
LATEST
Virtual Bootcamp รู้กฎหมาย ก่อน ‘ทำหนัง’
รู้กฎหมาย ก่อน ‘ทำหนัง’ โดย ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการที่ iLaw และ ณฐพล บุญประกอบ ผู้กำกับภาพยนตร์ ‘เอหิปัสสิโก’ ดำเนินการสนทนาโดย อาทิตยา บุญยรัตน์ จาก HER Interview Panel Discussion นี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมภายใต้โครงการ NIA Creative Contest 2021 โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) ร่วมกับ Urban Creature เปิดเวทีให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนร่วมออกแบบอนาคตผ่านไอเดียการผลิตวีดิทัศน์สะท้อนภาพอนาคตและนวัตกรรม ไอเดียที่ผ่านการคัดเลือกจะถูกขัดเกลาจากวิทยากรผู้อยู่เบื้องหลังวงการภาพยนตร์และคนทำงานสร้างสรรค์ โดยทางโครงการได้จัดกิจกรรมอบรมให้กับผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการในระหว่างวันที่ 13 – 15 สิงหาคม 2564 ก่อนที่จะลงมือเปลี่ยนไอเดียเป็นหนังสั้น ทางโครงการร่วมกับสำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้เตรียมพร้อมให้ผู้ร่วมโครงการ เพื่อความเข้าใจกฎหมายและลิขสิทธิ์การผลิตวีดิทัศน์ ผ่านผู้มีประสบการณ์ตรง ทั้งจากฟากฝั่งกฎหมายและจากคนทำหนัง โอกาสนี้ ชวนทุกคนไปร่วมพูดคุยกับ ‘เป๋า-ยิ่งชีพ อัชฌานนท์’ ผู้จัดการที่ iLaw ซึ่งเป็นหนึ่งคนที่ทำงานด้านกฎหมายและทำงานคาบเกี่ยวกับงานคอนเทนต์ออนไลน์และเป็นคนกฎหมายที่สนใจการเปลี่ยนแปลงของสังคม และ […]
ช่วยเด็กไทยกับ Limited Education เขียนชื่อตัวเองในสุภาษิตไทย ด้วยลายมือเด็กที่ถูกการศึกษาไทยทิ้ง
3,625,048 คน คือจำนวนนักเรียนด้อยโอกาสในไทย 510,000 คน คือ จำนวนนักเรียนที่อ่านหนังสือไม่ออก และเขียนหนังสือไม่ได้ เนื่องจากขาดโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ตัวเลขทั้งหมดนี้ แสดงถึงความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงระบบการศึกษาของนักเรียนไทย หากบอกว่าเด็กคืออนาคตของชาติ เหตุใดถึงทิ้งอนาคตของชาติไว้ด้านหลังและขาดโอกาสได้มากขนาดนี้ Limited Education คือโครงการภายใต้การดูแลของโครงการร้อยพลังการศึกษา (TCFE) ที่มีเป้าหมายกะเทาะปัญหาในรั้วการศึกษาให้คนในสังคมรับรู้ เพื่อนำไปสู่การช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาส ชวนออกแบบการศึกษาไทยที่มีประสิทธิภาพไปด้วยกันกับน้องๆ นักเรียนที่ขาดโอกาสทางการศึกษาผ่านลายมือของพวกเขาบนเสื้อยืด เพียงแค่คุณเติมชื่อของตัวเอง (หรือคำที่อยากเติม) ลงบนเว็บไซต์ www.limitededucation.org/shirt น้องๆ จะเขียนชื่อที่คุณเติมออกมาเป็นลายมือของตัวเอง พร้อมสุภาษิตไทยที่เราคุ้นเคย เช่น ขี่…จับตั๊กแตน, ตักบาตรอย่าถาม…, …บังภูเขา ฯลฯ สุภาษิตเหล่านี้ได้แรงบันดาลใจมาจากเด็กนักเรียนด้อยโอกาสเพราะความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ทำให้พวกเขาต้องเติมคำตอบของสุภาษิตและสิ่งต่างๆ อีกมากมาย ด้วยจินตนาการบนความไม่รู้ รายได้จากการอุดหนุนเสื้อยืดสุดลิมิเต็ดตัวนี้ จะนำไปช่วยผลักดันจินตนาการและสร้างการศึกษาที่มีคุณภาพให้แก่เด็กๆ ต่อไปได้
รวมช่อง YouTube นักเดินท่องเมืองดูเพลินเหมือนไปเดินเอง
สำรวจเมืองแบบ Walk From Home
จาก 8 ช่อง YouTube ที่ดูเพลินเหมือนไปเดินเอง
นอร์เวย์ฟื้นฟูสระว่ายน้ำเก่า ‘Knubben’ ให้เป็นเกาะสาธารณะเพื่อเป็นของขวัญให้กับเมือง
Snohetta บริษัทสถาปนิกฟื้นฟู ‘Knubben’ สระว่ายน้ำเก่าในนอร์เวย์ให้เป็นเกาะสาธารณะ เพื่อเป็นของขวัญให้กับเมือง
Stooping NYC : IG ชี้เป้าเฟอร์นิเจอร์ชิ้นเด็ดแสนเก๋ถูกทิ้งทั่ว NYC ให้เจอบ้านใหม่
ถ้าอยากได้เฟอร์นิเจอร์แต่งบ้านเก๋ๆ สักชิ้นคุณจะเริ่มหาจากที่ไหน? เราเชื่อว่า Journey ในการหาของทุกคนคงไม่ต่างกันมากนัก เริ่มจากค้นหาในเว็บไซต์ของแต่งบ้าน ตามหาร้านขายของแต่งบ้านวินเทจใน Instagram ไปเดินตามหาที่จตุจักร โชว์รูมเฟอร์นิเจอร์นำเข้า โกดังญี่ปุ่นมือสอง หรือร้านเฟอร์นิเจอร์วินเทจ ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นต้องใช้เงินทั้งสิ้น แต่ถ้าคุณอาศัยอยู่ที่นิวยอร์ก โอกาสที่คุณจะได้เฟอร์นิเจอร์สวยๆ หรือของใช้คุณภาพดีไปใช้ฟรีๆ มีอยู่จริง ถ้าคุณรู้จักคำว่า ‘Stooping’ ‘Stooping’ คือการอุปการะ (Adopt) สิ่งของที่คนแปลกหน้าวางทิ้งไว้ไปใช้ต่อ โดยของเหล่านี้มักจะวางไว้หน้าบ้าน บนทางเท้า ข้างถังขยะ แต่โดยส่วนใหญ่มักจะติดป้ายบอกไว้เพื่อให้คนที่เดินผ่านไปมารู้ว่าสิ่งนี้สามารถหยิบไปใช้ต่อฟรีๆ ได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต และไม่ต้องบอกใคร ในบางรัฐจะทิ้งไว้ตรงจุดที่ทิ้งขยะ อยากได้ชิ้นไหนก็ไปช้อปปิงกันได้เลย ส่วนคนที่ไปตามหาของเหล่านี้ไปใช้จะเรียกว่า ‘Stooper’ ซึ่งต้องเป็นคนที่มีหูตาไว หาของเก่ง และเลือกของเป็น จึงจะได้ของดีๆ มาใช้ บางคนตาดีมากจนได้เฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ๆ ติดมือกลับไป โซฟา ตู้ โต๊ะ เตียง ในอะพาร์ตเมนต์แทบจะไม่ต้องซื้อเลยสักชิ้น วัฒนธรรมการวางเฟอร์นิเจอร์ หรือของเหลือใช้ที่ยังสภาพดีๆ ไว้บนทางเท้าเกิดขึ้นในนิวยอร์กมาหลายสิบปีแล้ว (มองเผินๆ เหมือนกำลังเตรียมขนของย้ายบ้าน เพราะของที่ถูกทิ้งอยู่ในสภาพดีมาก) แต่จริงๆ แล้วคือของเหลือทิ้งสภาพดีทั้งนั้น การ Stooping […]
บริหารล้มเหลว เศรษฐกิจพัง คนตัวเล็กล้มตาย แสนสิริ ลงมือทำ No One Left Behind เพราะเราจะต้อง “ไม่ทอดทิ้งใครไว้แม้แต่คนเดียว”
ผู้ป่วยสะสมทะลุหลักล้าน ผู้เสียชีวิตสะสมใกล้จะถึงหมื่น การหาเตียงไม่เคยเป็นเรื่องง่าย และวัคซีนที่ดียังไม่มีวี่แวว ท่ามกลางวิกฤติในประเทศไทยที่ยังมองไม่เห็นปลายทาง เห็นได้ชัดเจนว่าการบริหารจัดการประเทศล้มเหลวไม่เป็นท่า ประชาชนหันมาช่วยเหลือกันเอง สิ่งเหล่านี้กำลังจะทำให้ประเทศของเราเผชิญกับความเหลื่อมล้ำทั้งในภาคเศรษฐกิจและสังคม วันนี้คนตัวใหญ่อย่างแสนสิริได้เริ่มแล้ว ที่จะเข้ามาช่วยเหลือคนตัวเล็ก คนที่ต้องการความช่วยเหลือแต่อาจถูกหลงลืมไป เพราะเขามองว่าเราจะต้องไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลังแม้แต่คนเดียว “No One Left Behind” ซึ่งเริ่มต้นจากการดูแล 4 เสาหลักและขยายผลออกไปให้กว้างขึ้น ทั้ง สังคม – การบริจาคและจัดหาวัคซีน ร่วมสร้างโรงพยาบาลสนามและบริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์ ช่วยเหลือแคมป์คนงาน ช่วยเกษตรกรที่ขายผลผลิตไม่ได้ ช่วยช้างไทยที่เป็นอีกหนึ่งเสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยว ฯลฯ ลูกบ้าน – เพิ่มมาตรการดูแลความสะอาดและความปลอดภัย อำนวยความสะดวกให้กับลูกบ้านที่ต้องกักตัว หรือต้องรักษาตัวอยู่ที่บ้านทั้ง Home Isolation และ Community Isolation ปลูกฟ้าทะลายโจรในโครงการ นอกจากนี้ยัง ขยายผลต่อยอดไปถึงธุรกิจของลูกบ้านในการจับมือร่วมกับ SCB ช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ฯลฯ พนักงานและคู่ค้า – จัดหาวัคซีนให้กับพนักงานและครอบครัว จัดตั้งกองทุน Sansiri Relief Fund เพื่อช่วยเหลือครอบครัวพนักงานที่ได้รับผลกระทบ พร้อมดูแลค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ฯลฯ ผู้ถือหุ้น […]
KWANGYA เมืองทิพย์รวมไอดอล SM และแฟนๆ แบบ Marvel
หลังปล่อยให้แฟนๆ เคป็อปหลายคนสงสัยอย่างมากว่า KWANGYA (광야) คืออะไรกันแน่ ภาพของเมืองล้ำจินตนาการที่ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่อย่าง SM Entertainment ลงมือสร้างสรรค์ก็ยิ่งชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ แต่แฟนๆ ชาวไทยบางคนก็ยังพูดติดตลกว่าจักรวาลที่มีดินแดนกวางยาของลุงหมาน (อี ซู-มัน) ผู้บริหารค่ายเอสเอ็มนั้นก็คือเมืองทิพย์ดีๆ นี่เอง หลายครั้งคำว่ากวางยานั้นมักจะสอดแทรกอยู่ในเนื้อเพลงของไอดอลวงดังจากทางค่าย อาทิ วง aespa, NCT และ EXO ซึ่งส่วนใหญ่กวางยาถูกหยิบยกมาบอกเล่าในบริบทของเรื่องราวไซไฟ-แฟนตาซีน่าตื่นเต้น ผ่านบทเพลงอิเล็กทรอนิกป็อปและส่วนผสมทางดนตรีมันๆ ซึ่งมีเนื้อหาอัศจรรย์หลุดโลก ถึงขนาดที่คนเกาหลีใต้ยังงงว่านี่มันเพลงอะไรกันวะเนี่ย ถ้าลองค้นคำว่ากวางยาในดิกชันนารีเกาหลีจะมีคำแปลว่าเป็นที่ราบหรือทุ่งโล่ง ซึ่งอาจตรงกับภาพทิวทัศน์พื้นที่ราบโล่งในวิดีโออินโทรซึ่ง SM นำเสนอผ่านคลิป SMCU the Origin ในขณะที่ถ้ามองกวางยาจากคำบอกเล่าและเรื่องราวของวงเกิร์ลกรุ๊ป aespa ชื่อนี้คือฉากหลังของดินแดนสักแห่งที่พวกเธอ และเหล่า æ aespa ร่างอวตารต้องทำภารกิจพิชิตเจ้า Black Mamba งูดำจอมวายร้ายที่มาสร้างความปั่นป่วนให้โลก ยิ่งไปกว่านั้นคือการที่ค่ายเอสเอ็มแฝงละติจูดกวางยาเอาไว้ในมิวสิกวิดีโอของสี่ไอดอลสาวเฟี้ยส ยิ่งตอกย้ำว่าในโลกของพวกเรามีกวางยาอยู่ในอีกมิติจริงๆ และเมื่อนำละติจูดไปเสิร์ชในแผนที่ก็ได้สร้างความเซอร์ไพรส์ให้ชาว SM Stan อย่างมาก เพราะจริงๆ แล้วมันคือที่ตั้งสำนักงานสุดหรูแห่งใหม่ของบริษัทเอสเอ็ม บริเวณเขต Seongsu ในโซล ว่ากันง่ายๆ […]
ตำนานสาย 8 สุดซิ่งจาก พ.ศ. 2498 สู่รถแบบใหม่ล่าสุดของไทยโดย ขสมก.
สาย 8 เจ้าเก่ามีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2498 ถ้าพูดถึงรถเมล์กรุงเทพฯ ที่คนจดจำมากที่สุดสายหนึ่ง เชื่อว่าผู้ถูกเสนอชื่อเข้าชิงต้องมี ‘สาย 8 แฮปปี้แลนด์-สะพานพุทธ’ อย่างแน่นอน… ตำนานรถเมล์สายซิ่ง ที่ขึ้นชื่อลือชาขนาดนี้…ก็เพราะรถเมล์สาย 8 แห่งกรุงเทพมหานคร ถูกขนานนามเป็นรถโดยสารที่ให้บริการด้วยความไวดุจสายฟ้า บูมเมอร์สรู้ มิลเลนเนียลส์รู้ เอ็กซ์แพต (Expat) บางคนยังรู้ ผมเองก็ไม่ทันถามคนรุ่นคุณปู่เหมือนกันว่ารถเมล์สาย 8 ยุคแรกๆ วิ่งแรงแซงทุกคันขนาดไหน แต่ภาพสาย 8 เกิดอุบัติเหตุจนหน้าบู้บี้นี้มีให้เห็นตั้งแต่สมัยเป็นภาพฟิล์มขาวดำแล้ว และไม่ว่าภาพขาวดำนั้นจะเป็นเครื่องยืนยันความเก๋ามาตั้งแต่รุ่นคุณพ่อยังเด็ก หรือเป็นแค่เหตุการณ์เดียวที่บังเอิญมาตรงกับความรู้สึกในใจของคนยุคปัจจุบัน แต่ในปีนี้…ภาพลักษณ์ของรถเมล์สาย 8 จะเปลี่ยนไป หลังจาก ขสมก. กลับมาวิ่งรถเมล์สายนี้เองอีกครั้งในรอบสามสิบกว่าปี… วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 อาจเรียกได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของสาย 8 ก็ว่าได้ หลังเอกชนผู้เดินรถปรับอากาศเจ้าเดิมอย่าง บริษัท ซิตี้บัส จำกัด ผลัดใบให้หน่วยงานรัฐอย่าง ขสมก. เข้ามาเดินรถแทนที่ ซึ่งงานนี้ ขสมก. ก็ทุ่มทุนด้วยการนำรถเมล์ปรับอากาศรุ่นใหม่เข้ามาให้บริการถึง […]
‘ไทยกำลังลืมคนไร้บ้าน’ โควิด-19 ไม่เลือกติดเฉพาะชนชั้น
คุณน่าจะรู้ว่าไทยเป็น ‘ประเทศเดียว’ ที่ประชาชนควักเงินจ่ายวัคซีนทางเลือกเอง และก็ไม่ใช่ทุกคนจะมีสิทธิ์ได้รับวัคซีนด้วยนะ เพราะถ้าไม่มีเงินจ่ายค่าเน็ต ลงทะเบียนในเว็บไซต์หรือแอปฯ ต่างๆ ก็อด บางคนมีเงินแต่ก็ยังจองไม่ได้ เพราะจำนวนวัคซีนที่มีให้จำนวนจำกัด วัคซีนจากรัฐบาลยิ่งไม่ต้องพูดถึง นอกจากให้ Sinovac มาโดยไม่ได้ร้องขอ จนแพทย์ด่านหน้าติดเชื้อ ภูมิคุ้มกันไม่ขึ้น AstraZeneca ชนชั้นกลางยังคงแย่งลงทะเบียนวัคซีน ได้ฉีดบ้าง เลื่อนโดยไม่มีกำหนดบ้าง Pfizer ที่อเมริกาบริจาคให้ แพทย์บางคนก็ยังไม่ได้ฉีด การเข้าถึงวัคซีนที่ทรหดในไทยนำไปสู่ยอดติดเชื้อโควิด-19 พุ่งสูง โรงพยาบาลรัฐ เอกชน และโรงพยาบาลสนามเต็ม ทำให้ต้องมีระบบ Home Isolation เข้ามา แต่กลับไม่ให้ข้อมูลที่ชัดเจน รัฐแก้ปัญหาด้วยการล็อกดาวน์ แต่ยังทำให้คนตกงาน รายได้หาย คนตายเพิ่ม และใช่ ‘คนนอนตายข้างถนน’ ก็มีเหมือนกัน น่าเศร้าที่คนตายข้างถนนบางส่วนเป็น ‘คนไร้บ้าน’ เร่ร่อน ไม่มีสวัสดิการ ไม่มีโอกาสจองวัคซีน ไม่มีเงินออกนอกประเทศไปฉีดวัคซีนดีๆ เข้าไม่ถึงระบบการรักษา ไม่มีอะไรเลย พวกเขาเป็นเพียงกลุ่มคนที่กำลังจะหมดลมหายใจ เพราะรัฐไทยไร้ความมั่นคง “คนเร่ร่อนคือผลกระทบของทุกปัญหาในประเทศที่ถูกซุกไว้ใต้พรม วันที่มีคนตายข้างถนน และนายกฯ ยืนยันว่า ห้ามมีภาพเหล่านั้นอีก […]
How old am I? หนังสือเด็กที่รวบรวมคนอายุ 1 – 100 ปีจากทั่วโลก เพื่อสื่อสารเรื่องความหลากหลายของมนุษย์
หนังสือเด็กยุคนี้ควรมีเนื้อหาแบบไหน ถึงจะทำให้เด็กคนหนึ่งเติบโตเป็นพลเมืองโลกได้? ‘How old am I?’ คือหนังสือสำหรับเด็กอายุ 4 – 8 ปีที่เนื้อหาดูไม่เด็กเลยสักนิด และเปิดโลกความหลากหลายให้กับเด็กได้ดีมากๆ หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานของ JR ช่างภาพและนักกิจกรรมชาวปารีส ผู้อยู่เบื้องหลังผลงานภาพขาวดำขนาดใหญ่ที่พรินต์ไปแปะอยู่บนสถานที่สำคัญทั่วโลก และ Julie Pugeat ผู้จัดการสตูดิโอของ JR ซึ่งเป็นคุณแม่ลูก 2 และเคยมีผลงานร่วมกับ JR มาแล้วในหนังสือเด็กเล่มแรกชื่อ ‘Wrinkles’ สำหรับเด็กๆ แนวคิดเรื่องอายุเป็นเรื่องที่นามธรรมมากๆ ลองนึกย้อนกลับไปถึงตัวเองในวัยนั้นดูก็ได้ว่าเราเข้าใจคำว่า ‘อายุ’ กันมากแค่ไหน เราแทบจะไม่รู้เลยว่าคนที่มีอายุเท่านี้มีลักษณะเป็นอย่างไร ถ้าไม่มีตัวอย่างจากญาติหรือคนในครอบครัว และแทบจะไม่รู้เลยว่าคนที่ต่างเชื้อชาติ ต่างศาสนา เขามีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร JR และ Julie จึงทำหนังสือสำหรับเด็กที่รวบรวมภาพถ่ายและเรื่องราวจากผู้คนอายุ 1 – 100 ปี 100 คนจากทั่วโลกขึ้นมา และจัดเรียงตามอายุเพื่อให้เด็กๆ ได้เห็นภาพการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน เรื่องราวในหนังสือเล่มนี้จะเป็นคำถามสั้นๆ ที่ผู้จัดทำชวนทั้ง 100 คนมาแบ่งปันประสบการณ์ ความปรารถนา ความทรงจำ […]
You Me We Us นิทรรศการที่เล่าว่าไม่ว่าชาติพันธุ์ไหนคุณก็คือคน
‘จะดีแค่ไหน ถ้าอยู่ที่ไหนคุณก็ยังเป็นคน’ อาจฟังดูแปลก แต่ความเป็นจริง โลกนี้ยังเต็มไปด้วยคนที่ถูกคนด้วยกันกดขี่ และถูกบังคับให้ไม่เป็นคน เพียงเพราะต่างเพศ ชนชั้น เชื้อชาติ ศาสนา รสนิยม และอุดมการณ์ทางการเมือง แม้ร่างกายมีเลือดเนื้อเหมือนกัน แต่กลับถูกคนด้วยกันตีคุณค่าต่างจนไม่เท่าเทียม และอาจนำไปสู่การทำร้ายและเข่นฆ่า ประเด็นขัดแย้งเรื่องชาติพันธุ์ในสังคมไทยก็เกิดจากสาเหตุคล้ายกัน นั่นอาจเพราะความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมไม่เคยถูกคลี่คลายทำความเข้าใจถ่องแท้ ราวกับว่าการผลักให้คนที่แตกต่างกลายเป็นอื่นจะง่ายกว่าการใช้เวลาเรียนรู้ร่วมกัน เรากำลังพูดถึง You Me We Us นิทรรศการออนไลน์โดย UNDP ประเทศไทย ซึ่งร่วมมือกับเยาวชนกว่า 10 ชาติพันธุ์ และกลุ่มเยาวชนไร้สัญชาติที่มองเห็นช่องโหว่ด้านการรับรู้เกี่ยวกับกลุ่มชนต่างๆ นิทรรศการนี้จึงหยิบความหลากหลายทางเชื้อชาติในสังคมไทยมาบอกเล่าว่าภายใต้ความต่าง เรามีความเหมือน เพียงแค่ระยะห่างทางสังคมอาจทำให้คนเข้าใจกันน้อยเกินไป You Me We Us จึงเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำพาไปสู่การมองเห็นกันมากขึ้น บนหน้าเว็บไซต์ของนิทรรศการจะชวนทุกคนไปสำรวจเชื้อชาติของตัวเองและคนรอบข้าง ทดสอบความเข้าใจว่ารู้จักเผ่าพันธุ์ไหนบ้าง เพราะไทยไม่ได้มีแค่ไทย แต่มีคนกว่า 60 ชาติพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นคนไทยเชื้อสายจีน ลาวอีสาน กะเหรี่ยง ขมุ ม้ง อาข่า ล้านนา ละว้า มอญ หรือไทใหญ่ ฯลฯ […]
ถ้าครูฟังอยู่ อยากให้รู้ว่า ‘หนูเหนื่อย’ ฟังความในใจของเด็กไทยในวันที่ต้องกลับมาเรียนออนไลน์
โจทย์การบ้านวันนี้ : ให้นักเรียนเขียนถึงความรู้สึกของการเรียนออนไลน์ในครึ่งเทอมนี้ มีอะไรอยากระบาย อยากบอกเล่าให้ครูฟัง พิมพ์มาได้เต็มที่เลย นี่เป็นโจทย์การบ้านจริงของเด็กมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่คุณครูโรงเรียนแห่งหนึ่งมอบให้พวกเขาได้รับบทผู้พูด ระบายความในใจจากการเรียนออนไลน์เต็มระบบมาตลอดระยะเวลาหนึ่งเทอม ตั้งแต่มีการระบาดของ COVID-19 เด็กไทยจำนวนมากกำลังถูกพรากช่วงชีวิตในวัยเรียนและความทรงจำที่มีค่าไป เด็กไทยต้องปรับตัวเรียนออนไลน์ทั้งๆ ที่ไม่พร้อม ทั้งสภาพแวดล้อมและอุปกรณ์การเรียน และที่น่าเสียดายคือพวกเขาไม่ได้ไปโรงเรียน ไม่ได้เจอเพื่อน ไม่ได้เจอคุณครู ไม่มีโอกาสเรียนรู้และสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง และนักเรียนบางคนที่ย้ายโรงเรียนหรือขึ้นระดับชั้นใหม่ อาจจะไม่มีโอกาสได้รู้จักเพื่อนร่วมห้องตัวเป็นๆ ด้วยซ้ำนี่คือคำตอบของเด็กที่มีตัวตนจริงๆ ซึ่งล้วนระบายความรู้สึกออกมาจากใจ จนทำให้เราคิดถึงวัยเด็กอีกครั้ง ถ้าฟังเสียงของพวกเขาจบแล้ว เราอยากชวนให้ทุกคนกลับมาฟังเสียงของลูกหลานในบ้าน และหันกลับไปถามความรู้สึกของพวกเขากันว่าวันนี้ “หนูเหนื่อยไหม?” หนูเรียนออนไลน์จนตาจะพังแล้ว เราล้วนโตมากับคำเตือนของผู้ใหญ่ว่า อย่าจ้องหน้าจอคอมและโทรศัพท์เป็นระยะเวลานาน เพราะจะทำให้สายตาเสีย หรือแม้แต่กระทรวงสาธารณสุขเองก็ออกมาเตือนประชาชนให้ระมัดระวังการใช้คอมพิวเตอร์นานเกิน 2 ชั่วโมง ทว่าเป็นที่น่าเป็นห่วง เพราะปัจจุบันเด็กต้องอยู่หน้าจอคอมเพื่อเรียนออนไลน์ไม่ต่ำกว่าวันละ 6 ชั่วโมง ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะตาล้า (Digital eye strain) ปวดตา ตาแห้ง แสบตา หรือบางคนอาจจะถึงขั้นปวดศีรษะร่วมด้วย และคำว่าเรียนออนไลน์อาจจะไม่เหมาะสำหรับทุกคน เพราะนั่นหมายถึงการมีอุปกรณ์การเรียนที่มากกว่าสมุดและปากกา คือคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โต๊ะ และเก้าอี้ในการเรียนของเด็ก บ้านที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ […]