LATEST
เปิดไทม์ไลน์ ‘สร้าง เสริม ซ่อม’ ถนนพระราม 2 ถนนสายประวัติศาสตร์ที่กำลังสร้างมากว่าครึ่งศตวรรษ
แม้จะเป็นเหมือนมุกตลกร้าย แต่เมื่อมองให้ลึกถึงสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคเก่าและยุคใหม่อย่าง ‘มหาพีระมิด เมืองกีซา ประเทศอียิปต์’ และ ‘ทัชมาฮาล เมืองอาครา ประเทศอินเดีย’ ทั้งสองแห่งใช้เวลาในการสร้างรวมกันแล้วยังน้อยกว่า ‘ถนนพระราม 2’ เสียอีก ถนนพระราม 2 หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 ถือเป็นหนึ่งเส้นทางหลักในการเดินทางของพี่น้องชาวฝั่งธนฯ และเป็นถนนสายสำคัญที่เชื่อมไปยังภาคใต้ ซึ่งแท้จริงถนนเส้นนี้สร้างเสร็จมานานแล้ว แต่มีโครงการเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร และยังคงมีการก่อสร้างอยู่เป็นเวลา 54 ปีหากนับถึงตอนนี้ จนทำให้การจราจรติดขัดและเกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เราขออาสาพาไปดูไทม์ไลน์ถนนประวัติศาสตร์เส้นนี้ว่ามีจุดเริ่มต้นอย่างไร เพื่อคลายข้อสงสัยว่าทำไมมันถึงสร้างไม่เสร็จสักที ยุคแรกสร้างถนนพระราม 2 (พ.ศ. 2513 – 2516) ก่อนที่จะมีการสร้างถนนพระราม 2 ประเทศไทยมี ‘ถนนเพชรเกษม’ เป็นถนนสายหลักที่มุ่งสู่ภาคใต้อยู่แล้ว แต่ในช่วงสมัยรัฐบาลของ ‘จอมพล ถนอม กิตติขจร’ มีนโยบายให้สร้างถนนพระราม 2 ขึ้น ตัดผ่านกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดราชบุรี โดยเริ่มจากถนนสุขสวัสดิ์ (เขตจอมทอง กรุงเทพฯ) ไปบรรจบกับถนนเพชรเกษม (วังมะนาว […]
เสริมความมั่นใจแบบไม่ทำลายโลก ‘Bohktoh’ ขนตาปลอมย่อยสลายได้ ผลิตจากพลาสติกชีวภาพ
บางครั้งเราอาจลืมนึกไปว่า เครื่องสำอางหรืออุปกรณ์เสริมความงามของเราจะเป็นมลพิษต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้ เพราะพลาสติกจากผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายไม่สมบูรณ์ จะทำให้เกิดการแบ่งตัวเป็นพลาสติกขนาดเล็กหรือไมโครพลาสติกกระจายไปตามแหล่งน้ำหรือล่องลอยไปในอากาศ เพื่อลดการเกิดไมโครพลาสติกเหล่านั้น Urban Creature ขอแนะนำไอเทมที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและเสริมสร้างความมั่นใจให้เราไปพร้อมๆ กัน ด้วยขนตาปลอมรุ่น ‘Sisnature Lash’ ที่ย่อยสลายได้จาก Bohktoh แบรนด์ขนตาปลอมของประเทศไทย แม้ขนตารุ่นนี้จะมีความฟุ้ง ฟู ยาว ตรงตามมาตรฐานขนตาในอุดมคติ แต่ตัวขนตานั้นมีน้ำหนักเบา ไม่หนา สบายตา อีกทั้งยังผลิตจากพลาสติก Polylactic Acid (PLA) หรือพลาสติกชีวภาพที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ไหม เส้นผมของมนุษย์ และเส้นใยจากพืช ความพิเศษคือ หากไม่ใช้งานแล้วขนตาจะสลายตัวตามธรรมชาติในเวลา 180 วัน โดยไม่ปล่อยสารเคมีที่เป็นอันตรายหรือก่อให้เกิดมลพิษจากไมโครพลาสติก เพราะปกติแล้วขนตาสังเคราะห์ที่ทำจากเส้นใยปิโตรเคมีใช้เวลาหลายร้อยปีในการย่อยสลาย โดยปล่อยสารเคมีที่เป็นพิษสู่สิ่งแวดล้อมในขณะที่สลายตัวด้วย นอกจากนี้ กล่องบรรจุภัณฑ์ยังผลิตจากกระดาษคราฟต์ หรือ Bio Kraft Paper และพลาสติกที่ย่อยสลายได้ (PLA) ทำให้มั่นใจได้เลยว่า นอกจากจะแข็งแรงทนทานแล้ว ยังย่อยสลายได้เช่นเดียวกันกับขนตาปลอม ใครที่สนใจ ขนตารุ่น Sisnature Lash วางจำหน่ายแล้วที่ EVEANDBOY, […]
ทำไมบางเมืองถึงยอมแลกความเจริญกับการถูกถอดออกจากมรดกโลก
‘รักษาสิ่งเก่า’ หรือ ‘พัฒนาไปสู่สิ่งใหม่’ ถ้าสองอย่างนี้สามารถดำเนินไปด้วยกันได้คงจะดี แต่บางครั้งเราก็จำเป็นต้องเลือก โดยเฉพาะยามที่มีเรื่องผลประโยชน์ของส่วนรวมเข้ามาพัวพันด้วย ‘เมืองอยุธยาเสี่ยงจะถูกถอดออกจากมรดกโลกเพราะรถไฟความเร็วสูง’ หากมองจากสายตาคนนอก คงเป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับโบราณสถานที่มีอายุมากกว่าหลายร้อยปี แต่ในสายตาของคนท้องถิ่น คนจำนวนไม่น้อยต้องการความเจริญอย่างรถไฟความเร็วสูงมากกว่าการเป็นมรดกโลก และสิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในไทย ก่อนอื่นขออธิบายก่อนว่า ‘แหล่งมรดกโลก’ คือพื้นที่ทางธรรมชาติหรือสิ่งก่อสร้างรวมไปถึงเมือง ที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือด้านอื่นๆ ซึ่งได้รับการปกป้องคุ้มครองทางกฎหมายตามอนุสัญญาว่าด้วยเรื่อง ‘มรดกโลก’ ของยูเนสโก เพื่อให้ประชาชนเกิดการตระหนักรู้ในการอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบทอดต่อไป และที่สำคัญคือ การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์จะนำรายได้ไม่น้อยมาให้ท้องถิ่นและชุมชน ทุกอย่างเหมือนจะดูดี แต่เหรียญย่อมมีสองด้านเสมอ บางครั้งกฎเกณฑ์ที่มากเกินไปอาจทำให้การพัฒนาพื้นที่ทำได้ยากกว่าเดิม จึงมีบางประเทศเลือกที่จะยอมถูกถอดออกจากมรดกโลกเพื่อต้องการพัฒนาเมืองให้ดีกว่าเดิม ยกตัวอย่าง เมืองลิเวอร์พูล (Liverpool) ประเทศอังกฤษ และเมืองเดรสเดิน (Dresden) ประเทศเยอรมนี ที่ชาวเมืองสนับสนุนการพัฒนาเมืองมากกว่าการเป็นเมืองมรดกโลก หรือมรดกโลกอาจขัดขวางการพัฒนาเมือง จากความจริงที่ว่า ‘เมืองไม่เคยหยุดนิ่ง’ จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและเม็ดเงินที่ไหลเวียนเข้ามา ย่อมนำมาซึ่งการขยับขยายพัฒนาเมืองเพื่อตอบโจทย์ชาวเมือง ปฏิเสธไม่ได้ว่า การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทำให้เมืองไม่สามารถขยับตัวพัฒนาในบางจุดได้เท่าที่ควร และในเมื่อต้องเลือกเพียงแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง หนึ่งในเมืองที่ขึ้นทะเบียนเมืองมรดกโลกอย่าง ‘ลิเวอร์พูล’ จึงเลือกหันหลังให้มรดกโลกเพื่อแลกกับความเจริญ ‘ลิเวอร์พูล มาริไทม์ เมอร์แคนไทล์ ซิตี’ (Maritime Mercantile City) […]
เบาะนั่งจากกระบองเพชรและอวนจับปลา ทางเลือกของสายการบินแบบยั่งยืน เพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี 2050
ธุรกิจสายการบินเป็นสาเหตุหลักๆ ในการสร้างมลภาวะทางอากาศ ทำให้หลายบริษัทต่างหาวิธีการดำเนินงานบนความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และแข่งขันกันเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 ซึ่งหนึ่งในวิธีการแก้ปัญหาของธุรกิจเหล่านี้เริ่มจากการเปลี่ยนที่นั่งบนสายการบินให้เป็นวัสดุรีไซเคิล ภายในงาน Singapore Airshow ที่เป็นงานแสดงการบินและอวกาศระหว่างประเทศ ได้มีการเปิดตัว ‘RECARO Aircraft Seating GmbH’ ที่นั่งชั้นประหยัดจากบริษัทเยอรมนี ที่ทำขึ้นจากโฟมรีไซเคิลในที่นอนเก่า ที่วางแขนประกอบด้วยไม้และสารประกอบไม้ก๊อก ด้านหลังมีกระเป๋าตาข่ายทำจากตาข่ายดักปลา ส่วนผิวกระบองเพชรกลายเป็นทางเลือกแทนการใช้พลาสติกหรือหนังสัตว์ในการห่อหุ้มตัวเบาะ วัสดุกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของเบาะนั่งนั้นทำมาจากวัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ รวมไปถึงตัวเบาะเองก็สามารถรีไซเคิลได้ นอกจากนี้ ด้วยน้ำหนักที่ค่อนข้างเบากว่าเบาะปกติยังเป็นการช่วยประหยัดเชื้อเพลิงบนเครื่องบินอีกด้วย ที่นั่งดังกล่าวจะพร้อมจำหน่ายในปีนี้ โดยคาดว่าจะมีการส่งมอบครั้งแรกในปี 2025 เพราะส่วนประกอบบางอย่างยังต้องได้รับการรับรอง ไม่แน่ว่าในอนาคต ผู้โดยสารจากสายการบินต่างๆ อาจจะได้นั่งเบาะที่ทำจากหนังกระบองเพชรและอวนจับปลาที่ถูกทิ้งร้าง เนื่องจากอุตสาหกรรมการบินพยายามทำทุกวิธีเพื่อเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นรูปแบบการขนส่งที่ยั่งยืนให้ได้มากที่สุด Sources :Daily Maverick | bit.ly/3uZfqNGTimes of india | bit.ly/3TwT8wh
Yeodamjae Library เปลี่ยนวัดร้างกลางภูเขาในกรุงโซล ให้กลายเป็นห้องสมุดเด็กและประวัติศาสตร์เฟมินิสต์
ในวันที่คนเกาหลีใต้ไม่ชอบเด็กจนพบเห็นป้าย ‘ห้ามเด็กเข้า’ หรือ ‘เขตปลอดเด็ก’ ทั่วไป อีกทั้งยังเป็นสังคมปิตาธิปไตยที่สร้างความเกลียดชังต่อ ‘เฟมินิสต์’ (Feminist) และ ‘ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ’ (LGBTQIA+) แต่บริเวณใจกลางภูเขา Naksan เขต Changsin-dong แขวง Jongno-gu ในเมืองโซล ยังมีพื้นที่แห่งหนึ่งที่โอบกอดพวกเขาเหล่านั้นไว้ ภายใต้สถาปัตยกรรมทางศาสนา นั่นก็คือ ‘Yeodamjae Library’ Yeodamjae Library เป็นห้องสมุดสาธารณะที่แต่เดิมเคยเป็นวัดในพุทธศาสนาชื่อ Wongaksa ที่สร้างขึ้นในปี 1983 ก่อนจะถูกทิ้งร้างในปี 2003 เนื่องจากมีการสร้างกำแพงกันดินสำหรับอะพาร์ตเมนต์ใกล้เคียง ทำให้ผู้คนเข้าไปในสถานที่ได้จากเส้นทางภูเขาทางเหนือที่ทอดจากภูเขา Naksan เท่านั้น จนกลายเป็นสถานที่มั่วสุมของเด็กและเยาวชน เดิมที Yeodamjae Library ถูกวางแผนให้เป็นห้องสมุดเทศบาลสำหรับเด็ก โดยสำนักงานเขต Jongno-gu แต่ไม่ประสบความสำเร็จในระหว่างการเจรจา ทำให้ภายหลัง รัฐบาลกรุงโซล (SMG) ที่กำลังผลักดันให้มีการก่อสร้างศูนย์วัฒนธรรมสำหรับพลเมืองหญิงในขณะนั้นได้เข้ามาสานต่อโครงการ โดยร่วมมือกับสตูดิโอออกแบบ Emer-sys แผนการคือเปลี่ยนสถาปัตยกรรมโบราณแห่งนี้ให้กลับมาสวยงามและใช้งานได้อีกครั้ง ด้วยการรื้อกำแพงกันดินเดิมที่กั้นระหว่างวัดกับสวนสาธารณะออก และสร้างอาคารกระจกเชื่อมตัววัด เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานในอนาคต โดยมีห้องสมุดเด็กและสตรีนิยมเป็นหัวใจหลัก ทำให้ภายใน […]
Urban Regeneration of Hat Yai Inner City ธีสิสฟื้นฟูเมืองหาดใหญ่ สร้างย่านเศรษฐกิจใหม่จากพื้นที่เดิม
‘หาดใหญ่’ เปรียบเสมือนเมืองหลวงของภาคใต้ที่มีพหุวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของผู้คนที่หลากหลาย เนื่องด้วยเป็นชุมทางรถไฟสายใต้ที่มีพื้นที่ติดต่อค้าขายกับประเทศมาเลเซีย แต่ปัจจุบันเมืองท่าแห่งนี้กลับเงียบเหงากว่าอดีตมาก หลังจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 เมื่อหลายปีที่ผ่านมา เพราะมีการปิดพรมแดนระหว่างไทย-มาเลเซีย ซึ่งถือเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ ด้วยเหตุนี้ ‘เกรท-กมลฉัตร ชื่นจิตต์ศิริ’ อดีตนิสิตภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เกิดและเติบโตในพื้นที่หาดใหญ่ ตัดสินใจทำธีสิส ‘Urban Regeneration of Hat Yai Inner City’ ออกแบบพื้นที่ไฮไลต์ในตัวเมืองหาดใหญ่ใหม่ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในบ้านเกิดให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง คอลัมน์ Debut ชวนทุกคนนั่งรถไฟลงใต้ ไปสำรวจความเป็นไปได้ของการพัฒนาเมืองที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ผ่านธีสิสของลูกหลานหาดใหญ่คนนี้กัน จุดเริ่มต้นการฟื้นฟูของหาดใหญ่ “เราโตมากับหาดใหญ่ พอได้ทำธีสิสเลยเลือกพื้นที่ตรงนี้มาพัฒนา เพราะเห็นว่าปัจจุบันตัวเมืองค่อนข้างเงียบเหงา ซึ่งเรามองว่าหาดใหญ่สามารถไปได้ไกลกว่านี้” เกรทเล่าถึงความตั้งใจในการทำธีสิส โดยยึดจากปัญหาที่พบในบ้านเกิดของเธอเอง เดิมทีหาดใหญ่ได้รับความเจริญจากการเข้ามาของ ‘สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่’ ที่แบ่งการเดินทางแยกออกเป็น 2 สาย คือ ปลายทางสถานีรถไฟสุไหงโก-ลก และปลายทางเมืองบัตเตอร์เวิร์ท ประเทศมาเลเซีย นอกจากนี้ยังมีท่าอากาศยานหาดใหญ่ ที่ทำให้เมืองนี้มีบทบาทเป็นพื้นที่จุดศูนย์กลางการเดินทาง ควบตำแหน่งเมืองการค้าที่สำคัญเนื่องจากติดกับชายแดน แหล่งรวมความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชุมชนคนไทย จีน และมุสลิม ที่ตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่ มากไปกว่านั้น ทางเทศบาลนครหาดใหญ่ยังมีการวางแผนสร้างระบบ ‘รถไฟฟ้ารางเดี่ยว’ […]
ป๊อก ป๊อก รับหิ้วมื้อเด็ดส่งถึงที่
หากเราขี้เกียจจะเดินออกไปกินข้าวแต่อยากกินอาหารมากมาย สิ่งที่เราทำก็คงหนีไม่พ้นการสั่ง Food Delivery ให้มาส่งถึงหน้าบ้านของเรา แต่กว่าจะเลือกอาหารที่จะกินได้ก็คงเสียเวลาเลือกร้านอาหารที่ถูกใจไม่ใช่น้อย จะดีกว่าไหมถ้าหากมีบริการที่เลือกร้านอาหารเด็ดมาให้แล้วเราแค่เลือกจากในนั้น Pok Pok คือแพลตฟอร์มที่รวมร้านอาหารเด็ดมากมาย จนเหมือนกับเราไปเดินหาของกินใน Food Court ที่มีทั้งร้านดังที่มีชื่อเสียง หรือร้านเด็ดประจำถิ่น รับหิ้วมาให้เราในครั้งเดียว และหลายครั้งยังบริการส่งอาหารข้ามโซนโดยไม่เสียค่าส่ง อีกทั้งวิธีการที่ Pok Pok ให้ลูกค้าสั่งอาหารนั้นก็ง่ายดายจนติดใจกลุ่มผู้สูงวัยจนกลายเป็นลูกค้าประจำ Urban Creature คุยกับ ‘นาย-นัฐพงษ์ จารวิจิต’ ผู้ร่วมก่อตั้ง Pok Pok ถึงจุดเริ่มต้นของธุรกิจนี้ และความคาดหวังที่จะกลายเป็น 1 ใน Food Delivery ที่ใครๆ ก็หันมาใช้กัน
มองชีวิตคนไร้บ้านและหมาจรในกรุงเทพฯ ผ่านเกม ‘Bangkok Story: A Stray Dog’ จากฝีมือคนไทย ที่อยากให้คนเข้าใจปัญหา
หลายครั้งที่เราเดินผ่านคนไร้บ้านในกรุงเทพฯ อาจเคยนึกถามในใจว่า เหตุผลอะไรที่ทำให้พวกเขาต้องมาอาศัยอยู่บนท้องถนนแบบนี้ ความรู้สึกของพวกเขาที่ถูกบางคนมองว่าเป็นส่วนเกินของสังคมจะเป็นอย่างไร และในแต่ละวันพวกเขาจะหาความสุขได้จากที่ไหน เพื่อหาคำตอบกับสิ่งที่สงสัย จึงเกิดเป็น ‘Bangkok Story: A Stray Dog’ เกม Top-Down 2D RPG ฝีมือคนไทยจากทีมพัฒนาเล็กๆ ที่มีกันเพียง 2 คนอย่าง ‘Shameful Guys Development’ ที่พัฒนาเกมจากความหลงใหลในเรื่อง Mental Health และอยากเล่าเรื่องเหล่านี้ผ่านวิดีโอเกม การดำเนินเรื่องของเกม Bangkok Story: A Stray Dog เน้นไปที่การเล่าเรื่องผ่านบทสนทนาของคนไร้บ้านและสุนัขจรจัด ที่ต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบากในกรุงเทพฯ เพื่อมองหาสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้ใครสักคนต้องกลายมาเป็นคนไร้บ้าน เพื่อทำให้เราเข้าใจถึงที่มาและปัญหาในสังคมไทยมากขึ้น โดยผู้เล่นจะได้เล่นเป็นคนไร้บ้านที่พยายามเอาตัวรอดให้ได้ในแต่ละวัน ผ่านการพูดคุยกับตัวละครอื่นๆ และชาวเมืองที่ผ่านไปมา จนกระทั่งพบกับสุนัขจรจัดตัวหนึ่งที่จะต้องมาใช้ชีวิตร่วมกัน ซึ่งทำให้ตัวละครตัวนี้ได้สัมผัสกับความรักที่สูญหายและพยายามกลับไปมีบ้านอีกครั้ง นอกจากความสนุกในระหว่างเล่นแล้ว ผู้เล่นยังจะได้ตระหนักถึงจิตใจของผู้อื่นมากขึ้น ที่ไม่ใช่แค่คนไร้บ้าน แต่รวมถึงเพื่อน ครอบครัว ความหมายของชีวิต และการหาความสุขจากสิ่งใกล้ตัวนั่นเอง ปัจจุบันเกม Bangkok Story: A Stray Dog […]
เปิดเวที THE POWER BAND 2024 SEASON 4 เฟ้นหาสุดยอดวงดนตรีหน้าใหม่ ที่เป็นได้สุด เป็นไปได้ ด้วยพลังแห่งดนตรี
เผลอแป๊บเดียวเวทีประกวดเฟ้นหาสุดยอดวงดนตรีหน้าใหม่อย่าง ‘THE POWER BAND’ ที่จัดกันเป็นประจำทุกปี ก็เข้าสู่ปีที่ 4 แล้ว โดยปีนี้กลับมาอีกครั้งด้วยคอนเซปต์ ‘Let The Music Power Your World เป็นได้สุด เป็นไปได้ ด้วยพลังแห่งดนตรี’ ครั้งนี้ ‘King Power’ จัดใหญ่ จับมือกับคนในอุตสาหกรรมดนตรีอย่างคับคั่ง ไม่ว่าจะเป็นวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ 6 ค่ายเพลงดัง ได้แก่ Muzik Move, LOVEiS Entertainment, Smallroom, What The Duck, Warner Music Thailand และ XOXO Entertainment ที่พร้อมมาส่งต่อประสบการณ์และถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เข้าร่วมประกวดทุกคน ถ้าถามว่า ‘THE POWER BAND 2024 SEASON 4’ ในครั้งนี้จัดใหญ่จัดเต็มแค่ไหน วันนี้คอลัมน์ Art Attack […]
เสรีภาพสื่อที่ถูกจำกัดและผู้เห็นต่างที่ถูกกำจัด ในกราฟิกโนเวล ‘2475 นักเขียนผีแห่งสยาม’
‘เมื่อตัดไปหนึ่งหัวกลับงอกเพิ่มขึ้นมาอีกสองหัว’ มังกรไฮดรา สัตว์ร้ายในตำนานที่ยิ่งพยายามฆ่ามันเท่าไหร่ มันกลับยิ่งแตกตัวและแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ สถานการณ์บ้านเมืองของ ‘สยาม’ ในอดีตก็เช่นกัน ยิ่งรัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์ใช้อำนาจกำจัดผู้กระด้างกระเดื่องมากเท่าไหร่ จำนวนผู้ต่อต้านก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น จนนำไปสู่การยึดอำนาจ ย่ำรุ่ง 24 มิถุนายน 2475 เกิดการ ‘อภิวัฒน์สยาม’ เปลี่ยนแปลงการปกครองจาก ‘ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์’ สู่ ‘ระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ’ มอบอำนาจสูงสุดกลับคืนสู่ราษฎร แต่ผ่านไปเพียงแค่ชั่วอึดใจ ผู้มีอำนาจกลุ่มใหม่ก็เข้ามารับไม้ต่อเป็นเผด็จการเสียเอง เสมือนเปลี่ยนเพียงหัวโขนจากกษัตริย์เป็นทหาร ทำให้เรากลับมาตั้งคำถามว่า เกิดอะไรขึ้นในสยามช่วงเวลาก่อนปี 2475 ที่เป็นต้นเหตุของเรื่องราวทั้งหมด ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองและวิธีการของรัฐที่ใช้อำนาจปิดปากประชาชน แล้วทำไมจาก ‘สยาม’ มาจนถึง ‘ไทย’ ในปัจจุบัน สังคมการเมืองบ้านเรายังคงวนลูปแห่งอำนาจและการต่อสู้อย่างไม่เคยสิ้นสุด เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้อ่านหนังสือ ‘2475 นักเขียนผีแห่งสยาม’ กราฟิกโนเวลดราม่าอิงประวัติศาสตร์ที่ได้แรงบันดาลใจจากบุคคลและเหตุการณ์จริง ภาพลายเส้นโดย สะอาด (ภูมิ-ธนิสร์ วีระ) ผู้สร้างสรรค์ครอบครัวเจ๊งเป้ง, ให้รักเป็นบทกวีชั่วชีวิต ฯลฯ และเนื้อเรื่องโดย พชรกฤษณ์ โตอิ้ม และ สะอาด เรื่องราวภายในเล่มกล่าวถึงสยามประเทศช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุคสมัยที่พระนครเต็มไปด้วยอาชญากรรมและภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ […]
‘Iruyo’ ตุ๊กตาหุ่นเชิดอัจฉริยะ พี่เลี้ยงเด็กในระหว่างขับรถ ช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนน
เวลาที่พ่อแม่ต้องขับรถไปพร้อมๆ กับลูกตัวน้อย ไม่ว่าจะระยะทางใกล้หรือไกล หลายครั้งคงมีความกังวลเกี่ยวกับลูกบริเวณเบาะหลัง เกิดอาการพะว้าพะวังต้องคอยมองอยู่ตลอดเวลา จนอาจนำไปสู่อุบัติเหตุบนท้องถนนได้ เพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนที่มีเด็กเล็กอยู่ภายในรถ ทำให้ Nissan ค่ายรถยนต์ชื่อคุ้นหูคนไทย ร่วมมือกับ Akachan Honpo ผู้ค้าปลีกผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กของญี่ปุ่น และเอเจนซีโฆษณา TBWA HAKUHODO ออกแบบ ‘Iruyo’ ตุ๊กตาหุ่นเชิดอัจฉริยะ (Intelligent Puppet) ที่จะคอยเป็นเพื่อนเล่นลูกน้อยในระหว่างที่พ่อแม่กำลังขับรถ Iruyo 1 ชุด จะมีตุ๊กตาขนฟูสุดน่ารักมาทั้งหมด 2 ตัว โดยที่ตัวใหญ่จะทำหน้าที่เป็นเหมือนพี่เลี้ยงเด็ก และตัวเล็กที่ทำหน้าที่เป็นตัวประสานงานระหว่างพ่อแม่ที่กำลังขับรถและลูกน้อยบริเวณเบาะหลังด้วยคำสั่งเสียง ไม่ว่าจะเป็นการสั่งให้ Iruyo ตัวใหญ่ร้องเพลง โบกมือ หรือเล่นจ๊ะเอ๋ เพื่อดึงดูดความสนใจของลูกน้อยไม่ให้รู้สึกเบื่อหรือร้องไห้ในระหว่างการเดินทาง นอกจากนี้ Iruyo ยังมีเทคโนโลยีจดจำใบหน้าเพื่อติดตามสถานะของเด็กด้วย ทำให้เมื่อตรวจพบว่าลูกของคุณกำลังทำตาปรือๆ เริ่มง่วงนอน เจ้าตุ๊กตา Iruyo ตัวใหญ่จะทำการส่งสัญญาณไปยัง Iruyo ตัวเล็กให้ปิดตาลง เพื่อให้ผู้ปกครองรับรู้ได้ว่าถึงเวลางีบสำหรับพวกเขาแล้ว จากการสำรวจพบว่า มีเด็กกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ที่ให้ความสนใจ Iruyo และครึ่งหนึ่งมีสภาพอารมณ์ที่ดีขึ้นเมื่อปฏิสัมพันธ์กับมัน ทำให้ผู้ปกครองวางใจและขับขี่ได้อย่างปลอดภัย […]
บอกลาความคันที่ต้นคอด้วย ‘LUKE’ เครื่องตัดป้ายติดคอเสื้อชิ้นแรกของโลก มาพร้อมแอปฯ บอกวิธีการดูแลเสื้อผ้า
หลายคนน่าจะเคยประสบปัญหาป้ายติดคอเสื้อที่ทำให้รู้สึกคันจนต้องตัดทิ้ง แต่ทุกครั้งที่ตัดออกก็มักจะเหลือบางส่วนติดอยู่ที่คอเสื้อ เพราะหากตัดชิดเสื้อเกินไปก็อาจทำเสื้อขาดได้ ด้วยปัญหานี้ ทาง ‘LUKE’ ได้ออกแบบเครื่องกำจัดป้ายติดคอเสื้ออัตโนมัติ ที่นับว่าเป็นอุปกรณ์ชิ้นแรกของโลกที่ช่วยแก้ปัญหาตัดป้ายติดคอเสื้ออย่างสมบูรณ์ โดยที่ไม่ทำลายเสื้อให้เสียหาย เพียงแค่หนีบอุปกรณ์ชิ้นนี้ลงบนป้าย ความร้อนจากเครื่องก็จะตัดป้ายออกอย่างเรียบเนียน ไม่ทิ้งร่องรอยเอาไว้ให้รำคาญใจด้วยการเย็บตะเข็บเก็บงานได้อย่างสวยงาม แต่ขณะเดียวกัน ข้อมูลวิธีการดูแลรักษาเสื้อผ้าส่วนใหญ่ก็ดันอยู่บนป้ายที่ตัดทิ้งไป LUKE จึงแก้ปัญหานี้ด้วยแอปพลิเคชันที่จะช่วยให้เรารักษาเสื้อผ้าให้ยั่งยืนผ่านการถ่ายรูปจากป้ายติดคอเสื้อก่อนตัดทิ้ง หรือถ่ายรูปเสื้อผ้าเพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับชุดนั้นๆ ซึ่งเมื่อไหร่ก็ตามที่เราต้องการเข้าถึงข้อมูลเสื้อผ้าเหล่านั้น เพียงแค่เปิดเข้ามาในตู้เสื้อผ้าดิจิทัลหลังนี้ก็จะเจอฮาวทูทั้งหลายที่เราบันทึกไว้ทันที มากไปกว่านั้น แอปฯ ยังทำหน้าที่เป็นสไตลิสต์ช่วยออกแบบลุคจากข้อมูลเสื้อผ้าที่เราเก็บไว้ในฐานข้อมูลได้ด้วย Sources :Indiegogo | tinyurl.com/papfp6jtLUKE | tinyurl.com/yzhhs5svYanko Design | tinyurl.com/2738f8jm