สำรวจคลื่นทะเลในใจและปัญหาชายหาดสงขลาใน ‘Solids by the Seashore’ หนังแซฟฟิกไทยที่ไปคว้ารางวัลที่เกาหลีใต้

ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน (Busan International Film Festival : BIFF) ครั้งที่ 28 ที่ผ่านมา มีสองหนังไทยที่ได้เข้าฉายในเทศกาลและได้รับรางวัลติดไม้ติดมือกลับมาด้วย หนึ่งในนั้นคือ ‘Solids by the Seashore ทะเลของฉัน มีคลื่นเล็กน้อย ถึงปานกลาง’ โดยผู้กำกับ ‘อิฐ-ปฏิภาณ บุณฑริก’ น่าเสียดายที่แม้ว่าจะไปคว้าถึงสองรางวัลจากเทศกาลหนังระดับนานาชาติ แต่ Solids by the Seashore กลับมีที่ทางในการฉายแสนจำกัดแค่ในกรุงเทพฯ เท่านั้น เพราะนอกจากรางวัลที่การันตีคุณภาพแล้ว หนังเรื่องนี้ยังมีประเด็นที่น่าสนใจซึ่งไม่ค่อยมีหนังไทยเลือกหยิบมาบอกเล่านัก ตั้งแต่การพาไปสำรวจความซับซ้อนในใจของมุสลิมที่มีหัวก้าวหน้าและเป็นเควียร์ การเมืองท้องถิ่น ปัญหาสิ่งแวดล้อมชายหาดกัดเซาะ ไปจนถึงการใช้งานศิลปะสะท้อนความในใจของสองตัวละครหลัก ซึ่งคนหนึ่งเป็นหญิงสาวชาวใต้ที่มีครอบครัวมุสลิมอนุรักษนิยม และอีกคนคือศิลปินหญิงหัวขบถจากในเมืองที่เดินทางมาจัดนิทรรศการศิลปะ พ้นไปจากความรักความสัมพันธ์ของหญิงสาวทั้งสองที่พยายามหาที่ทางให้ตัวเองภายใต้กรอบที่ขีดกั้น การที่ฉากหลังของความสัมพันธ์เป็นสิ่งแวดล้อมของทะเลที่งดงามและความอัปลักษณ์ของเขื่อนหินกันคลื่นกับเม็ดทรายแปลกปลอม ก็สื่อสารถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาเมืองได้อย่างแยบคาย คงดีไม่น้อยถ้าคนในจังหวัดอื่นๆ จะได้ชมหนังเรื่องนี้ด้วย Solids by the Seashore ฉายแล้ววันนี้ในโรงภาพยนตร์ House Samyan และ Doc Club & Pub.

ตามไป Art Hopping กับ ‘meanlee’ นักวาดชาวไทยที่สถาบันเกอเธ่ฯ ส่งไปเสพงานศิลปะที่เบอร์ลิน

ความฝันของคนเป็นศิลปินทุกคน นอกจากจะมีพลังสร้างงานศิลปะของตัวเองออกมาได้อย่างต่อเนื่องและ Enjoy the Process อยู่เสมอ หลายคนคงปักหมุดในใจว่าอยากเสพงานศิลปะที่หลากหลาย เปิดหูเปิดตามากเท่าที่จะทำได้ และบางครั้งอาจฝันถึงการไปเยือนเมืองแห่งศิลปะสักครั้งในชีวิต ‘มีน-ธันยธรณ์ ลี้ไวโรจน์’ ก็เคยฝันแบบนั้น เธอคือศิลปิน กราฟิกดีไซเนอร์ และนักวาดภาพประกอบฟรีแลนซ์ที่ชีวิตผูกติดกับการวาดมาตลอด อาจเพราะสีสันฉูดฉาด ลายเส้นที่ดึงดูดสายตา และข้อความทางการเมืองบางอย่างที่ซ่อนไว้ในงานของมีน เธอจึงได้โอกาสจากสถาบันเกอเธ่ฯ สถาบันที่นอกจากโด่งดังเรื่องการสอนภาษาเยอรมันแล้ว ยังเป็นสะพานเชื่อมต่อให้คนไทยและศิลปินเยอรมันได้ใกล้ชิดกัน ผ่านกิจกรรมและโครงการพิเศษมากมาย กรณีของมีนก็นับเป็นหนึ่งในนั้น มีนถูกเลือกจากสถาบันเกอเธ่ฯ ที่สนับสนุนการเดินทางไปเข้าร่วมงาน Berlin Art Week และ Stuttgarter Comictage ที่ประเทศเยอรมนีเมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา ซึ่งเธอออกปากว่าเป็นประสบการณ์พิเศษที่ไม่เหมือนประสบการณ์ไหนในชีวิต หญิงสาวถูกเลือกจากสถาบันเกอเธ่ฯ ได้อย่างไร และทริปเสพงานศิลปะของเธอจะเปิดโลกให้กับศิลปินคนหนึ่งได้แค่ไหน เราขอชวนมาฟังประสบการณ์ของเธอในบรรทัดต่อจากนี้ From Dreamer to Artist มีนรักการวาดภาพมาตั้งแต่จำความได้ เธอจึงมุ่งมั่นเดินทางสายนี้จนเข้าเรียนที่ภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเมื่อสำเร็จการศึกษาออกมาก็ยังคลุกคลีกับงานออกแบบและลายเส้น หญิงสาวนิยามงานของเธอว่าเป็นสไตล์ Pop Art สีฉูดฉาด ใช้ลายเส้นเยอะ และเริ่มเสียดสีสังคมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ “ช่วงเราเรียนจบใหม่เป็นช่วงเลือกตั้งปี 2019 ที่การเมืองดุเดือด […]

