เที่ยววัดชมปริศนาธรรม พบหลักธรรมที่สอดแทรกอยู่ I วัดชลประทานรังสฤษดิ์ฯ The Series

เวลาเราไปเที่ยววัดเรามักคุ้นชินกับรูปปั้น จิตรกรรมต่างๆ หรือไม่ก็ป้ายคำสอน หากพินิจดูดีๆ และคิดหาความหมาย สิ่งเหล่านี้เหมือนตำราธรรมะอีกรูปแบบหนึ่งแต่มาในรูปแบบศิลปะธรรม วัดชลประทานรังสฤษดิ์ฯ The Series ในตอนนี้ พระมหาบุญฤทธิ์ ฐิตเมโธ เลขานุการเจ้าอาวาสวัดชลประทานฯ จะพาเรามาเดินทัวร์ในวัดว่าแต่ละจุดมีสิ่งใดแอบแฝงอยู่เป็นปริศนาธรรมน่าเล่า และอะไรคือธรรมะที่ซ่อนอยู่ #UrbanCreature #CitySurvive #วัดชลประทานรังสฤษดิ์ #ปริศนาธรรม

‘I don’t dream of labor’ เทรนด์เยาวรุ่นทั่วโลกผู้ Burnout ที่ถามว่าชีวิตเราดีขึ้นกว่านี้อีกได้ไหม?

ชวนสำรวจ ‘I Don’t Dream of Labor’ – เทรนด์ที่ตั้งคำถามกับการทำงานและถามหาชีวิตที่ดีกว่านี้ของเยาวชนทั่วโลก

เกมเมอร์ถูกใจสิ่งนี้! Netflix เปิดตัว 5 เกมลิขสิทธิ์แท้ สมาชิกเล่นฟรีบน Android

ข่าวดีสำหรับแฟน Netflix และคอเกมทั้งหลาย เพราะล่าสุด Netflix ได้เปิดตัว ‘Netflix Games’ หรือเกมลิขสิทธิ์แท้จาก Netflix อย่างเป็นทางการแล้ว โดยทางบริษัทได้ประเดิมเปิดตัว 5 เกมแรก ได้แก่ Stranger Things: 1984, Stranger Things 3: The Game, Shooting Hoops, Card Blast และ Teeter Up ทั้งหมดจะเป็นเกมสำหรับเล่นบนสมาร์ตโฟน แต่ตอนนี้เปิดให้เล่นเฉพาะมือถือ Android ก่อน ผู้ใช้ Android สามารถค้นหาชื่อเกมและเลือกดาวน์โหลดเกมได้ที่ Play Store แต่ผู้ใช้ต้องสมัครสมาชิกรายเดือนของ Netflix ก่อนจึงจะเล่นเกมได้ (ใครที่เป็นสมาชิกอยู่แล้วสามารถเล่นฟรีได้เลย ไม่ต้องสมัครใหม่) สำหรับสมาร์ตโฟน iOS ยังไม่มีกำหนดว่าจะรองรับเกมเมื่อไหร่ แต่ทางบริษัทเปิดเผยว่าจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้แน่นอน ผู้ใช้งาน iPhone และ iPad ต้องอดใจรอกันไปอีกหน่อย นอกจากนั้น […]

Smart Card : บัตรร่วมขนส่ง ชีวิตดีๆ ที่ลงตัว ที่ไทยไม่มี (สักที)

หลายประเทศทั่วโลกเริ่มใช้ ‘สมาร์ตการ์ด’ หรือ ‘บัตรร่วม’ สำหรับระบบขนส่งสาธารณะมานานแล้ว ผู้คนสามารถเดินทางโดยระบบขนส่งมวลชนประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟ รถไฟใต้ดิน รถบัส และเรือ ได้เพียงแค่มีบัตรใบเดียว ทำให้คุณภาพชีวิตของคนง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น  แต่การใช้งานสมาร์ตการ์ดไม่ได้หยุดอยู่แค่ขนส่งมวลชนเท่านั้น เพราะในหลายประเทศได้ขยายขอบเขตบริการเพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานของผู้คนมากยิ่งขึ้น นอกจากจะใช้จ่ายค่าเดินทางแล้ว บัตรใบเดียวกันยังสามารถใช้ซื้อของในซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ ไปจนถึงจ่ายค่าจอดรถ ค่ายา และค่าบิลต่างๆ ได้ด้วย และประเทศต่างๆ ยังมีแนวโน้มที่จะครอบคลุมวิถีชีวิตของคนเมืองมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น สมาร์ตการ์ดในต่างแดนยังล้ำหน้าไปอีกขั้น เพราะในหลายประเทศอย่างฮ่องกง ไต้หวัน และสิงคโปร์ ได้พัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับสมาร์ตการ์ดเพื่อตอบโจทย์ชีวิตของคนยุคดิจิทัล ผู้คนสามารถชำระค่าบริการโดยใช้สมาร์ตโฟนแทนบัตรจริงๆ ได้เลย ไม่ต้องพกบัตรให้ยุ่งยากและล้นกระเป๋าอีกต่อไป แต่สำหรับประเทศไทย เคยนับไหมว่าแต่ละวันคุณใช้บัตรกี่ใบและใช้ไปกับอะไรบ้าง? กระทรวงคมนาคม และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดตัวบัตรร่วมอย่าง ‘บัตรแมงมุม’ มาตั้งแต่ปี 2008 แต่จนถึงปัจจุบันปี 2021 บัตรใบนี้ก็ยังไม่สามารถเชื่อมโยงการเดินทางทั้งหมดได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้ชาวไทยต้องรอบัตรร่วมในฝันกันต่อไป Urban Creature จึงอยากพาทุกคนไปดูว่าสมาร์ตการ์ดในแต่ละประเทศเขาขยายขอบเขตการบริการไปถึงไหน และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนอย่างไรบ้าง 01 | Suica ญี่ปุ่น สำหรับญี่ปุ่น แต่ละภูมิภาคใช้สมาร์ตการ์ดแตกต่างกัน […]

‘Pellucid’ นิทรรศการศิลปะออนไลน์จากคณะวิจิตรศิลป์ มช. ที่ใช้ศิลปะตั้งคำถามกับชีวิต เศรษฐกิจ สังคม การเมือง

หากจำประเด็นการ ‘ตัดโซ่’ หอศิลป์เพื่อเข้าไปจัดแสดงนิทรรศการศิลปะของ นักศึกษาจากสาขาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ (Media Arts and Design) คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชั้นปีที่ 4 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ที่ผ่านมาได้ หลายคนคงอยากรู้ว่าเนื้อหานิทรรศการมีอะไร ทำไมถึงโดนขัดขวางไม่ให้ใช้พื้นที่? ตอนนี้ไม่ต้องตัดโซ่อีกต่อไปแล้ว เพราะทางคณะผู้จัด Media Arts and Design Festival หรือ MADSFEST ได้ยกนิทรรศการไปจัดทางออนไลน์ยาวถึงเดือนมีนาคม 2022 ให้เข้าถึงได้ทั่วไป และนอกเหนือจากผลงานของชั้นปีที่ 4 ที่จัดแสดง ‘ออฟไลน์’ ไปแล้ว งาน MADSFEST ที่เป็นพื้นที่ทดลองทางความคิด ตั้งคำถามกับ “กฎเกณฑ์ของสังคม” และใช้ศิลปะเพื่อสื่อสารเชื่อมโยงประเด็นหลากหลายสู่สาธารณะนี้ยังรวมผลงานของนักศึกษามีเดียอาร์ตหลายชั้นปีไว้อีกด้วย   เทศกาลปีนี้ใช้ชื่อว่า ‘Pellucid’ ซึ่งผู้จัดอธิบายความหมายว่า เป็น “การวิพากษ์ถึงรูปแบบระบบโครงสร้างสิ่งที่กดทับและครอบคลุมมุมมองของเราเอาไว้ ผ่านแนวคิดแบบโครงสร้างนิยม (Structuralism) ไม่ว่าจะเป็นอำนาจของรัฐ เพศ เชื้อชาติ ศาสนา ลำดับชนชั้นทางสังคม” โดยใช้ภาพ เสียง […]

ลาแล้ว สกาลา

ลาแล้วอย่างไม่มีทางหวนกลับ ไม่มีแม้กระทั่งตัวอาคารที่จะอนุรักษ์ไว้เพื่อเป็นประวัติศาสตร์ร่วมสมัยแห่งสยามสแควร์ กระทั่งสยามประเทศ

Wuhan City Pavilion & Kindergarten อาคารในอู่ฮั่นที่เป็นทั้งพาวิลเลียน โรงเรียนอนุบาล และที่จัดนิทรรศการ

เมื่อไม่นานมานี้ ทีมสตูดิโอสถาปนิกสัญชาติจีนชื่อ ATELIER XI ได้ออกแบบสร้างอาคารพาวิลเลียนและโรงเรียนอนุบาลเมืองอู่ฮั่น (Wuhan City Pavilion & Kindergarten) จนเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งตัวอาคารแห่งนี้ตั้งอย่างโดดเด่นอยู่ใน Hankou ซึ่งห่างจากจุดที่เคยมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ครั้งแรกเพียง 1 กิโลเมตร สถาปัตยกรรมนี้เพิ่งสร้างเสร็จแบบสดๆ ร้อนๆ หลังแผนการสร้างได้ถูกระงับไปในช่วงครึ่งหลังของปี 2019 เพราะเชื้อโควิดที่ปะทุขึ้นมาทั่วทั้งเมือง ทว่าเมื่อเมืองกลับมาเปิดได้ใหม่อีกครั้ง โครงการก็สามารถดำเนินการต่อได้อย่างราบรื่นดี ในปี 2019 ทีมสถาปนิก ATELIER XI ได้รับการว่าจ้างให้ดีไซน์โรงเรียนอนุบาลที่มีขนาด 6 ห้องเรียนมาตรฐานในเมืองอู่ฮั่น นอกจากความท้าทายด้านงานก่อสร้างตึกในช่วงวิกฤติเชื้อไวรัสแพร่ระบาด โจทย์แสนยากต่อมา ก็คือการสร้างอาคารที่รับบทบาทเป็นทั้งพาวิลเลียนขายสินค้าชั่วคราว เป็นห้องโถงจัดแสดงนิทรรศการในปีแรกที่สร้างแล้วเสร็จ และจะเป็นโรงเรียนอนุบาลสำหรับเด็กๆ ในภายหลัง โดยทำให้อาคารมีความพร้อมต่อการปรับเปลี่ยนฟังก์ชันได้ในช่วงเวลาต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ โครงการนี้จึงตั้งใจสร้างด้วยแนวคิดการประหยัดต้นทุน เพื่อให้ใช้สอยพื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าและอรรถประโยชน์ โดยหลีกเลี่ยงการรื้อถอนตึกซึ่งจะสร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้ในอนาคต ทีมออกแบบ ATELIER XI พยายามจะแบ่งย่อยอาคารนี้ให้เป็นยูนิตต่างๆ ที่ปรับเปลี่ยนได้ ฟังก์ชันเชิงพื้นที่จึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้เรื่อยๆ โดยตัวโครงสร้างที่เสร็จสมบูรณ์ของอาคารจะมี ‘ช่องว่าง’ ต่างๆ ที่เชื่อมต่อกันด้วยช่องว่างภายในที่มีรอยพับอันซับซ้อน ซึ่งเราสังเกตเห็นได้ทั้งในบริเวณด้านหน้าและหลังคาที่อยู่ภายนอกอาคาร ช่วงเริ่มต้นของการออกแบบ […]

Beta Cinema โรงหนังในเวียดนามที่ผสมความเป็นท้องถิ่นกับดีไซน์ เพื่อเป็นแหล่งแฮงเอาต์คนรุ่นใหม่

ลืมภาพโรงหนังมืดๆ ทึมๆ ไปได้เลย สำหรับยุคปัจจุบันที่โรงหนังไม่ได้เป็นแค่สถานที่ดูหนังอีกต่อไป แต่ยังเป็นที่แฮงเอาต์สำหรับกลุ่มคนรุ่นใหม่ในการพบปะ พูดคุย และเอนจอยช่วงวันหยุดหรือเวลาหัวค่ำด้วยกัน อาคารรูปทรงเรขาคณิต มีสีสันเด่นชัด ชวนให้นึกถึงสถานที่สุดล้ำในหนังสักเรื่องที่อยู่ในภาพคือ โรงหนัง Beta Cinema ที่เพิ่งเปิดให้บริการในโฮจิมินห์ซิตี้ ประเทศเวียดนาม ซึ่งออกแบบโดยบริษัท Module K ตามโจทย์ของ Minh Bui ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Beta Group ที่ต้องการโรงหนังที่ดึงดูดกลุ่มคนรุ่นใหม่ แต่แค่ดีไซน์เก๋ไก๋ยังไม่พอ ความพิเศษที่อยู่เบื้องหลังการออกแบบโรงหนังแห่งนี้คือการหยิบเอาประวัติศาสตร์และความเป็นท้องถิ่นของไซง่อนมาผสมผสานกับการออกแบบ ทำให้โรงหนังขนาด 2,000 ตารางเมตร รองรับได้ 1,000 ที่นั่งแห่งนี้เต็มไปด้วยกลิ่นอายของไซง่อน โดยรายละเอียดการออกแบบแต่ละส่วนใน Beta Cinema ล้วนแล้วแต่อ้างอิงถึงสถานที่สำคัญๆ ที่กระจายอยู่ทั่วเมือง ยกตัวอย่าง โดมสีเขียวที่ได้รับแรงบันดาลใจจากที่ทำการไปรษณีย์กลางในยุคอาณานิคม ฝูงนกพิราบที่ได้รับอิทธิพลจากเอเลเมนต์ที่พบตามโรงละครโอเปร่าและจัตุรัส Paris Commune เคาน์เตอร์ขายตั๋วที่ออกแบบโดยอ้างอิงจากตลาด Ben Thanh ไปจนถึงล็อบบี้ด้านข้างและโถงทางเดินก็ชวนให้นึกถึงตรอกซอกซอยกับชีวิตบนท้องถนนของเมืองโฮจิมินห์ Jade Nguyen ผู้อำนวยการแห่ง Module K เล่าว่าเขาได้หยิบเอาลักษณะสำคัญๆ ที่เป็นไอคอนของไซง่อนมาเปลี่ยนรูปแบบโดยใช้วิธีลดทอนรายละเอียดให้เป็นรูปทรงเรขาคณิต แล้วประยุกต์เทคนิคการใช้สีแบบที่ใช้ในการออกแบบกราฟิกและการ์ตูน […]

ไม่ใช่แค่เสื้อผ้าในเกม หรือการซื้อสกิน กระแสดิจิทัลแฟชั่นโหมหนัก ต้อนรับการมาถึงของ Metaverse

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าแฟชั่นคอลเลกชันล่าสุด ไม่ได้ทำจากเส้นด้ายหรือใช้เทคโนโลยีสิ่งทอ แต่ตัดเย็บขึ้นมาด้วยโปรแกรมและมีวัสดุเป็นพิกเซล  เสื้อผ้าดิจิทัลไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเกมเมอร์ตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ช้อปปิงเสื้อผ้าในโลกออนไลน์มาหลายปีดีดักแล้ว ในประเทศไทยเราแต่งตัวในโลกเสมือนกันมาตั้งแต่สมัย Ragnarok (หรือเก่ากว่านั้น) นอกจากเกมเต้น Audition ยังเป็นสมรภูมิแฟชั่น ขณะที่ปัจจุบันในอีกซีกโลกการจับจ่ายสกินสำหรับ Fortnite ก็ได้รับความนิยมมาก และคาดว่าอุตสาหกรรมนี้จะมีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ และจากการประกาศล่าสุดของ Facebook เกี่ยวกับ Metaverse ก็ยิ่งทำให้เสื้อผ้าดิจิทัลน่าจับตามองมากขึ้น Dhanush Shetty ผู้จัดการผลิตภัณฑ์วัย 22 ปี จากซานฟรานซิสโกบอกว่าการซื้อเสื้อผ้าดิจิทัลให้ความรู้สึกแปลกประหลาดในตอนแรก แต่ในที่สุดเขาค้นพบว่ามันง่ายกว่า ราคาถูกกว่า และรู้สึกมีจริยธรรมมากกว่า (จากการไม่สร้างคาร์บอนฟุตพรินต์จำนวนมากเหมือนการผลิตเสื้อผ้าในชีวิตจริง)  บริษัทเสื้อผ้าดิจิทัลที่กำลังได้รับความนิยมคือ DressX ที่เพิ่งเปิดตัวในเดือนสิงหาคมเมื่อปีที่ผ่านมา และกำลังวางจำหน่ายทั้งงานออริจินัล รวมถึงการคอลแลบกับศิลปินดิจิทัลอีกมากหน้าหลายตา  ลูกค้าของ DressX สามารถเข้าห้องลองเสื้อได้ผ่านเทคโนโลยี AR (Augmented Reality) ซึ่งพอตัดสินใจได้ว่าจะซื้อชิ้นไหน ก็จะทำการอัปโหลดรูปภาพของตัวเองไปยังเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของ DressX แล้วหลังจากนั้นประมาณ 1 – 2 วัน ก็จะได้รับภาพตนเองกำลังสวมใส่เสื้อผ้าดังกล่าวที่ทำการตกแต่งโดยมืออาชีพกลับมา และพร้อมสำหรับการโพสต์ในโซเชียลมีเดียทุกแพลตฟอร์ม  “เป้าหมายของเราคือการมอบตู้เสื้อผ้าดิจิทัลให้กับทุกคน” Natalia Modenova […]

ภาคีSaveบางกลอย ชวนระดมอาหารช่วยคนบางกลอยที่ขาดสารอาหารอย่างหนัก

ชาวหมู่บ้านบางกลอยคือกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่มีบ้านอยู่ใน ‘ใจแผ่นดิน’ แถบจุดศูนย์กลางของป่าแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งแต่เดิมทุกคนอาศัยอยู่ที่นั่นมาเป็นเวลาร่วม 100 ปี ก่อนการเป็นอุทยานแห่งชาติ ด้วยวิถีการเกษตรที่มีความเกื้อกูลกันระหว่างคนและป่า แต่ในตอนนี้ชาวบางกลอยกลับถูกรัฐขับไล่ให้ออกจากบ้านที่เคยอยู่กันมาชั่วชีวิต ด้วยการให้เหตุผลว่าคนเหล่านี้บุกรุกพื้นที่ป่า จนต้องย้ายมาอยู่ที่บางกลอยล่าง และบ้านโป่งลึก สถานที่ที่ปลูกพืชไม่ได้ ทำเกษตรกรรมไม่ได้ ทำให้ชาวบางกลอยตัดสินใจเดินทางกลับบ้านที่เคยอยู่ ในขณะที่รัฐตอบโต้ด้วยวิธีการที่แข็งกร้าว และดำเนินคดีกับพี่น้องบางกลอยโดยไม่ใส่ใจมิติทางวัฒนธรรม ซึ่งแม้ช่วงต้นปี 2564 ชาวบางกลอยจะลุกขึ้นมาเรียกร้องความยุติธรรมให้ตัวเอง แต่จนปัจจุบันจะสิ้นปีแล้ว ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ และแน่นอน ทุกคนยังคงมีชีวิตที่ยากลำบาก เพราะไม่มีที่ดินทำกิน ไม่มีรายได้ ไม่มีอาหาร นำมาสู่การตกงาน และการเข้ามาดิ้นรนในเมืองแต่กลับได้เงินค่าตอบแทนน้อยมาก  ที่สำคัญคือภาวะการขาดสารอาหารของคนในชุมชน โดยเฉพาะแม่ลูกอ่อนที่ไม่มีน้ำนมให้ลูกกิน เด็กจึงมีภาวะผอมหัวโต ทำให้สถานการณ์ต่างๆ อยู่ในระดับวิกฤติ และเมื่อมีความป่วยไข้ทั้งจากภาวะขาดสารอาหารหลักร้อยคน และจากการเกิดโรคระบาดตามฤดูกาล แต่พวกเขากลับเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ยากมากอีกด้วย ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการที่ ภาคี Saveบางกลอย ชวนทุกคนให้มาช่วยระดมอาหารและปัจจัยที่จำเป็นต่อสถานการณ์วิกฤติในตอนนี้อย่างเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น แม้ปัญหาเหล่านี้จะเป็นปัญหาลูกโซ่ที่รัฐไม่แก้ให้เหมาะสมสักทีก็ตาม  สิ่งที่ชาวหมู่บ้านบางกลอยจำเป็นต้องใช้อย่างมากก็คือ 1. ข้าวสาร 2. อาหารแห้ง จำพวกอาหารทะเลแห้ง ปลาแห้ง และหมูแห้ง เป็นต้น 3. นมผงสำหรับเด็กทารกและเด็กเล็ก […]

MOCA กลายเป็นจุดเกิดเหตุ เตรียมไล่ล่าแก๊งโจรกรรมงานศิลป์ กับภาพยนตร์เรื่อง RED NOTICE

มีรายงานว่าพบสิ่งแปลกปลอมหน้าอาคารทรงเหลี่ยมสีขาวนวลตาของ MOCA Bangkok โดยระบุว่ามีเส้นกั้นเขตสีแดงรายล้อมอยู่บริเวณหน้าโซนทางเข้า ราวกับฉากโจรกรรมในภาพยนตร์กำลังหลุดออกมาสู่ชีวิตจริง จนสร้างความสนใจให้แก่ผู้พบเห็นเป็นอย่างมาก ทุกคนกำลังตั้งคำถามด้วยความสงสัยว่าสิ่งนี้คือนิทรรศการ หรือเกิดเหตุบางอย่างขึ้นกับพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย ความฉงนคลี่คลายเมื่อได้เดินเข้าไปสำรวจใกล้ๆ เพราะมี QR CODE ให้สแกนแล้วคำตอบก็ปรากฏขึ้นพร้อมกับข้อความ “เตรียมไล่ล่าแก๊งโจรกรรมงานศิลป์ระดับโลกไปพร้อมกัน!” เฉลยเลยแล้วกันว่าไม่ใช่คดีอาชญากรรมที่ไหน แต่เป็นนิทรรศการจากภาพยนตร์เรื่อง RED NOTICE ที่นำทัพโดยนักแสดงมากฝีมือทั้ง ดเวย์น จอห์นสัน, แกล กาด็อต และไรอัน เรย์โนลส์ กับภาพยนตร์แอ็กชันฟอร์มยักษ์ที่ว่าด้วยเรื่องราวของตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ ที่ออกหมายแดง (RED NOTICE) หรือหมายจับระดับสูงสุดเพื่อตามล่าอาชญากรระดับพระกาฬ ที่โจรกรรมทรัพย์สินมีค่าอย่างงานศิลปะจากทั่วโลกที่มีมูลค่ามหาศาล จึงเกิดเป็นไอเดียให้ Netflix เลือกให้ พิพิธภัณฑ์ MOCA Bangkok เปรียบเสมือนจุดเกิดเหตุนั่นเอง เรื่องราวโจรกรรมครั้งนี้จะยิ่งใหญ่ขนาดไหน รับชมพร้อมกันได้วันที่ 12 พฤศจิกายนนี้ทาง Netflix

‘จำกัดระบบตรวจใบหน้า’ – เฟซบุ๊กปรับตัวครั้งใหญ่ เมื่อผู้ใช้กังวลเรื่องสิทธิและข้อมูลส่วนบุคคล

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา Meta – บริษัทแม่ของเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กประกาศแผนจำกัดการใช้งานระบบตรวจจับใบหน้าผู้ใช้ (Facial Recognition System) การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลให้เฟซบุ๊กจะไม่แท็กใบหน้าผู้ใช้งานในรูปภาพและวิดีโอโดยอัตโนมัติอีกต่อไป รวมถึงจะลบข้อมูลใบหน้าของผู้ใช้เดิมกว่า 1 พันล้านคน  Jerome Pesenti รองประธานบริษัทฝ่าย AI ประกาศผ่านเว็บไซต์ว่าการปรับเปลี่ยนนโยบายครั้งนี้คือ “การขยับครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การใช้งานเทคโนโลยีตรวจจับใบหน้า” ซึ่งมีผู้ใช้งานถึงหนึ่งในสามของผู้ใช้ทั้งหมด นอกจากหยุดแท็กใบหน้าอัตโนมัติ และลบข้อมูลใบหน้าผู้ใช้แล้ว เฟซบุ๊กจะยุติระบบสร้างข้อความบรรยายภาพ (Automatic Alt Text System) ที่บริษัทกล่าวว่ามีเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการและผู้บกพร่องทางการมองเห็น  แต่การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นเพียงการจำกัดขอบเขตเท่านั้น เพราะระบบตรวจจับใบหน้าผู้ใช้ยังถูกใช้งานในบัญชีส่วนตัวอยู่ เช่น เพื่อปลดล็อกบัญชีผู้ใช้ หรือการยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมการเงิน รวมทั้งอาจมีการใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าวทางสาธารณะในอนาคต การเปลี่ยนแปลงของเฟซบุ๊กครั้งนี้จุดประเด็นถกเถียงในสหรัฐอเมริกาว่าขอบเขตของเทคโนโลยีตรวจจับใบหน้าผู้ใช้ควรอยู่ตรงไหน ประเด็นที่ถกเถียงกันต่อมาคือ ความกังวลด้านสิทธิเสรีภาพและการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของเทคโนโลยีซึ่งนำไปสู่การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติและสีผิวในสหรัฐฯ รวมถึงบทเรียนที่เกิดขึ้นในการใช้เทคโนโลยีเฝ้าระวัง (Surveillance) ในประเทศจีน การขยับครั้งนี้ของเฟซบุ๊กเกิดขึ้นท่ามกลางการวิพากษ์วิจารณ์หลังการออกมาเปิดเผยของอดีตพนักงานบริษัทว่าเฟซบุ๊กตั้งใจปล่อยผ่าน ‘กิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดถ้อยคำที่สร้างความเกลียดชังและข้อมูลผิดๆ’  ด้าน Luke Stark ผู้ช่วยศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออนแทรีโอ (University of Western Ontario) ได้ตั้งข้อสังเกตว่าความเคลื่อนไหวของเฟซบุ๊กครั้งนี้ แม้จะมองได้ว่าเป็นไปเพื่อสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกให้กับตัวบริษัท และไม่ได้คิดเปลี่ยนแปลงวิธีคิดเบื้องหลังจริงๆ […]

1 204 205 206 207 208 371

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.