย ทั้งยังอยู่ติดกับท้องทะเลและมีบรรยากาศของภูเขาเป็นฉากหลัง โกเบได้พัฒนาย่านซันโนะมิยะใหม่ เพื่อทำให้พื้นที่แห่งนี้น่าตื่นเต้นและสะดวกสบายสำหรับผู้อยู่อาศัยมากขึ้นผ่านโครงการต่างๆ เช่น โปรเจกต์ภาพถ่าย ‘1000 SMiLE Project’ ที่รวบรวมรอยยิ้มและภาพฝันที่ชาวโกเบอยากเห็นในอนาคต รวมถึงการเปลี่ยนสี่แยกซันโนะมิยะ (Sannomiya […]
‘จิตวิญญาณที่ไม่หยุดนิ่ง’ หนังสั้นโฆษณาเรื่องใหม่ของ ‘บางจาก’ ที่เชื่อว่าเมื่อมีความมุ่งมั่น เราก็มีพลังสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
ราว 5 ปีก่อน หลายคนอาจเคยดู ‘ความสุขที่ยั่งยืน คือกำไรที่มั่นคง’ หนังสั้นโฆษณาที่ผลิตขึ้นในวาระครบรอบ 35 ปีของบางจาก เล่าเรื่องนักธุรกิจใหญ่คนหนึ่งที่กำลังไปซื้อตึกแถวซึ่งเป็นร้านขายข้าวแกงชื่อ ‘สุขโภชนา’ แต่พอจะไปเจรจา แม่ค้าเจ้าของร้านก็บอกให้เขานั่งกินข้าวแกงราคา 35 บาทเสียก่อน ในมื้ออาหารนั้นเอง นักธุรกิจได้เรียนรู้ว่าข้าวแกงที่ราคาแสนถูกนั้นช่วยให้ลูกค้าประจำประหยัดได้แค่ไหน แถมป้าเจ้าของร้านยังมีสายสัมพันธ์ที่แข็งแรงกับลูกค้าแต่ละคน สุดท้ายนักธุรกิจก็ล้มเลิกความคิดที่จะซื้อตึกนั้นไป หนังโฆษณาชุดข้าวแกงได้รับคำชมล้นหลาม หลายคนบอกว่าสร้างแรงบันดาลใจในการส่งต่อสิ่งดีๆ แถมยังมียอดผู้ชมมากกว่า 50 ล้านวิวในหลายประเทศอีกต่างหาก จึงไม่แปลกเลยที่หลายคนจะตั้งตารอหนังสั้นโฆษณาชุดใหม่จากบางจาก ซึ่งหลังจากรอมา 5 ปี บางจากก็คลอดหนังสั้นโฆษณาชุดใหม่ชื่อ ‘จิตวิญญาณที่ไม่หยุดนิ่ง’ (Regenerative Soul) ออกมาให้ได้รับชม เนื่องในโอกาสที่บางจากก้าวเข้าสู่ปีที่ 40 เป็นโอกาสดีของชาว Urban Creature เพราะวันนี้เราได้ตามติดมาดูหนังสั้นโฆษณาชุดนี้ในอีเวนต์เปิดตัวด้วย และหลังจากที่ได้รับชม พูดได้เลยว่าหนังสั้นชุดนี้น่าประทับใจไม่แพ้ชุดข้าวแกงเลยทีเดียว จิตวิญญาณที่ไม่หยุดนิ่ง (Regenerative Soul) คือหนังสั้นโฆษณาความยาวประมาณ 5 นาทีที่เล่าเรื่องราวของเด็กชายคนหนึ่งผู้มีความฝันอยากสัมผัสแสงอาทิตย์ เพราะเขาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านกลางหุบเขาที่แสงอาทิตย์ส่องไม่ถึง แถมน้องสาวที่อยู่ด้วยกันยังป่วยกระเสาะกระแสะอีกต่างหาก เด็กชายจึงพยายามทำทุกวิถีทางให้ตนกับน้องสาวมีโอกาสได้อาบแสงอาทิตย์สักครั้ง โดยได้แรงช่วยเหลือจากชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในหุบเขาเดียวกันนั้นเอง ไม่ขอสปอยล์ว่าสุดท้ายเด็กชายและชาวบ้านจะทำสำเร็จหรือไม่ แต่สิ่งที่เราประทับใจมากจากการรับชมหนังสั้นโฆษณาชุดจิตวิญญาณที่ไม่หยุดนิ่ง (Regenerative Soul) นอกจากโปรดักชันอลังการราวกับหนังฮอลลีวูด […]
‘GINLEE Studio’ แบรนด์แฟชั่นจากสิงคโปร์ที่ผลิตสินค้าไปพร้อมๆ กับลดขยะให้โลก
เมื่อพูดถึง ‘สิงคโปร์’ คนส่วนใหญ่มักนึกถึงเมืองสีเขียวหรือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่น้อยคนนักที่จะนึกถึง ‘แฟชั่น’ อีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่โดดเด่นของสิงคโปร์ เพราะความจริงแล้วสิงคโปร์เองก็มีแบรนด์แฟชั่นโลคอลที่น่าสนใจ หนึ่งในนั้นคือ ‘GINLEE Studio’ ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แถมยังเป็นแบรนด์ที่บุกเบิกให้วงการแฟชั่นในสิงคโปร์มีความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ผ่านการดำเนินงานและความร่วมมือจากลูกค้าของแบรนด์ Urban Creature มีโอกาสไปร่วมลองทำกระเป๋ากับ GINLEE Studio ที่สิงคโปร์ จึงอยากชวนให้ทุกคนได้ทำความรู้จักแบรนด์นี้กันมากขึ้น เผื่อว่ามีโอกาสจะได้แวะไปสัมผัสกับประสบการณ์การท่องเที่ยวแบบใหม่ที่สิงคโปร์กัน GINLEE Studio แบรนด์แฟชั่นที่โฟกัสความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม GINLEE Studio ก่อตั้งโดย ‘Gin Lee’ แฟชั่นดีไซเนอร์ชาวสิงคโปร์ และ ‘Tamir Niv’ นักออกแบบอุตสาหกรรมชาวอิสราเอล โดยธุรกิจนี้เริ่มต้นในปี 2011 ที่ประเทศอิสราเอล ก่อนจะย้ายมาเปิดธุรกิจที่ประเทศสิงคโปร์ในปี 2020 Tamir บอกกับเราว่า ในฐานะผู้ผลิตสินค้าแฟชั่น ทางแบรนด์เข้าใจดีว่าอุตสาหกรรมแฟชั่นนั้นสร้างขยะมากแค่ไหน เช่นเดียวกับแบรนด์เสื้อผ้าอื่นๆ ก่อนหน้านี้ GINLEE เองก็ผลิตสินค้าออกมาเป็นจำนวนมาก แต่จำนวนของคนซื้อนั้นกลับน้อยกว่าสินค้าที่ผลิตออกมา ทำให้สินค้าเหล่านั้นต้องเปลี่ยนมูลค่าจากแฟชั่นกลายเป็นขยะ ทำให้แบรนด์ตระหนักถึงปริมาณขยะที่เกิดจากการผลิตสินค้ามากเกินไป จึงตัดสินใจลดการผลิตลงเหลือแค่ 30 เปอร์เซ็นต์ เพื่อควบคุมการผลิตให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม โดย […]
เตรียมจองตั๋วบินไปยุโรปปีหน้า เพราะนักวิทยาศาสตร์เผยว่าแสงเหนือจะสวยที่สุดในรอบ 20 ปี
ถ้า Bucket List ของคุณจดไว้ว่าสิ่งที่อยากทำก่อนตายเป็นการไปดูแสงเหนือหรือออโรรา (Aurora) ด้วยตาเนื้อตัวเองสักครั้ง ก็คงไม่มีเวลาไหนดีไปกว่าปีหน้าอีกแล้ว เพราะล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ออกมาบอกว่า ยุโรปในช่วงหน้าหนาวของปี 2024 จะสามารถมองเห็นแสงเหนือที่สวยที่สุดในรอบ 20 ปี ตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคมไปจนถึงตุลาคม ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากมีการคาดการณ์จากนักวิจัยฟิสิกส์อวกาศจากหอดูดาวธรณีฟิสิกส์ทรอมโซ มหาวิทยาลัยอาร์กติกแห่งนอร์เวย์ (UiT) ว่าในช่วงเวลาดังกล่าวจะเกิดปรากฏการณ์ ‘Solar Maximum’ ที่วนกลับมาเกิดขึ้นในทุกๆ 11 ปี ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์จากการสลับขั้วแม่เหล็กเหนือ-ใต้ และเหตุการณ์ Solar Maximum ในครั้งนี้จะเป็นครั้งที่ดวงอาทิตย์เข้าใกล้จุดสูงสุดและพายุสุริยะเพิ่มมากขึ้นในรอบ 20 ปี ทำให้เกิดแสงเหนือที่สวยงามมากขึ้นตามไปด้วยทั้งในบริเวณขั้วโลกตอนล่างและทางใต้ของยุโรป แตกต่างจากในอดีตที่ชมแสงเหนือได้เพียงบางประเทศหรือบางจุดเท่านั้น เพราะในครั้งนี้เราจะมองเห็นแสงเหนือส่องสว่างทั่วสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ในช่วงสุดสัปดาห์เป็นส่วนใหญ่ โดยจะทอดยาวไปทางใต้จนถึงสโตนเฮนจ์กันเลยทีเดียว เรียกได้ว่าถ้าไม่จองตั๋วไปดูในครั้งนี้ อาจต้องรอไปอีก 11 ปีถึงจะมีแสงเหนือในลักษณะนี้ให้เห็นกันอีกครั้ง Source : The Guardian | t.ly/ji8z_
‘Vibra’ เครื่องดนตรีที่ช่วยให้ผู้บกพร่องทางการได้ยินเล่นดนตรีได้ผ่านสี การสั่นสะเทือน และการมองภาพ
ปัจจุบัน ‘ดนตรี’ เป็นสื่อที่ไม่จำกัดสำหรับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บกพร่องทางการได้ยินไม่ว่าจะเป็นคนหูหนวกหรือคนหูตึงก็สามารถเรียนรู้การเล่นดนตรีได้ แต่ด้วยความที่เครื่องดนตรีมักต้องอาศัยการฟังเป็นหลัก หากมีตัวช่วยที่ทำให้การเรียนรู้และการเล่นดนตรีสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยินสะดวกขึ้นก็ย่อมเป็นเรื่องดีไม่น้อย ‘Vibra’ คือเครื่องดนตรีและบริการใหม่ที่จะช่วยให้ผู้ที่บกพร่องทางการได้ยินสามารถเล่นดนตรีได้ง่ายขึ้น เนื่องจากการทำงานของ Vibra แตกต่างจากเครื่องดนตรีอื่นๆ ที่ใช้การตอบสนองจากเสียงเพียงอย่างเดียว โดยเครื่องดนตรีชนิดนี้จะเพิ่มสีสัน การสัมผัสผ่านแรงสั่นสะเทือน รวมถึงข้อมูลภาพจากแอปพลิเคชันให้ผู้ใช้งานได้เห็นภาพดนตรีของตัวเอง และจากการมองเห็นภาพแทนการฟังเสียงอย่างเดียวนี้จะช่วยให้ผู้ใช้งานเล่นดนตรีได้ง่ายขึ้น หรือหากใครไม่มีประสบการณ์ทางด้านดนตรีก็สามารถเรียนรู้ทฤษฎีต่างๆ พร้อมทั้งฝึกฝนการเล่นดนตรีผ่านการใช้แอปพลิเคชันนี้ได้ด้วย ด้วยการออกแบบที่ชาญฉลาด ทำให้ Vibra ซึ่งเป็นผลงานการออกแบบของนักออกแบบชาวเกาหลีใต้ 4 คนคือ ‘Ahn Taegwang’, ‘Go Yeongseok’, ‘Hwang Jimin’ และ ‘Lee Wonjae’ ได้รับรางวัล Red Dot Award : Design Concept 2023 Sources :Red Dot | red-dot.org/project/vibra-65884Yanko Design | tinyurl.com/mtpk3rhe