น้ำขวดไหนหมดอายุ แค่กดก็รู้ได้ด้วย ‘Mimica Bump Cap’ ฝาขวดน้ำอัจฉริยะไวต่ออุณหภูมิ 

เชื่อว่าในตู้เย็นของหลายบ้าน นอกจากจะมีมะนาวครึ่งซีกที่ใช้ไม่หมดวางไว้แล้ว ในช่องใส่ขวดน้ำก็ยังเต็มไปด้วยขวดน้ำที่เหลือครึ่งขวดวางเรียงรายอยู่เต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นน้ำเปล่า น้ำผลไม้ หรือนม ครั้นนานๆ เข้าจะหยิบมากินก็เริ่มไม่มั่นใจว่าน้ำเหล่านั้นจะหมดอายุหรือยัง เพื่อไม่ให้คนหยิบเอาของเสียที่หมดอายุเข้าปาก หรือเผลอทิ้งของที่ยังไม่หมดอายุไปเพราะความกลัว สองบริษัทผลิตฝาผลิตภัณฑ์ ‘United Caps’ และ ‘Mimica’ จึงร่วมมือกันนำเสนอโซลูชันสุดล้ำสำหรับการรับรองความปลอดภัยของอาหาร ‘Mimica Bump Cap’ ฝาขวดพลาสติกที่ออกแบบมาให้แยกผลิตภัณฑ์ที่ยังสดใหม่หรือเสียแล้วออกจากกันได้ หลักการทำงานของ Mimica Bump Cap ง่ายมาก แค่กดบริเวณฝาขวดโดยไม่ต้องเปิดขวดเพื่อดมกลิ่นหรือลิ้มรสให้ยุ่งยาก เพราะถ้าผลิตภัณฑ์อยู่ในสภาพดีและบริโภคได้ ฝาจะอยู่ในสภาพเรียบเนียนเป็นปกติ แต่ถ้ากดลงไปแล้วรู้สึกถึงเทกซ์เจอร์ปุ่มนูนซึ่งเป็นหนึ่งในส่วนประกอบภายในฝา แสดงว่าได้เวลาโยนเครื่องดื่มนั้นทิ้งได้แล้ว เนื่องจากการยุบตัวของฝาขวดเกิดจากการทำปฏิกิริยาของเจลที่ทำจากพืชที่อยู่ภายในฝา ซึ่งถ้าผลิตภัณฑ์ภายในเน่าเสีย ตัวเจลจากพืชที่ไวต่ออุณหภูมิจะสลายตัวเป็นของเหลว ทำให้เรากดฝาจนรู้สึกถึงปุ่มนูนได้นั่นเอง ถือเป็นนวัตกรรมที่ออกมาเพื่อแก้ปัญหาความท้าทายด้านความยั่งยืน ลดการเกิดขยะอาหารโดยไม่จำเป็น อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อผู้พิการทางสายตาได้มากกว่าการเขียนวันหมดอายุไว้ที่ข้างขวดแบบเดิมๆ Sources :Mimica | www.mimicalab.com/bumpcapinfoUnited Caps | www.unitedcaps-innovations.com/mimicaYanko Design | t.ly/i22Lj

‘Goose Liver’ บอร์ดเกมที่จะพาไปสำรวจเส้นทางอันโหดร้ายของอุตสาหกรรมการผลิตฟัวกราส์ราคาแพง

