เมื่อคนรักษาระยะห่างกับสัตว์ไม่ได้ นอร์เวย์ตัดสินใจการุณยฆาตวอลรัสเพื่อความปลอดภัยของมนุษย์

ข่าวสะเทือนใจของคนรักสัตว์คงหนีไม่พ้นเรื่องของการตัดสินใจการุณยฆาต ‘เฟรยา’ วอลรัสชื่อดังแห่งนอร์เวย์ เนื่องจากประชาชนและนักท่องเที่ยวไม่สนคำเตือนของทางการที่ห้ามเข้าใกล้เฟรยาเพราะกลัวอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อทั้งคนและสัตว์ แถมยังฝ่าฝืนด้วยการลงไปว่ายน้ำกับเฟรยา พยายามเข้าไปใกล้เพื่อถ่ายรูป หรือแม้แต่การขว้างปาสิ่งของใส่ก็มี และเมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีภาพของกลุ่มคนจำนวนมากเข้าไปยืนถ่ายรูปเจ้าเฟรยาอย่างใกล้ชิด ทั้งที่ก่อนหน้านี้ทางเจ้าหน้าที่ได้ทำการร้องขอให้รักษาระยะห่างกับเฟรยาหลายต่อหลายครั้งแต่ไม่เป็นผล แถมอยู่ใกล้ในระดับที่สามารถสัมผัสตัวเจ้าวอลรัสได้ ด้วยเหตุนี้ ทางการนอร์เวย์จึงตัดสินใจทำการการุณยฆาตวอลรัสเฟรยาก่อนที่จะเกิดเหตุอันตรายกับประชาชน ทาง Frank Bakke-Jensen อธิบดีกรมประมงของนอร์เวย์เผยว่า การตัดสินใจครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากมีการประเมินว่าวอลรัสจะเป็นภัยคุกคามและเป็นอันตรายต่อมนุษย์ในภายหลัง ซึ่งทางการเคยวางแผนย้ายเฟรยาออกจากพื้นที่แล้วแต่ยังไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสม เนื่องจากกังวลเรื่องความเป็นอยู่ของตัววอลรัส และเมื่อประชาชนไม่สามารถทำตามข้อกำหนดได้ จึงต้องตัดสินใจทำการการุณยฆาตเฟรยา และยังเสริมอีกว่าทางการนอร์เวย์ให้ความสำคัญกับสวัสดิภาพของสัตว์เป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม ความปลอดภัยของมนุษย์ต้องมาก่อน เฟรยาเป็นวอลรัสเพศเมีย น้ำหนักประมาณ 600 กิโลกรัมที่ชอบขึ้นมานอนอาบแดดบนเรือ และว่ายน้ำไล่จับเป็ดให้คนได้เห็นความน่ารัก จนกลายเป็นดาวเด่นแห่งออสโลฟยอร์ด (Oslo Fjord) ที่ไม่ว่าใครก็ตามไปเที่ยวบริเวณนั้นก็ต้องมองหาเจ้าวอลรัสตัวนี้อยู่เสมอ ทำให้มันค่อนข้างคุ้นชินและไม่กลัวคนเท่าไร ซึ่งการการุณยฆาตเฟรยาทำให้ประชาชนรวมถึงชาวโซเชียลจำนวนมากออกมาตั้งคำถามถึงการกระทำในครั้งนี้ว่าจำเป็นที่จะต้องจบชีวิตเจ้าวอลรัสตัวนี้หรือไม่ ทั้งๆ ที่สาเหตุที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพราะมนุษย์ไม่ยอมทำตามกฎเองต่างหาก Sources :  BBC | bbc.in/3JValJh CNN | cnn.it/3JYqkq3

Havfarm ฟาร์มแซลมอนกลางทะเลนอร์เวย์ที่ออกแบบเพื่อประมงยั่งยืน

ประเทศไหนส่งออก ‘ปลาแซลมอน’ มากที่สุดในโลกกันนะ? คำถามนี้เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ หลังจากที่เราสังเกตเห็นกระแสการกินปลาแซลมอนในไทยและทั่วโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แถมดูไม่มีท่าทีลดลงเลย เมื่อลองหาข้อมูลจึงพบว่า ‘นอร์เวย์’ คือประเทศอันดับหนึ่งที่ผลิตและส่งออกเจ้าปลาเนื้อสีส้มมากที่สุด หรือคิดเป็น 47.2 เปอร์เซ็นต์ของการส่งออกแซลมอนทั่วโลก นอกจากจะยืนหนึ่งในตลาดส่งออกปลาแซลมอน นอร์เวย์ยังเป็นหนึ่งในประเทศที่มีนโยบายและกฎระเบียบด้านการประมงที่เข้มงวดที่สุดในโลก ครอบคลุมตั้งแต่การกำหนดโควตาการจับปลา การปกป้องลูกปลาวัยอ่อน รวมไปถึงการส่งหน่วยลาดตระเวนตรวจสอบกิจกรรมการตกปลา เพื่อรักษาระบบนิเวศและสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อมใต้ทะเล วันนี้ Urban Creature จะพาทุกคนไปรู้จัก ‘Havfarm’ ฟาร์มปลาแซลมอนขนาดใหญ่กลางทะเลนอร์เวย์ที่ออกแบบจากแนวคิดและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่าฟาร์มปลานอกชายฝั่งแห่งนี้จะเป็น Game Changer ของอุตสาหกรรมปลาแซลมอนในนอร์เวย์ ที่มุ่งเพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด แนวคิดเบื้องหลังการออกแบบ Havfarm คืออะไร และโปรเจกต์นี้จะมีส่วนในการปฏิวัติอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของนอร์เวย์อย่างไรบ้าง เราขอชวนทุกคนขึ้นเรือมุ่งหน้าออกทะเลไปสำรวจพร้อมๆ กัน ทำไมต้องฟาร์มแซลมอนกลางทะเล? ย้อนไปเมื่อปี 2015 Nordlaks บริษัทเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเก่าแก่ของนอร์เวย์มีแนวคิดริเริ่มโครงการ Havfarm เพื่อเตรียมรับมือกับความต้องการบริโภคสัตว์น้ำที่เพิ่มขึ้นแบบฉุดไม่อยู่ ซึ่งรายงานจากโครงการ Blue Food Assessment ได้คาดการณ์ว่า ความต้องการบริโภคสัตว์น้ำทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าในช่วงราว 3 ทศวรรษต่อจากนี้ (ระหว่างปี […]

บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 5 ยี่ห้อ จับมือขอขึ้นราคา 1 – 2 บาท หลังแบกต้นทุนการผลิตไม่ไหว

หลังจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภค รวมถึงอัตราค่าโดยสารสาธารณะพากันยกขบวนพาเหรดขึ้นราคาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี ล่าสุดอาหารยังชีพคู่บ้านคนไทยอย่าง ‘บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป’ ก็ทนแบกต้นทุนไม่ไหว จ่อขึ้นราคาตามมาติดๆ ความเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นหลังจากที่เช้านี้ วันที่ 16 สิงหาคม 2565 บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 5 ยี่ห้อ ได้แก่ ยำยำ ไวไว มาม่า นิสชิน และซื่อสัตย์ ได้จับมือกันเข้าหารือกับกรมการค้าภายใน (คน.) เพื่อชี้แจงถึงต้นทุนในการผลิตที่สูงขึ้นจากเดิมหลายเท่าตัว และขอปรับราคาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปขึ้นซองละ 1 – 2 บาท เป็นการร่วมกันเฉพาะกิจที่เห็นได้ไม่บ่อยนักในอดีต  หลังจากหลายเดือนก่อนหน้านี้ ผู้ผลิตแต่ละยี่ห้อต่างมีการยื่นขอปรับราคาขึ้น เพราะภาระต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะวัตถุดิบหลักในการผลิตอย่าง แป้งสาลีและน้ำมันปาล์มที่ราคาเพิ่มสูงขึ้นหลายเท่าตัว บุญชัย โชควัฒนา ประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคในเครือสหพัฒน์ กล่าวว่า ทางแบรนด์ได้มีการยื่นขออนุมัติต่อกรมการค้าภายในมาสักพักแล้ว เพื่อขอปรับขึ้นราคาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยี่ห้อ ‘มาม่า’ และ ‘ซื่อสัตย์’ ขึ้น 2 บาทต่อซอง จาก 6 บาท เป็น […]

ย้อนรอยตลาดเก่าแก่กลางพระนคร ก่อน ‘ท่าเตียน’ จะเปลี่ยนแปลง

‘ท่าเตียน’ ย่านที่คุ้นหูของคนมาแทบทุกรุ่น อย่างคนรุ่นเก่าหน่อยอาจจะรู้จักว่าเป็นตลาดค้าส่ง ส่วนคนรุ่นหลังมาน่าจะนึกถึงพวกของทะเลแปรรูปที่มีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์ ขณะที่ทุกวันนี้ท่าเตียนกลายเป็นเพียงทางผ่านของนักท่องเที่ยวและท่าเรือข้ามฟาก  แต่จริงๆ แล้วที่นี่เป็นชุมชนชาวจีนเก่าแก่ที่มีความเป็นมายาวนานพอๆ กับกรุงเทพฯ ตั้งอยู่ในทำเลแทบจะใจกลางเกาะรัตนโกสินทร์ โดยซ่อนตัวอยู่เบื้องหลังของอาคารแบบตะวันตกสีเหลืองอายุกว่าร้อยปี ที่เรียงแถวโดดเด่นคู่กับพระบรมมหาราชวังและวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) จนหลายคนยามได้ไปเดินทอดน่องเตร็ดเตร่โซนเมืองเก่า อาจจะเดินผ่านไปมาโดยไม่รู้ว่ามีตลาดและบ้านเรือนอยู่ด้านใน ในวันที่กระแสการพัฒนาและความเจริญถาโถมเข้าสู่ย่านเมืองเก่าต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ท่าเตียนเป็นหนึ่งในย่านที่สายลมนั้นพัดผ่าน เราเดินลัดเลาะเข้าตรอกเล็กๆ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมกับชาวท่าเตียนที่เกิดและโตที่นี่ พาสำรวจร้านค้าต่างๆ ที่ยังหลงเหลืออยู่คู่กับตลาดเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อพูดคุยเรื่องการเปลี่ยนแปลง และการปรับตัวของร้านกับคนในชุมชนตั้งแต่อดีตจนถึงทุกวันนี้-วันที่ท่าเตียนกำลังเผชิญการปรับปรุงครั้งใหญ่อีกครั้ง ย่านการค้าเก่าแก่ ผู้คนจอแจเดินขวักไขว่ การขนถ่ายสินค้าขึ้นลงจากเรือที่มาจากทั่วสารทิศ เป็นภาพที่คนรุ่นปัจจุบันไม่ทันเห็น แต่ความทรงจำนี้ยังแจ่มชัดอยู่ในความนึกคิดของชาวท่าเตียน ‘เฮียหมึก-พจน์ตะวัน ชินนาสวัสดิ์’ คือหนึ่งในประจักษ์พยานที่ทันเห็นท่าเตียนในเวอร์ชันดั้งเดิม วันที่ตลาดยังไม่เงียบเหงา และการค้ายังไม่ซบเซาเช่นทุกวันนี้ “ตอนผมเด็กๆ ทุกแผงมีการค้าหมด ไม่ได้เงียบๆ แบบนี้ ขายสารพัด ทั้งผักผลไม้ ของอุปโภคบริโภค” รองประธานชุมชนท่าเตียนชวนย้อนวันเวลา ตรงตำแหน่งที่ตั้งของท่าเตียนแต่เดิมนั้น เป็นที่อยู่ของชุมชนชาวจีนและญวนมาตั้งแต่ก่อนหน้าจะสร้างกรุงเทพฯ ด้วยที่ตั้งที่อยู่ริมฝั่งน้ำ ทำให้สินค้าจากที่ต่างๆ มาลงตรงนี้ ก่อนพัฒนาเป็นตลาดค้าส่งที่สำคัญของกรุงเทพฯ ในยุคสมัยหนึ่ง ทว่าท่าเตียนในวันนี้มีเพียงซอยเดียวที่ยังมีการค้าขาย ลูกค้าที่มาซื้อก็บางตา แผงที่เหลือปิดไปเยอะเกินครึ่ง บ้างถูกใช้เป็นที่เก็บของ เช่นเดียวกับอาคารบ้านเรือนรอบๆ […]

ชวนดูสารคดี I AM GRETA และพูดคุยประเด็นวิกฤตโลกร้อนใน 3 จังหวัดทั่วไทย ส.ค. – ก.ย. 65

ใครที่สนใจประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม เราขอชวนทุกคนไปเปิดมุมมองใหม่และแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านกิจกรรม ‘CCCL Film Tours 2022’ ในเทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน (CCCL Film Festival) โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุน Canada Fund for Local Initiatives (CFLI)  ภายในงานจะจัดฉายภาพยนตร์สารคดีเรื่อง ‘I AM GRETA’ ที่บอกเล่าเรื่องราวของ ‘เกรียตา ทุนแบร์ย’ นักเคลื่อนไหวทางด้านสภาพภูมิอากาศชื่อดังของโลก ผ่านฟุตเทจทั้งมุมที่แข็งแกร่งและอ่อนไหวของเธอ ซึ่งไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน เราเชื่อว่าการออกมาเรียกร้องและแสดงจุดยืนเกี่ยวกับปัญหาโลกร้อนของเกรียตาจะสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนทั่วโลกลุกขึ้นมาเรียกร้องให้สังคมและรัฐบาลทั่วโลกตระหนักต่อความสำคัญของวิกฤตโลกร้อน นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมสนทนาประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในมิติต่างๆ ร่วมกับเยาวชน คนทำหนัง รวมไปถึงผู้ขับเคลื่อนสังคมด้านสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสิทธิมนุษยชน เพื่อสะท้อนเสียงของกลุ่มคนหลากหลายในสังคมต่อประเด็นนี้ CCCL Film Tours 2022 จัดขึ้นระหว่างช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน 2565 ใน 3 จังหวัดทั่วไทย ได้แก่ 20 สิงหาคม 2565 ที่ Punspace Tha Phae Gate จังหวัดเชียงใหม่27 […]

เตรียมปิดตำนานบ้าน Parasite หลังเกิดเหตุน้ำท่วมใหญ่ในกรุงโซลจนมีคนเสียชีวิตในบ้านชั้นใต้ดิน

เมื่อเกิดเหตุน้ำท่วมในประเทศไทย เรามักเห็นภาพผู้คนรอความช่วยเหลือบนหลังคาบ้าน แต่ในประเทศเกาหลีใต้ หลายครอบครัวไม่มีหลังคาให้นั่งพักเช่นนั้น แถมยังเข้าถึงการช่วยเหลือได้ยาก เพราะผู้คนจำนวนไม่น้อยพักอาศัยอยู่ในบ้านชั้นใต้ดินหรือกึ่งใต้ดินของแฟลตต่างๆ สภาพความเป็นอยู่ที่ย่ำแย่นี้เห็นได้ชัดเจนขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังกรุงโซลเจอฝนถล่มหนักสุดในรอบ 80 ปี ทำให้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมสูงในหลายพื้นที่ น้ำทะลักลงรถไฟฟ้าใต้ดิน จนการคมนาคมหลายเส้นทางต้องหยุดชะงัก ที่แย่ไปกว่านั้นคือ อุทกภัยครั้งนี้ยังส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 3 รายในแฟลตกึ่งใต้ดินหรือที่เรียกว่า ‘พันจีฮา (Banjiha)’ บ้านของครอบครัวชนชั้นปรสิตแบบที่หลายคนเคยเห็นจากภาพยนตร์ ‘Parasite’ ความสูญเสียครั้งนี้เกิดขึ้น ทั้งๆ ที่เหยื่อได้ขอความช่วยเหลือไปแล้ว แต่ทางหน่วยกู้ภัยไม่สามารถเข้าไปช่วยได้ เนื่องจากน้ำท่วมทะลักเข้าไปจนเต็มพื้นที่บ้าน  กลายเป็นประเด็นที่ทำให้คนกลับมาพูดถึงบ้านพันจีฮาอีกครั้ง ทั้งในเรื่องความเหลื่อมล้ำและความไม่เท่าเทียมของรายได้ ที่ทำให้ครอบครัวรายได้น้อยต้องอาศัยอยู่ในบ้านพักราคาถูก อีกทั้งยังมีสภาพความเป็นอยู่ที่ย่ำแย่และอันตรายด้วย รายงานของสำนักข่าวยอนฮับเปิดเผยว่า ทางกรุงโซลเตรียมหารือกับรัฐบาลในการแก้ไขกฎหมายเพื่อสั่งห้ามใช้พันจีฮาเป็นที่พักอย่างเด็ดขาด โดยทางการจะให้เวลากับเจ้าของแฟลตเป็นเวลา 20 ปี สำหรับการเปลี่ยนห้องใต้ดินหรือกึ่งใต้ดินเป็นพื้นที่สำหรับใช้ในกรณีอื่น เช่นห้องเก็บของหรือที่จอดรถ ส่วนผู้เช่าพันจีฮานั้น ทางเจ้าหน้าที่ก็จะสนับสนุนเพื่อย้ายไปอยู่ในบ้านเช่าสาธารณะต่อไป พันจีฮากลายเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกตั้งแต่ภาพยนตร์ ‘Parasite’ ของผู้กำกับ ‘บงจุนโฮ’ ออกฉายครั้งแรกในปี 2019 หนังเรื่องนี้เล่าถึงครอบครัวยากจนในเกาหลีใต้ที่อาศัยอยู่ในบ้านชั้นใต้ดิน พวกเขาต้องดิ้นรนและเอาตัวรอดด้วยการสวมรอยเข้าไปทำงานในบ้านของมหาเศรษฐียกครอบครัว Parasite ได้รับคำวิจารณ์เชิงบวกมากมายเกี่ยวกับการนำเสนอประเด็นปัญหาสังคมและความเหลื่อมล้ำในกรุงโซล จนสามารถคว้ารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปีจากเวทีออสการ์ในปี 2020 มาครอง ข้อมูลในปี 2020 เปิดเผยว่า […]

Fantaci (ty) ความเหมือนกันของความแปลกแยกแตกต่าง

อสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยมนุษย์ ไม่ว่าจะเพศ อายุ สถานะ หรืออะไรก็ตามแต่ ไม่ว่าที่ไหนก็มีภาพสะท้อนของกันและกัน ในโลกใบเล็กแคบเดียวกัน นั่นจึงทำให้เราเลือกนำเสนอภาพถ่ายเป็นแบบคอลลาจ

‘Happy Left Hander’s Day’ 10 นวัตกรรม ที่ทำมาเพื่อคนถนัดซ้าย

**เนื้อหาและกราฟิกของบทความนี้ทำขึ้นโดยเหล่ามนุษย์ถนัดซ้าย ไหนใครถนัดซ้ายบ้าง ยกมือซ้ายขึ้น! ตอนนี้ได้เวลายืดอกแล้วบอกกับคนอื่นไปอย่างมั่นใจว่าเรา ‘ถนัดซ้าย’ แล้ว  เพราะวันนี้หรือวันที่ 13 สิงหาคมของทุกปี กำหนดให้เป็น ‘วันคนถนัดซ้ายสากล’ เพื่อเฉลิมฉลองให้คนที่ถนัดซ้ายทั่วโลก และบอกกับสังคมว่าเราไม่ได้แตกต่างไปจากคนทั่วไปที่ถนัดขวาเลย ในฐานะที่เป็นคนถนัดซ้ายมาตลอดทั้งชีวิต การถนัดซ้ายถือเป็นเรื่องแสนจะน่าภูมิใจสำหรับเรา เพราะการใช้ชีวิตด้วยอุปกรณ์ของคนถนัดขวา ที่สร้างโดยคนถนัดขวา เพื่อคนถนัดขวา มันช่างชาเลนจ์การใช้ชีวิตประจำวันเสียเหลือเกินเชื่อว่าชาวถนัดซ้ายหลายคนคงจะมีวิธีพลิกแพลง หรือทริกสนุกๆ สำหรับการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ที่ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อเราอย่างถูกต้องกันอยู่ไม่น้อย ช่วงแรกอาจจะหงุดหงิด ไม่ชินมือกันบ้าง แต่สักพักก็ใช้งานได้เป็นปกติ แต่จะดีกว่าไหม ถ้ามีของที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานของคนถนัดซ้ายจริงๆ โดยไม่ต้องลำบากคิดวิธีใช้ใหม่ให้ยุ่งยาก วันนี้เราจึงขอหยิบ 10 นวัตกรรมของใช้ในชีวิตประจำวันที่ออกแบบมาสำหรับคนถนัดซ้ายมาฝากกัน เผื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ทำให้คนถนัดซ้ายรู้สึกว่าโลกนี้ไม่โหดร้ายกับเราจนเกินไป 10 นวัตกรรมสำหรับคนถนัดซ้ายที่เราคัดสรรมามีอะไรบ้าง ไปติดตามพร้อมกันได้เลย! ปากกาน้ำหมึกแห้งไว | ออกแบบตามสรีรศาสตร์ ตั้งแต่เด็กจนโต สิ่งที่ดูเป็นปัญหาสำหรับคนถนัดซ้าย ที่ใครหลายคนตอบเป็นเสียงเดียวกันคือ ‘ปากกา’ ไม่ว่าจะเป็นปากกาแบบไหน ลูกลื่น หมึกเจล หรือหมึกซึม คนถนัดซ้ายก็ทะเลาะด้วยมาแล้วเกือบทั้งนั้น เพราะปากกาที่โฆษณาว่าหมึกแห้งไว ก็ยังไม่ไวเท่ากับสันข้อมือของเราอยู่ดี การเห็นหมึกสีน้ำเงินบ้าง แดงบ้าง ดำบ้าง ติดอยู่ที่มือกลายเป็นเรื่องปกติของชาวถนัดซ้าย แต่ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป เพราะปัจจุบันมีปากกาสำหรับพวกเราโดยเฉพาะแล้ว […]

ฝนตกใหญ่ น้ำท่วมฉับพลัน ทำไมระบบรถไฟฟ้าใต้ดินของไทยถึงน้ำไม่ท่วม

ที่ผ่านมา หลายคนคงได้เห็นข่าวที่ฝนตกหนักจนน้ำท่วมเข้าไปในระบบรถไฟฟ้าของหลายประเทศ เช่น จีน อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และล่าสุดคือกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ที่ชาวเน็ตพากันแชร์คลิปน้ำท่วมไหลบ่าจากพื้นดินสู่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ไปจนถึงสิ่งก่อสร้างภายในที่ได้รับความเสียหายจากน้ำที่ซึมผ่านเข้ามา เห็นเหตุการณ์แบบนี้ เราเลยสงสัยว่าไทยเองก็น้ำท่วมบ่อย แถมเมื่อปี 2554 กรุงเทพฯ เองก็เจอน้ำท่วมใหญ่นานเป็นเดือนๆ จนหลายคนถึงขนาดต้องทิ้งบ้านทิ้งรถหนีน้ำย้ายไปอยู่ที่อื่นชั่วคราว แล้วระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) บ้านเราเป็นยังไงบ้างนะ จะโดนน้ำท่วมหรือได้รับผลกระทบแบบที่ประเทศอื่นเจอหรือไม่ หลังจากหาข้อมูลและสอบถามคนกรุงเทพฯ รอบตัว ผลปรากฏว่า ระบบรถไฟฟ้าใต้ดินบ้านเราไม่เคยมีน้ำท่วมแบบที่ต่างประเทศประสบเลย นั่นเพราะ MRT ไทยมีมาตรการและระบบป้องกันน้ำท่วมที่ออกแบบมาแล้ว ทำให้ไม่ว่าจะฝนตกหนักแค่ไหน หลายพื้นที่ประสบน้ำท่วมจนต้องดับรถ เดินลุยน้ำสูงระดับเอว ผู้ใช้งานที่ติดอยู่ในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน จะไม่ประสบกับน้ำท่วมไหลบ่าเข้ามาในสถานีจนเป็นอันตรายต่อชีวิตแน่นอน คอลัมน์ Curiocity จึงอยากชวนไปดูเบื้องหลังมาตรการความปลอดภัยของ MRT ในไทย ว่าทำไมเราถึงไม่ต้องกังวลว่าจะประสบภัยแบบที่ต่างประเทศพบเจอ ก่อนอื่นชวนมาทำความเข้าใจก่อนว่า ด้วยความที่กรุงเทพฯ มักประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่บ่อยๆ ทำให้ระบบรถไฟฟ้า MRT มีการออกแบบโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและป้องกันน้ำท่วมภายในสถานีกับอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินไว้ตั้งแต่แรกแล้ว โดยใช้ค่าระดับน้ำท่วมสูงสุดในรอบ 200 ปีของกรุงเทพฯ เป็นเกณฑ์ในการออกแบบทางเข้า-ออก และช่องเปิดต่างๆ เพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้า  การยกระดับทางเข้า-ออกสถานี ปล่องระบายอากาศ และช่องเปิดต่างๆ MRT […]

HARSHTAG #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา รวมเรื่องสั้นที่อยากชวนให้ทุกคนเลิกเหยียดและคุกคามกันได้แล้ว

โดนพ่อแม่ลงรูปถ่ายในเฟซบุ๊กโดยไม่ขออนุญาต เพื่อนพากันแซวและนินทารูปร่างหน้าตาเราในรูปที่โพสต์ลงโซเชียลมีเดีย เจอใครไม่รู้มาปล่อยเฟกนิวส์เราในอินเทอร์เน็ต ทั้งหมดนี้คือเหตุการณ์ที่เหล่านักเขียนหยิบเอามาสร้างเป็นเรื่องแต่ง (ที่หลายคนอาจเจอในชีวิตจริง) ในรวมเรื่องสั้น ‘HARSHTAG #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา’ ของสำนักพิมพ์แซลมอน หนังสือเล่มนี้เป็นเสมือนบันทึกที่ถ่ายทอดความเจ็บปวดแห่งยุคสมัย โดยได้รับแรงบันดาลใจจากสัญญาใจที่ชวนให้ผู้คนหยุดการไซเบอร์บุลลี่ ตั้งแต่การวิจารณ์รูปร่าง การคุกคามทางเพศ การเหยียดเพศ ไปจนถึงการละเมิดความเป็นส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสั้นว่าด้วยบทสนทนาที่ลูกสาวไม่พอใจที่ครอบครัวโพสต์รูปเธอบนเฟซบุ๊ก โดย นริศพงศ์ รักวัฒนานนท์ หญิงสาวที่สงสัยว่าคนใกล้ตัวปลอมแอ็กเคานต์ในแอปฯ เป็นเธอ โดย โชติกา ปริณายก ข้อขัดแย้งของคนในครอบครัวที่มีต่อคุณยายที่เปิดแชนเนลเล่าเรื่องเสียว โดย จิรัฏฐ์ ประเสริฐทรัพย์ นิยายแชตที่บอกเล่าความรุนแรงของการปล่อยคลิปหลุดโดยที่เจ้าตัวไม่ยินยอม โดย ตัวแม่* ไปจนถึงการ์ตูนสะท้อนความเจ็บปวดของอินฟลูเอนเซอร์ที่ได้รับคอมเมนต์รุนแรงหยาบคาย โดย สะอาด หลังอ่านจบ เราพบว่ามีหลายส่วนของหลายเรื่องสั้นที่ทำให้เรานึกย้อนกลับไปถึงพฤติกรรมของตัวเองและคนที่เคยพบเจอ ว่าเราเคยทำอะไรแบบนี้กับใครไหม หรือเราเคยโดนใครไซเบอร์บุลลี่บ้างหรือเปล่า แล้วตอนนี้เรายังทำแบบนั้นอยู่หรือไม่ ทั้งที่ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจให้ใครเจ็บปวดก็ตาม ขณะเดียวกัน แม้ว่าหนังสือเล่มนี้คนอ่านจะเป็นใครก็ได้ แต่สำหรับเรามองว่าคนอ่านวัยรุ่นน่าจะอินหรือรู้สึกแทงใจเป็นพิเศษ และคงดีไม่น้อยถ้าพวกเขาอ่านแล้วตระหนักถึงความรุนแรงของการกระทำเหล่านี้ รวมถึงพยายามชักชวนกันให้หยุดการไซเบอร์บุลลี่ในสังคม ทำความเข้าใจเรื่องไซเบอร์บุลลี่ผ่านเรื่องสั้นอ่านสนุกได้ที่ salmonbooks.net/book/harshtag/ (200 บาท)

ชวนแม่ฟังดนตรี ดูแสงสีเสียง กับกิจกรรม Music for Mom ที่สวนเบญจกิติ 12 – 13 ส.ค. 65

วันแม่ปีนี้ ใครยังไม่มีแพลนไปไหน เราอยากแนะนำให้ทุกคนชวนคุณแม่ออกจากบ้านไปฟังดนตรีเพราะๆ ท่ามกลางบรรยากาศร่มรื่นกับกิจกรรม ‘Music for Mom’ บริเวณริมสวนเบญจกิติ ที่มาพร้อมการแสดงโดยวงออร์เคสตราและศิลปินนักร้อง เช่น ตู่ ภพธร, มาเรียม B5, Immanuel String Orchestra เป็นต้น ไฮไลต์ของงานนี้คือ ผู้เข้าร่วมจะได้ชมศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์โฉมใหม่ก่อนใครผ่านการแสดงแสง สี เสียง (Lighting Show) บนตัวอาคารศูนย์ฯ สิริกิติ์ ที่เคล้าคลอไปกับเสียงดนตรียามเย็น รับรองว่านี่จะเป็นอีกรูปแบบของงานดนตรีในสวนที่แตกต่างจากงานครั้งก่อนๆ แน่นอน Music for Mom เป็นกิจกรรมที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ร่วมกับกรุงเทพมหานคร จัดขึ้นเพื่อต้อนรับศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ที่จะกลับมาเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในเดือนกันยายนปีนี้ หลังจากปิดปรับปรุงแบบจัดเต็มนานเกือบ 3 ปี ใครอยากรู้ว่าแนวคิดเบื้องหลังการรีโนเวตศูนย์ฯ สิริกิติ์คืออะไร การตกแต่งจะสวยและน่าสนใจขนาดไหน อ่านเพิ่มเติมได้ที่ urbancreature.co/queen-sirikit-national-convention-center กิจกรรม Music for Mom จัดขึ้นในวันที่ 12 – 13 สิงหาคม 2565 ที่สวนเบญจกิติ […]

เมืองจะทำยังไงเมื่อผู้สูงอายุเต็มเมือง กับ อาจารย์ษัษฐรัมย์ | Unlock the City EP.07

คนส่วนใหญ่มักหวาดกลัวความแก่ชรา ความจริงแล้วสิ่งที่เรากลัวนั้นอาจไม่ใช่การที่อายุมากขึ้นหรือร่างกายเสื่อมลง แต่เป็นการที่ ‘แก่’ แล้ว ‘จน’ เพราะไม่มีรัฐสวัสดิการรองรับ อีกทั้งโครงสร้างพื้นฐานของเมืองก็ไม่สนับสนุนให้ผู้สูงวัยใช้ชีวิตด้วยตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในที่สุด เมืองไทยก็เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว หลังจากที่เมื่อปีที่แล้วจำนวนประชากรผู้สูงอายุแซงหน้าประชากรเด็ก นั่นแปลว่าถึงเวลาแล้วที่เมืองควรหันมาใส่ใจการออกแบบให้รองรับการใช้ชีวิตของประชาชนที่มีอายุมากขึ้นสักที ‘พนิต ภู่จินดา’ โฮสต์ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมือง และ ‘ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี’ อาจารย์จากวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้สนใจ ศึกษา และเรียกร้องรัฐสวัสดิการ จะมาแลกเปลี่ยนความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมผู้สูงอายุกับการออกแบบเมืองที่สอดรับกันใน Unlock the City ตอนนี้ ติดตามฟัง Urban Podcast ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/9GjOj5W_xsg Spotify : https://spoti.fi/3QijmP0069824aa0 Apple Podcasts : https://apple.co/3dge3km Podbean : https://bit.ly/3SCKObz

1 133 134 135 136 137 355

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.