
LATEST
กินอย่างไร ให้เป็นมิตรต่อท้องทะเล
ในขณะที่เรากังวลว่าอาหารทะเลที่ซื้อมาจากตลาดจะสะอาดปลอดภัยดีหรือไม่ ท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 รอบนี้ เราได้รู้จักกับ ‘Fisherfolk’ หรือ ‘ร้านคนจับปลา’ ร้านค้าของกลุ่มชาวประมงเรือเล็กกลุ่มหนึ่งที่รวมตัวกันก่อตั้งกิจการขายปลาและอาหารทะเลของตนเอง ซึ่งเรียกความมั่นใจให้เราได้ว่าสะอาด ปลอดภัยแน่นอน เมื่อมีโอกาสพวกเขาจึงพากันมาเปิดตลาดที่งานเทศกาลอาหารดี(ย์) ประจำปี ‘มหาส้มมุทร’ ที่สวนครูองุ่น ทองหล่อซอย 3 เมื่อปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ความพิเศษของร้านคนจับปลาไม่เพียงแค่ขายอาหารทะเลสด สะอาด ปลอดสารเคมีในกระบวนการแช่แข็งหรือแปรรูปเท่านั้น แต่สินค้าในร้านสามารถตรวจสอบที่มาที่ไปว่าใช้เครื่องมืออะไรในการจับ มีวิธีเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ได้มาอย่างไร อีกทั้งเบื้องหลังของคนกลุ่มนี้ไม่ใช่แค่ทำประมงอย่างเดียว แต่ยังสวมบทบาทเป็นนักอนุรักษ์และฟื้นฟูท้องทะเลไทยควบคู่ไปด้วย “ทุกหนึ่งปีนอกจากจะปันหุ้นให้สมาชิกในกลุ่มแล้ว เราจะแบ่งกำไรส่วนหนึ่งกลับไปฟื้นฟูดูแลทะเลในรูปแบบของบ้านปลา ซึ่งหมู่บ้านเราจะทำกันปีละ 3 ครั้ง โดยครั้งแรกจะทิ้งลงทะเลในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้” คำบอกเล่าของคุณลุงจากร้านคนจับปลา จ.ประจวบคีรีขันธ์ และเนื่องจากร้านคนจับปลาเป็นศูนย์กลางในการรับและกระจายสินค้าที่ส่งตรงมาจากกลุ่มประมง จึงมีสมาชิกในเครือข่ายหลายจังหวัด หนึ่งในนั้นคือหมู่บ้านชาวประมงแหลมสิงห์ จ.จันทบุรี “หมู่บ้านชาวประมงแหลมสิงห์ของเรา นอกจากไม่ใช้เครื่องมือที่ไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อมแล้ว ในทุกๆ ปีคนในหมู่บ้านจะรวมตัวกันจัดเตรียมอุปกรณ์บ้านปลา เพื่อทำที่อยู่อาศัยให้สัตว์น้ำ ก่อนขนใส่เรือไปวางตามจุดต่างๆ ในทะเลใกล้ๆ กับแนวปะการังเทียม” คุณป้าจากหมู่บ้านชาวประมงแหลมสิงห์เล่าให้เราฟัง การได้รู้จักและพูดคุยกับสมาชิกร้านคนจับปลาวันนั้น นำพาให้เรามานั่งอยู่กลางวงสนทนาร่วมพูดคุยเรื่องระบบอาหารยั่งยืน รู้ที่มา เข้าใจเส้นทางอาหาร และความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค กับ ‘พี่แท็ป-วิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี’ […]
คลาสเย็บผ้าไร้แพตเทิร์นกับ ‘ซิกแนล’ ดีไซเนอร์รุ่นเก๋าผู้ใช้ข้างทางเป็นห้องเรียน
พี่ซิกแนล หรือ สมพร อินทร์ประยงค์ ดีไซเนอร์รุ่นเก๋าที่มีผลงาน Folk Art โลดแล่นอยู่บนเวทีระดับโลกมากว่า 14 ปี ผลงานทุกชิ้นของเธอล้วนมีเสน่ห์เสียจนอดคิดไม่ได้ว่าเสื้อผ้าของเธอแต่ละผืนนั้นมีชีวิต ตลอดระยะเวลาตั้งแต่วันแรกที่เริ่มเย็บผ้าจนถึงวันนี้ เธอมีความสุขทุกครั้งที่ได้ปักเข็มลงไปบนผ้าผืนต่างๆ เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวในชีวิตและการมองโลกของเธอบนผืนผ้า ร้อยเรียงออกมาจนเป็นลวดลายแห่งความสุข เพียงแต่เธอไม่ได้มีความสุขแค่คนเดียว ยังคงส่งมอบความสุข ความรู้ และเสียงหัวเราะให้ผู้อื่น ผ่านการเปิดคลาสเรียนเย็บผ้าไร้แพตเทิร์นข้างทาง เสมือนห้องทดลองให้เหล่าคนที่ลุ่มหลงในงานผ้าได้มาทำความรู้จักแลกเปลี่ยนความรู้อย่างสร้างสรรค์ในร้านที่มีชื่อว่า ‘แนลแอนทีค’ ชีวิตวัยเด็กแก่นเซี้ยว สู่ดีไซเนอร์รุ่นเก๋าที่ชื่อว่า ‘ซิกแนล’ “พี่โตมากับการวิ่งเล่น ตัดต้นข้าวมาทำปี่เป่า เราทำของเล่นเองตั้งแต่เด็ก เพราะว่าไม่มีของเล่น ต้องคิดเองทำเอง เวลาอยากได้อะไรเราก็ทำเพราะว่าไม่มีเงิน ” ย้อนกลับไปวัยเด็ก ความซุกซนของพี่แนลเรียกได้ว่าเต็มสิบ จนถูกจับขังในกล่องลังอยู่เป็นประจำ เธอเติบโตในอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นช่วงสงครามเวียดนามยุคที่มีทหารอเมริกันเข้ามาพักอาศัยจำนวนมาก เธอจำได้ว่าในจังหวัดมีจำนวนคนไทยกับฝรั่งพอกัน ทำให้พื้นที่ดังกล่าวเกิดการแลกเปลี่ยนและผสมผสานวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน ทั้งภาษา สกุลเงิน นิตยสาร หรือแม้กระทั่งการแต่งตัว ยังเป็นช่วงที่คนรุ่นใหม่จากมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ เริ่มเข้ามาทำงานในแคมป์ทหาร ทำให้พี่แนลในวัยประถมฯ ได้เห็นคนที่มีความสามารถด้านการวาดรูปและการสื่อสารภาษาอังกฤษ จนเกิดความชื่นชมและกลายเป็นความฝันว่า สักวันหนึ่งต้องเก่งให้ได้เหมือนพวกพี่ๆ เขา และแม้ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรให้เป็นคนเก่ง แต่เธอรู้เพียงว่า ถ้าทำอะไรได้เองมันคงน่าภูมิใจไม่น้อย จึงขวนขวายตั้งใจเรียนมาตั้งแต่เล็ก […]
A.R.M.Y x ร้านรถเข็น ติ่งเกาหลีฟื้นชีวิตแม่ค้าตัวเล็ก
ป้ายโฆษณาสุขสันต์วันเกิดศิลปินที่รักของต่ิงเกาหลีในยุคนี้ ไม่ได้ทำเพื่อโปรโมตหรือสนับสนุนศิลปินอย่างเดียวอีกต่อไป แต่ถูกปรับเปลี่ยนเป็นพลังในการช่วยเหลือคนตัวเล็กๆ ที่เดือดร้อนในวิกฤตอันยากลำบากนี้ได้อย่างไม่น่าเชื่อ ‘อาร์มี่ (A.R.M.Y.)’ หรือชื่อเรียกแฟนคลับวง BTS ได้ร่วมทำโปรเจกต์ดีๆ ช่วยเหลือผู้ประกอบการตัวเล็กๆ ด้วยการติดป้ายฟิวเจอร์บอร์ดสุขสันต์วันเกิด ‘วี หรือ คิม แทฮยอง’ หนึ่งในสมาชิกวง BTS หน้ารถเข็นของพ่อค้า-แม่ค้าขายลูกชิ้นแทนป้ายโฆษณา เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับพวกเขาในช่วงโควิด
จัดช่อตัวต่อดอกไม้ด้วย ‘LEGO’
เราสามารถต่อดอกไม้เองด้วย ‘LEGO’ คอลเลกชัน ‘Botanical’ หรือสวนพฤกษศาสตร์ที่สามารถนำตัวต่อรูปทรงต่างๆ มาเนรมิตเป็นดอกไม้ในจินตนาการ
คืนชีวิตให้คนเมืองด้วยการมี ‘ทางเท้าที่ดี’
ถ้าให้ขอของขวัญปีใหม่ได้หนึ่งอย่างจากรัฐบาลคุณอยากขออะไร…วัคซีนโควิด-19 ระบบขนส่งสาธารณะที่ได้มาตรฐาน สวัสดิการที่ครอบคลุม หรือพื้นที่สีเขียวที่มากขึ้น สำหรับเรา อยากคืนชีวิตให้คนเมืองด้วยการมี ‘ทางเท้าที่ดี’
เปลี่ยนการสั่งของจากจีนให้เป็นเรื่องง่ายด้วย 4 แอปพลิเคชัน และผู้ช่วยฟรีแลนซ์จาก Fastwork
ใครๆ ก็บอกว่าสินค้าจากจีนราคาถูกมาก แต่การจะได้ของถูกมากมาไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะมีอุปสรรคมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภาษา การพูดคุย สินค้าไม่ตรงปก เป็นต้น ยิ่งถ้าคิดจะทำธุรกิจสินค้าจากประเทศจีนอย่างการซื้อมาขายต่อ เพื่อลดต้นทุนสินค้าและทำกำไรได้เพิ่มขึ้น ก็จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและสื่อสารกับต้นทางได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ แต่จะไปเรียนภาษาจีนเพิ่มหรือศึกษาข้อมูลทั้งหมดด้วยตัวเองอาจไม่ทันใจหรือยากเกินไป จะดีกว่าไหมหากมีผู้เชี่ยวชาญจาก Fastwork มาดำเนินการในส่วนนี้ให้เราแทน เพราะ Fastwork คือแหล่งรวมฟรีแลนซ์มืออาชีพ ที่มีฟรีแลนซ์เกี่ยวกับการจัดการร้านค้าออนไลน์ พร้อมให้บริการรับสั่งสินค้าจากจีนด้วยราคาที่เป็นมิตรต่อการลงทุน หากพูดถึงบริการรับสั่งของจากจีน หลายคนอาจยังไม่คุ้นเคยสักเท่าไหร่ แต่สำหรับคนที่กำลังมองหาอาชีพเสริมเป็นการขายของออนไลน์แล้วละก็ คงเคยผ่านตากันมาบ้างแน่นอน เพราะปัจจุบันพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ต่างเลือกใช้แอปพลิเคชันสั่งของจากจีนช่วยด้วยกันทั้งนั้น วันนี้เราขอหยิบเอา 4 แอปพลิเคชันดีๆ ที่คัดมาแล้วว่าหากใครต้องการสั่งของจากจีน แอปพลิเคชันเหล่านี้แหละที่จะทำให้สะดวกสบายมากที่สุดมาฝากกัน AliExpress | แอปฯ รับสั่งของจากจีนยอดนิยมของชาวไทย ‘AliExpress’ แอปพลิเคชันรับสั่งของจากประเทศจีนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในไทย เนื่องจากรองรับการให้บริการด้วยภาษาไทย สินค้ามีการจำแนกประเภทอย่างชัดเจน ทั้งยังอัปเดตสินค้าที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างทันท่วงที เหมาะกับการนำเข้าสินค้ามาขายต่อเป็นอย่างมาก และที่ขาดไปไม่ได้เลยคือช่วงเวลา Flash Sale ลดกระหน่ำกันทุกวัน Vcanbuy | อัปเดตสินค้าตามเทรนด์ แยกหมวดหมู่ชัดเจน ‘Vcanbuy’ อีกหนึ่งเว็บไซต์สั่งของราคาส่งจากจีนที่ใช้งานด้วยภาษาไทย พร้อมบริการติดต่อหาสายด่วนได้ตลอดเวลา ตอบโจทย์ผู้ใช้งานคนไทยที่อาจไม่ถนัดภาษาจีนเป็นอย่างดี แถมยังจัดโปรโมชันสุดพิเศษในทุกๆ วาระอีกด้วย นับว่าเป็นอีกหนึ่งแอปฯ […]
‘ปลดล็อกตัวตน’ ผ่านนิทรรศการ Unlock ของเอก พิชัย
นี่อาจดูเหมือนแกลเลอรีภาพถ่ายในพื้นที่ไม่กี่ตารางเมตร แต่จากทางเข้าไปจนสุดทางออก มันคือเส้นทางปลดล็อกทั้ง 4 ช่วงชีวิตของ ‘เอก-พิชัย แก้ววิชิต’ อดีตวินมอเตอร์ไซค์ย่านราชเทวี ผู้ฉีกกรอบจำกัดของความกลัวและมุ่งหน้าสู่การเป็นช่างภาพสถาปัตยกรรมของกรุงเทพฯ ขณะที่พี่เอกกำลังพาทัวร์นิทรรศการ Unlock ของเขาเพียงช่วงเวลาสั้นๆ สมองของฉันพรั่งพรูไปด้วยคำถามที่ชวนย้อนกลับมาทบทวนตัวเอง ซึ่งมีเพียงฉันเท่านั้นที่ตอบได้
.
“ความกลัวของฉันคืออะไร” และ “ฉันมีความสุขกับอะไรมากที่สุดในชีวิต” โดยชิ้นงานทั้ง 27 ภาพถ่าย กับ 1 วิดีโอคลิป กำลังพาฉันขบคิดกับคำถามที่ตอบยากที่สุดในวัยเบญจเพส
‘แยก-ทิ้ง-เก็บ’ สไตล์เยอรมัน จนได้แชมป์โลกรีไซเคิลขยะ
เวลาเจอขยะ 1 ชิ้น คุณทำอย่างไร หยิบไปทิ้งเลย หรือยืนคิดสักประเดี๋ยวว่าเจ้าขยะชิ้นนี้ควรจัดการอย่างไร สำหรับชาวเยอรมนีคงเป็นอย่างหลัง พวกเขาจะประมวลผลการจัดการเหล่าขยะอย่างตั้งใจ จะเริ่มคิด วิเคราะห์ ไปจนถึงแยกชิ้นส่วนขยะ ให้สมกับตำแหน่งอันดับหนึ่งของโลกด้าน ‘การรีไซเคิลขยะชุมชน’ ในปี 2017 ซึ่งรีไซเคิลได้ถึง 56.1 เปอร์เซ็นต์ (จัดอันดับโดย Eunomia บริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมอิสระในสหราชอาณาจักร) เราเองในฐานะที่ได้ใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศเยอรมนีเลยมีเรื่องราวการแยกขยะแบบฉบับเยอรมนีมาฝากกัน เริ่มตั้งแต่นโยบายรัฐในการจัดการ การแยก การลดปริมาณขยะ ไปจนถึงโครงการต่างๆ จากภาคเอกชนที่สนับสนุนการลดขยะในเมือง | ฉันแยกและทิ้งแบบมีระบบ นโยบายการทิ้งขยะในครัวเรือนของประเทศเยอรมนีมีรายละเอียดยิบย่อยแตกต่างกันไปตามแต่ละเมือง ซึ่งขึ้นกับรัฐอีกทีว่ามีรูปแบบการกำจัดขยะอย่างไร แต่โดยรวมแล้วการแยกขยะในครัวเรือนแบ่งได้ตามนี้ 1.ขวดน้ำ กระป๋อง ขวดแก้วที่มีค่ามัดจำขวด – นำไปคืนเพื่อรับเงินตามซูเปอร์มาร์เก็ตได้ (ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละที่จะรับคืนขวดแบบไหนด้วยนะ) นอกจากนี้ อาจวางไว้ข้างถังขยะให้ผู้คนที่หาเงินจากการเก็บขวดคืนมารับไป 2.ขยะรีไซเคิล เช่น บรรจุภัณฑ์พลาสติก ขวดแก้วสีต่างๆ อะลูมิเนียม – เหล่านี้จะมีรายละเอียดเฉพาะของแต่ละเมือง เช่น มิวนิกจะตั้งคอนเทนเนอร์รอบเมืองให้คนทิ้งขยะรีไซเคิลที่ล้างมาเรียบร้อยแล้ว 3.เสื้อผ้าและรองเท้า – บริจาคได้ตามตู้รับบริจาครอบเมืองต่างๆ มีหลายองค์กรที่เปิดรับ เช่น สภากาชาดเยอรมนี […]
8 โปรเจกต์รัฐบาลที่จะเกิดขึ้นใน ‘กรุงเทพฯ ปี 2564’
ขออาสาไปติดตามความคืบหน้าโปรเจกต์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น รถไฟฟ้า รถเมล์ เรือ สถานีขนส่งสาธารณะ ทางเท้า หรือแม้กระทั่งศาลาพักผู้โดยสารรถประจำทาง ว่าแล้วจะมีอันไหนอยู่ใกล้ตัวเพื่อนๆ บ้าง ตามไปส่องกันเถอะ!
6 เมืองน่าอยู่แห่งปี เมืองเล็กๆ แต่คุณภาพคับแก้ว
เมืองเล็กที่น่าอยู่ที่สุดประจำปี 2020 จัดโดยนิตยสาร Monocle เมืองเหล่านั้นจะน่าอยู่แค่ไหน มีดีอย่างไรถึงได้ตำแหน่งมาครอบครอง และทำให้รู้ว่าในอีกมุมของโลกก็ยังมีเรื่องราวของผู้คน และวัฒนธรรม ให้ค้นหาอย่างไม่รู้จบ
Burger King อังกฤษ ประกาศช่วยธุรกิจร้านอาหารด้วยการยก IG ตัวเองให้โฆษณาฟรีๆ
กว่า 1 ปีที่ COVID-19 ระบาดและสร้างความปั่นป่วนไปทั่วโลก ทำให้หลายประเทศรวมถึง ‘อังกฤษ’ ต่างได้รับผลกระทบอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นจำนวนผู้ติดเชื้อที่มากถึง 2.65 ล้านคน รวมไปถึงธุรกิจรายย่อยอื่นๆ ที่ต้องเผชิญความท้าทายครั้งใหม่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำให้กลางปีที่แล้ว ‘Burger King’ อังกฤษ ออกแคมเปญเชิญชวนให้ผู้บริโภคช่วยกันสั่งซื้ออาหารจาก McDonald’s และร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดรายอื่นๆ เพื่อสนับสนุนธุรกิจร้านอาหารและพนักงานหลายพันชีวิตให้รอดพ้นจากวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกัน ไม่เพียงแค่นี้ Burger King อังกฤษ ยังออกมาประกาศช่วยธุรกิจรายย่อยมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้ทุกคน ด้วยการยกพื้นที่ Instagram ตัวเองที่มีผู้ติดตามกว่า 35,700 Followers ให้ร้านอาหารขนาดเล็กนำไปใช้โฆษณาเมนูอาหารของร้านแบบฟรีๆ เพียงแค่ถ่ายรูปเมนูลง Instagram ส่วนตัวและใส่ #WhopperAndFriends แล้วเดี๋ยว Burger King จะไปเลือกรูปเหล่านั้นมารีโพสต์ให้เอง!
Yindii ปรุงของเหลือให้มีมูลค่า เปลี่ยนโลกที่ดีกว่าด้วยการกิน l City Builder
ในวันที่ต้องอยู่บ้านมากขึ้น ทางเลือกในการกินอาจมีไม่มากนัก แต่คงดีไม่น้อยถ้าเราได้เลือกที่จะกินได้ตามใจแล้วยังได้ช่วยโลกไปด้วย
Food waste คือหนึ่งในสาเหตุของภาวะโลกร้อน โดยคิดเป็น 8% ของก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศซึ่งจะตกค้างอยู่กับเรานานถึง 10 ปี และนี่คือปัญหาที่สร้างผลกระทบสู่มนุษย์โลกทุกคนเป็นวงกว้าง
City Builder จึงหยิบยก ‘Yindii’ เบื้องหลังคนสร้างสรรค์ที่ใช้นวัตกรรมมาแก้ปัญหาเมืองในประเด็นเรื่องการจัดการ Food waste โดยการนำอาหารที่กำลังจะหมดอายุ จากร้านอาหารหรือซูเปอร์มาร์เก็ต มาปรุงสุกและจัดส่งในราคาที่จับต้องได้ เราจึงชวนมาติดตามภารกิจที่จะเปลี่ยนความเชื่อของผู้คนกับอาหารที่ดูเหมือนจะไร้ค่าให้กลายร่างเป็นสิ่งมีคุณค่าได้อย่างไรตามไปดูกัน!