ใกล้ช่วงคริสต์มาสเข้ามาทุกที หลายประเทศเริ่มมีการเตรียมวัตถุดิบสำหรับเฉลิมฉลองอาหารมื้อพิเศษประจำปี โดยหนึ่งในนั้นก็มักมี ‘ฟัวกราส์’ เมนูราคาแพงที่แลกมากับการทรมานห่านเพื่อการผลิตตับห่านที่นุ่มละมุนลิ้นอยู่ด้วย และเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ลดการกินฟัวกราส์ลง ‘Wakker Dier’ องค์กรสิทธิสัตว์ และ ‘Mutant’ บริษัทเอเจนซีโฆษณาในเบอร์ลิน ได้ร่วมมือกันผลิต ‘Goose Liver’ บอร์ดเกมที่มีสีสันและภาพประกอบสดใส เลียนแบบ ‘Game of the Goose’ บอร์ดเกมแบบดั้งเดิมในศตวรรษที่ 15 แม้ว่าภาพจะดูน่าเล่น แต่เนื้อหาในเกมนั้นกลับเป็นการย้ำให้เห็นถึงความเป็นจริงอันโหดร้ายในอุตสาหกรรมการผลิตฟัวกราส์ ที่ถึงจะมีการห้ามผลิตในหลายประเทศของยุโรป แต่การบริโภคและการนำเข้ายังคงมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ บอร์ดเกมนี้จะพาไปดูเส้นทางในขั้นตอนการผลิตฟัวกราส์ ทั้งกระบวนการที่ได้มาซึ่งตับห่าน ก่อนจะเปลี่ยนให้เป็นอาหารรสเลิศ ซึ่งในการทอยลูกเต๋าแต่ละครั้ง เลขแต้มที่ได้อาจพาผู้เล่นไปตกอยู่ในสถานการณ์อันโหดร้ายอย่างการบังคับป้อนอาหารที่สะท้อนถึงการทารุณห่านเหล่านี้ นอกจากนี้ยังมีอุปสรรคอีกมากมายตลอดทั้งเส้นทาง ไม่ว่าจะเป็นช่องที่เปลี่ยนให้ห่านของเราต้องเป็นอาหารแมวหลังจากพบว่าคุณสมบัติไม่เพียงพอที่จะกลายเป็นฟัวกราส์ ช่องที่พาเรากลับไปยังจุดเริ่มต้นกับการทนทุกข์ทรมานใหม่ทั้งหมดเพราะปัญหาไข้หวัดนกระบาด หรือช่องที่ต้องย้อนกลับไปที่โรงงานผลิตเพราะไขมันที่ตับห่านยังไม่เพียงพอ เป็นต้น โดยทาง Wakker Dier ได้ส่งเกม Goose Liver ให้อินฟลูเอนเซอร์ด้านสิทธิสัตว์ รวมไปถึงร้านอาหารที่ยังมีเมนูฟัวกราส์ขาย เพื่อเป็นการให้ความรู้และเตือนสติถึงการกระทำที่ไร้มนุษยธรรมเบื้องหลังเมนูนี้ Sources :DesignTAXI | tinyurl.com/2p8we4n3The Stable | tinyurl.com/2vjd6ysp

เปิดผลสำรวจ คนไทยส่วนใหญ่อยากลดการกินเนื้อสัตว์ใน 2 ปีนี้ หันมาสนใจโปรตีนทางเลือกมากขึ้น

จากการที่ทั่วโลกรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อนมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้คนไทยเริ่มมองเห็นความสำคัญของประเด็นนี้ ซึ่งหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นคือ ทิศทางการบริโภคอาหารของคนไทยที่เป็นไปในทางต้องการลดการบริโภคเนื้อสัตว์ภายในสองปี ด้วยเหตุผลด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และสวัสดิภาพสัตว์ อ้างอิงจากงานวิจัยจาก Madre Brava ที่ทำการสำรวจแนวโน้มและทิศทางการบริโภคอาหารของผู้บริโภคไทยมากกว่า 1,500 คน แม้คนไทยจำนวนมากจะอยากกินเนื้อสัตว์น้อยลง แต่ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะบริโภคโปรตีนน้อยลง เพียงแต่หันไปบริโภคโปรตีนจากพืช (Plant-based Protein) แทน ซึ่งมีทั้งโปรตีนจากพืชที่ไม่แปรรูปหรือแปรรูปเบื้องต้น เช่น เห็ด ถั่ว เต้าหู้ และโปรตีนทางเลือก (Alternative Proteins) เช่น ผลิตภัณฑ์ลักษณะเนื้อที่ทำจากพืช (Plant-based Meat) เป็นต้น แม้ว่าผู้บริโภคจะตระหนักถึงประโยชน์ต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม แต่โปรตีนทางเลือกยังถูกมองว่าราคาแพง ผ่านกระบวนการแปรรูปสูง และเข้าถึงยาก ทำให้ Madre Brava ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สร้างองค์ความรู้และผลักดันการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบอาหารที่ดีต่อสุขภาพและมีความยั่งยืน เสนอแนะว่า ภาครัฐและเอกชนจะต้องแก้ไขปรับปรุงข้อจำกัดต่อการเปลี่ยนผ่านสู่การบริโภคที่ดีต่อสุขภาพและยั่งยืนขึ้น พร้อมทั้งสร้างโอกาสการเติบโตของภาคการผลิตอาหารของไทย เนื่องจากปัจจุบันโปรตีนจากพืชกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาหารแห่งอนาคต (Future Food) และการเจรจาล่าสุดที่ COP28 ได้มีการบรรจุวาระเรื่องอาหารเข้ามาอย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งในอนาคตการผลิตอาหารน่าจะมีบทบาทมากขึ้นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และอีกไม่นานภาคเกษตรจะกลายเป็นภาคที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันดับหนึ่งของสหภาพยุโรป ตลาดส่งออกของไทยจำนวนมากจะเริ่มมีมาตรการทางการค้าในเรื่องนี้ ประเด็นสำคัญคือ เมื่อถึงเวลานั้นเราจะทำอย่างไรเพื่อให้เกษตรกรรายย่อยได้ประโยชน์สูงสุดจากการเปลี่ยนผ่านนี้ด้วย Source […]

TW w/o HM

จากหนังสือ The World Without US ได้กล่าวเอาไว้ว่า “ขอให้นึกภาพโลกที่จู่ๆ มนุษย์เราก็หายไป พรุ่งนี้เลย ทุกสิ่งทุกอย่างยังคงอยู่ตามเดิม แซะออกไปแต่มนุษย์ ลบเราออกไป แล้วดูสิ่งที่เหลืออยู่ถูกปลดปล่อยจากความเครียด ธรรมชาติจะฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรมกลับสู่สภาพสวนอีเดนอีกครั้ง” จุดเริ่มต้นของผลงานนี้มาจากสถานการณ์โลกที่เพิ่งผ่านมา พื้นที่สาธารณะต่างถูกจำกัดห้ามทำกิจกรรมเพื่อหยุดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จนทำให้ช่วงหนึ่งโลกของเราดูเหมือนไร้มนุษย์ แต่เมื่อโลกผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้ ฝุ่น PM 2.5 ก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในประเทศไทย ซึ่งมลพิษที่อันตรายไม่แพ้ไวรัสร้ายที่เพิ่งจบลง ทั้งสองสิ่งนี้ล้วนเกิดจากฝีมือมนุษย์เราที่ทำร้ายบ้านหลังนี้และตัวเราเองให้แย่ลงเรื่อยๆ ในปัจจุบันสิ่งที่เกิดขึ้นจากความรู้ของพวกเราอย่าง AI ที่กำลังเข้ามาเป็นผู้ช่วยสำคัญในการสรรค์สร้างสิ่งต่างๆ จนมีทฤษฎีที่ว่า หากเราไม่ทำความเข้าใจและจำกัดความสามารถของมัน ปัญญาประดิษฐ์จะเป็นสิ่งที่มาแทนที่พวกเราในอนาคต อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำงานชิ้นนี้คือ ผมมีชีวิตวัยเด็กที่เติบโตมากับสวนยางของพ่อที่  อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นสถานที่ที่เงียบสงบที่สุดสำหรับผม พ่อสอนให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติมาตลอด เพราะต้นยางเป็นทั้งร่มเงาให้หลบแดดร้อน และน้ำยางก็หล่อเลี้ยงครอบครัวผมมาตลอด จนผมได้เข้ามาใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ ที่มีแต่ตึกสูงๆ มันก็ชวนให้คิดถึงบ้านอยู่เรื่อยๆ ทว่า TW w/o HM ยังไม่ใช่ชื่ออย่างเป็นทางการของโปรเจกต์นี้ เป็นเพียงแค่ Code Name ที่เอามาจากหนังสือที่ผมใช้อ้างอิงให้กับผลงานชุดนี้ ได้แก่ The World Without US, […]

FYI

45 ปีสยามคูโบต้า กับการส่งต่อสิ่งดีๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรไทย

เมื่อพูดถึงชื่อ ‘สยามคูโบต้า’ คุณนึกถึงอะไร เครื่องจักรกลการเกษตรคุณภาพดีที่ตั้งอยู่กลางไร่นา ช่วยผ่อนแรงเกษตรกรไทยมาหลายสิบปี อาจเป็นภาพแรกที่หลายคนนึกถึง กับคนในแวดวงทำไร่ทำสวนคงรู้กันดีว่าสยามคูโบต้ามีเครื่องจักรกลการเกษตรแทบทุกรูปแบบ ใช้คำว่าครบวงจรก็ไม่ผิด นอกจากจะทำให้ชีวิตคนทำเกษตรง่ายขึ้นมาก สยามคูโบต้ายังเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ และมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค เหมือนกับต้นไม้ต้นหนึ่ง หากจะเติบโตได้ดีต้องมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม สยามคูโบต้าเชื่อว่าการจะทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน แบรนด์ต้องก้าวไปข้างหน้าพร้อมกับชุมชน นั่นคือเหตุผลที่นอกจากจะพัฒนานวัตกรรมที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรแล้ว สยามคูโบต้ายังมีการทำกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายคือการสร้างชุมชนเกษตรต้นแบบที่เข้มแข็ง มากกว่านั้นคือการมอบความรู้และส่งเสริมเยาวชนให้กลายเป็นบุคลากรด้านการเกษตรที่ดีในอนาคต และสุดท้ายคือการตอบแทนสังคมอย่างยั่งยืน เพราะสยามคูโบต้ามีอายุครบ 45 ปี คอลัมน์ FYI ครั้งนี้ ขอชวนสำรวจโครงการต่างๆ ที่สยามคูโบต้าจัดขึ้นมาตลอด อ่านจบแล้วอาจทำให้คุณรู้จักคูโบต้าเพิ่มขึ้นอีกนิด และถ้าเป็นไปได้ อาจจะทำให้คุณรักคูโบต้าเพิ่มขึ้นอีกหน่อย โครงการแรกเกิดขึ้นที่สุดเขตแดนสยาม ไกลออกไปในอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี มีโรงเรียนเล็กๆ ตั้งอยู่ โรงเรียนนี้ชื่อว่าโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตะโกปิดทอง เป็นโรงเรียนที่หากเดินเท้าไปอีกนิดจะเข้าเขตประเทศพม่า บริเวณรอบๆ จึงมีเด็กๆ ชาติพันธุ์อาศัยอยู่ และต่างเดินทางมาเรียนในรั้วเดียวกัน เมื่อมีเด็กๆ ชาติพันธุ์มาเรียนมากมาย หนึ่งในปัญหาของที่นี่คือทรัพยากรอาหารไม่เพียงพอ โดยเฉพาะผักสวนครัวที่หาเก็บไม่ได้เพราะไร้แหล่งปลูก สยามคูโบต้ามองเห็นความขาดแคลนนี้ จึงจัดตั้ง ‘ค่ายอาสาโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน โดยพนักงานสยามคูโบต้า’ ขึ้นมา เพื่อช่วยเพิ่มพื้นที่ปลูกผักในโรงเรียนจนเพียงพอต่ออาหารกลางวัน เพิ่มความสะดวกให้นักเรียนบ้านไกล และช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับพวกเขา มากกว่านั้น […]

สัมผัสเสน่ห์วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยวชุมชนแห่งแดนสตูล 

ช่วงไม่กี่ปีมานี้ ‘การท่องเที่ยวชุมชน’ เป็นอีกหนึ่งรูปแบบการท่องเที่ยวที่คนไทยให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเป็นการเดินทางที่ไม่ได้ให้แค่ความสนุกหรือการพักผ่อนหย่อนใจอย่างเดียว แต่ยังเป็นการพัฒนาท้องถิ่นและส่งเสริมความยั่งยืนให้กับสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมด้วย ถึงอย่างนั้นความท้าทายสำคัญของการท่องเที่ยวประเภทนี้คือการออกแบบพื้นที่เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับชุมชน ขณะเดียวกันก็ต้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรท้องถิ่น รวมถึงป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด คอลัมน์ Urban Guide ขอชวนทุกคนล่องใต้ไปที่อำเภอละงู จังหวัดสตูล ร่วมกับมูลนิธิเอสซีจี (SCG Foundation) เพื่อสัมผัสอีกหนึ่งเมืองรองของไทยที่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการท่องเที่ยวชุมชนกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ที่สำคัญ การจัดการแหล่งท่องเที่ยวของดินแดนชายฝั่งทะเลอันดามันแห่งนี้ยังเกิดจากความร่วมมือระหว่างเครือข่ายท้องถิ่น และเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่กลับมาพัฒนาบ้านเกิด จนหลายๆ คนกลายเป็นต้นแบบที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนในชุมชน ‘ต้นกล้าเป็ด’ จากนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสู่นักจัดการท่องเที่ยวชุมชน ความพิเศษของการเดินทางครั้งนี้คือ เรามีไกด์ท้องถิ่นที่พาไปสัมผัสธรรมชาติและวัฒนธรรมของสตูลตามแบบฉบับคนท้องถิ่น นั่นคือ ‘เป็ด-จักรกริช ติงหวัง’ นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ที่ตอนนี้หันมาทำงานด้านการท่องเที่ยวชุมชนอย่างเต็มตัว โดยปัจจุบันเป็ดเป็นประธานกลุ่มการท่องเที่ยวชุมชนบ้านหลอมปืน มากไปกว่านั้น เป็ดยังเป็นอีกหนึ่งตัวอย่าง ‘ต้นกล้าชุมชน’ จากโครงการ ‘Learn to Earn เรียนรู้เพื่ออยู่รอด’ แนวคิดจากมูลนิธิเอสซีจีที่ต้องการให้เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่เรียนรู้ ปรับตัว พร้อมรับมือสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เน้นไปที่การเรียนรู้ตลอดชีวิตซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในห้องเรียนเท่านั้น เป็ดเล่าให้ฟังว่า ตัวเองเป็นลูกหลานชาวประมงที่เกิดและโตในพื้นที่อ่าวทุ่งนุ้ย บ้านหลอมปืน ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล เขาเริ่มทำงานชุมชนตามรอยพ่อในงานด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ระบบนิเวศเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพในระดับท้องถิ่น […]

‘วนวน’ แพลตฟอร์มรวมร้านซ่อมใกล้บ้าน ที่อยากให้คนหันมาซ่อมและใช้ของที่มีอยู่วนไป

เวลามีเสื้อผ้าชำรุด ซื้อชุดมาแล้วเอวใหญ่กว่าที่คิด ขายาวกว่าที่คาด ทุกคนจัดการกับปัญหานี้ยังไงบ้าง เชื่อว่าหลายคนคงคิดถึงช่างซ่อมริมทางหรือร้านรับซ่อมเสื้อผ้าใกล้บ้าน ที่เดินผ่านก็บ่อย คิดอยากใช้บริการอยู่หลายครั้ง แต่พอโอกาสมาถึงก็เกิดกลัวขึ้นมาว่าจะซ่อมได้ไม่ถูกใจ หรือแม้แต่เริ่มต้นไม่ถูก ไม่รู้ว่าจะเข้าไปใช้บริการยังไงดี สุดท้ายกลายเป็นว่าต้องเก็บเสื้อผ้ารอซ่อมเหล่านั้นเข้าตู้ไปเหมือนเดิม เราอยากแนะนำคนที่มีปัญหานี้ให้รู้จักกับ ‘วนวน’ แพลตฟอร์มออนไลน์ที่รวมข้อมูลความถนัดของร้านซ่อมน้อยใหญ่ พร้อมพิกัดที่อยู่และรีวิวจากผู้ใช้จริง เพื่อกระตุ้นให้เกิดสังคมแห่งการซ่อม และกลุ่มคนที่ทำวนวนขึ้นมาไม่ใช่ใครที่ไหน แต่คือ ‘Reviv’ คอมมูนิตี้อาสาที่ส่งเสริมให้คนหันมาซ่อมและใช้สินค้าซ้ำมากขึ้น ตามไปพูดคุยกับ ‘ภูมิ-ภาคภูมิ โกเมศโสภา’, ‘พั้นช์-พิมพ์นารา สินทวีวงศ์’, ‘หวาย-ณ.ดี กังวลกิจ’ และ ‘วาดเขียน ภาพย์ธิติ’ ตัวแทนทีมงานผู้พัฒนาวนวนขึ้นมา ถึงความตั้งใจที่อยากทำให้การซ่อมเป็นสิ่งพื้นฐานที่ทุกคนจะคิดถึง และมีวนวนเป็นหนึ่งหนทางช่วยสนับสนุนช่างเย็บกลุ่มเปราะบางทั้งในและนอกพื้นที่เมืองหลวง “แม้กระทั่งคนในทีมเองยังรู้สึกเลยว่าการซ่อมเป็นสิ่งที่เข้าถึงยาก ถ้ามีเสื้อผ้าชำรุดสักตัว คนอาจจะเลือกซื้อใหม่เลยง่ายกว่า เพราะหลายครั้งเราอาจลืมนึกถึงร้านซ่อมใกล้ตัว ไม่รู้ข้อมูลว่าเขามีบริการซ่อมอะไรบ้าง เราเลยอยากทำแพลตฟอร์มที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างผู้บริโภคกับช่างซ่อมขึ้นมา รวบรวมร้านซ่อมที่อยู่ในซอกซอยมาไว้ในแพลตฟอร์มเพื่อให้คนรู้สึกว่าการซ่อมไม่ใช่เรื่องไกลตัว”  หวายผู้เป็น Product Manager ของเว็บแอปพลิเคชันนี้บอกให้ฟังว่า ไอเดียของวนวนคล้ายกันกับสมุดหน้าเหลืองเล่มหนาที่เป็นตัวช่วยรวบรวมข้อมูลร้านค้าและบริการไว้ในเล่มเดียว คนที่สนใจสามารถกดหาร้านซ่อมในละแวกบ้านของตัวเอง พร้อมอ่านข้อมูลการบริการ เบอร์โทร ที่อยู่ วิธีการจ่ายเงิน หรือกระทั่งรีวิวจากผู้ใช้จริงได้ “วนวนไม่ได้ทำขึ้นมาเพื่อบอกว่ามีร้านซ่อมอยู่ใกล้ตัวเยอะแค่ไหน แต่มีขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้ ณ โมเมนต์ที่คนต้องการจะซ่อม […]

FYI

‘กล้าเปื้อนเพื่อเปลี่ยน’ มุมมองใหม่กับ Protex ที่อยากพาทุกคนออกจากความกังวลใจ ไปกล้าเปื้อนและลองทำสิ่งใหม่ด้วยกัน

การเริ่มต้นทำอะไรใหม่ๆ แต่ละครั้ง ล้วนต้องอาศัยความกล้า ยิ่งถ้าเป็นเรื่องที่ต้องออกจากคอมฟอร์ตโซน ไม่คุ้นเคยมาก่อน ยิ่งต้องใช้พลังเอาชนะความกลัวและความกังวลเป็นอย่างมาก นอกจากความไม่กล้าทำอะไรที่ไม่เคยทำมาก่อนแล้ว ความกลัวและความกังวลใจต่อความสกปรก โดยเฉพาะเวลาที่ต้องออกไปเลอะเปรอะเปื้อน อาจตีกรอบความคิดของเราให้พลอยกลัวที่จะทำเรื่องอื่น ไม่กล้าลองสิ่งใหม่ๆ เพราะกังวลว่าจะส่งผลเสียกับตัวเราเอง ธรรมชาติของมนุษย์สอนให้เราปกป้องตัวเองแบบนั้นเสมอ แต่การทดลองสิ่งใหม่ๆ ก็ไม่ใช่เรื่องไม่ดีเสมอไป หากมัวแต่อยู่ในคอมฟอร์ตโซน ไม่ผลักดันตัวเองให้ออกไปลองทำสิ่งใหม่ เราอาจไม่เคยค้นพบศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในตัวมานาน มากกว่านั้น เราอาจไม่ได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ และสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้ตัวเองและคนรอบข้าง Protex คือแบรนด์ที่เชื่อในพลังแห่งความกล้าและการออกไปสัมผัสสิ่งใหม่ นอกจากจะสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์คุณภาพที่ช่วยชำระล้างคราบเปื้อนออกจากร่างกายจนสะอาดสดชื่น ลดการสะสมของแบคทีเรีย ไม่นานมานี้ Protex ได้คลอดหนังโฆษณาขนาดสั้นว่าด้วยเรื่องราวของพลังจากการสัมผัสที่ได้รับการปกป้อง ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากเรื่องจริงของกลุ่มบุคคลที่กล้าสัมผัสแม้จะมีข้อจำกัดบางประการ นั่นคือ ผู้บกพร่องทางการมองเห็นในประเทศไทย โฆษณาชุดนี้เล่าเรื่องราวของครูผู้สอนเด็กๆ ผู้บกพร่องทางการมองเห็น ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจาก ‘ครูยศ’ ที่มีตัวตนอยู่จริง ท่ามกลางข้อจำกัดและความท้าทายมากมายที่เด็กๆ ได้เจอ ครูยศเชื่อในพลังของการเรียนรู้จากการสัมผัส และพลังของการลงมือทำอย่างไม่กลัวเปื้อน Protex เชื่อในจุดเดียวกัน พวกเขาจึงสร้างโฆษณาที่อยากส่งต่อความกล้าให้กับผู้คนผ่านเรื่องราวของเด็กๆ ที่พาตัวเองไปลองประสบการณ์ใหม่อย่างไม่กลัวเกรง แม้จะเป็นประสบการณ์ที่เปื้อนแต่สนุกและได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จากนอกห้องเรียน ทั้งการปั้นหม้อ เตะฟุตบอล ทำขนม ไปจนถึงการสัมผัสสิ่งละอันพันละน้อยในป่าใหญ่ ตั้งแต่เห็ดไปจนถึงช้างตัวโต นอกจากโฆษณาที่ปล่อยออกมา งานนี้ Protex […]

LEGO เปิดตัว ‘Retro Camera’ ให้เด็กๆ สัมผัสกับความวินเทจ ด้วยตัวต่อสำหรับกล้องฟิล์มของเล่น

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ‘LEGO’ ได้เปิดตัว ‘Walt Disney Tribute Camera’ กล้องถ่ายภาพยนตร์ยุคคลาสสิกที่มีตุ๊กตาเลโก้ขนาดเล็กอยู่ด้านในกล้อง เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีของ ‘Walt Disney’ ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก และในปี 2567 ที่จะถึงนี้ LEGO ก็เตรียมวางขายคอลเลกชันใหม่ของซีรีส์ ‘Creator 3in1’ กับ ‘Retro Camera’ ที่มาพร้อมตัวต่อจำนวน 261 ชิ้น พร้อมกับเลนส์กล้อง ปุ่มชัตเตอร์ ฟิล์มสติกเกอร์ 6 ชิ้น และม้วนฟิล์มอีก 2 ม้วน สำหรับการต่อกล้องฟิล์ม กล้องวิดีโอ และโทรทัศน์ย้อนยุคด้วยตัวเอง คอลเลกชัน Retro Camera จะชวนให้ทุกคนเพลิดเพลินกับประสบการณ์การต่อเลโก้ทั้ง 3 แบบ ไม่ว่าจะเป็นกล้องฟิล์มที่มาพร้อมสติกเกอร์รูปสัตว์ต่างๆ ที่ขยับเลื่อนรูปได้เหมือนกับกล้องวินเทจแบบดิจิทัล กล้องวิดีโอแบบย้อนยุคที่มีฝาเปิดเลียนแบบการใช้งานกล้องจริง และโทรทัศน์ย้อนยุคพร้อมเสาอากาศและชุดสติกเกอร์สนุกๆ จำลองภาพโทรทัศน์ในแบบเก่า นอกจากเป็นของเล่นเพื่อเสริมสร้างจินตนาการให้กับเด็กๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับกล้องฟิล์มแล้ว Retro Camera ยังเหมาะเป็นของสะสมให้คนที่ชอบของวินเทจและสายรักกล้องฟิล์มได้อีกด้วย Retro […]

ชวนเธอมาชมดาวกลางกรุงส่งท้ายปีกับ ‘Starry Night over Bangkok’ คืนวันที่ 23 ธ.ค. 66 ที่สวนเบญจกิติ

ถ้าจะมีครั้งไหนที่เราได้มีโอกาสรวมตัวดูดาวใจกลางกรุงเทพฯ ร่วมกัน ก็คงต้องเป็นครั้งนี้แหละ ‘Starry Night over Bangkok’ คืองานดูดาวกลางกรุงที่ ‘NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ’ และ ‘กรุงเทพมหานคร’ อยากชวนทุกคนเปิดประสบการณ์ชมดาวกลางกรุงครั้งยิ่งใหญ่กับคาราวานกล้องโทรทรรศน์ส่งท้ายปี มีกิจกรรมดาราศาสตร์มากมายให้เข้าร่วม ไม่ว่าจะเป็นการชมดาวเคล้าเสียงเพลงตลอดทั้งงาน การเรียนรู้การดูดาวบนท้องฟ้าจริงเพื่อรู้จักกลุ่มดาวที่น่าสนใจ การ DIY เรียนรู้กลุ่มดาวต่างๆ ผ่าน Stellar Light Box สนุกไปกับสติกเกอร์เรืองแสง Glow in the Dark Stars & Planets ไปจนถึงล้อมวงฟัง Special Talk เรื่องการสำรวจดวงจันทร์ และอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ ผู้ร่วมงานยังสามารถร่วมลุ้นรับ ‘กล้องโทรทรรศน์’ และของรางวัลสุดพิเศษได้ตลอดทั้งงานอีกด้วย งาน Starry Night over Bangkok จัดขึ้นที่อัฒจันทร์กลาง สวนเบญจกิติ ในคืนวันเสาร์ที่ 23 ธันวาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 18.00 – […]

1 41 42 43 44 45 355

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.