Electronic Cigarette : บุหรี่ไฟฟ้าคือทางออกจริงหรือไม่ ?

ถ้าหากพูดถึงวิธีการเลิกบุหรี่อย่างการหักดิบหลายคนคงรู้จักดี แล้วถ้าพูดถึงแนวทางการเลิกบุหรี่อย่าง ‘Harm Reduction’ ล่ะ มีใครรู้จักกันบ้างไหม ? ไม่แปลกหากเราจะนึกถึงวิธีการเลิกบุหรี่แบบอื่นๆ ไม่ออก เพราะในบ้านเราก็ไม่มีทางเลือกหรือตัวช่วยในการเลิกบุหรี่มากนัก แต่ในต่างประเทศนั้นแนวทางที่เรียกว่า ‘Tobacco Harm Reduction’ หรือแนวทางการลดอันตรายจากควันบุหรี่กำลังกลายเป็นที่ยอมรับในหลายประเทศทั่วโลก ปัจจุบันในหลายประเทศได้นำบุหรี่ไฟฟ้ามาปรับใช้กับนโยบายควบคุมยาสูบ ด้วยการสนับสนุนให้ผู้สูบบุหรี่ที่ต้องการเลิกบุหรี่แต่ไม่สามารถเลิกได้  หรือผู้ที่ยังไม่พร้อมจะเลิกบุหรี่หันมาใช้บุหรี่ไฟฟ้า เพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ ซึ่งโรคส่วนใหญ่ที่ว่านั้นก็เกิดจากการได้รับสารพิษ จากการเผาไหม้ในบุหรี่ ซึ่งก็คือควันบุหรี่นั่นเอง อย่างไรก็ตาม บุหรี่ไฟฟ้าเพิ่งถูกประดิษฐ์ขึ้นมาได้ไม่นานมากนัก จึงยังไม่มีรายงานถึงผลการใช้งานในระยะยาว เพราะกว่าจะเกิดโรคนั้นใช้เวลานานหลายสิบปี แต่มีหลายผลงานวิจัยกล่าวถึงการใช้งานระยะสั้น ที่ยืนยันว่าบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดา เพราะไม่มีการเผาไหม้ ซึ่งปัจจุบันในหลายประเทศอย่างอังกฤษ นิวซีแลนด์ และอีกหลายประเทศในยุโรป รวมไปถึงประเทศอเมริกา ก็เชื่อมั่นว่าบุหรี่ไฟฟ้าจะเป็นประโยชน์ทางด้านสาธารณสุข หากมีการควบคุมอย่างเหมาะสม อีกทั้งจะสามารถช่วยลดอันตรายที่เกิดจากควันซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ในขณะเดียวกันสาธารณสุขในหลายๆประเทศก็เชื่อว่าบุหรี่ไฟฟ้านั้น นอกจากจะสร้างรายได้ให้กับรัฐเมื่อมีการจัดเก็บภาษีตามความเหมาะสมแล้ว ยังจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของทางภาครัฐในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย ที่เจ็บป่วยจากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่อีกด้วย เนื่องจากการเลิกบุหรี่ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะผู้สูบบุหรี่นั้นเสพติดนิโคตินไปแล้ว จะมีเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ประสบความสำเร็จในการเลิกบุหรี่จึงก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ยาสูบออกมาหลายประเภทเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านี้ คือการลดความเสี่ยงต่อสุขภาพให้กับนักสูบ ด้วยการตัดตัวการหลักที่ทำให้เกิดโรคอย่าง ‘การเผาไหม้’ ออกไป เพราะการเผาไหม้ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสารพิษนานาชนิด อันเป็นสารก่อมะเร็งที่ออกมากับควันบุหรี่นั่นเอง บุหรี่ไฟฟ้า | คืออะไร บุหรี่ไฟฟ้า : Electronic Cigarette หรือที่นิยมเรียกว่า Vaporizers เป็นผลิตภัณฑ์ยาสูบที่ใช้อุปกรณ์ให้ความร้อนจากแบตเตอรี่ ทำให้ขดลวดในอุปกรณ์บุหรี่ไฟฟ้าเกิดความร้อน เปลี่ยนน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าให้กลายเป็นไอน้ำ  เกิดเป็นกระบวนการนำส่งนิโคตินเข้าสู่ร่างกาย โดยปราศจากการเผาไหม้   ซึ่งการใช้บุหรี่ไฟฟ้านั้น จะทำให้ผู้สูบบุหรี่ได้รับประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกับการสูบบุหรี่แต่ได้รับสารพิษน้อยกว่ามาก และผู้สูบสามารถเลือกระดับนิโคตินได้ตามความต้องการ ไปจนถึงแบบที่ไม่มีนิโคตินเลย สารพิษ | ในบุหรี่ไฟฟ้า หลายคนยังมีความสงสัยว่าจริงๆ แล้วบุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยจริงหรือไม่ ? สิ่งสำคัญของบุหรี่ไฟฟ้านั้นคือน้ำยา (E-Liquid หรือ E-Juice) เป็นสิ่งที่ใช้คู่กับบุหรี่ไฟฟ้า โดยน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้านี้มีส่วนประกอบของนิโคตินเหลว(หรือจะไม่มีก็ได้) ซึ่งเป็นสิ่งที่เข้ามาทดแทนการใช้ใบยาสูบ เท่ากับเป็นการตัดขั้นตอนการเผาไหม้ใบยาสูบที่มีในบุหรี่ อันเป็นต้นกำเนิดของสารเคมีกว่า 4,000 ชนิด รวมไปถึงสาร ‘ทาร์ หรือ น้ำมันดิน’ ที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นสารพิษ ซึ่งก่อให้เกิดโรคร้ายรวมถึงโรคมะเร็งด้วย อย่างไรก็ตามยังมีผู้คนจำนวนมหาศาลเข้าใจผิดว่า ‘นิโคติน’ คือสาเหตุของโรคร้ายซึ่งรวมถึงโรคมะเร็ง ทั้งที่ความเป็นจริงนิโคตินเป็นเพียงสารที่ก่อให้เกิดการเสพติด นอกจากนั้นยังมีส่วนผสมของ ‘Vegetable Glycerin’ กลีเซอรีนจากพืช เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มาจากน้ำมันที่ได้จากพืช เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม ถูกใช้เป็นตัวให้ความหวาน (Sweetener) และเป็นส่วนผสมชนิดหนึ่งในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์ ‘Propylene Glycol’ หรือเรียกว่า PG เป็นสิ่งที่ใช้เป็นตัวทำละลายหรือเจือจางวัตถุดิบและสารเคมีประเภทต่างๆในการผลิต ยา อาหาร เครื่องสำอางค์  ไม่มีสีและไม่มีกลิ่น ในขณะที่ทางอเมริกาเริ่มมีการควบคุมการเข้าถึงของเยาวชนอย่างจริงจัง  โดยทางองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ออกกฎหมายควบคุมเรื่องการห้ามจำหน่ายกลิ่นที่ดึงดูดเยาวชน และเคร่งครัดให้ร้านค้าหรือผู้จำหน่ายต้องมีการตรวจอายุผู้ซื้อว่าถึงเกณฑ์หรือไม่ บุหรี่ไฟฟ้า | ข้อดี – ข้อเสียที่ควรรู้ อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคงคนเกิดคำถามว่า บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดาหรือเปล่า ? ซึ่งเราเชื่อว่า มีหลายความเห็นถูกปล่อยออกมาบ้างว่ามันอันตรายน้อยกว่า เพราะไม่มีการเผาไหม้ที่ก่อให้เกิดสารเคมี แต่บ้างก็ว่ามันไม่ต่างกัน เพราะสุดท้ายเราก็อัดนิโคตินเข้าไปในร่างกาย แต่สุดท้ายก็ยังคงหาข้อสรุปไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ลองมาดูข้อดี – ข้อเสียของบุหรี่ไฟฟ้าโดยไม่ต้องเทียบกับบุหรี่ธรรมดา เพื่อจะได้คิด วิเคราะห์ตามหลักความจริงที่มันเป็น ข้อดี 1. บุหรี่ไฟฟ้ามีสารพิษน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดา ข้อนี้สามารถยืนยันได้ด้วยผลการทดลองของ ‘ดร.ไลออน ชาฮับ’ นักวิจัยจากยูนิเวอร์ซิตี คอลเลจ ลอนดอน (ยูซีแอล) ซึ่งชี้ให้เห็นว่า บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดา นั่นเพราะ มันไม่ผ่านกระบวนการเผาไหม้ จึงทำให้ปลอดจากสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ไม่มีส่วนประกอบของน้ำมันดินหรือทาร์ (Tar) และคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) หรือสารพิษอื่น ๆ ทั้งยังหมดปัญหาหาควันบุหรี่มือสองที่ผู้ไม่ได้สูบอาจได้รับหากอยู่ใกล้ และบุหรี่มือสาม สารตกค้างที่ติดตามเสื้อผ้า รวมถึงข้าวของเครื่องใช้ใกล้ตัวผู้สูบ 2. บุหรี่ไฟฟ้าช่วยนำส่งนิโคตินได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์นิโคตินทดแทนอื่นๆ อ้างอิงจากงานวิจัยโดย The National Institute for Health Research and Cancer Research UK พบว่ากลุ่มผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าเลิกบุหรี่ได้มากกว่ากลุ่มที่ใช้ผลิตภัณฑ์นิโคตินทดแทนเป็น 2 เท่า แต่ทั้งนี้ต้องเข้ารับบริการรับคำแนะนำด้านพฤติกรรมบำบัดจากศูนย์เลิกบุหรี่ของระบบสุขภาพประเทศอังกฤษไปพร้อมๆ กัน 3. บุหรี่ไฟฟ้า ตัวช่วยเลิกสูบบุหรี่ สำหรับใครที่กำลังคิดจะลด ละ เลิกสูบบุหรี่ธรรมดา แต่ไม่อยากหักดิบถึงขั้นเลิกไปเลย บุหรี่ไฟฟ้าจึงเป็นทางเลือก โดยมีผลยืนยันจากกลุ่มตัวอย่างชาวอเมริกันในรัฐแคลิฟอร์เนียจำนวน 1,000 คนที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ไฟฟ้าในชีวิตประจำวันเป็นเวลา 1 ปี พบว่าร้อยละ 60 มีแนวโน้มที่จะเลิกสูบบุหรี่และลดปริมาณในการสูบลงได้ ทั้งนี้ บุหรี่ไฟฟ้ายังสามารถปรับระดับนิโคตินได้จนเหลือศูนย์ได้อีกด้วย ข้อเสีย 1. อาจพบโลหะหนักในบุหรี่ไฟฟ้า บุหรี่ไฟฟ้าถึงแม้จะอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวน แต่ก็ไม่ได้ปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ งานวิจัยจำนวนหนึ่งพบว่ายังสามารถพบสารโลหะหนัก และสารพิษได้ ถึงแม้จะพบได้น้อยกว่าในบุหรี่มวน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมาตรฐานของอุปกรณ์และน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า จึงทำให้องค์การอาหารและยา (FDA) ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ตรวจสอบ โดยเรียกร้องให้บริษัทที่ผลิตบุหรี่ไฟฟ้าส่งรายละเอียดเกี่ยวกับส่วนผสมที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคด้วย อย่างไรก็ตามการกำหนดมาตรฐานการผลิตของอุปกรณ์ที่ใช้ให้เป็นไปตามมาตรฐาน จะช่วยลดปริมาณของโลหะหนักได้ 2. การใช้นิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มเสี่ยง เสี่ยงอาการหัวใจวาย ถึงแม้ว่านิโคตินจะไม่ใช่ตัวการหลักที่ทำให้เกิดโรคในบุหรี่มวน และปริมาณนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าก็สามารถปรับระดับได้ จนถึงระดับว่าไม่มีเลยก็ได้นั้น อย่างไรก็ตามก็สามารถก่อให้เกิดอันตรายได้ หากเกิดการใช้เกินปริมาณที่พอเหมาะ หรือใช้ในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงก็ย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น กลุ่มคนมีภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือด กลุ่มสตรีตั้งครรภ์ รวมถึงเยาวชน ทั้งนี้ในบางประเทศอย่างเช่นญี่ปุ่นก็มีการกำหนดให้บุหรี่ไฟฟ้าที่มีนิโคตินเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยจะต้องมีแพทย์ช่วยกำกับควบคุมการใช้นิโคตินอย่างเหมาะสม 3. บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายถ้าอุปกรณ์ไม่ได้มาตรฐาน อุปกรณ์บุหรี่ไฟฟ้าถ้าไม่มีมีมาตรฐานอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ อย่างที่เคยเห็นกันในข่าวว่าบุหรี่ไฟฟ้าระเบิดบ้าง หรือเกิดสารโลหะหนักบ้างอย่างไรก็ตาม มีหลายประเทศออกมากำหนดมาตรฐานการผลิตเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายเหล่านี้ เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งเดิมทีมีการแบนการซื้อขายบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศ ก็แถลงการณ์ว่าจะยกเลิกการแบนและเปลี่ยนเป็นกำหนด ให้ผู้ผลิตทั้งหลายต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่หน่วยงานควบคุมสินค้าออกกฎไว้ ไม่เช่นนั้นจะไม่ได้รับใบรับรองในการจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งกฎหมายฉบับใหม่นี้จะเริ่มใช้ในเดือนเมษายน case study | ประเทศอังกฤษ ส่งเสริมการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในการเลิกบุหรี่ รัฐบาลอังกฤษส่งเสริมให้ผู้ที่สูบบุหรี่อยู่หันมาใช้บุหรี่ไฟฟ้า เป็นทางเลือกที่อันตรายน้อยกว่า หรือถ้าใครอยากจะเลิกก็สนับสนุนให้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นตัวช่วย นอกจากนี้ งานวิจัยของสาธารณสุขประเทศอังกฤษ เปิดเผยว่า บุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยกว่าบุหรี่จริงถึง 97% และคนส่วนใหญ่ใช้เพื่อเลิกสูบบุหรี่จริง ไม่ใช่กลุ่มคนใหม่ที่หันมาอยากลองสูบบุหรี่ […]

Dublin’s Homelessness Tour Guide : สร้างอาชีพให้คนไร้บ้าน เทรนเป็น ‘ไกด์พาเที่ยวดับลิน’

สร้างอาชีพให้คนไร้บ้าน เทรนเป็น ‘ไกด์พาเที่ยวดับลิน’ พร้อมเปิดโครงการ ‘Dublin Homeless Walking Tours’ ให้ไกด์โฮมเลสพานักท่องเที่ยวทัวร์เดินเท้า ลัดเลาะดับลินทุกซอกทุกมุมอย่างเต็มอิ่ม

ไขความลับ “ดอกทานตะวัน” ของ ‘แวน โก๊ะ’

เราเชื่อว่า หลายคนเคยเห็นภาพเซ็ท “Sunflowers” หรือ “ดอกทานตะวัน” ผลงานของ ‘วินเซนต์ แวน โก๊ะ’ (Vincent van Gogh) จิตรกรชาวดัชต์ สายอิมเพรสชันนิสต์ระดับตำนาน ที่อุทิศทั้งชีวิตให้กับการสะบัดพู่กัน ปาดลวดลายด้วยเหล่าสีสัน และหยิบสิ่งรอบตัวที่สนใจ มาสร้างภาพศิลปะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ‘ดอกทานตะวัน’ ที่แวน โก๊ะหลงใหล และให้คุณค่า

Urban Quote : สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

“ไม่มีใครอยากเกิดเป็นคนไม่ดี แต่ที่เขาไม่ดี เพราะไม่มีโอกาสและทางเลือก” – สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สมเด็จย่า) – คำพูดนี้เป็นของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือที่เรารู้จักกันดีในนาม “สมเด็จย่า” หากย้อนกลับไปดูพื้นทีดอยตุง จังหวัดเชียงราย สมัยก่อนนั้นค่อนข้างลำบากมาก ลำบากในที่นี้ คือลำบากทั้งเรื่องป่าที่มีความแห้งแล้ง เป็นภูเขาหัวโล้น ถูกทำลายให้เสื่อมโทรม และลำบากทั้งเรื่องปากท้อง เพราะชาวบ้านยากจน แม้จะปลูกฝิ่นขายหรือจะปลูกข้าวกิน ก็ไม่เพียงพอ ทำให้ขาดโอกาสในการดำรงชีวิตก็ว่าได้ ท่านจึงอยากนำผืนป่ากลับคืนมา พัฒนาชีวิต และสังคมความเป็นอยู่ของชาวบ้านไปพร้อมๆ กัน “ฉันจะปลูกป่าที่ดอยตุง” ภายในระยะเวลาร่วม 30 ปี เมื่อสมเด็จย่าริเริ่ม ‘โครงการพัฒนาดอยตุง’ ขึ้นมา จากป่าที่แห้งแล้ง กลับกลายเป็นพื้นที่สีเขียวชอุ่ม พร้อมทั้งชีวิตชาวบ้านที่เคยขาดรายได้หรือขาดช่องทางทำมาหากิน ก็กลับมามีรายได้พร้อมๆ กับมีความรู้ และความชำนาญเพิ่มขึ้นหลายเท่า ซึ่งการพัฒนาครั้งนี้ ประสบความสำเร็จได้ด้วยรูปแบบการจัดการ “ปลูกป่า ปลูกคน” เอาคนขึ้นมาเป็นแกนหลักในการพัฒนาก่อน โดยให้เขาอยู่ให้ได้ รักษาความเจ็บป่วย ให้พ้นจากความไม่รู้ แก้ปัญหาความยากจน ให้สัญชาติ เมื่อคนเข้มแข็งแล้ว ตามมาด้วยการปลูกป่า ใช้การจ้างงานให้ชาวบ้านมาปลูกป่า เช่นป่าเศรษฐกิจอย่างกาแฟและแมคคาเดเมีย ทำให้ต้นไม้ก็มีที่อยู่ ชาวบ้านก็มีรายได้ควบคู่กันไป […]

OITA – One Village One Product โออิตะ จังหวัดเล็กๆ ในญี่ปุ่น ต้นแบบ ‘หนึ่งชุมชนหนึ่งผลิตภัณฑ์’

เชื่อว่าทุกคนคงรู้จักสิ่งที่เรียกว่า ‘โอทอป (OTOP)’ ผลิตภัณฑ์อันโด่งดังของคนไทย วันนี้ Urban Creature จึงพาบินลัดฟ้าไปทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น ไปดูพื้นที่ต้นแบบของโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของไทย ที่อยู่ใน โออิตะ (Oita) จังหวัดที่ได้รับฉายาว่าเป็น “เกียวโตน้อยแห่งคิวซู” เมืองเล็กๆ ที่ไม่ได้หรูหราฟู่ฟ่า แต่เปี่ยมไปด้วยมนต์เสน่ห์มากมาย ทั้งจากธรรมชาติ อาหารการกิน ประเพณีวัฒนธรรม วิถีชีวิตที่แสนเรียบง่ายของผู้คน รวมไปถึงวิธีการพัฒนาท้องถิ่นของตัวเองจนเกิดความยั่งยืน ผ่านโครงการ One Village, One Product (OVOP) หรือหนึ่งชุมชนหนึ่งผลิตภัณฑ์ จนกลายเป็นต้นแบบการพัฒนาให้กับหลายประเทศทั่วโลก | หมู่บ้านโอยามา ณ ที่แห่งนี้ คือต้นกําเนิด OVOP เพราะความยากจนแร้นแค้นของผู้คน จนนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในปี พ.ศ 2504 ชาวบ้านกว่า 1000 หลังคาเรือนในหมู่บ้านโอยามา จังหวัดโออิตะจึงได้รวมตัวกันลุกขึ้นมา คิดริเริ่ม สร้างสรรค์โครงการ “บ๊วย และเกาลัดแบบใหม่” (New Plum and Chestnut: NPC) ซึ่งเป็นโครงการที่ส่งเสริมการเพาะปลูกบ๊วยและเกาลัดโดยใช้รูปการเกษตรแบบผสมผสานเข้ามาแทนการปลูกข้าวที่เป็นพืชหลักเดิม […]

‘MAZELEE’ ครอบครัวสุขสันต์ เมื่อหนุ่มเกาหลีปิ๊งรักกับสาวแอฟริกัน

เราคงเคยได้ยินอยู่บ่อยครั้ง เกี่ยวกับการกีดกันหรืออคติในแง่ลบต่อความแตกต่างของเชื้อชาติ แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการเปิดกว้างเรื่องความหลากหลายมากขึ้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในสังคมของเรายังมีค่านิยมผิดๆ เรื่องเชื้อชาติและวัฒนธรรมหลงเหลืออยู่ จากข้อมูลในปี 2017 ของคณะกรรมาธิการยุโรป สำรวจว่า คุณจะรู้สึกสบายใจไหมถ้าลูกคุณมีความสัมพันธ์กับคนผิวสี พบว่าคนยุโรปส่วนมากที่รู้สึกพอใจ คิดเป็นอัตราร้อยละ 64 ถ้าเป็นคนเอเชีย พบว่ามีกลุ่มคนที่พอใจ 69 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าเป็นคนมุสลิม พบว่ามีอัตราเฉลี่ย 50 เปอร์เซ็นต์ที่รู้สึกรับได้ จากข้อมูลจะเห็นว่า จำนวนกว่าครึ่ง ชาวยุโรปรู้สึกสบายใจถ้าลูกของตนเองจะมีความสัมพันธ์กับคนที่ต่างเชื้อชาติกัน แต่ในขณะเดียวกันก็มีส่วนต่างเกือบครึ่งที่ไม่ค่อยโอเคกับความสัมพันธ์นี้เท่าไหร่นัก ทำให้เห็นว่าเรื่องของเชื้อชาติเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และไม่ได้เป็นที่ยอมรับอย่างเปิดกว้างมากนักเมื่อเทียบกับความสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อชาติเดียวกัน แต่บทความนี้เราจะมาพูดถึงครอบครัวสุดอบอุ่น ‘Mazelee’ ในช่องยูทูบ ที่เล่าถึงไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตบนวัฒนธรรมและเชื้อชาติที่แตกต่างกันแต่สามารถอยู่ร่วมกันได้ ซึ่งบ้านของพวกเขาอยู่ในรัฐลอสแอนเจลิส ประเทศอเมริกา ของคุณแม่ผิวสีลูกครึ่งแอฟริกัน-อเมริกัน และคุณพ่อชาวเกาหลีใต้–อเมริกัน กับลูกน้อยทั้ง 6 คน และอีกไม่นานก็จะเตรียมตัวต้อนรับคนที่ 7 แล้ว | เรื่องราวความรักระหว่างสองเชื้อชาติ เกาหลีใต้–แอฟริกัน ก่อนที่พวกเขาจะได้ใช้ชีวิตครอบครัวด้วยกัน ความรักของทั้งสองระหว่าง Alena Maze และ Joseph Lee เคยเป็นเพื่อนร่วมชั้นสมัยไฮสคูลมาก่อน ทั้งคู่ต่างมีความรู้สึกดีๆ ร่วมกัน แต่ด้วยวัยที่ยังเด็กอยู่ต่างคนจึงต่างใช้ชีวิตของตัวเอง […]

“กาแฟคราฟท์” เสน่ห์ความเรียบง่ายที่ง่ายกว่าที่คิด

“กาแฟ” กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของใครหลายๆ คน โดยหากดูจากสถิติคนไทยนิยมดื่มกาแฟถึงปีละ 300 แก้วต่อคน ซึ่งทุกคนล้วนมีกาแฟในสไตล์ของตัวเอง จากตัวเลขก็ถือว่าเป็นจำนวนไม่ใช่น้อย

“โรงเรียนดนตรีในชุมชนคลองเตย” ที่ใช้ดนตรีและศิลปะ สร้างโลกใบใหม่ให้เด็กคลองเตย

ภาพของบ้านหลังเล็กสี่เหลี่ยมที่ถูกตีด้วยไม้เก่าๆ มุงหลังคาด้วยสังกะสีที่เกือบขึ้นสนิม อยู่ในพื้นที่อันน้อยนิดที่หลายพันชีวิตอาศัยอยู่ ปรากฏให้เราเห็นจนชินตา ผ่านพื้นที่ที่เรียกกันว่า “ชุมชนคลองเตย” ภาพลักษณ์ของชุมชนที่คนกล่าวถึง คือพื้นที่ที่เต็มไปด้วย ยาเสพย์ติด การพนัน อาชญากรรม และการฉกฉิงวิ่งราว ด้วยปัญหาเหล่านี้ จึงทำให้เกิดกลุ่มคนเล็กกลุ่มหนึ่งที่อยากจะสร้างโอกาสทางสังคม รวมถึงสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี พร้อมเปิดโลกที่แตกต่างผ่านการเรียนดนตรีและศิลปะให้กับน้องๆในชุมชนคลองเตย จึงเป็นที่มาของการก่อตั้ง “Khlong Toey Music Program” โรงเรียนดนตรีขนาดเล็กในละแวกชุมชน 70 ไร่ ของคลองเตยนั่นเอง ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2555  คือจุดเริ่มต้นของโรงเรียนดนตรีที่มีชื่อว่า “Khlong Toey Music Program” ถูกก่อตั้งโดย 2 สาวชาวฝรั่งเศสและชาวไทย โดยได้รับทุนสนับสนุนเบื้องต้นจากมูลนิธิ Playing For Change องค์กรที่ให้การสนับสนุนโครงการสอนดนตรีกับชุมชนต่างๆ ทั่วโลก แรกๆ ทั้งสองเข้าไปเรียนรู้และทำความเข้าใจกับคนในชุมชน ก่อนจะเริ่มชักชวนให้เด็กๆ มาเรียนดนตรีด้วยกันในทุกวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ จากวันนั้นที่มีเพียงไม่กี่คน จนมาถึงตอนนี้โครงการมีเด็กๆ อยู่ในความดูแลกว่า 30 คน โดยมีการสอนดนตรี และสอนกาโปเอย์ราสลับกันไป และแม้จะมีเด็กเพิ่มมากขึ้น แต่ขนาดของโรงเรียนยังคงเท่าเดิม […]

The Lost Generation : เด็ก Gen Z กับช่องโหว่ทางการศึกษาไทย

ศึกษาของเด็กไทยกำลังถูกกวนด้วย ‘Disruption’ หรือ ‘สภาวะการเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือในช่วงเวลาสั้นๆ’ และเด็กที่ได้รับผลกระทบด้านการศึกษามากที่สุด ณ ขณะนี้คงไม่พ้นเด็ก ‘Generation Z’ ที่ต้องปรับตัวให้ทันความเปลี่ยนแปลง และการแข่งขันที่สูงขึ้นเป็นเท่าตัว เพื่อเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่รุ่นต่อไป อะไรคือช่องโหว่ที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษาไทยของเด็กยุคเจนฯ Z เรามาหาคำตอบไปพร้อมกัน

เมื่อให้คนอยู่ เป็นผู้ออกแบบ “Superkilen Park” สวนสาธารณะใหญ่ ใจกลางกรุงโคเปนเฮเกน

ในฤดูใบไม้ผลิ ปี 2012 ที่ผ่านมา กรุงโคเปนเฮเกน ได้เปิดตัวสวนสาธารณะแห่งใหม่ ที่มีชื่อว่า “Superkilen Park” สวนสาธารณะความยาว 750 เมตร ที่เกิดขึ้นภายใต้แนวคิดการผสมผสานวัฒนธรรมที่แตกต่างไว้ในพื้นที่เดียวกัน จากความหลากหลายทางเชื้อชาติของประชากรในพื้นที่มีมากกว่า 60 ประเทศทั่วโลก

อีก 3 ปีข้างหน้า การก่อสร้างโดยใช้หุ่นยนต์และโดรนจะกลายเป็นจริง !

ตึกอาคารในโลกปัจจุบัน มีเทคโนโลยีก่อสร้างที่ล้ำหน้าขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น 3D Printing ที่สามารถพิมพ์ชิ้นส่วนของบ้าน หรือแม้แต่พิมพ์บ้านทั้งหลัง ไปจนถึงแนวคิดที่จะนำหุ่นยนต์มาสร้างโลกอนาคตก็ดูเป็นจริงขึ้นทุกวัน

New Zealand Roadtrip Part I : เที่ยวเกาะใต้ ชมดอกลูปินช่วงพีคบนเส้นทางที่สวยที่สุดในชีวิต

ทริปนี้เป็นอีกหนี่งทริปที่เราตื่นเต้นที่สุด ตั้งแต่ขอวีซ่าท่องเที่ยวที่ต้องลุ้นกันจนตัวโก่ง แต่สุดท้ายก็ได้มา 1 วันก่อนออกเดือนทาง ไหนจะต้องลุ้นเรื่องโรดทริป ที่พ่อแม่เราต้องเป็นพลขับ (เพราะเราขับรถไม่เป็น !) ไม่รู้ว่าจะต้องขึ้นเขาลงห้วยกันขนาดไหน และยังต้องลุ้นสภาพอากาศว่าท้องฟ้าจะเป็นใจไหม และจะได้ดูทุ่งดอกลูปินสมใจหรือเปล่า

1 344 345 346 347 348 376

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.