
LATEST
‘Treecard’ บัตรเดบิตรักษ์โลกจากไม้เชอร์รีและพลาสติกรีไซเคิล ที่ปลูกต้นไม้จากการใช้จ่ายของบัตร
เมื่อคนทั่วโลกหันมาใช้จ่ายเงินในรูปแบบ Cashless เพื่อลดการสัมผัสและการใช้เงินสด สิ่งหนึ่งที่เราอาจคาดไม่ถึงว่าอาจเป็นปัญหาคือ ขยะพลาสติกจากการผลิตบัตรเครดิตและเดบิต เพื่อแก้ปัญหาการใช้บัตรพลาสติก ‘Treecard’ สตาร์ทอัปด้านฟินเทคในกรุงลอนดอน ได้พลิกโฉมบัตรเดบิตที่ปกติทำมาจากพลาสติก ด้วยการเปลี่ยนมาใช้วัสดุไม้จากต้นเชอร์รีและเสริมแกนของการ์ดให้แข็งแรงขึ้นด้วยขวดพลาสติกรีไซเคิล เพื่อทำให้ Treecard เป็นบัตรเดบิตที่แม้จะไม่แข็งแรงเท่าพลาสติก แต่ก็ไม่เปราะบางจนแตกหักง่าย Treecard กล่าวว่า ต้นเชอร์รีเพียงต้นเดียวในสหราชอาณาจักรใช้ทำบัตรเดบิตเพื่อส่งต่อให้ผู้ใช้งานได้มากกว่า 300,000 ใบ ซึ่งใช้ทรัพยากรน้อยกว่าบัตรพลาสติกรูปแบบเดิมหลายเท่า Treecard เป็นบัตรเดบิตที่เชื่อมต่อกับบัญชีธนาคารที่มีอยู่และใช้ชำระเงินแบบไร้สัมผัส (Contactless) ได้ทุกที่บนโลกที่รับบัตรมาสเตอร์การ์ด ไม่ต่างจากบัตรพลาสติกในอดีต และในขณะเดียวกันยังเชื่อมต่อกับกระเป๋าเงินดิจิทัลอย่าง Apple Pay, Google Pay และ Samsung Pay ตลอดจนทำงานร่วมกับบัญชี Venmo ได้ นอกจากนี้ 80 เปอร์เซ็นต์ของค่าธรรมเนียมการค้าจะมอบให้กับกองทุนปลูกป่า และทุกๆ การใช้งาน 50 ดอลลาร์สหรัฐ (1,740 บาท) โดยบัตร Treecard จะเปลี่ยนให้กลายเป็นต้นไม้จริงในพื้นที่กว่า 30 ประเทศทั่วโลก แถมผู้ถือบัตรยังติดตามการเจริญเติบโตของต้นไม้เหล่านี้ผ่านแอปพลิเคชันในชื่อเดียวกันบน iOS และ Android ได้ด้วย […]
ทำไมจู่ๆ คนเราถึงลุกขึ้นมาใช้ความรุนแรง UNDP ชวนสำรวจสารตั้งต้นความรุนแรง ที่ผลักให้หลายคนกลายเป็น ‘ผู้ก่อการร้าย’
เชื่อว่าทุกคนคงเคยเห็นภาพการก่อการร้ายและได้ยินข่าวการใช้ความรุนแรงของกลุ่มต่างๆ ผ่านสื่อ เราอาจคุ้นเคยกับภาพเจ้าหน้าที่เข้าจับกุมคนเหล่านั้นหลังก่อเหตุ แต่ถ้าหากเราย้อนเวลากลับไปได้ ก่อนที่ใครคนหนึ่งจะได้สถานะ ‘คนร้าย’ หรือ ‘ผู้ก่อการร้าย’ หากเราสำรวจหาเหตุผลเบื้องหลัง เราอาจพบสารตั้งต้นที่จะเปลี่ยนชีวิตพวกเขาไปตลอดกาล การป้องกันความรุนแรงจากอุดมการณ์สุดโต่ง (Preventing Violent Extremism) อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์การต่อต้านการก่อการร้ายระดับโลก (UN Global Counter-Terrorism Strategy) ที่จัดทำโดยองค์การสหประชาชาติ แนวทางนี้ไม่ได้มองบุคคลเป้าหมายเป็นศัตรูที่ต้องกำจัด แต่เน้นการจัดการและแก้ไขโครงสร้างสังคมที่ผลักผู้คนให้ลุกขึ้นมาใช้ความรุนแรง คำถามคือ ทำไมจู่ๆ คนเราถึงลุกขึ้นมาใช้ความรุนแรงล่ะ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ หรือ UNDP เสนอว่า เราต้องเข้าใจรากเหง้าของความรุนแรงที่ปรากฏออกมาเพื่อที่จะแก้ไขได้ตรงจุด ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอุดมการณ์ทางการเมือง การถูกเลือกปฏิบัติเพราะศาสนาหรือชาติพันธุ์ ความเหลื่อมล้ำ ความยากจน และการขาดโอกาสจากรัฐ ปัญหาเหล่านี้กระตุ้นให้ผู้ที่มีความคับข้องใจเลือกวิถีแห่งความรุนแรงเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้ในสภาวะปกติ แม้ว่าเราจะพูดคำว่า ‘ไม่เป็นไร’ กันจนติดปาก และพยายามจะ ‘สบายๆ’ กับทุกอย่าง แต่สังคมไทยกำลังเผชิญความขัดแย้งหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งด้านอัตลักษณ์ เช่น ที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ความขัดแย้งทางการเมืองจากมุมมองอันแตกต่าง และความขัดแย้งเรื่องปากท้องและการจัดสรรทรัพยากรที่ทำให้หลายชุมชนเกิดความคับแค้นใจเมื่อรู้สึกว่าเสียงของพวกเขาไม่ถูกรับฟัง และนำไปสู่การเรียกร้องและเดินขบวนอย่างสันติวิธี หากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องยังไม่ออกมารับฟังอย่างจริงใจและพูดคุยเพื่อหาทางออกร่วมกัน ในที่สุดพวกเขาก็อาจจะเลือกจับอาวุธและใช้ความรุนแรง UNDP ทำงานโดยใช้ข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based) ผ่านการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังสถานการณ์จากภาคประชาสังคมและพันธมิตรทางวิชาการ […]
สำรวจแสงสีกรุงเทพฯ ยามราตรี กับงาน Awakening Bangkok 2022 ที่ย่านเจริญกรุง วันนี้ – 25 ธ.ค. 65
อากาศเย็นมีน้อยต้องใช้สอยอย่างประหยัด บรรยากาศดีๆ แบบนี้ ไม่มีอะไรเพลิดเพลินไปกว่าการออกไปเดินเล่นถ่ายรูปชมแสงไฟที่งาน ‘Awakening Bangkok 2022’ อีกแล้ว ปีนี้ทุกคนจะได้พบกับงานศิลปกรรมไฟกว่า 40 ชิ้น จัดแสดงใน 22 โลเคชันทั่วย่านเจริญกรุง-ตลาดน้อย ภายใต้ธีม ‘Endless Tomorrow : เพื่อพรุ่งนี้ และตลอดไป’ เพื่อชวนทุกคนออกไปค้นหาคำตอบของ ‘ชีวิตในวันพรุ่งนี้’ ว่าเราจะใช้ชีวิตและปรับตัวอย่างไรถึงจะทนต่อความเปลี่ยนแปลง และทำให้โลกตลอดจนสิ่งรอบข้างอยู่ยืนยาวไปกับเรา อีกความพิเศษของงานครั้งนี้คือ ทางงานได้เพิ่ม 2 โลเคชันใหม่ ได้แก่ อาคาร East Asiatic ตึกเก่าอายุกว่าร้อยยี่สิบปีในซอยเจริญกรุง 40 และ Swan Hotel โรงแรมวินเทจในซอยเจริญกรุง 36 ให้ได้เพลิดเพลินกับแสงไฟในบรรยากาศแบบย้อนยุค ใส่ความเซอร์ไพรส์เข้าไปอีกด้วยผลงาน Projection Mapping ที่อิมพอร์ตมาจากเทศกาล i Light Singapore พิกัดที่ Warehouse 30 นอกจากนี้ยังมีบ้านสีเหลืองแห่งใหม่ข้างๆ อาคารไปรษณีย์กลาง ที่มีบาร์ให้แวะพักจิบเครื่องดื่มและนิทรรศการศิลปะบริเวณด้านบนชั้น 3 ให้ชมอีกด้วย […]
