ช่วยไม่ให้เกิดเหตุการณ์ “แล้วลูกเต่าทะเลล่ะ” ด้วย ‘COCOLAMP’ อุปกรณ์ครอบหลอดไฟ เบนแสงที่รบกวนการวางไข่ของเต่าทะเล 

แสงไฟใกล้ชายฝั่ง ไม่ว่าจะเป็นแสงไฟจากโรงแรม รีสอร์ต หรือร้านอาหาร ล้วนแล้วแต่รบกวนการวางไข่ของเต่าทะเล และมีผลทำให้ลูกเต่าที่ฟักออกมาเกิดความสับสน เดินไปยังพื้นที่ที่มีแสงสว่างแทนที่จะเดินลงทะเล จนเต่าทะเลในประเทศไทยกำลังอยู่ในภาวะเสี่ยงสูญพันธุ์ ‘COCOLAMP’ คือไอเดียนวัตกรรมอุปกรณ์ครอบหลอดไฟ จากนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ช่วยแก้ปัญหาลูกเต่าหลงทาง ด้วยการเบนแสงไฟบริเวณชายหาดที่รบกวนการวางไข่ของเต่าทะเลตามหลัก Turtle Friendly ให้ลูกเต่าคลานลงทะเลได้อย่างปลอดภัย พวกเขาศึกษาข้อมูลตัวอย่างจากเกาะแอนนามาเรีย รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่แสดงให้เห็นว่า การจัดแสงไฟให้เป็นมิตรต่อเต่าทะเลสามารถลดจำนวนลูกเต่าที่หลงทางได้อย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน ด้วยการใช้วัสดุจากเส้นใยมะพร้าวที่ได้จากชุมชนในการผลิต มียางพาราเป็นตัวเชื่อมประสานและเคลือบด้วยซิลิกาจากแกลบข้าว ทำให้ COCOLAMP มีความคงทน ติดตั้งง่าย ใช้งานได้ในทุกสภาพแวดล้อม ราคาไม่แพง และย่อยสลายได้ในธรรมชาติ นอกจากตัวอุปกรณ์ครอบหลอดไฟแล้ว COCOLAMP ยังมีการใช้ Line Chatbot เข้ามาช่วยรวบรวมข้อมูลและประเมินผลการใช้งานของอุปกรณ์ ภายหลังการติดตั้งและใช้งานจริงด้วย ปัจจุบัน COCOLAMP กำลังอยู่ในช่วงพัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพในห้องทดลอง ก่อนที่จะนำไปติดตั้งในพื้นที่จริงเพื่อประเมินผลการใช้งานอีกครั้ง

‘Qualy’ แบรนด์ไทยที่เพิ่มมูลค่าให้ขยะพลาสติก ด้วยการใช้ความคิดสร้างสรรค์สื่อสารเรื่องสิ่งแวดล้อมและสังคม

ไม่ใช่เรื่องง่ายที่แบรนด์แบรนด์หนึ่งจะสื่อสารประเด็นสิ่งแวดล้อมผ่านชิ้นงานได้แบบที่คนเห็นแล้วร้อง ‘อ๋อ!’ แต่สำหรับแบรนด์ ‘Qualy’ ไม่ว่าจะจิ้มผลงานชิ้นไหนขึ้นมาก็ต้องคุ้นหูหรือคุ้นตาทั้งนั้น ตั้งแต่ พระสติ, บอร์ดเกม Waste War, รูบิก Tactile Cube หรือปากกาวาดรูปจากไหมพรมในชื่อ เล่นเส้น เพราะไม่ว่าจะเป็นดีไซน์ที่สวยงาม ฟังก์ชันการใช้งานสุดว้าว หรือวัสดุรีไซเคิลรักษ์โลก จะส่วนไหน Qualy ก็ไปสุดทุกทาง จนกวาดรางวัลจากเวทีดีไซน์กลับบ้านแบบไม่หวาดไม่ไหว คอลัมน์ Sgreen ชวนไปคุยกับ ‘ใจ๋-ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์’ Design Director และ Founder ถึงแนวคิดและความตั้งใจของแบรนด์ที่ทำให้ Qualy ยืนหยัดครองตลาด พร้อมสื่อสารประเด็นสิ่งแวดล้อมและสังคมผ่านผลงานได้ยาวนานกว่า 20 ปี เล่าเรื่องผ่านดีไซน์จนค่อยๆ เติบโตในตลาดไทย “ในช่วงแรกๆ ของการทำ Qualy เราเน้นไปที่การใช้ความคิดสร้างสรรค์สร้างมูลค่าเพิ่ม ประกอบกับตอนนั้นมีปัญหาโลกร้อน เลยเล่าเรื่องพวกนี้ผ่านดีไซน์ของเรา ก่อนจะต่อยอดมาใช้วัสดุรีไซเคิล เพื่อให้สื่อสารเรื่องนี้ออกไปดียิ่งขึ้น” ธีรชัยเล่าถึงความตั้งใจช่วงแรกของแบรนด์ อีกปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมการทำแบรนด์โปรดักต์ดีไซน์นี้คือ Qualy เป็นธุรกิจที่เขาต่อยอดออกมาจากธุรกิจครอบครัวที่ก่อนหน้านี้เปิดเป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนพลาสติกแบบ Original Equipment Manufacturer (OEM) […]

ทำไมดูเป็นคนดองหนังสือเก่งจัง ไปชมนิทรรศการปก คอสเพลย์ ช้อปหนังสือ ในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 29 วันที่ 10 – 20 ต.ค. ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

วนกลับมาอีกครั้งกับงานหนังสือที่รอต้อนรับให้เหล่านักอ่านช้อปปิงหนังสือใหม่และหนังสือที่เล็งๆ ไว้เข้ากองดอง ใน ‘งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 29’ ใครที่เคยบ่นว่า หนังสือที่มีในกองดองอ่านจนตายก็คงไม่หมด น่าจะถูกใจกับธีม ‘อ่านกันยันโลกหน้า เพราะงานนี้มหึมามหาหนังสือ’ ในปีนี้ เพราะเราสามารถหาซื้อทั้งหนังสือเก่า หนังสือใหม่ ไม่ว่าจะสำนักพิมพ์ไหนหรือแนวอะไร งานนี้ก็มีให้หมด พร้อมกับโปรโมชันต่างๆ ที่สำนักพิมพ์จัดสรรไว้ให้ด้วย นอกจากนี้ ภายในงานยังมีกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นนิทรรศการจัดแสดง 100 ปกหนังสือสวย พบปะนักเขียนชื่อดังทั้งไทยและต่างประเทศ การซื้อหนังสือส่งต่อให้ผู้อื่น การแข่งขันนักขายเรื่องผี คอสเพลย์ ประกวดเล่านิทาน ฯลฯ ให้เหล่านักอ่านได้แวะมาร่วมสนุกกันตลอดทั้งวัน เตรียมเงินและกระเป๋าให้พร้อม แล้วไปส่งเสริมการอ่าน เพิ่มปริมาณสถิติคนไทยอ่านหนังสือกันได้ที่งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 29 วันที่ 10 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2567 ตั้งแต่เวลา 10.00 – 21.00 น. ฮอลล์ 5 – 7 ชั้น LG ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ […]

Good Times in Chon Buri ห้วงเวลาพิเศษในเมืองชลบุรี

ในวันที่ร่างกายต้องการทะเล แต่วันหยุดมีน้อย สถานที่แรกที่เรานึกถึงคือ ทะเลบางแสนหรือพัทยา เพราะใกล้กรุงเทพฯ เดินทางสะดวก อีกอย่างคือเราชอบเสน่ห์ความโรแมนติกของทะเลแถบชลบุรีที่ตอนเย็นพระอาทิตย์ตกสวย และล่าสุดกับจุดอันซีนที่เรานั่งเรือไปดูวาฬบรูด้าในทะเลบางแสน เป็นภาพที่เราประทับใจมาก ไปชลบุรีกี่ทีก็ไม่เบื่อ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

‘Carpentopod’ โต๊ะไม้ 12 ขาที่เดินมาเสิร์ฟของกินถึงมือ ด้วยมอเตอร์ที่สั่งงานจากรีโมตคอนโทรล

เคยไหม เวลาดูหนังหรือซีรีส์เพลินๆ แล้วไม่อยากละสายตาหรือลุกจากโซฟาไปแม้แต่นิดเดียว การจะไปหยิบเครื่องดื่มหรือขนมในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ก็อาจทำให้ขาดอรรถรสไปได้ ‘Giliam de Carpentier’ วิศวกรเทคนิคผู้สนใจเรื่องการออกแบบและสร้างกลไกการเดิน หลังจากเริ่มมีทักษะทางด้านอิเล็กทรอนิกส์และงานไม้ เขาได้สร้างนวัตกรรมใหม่ที่อำนวยความสะดวกสบายให้กับมนุษย์อีกขั้น นั่นคือ ‘Carpentopod’ โต๊ะไม้ที่มีจำนวนขามากถึง 12 ขา และเคลื่อนที่ได้ด้วยมอเตอร์ที่ซ่อนไว้ด้านในผ่านการสั่งงานจากรีโมตคอนโทรล ตัวโต๊ะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน โดยแต่ละส่วนประกอบไปด้วยขา 6 ขา ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ของตัวเอง ซึ่งมอเตอร์สองตัวที่เชื่อมกับขาทั้งสองส่วนและแบตเตอรี่นั้นถูกจัดเก็บเอาไว้ในส่วนท้องหรือตรงกลางของโต๊ะ ที่ออกแบบมาเป็นช่องกลวงเพื่อใส่อุปกรณ์เหล่านี้เข้าไป และใช้บานพับประกอบไว้ด้านนอกเพื่อปิดไม่ให้มองเห็นส่วนที่ซ่อนเอาไว้ แต่ผู้ใช้งานก็ยังเปิด-ปิดบานพับนี้ได้อย่างง่ายดาย ส่วนการก้าวเดินของ Carpentopod ถูกสร้างขึ้นโดยซอฟต์แวร์ที่จะทำให้ขาทั้งหมดของโต๊ะตัวนี้ทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นและแข็งแรง โดยขาโต๊ะทั้ง 12 ขานั้นทำขึ้นจากแผ่นไม้ลามิเนตที่มีความแข็งแรง ทนทาน และมั่นคง ไม่ต้องกังวลว่าของที่อยู่บนโต๊ะจะร่วงหล่นลงมาระหว่างทางหรือไม่ แม้ตอนเคลื่อนที่จะดูน่ากลัวๆ ไปบ้าง แต่ไม่แน่ว่าในอนาคตอันใกล้นี้ โต๊ะเดินได้ตัวนี้อาจจะกลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นสำคัญของหลายๆ บ้าน ที่จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายเล็กๆ น้อยๆ ให้คนในบ้านก็เป็นได้ ชมทักษะการเดินของ Carpentopod ที่ www.youtube.com/watch?v=xKDY4yWxfJM Sources :Designboom | tinyurl.com/3sxbkfnjGiliam de Carpentier | www.decarpentier.nl/carpentopod

เดินเท้าย่ำสวน นั่งเรือดูงานศิลป์ เรื่องราวในพื้นที่สีเขียวและครีเอทีฟริม ‘คลองบางมด’

แยกเข้าซอยจากถนนพระราม 2 อันจอแจมาไม่ไกล บรรยากาศรอบข้างเปลี่ยนไปจากสีเทาของทางด่วนที่กำลังก่อสร้าง เป็นสีเขียวครึ้มของต้นไม้ตัดกับสีฟ้าที่ทาเป็นฉากหลัง บนถนนขนาดสองเลนที่คดโค้งไปมาคล้ายกับต่างจังหวัด มีเพียงป้ายบอกทางของกรุงเทพมหานครเตือนอยู่เป็นระยะๆ ว่ารถกำลังวิ่งอยู่ในเมืองหลวง ปลายทางของเราวันนี้คือ ‘บางมด’ บางมด เป็นส่วนหนึ่งของเขตทุ่งครุ ชายแดนทางใต้ของกรุงเทพฯ และเกือบปลายน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนออกสู่อ่าวไทย อาจเพราะระยะทางไกลจากเมือง ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ในย่านนี้มีสัดส่วนของพื้นที่สีเขียวเหลืออยู่มาก ภาพจำของบางมดจึงเป็นจุดหมายสำหรับคนกรุงในการมาท่องเที่ยว สัมผัสธรรมชาติ หรือกิจกรรมเพื่อสุขภาพอย่างการปั่นจักรยาน เพื่อรับอากาศบริสุทธิ์โดยไม่ต้องเดินทางไกล วันนี้ระหว่างสวนในย่านบางมดมีสถานที่และกิจกรรมต่างๆ มากมายแฝงตัวอยู่เป็นจุดๆ โดยเฉพาะตลอดริมคลองบางมด เส้นทางน้ำสำคัญของชาวย่าน ที่เป็นหนึ่งในย่านสร้างสรรค์ของกรุงเทพฯ จากความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านตลอดสองฝั่งคลอง เป็นอีกย่านในกรุงเทพฯ ที่น่าสนใจและมาทำความรู้จักให้มากกว่าเดิม แยกเข้าซอยจากถนนพระราม 2 อันจอแจมาไม่ไกล บรรยากาศรอบข้างเปลี่ยนไปจากสีเทาของทางด่วนที่กำลังก่อสร้าง เป็นสีเขียวครึ้มของต้นไม้ตัดกับสีฟ้าที่ทาเป็นฉากหลัง บนถนนขนาดสองเลนที่คดโค้งไปมาคล้ายกับต่างจังหวัด มีเพียงป้ายบอกทางของกรุงเทพมหานครเตือนอยู่เป็นระยะๆ ว่ารถกำลังวิ่งอยู่ในเมืองหลวง ปลายทางของเราวันนี้คือ ‘บางมด’ บางมด เป็นส่วนหนึ่งของเขตทุ่งครุ ชายแดนทางใต้ของกรุงเทพฯ และเกือบปลายน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนออกสู่อ่าวไทย อาจเพราะระยะทางไกลจากเมือง ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ในย่านนี้มีสัดส่วนของพื้นที่สีเขียวเหลืออยู่มาก ภาพจำของบางมดจึงเป็นจุดหมายสำหรับคนกรุงในการมาท่องเที่ยว สัมผัสธรรมชาติ หรือกิจกรรมเพื่อสุขภาพอย่างการปั่นจักรยาน เพื่อรับอากาศบริสุทธิ์โดยไม่ต้องเดินทางไกล วันนี้ระหว่างสวนในย่านบางมดมีสถานที่และกิจกรรมต่างๆ มากมายแฝงตัวอยู่เป็นจุดๆ โดยเฉพาะตลอดริมคลองบางมด เส้นทางน้ำสำคัญของชาวย่าน ที่เป็นหนึ่งในย่านสร้างสรรค์ของกรุงเทพฯ จากความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านตลอดสองฝั่งคลอง เป็นอีกย่านในกรุงเทพฯ […]

รถโรงเรียนในต่างประเทศ ออกแบบอย่างไรถึงปลอดภัยกับเด็กๆ ที่โดยสาร

จากกรณีรถบัสนักเรียนทัศนศึกษาเกิดไฟไหม้ท่วมคัน จนมีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 23 ราย ทำให้สังคมกลับมาตั้งคำถามถึงความปลอดภัยของยานพาหนะที่ใช้สำหรับขนส่ง โดยเฉพาะการขนส่งเด็กนักเรียนกันมากขึ้น เพราะตั้งแต่เด็ก ‘รถโรงเรียน’ ที่เรารู้จักมักมาในรูปแบบรถตู้ รถสองแถว หรือรถหกล้อแบบดัดแปลง แตกต่างกับต่างประเทศที่มีรถบัสคันสีเหลืองที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อรับ-ส่งเด็กนักเรียนโดยเฉพาะ ทำให้การเดินทางของเด็กในต่างประเทศโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกามีความปลอดภัยมาก เห็นได้จากสถิติเด็กเสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถโรงเรียนเฉลี่ยเพียง 6 คนต่อปีเท่านั้น คอลัมน์ Curiocity จึงอยากชวนไปดูรูปแบบรถโรงเรียนและปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ในต่างประเทศว่า เขามีการออกแบบหรือข้อบังคับอย่างไร ถึงปลอดภัยกับเด็กๆ ที่โดยสารได้อย่างทุกวันนี้ ออกแบบเพื่อความปลอดภัยของเด็ก ความแตกต่างแรก เริ่มจากในต่างประเทศมีผู้ผลิตรถโรงเรียนโดยเฉพาะให้เลือกหลายค่าย ไม่ว่าจะเป็น Blue Bird, Thomas Built Buses หรือ IC Bus ที่ทำให้รถยนต์ได้รับการออกแบบมาเพื่อโดยสารเด็กโดยเฉพาะ แตกต่างจากไทยที่ต้องดัดแปลงรถให้กลายเป็นรถโรงเรียน การออกแบบที่เห็นอย่างเด่นชัดคือ ภายนอกตัวรถจะทาด้วยสีเหลืองสดใส มีไฟส่องสว่าง เพื่อให้คนมองเห็นได้ชัดเจนและแยกออกทันทีว่าคือรถโรงเรียน เพื่อระมัดระวังในการขับขี่ รวมไปถึงรถโรงเรียนแต่ละคันจะติดตั้งป้ายหยุด (Stop Arm) บริเวณด้านข้าง ที่เมื่อรถหยุดบริเวณป้ายจอดรับ-ส่งนักเรียน ป้ายหยุดจะถูกกางออกมาทันที ขณะที่ภายในออกแบบมาในลักษณะที่นั่งหันหน้าไปทางเดียวกัน ยึดติดกับตัวรถอย่างแน่นหนา บุด้วยวัสดุดูดซับแรงกระแทก มีพนักพิงสูงเพื่อป้องกันศีรษะและคอในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ โดยจะเว้นทางเดินภายในรถให้กว้างมากพอเดินสวนกันสะดวกและลุกออกได้ง่าย มีราวจับช่วยในการทรงตัวระหว่างรถเคลื่อนที่ มีช่องเก็บของเหนือศีรษะหรือใต้ที่นั่งสำหรับเก็บสัมภาระ […]

Acousticity | Copter คืนนี้ไปส่ง Live Session @ซอยนานา

นานาที่หลายคนนึกถึง อาจเป็นซอยในย่านสุขุมวิท แหล่งท่องเที่ยวยามราตรีของเหล่านักดื่ม แต่จริงๆ ยังมีอีกหนึ่งซอยนานาในย่านเยาวราชที่บรรยากาศดีและมีบาร์ Specialty ค็อกเทลมากมายไม่แพ้กัน “เวลาเรา Hang out กันเสร็จแล้ว ก็อาจจะมีมุมที่เจอคนถูกใจหรือว่าอยากจะทำความรู้จักต่อ และเมื่อเรารู้จักกันแล้วก็จะมีความเป็นห่วงเขา เราเลยลองถามเขาดูว่า คืนนี้เขากลับยังไง ให้เราไปส่งไหม” วันนี้รายการ Acousticity พา ‘Copter’ ศิลปินจากค่าย @BOXX Music เจ้าของเพลงดัง ‘เธอบอกว่าฉันไม่ดี’ มาเล่นเพลง ‘คืนนี้ไปส่ง’ ท่ามกลางแสงสีจากซอยนานา ก่อนบอกลาและเข้านอนด้วยกัน

ถอด 7 ประเด็นน่ารู้เรื่องการพัฒนาเมืองจากนโยบาย Car Free Day ที่ กทม. พยายามผลักดัน

แนวคิด Car Free หรือแนวคิดปลอดรถยนต์ คือการลดการขับขี่รถยนต์ เพื่อลดปัญหารถติด มลภาวะทางอากาศ มลพิษทางเสียง รวมถึงเป็นการคืนพื้นที่ถนนให้คนเมือง ด้วยการใช้การเดินทางในรูปแบบการเดินเท้า ปั่นจักรยาน และขนส่งสาธารณะ ซึ่งในหลายๆ ประเทศทั่วโลกก็นำมาใช้งานกับเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ๆ จนได้ผลที่น่าพอใจไปแล้วไม่น้อย ที่ผ่านมากรุงเทพฯ เองมีความพยายามผลักดันนโยบาย Car Free มาตลอด อาจจะเป็นรูปแบบของการเชิญชวนบ้าง การรณรงค์บ้าง หรือการจัดกิจกรรมปั่นจักรยานบ้าง แต่ในปีนี้ แนวคิด Car Free ดูจะเป็นรูปเป็นร่าง มีการนำมาทำให้เห็นภาพมากขึ้นจากกิจกรรม Car Free Day ที่ กทม.ร่วมมือกับภาคีเปลี่ยนถนนบรรทัดทองในระยะทาง 350 เมตรให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะ จัดกิจกรรมอื่นๆ ให้คนเมืองได้ออกมาพักผ่อนหย่อนใจ และมองเห็นความเป็นไปได้ของการลดพื้นที่ถนน แล้วนำมาสร้างความเป็นไปได้อื่นๆ ในการพัฒนาเมือง หลังจบกิจกรรม แน่นอนว่าย่อมมีเสียงสะท้อนที่หลากหลายจากคนเมือง ทั้งในแง่ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย Urban Creature จึงนัดคุยกับ ‘วันพัฒน์ มาตังคะ’ และ ‘ศิรดา ดาริการ์นนท์’ สถาปนิกผังเมืองอาวุโสของ Healthy Space […]

เปิดไอเดียเปลี่ยนสถานที่ท่องเที่ยวให้ใครๆ ก็เข้าถึงได้ ตามแนวคิด ‘Inclusive Tourism’

การท่องเที่ยวสำหรับหลายคนคือการพักผ่อน ปลดล็อกตัวเองออกจากพันธนาการในชีวิตประจำวัน แต่สำหรับผู้พิการ การท่องเที่ยวคือความลำบากอันยิ่งยวด “อยากเห็นโบราณสถานว่าเป็นอย่างไรก็เห็นไม่ได้ แต่อยู่ด้านหน้า เพราะเราเข้าไปไม่ได้ อะไรอย่างนี้คือสิ่งพื้นฐานที่เราเจอประจำเวลาเที่ยว” ‘นำโชค เพชรแสน’ นักวิเคราะห์ข้อมูลและการสื่อสารดิจิทัลของโครงการอาสาสมัครแห่งสหประชาชาติและโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ เป็นคนที่มีใจรักในการเดินทางเป็นทุนเดิม ทว่าการออกเดินทางสำหรับเขาช่างเป็นเรื่องยาก ต้องคิดหนักหลายตลบ เนื่องจากสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งไม่ได้ไยดีกับตัวเขาที่เป็นผู้พิการทางการเคลื่อนไหวและต้องใช้ชีวิตอยู่กับวีลแชร์ “ถ้าเป็นคนไม่พิการ อยากไปไหนก็เดินทางไปได้เลย แต่ผมเสียเวลามากนะ เพราะต้องหาข้อมูลดูว่าจะเดินทางไปสถานที่นั้นอย่างไร มีรถขนส่งสาธารณะที่ผู้พิการใช้ได้ไหม โรงแรมเป็นอย่างไร ทำการบ้านเยอะมาก หลายข้อมูลก็ไม่ได้มีในเว็บไซต์ทั่วไป ต้องเปิดดูวิดีโอรีวิวที่คนถ่ายไว้เพื่อให้รู้ว่าเราจะไปได้หรือเปล่า” ชีวิตของนำโชคคงไม่ได้อยู่ในโหมด Very Hard ถ้าสภาพแวดล้อมที่ท่องเที่ยวไม่พิกลพิการ จนทำคนอย่างเขาต้องหนักใจทุกทีเวลาหอบเป้พเนจร และนี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้แนวคิด ‘Inclusive Tourism’ หรือ ‘การท่องเที่ยวที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง’ เป็นแนวคิดสำคัญที่ทุกคนควรคำนึง Inclusive Tourism เพราะทุกคนควรได้ท่องเที่ยว Inclusive Tourism หรือการท่องเที่ยวที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เป็นแนวคิดที่มองว่าทุกคนสมควรเข้าถึงการท่องเที่ยวได้อย่างเท่าเทียม ไม่มีการเลือกปฏิบัติ ในปี 2565 UNICEF ประเมินว่า ประเทศไทยมีผู้พิการอยู่มากถึง 4.19 ล้านคน หรือกว่า 6 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั่วประเทศ หากสถานที่ท่องเที่ยวออกแบบมาโดยเห็นความสำคัญของผู้พิการ คนกว่าสี่ล้านคนก็จะไม่ถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลัง […]

ขยะพลาสติกก็เปลี่ยนเป็นงานศิลปะได้ ชมผลงานที่น่าสนใจจากพลาสติกรีไซเคิลได้ที่งาน ‘คาโอ 60 ปี Saving Future Smiles’ มาพร้อมกับนวัตกรรมที่ใส่ใจโลก ใส่ใจคุณ

ในมุมมองของการรักษาสิ่งแวดล้อม ขยะพลาสติกมักถูกมองว่าเป็นผู้ร้ายในการทำลายระบบต่างๆ ไปจนถึงความยั่งยืนของธรรมชาติ แต่หากได้ทำความเข้าใจเรื่องของขยะพลาสติก จะเห็นได้ว่าขยะเหล่านี้สามารถเปลี่ยนรูปแบบเพื่อสร้างคุณค่าและให้ประโยชน์ในรูปแบบใหม่ๆ ได้ เช่นการนำมารีไซเคิลในรูปแบบใหม่ อย่างการเปลี่ยนให้เป็นผลงานศิลปะดีไซน์สวยจากเหล่าศิลปินรุ่นใหม่ที่เล็งเห็นถึงการสร้างคุณค่าให้พลาสติกและตระหนักถึงการสร้างความรู้ในเรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยมีศิลปะเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงและส่งต่อความเข้าใจออกไปให้ผู้คนในสังคมได้รับรู้ด้วย เนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี ‘คาโอ’ จึงอยากเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความตระหนักรู้ให้กับคนในสังคม จากการดำเนินงานตามหลัก ESG (Environment, Society และ Governance) ที่แบรนด์ยึดถือมาโดยตลอด และพร้อมเดินหน้าสร้างความยั่งยืนทั้งการดำเนินชีวิตและสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วยกัน ร่วมด้วยกับ 5 ศิลปิน ได้แก่ ‘Melt District’, ‘Benzilla’, ‘Shortbutveryverycute’ และ ‘Asazak’ ที่จะมาช่วยลดขยะพลาสติกด้วยการรีไซเคิลเปลี่ยนเป็นเครื่องใช้ที่มีดีไซน์ร่วมสมัย โดยทุกคนสามารถไปทำความเข้าใจพร้อมต่อยอดความรู้ และชมงานศิลปะจากขยะพลาสติกกันได้ในนิทรรศการ คาโอ ‘Saving Future Smiles’ ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน – 5 ตุลาคมนี้ ที่สามย่านมิตรทาวน์ แต่หากใครอยากรู้เรื่องราวความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของ คาโอ ก่อนจะไปชมงานนิทรรศการแบบเต็มๆ คอลัมน์ Sgreen ขอพาไปดูกันว่า คาโอ ดำเนินงานตามหลัก ESG […]

เปลี่ยนสีให้บ้านได้ทุกครั้งที่เบื่อกับ ‘UNPAINT’ สีลอกได้ไม่ทิ้งรอย ยั่งยืน ย่อยสลาย ทาได้ทุกพื้นผิว

การเลือกสีทาบ้านและสีเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านถือเป็นโจทย์ยากของหลายๆ บ้าน เพราะเราจะต้องอยู่กับมันไปอีกนาน แถมการแก้ไขก็ไม่ใช่เรื่องง่าย  แต่สำหรับปัจจุบันอาจไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด เพราะล่าสุดบริษัทนวัตกรรมความยั่งยืน ‘Glasst’ ได้เปิดตัว ‘UNPAINT’ ผลิตภัณฑ์สีที่ทาได้ตั้งแต่ผนัง เฟอร์นิเจอร์ และพื้นผิวต่างๆ ด้วยเทคโนโลยี Glasstomer ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสิทธิบัตรที่บริษัทสีจากโคลอมเบียพัฒนาขึ้น ทำให้สามารถลอกสีออกเมื่อไม่ต้องการได้ง่ายๆ ด้วยมือ ส่วนวิธีใช้ก็แสนง่าย เพียงเลือกสี UNPAINT ที่มีให้เลือกกว่า 57 สี จากนั้นใช้แปรง ลูกกลิ้ง หรือหัวสเปรย์สำหรับพ่น ระบายสีลงบนพื้นผิวที่ต้องการ จากนั้นรอให้แห้งก็เป็นอันเสร็จสิ้น ทั้งนี้ การทาสี UNPAINT หนึ่งครั้งสามารถอยู่ได้นานกว่า 1 ปี และถ้าในระหว่างนั้นผู้ใช้งานเกิดรู้สึกเบื่อสีเดิมขึ้นมา ก็ลอกสีดังกล่าวออกได้ทันทีด้วยมือ โดยแทบจะไม่ทิ้งร่องรอยของสีที่ลอกไว้บนผนังหรือเฟอร์นิเจอร์เดิม นอกจากนี้ UNPAINT ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากย่อยสลายได้ทางชีวภาพและปราศจากสารอินทรีย์ระเหยง่าย อีกทั้งสี 1 กิโลกรัมยังช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 11 กิโลกรัม UNPAINT วางจำหน่ายแล้วในตลาดลาตินอเมริกา และกำลังขยายตลาดไปทั่วโลกจากการได้รับความนิยมอย่างมากในหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นการตกแต่งบ้าน การทาสีพื้นที่เชิงพาณิชย์ งานอีเวนต์ และนิทรรศการที่ต้องเปลี่ยนแปลงสีพื้นหลังอยู่บ่อยๆ Sources :Coatings […]

1 19 20 21 22 23 370

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.