“ราชพฤกษ์” มีดีอะไร ชวนเปิดมุมมองที่คุณอาจไม่เคยรู้


ชวนเขยิบเข้ามาชิดๆ แถบกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก สอดส่อง “ราชพฤกษ์” ว่าเจ้าชื่อถนนที่เราเรียกกันจนติดปากมาจนทุกวันนี้ นอกจากจะเป็นชื่อถนนแล้ว มันยังมีอะไรดีอีก ตามเรามาลัดเลาะ มองหาของดึในราชพฤกษ์ ที่มีทั้งที่กิน ที่เที่ยว ที่ช้อปปิ้ง และสวนสาธาณะกว้างใหญ่  พร้อมแหล่งที่อยู่อาศัย ที่เติมเต็มความต้องการให้กับไลฟ์สไตล์คนเมืองได้ทุกรูปแบบเลยทีเดียว

คุยกับน้องฝึกงาน: ความฝัน ความกลัว และความพร้อมในช่วงวัยที่ใกล้เปลี่ยนผ่านสู่ชีวิต มนุษย์เงินเดือน

ในหนึ่งรอบชีวิตของคนหนึ่งคน เรามักถูกเฝ้ามองเมื่อครบกำหนดที่ต้องเข้าสู่พิธีกรรมเปลี่ยนผ่านจากช่วงวัยหนึ่งสู่อีกช่วงวัยหนึ่งอยู่เสมอ ยิ่งเป็นช่วงของ วัยรุ่นตอนปลาย ที่กำลังจะก้าวขาเผชิญหน้ากับความจริงในโลกของผู้ใหญ่ ยิ่งมีดวงตาที่ชื่อ ความคาดหวัง ความพร้อม และความเปลี่ยนแปลง มาเฝ้ามอง และลุ้นผลลัพธ์ที่จะเกิดในอนาคตมากขึ้นเป็นเท่าตัว การเผชิญหน้าที่พูดถึง คงไม่มีใครสัมผัส และรู้สึกกับมันได้มากไปกว่ากลุ่มคนจำนวนหลายพันชีวิตที่ถูกจัดอยู่ในสเตตัส ‘นักศึกษา’ เราจึงชวนน้องฝึกงานรุ่นแรก 3 คนของออฟฟิศ มาพูดคุย และแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับ อาชีพในฝัน มุมมองโลกของการทำงาน และความพร้อมที่กำลังจะต้องเปลี่ยนผ่านสู่ชีวิต มนุษย์เงินเดือน Designing Life With A Heart That Loves Design | Pun Khanhathai Prakaiphetkul ‘ปั้น’ คือน้องฝึกงานคนแรก จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เราขอตัวมานั่งคุยด้วยกัน ปั้นเป็นพี่คนโตในบรรดาแก๊งน้องฝึกงานในออฟฟิศ เพราะคณะน้องเรียน 5 ปี มาฝึกงานที่นี่จึงเรียนอยู่ชั้นปีที่ 4 แล้ว ปั้นสร้างรอยยิ้มให้กับออฟฟิศ พร้อมมอบมุมมองใหม่ๆ ในการทำงานแบบเด็กสถาปัตย์ให้กับเรา โลกแปลกใหม่ คือคำนิยามที่ปั้นให้กับการทำงานก่อนมาสัมผัสจริง “ปั้นมองว่า มันเป็นอีกโลกใบหนึ่งที่แปลก […]

จากงานวิจัยสองทศวรรษสกัดเป็น 6 ปัจจัยที่ขาดไม่ได้ของ “งานในฝัน”

อายุไขเฉลี่ยของมนุษย์คือ 750,000 ชั่วโมง เราหมดเวลาไปกับในวัยเด็กราวๆ 175,000 ชั่วโมง ใช้ไปกับการนอน การกิน การออกกำลังกาย พูดคุยกับเพื่อนมนุษย์ไปราวๆ 325,000 ชั่วโมง สุดท้ายเราเหลือเวลาชีวิตแค่ 250,000 ชั่วโมง ในการใช้ประโยชน์และทำกิจกรรมที่มีความหมายต่อชีวิต แต่ช่วงเวลาล้ำค่าดังกล่าวก็ถูกใช้ไปกับเรื่องการงานอาชีพมากถึง 20% – 60% ทุกคนรู้ดีว่าการทำงานเป็นเรื่องที่สำคัญขนาดไหน ในสมัยที่เรายังเป็นเด็กเราอาจจะวาดฝันถึงอาชีพที่หากเราโตขึ้นแล้วอยากจะเป็น หรือพอโตขึ้นมาอีกหน่อยซักช่วงวัยรุ่น วัยมัธยมก็เริ่มต้องคิดถึงคณะ หรือมหาวิทยาลัยว่า เราจะเรียนต่อสาขาไหนดี ยิ่งกว่านั้นต่อให้เราเรียนจบแล้วก็ตาม แต่ก็มีอีกหลายๆ คนอีกเช่นกันที่เลือก ‘เปลี่ยนสาย’ ไปทำงานอย่างอื่น คำถามคือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ‘งานในฝัน’ หรือ ‘งานที่ดี’ นั้นมีหน้าตาเป็นอย่างไร ? และปัจจัยทั้ง 6 ข้อต่อไปนี้ ซึ่งอ้างอิงจากงานวิจัยกว่า 60 ชิ้นที่ถูกทำขึ้นกว่า 2 ทศวรรษ ที่ผ่านมา คือ ‘ส่วนผสม’ ดังกล่าว ที่ยิ่งหากเราทำให้มันเข้าไปอยู่ในเนื้องานที่เราทำได้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้เราทำงานได้อย่างมีความสุขมากขึ้นเท่านั้น 1. | งานที่ทำแล้วสนุก […]

เบิร์น-ฟิต-เฟิร์ม-ยืด : 4 เสต็ปออกกำลังกายสุดเจ๋งของคนเมือง @ Life Asoke-Rama 9

สูตร ‘เบิร์น-ฟิต-เฟิร์ม-ยืด’ 4 เสต็ปออกกำลังกายสุดเจ๋งสำหรับคนเมือง ที่ไม่ต้องออกไปไหนไกล ก็มีครบทุกด้านอยู่ที่ “Life Asoke-Rama 9” คอนโดมิเนียมใจกลางพระราม 9 จาก AP

Greatest of Green Living at Ratchapruek : ย่อโลกสีเขียวในแบบของคุณเอาไว้ใน “ย่านราชพฤกษ์”

เคยสงสัยกันไหมว่าเราใช้เวลากับการเดินทางไปเท่าไหร่? จากสถิติด้านการจราจรของ INRIX คนกรุงเทพฯ เสียเวลากับการติดอยู่บนถนนถึง 64.1 ชั่วโมงต่อปี เพราะยุคนี้เป็นยุคที่กรุงเทพฯ กำลังสุกงอมในความเป็นเมืองหลวงทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ทั้งยังเป็นแหล่งรวมของออฟฟิศต่างๆ มากมายกระจายตัวอยู่ทั่วทุกมุมในเมืองหลวงแห่งนี้ แต่จะดีแค่ไหนถ้าเราเลือกที่พักอาศัยในราคาที่คุ้มค่าในทำเลที่ครบครันทั้งการเดินทางเข้า-ออกเมืองได้อย่างสะดวกสบาย และแวดล้อมด้วยพื้นที่สีเขียว ซึ่งสถานที่นั้นอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลเราเลย และที่แห่งนั้นก็คือ “ย่านราชพฤกษ์” นั่นเอง | มนต์เสน่ห์แห่งกรุงเทพฯ “ย่านราชพฤกษ์” หลายๆ คนอาจกำลังถึงนึกย่านหนึ่งที่อยู่ฝั่งธนบุรีซึ่งปัจจุบันราชพฤกษ์ได้กลายเป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยที่อยู่อาศัย และสิ่งอำนวยความสะดวกรอบด้านมากมายทั้งการเดินทางที่รวดเร็ว และสามารถเลือกใช้ได้หลากหลายเส้นทาง รวมไปถึงสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในวันว่างที่ทำให้ราชพฤกษ์กลายเป็นมนต์เสน่ห์แห่งกรุงเทพฝั่งตะวันตกไปแล้ว หากย้อนไปเมื่อหลายปีก่อน ภาพที่เราคุ้นเคยของย่านนี้คือมีแม่น้ำเจ้าพระยามาขั้นกลางทำให้ “ย่านราชพฤกษ์” เป็นตัวเลือกที่หลายคนมองข้ามไป แต่เมื่อมีการคมนาคมที่ดียิ่งขึ้นมีการสร้างสะพานตากสินตัดเข้าสาทร และมี BTS สถานีฝั่งธนบุรีวิ่งต่อยอดมาจากสายสีลมก็ช่วยให้การเดินทางสะดวกสบายมากขึ้นทำให้ราชพฤกษ์กลายเป็นศูนย์รวมของที่อยู่อาศัยของคนทำงานในย่านธุรกิจใจกลางเมืองที่ตัดสินใจเลือกให้เป็นที่อยู่อาศัยของครอบครัวกันมากเป็นพิเศษ ทั้งยังเป็นแหล่งรวม Community Mall ที่ดีที่สุดของราชพฤกษ์ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตได้อย่างสมบูรณ์แบบ | รวดเร็วด้วยจุดเชื่อมต่อการเดินทางที่หลากหลาย “ถนนราชพฤกษ์” คือถนนที่เชื่อมต่อทุกสายสำคัญของชาวกรุงเทพฯ แต่ด้วยความที่ถนนเส้นนี้เป็นเส้นทางระยะยาวเชื่อมต่อระหว่างฝั่งธนจากโซนสาทรยาวไปจนถึงบรมราชนนี ซึ่งในการเดินทางจากถนนราชพฤกษ์วิ่งเข้าสู่สีลม สาทร ทุกวันนี้อาจจะใช้เวลาไม่ถึง 15 นาทีแล้วยังสามารถเชื่อมต่อทางด่วนศรีรัชเพียง 10 นาทีเท่านั้น และยังเชื่อมต่อกับเส้นหลักอีกหลายเส้นทาง “ถนนราชพฤกษ์” จึงถือเป็นจุดเชื่อมต่อสายหลักเลยก็ว่าได้ อาทิ ทางหลวงเส้น 345 ที่มีอยู่แล้วปลายทางไปย่านบางบัวทอง, ทางหลวงเส้น 346 […]

เล่าเรื่อง ‘สะพานควาย’ ผ่านมุมมองเจ้าบ้าน

‘สะพานควาย’ ที่เราคุ้นเคยในทุกวันนี้ เมื่อก่อนคือพื้นที่ที่เรียกว่า ‘ทุ่งศุภราช’ ทุ่งนากว้างใหญ่ไพศาลทางทิศเหนือของทุ่งพญาไท และเมื่อถึงช่วงฤดูแล้ง นายฮ้อยจากแดนอีสานก็จะนำฝูงควายมาให้ชาวนาแห่งทุ่งศุภราชได้จับจองเป็นเครื่องมือในการทำนา และบริเวณจุดเชื่อมถนนพหลโยธินกับถนนประดิพัทธ์ ก็มีสะพานไม้ที่ชาวบ้านสร้างเอาไว้เป็นทางสัญจร เพื่อให้ทั้ง ‘คน’ และ ‘ควาย’ ได้ใช้เดินทางข้ามคูคลองกันอย่างสะดวก พื้นที่นี้จึงถูกเรียกว่า ‘สะพานควาย’ มาจนถึงปัจจุบัน

อยู่ อย่าง อยาก อยู่ในดินแดนเมือง “โตเกียว”

พาไปส่องย่านที่อยู่อาศัยของชาวโตเกียวในมุมมองที่แปลกตาออกไป สัมผัสความเจแปนนิสแบบคนโตเกียวแท้ๆ ที่ไม่ใช่ย่านดังอย่างที่ใครรู้จักกัน

The Charming of Ari : เสน่ห์ชวนหลงใหลของ “อารีย์”

หนึ่งในย่านที่ได้รับความสนใจอย่างมากในปีที่ผ่านมา คงหนีไม่พ้น “อารีย์” หรือ “ซอยพหลโยธิน 7” เป็นย่านเล็ก ๆ ที่รายล้อมไปด้วยร้านอาหาร คาเฟ่ สำนักงาน ช้อปปิ้งมอลล์ และที่พักอาศัย ที่ยังคงมีกลิ่นอายของการผสมผสานระหว่างวิถีชีวิตดั้งเดิมและเทรนด์ไลฟ์สไตล์รุ่นใหม่ได้อย่างลงตัว

A Story of Khlong Saensaep : เรื่องเล่าบน  “เรือคลองแสนแสบ”

เช้าอันเร่งรีบของวันหนึ่งปลายเดือนมิถุนายน ผมตื่นมาตอนประมาณตีห้าครึ่งท่ามกลางความวุ่นวายและจอแจของเมืองหลวง ผมวางแผนการเดินทางไปทำงานไว้ตั้งแต่คืนก่อน หนึ่งในแผนของผม คือการนั่ง “เรือด่วนคลองแสนแสบ” ไปยังประตูน้ำ

The Cement City : Mocambique Modern

จากมุมมองการถ่ายภาพแบบ “Cement City” เป็นวิธีเรียก “เขตเมือง” ในประเทศโมซัมบิก เขตนี้บ่งบอกถึงลักษณะอาคารบ้านเรือนที่ถาวร และแยกตัวออกจากชุมชนแออัดของคนพื้นถิ่นโดยเด็ดขาดซึ่งอาคารต่างๆ ถูกสร้างไว้อย่างมีระเบียบแบบแผน เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับเจ้าอาณานิคมเพื่ออยู่อาศัยและปกครองในช่วงตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เมืองท่าสำคัญแห่งนี้จึงเต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์นที่เป็นหมุดหมายสำคัญของการเปลี่ยนแนวความคิดจากโลกยุคเก่าสู่โลกยุคใหม่ แต่ความทันสมัยคือสิ่งที่ไม่มีวันหยุดนิ่ง เมื่อทุกสิ่งดำเนินไปความล้ำสมัยของสถาปัตยกรรมจะค่อยๆ ผสานรวมกับกาลเวลาที่คืบคลานมาอย่างช้าๆ และแล้วความจีรังของสถาปัตยกรรมก็ถูกปลดปล่อยออกมา Urban Creature จึงพามาตามติดแนวคิดของของ “เบียร์ – วีระพล สิงห์น้อย” ผ่านมุมมองของช่างภาพสถาปัตย์ | มุมมองสถาปัตยกรรมในเมืองไทยของพี่เบียร์เป็นแบบไหน สถาปัตยกรรมในเมืองไทยถ้าเรื่องการพัฒนา ความเจริญ เราก็ถือว่าโอเคเลยเรียกได้ว่าภูมิภาคนี้เราก็ไม่แพ้ใครแต่สิ่งที่เราสนใจอยู่ตอนนี้คือ สถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์นซึ่งจริงๆ แล้วในศัพท์คำว่า “สถาปัตยกรรมสมัยใหม่” ความเป็นโมเดิร์นของมันอาจจะไม่ตรงกับความเข้าใจของคนทั่วๆ ไปเท่าไหร่ ถ้าโมเดิร์นแบบสมัยใหม่ปัจจุบันนี้เราขอเรียกว่า “ Contemporary” ดีกว่า แต่ถ้าเป็นคำว่า “Modern” ก็คือช่วงสมัยประมาณ 50 – 60 ปีที่แล้ว ตรงกับประมาณปี พ.ศ. 2483 – 2503 ซึ่งคำว่ายุคสมัยใหม่เป็นช่วงแนวความคิดที่มีอิทธิพลมาจากฝั่งยุโรป ฝั่งเลอกอร์บูซีเยซึ่งเราสนใจสถาปัตยกรรมยุคนี้ | ทำไมถึงชอบสถาปัตยกรรมยุค “โมเดิร์น” คือเรามีความประทับใจเรื่องรูปทรงอยู่แล้วพอเราศึกษามากขึ้นเรื่อยๆ เราก็ยิ่งหลงรักสถานที่ต่างๆ มากขึ้นซึ่งที่แรกที่ประทับใจเลยคือ […]

Nha-mas-tay India : นมัสเต! จ่ะนายจ๋า

เดินทอดน่องท่องอินเดียพร้อมเรียนรู้วัฒนธรรมที่แทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของคนไทยมาอย่างยาวนาน หลายคนคงคุ้นเคยกันดีกับแหล่งค้าผ้าชื่อดัง “ย่านพาหุรัด” ที่เมื่อก้าวเดินเข้ามาในย่านนี้จะได้เห็นสิ่งหนึ่งที่นับว่าเป็นเอกลักษณ์ของ “Little India” เลยก็คือ บรรยาการของผู้คนที่เปลี่ยนไป ร้านขายของแปลกตาเหมือนหลุดเข้าไปอยู่ในประเทศอินเดียเลยทีเดียว

Beyond The Air We Breathe by SangSom

พักผ่อนสมองผ่อนคลายอารมณ์ไปเสพงานศิลป์กับนิทรรศการภาพถ่ายจากช่างภาพระดับโลกกว่า 80 ชีวิตที่มาจัดแสดงในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียเป็นครั้งแรกภายใต้ชื่อว่า “Beyond the Air We Breathe : Addressing Climate Change” จากการร่วมมือของสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มูลนิธิลูซี่ และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ภายในงานมีแนวคิดหวังให้เกิดการตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เลวร้าย และผลกระทบที่กำลังเกิดขึ้นกับโลกผ่านผลงานภาพถ่ายของช่างภาพระดับโลกที่สะท้อนให้ผู้ชมได้ตื่นตัวกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงใกล้ตัวที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นจากการปล่อยมลพิษโดยฝีมือมนุษย์เราเอง เมื่อก้าวเท้าเข้ามาภายในงานซึ่งแสดงภาพถ่ายที่สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบที่เกิดกับโลกจากฝีมือมนุษย์ภายใต้ชื่องานว่า “Beyond the Air We Breathe : Addressing climate change” บรรยากาศในงานมีทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติให้ความสนใจเข้ามาชมผลงานกันอย่างไม่ขาดสายโดยมีพื้นที่ให้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างเป็นกันเอง นิทรรศการครั้งนี้คัดสรรผลงานภาพถ่ายจากช่างภาพระดับโลกจำนวนกว่า 80 ท่านที่มาร่วมถ่ายทอดผลงานภาพถ่ายโดยสะท้อนให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมของโลกที่กำลังร้องบอกถึงความเจ็บปวดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พิธีการเปิดนิทรรศการในวันแรกเปิดโอกาสให้สื่อมวลชน และบุคคลทั่วไปที่สนใจเข้าชมได้พร้อมกันเลย ผศ. ปวิตร มหาสารินันทน์ ผู้อำนวยการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครมาร่วมเปิดงาน และพูดคุยกับผู้เข้าชมงานโดยผลงานภาพถ่ายด้านหลังเป็นของศิลปิน “Steve McCurry” โดยไฮไลท์ของงานมีช่างภาพมือรางวัล “Sebastian Copeland” ผู้เป็นทั้งนักสำรวจขั้วโลก นักเขียน นักพูด และนักเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อม และยังเป็น 1 ใน 25 ผู้ชายนักผจญภัยระดับโลกในปี 2017 […]

1 352 353 354 355 356 376

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.