เส้นทางสู่ความมั่นคงทางอาหารของภาคใต้ ให้ผู้คนกินดี อยู่ดี ชีวิตเป็นสุขจังฮู้
เมื่อพูดถึง ‘ภาคใต้’ หลายคนคงนึกถึงดินแดนที่อุดมไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติ ภูมิประเทศที่ขนาบสองฝั่งด้วยทะเลอ่าวไทยและอันดามัน ภาคการเกษตรที่ปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างยางพาราและปาล์มมากที่สุดในไทย รวมไปถึงบรรดาอาหารปักษ์ใต้ที่ใครได้ลิ้มลองก็ต้องติดใจ เพราะรสชาติทั้งเผ็ด กลมกล่อม และจัดจ้านเป็นเอกลักษณ์แบบสุดๆ แต่รู้หรือไม่ว่า เบื้องหลังความอุดมสมบูรณ์ที่ทุกคนเห็น ภาคใต้เองก็มีปัญหาใต้พรมอย่าง ‘วิกฤตขาดแคลนอาหาร’ และ ‘อาหารไม่ปลอดภัย’ ซ่อนอยู่มานานหลายปี ซึ่งทำให้ชาวใต้จำนวนมากประสบปัญหาสุขภาพระยะยาว ส่วนเด็กๆ ในพื้นที่ก็ยังเผชิญภาวะทุพโภชนาการเฉียบพลันที่กระทบต่อการเจริญเติบโตทางร่างกายและการพัฒนาสมองของพวกเขาด้วย เพราะอยากให้ชาวใต้มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ภาคีเครือข่ายหลักของภาคใต้ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม หน่วยงานท้องถิ่น นักวิชาการ โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผ่านทางสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงได้ทำงานเพื่อพัฒนาและผลักดันประเด็นเรื่อง ‘ความมั่นคงทางอาหาร’ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการขับเคลื่อน 14 จังหวัดแห่งแดนใต้สู่ ‘ภาคใต้แห่งความสุข’ และยังได้นวัตกรรมจาก Thailand Policy Lab และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เข้ามาช่วยแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และกำหนดนโยบายที่ตอบโจทย์ประชาชน Urban Creature ขอพาไปหาคำตอบว่า ภาคใต้มีแนวคิดและแนวทางขับเคลื่อนเรื่องระบบอาหารอย่างไร เพื่อให้ประชาชนอยู่ดี กินดี มีความสุข และเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพได้อย่างยั่งยืน […]
อุณหภูมิโลกปี 2023 คาดว่าจะสูงเกิน 1.5°C
ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ประเด็น ‘ภาวะโลกร้อน’ เป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสนใจมากขึ้นทุกๆ ปี เนื่องจากองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization : WMO) เคยคาดการณ์ว่า ในช่วงปี 2017 – 2021 มีโอกาสที่อุณหภูมิโลกเฉลี่ยทั้งปีจะเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งความเป็นไปได้มีมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ แต่ล่าสุดจากข้อมูลรายงานคาดการณ์สภาพภูมิอากาศประจำปีของสหราชอาณาจักร (Global Annual to Decadal Climate Update) ในปี 2022 – 2026 รายงานว่า เดิมอุณหภูมิโลกเฉลี่ยอยู่ที่ 1.1 องศาเซลเซียส แต่ในอนาคตมีโอกาสที่อุณหภูมิโลกเฉลี่ยทั้งปีเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ส่วนความเป็นไปได้เพิ่มมากขึ้นถึง 50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว มากไปกว่านั้น WMO ยังกล่าวเสริมอีกว่า ในปี 2022 – 2026 จะมีช่วงเวลาหนึ่งที่อุณหภูมิอบอุ่นมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นมากถึง 93 เปอร์เซ็นต์ แม้ว่าตัวเลขอุณหภูมิจากเดิม […]
Spoiler Alert 2023 ปีแห่งการเริ่มต้นเตรียมพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา อย่างที่โรคระบาดมาเยือนให้ทั้งโลกหยุดนิ่งเป็นเวลากว่าสองปี บัดนี้ดูเหมือนว่าทุกอย่างจะกลับกลายเป็นปกติแล้ว แต่ความปกติที่ว่านั้นเป็นความปกติใหม่ หรือที่เรารู้จักกันดีในนาม New Normal สถานการณ์ของโลกได้ย้ำให้เห็นว่าทุกสิ่งอย่างไม่มีอะไรเหมือนเดิม 2022 มีเรื่องราวมากมายเกิดขึ้น บางอย่างดับสูญ และอีกหลากหลายปัญหายังคงเป็นสิ่งที่ต้องเดินหน้าแก้ไขกันต่อไป เรียกได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นสภาวะโลกร้อน สงครามของประเทศมหาอำนาจ เศรษฐกิจที่แปรผกผัน เกิดเงินเฟ้อ พลังงานลดน้อยลง ราคาข้าวของแพงขึ้น และสภาวะการขาดแคลนอื่นๆ อีกมหาศาล ซึ่งส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชากรโลกในทุกระดับ อีกไม่กี่วัน ปี 2022 จะเปลี่ยนหน้าปฏิทินใหม่เป็นปี 2023 จากปีเสือกลายเป็นปีกระต่าย Urban Creature เลยขอทำนายอนาคตบางเศษเสี้ยวด้วยข้อมูลจาก ‘Foresight’ หรือเครื่องมือช่วยฉายภาพฉากแห่งอนาคต ที่จะช่วยให้เรากำหนดอนาคตที่กำลังมาถึง โดยมองเห็นสัญญาณ แนวโน้ม รวมถึงปัจจัยการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้มากกว่าหนึ่งรูปแบบ และนี่คือหนึ่งรูปแบบที่เราชวนมอง ความเป็นอยู่ยุคใหม่เต็มไปด้วยความหลากหลายและค่านิยมที่เปลี่ยนไป สังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ และสภาพแวดล้อมรอบตัว ทุกอย่างที่กล่าวมาล้วนส่งผลต่อความเป็นอยู่ของผู้คน จากสถานการณ์โรคระบาดเมื่อสามปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนต้องพึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีล้ำสมัย เพื่อช่วยให้เข้าถึงความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตได้มากขึ้น ข้อมูลจาก FutureTales LAB by MQDC หรือศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา บอกว่า […]
ดุดันและใช้กำลังไฟ! T4 รถแทรกเตอร์ไฟฟ้าไร้คนขับ เสียงไม่ดัง และปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์
ภาคการเกษตรทั่วโลกกำลังเร่งพัฒนานวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อก้าวเข้าสู่ความยั่งยืนอย่างเต็มตัว ล่าสุดได้มีการเปิดตัว ‘รถแทรกเตอร์ไฟฟ้าอัตโนมัติ’ คันแรกของอุตสาหกรรมเกษตรโลก หวังเป็นต้นแบบของการทำเกษตรสีเขียวออกมาแล้ว ‘New Holland T4 Electric Power’ คือรถแทรกเตอร์ไฟฟ้าที่พัฒนาโดยบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์และบริการด้านการเกษตรระดับโลกอย่าง CNH Industrial ซึ่งทาง CNH มีเป้าหมายที่จะทำให้รถแทรกเตอร์รุ่นนี้ช่วยให้เกษตรกรทำงานได้อย่างสะดวกสบายและมีอิสระมากขึ้น ทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะเจ้ารถไถคันนี้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ สำหรับการใช้งาน รถแทรกเตอร์ T4 มีขนาดกำลังและแรงในการขับเคลื่อนอยู่ที่ 120 แรงม้า ด้วยความเร็วสูงสุด 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถ้าใช้งานปกติ แบตเตอรี่ของ T4 จะอยู่ได้ตลอดทั้งวัน แต่ถ้าวันไหนใช้งานเยอะเป็นพิเศษ ก็อาจต้องเติมแบตฯ ระหว่างวันบ้าง แต่ไม่ต้องกลัวเป็นปัญหาต่อการทำงาน เพราะใช้เวลาชาร์จเพียงหนึ่งชั่วโมงก็เต็มแล้ว แถมตัวรถยังมีแหล่งพลังงานสำรองสำหรับกรณีฉุกเฉินด้วย เทคโนโลยีที่น่าสนใจของ T4 คือกล้องและเซนเซอร์ที่ติดตั้งไว้ทั่วคัน ทำให้ขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องใช้คนขับ มากไปกว่านั้น เกษตรกรยังควบคุมรถแทรกเตอร์ได้จากสมาร์ตโฟน ทำให้พวกเขามอนิเตอร์รถรุ่นนี้ระหว่างทำงานอื่นๆ จากระยะไกลได้ ที่สำคัญ T4 ยังมีเสียงรบกวนลดลงถึง 90 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับรถแทรกเตอร์ทั่วไป เปิดโอกาสให้เกษตรกรทำงานในช่วงกลางคืนได้โดยไม่รบกวนสัตว์เลี้ยงหรือผู้คนในพื้นที่ใกล้เคียง รถแทรกเตอร์โมเดลใหม่จาก CNH […]
Urban Eyes 16/50 เขตจตุจักร
สารภาพว่าเราแอบช็อกหน่อยๆ ตอนหาข้อมูลเขตจตุจักร เพราะก่อนหน้านี้เราหาข้อมูลว่าเขตนี้ใหญ่ขนาดไหน ก็พบว่าไม่เท่าไหร่ แต่พอใกล้วันที่จะลงพื้นที่ ก็ลองมาหาข้อมูลเพิ่ม และพบว่าจริงๆ แล้ว Google โชว์แค่แขวงจตุจักรเท่านั้น ทั้งที่ทั้งเขตมันกว้างใหญ่มาก ตั้งแต่ตลาดนัดจตุจักรและสวนรถไฟ ยาวไปถึงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยศรีปทุม เราเลยต้องมาวางแผนการเดินใหม่ เขตจตุจักรเป็นหนึ่งในเขตของกรุงเทพฯ ชั้นในที่มีสวนสาธารณะที่ใหญ่สุดๆ ทั้งสวนจตุจักรที่ติดกับถนนกำแพงเพชร และสวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) ที่อยู่ข้างๆ กัน พื้นที่กว้างมาก อุปกรณ์ออกกำลังกายเพียบพร้อม มีถนนสำหรับจักรยานรอบสวน เส้นทางให้คนวิ่งสบายๆ รวมถึงเลนสำหรับเด็ก ยังไม่นับอุทยานผีเสื้อและแมลงที่ดึงดูดให้เด็กๆ ไปพักผ่อนที่สวน ใกล้ๆ กันก็มีพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพฯ ที่นี่ไม่ได้สตัฟฟ์เด็กไว้หรอกนะ แต่เป็นเหมือนสนามเด็กเล่นและแหล่งเรียนรู้สำหรับเด็ก ในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ จะมีตลาดนัดสวนจตุจักรที่อุดมไปด้วยร้านรวงมากมาย ตั้งแต่ขายอาหาร เสื้อผ้า ของมือหนึ่ง-มือสอง เฟอร์นิเจอร์ ของฝาก ฯลฯ แต่ถ้าไปวันพุธจะเป็นตลาดต้นไม้ ส่วนวันธรรมดาก็มีตึกแดงที่เป็นแหล่งรวมวัยรุ่น และ เจ.เจ.มอลล์ ช่วงห้าแยกลาดพร้าวก็มีทั้งเซ็นทรัล ลาดพร้าว และตึก Union Mall ที่รอบๆ มีตึกสีสดใส บวกกับรถแท็กซี่หลากสี พอหาซีนดีๆ ถ่ายรูปได้อยู่ มีอีกที่หนึ่งที่เราอยากชวนให้ทุกคนไปกัน […]
สหราชอาณาจักรผุดไอเดียรักษ์โลก ‘Reuser’ แก้วกาแฟจากน้ำมันพืชที่สามารถยืมใช้และส่งคืนได้ตามจุด
ในแต่ละวัน สหราชอาณาจักรมีแก้วกาแฟใช้แล้วกว่า 500,000 แก้วถูกทิ้งไว้ในถังขยะ เพราะไม่สามารถนำไปรีไซเคิลต่อได้ ด้วยเหตุนี้ ‘Reuser’ บริษัทในกรุงลอนดอนที่ให้ความสำคัญกับการใช้วัสดุแบบหมุนเวียน จึงจับมือกับ ‘IDC (Industrial Design Consultancy)’ บริษัทออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชั้นนำ และ ‘Naiad Plastics’ บริษัทขึ้นรูปพลาสติก เพื่อสร้างแก้วกาแฟจากวัตถุดิบที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ขึ้นมา ภายใต้ชื่อเดียวกับบริษัท Reuser เพื่อการใช้แบบหมุนเวียนภายในเมือง โดยมีเป้าหมายหลักคือลดปริมาณขยะในเมือง ส่งให้สหราชอาณาจักรกลายเป็นรายแรกที่ใช้พลาสติกชีวภาพชนิดใหม่นี้ในการแก้ปัญหาขยะจากแก้วกาแฟล้นโลก วัสดุที่ใช้ทำแก้ว Reuser คือ Bio-PP ‘Bornewables’ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ในการสร้างผลิตภัณฑ์ชีวภาพขึ้นจากพืช สาหร่าย หรือน้ำมันพืชใช้แล้ว จากนั้นจะนำไปกลั่นจนเป็นเม็ดพลาสติก ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการฉีดขึ้นรูปเป็นแก้วกาแฟและผลิตภัณฑ์ที่มีความแข็งแรง ทนทาน และใช้ซ้ำได้ สหราชอาณาจักรมีน้ำมันพืชเหลือใช้ค่อนข้างเยอะ จึงทำให้ทางบริษัทผลิตแก้ว Reuser ได้จำนวนมาก ส่งผลให้ราคาต้นทุนต่อหน่วยไม่ต่างกับการผลิตแก้วกระดาษในปัจจุบัน ซ้ำยังตรวจสอบย้อนกลับได้จนถึงจุดกำเนิด รวมถึงได้รับการรับรองคาร์บอนและการพัฒนาอย่างยั่งยืนระหว่างประเทศ จาก ISCC PLUS โดย International Sustainability and Carbon Certification (ISCC) อย่างครบถ้วน เมื่อได้รับแก้วชนิดนี้จากร้านกาแฟ […]
BAM Fest เทศกาลที่อยากสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้ไม้ไผ่ไทย ต่อยอดไปสู่ระดับโลก
ไผ่ เป็นพืชท้องถิ่นที่เราทุกคนคุ้นตากันเป็นอย่างดี สามารถพบเห็นได้บ่อยครั้ง ด้วยว่าไม้ไผ่นั้นได้ฝังรากอยู่กับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของเรามาอย่างช้านาน ตั้งแต่คราวบรรพบุรุษของเราที่รู้จักวิธีการนำไม้ไผ่มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างหลากหลาย ตั้งแต่ทำเป็นไม้จิ้มฟันยันสร้างบ้าน ปัจจุบันไม้ไผ่ยังได้รับการยกย่องให้เป็นวัสดุทางเลือกที่น่าสนใจ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นวัสดุที่ยั่งยืน (Sustainable Materials) ทำให้นักออกแบบทั่วโลกเริ่มหันมาสนใจใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุสร้างสรรค์งานจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ยังคงมีภาพจำเกี่ยวกับไม้ไผ่ว่าเป็นวัสดุที่ถูกใช้เพียงชั่วคราว ไม่คงทนเมื่อเทียบกับวัสดุอื่นๆ แต่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ทำให้ภาพจำเกี่ยวกับไผ่เช่นนั้นเริ่มไม่เป็นความจริงอีกต่อไป เมื่อนักวิจัยของประเทศจีนได้ค้นพบวิธีการที่สามารถนำไม้ไผ่มาใช้สร้างรถไฟความเร็วสูงได้สำเร็จ นี่คือความมหัศจรรย์ของไม้ไผ่ อนาคตของไม้ไผ่จึงไม่ได้เป็นแค่อาหารของหมีแพนด้าอีกต่อไป แต่ยังมีความเป็นไปได้ที่จะต่อยอดต่อไปได้อีกมาก ในวันที่เรากำลังเผชิญกับราคาวัสดุที่มีแนวโน้มแต่จะพุ่งสูงขึ้นในแต่ละปี ความเป็นไปได้ที่กำลังเกิดขึ้นกับไม้ไผ่ ทำให้คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สนใจหยิบไม้ไผ่ขึ้นมา และชักชวนให้ผู้คนหันกลับมาสนใจวัสดุท้องถิ่นของเรา และร่วมมือกันพัฒนาไม้ไผ่ในนามของ BAM Fest กำเนิด BAM Fest “ไม้ไผ่เป็นวัสดุที่น่ามหัศจรรย์มาก เป็นวัสดุในอุดมคติ (Ideal Materials) ที่ช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้ ด้วยความที่เป็นวัสดุจากธรรมชาติจึงทำให้มันเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้นไม้พื้นถิ่นที่หาได้ง่ายในประเทศของเรา ใช้เวลาในการปลูกจนโตใช้งานไม่นานเมื่อเทียบกับวัสดุไม้อื่นๆ ราคาก็ไม่แพงจนเกินไป เข้าถึงง่าย และยังมีความยั่งยืนด้วยการปลูกทดแทนได้ไม่ยาก ไม้ไผ่จึงกลายเป็นวัสดุทางเลือกที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ “การเกิดขึ้นของ BAM Fest เริ่มต้นมาจากที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มช. มีความสนใจในตัววัสดุไม้ไผ่และอยากจะทำให้คนอื่นๆ หันมาสนใจ เห็นศักยภาพ และมาร่วมมือช่วยกันสร้างนวัตกรรมและพัฒนาวัสดุนี้ให้ดียิ่งขึ้น […]
บ้านจากวัสดุชีวภาพหลังแรกของโลก BioHome3D ผลิตจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ หวังแก้วิกฤตที่อยู่อาศัย
วิธีการสร้างบ้านหลังหนึ่งนั้นมีหลายแบบ อย่างปัจจุบันนี้ก็มีนวัตกรรมการสร้างบ้านจากการพิมพ์ 3 มิติ ที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อรองรับการสร้างบ้านที่สะดวกรวดเร็วและง่ายดายมากขึ้น นักวิจัยจาก University of Maine Advanced Structures and Composites Center (ASCC) ร่วมกับภาคีเครือข่ายในประเทศสหรัฐฯ ได้ก้าวไปสู่นวัตกรรมขั้นต่อไปด้วยการเปิดตัว ‘BioHome3D’ บ้านพิมพ์ 3 มิติหลังแรกของโลกที่ทำจากวัสดุชีวภาพทั้งหมด บ้านต้นแบบหลังนี้มีขนาด 600 ตารางฟุต ประกอบด้วยพื้น ผนัง และโครงสร้างที่สร้างจากวัสดุหาได้ในท้องถิ่นอย่างเส้นใยไม้และเรซินชีวภาพ ทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยส่วนประกอบหลักที่เป็นฉนวนไม้ทั้งหลัง และมีระบบถ่ายเทความร้อนที่ปรับแต่งได้ นอกจากนี้ กระบวนการ 3D Printed ยังช่วยกำจัดขยะไม่ให้หลงเหลือระหว่างการก่อสร้างบ้านอีกด้วย BioHome3D จะได้รับการพิมพ์ขึ้นเป็นโมดูลจำนวน 4 ชิ้น และนำมาประกอบเข้าด้วยกันเป็นบ้านหนึ่งหลัง เสร็จสิ้นได้ภายในครึ่งวันเท่านั้น แถมใช้ไฟฟ้าในการทำงานเพียงสองชั่วโมง โดยมีช่างไฟฟ้าเพียงคนเดียวคอยดูแลกระบวนการนี้ ด้วยคุณสมบัติของบ้านต้นแบบนี้ จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯ ที่มีความต้องการสูงขึ้นหลายเท่าตัว ทั้งยังลดการใช้วัสดุประเภทคอนกรีต การปล่อยคาร์บอน และการใช้แรงงาน นับเป็นตัวช่วยแก้ปัญหาอุตสาหกรรมป่าไม้และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญ คนในประเทศยังเป็นเจ้าของบ้านในราคาที่เข้าถึงได้มากยิ่งขึ้น และด้วยความที่ BioHome3D ถูกสร้างขึ้นจากวัสดุชีวภาพทั้งหมด จึงทำให้รีไซเคิลได้ […]
DiStar Fresh Farm โรงงานปลูกผักระบบปิดที่ไม่ง้อฤดูกาลแห่งแรกในไทย
จะดีแค่ไหนถ้าเมืองไทยมีฟาร์มที่สามารถปลูกผักได้ตลอดทั้งปีโดยไม่ขึ้นกับฤดูกาล ส่วนผลผลิตยังปลอดภัยสูงและมีคุณภาพคงที่ด้วย แนวคิดนี้เกิดขึ้นจริงแล้วที่ DiStar Fresh Farm โรงงานผลิตพืชที่พลิกโฉมการปลูกผักในพื้นที่เปิดโล่งแบบเดิมๆ ให้เป็นการปลูกผักในฟาร์มแนวตั้ง ที่ควบคุมสภาพแวดล้อมได้ แถมยังสะอาดปลอดภัย เพราะไม่ต้องใช้ดินหรือยาฆ่าแมลง สะอาดถึงขั้นที่ว่าสามารถเก็บผักกินกันสดๆ จากต้นโดยไม่ต้องล้างเลย วันนี้ Urban Creature ขอพาทุกคนไปพูดคุยกับ ‘กฤษณะ ธรรมวิมล’ และ ‘สานสิน ศรีภิรมย์รักษ์’ เกษตรกรผู้อยู่เบื้องหลัง DiStar Fresh Farm ถึงแนวทางและปัจจัยสำคัญในการทำฟาร์มผักแนวตั้ง ที่จะช่วยสร้างความยั่งยืนให้แก่ภาคเกษตรกรรม และตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุคปัจจุบันมากขึ้น