
LATEST
ค่า Ft คืออะไร ทำไมใช้ไฟฟ้าเท่าเดิมแต่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม
ถัดจากปัญหาฝนตกหนักน้ำท่วมขังที่หลายคนกังวลอยู่ในช่วงนี้ ก็คงเป็นเรื่อง ‘ค่าไฟ’ นี่แหละที่จะเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ถาโถมใส่ชาวไทยทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดเป็นอันดับต่อไป อัตราค่าไฟฟ้าส่อแววเป็นปัญหาน่าปวดหัว หลังจากที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ประกาศปรับ ‘ค่า Ft’ ของงวดเดือนกันยายน-ธันวาคม ปี 2565 ขึ้นเป็น 93.43 สตางค์/หน่วย จากเดิม 24.77 สตางค์/หน่วย เพิ่มขึ้นจากเดิมเกือบ 4 เท่า นี่ยังไม่รวมถึงไตรมาสเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม ปี 2566 ที่จะถึงนี้ที่จะมีการปรับขึ้นเป็น 98.27 สตางค์/หน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพราะฉะนั้น ไม่ว่าแต่ละครัวเรือนจะใช้ไฟฟ้าในปริมาณเท่าเดิมหรือน้อยลง พวกเขาก็อาจต้องแบกรับค่าไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นอยู่ดี หลายคนอาจกำลังสงสัยว่าค่า Ft คืออะไร ทำไมถึงเป็นตัวแปรที่มีผลต่อการคิดค่าไฟ วันนี้ Urban Creature จึงอยากพาทุกคนไปรู้จักส่วนประกอบสำคัญของบิลค่าไฟฟ้าอย่างค่า Ft ว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไร และทำไมการขึ้นค่า Ft ของ กกพ. ถึงทำให้ค่าไฟแพงขึ้นขนาดนี้ เผื่อจะช่วยไขข้อข้องใจของใครหลายคน และเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยเพื่อวางแผนการใช้ไฟในอนาคตได้ บิลหนึ่งใบ ค่าไฟหนึ่งเดือน ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับส่วนประกอบของ […]
ปรับสมดุลโลกในมหกรรมด้านความยั่งยืน Sustainability Expo 2022 วันที่ 26 ก.ย. – 2 ต.ค. 65 ที่ ศูนย์ฯ สิริกิติ์
ปรับสมดุลโลกในมหกรรมด้านความยั่งยืน Sustainability Expo 2022 วันที่ 26 ก.ย. – 2 ต.ค. 65 ที่ ศูนย์ฯ สิริกิติ์ ปัญหาสิ่งแวดล้อมถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ ของโลกที่ทุกคนเร่งมือแก้ไขหาทางออก ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน หรือภาคประชาชนก็ตาม Sustainability Expo 2022 คือมหกรรมด้านความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน เนื่องจากเป็นงานที่รวบรวมผู้เชี่ยวชาญหลากหลายแขนงกว่า 150 คนทั่วโลก ทั้งยังมีบริษัทชั้นนำของไทยและต่างประเทศอีก 100 แห่งที่จะนำองค์ความรู้ แนวคิดที่น่าสนใจ รวมถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีมานำเสนอ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในทางเลือกที่จะช่วยให้ผู้คนและองค์กรต่างๆ ใช้เป็นเครื่องมือสร้างความยั่งยืนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กิจกรรมภายในงานแบ่งออกเป็นหลายโซน เช่น โซน ‘Better Community’ เล่าเรื่องราวของสังคมที่ปรับเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น จากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของแต่ละคน โซน ‘Better Me’ ที่จะทำให้ชีวิตของผู้คนดีขึ้นในทุกด้าน เป็นต้น นอกจากนี้ก็ไม่ต้องกลัวว่าเดินไปแล้วจะหิว เพราะในงานมีโซน ‘Food Festival’ ที่เตรียมเหล่าเชฟกระทะเหล็ก มาสเตอร์เชฟ และร้านอาหารยอดนิยม มาปรุงอาหารแห่งโลกอนาคตที่ทั้งรักษ์โลกและรักสุขภาพ ให้ได้อร่อยกันในบรรยากาศสตรีทฟู้ด ยังไม่นับรวมโซน […]
สำรวจปริมาณน้ำฝนของกรุงเทพฯ ปี 2565 ฝนอาจตกหนักสุดในรอบ 30 ปี
วันนี้ฝนจะตกไหม? แล้วน้ำจะท่วมอีกหรือเปล่า? บทสนทนาเรื่องฟ้าฝนและน้ำท่วมดูเหมือนจะเป็นท็อปปิกใหญ่ของชาวกรุงเทพฯ ช่วงนี้ เพราะไม่ว่าจะอาศัยอยู่แถวไหนก็ดูจะเสี่ยงน้ำท่วมไปเสียทุกที่ อุปกรณ์กันฝนที่พกติดตัวทุกวันก็แทบจะไม่สามารถต้านทานฝนที่ตกหนักได้เลยสักวัน เมื่อฝนตกหนัก ก็ส่งผลให้น้ำระบายไม่ทันจนเกิดน้ำท่วมตามมา แน่นอนว่าการระบายน้ำช้าเป็นหนึ่งปัจจัยของปัญหาน้ำท่วมขัง แต่ก็อาจไม่ใช่ทั้งหมด เพราะเราและคนรอบตัวเองก็เห็นตรงกันว่า ปีนี้ฝนตกหนักมากกว่าปีก่อนๆ จนสังเกตได้ วันนี้ คอลัมน์ City by Numbers จึงอยากพาทุกคนย้อนดูปริมาณน้ำฝนช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2563 – 2565) เพื่อเปรียบเทียบว่าแต่ละปีมีปริมาณน้ำฝนต่างกันมากน้อยขนาดไหน และปี 2565 มีฝนตกหนักกว่าเดิมอย่างที่คิดจริงหรือไม่ บทความนี้อ้างอิงข้อมูลมาจาก สำนักการระบายน้ำ ที่อัปเดตข้อมูลปริมาณน้ำฝนให้เราได้ติดตามกันทุกวัน และสามารถเทียบความแตกต่างของปริมาณฝนผ่านชุดข้อมูลอย่าง ‘กราฟเปรียบเทียบปริมาณฝนรายเดือนสะสม’ ซึ่งเป็นปริมาณฝนรายเดือนสะสมเฉลี่ย 30 ปี (2534 – 2563) และปริมาณฝนรายเดือนตั้งแต่ปี 2563 – 2565 ที่แจ้งว่าในแต่ละปีนั้นมีปริมาณน้ำฝนสะสมเท่าไรบ้าง ปริมาณฝนรายเดือนสะสม เฉลี่ยคาบ 30 ปี (2534 – 2563) อยู่ที่ 1,689.7 มม. ปริมาณฝนรายเดือนสะสม […]
เปิดกว้างและเข้าใจการทำแท้งมากขึ้น กับงาน Bangkok Abortion ที่สวนครูองุ่น ทองหล่อ 25 ก.ย. 65
‘การทำแท้ง’ ถือเป็นประเด็นทางกฎหมายและสังคมที่ผู้หญิงจำนวนมากทั่วโลกออกมาเรียกร้องกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พวกเธอมีสิทธิ์ในร่างกายของตัวเอง ประเทศไทยมี ‘กฎหมายการทำแท้งฉบับใหม่’ เมื่อปี 2564 ที่อนุญาตให้ผู้หญิงทำแท้งได้ถ้ามีอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ หากทำแท้งเกินช่วงเวลาดังกล่าว ต้องจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แม้กฎหมายจะปรับให้เนื้อหาก้าวหน้ากว่าเดิม แต่ดูเหมือนว่าจำนวนการทำแท้งในไทยก็ยังไม่เพิ่มมากขึ้นเท่าไหร่นัก สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะผู้หญิงส่วนใหญ่ยังไม่รู้ข้อมูลและเข้าไม่ถึงการทำแท้งที่ปลอดภัย ขณะเดียวกันโรงพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์จำนวนไม่น้อยก็ยังมีอคติต่อการทำแท้ง มองว่าเป็นเรื่องบาปหรืออาจทำให้เสียภาพพจน์ได้ เพราะเชื่อว่าการทำแท้งไม่ใช่ทางเลือกที่อันตรายหรือเรื่องน่าอาย กลุ่มทำทาง (คุยกับผู้หญิงที่ทำแท้ง) เครือข่ายทำแท้งปลอดภัย และกลุ่ม NGO จึงจัดงาน ‘Bangkok Abortion – กรุงเทพทำแท้ง : ทำแท้งทำได้ ปลอดภัย ไม่ตายนะเธอ’ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้คนได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้เรื่องสิทธิการทำแท้ง ผ่านเสวนาและกิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น – เสียงจากประสบการณ์ของผู้หญิงที่ทำแท้ง – สิทธิประโยชน์ในการให้บริการหลังกฎหมายทำแท้งฉบับใหม่ ที่คนกรุงเทพฯ ก็เข้าถึงได้– ความก้าวหน้าของกฎหมายกับช่องว่างและทิศทางในการติดตามของภาคประชาชน– ประชาธิปไตยกับการทำแท้ง– สิทธิแรงงานกับสิทธิการเข้าถึงบริการทำแท้งใน กทม.– เสียงจาก LGBTQIA+ กับการทำแท้ง ภายในงานยังมีการแสดงดนตรีสดและมีวิทยากรเข้าร่วมพูดคุยมากมาย รวมถึงกิจกรรมที่น่าสนใจอื่นๆ […]
การจัดการขยะในเมือง กับ ก้อง Konggreengreen | Unlock the City EP.10
ขยะคือหนึ่งสาเหตุของน้ำท่วมเมือง หลายคนน่าจะเห็นภาพฟูกที่นอน โซฟา และขยะชิ้นใหญ่เบิ้มที่ทางเจ้าหน้าที่เก็บกู้มาจากแหล่งน้ำ นอกจากความสกปรก ส่งกลิ่นเหม็นแล้ว ขยะพวกนี้ยังสร้างปัญหาอุดตัน ทำให้เก็บกักน้ำได้น้อยลง แม้จะมีความพยายามในการผลักดันการจัดการขยะมาหลายยุคสมัย แต่ในเมืองที่มีปัญหาขยะเรื้อรังมาอย่างเนิ่นนาน ถึงขนาดมีรายงานว่าคนกรุงเทพฯ ทิ้งขยะเฉลี่ยแล้ว คนละ 2.2 กิโลกรัม/วัน ภาพรวมเรื่องนี้ก็ยังไม่ดีขึ้นนัก นั่นเพราะเรายังมีนโยบายการจัดเก็บและจัดการขยะที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ ประชาชนที่อยากลดการสร้างขยะก็ทำได้ไม่ค่อยสะดวกนัก เพราะสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย ‘พนิต ภู่จินดา’ โฮสต์รายการ Unlock the City ชวน ‘ก้อง-ชณัฐ วุฒิวิกัยการ’ หรือ ก้องแห่ง Konggreengreen อินฟลูเอนเซอร์สายเขียว มาสนทนาถึงสถานการณ์การจัดการขยะในกรุงเทพฯ อะไรคืออุปสรรคที่ทำให้บ้านเราไม่สามารถจัดการขยะได้ดีแบบญี่ปุ่นหรือเยอรมนี วิธีการจัดการขยะแบบปัจเจกและสเกลเมืองควรเป็นแบบไหน ไปจนถึงการตั้งคำถามว่าแท้จริงแล้วประเทศไทยเหมาะกับการจัดการขยะแบบไหนกันแน่ ติดตามฟัง Urban Podcast ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/3U2dBYQLeAU Spotify : https://spoti.fi/3qUXgXz Apple Podcasts : https://apple.co/3ShtnfO Podbean : https://bit.ly/3BXGhu4 #UrbanCreature#UrbanPodcast#UnlocktheCity
ห้องน้ำสวย บอกต่อด้วย toiletness แอ็กเคานต์อินสตาแกรม ชี้เป้าห้องน้ำสวยตามสถานที่ต่างๆ
เราเชื่อว่าต้องมีคนจำนวนไม่น้อยที่เวลาไปร้านอาหาร เข้าคาเฟ่ หรือแฮงเอาต์ตามสถานที่เก๋ๆ แล้วชอบเข้าห้องน้ำไปถ่ายภาพเซลฟี่หน้ากระจก ตัวเองสวยเป็นหนึ่งเหตุผล แต่อีกเหตุผลคือห้องน้ำเองก็สวยมากจนอยากมีแบบนี้ที่บ้าน เพราะน่าจะอยากแบ่งปันห้องน้ำสวย บอกต่อด้วย ถึงมีคนทำ toiletness แอ็กเคานต์อินสตาแกรมที่มาชี้เป้าห้องน้ำสวยตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะร้านอาหาร คาเฟ่ บาร์ ห้างสรรพสินค้า แกลเลอรี หรือกระทั่งสถานที่งงๆ ก็ยังมี “เวลาไปสถานที่ต่างๆ เรามักชอบสังเกตการออกแบบและการตกแต่งอยู่แล้ว เพราะพื้นฐานเคยเป็นนักเรียนออกแบบ และคิดว่าอีกหนึ่งจุดสร้างประสบการณ์ที่สำคัญ (Touchpoint) ภายในสถานที่คือ ‘ห้องน้ำ’ “เราเริ่มถ่ายรูปห้องน้ำจากสถานที่ต่างๆ มาสักพักแล้ว จนมีเพื่อนบอกให้ลองสร้างเป็น คลังไว้แชร์กับคนอื่นด้วย ก็เลยเริ่มมีแรงจูงใจอยากเก็บภาพห้องน้ำที่มีสไตล์การออกแบบเฉพาะตัว เปิดเป็นแอ็กเคานต์อินสตาแกรมขึ้นมา ความรู้สึกตอนนั้นคือถึงไม่มีคนเห็นหรือสนใจ แอ็กเคานต์นี้ก็ถือเป็น Journal ส่วนตัวของเราแล้วกัน แต่สรุปว่ามีเพื่อนหลายคนทักมาบอกว่าชอบสะสมภาพถ่ายห้องน้ำเหมือนกัน เวลาไปไหนแล้วต้องแวะไปดู เราก็รู้สึกว่าเราไม่ได้บ้าห้องน้ำไปคนเดียว” เจ้าของแอ็กเคานต์ toiletness เล่าให้เราฟัง ห้องน้ำไฟสีแดงซาบซ่านใน Mod Kaew Wine Bar ห้องน้ำสไตล์ปูนเปลือยใน Nangloeng Shophouse ห้องน้ำดาร์กๆ อย่างกับห้องน้ำในภาพยนตร์ที่ Eat Me Restaurant ฯลฯ […]
เยอรมนีทำอย่างไรถึงเป็นประเทศที่รีไซเคิลขยะมากที่สุดในโลก
คนส่วนใหญ่คงรู้อยู่แล้วว่า ‘การแยกขยะ’ หรือ ‘การรีไซเคิลขยะ’ นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ หลายประเทศทั่วโลกผลักดันนโยบายเรื่องนี้มานานแล้ว และจำนวนไม่น้อยสามารถเปลี่ยนการแยกขยะให้เป็นความรับผิดชอบและวิถีชีวิตของประชาชนทุกคนได้สำเร็จ ‘เยอรมนี’ ถือเป็นหนึ่งในต้นแบบของการจัดการและการรีไซเคิลขยะ เพราะข้อมูลปี 2021 ระบุว่า เยอรมนีคือประเทศที่รีไซเคิลขยะมากที่สุดในโลก นั่นคือมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนขยะทั้งหมดที่ประเทศผลิตออกมา Urban Creature อยากพาทุกคนไปหาคำตอบว่า เยอรมนีทำอย่างไรถึงกลายเป็นดินแดนที่ยืนหนึ่งเรื่องการนำของเสียและวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ผ่านการสำรวจนโยบายและโครงการที่เข้มแข็งของภาครัฐ ไปจนถึงการให้ความสำคัญเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมของภาคประชาชน 01 | นโยบายจัดการขยะที่เข้มแข็ง รัฐบาลเยอรมนีมีส่วนสำคัญในการกำหนดทิศทางการจัดการขยะ รวมไปถึงการรีไซเคิลขยะภายในประเทศ เหตุผลหนึ่งมาจากการออกกฎหมายและนโยบายที่เข้มแข็ง ทำให้ภาคส่วนต่างๆ และประชาชนมีส่วนร่วมในการแยกขยะอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามนโยบายหลักที่เยอรมนีใช้ควบคุมและจัดการขยะภายในประเทศ ได้แก่ 1) ‘Packaging Ordinance (1991)’ หรือ ‘กฤษฎีกาว่าด้วยบรรจุภัณฑ์’ คือกฎหมายฉบับแรกของเยอรมนีที่กำหนดให้บรรดาผู้ผลิตสินค้าต้องจัดการขยะของแพ็กเกจจิ้งต่างๆ ซึ่งรวมทั้ง ‘บรรจุภัณฑ์ขั้นที่หนึ่ง (Primary Packaging)’ ที่ห่อหุ้มตัวสินค้าเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวสินค้าเสียหาย, ‘บรรจุภัณฑ์ขั้นที่สอง (Secondary Packaging)’ ที่ห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ขั้นที่หนึ่งมาอีกทีเพื่อป้องกันความเสียหายและเพิ่มมูลค่าให้กับตัวสินค้า สุดท้ายคือ ‘บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง (Shipping Packaging)’ ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เก็บรักษาและขนส่งตัวสินค้านั่นเอง รัฐบาลเยอรมนีมองว่า แพ็กเกจจิ้งหลายรูปแบบนี้ก่อให้เกิดขยะจำนวนมหาศาลที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม […]
หนังสือราคาแพงขึ้น เราคิดไปเองหรือไม่
คุณคิดว่าเงิน 1,000 บาท ซื้อหนังสือได้กี่เล่ม มีความสุขตอนหยิบหนังสือลงตะกร้า มีน้ำตาตอนเห็นราคารวมที่ต้องจ่าย ชาวหนังสือใครเคยมีโมเมนต์นี้บ้าง ขอให้ยกมือขึ้น! เพราะทุกวันนี้หากกำเงินหนึ่งพันบาทเดินซื้อหนังสือที่ชื่นชอบสักสองสามเล่ม พอเห็นป้ายราคาอาจจะรู้สึกอยากปาดเหงื่อสักสี่ห้ารอบ ด้วยราคาหนังสือที่แพงมากขึ้นจากสมัยก่อนที่เคยมีราคาเฉลี่ยเล่มละ 100 – 200 บาท หนังสือการ์ตูนประมาณ 30 – 50 บาท แต่ปัจจุบันจากการสำรวจราคาหนังสือตามท้องตลาดส่วนใหญ่อยู่ในช่วงค่าเฉลี่ย 200 – 400 บาท ยิ่งหนังสือการ์ตูนอยู่ในช่วงค่าเฉลี่ย 80 – 100 บาท ส่วนหนังสือรูปแบบ E-Book ก็มีราคาไม่ได้ห่างจากหนังสือเล่มมากเท่าไหร่นัก ซึ่งสมัยนี้เงินหนึ่งพันบาทอาจจะได้หนังสือประมาณ 2 – 3 เล่ม หากถามว่าเราคิดไปเองหรือไม่ที่หนังสือแพงขึ้น ขอบอกว่าคุณไม่ได้คิดไปคนเดียวหรอก เพราะมันสูงกว่าเดิมจริงๆ ต้นทุนหนังสือสูงขึ้น รายได้คนอ่านก็สูงขึ้น (นิดหนึ่ง) สำหรับหนังสือนับว่าเป็นสินค้ารูปแบบหนึ่งที่มีการปรับราคาขึ้นลงตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ยิ่งในยุคที่เกิดโรคระบาดและวิกฤตการเมืองในต่างประเทศ จนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ทั้งทางตรงและทางอ้อม หลายอุตสาหกรรมจึงต้องปรับราคาสินค้าให้สูงขึ้นตามปัจจัยต่างๆ ซึ่งวงการสื่อสิ่งพิมพ์เองก็ได้รับผลกระทบจากอุตสาหกรรมกระดาษจนต้องขึ้นราคาไปตามๆ กัน ในมุมของผู้ประกอบการสื่อสิ่งพิมพ์ อย่างสำนักพิมพ์ ‘พ.ศ.พัฒนา’ ที่ให้สัมภาษณ์ในสื่อไทยรัฐ เผยว่า […]
เมืองบรัสเซลส์อนุญาตให้จิตแพทย์จ่ายใบสั่งยาให้ผู้ป่วยเข้าพิพิธภัณฑ์ฟรี เพื่อฟื้นฟูจิตใจและบรรเทาอาการซึมเศร้า
ให้ศิลปะช่วยเยียวยาจิตใจของคุณผ่านการรักษาแบบพิเศษในเมืองบรัสเซลส์ ที่จิตแพทย์สามารถจ่ายใบสั่งยาจากพิพิธภัณฑ์ให้กับผู้ป่วยที่มีสภาวะทางจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นอาการซึมเศร้า ความเครียด หรืออาการวิตกกังวลก็ตาม ได้เข้าไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์พร้อมกับเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัว 2 – 3 คนได้ฟรี ปัจจุบันผู้ป่วยสามารถเข้าพิพิธภัณฑ์ภายใต้การดูแลของทางการฟรี 5 แห่ง ไม่ว่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เมือง (Brussels City Museum), ศูนย์ศิลปะร่วมสมัย (Centre for Contemporary Art), พิพิธภัณฑ์แฟชั่นและลูกไม้ (Fashion & Lace Museum), พิพิธภัณฑ์ท่อระบายน้ำ (Sewer Museum) หรือจะเป็นพิพิธภัณฑ์ห้องเสื้อผ้าของ แมนเนเกน พิส (Manneken Pis) โดยทาง Delphine Houba รองนายกเทศมนตรีบรัสเซลส์ ที่ได้เสนอแนวคิดนี้เมื่อปี 2021 เชื่อว่านี่คือโครงการแรกในยุโรปที่จะช่วยฟื้นฟูสุขภาพจิตของผู้ป่วยจากความเครียดและความวิตกกังวล รวมถึงยังช่วยฟื้นฟูพิพิธภัณฑ์หลังจากการระบาดของ Covid-19 โดยได้แรงบันดาลใจจากโครงการในแคนาดาที่แพทย์จ่ายใบสั่งยาให้กับพิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์มอนทรีออล (Montreal Museum of Fine Arts) มาตั้งแต่ปี 2018 โครงการนี้จะนำร่องในระยะเวลา 6 เดือน […]
The Booksmith ร้านหนังสือต่างประเทศที่ทำธุรกิจบนความจริง และพร้อมปรับรับการเปลี่ยนแปลง
ในบรรดาธุรกิจที่พูดแล้วโรแมนติกที่สุด สุนทรีย์ที่สุด ช่างดูมีความหมายต่อชีวิตและสังคม จะไม่มี ‘ธุรกิจร้านหนังสือ’ คงไม่ได้ ทว่าเบื้องหลังภาพโรแมนติกเหล่านั้น หากมองด้วยเลนส์การทำธุรกิจที่ต้องค้าขาย เกิดการซื้อมา-ขายไป คงปฏิเสธไม่ได้ว่าร้านหนังสือก็คืออาชีพหนึ่งที่ดำรงภายใต้กฎที่ดิน แรงงาน และทุน เหมือนธุรกิจอื่นๆ The Booksmith คือร้านหนังสือต่างประเทศที่ก่อตั้งโดย ‘สิโรตม์ จิระประยูร’ ซึ่งกำลังย่างก้าวสู่ขวบปีสิบปีที่สองของธุรกิจในปีนี้ นั่นแปลว่าเขาทำร้านหนังสือมาแล้วกว่าสิบปี และเชื่อหรือไม่ว่าบริษัทเพิ่งมาขาดทุนก็เมื่อปี 2020 ที่เจอโควิด-19 นี่เอง อาจเพราะเคยมีประสบการณ์การทำงานที่บริษัทเอเซียบุ๊คส์มาอย่างยาวนาน บวกกับการมองหาโอกาสใหม่ๆ ในแวดวงธุรกิจหนังสือและการอ่านอยู่เสมอ ทำให้สิโรตม์บริหาร The Booksmith มาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถขยายอาณาจักรการอ่านจาก The Booksmith ที่เชียงใหม่ไปสู่สาขาที่สอง สาม สี่ ได้แก่ ร้านจำหน่ายนิตยสารต่างประเทศ The Papersmith ที่กรุงเทพฯ ร้าน The Booksmith ที่สนามบินดอนเมือง และสนามบินเชียงใหม่ ไปจนถึงการคอลแลบกับร้านหนังสือเชนสโตร์และซูเปอร์มาร์เก็ตเจ้าใหญ่ ก่อนจะตัดสินใจหยุดทำ เหลือแค่ 4 สาขาแรกที่กล่าวไปเท่านั้น โดยขอปิดทำการร้าน The Papersmith […]
ฝนตก รถติด รู้ก่อน เลี่ยงได้ เช็กการจราจรแบบเรียลไทม์ผ่านกล้องวงจรปิดของ กทม.
ช่วงนี้ชาวกรุงเทพฯ ต้องเผชิญกับมรสุมฝนตกหนักต่อเนื่อง จนหลายพื้นที่กลายเป็นทะเลกรุงเทพฯ ไปแล้ว จะกลับบ้านตอนเย็นทีไร ก็ต้องตามอ่านสถานการณ์จากในออนไลน์ หรือไปเสี่ยงดวงระหว่างทางว่าวันนี้รถจะติด ฝนจะตก หรือน้ำจะท่วมมากน้อยแค่ไหนทุกที วันนี้เราเลยอยากแนะนำอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยให้วางแผนการเดินทางในแต่ละวันได้ง่ายขึ้น ผ่านกล้องวงจรปิด (CCTV) ที่ติดตั้งตามท้องถนนและทางแยกในกรุงเทพฯ เพียงเข้าไปที่เว็บไซต์ www.bmatraffic.com หรือแอปพลิเคชัน @CCTVBANGKOK ของสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานคร แล้วเลือกกล้องวงจรปิดในถนนส่วนที่ต้องการเห็นภาพการจราจร แค่นี้ก็จะเช็กภาพสถานการณ์ที่แสดงผลแบบเรียลไทม์จากบริเวณดังกล่าวได้แบบฟรีๆ ถึงแม้ว่าภาพที่ได้จะไม่ได้คมชัดถึงขั้นมองเห็นเลขทะเบียนรถ แต่อย่างน้อยก็เพียงพอให้เห็นถึงสถานการณ์จราจร และสภาพน้ำท่วมได้แบบคร่าวๆ เพื่อวางแผนเส้นทางกลับบ้านได้ นอกจากนี้ ภาพจากกล้องวงจรปิดยังเป็นประโยชน์สำหรับผู้ประสบอุบัติเหตุบนท้องถนนที่ต้องการหลักฐานอีกด้วย เพราะปัจจุบันทางกรุงเทพฯ เปิดให้ผู้ที่ต้องการข้อมูลขอไฟล์ออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชันได้ฟรี โดยจะได้รับไฟล์ภาพภายใน 24 ชั่วโมง ดาวน์โหลดไฟล์ภาพได้ไม่เกินระยะเวลา 7 วันหลังเกิดเหตุ และขอข้อมูลได้ไม่เกินครั้งละ 6 กล้อง รวมเวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมง หากกรณีที่ต้องการไฟล์ภาพมากกว่า 3 ชั่วโมงขึ้นไปหรือไฟล์ต้นฉบับ สามารถขอได้ที่ศูนย์ CCTV ทั้ง 13 แห่ง ตลอด 24 ชั่วโมง เรียกว่าเป็นขั้นตอนที่สะดวกขึ้นมาก เนื่องจากเดิมทีต้องใช้เวลานานถึง […]
ไปชนแก้วในงาน Beer Days ตลาดนัดคราฟต์เบียร์กว่า 50 แบรนด์ 24 – 25 ก.ย. 65 ที่ The Jam Factory
ไปชนแก้วในงาน Beer Days ตลาดนัดคราฟต์เบียร์กว่า 50 แบรนด์ 24 – 25 ก.ย. 65 ที่ The Jam Factory คอเบียร์เตรียมวอร์มคอให้พร้อมกับงานตลาดนัดคราฟต์เบียร์ครั้งแรกของ The Jam Factory พบกับการขนคราฟต์เบียร์ทั้งของไทยและต่างประเทศเข้ามาให้เลือกสัมผัสความหลากหลายของรสชาติเครื่องดื่มมีฟองกว่า 50 แบรนด์ คัดสรรโดย ประชาชนเบียร์ นอกจากจะได้ดื่มด่ำกับการชนแก้วรัวๆ แล้ว ภายในงานยังมีกับแกล้มที่ยกมาให้เลือกทั้งตลาดโดย The Knack Market แถมชุ่มคอ อร่อยหูไปกับดนตรีจาก TuneCore Thailand และกลุ่มศิลปินอิสระ เวลาเปิดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีสองช่วงคือ 11.00 – 14.00 น. และ 17.00 – 21.00 น. แนะนำให้เดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ เพื่อความสะดวกสบายและปลอดภัย งาน Beer Days จัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 24 และวันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน […]