Repair Café สเปซที่ส่งเสริมให้คนใช้ซ้ำด้วยการ ‘ซ่อม’ ลดขยะ ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มอายุขัยสิ่งของ เปิดทำการทุกวันเสาร์ที่สามของเดือน ณ บ้านสวนสุดาวรรณ

สิ่งของแต่ละชิ้นบนโลกล้วนมีอายุของตัวเอง แม้จะถนอมไว้ดีแค่ไหนก็ต้องมีความเสียหายบ้างตามกาลเวลา ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ หรือสิ่งของที่มีมูลค่าทางจิตใจ ซึ่งหากเราต้องจำใจเก็บทิ้งทุกทีที่ของเหล่านั้นใช้ไม่ได้แล้วคงจะรู้สึกเสียดายกันน่าดู การซ่อมจึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ แต่สำหรับคนที่ไม่ถนัดซ่อมแซมด้วยตัวเองคงต้องหาร้านซ่อม แต่ปัญหาคือเราไม่รู้พิกัดว่าร้านไหนที่จะช่วยคืนชีพของใช้ของเรากลับคืนมาได้ เราเลยอยากแนะนำให้ทุกคนรู้จัก ‘Repair Café’ พื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้การซ่อมแซมสิ่งของที่ก่อตั้งมาแล้วกว่า 2,800 แห่งทั่วโลก โดยเริ่มมาจากแนวคิดของ Martine Postma ที่ต้องการสร้างสเปซสำหรับพบปะกันระหว่างช่างซ่อมสิ่งของกับเจ้าของสิ่งของที่ต้องการซ่อม โดยมีมุมมองว่าการซ่อมเป็นการยืดอายุการใช้งานของของให้ยาวออกไปได้ และยังสามารถลดจำนวนขยะที่เกิดขึ้นไม่น้อยเลยทีเดียว โดยกิจกรรมนี้มี ‘Reviv’ สตาร์ทอัพเพื่อสิ่งแวดล้อมผู้ให้บริการเย็บซ่อมและปักเสื้อผ้าออนไลน์เป็นผู้จัดกิจกรรม ซึ่งทางองค์กรเองก็มีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมพฤติกรรมการซ่อมและการใช้ซ้ำให้กลายเป็นวัฒนธรรมกระแสหลักเช่นเดียวกัน จึงเกิดเป็นชุมชนส่งเสริมวัฒนธรรมการซ่อม (Repair Community Thailand) ที่ดูแลและสร้างสรรค์กิจกรรมใน Repair Café นั่นเอง ในช่วงที่ผ่านมา Repair Café เป็นการจัดกิจกรรมแบบสัญจรหมุนเวียนสเปซตามพื้นที่ย่านต่างๆ ที่สามารถเดินทางง่ายและใกล้รถไฟฟ้า แต่ในตอนนี้ Repair Café มีที่ตั้งประจำอย่างเป็นทางการแล้ว โดยจะเปิดทำการในทุกวันเสาร์ที่สามของเดือน ที่ ‘บ้านสวนสุดาวรรณ’ แนะนำให้ติดตาม Reviv ไว้เลย เพราะแต่ละเดือนจะมีช่างซ่อมอาสามาให้ความรู้วิธีการซ่อมสิ่งของในหมวดหมู่ที่แตกต่างกันออกไป และติดตามว่าในเดือนนั้นเปิดรับซ่อมสิ่งของประเภทใดบ้าง ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น เตรียมแค่ของที่อยากซ่อมมาเท่านั้นเอง (แต่จำกัดการซ่อม […]

ใครยังโสดยกมือขึ้น!เมื่อกรุงเทพฯ กลายเป็นเมืองร้างรัก จากจำนวนคนโสดเกินครึ่งเหตุเพราะผังเมืองและชีวิตไร้ความโรแมนติก

ทิ้งทวนกระแส Single’s Inferno รายการเดตสุดฮิตของประเทศเกาหลีใต้ ด้วยคอนเซปต์เข้าใจง่ายอย่างการมีคู่จะได้ไปเดตกันที่เกาะสวรรค์ ใช้ชีวิตสนุกสนาน มีความสุข ส่วนคนที่จับคู่ไม่สำเร็จก็ต้องจมอยู่ในเกาะนรกต่อไป ถ้าพูดว่าสถานที่ที่เต็มไปด้วยคนโสดคือเกาะนรก ตอนนี้กรุงเทพมหานครของเราก็อาจจะเป็นเกาะนรกไม่ต่างกัน เนื่องจากข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (SES) ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2566 พบว่า ทั้งประเทศมีคนโสดอยู่ 23.9 เปอร์เซ็นต์ หรือคิดง่ายๆ ว่า ถ้ามีคนไทยเดินมา 5 คน หนึ่งในนั้นเป็นคนโสด และส่วนที่สำคัญที่สุดคือ คนโสดส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตเมือง โดยกรุงเทพฯ มีสัดส่วนคนโสดต่อประชากรในพื้นที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ ถึงร้อยละ 50.4 อีกหนึ่งความน่าสนใจคือ 1 ใน 3 ของคนโสด (32.7%) จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป และเมื่อแบ่งตามเพศพบว่า คนโสดเพศหญิงมีสัดส่วนคนจบปริญญาตรีอยู่ที่ 42 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าเพศชายเกือบเท่าตัว โดยคนโสดเพศชายมีสัดส่วนคนจบปริญญาตรีอยู่ที่ 25.7 เปอร์เซ็นต์ หรือสรุปง่ายๆ ว่า คนโสดส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงที่จบปริญญาตรีและอาศัยอยู่ในตัวเมือง แน่นอนว่าพออ่านมาถึงตรงนี้ก็อาจพานคิดถึงเหมยลี่ ไอคอนิกแห่งสาวโสดชาวกรุง หรือแม้กระทั่งเราๆ เองที่อาศัยอยู่ในเมืองนี้ด้วยใจลำพังเช่นกัน ช้ำใจที่ยังโสด ต้องโทษผังเมืองกรุงเทพฯ […]

‘Sydney Fish Market’ ตลาดปลาแห่งใหม่ในซิดนีย์ที่ตั้งใจเป็นแหล่งท่องเที่ยว และช่วยฟื้นฟูพื้นที่ไปด้วย

ตลาดปลาในอดีตอาจไม่ใช่จุดมุ่งหมายของการท่องเที่ยวนัก แต่ในปัจจุบันหลายๆ เมืองที่นำเอาอาหารทะเลมาเป็นจุดขายก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ตลาดปลาให้น่าเดิน และเพิ่มพื้นที่สำหรับกิจกรรมอื่นๆ นอกเหนือจากการซื้อขายอาหารทะเลอย่างเดียว เช่นเดียวกับ ‘Sydney Fish Market’ ตลาดปลาแห่งใหม่ของซิดนีย์ที่ย้ายมาอยู่บนอ่าว Blackwattle ด้วยขนาดกว่า 3.6 เฮกตาร์ หรือประมาณ 36,000 ตารางเมตรที่กำลังจะเสร็จสมบูรณ์ในเร็วๆ นี้ และคาดว่าจะเป็นศูนย์กลางแห่งใหม่ของเมืองที่ชักชวนผู้คนให้มาลิ้มรสอาหารทะเลสดๆ พร้อมซึมซับบรรยากาศสวยงามจากการเดินริมทะเล ตลาดปลาแห่งใหม่นี้เป็นการร่วมมือกันของสตูดิโอ 3XN, BVN และ Aspect Studios ที่มีเป้าหมายในการเพิ่มชื่อเสียงแห่งการเป็นจุดหมายด้านอาหารทะเลของเมืองซิดนีย์ ด้วยการทำให้พื้นที่แห่งนี้มีทั้งร้านค้าปลีก ร้านอาหาร และตลาดอาหารทะเลสด เพื่อดึงดูดทั้งคนในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวให้แวะมาเยี่ยมเยียนตลาดแห่งนี้ รวมไปถึงการฟื้นฟู Blackwattle Bay ให้มีชีวิตชีวาขึ้น สิ่งที่ทำให้ตลาดปลาแห่งนี้ไม่เหมือนใครคือ โครงสร้างหลังคาความยาวกว่า 200 เมตรที่มีการออกแบบให้คล้ายเกล็ดปลา โดยทำขึ้นจากไม้และอะลูมิเนียม มีคุณสมบัติด้านประสิทธิภาพและความยั่งยืน ช่วยเรื่องระบายอากาศ กักเก็บน้ำฝน รองรับความต้องการในการใช้น้ำ มีแผงโซลาร์เซลล์ที่ใช้แสงอาทิตย์ช่วยผลิตไฟฟ้าใช้ภายในตลาด และสกายไลต์ให้แสงแดดส่องเข้าไปในตัวอาคาร เพิ่มความสวยงามให้ดูสดใส น่าเดินจากแสงธรรมชาติภายนอก ด้วยความที่ตลาดปลาตั้งอยู่บนน้ำและสวนสาธารณะ ภายนอกอาคารจึงมีทางเดินริมทะเลรอบๆ เพื่อเชิญชวนให้ผู้คนเดินเล่นในเส้นทางริมน้ำ รับบรรยากาศสบายๆ รวมถึงมีพื้นที่สาธารณะที่เหมาะเป็นพื้นที่สังสรรค์และสร้างปฏิสัมพันธ์ของชุมชนอีกด้วย Sources :3XN […]

War & Women’s Human Rights Museum สถานที่บอกเล่าเรื่องราวที่สตรีเกาหลีใต้ต้องเผชิญในสงครามญี่ปุ่น-เกาหลี

แม้สงครามระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลีจะจบลงนานแล้ว แต่ความเจ็บปวดที่ผู้หญิงเกาหลีใต้ต้องเผชิญในเวลานั้นยังคงอยู่ และรอคอยคำขอโทษมาจนถึงทุกวันนี้ เนื่องในวันสตรีสากล (International Women’s Day หรือ IWD) ที่ตรงกับวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี ซึ่งถือเป็นจุดสำคัญในการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสตรี Urban Creature ขอพาทุกคนไปรู้จักกับ ‘War & Women’s Human Rights Museum’ พิพิธภัณฑ์สงครามและสิทธิสตรี ในประเทศเกาหลีใต้ War & Women’s Human Rights Museum อาจไม่ใช่พิพิธภัณฑ์ที่คุ้นหูนักท่องเที่ยวเท่าไหร่นัก แต่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดมาแล้วกว่า 13 ปี ตั้งแต่ปี 2012 โดยปรับปรุงจากบ้านที่มีอยู่เดิมบนเชิงเขาซองมี ในเขตมาโปของกรุงโซล บนพื้นที่ทั้งหมด 308 ตารางเมตร ที่แบ่งออกเป็นสองชั้นบนดินและหนึ่งชั้นใต้ดิน พิพิธภัณฑ์ถูกออกแบบมาในรูปแบบของกำแพงอิฐสีเทาดำ มีประตูที่เล็กกว่าประตูบ้านขนาดปกติเพียงบานเดียวเป็นทางเข้า-ออก อีกทั้งยังไม่มีป้ายบอกทางขนาดใหญ่เหมือนอย่างที่พิพิธภัณฑ์อื่นๆ มี ที่เป็นเช่นนี้เพราะพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ดำเนินไปในรูปแบบพิพิธภัณฑ์เชิงบรรยาย ที่จะมีไกด์ร่วมเดินกับผู้เยี่ยมชมคอยบอกเล่าเรื่องราวของสถานที่ทั้งภายในและภายนอกพิพิธภัณฑ์ไปแต่ละส่วน โดยที่ผู้เยี่ยมชมไม่สามารถรู้ล่วงหน้าผ่านป้ายได้ว่าพวกเขาจะต้องเจอเข้ากับอะไรเป็นลำดับถัดไป เพื่อนำเสนอถึงความไม่แน่นอนของสถานการณ์ที่หญิงชราต้องเผชิญเมื่อพวกเธอถูกพาตัวไปในสงครามในฐานะสตรีบำเรอกาม การออกแบบภายใน War & Women’s Human […]

ชาว Urban Creature และถิ่นที่อยู่ รวมสถานที่โปรดบ้านฉันย่านเธอ ที่อยากให้ทุกคนรู้จักและไปเยี่ยมเยียน

ร้านอาหารตามสั่งร้านโปรด พื้นที่สีเขียวที่ใกล้จะหายไป สวนสาธารณะที่แอบซ่อนตัวอยู่ใต้ทางด่วน ทั้งหมดนี้แม้ไม่ใช่สถานที่เก๋ๆ แลนด์มาร์กน่ามาเยือนที่จะพบเห็นได้ตามโซเชียลมีเดีย แต่กับคนที่อยู่อาศัยในย่านนั้นๆ พื้นที่เหล่านี้อาจเป็นที่พักใจและคอมฟอร์ตสเปซที่คอยให้ความอบอุ่น น่ารัก และทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงเรากับย่านที่อยู่อาศัย หลังจากแนะนำสถานที่น่าไปในคอลัมน์ Urban Guide มานาน Urban Creature ก็อยากชี้ชวนให้ผู้อ่านรู้จักสถานที่ที่อาจไม่สวย ไม่เก๋ ไม่มีคอนเซปต์ว้าวๆ เท่าคาเฟ่ ร้านรวง หรือสเปซเจ๋งๆ ทว่าล้วนแล้วแต่มีคุณค่าต่อความทรงจำ และทำหน้าที่คล้ายเป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนที่อยู่ในย่านนั้นๆ บ้าง เราเลยปัดฝุ่นนำคอลัมน์ Add to my List มารีโนเวต จากที่เคยแนะนำความชอบและสิ่งละอันพันละน้อยของแขกรับเชิญให้ผู้อ่านไปตามอ่านตามดูตามอิน ก็ขอเปลี่ยนมาเป็นการแนะนำสถานที่โปรดในย่านที่อยู่อาศัยของเขาให้ทุกคนไปตามรอยแทน หรือต่อให้ไม่สามารถเดินทางไปได้ อย่างน้อยความทรงจำ ความชอบ ความผูกพันของแต่ละคนที่มีให้ย่านที่อยู่และสถานที่นั้นๆ ก็น่าจะทำให้ผู้อ่านอิ่มอกอิ่มใจ สำหรับการประเดิม เราขอชวนไปส่องสถานที่โปรดในย่านที่อยู่อาศัยของชาว Urban Creature กันก่อน หลังจากนี้จะเป็นย่านไหน สถานที่โปรดของใคร ไว้มารอดูไปด้วยกันน้า ชื่อ : เดือนเพ็ญ จุ้ยประชาตำแหน่ง : Managing Editorย่านที่อยู่ : ราชเทวีระยะเวลาอยู่อาศัย : […]

URBAN UNTOLD | เรื่องเล่าที่ฟรีแลนซ์วงการสร้างสรรค์ไม่ได้เล่า

หลายคนอาจไม่รู้ว่า สื่อบันเทิงที่ให้ความสนุกและเอนจอยหลายครั้งต้องแลกมากับความไม่เป็นธรรมที่คนทำงานสร้างสรรค์ได้รับ รายการ Urban Untold อีพีนี้ชวนฟรีแลนซ์สื่อสร้างสรรค์ที่ใครๆ ก็บอกว่าได้เงินเยอะเพราะรับงานเท่าไหร่ก็ได้ แถมสบายเพราะเป็นเจ้านายตัวเอง มาบอกเล่าถึงปัญหาในการทำงานที่พวกเขาต้องเผชิญ ตั้งแต่เรื่องคอนเนกชันที่ทำให้คนทำงานบางส่วนถูกตัดโอกาส สัญญาที่ไม่เป็นธรรมเพราะเป็นการตกลงกันปากเปล่า ไปจนถึงความไม่แน่นอนของรายได้ *วิดีโอชิ้นนี้ผลิตขึ้นโดยนักข่าวที่เข้าร่วมโครงการ UNDP Media Fellowship on Sustainable Development ในหัวข้อ Business and Human Rights*

ถอดโครงสร้างปฏิรูปรถเมล์ไทย ปัญหาที่แท้จริงอยู่ตรงไหนกันแน่

เชื่อว่าภาพจำของรถเมล์ในกรุงเทพฯ คงไม่ใช่สิ่งสวยงามในสายตาชาวกรุงอย่างเราเท่าไร เพราะเมื่อนึกถึงรถเมล์กรุงเทพฯ แวบแรกก็คงนึกถึงรถเมล์ร้อนสภาพเก่าที่ขับรถหวาดเสียวไปมา และยังต้องรออย่างไม่มีความแน่นอนว่ารถจะมาตอนไหน แถมยังต้องมาคอยลุ้นอีกว่าจะจอดรับหรือไม่ สถานการณ์รถเมล์เมืองกรุงยิ่งแล้วใหญ่กับเหตุการณ์ตอนนี้ที่มีการ ‘ปฏิรูป’ เส้นทางรถเมล์กรุงเทพฯ จนทำให้หลายคนรู้สึกว่าใช้เวลารอนานขึ้นกว่าเดิมมาก ระหว่างนั้นก็มีแต่รถเมล์เลขสายแปลกๆ วิ่งมาไม่หยุด พอรถมาก็ต้องพบว่าสายที่ตัวเองคุ้นเคยนั้นไม่ได้วิ่งไปปลายทางที่เคยคุ้นแล้ว สุดท้ายเมื่อต้องผิดหวังซ้ำๆ ก็เลยอดพาลคิดไม่ได้ว่า “ปฏิรูปแบบนี้ อย่าทำเลยดีกว่า” มุมมองนี้คงไม่ได้เกิดขึ้นกับเราคนเดียว เพราะเปิดดูในโซเชียลมีเดียก็เหมือนจะมีคนมองการปฏิรูปนี้ย่ำแย่ไม่แพ้กัน ทำไมการสังคายนารถเมล์ที่ควรดีขึ้นถึงกลายเป็นแบบนี้ แล้วจะมีทางไหนช่วยแก้ไขปัญหาที่เป็นอยู่ได้ คอลัมน์ Report ขออาสาพาไปดูรากเหง้าของปัญหาเรื่องนี้กัน 01 | กำเนิดโครงการปฏิรูปรถเมล์ เชื่อหรือไม่ว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการพยายามปฏิรูปเส้นทางรถเมล์ในกรุงเทพฯ แต่กรมการขนส่งทางบกเคยมีความคิดจะปฏิรูปรถเมล์ถึง 4 ครั้ง เริ่มจากครั้งแรกในช่วงปี 2538 ที่มีการใช้ตัวอักษร ‘ป’ ‘ร’ ‘ท’ เข้ามา ตามด้วยช่วงปลายปี 2544 ที่มีการเปลี่ยนเลขสายจาก ‘ปอ.X’ เป็น ‘5xx’ และมีการปฏิรูปอีกครั้งในปี 2552 พร้อมกับเรียงเลขสายใหม่เป็น ‘601’ ถึง ‘755’ ก่อนจะมาลงเอยที่โครงการปัจจุบัน แต่ที่ผ่านมามีเพียงการเปลี่ยนเลขสายในปี 2544 เท่านั้นที่สามารถดำเนินการสำเร็จ […]

สามารถ สุวรรณรัตน์ Mae Kha City Lab คนหนุ่มมือเย็น ผู้ปลูกดอกไม้ ปลุกไอเดียเปลี่ยนเมืองเชียงใหม่

นอกจากเป็นคนทำสื่อ นักกิจกรรม นักเขียน และนักวิจัยด้านการพัฒนาเมือง สามารถ สุวรรณรัตน์ ยังเป็นคนมือเย็น ในตรอกเล็กๆ ริมคลองแม่ข่า ท่ามกลางเงาสูงของโรงแรมย่านไนท์บาซาร์ เชียงใหม่ ผมพบเขาและทีมงาน—ร่วมด้วยพนักงานโรงแรมและผู้ประกอบการในพื้นที่—กำลังปลูกดอกไม้ริมคลอง นั่นคือช่วงปลายเดือนมกราคม หนึ่งสัปดาห์ก่อนที่เขาจะร่วมกับทีมสถาปนิกใจบ้านสตูดิโอ ผศ.วรงค์ วงศ์ลังกา ภูมิสถาปนิกและอาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเครือข่ายประชาชน เปลี่ยนพื้นที่นี้ให้กลายเป็นสวนป่าเล็กๆ ใจกลางเมือง ‘สวนเกสรและผีเสื้อ : พื้นที่การเรียนรู้นิเวศคลองแม่ข่า’ คือชื่อกิจกรรมที่พวกเขากำลังทำ—ฟังดูเหมือนแค่การเพิ่มพื้นที่สีเขียวอีกหนึ่งแห่ง แต่สำหรับชายหนุ่มผู้นี้ นี่คือจุดเริ่มต้นของบางสิ่งที่ใหญ่กว่า “แม่ข่าเคยเป็นหัวใจของเชียงใหม่ เป็นชัยภูมิในการก่อตั้งเมือง แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง ถ้าฟื้นฟูมันได้สำเร็จ นั่นอาจหมายถึงการเปลี่ยนเมืองทั้งเมือง” เขาบอก นี่คือแนวคิดของกลุ่มแม่ข่า ซิตี้ แลป (Mae Kha City Lab) กลุ่มที่สามารถร่วมกับเพื่อนนักวิจัย นักพัฒนาสังคม สถาปนิกชุมชน และเครือข่ายชาวบ้านริมคลองแม่ข่า ก่อตั้งขึ้นในปี 2565 เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการพัฒนาลำคลองและพื้นที่ริมคลอง อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจสงสัย ในเมื่อเทศบาลนครเชียงใหม่เพิ่งฟื้นฟูคลองแม่ข่าให้กลายเป็นจุดเช็กอินยอดนิยมของนักท่องเที่ยวไปหมาดๆ ยังจำเป็นต้องขับเคลื่อนอะไรอีก ซึ่งนี่แหละ ประเด็นสำคัญ ช่องว่างระหว่างการเปลี่ยนแปลง แม่ข่าเป็นสายน้ำที่มีมาก่อนการก่อตั้งเชียงใหม่กว่า 700 […]

‘Offline Love’ เรียลลิตี้หาคู่จากญี่ปุ่น ที่ให้พรหมลิขิตทำงานคู่กับแผนที่ ผ่านการเดินเมืองแบบไม่พึ่งพาสมาร์ตโฟน

การติดตามเรื่องราวความรักในมุมมองของคนที่สามกลายเป็นความบันเทิงอย่างหนึ่ง จนทำให้มีรายการแนวหาคู่ออกมาให้เราได้เห็นอยู่เรื่อยๆ หนึ่งในนั้นคือ ‘Offline Love’ รายการเรียลลิตี้ญี่ปุ่นจาก Netflix ที่จะพาคนดูอย่างเราไปลุ้นเรื่องราวความรักระหว่างคนแปลกหน้ากัน แต่จะให้เดตกันเฉยๆ ก็ธรรมดาไป แทนที่จะเป็นการจับมารวมกลุ่มเพื่อหาคู่รักที่เคมีเข้ากันที่สุด รายการนี้กลับไม่ให้ผู้เข้าร่วมรายการใช้สมาร์ตโฟนหรืออุปกรณ์ออนไลน์ใดๆ และเลือกให้หนังสือนำเที่ยวพร้อมแผนที่ เพื่อให้แต่ละคนออกไปผจญความแปลกใหม่ของเมืองที่ไม่รู้จัก เพราะรายการนี้แม้จะเป็นของญี่ปุ่น แต่สถานที่ถ่ายทำคือเมือง ‘Nice’ ประเทศฝรั่งเศส พูดให้โรแมนติกคือ รายการนำไอเดียเรื่องของพรหมลิขิตและการตกหลุมรักในสมัยก่อนที่ไม่มีสมาร์ตโฟนมาใช้ หวังให้แต่ละคนพบเจอกันด้วยความบังเอิญจากการเดินตามท้องถนน แล้วสังเกตมือที่ถือหนังสือนำเที่ยวกับแผนที่ของกันและกัน ดังนั้นนอกจากจะได้ลุ้นว่าใครจะเจอกับใคร และคู่ไหนจะตกหลุมรักกันแล้ว การผจญภัยในเมือง Nice ของผู้เข้าร่วมรายการทั้งสิบคนยังทำให้เราได้เห็นถึงความสวยงามของบรรยากาศรอบตัว ความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการเดินเมืองที่สะดวกสบายและเอื้อต่อการตกหลุมรักกันอีกด้วย ติดตามเส้นทางพรหมลิขิตใน Offline Love ทั้ง 10 ตอนได้ทาง Netflix หรือชมตัวอย่างที่ tinyurl.com/4yzt8r4t

กินอร่อยแถมสบายใจ ไม่สร้างขยะ ส่อง 600 ร้านอาหารบน ‘ร้านนี้ไม่เทรวม’ โครงการใหม่ที่ กทม.ปักหมุดร้านที่แยกขยะดี

หลังจากความสำเร็จของโครงการไม่เทรวม ที่เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการขยะของ กทม. และลดปริมาณขยะได้อย่างต่อเนื่อง จาก 11,000 ตันต่อวันในปี 2562 เหลือ 9,000 ตันต่อวันในปีนี้ และยังช่วยลดงบประมาณในการกำจัดขยะได้ถึง 300 ล้านบาท ปีนี้ กทม.จึงทำโครงการใหม่ที่ตรงจุดมากยิ่งขึ้น โดย ‘พรพรหม วิกิตเศรษฐ์’ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้บริหารด้านความยั่งยืนของกรุงเทพมหานคร ได้อธิบายถึงระบบการจัดการขยะของ กทม.ว่า มีการแบ่งขนาดเป็น S M และ L  ไซซ์ S คือการจัดการขยะของประชาชนทั่วไปตามบ้านเรือนต่างๆ ไซซ์ M คือร้านอาหาร ส่วนไซซ์ L คือห้างสรรพสินค้าหรือสถานที่ขนาดใหญ่ที่มีขยะจำนวนมาก ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีร้านอาหารกว่า 200,000 ร้าน และเป็นแหล่งกำเนิดขยะจำนวนไม่น้อย กทม.จึงเข้าไปดูแลขยะหลังครัวและหลังกินจากการแยกขยะตั้งแต่ต้นทางผ่านโครงการ ‘ร้านนี้ไม่เทรวม’ ที่ร่วมมือกับร้านอาหารที่มีการจัดการขยะถูกต้อง พร้อมปักหมุดร้านที่เข้าร่วมโครงการบนเว็บไซต์ Greener Bangkok เพื่อให้ทุกคนเลือกอุดหนุนร้านที่แยกขยะดีๆ กันได้ง่ายขึ้น นอกจากเป็นการชี้เป้าร้านอาหารที่แยกขยะได้ดีแล้ว โครงการนี้ยังช่วยคาดการณ์ปริมาณขยะที่เกิดจากร้านอาหารและงบประมาณในการจัดการขยะอีกด้วย ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมขยะรูปแบบใหม่ของกรุงเทพมหานครที่จะเริ่มใช้ในเดือนตุลาคม 2568 ตามประเภทผู้ก่อขยะ […]

‘ตัวโดนเท’ โปรเจกต์ถังดักไขมันพกพาร้านรถเข็น แก้ปัญหาแบบ 2 in 1 ทั้งลดท่ออุดตันและได้ทางเท้าคืน

ปัญหาไขมันอุดตันในท่อระบายน้ำและการกีดขวางทางเดินของร้านรถเข็นสตรีทฟู้ด คือสองปัญหาเรื้อรังของกรุงเทพมหานครที่ไม่ว่าจะจัดการเท่าไหร่ก็ไม่หมดไปสักที จะเป็นยังไงถ้าสองปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ด้วยอุปกรณ์เพียงชิ้นเดียว ที่เป็นได้ทั้งถังดักไขมันและอุปกรณ์สำหรับเทินล้อร้านรถเข็นให้สามารถจอดคร่อมระหว่างทางต่างระดับ คอลัมน์ Debut ขอดึงตัว ‘ชัช-ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์’ สถาปนิกแห่ง Everyday Architect Design Studio เจ้าของโปรเจกต์ที่หลายคนอาจจะคุ้นหน้าคุ้นตาจากอีเวนต์ Bangkok Design Week 2025 ที่เพิ่งจบไป มาพูดคุยเจาะลึกถึง ‘ตัวโดนเท’ โปรเจกต์ออกแบบนวัตกรรมถังดักไขมันแบบพกพา ที่โดนเทน้ำมันใส่ยังไงก็ไม่เล็ดลอดลงสู่ท่อระบายน้ำ แถมยังได้พื้นที่ทางเดินคืนมาให้คนเดินเท้าด้วย จากสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเมือง สู่การออกแบบเพื่อแก้ไขปัญหาจริง ถ้าพูดถึงจุดเริ่มต้นของโปรเจกต์นี้ คงต้องย้อนไปถึงหนังสือ ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ ที่ชัชวาลเขียนขึ้น โดยมีแกนหลักคือการบันทึกภาพสเก็ตช์และเรื่องราวสั้นๆ ของข้าวของรอบตัวที่เกิดขึ้นเรี่ยราดตามรายทางจากฝีมือผู้คนตัวเล็กๆ ในเมือง ซึ่งเรียกโดยรวมว่า ‘สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเมือง’ “เราได้แรงบันดาลใจมาจากการเห็นร้านรถเข็นมีปัญหาเรื่องฟุตพาททางเท้า เขาเลยมักจะเอาอิฐมวลเบาแถวนั้นมาเทินล้อ เป็นการแก้ปัญหาแบบเมืองๆ” เจ้าของโปรเจกต์เล่าถึงไอเดียตั้งต้น ก่อนจะนำมารวมกับปัญหาที่พ่อค้าแม่ขายมักเทน้ำเสียจากการประกอบอาหารที่เต็มไปด้วยไขมันลงท่อระบายน้ำของเมืองโดยตรง ‘ตัวโดนเท’ ถือเป็นโปรเจกต์ในลักษณะ Product Design ตัวแรกของทาง Everyday Architect Design Studio ที่ชัชวาลออกแบบร่วมกับ ‘รมย์รวินท์ พิพัฒน์นัดดา’ และนักศึกษาฝึกงาน ‘มยุรฉัตร […]

‘North Boulder Library’ ห้องสมุดอเนกประสงค์ของชุมชน ให้ความรู้พร้อมทั้งสร้างความยั่งยืนต่อพื้นที่

ย้อนกลับไปเมื่อหลายสิบปีก่อน หน้าที่ของห้องสมุดที่ทุกคนรู้จักคือพื้นที่สำหรับให้บริการการอ่าน รวมถึงให้ยืมหนังสือกลับไปอ่านที่บ้านได้ แต่ในปัจจุบันหลายๆ ห้องสมุดเป็นมากกว่าแค่พื้นที่สำหรับอ่านหนังสืออย่างเดียว หนึ่งในนั้นคือ ‘North Boulder’ ห้องสมุดในรัฐ Colorado ที่เรียกว่าเป็นศูนย์กลางชุมชนเลยก็ได้ North Boulder เป็นห้องสมุดที่ชุมชนรอคอยมานาน ด้วยเหตุนี้ ‘WORKac’ สตูดิโอออกแบบจากนิวยอร์กที่ยึดหลักคิดเรื่องความยั่งยืนและสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน จึงออกแบบให้ห้องสมุดแห่งนี้ทำหน้าที่เป็นศูนย์อเนกประสงค์ของชุมชนด้วย เพราะโครงการนี้ให้ความสำคัญกับชุมชนเป็นหลัก ส่งผลให้มีโซน Boulder Reads ที่สนับสนุนผลักดันให้ผู้ใหญ่และเด็กมีทักษะในการอ่าน รวมถึงโซน Maker Kitchen ที่มาจากความสนใจของชุมชนในเรื่องพื้นที่เรียนรู้ความสร้างสรรค์และครัวส่วนกลาง ภายในห้องสมุดแห่งนี้ยังมีห้องอ่านหนังสือขนาดใหญ่ที่แบ่งสัดส่วนพื้นที่ให้กับผู้ใหญ่ และพื้นที่สำหรับเด็กที่ไม่ได้เน้นเฉพาะการอ่าน แต่ยังทำหน้าที่เป็นพื้นที่ให้พร้อมเล่นสนุกด้วยองค์ประกอบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปีนผาหรือสไลเดอร์ แถมยังมีกระจกบานใหญ่ที่มองวิวภูเขาด้านหน้าได้ มากไปกว่านั้น ส่วน Maker Kitchen ยังเชื่อมต่อออกไปยังสวนกินได้และสนามเด็กเล่นด้านนอก ส่วนโซนด้านนอกมีพื้นทางลาดที่เชื่อมต่อขึ้นไปยังชั้นสองของห้องสมุด ซึ่งเป็นพื้นที่การเรียนรู้สำหรับชุมชนที่มีบางโปรแกรมเปิดให้เข้าในช่วงกลางคืน เช่น ห้องเรียน ESL (English as a Second Language) ซึ่งผู้เข้าเรียนสามารถใช้ทางลาดนี้ขึ้นไปยังชั้นสองโดยไม่ต้องผ่านห้องสมุดชั้นล่างที่ปิดอยู่ ปิดท้ายด้วยการออกแบบในด้านความยั่งยืน ที่มีการติดแผงโซลาร์เซลล์ไว้บนหลังคาของห้องสมุดเพื่อใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ มี Rain Garden หรือสวนซับน้ำฝน ที่ช่วยรับน้ำฝน […]

1 2 3 4 5 369

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว