เปิดช่องโทรทัศน์ไทย รายการเด็กหายไปไหนหมด

เมื่อนึกถึงวันวานเก่าๆ บรรยากาศชวนให้นึกถึงช่วงเวลาตอนเด็กที่คุณแม่ถักเปียให้ในตอนเช้าระหว่างที่เรากำลังนั่งดูรายการเจ้าขุนทองก่อนไปโรงเรียน ส่วนตอนเย็นหลังเลิกเรียน เมื่อกลับบ้านมาเปิดโทรทัศน์ก็จะมีรายการเด็กสลับสับเปลี่ยนให้ดูทุกวัน หรือแม้แต่วันเสาร์อาทิตย์ที่ยอมตื่นมาดูรายการสนุกๆ แต่เช้า  พอนึกย้อนกลับไปแล้วก็อดสงสัยไม่ได้ว่า เด็กยุคนี้จะเคยดูรายการต่างๆ ในโทรทัศน์เหมือนที่เราเคยดูในวัยเด็กบ้างไหมนะ แต่เมื่อลองเปิดโทรทัศน์และเปลี่ยนช่องไปเรื่อยๆ กลับพบว่า รายการเด็กที่เคยมีอยู่เกือบทุกช่องหายไปแทบจะหมดแล้ว ไม่ใช่แค่รายการเก่าๆ เท่านั้นที่หายไป แต่รายการใหม่ก็แทบจะไม่มีให้เห็นเลย  คอลัมน์ Curiocity จึงอยากชวนทุกคนมาหาคำตอบว่า ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้รายการโทรทัศน์สำหรับเด็กมีน้อยลงเรื่อยๆ และในอนาคตรายการประเภทนี้ยังจำเป็นสำหรับประเทศไทยหรือไม่ เนื้อหารายการเด็กที่ไม่เหมือนเดิม หากพูดถึงรายการสำหรับเด็ก หลายคนอาจมองว่าช่องโทรทัศน์ของไทยมีการ์ตูนให้ดูเยอะอยู่แล้ว ทว่ารายการเด็กที่เรากำลังพูดถึงไม่ใช่แค่สื่อเพื่อความสนุกหรือความบันเทิงเท่านั้น แต่หมายถึงรายการที่แฝงไปด้วยความรู้รอบตัวมากมายที่ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้และเสริมสร้างทักษะใหม่ๆ ให้แก่เด็ก  ตัดภาพมาที่รายการเด็กในตอนนี้ ถ้าไม่นับช่องการ์ตูนจากต่างประเทศ รายการอื่นๆ มักเน้นไปที่การแข่งขันโดยมีเด็กเป็นตัวหลักของรายการ เช่น การแข่งขันชิงรางวัลด้วยการร้องเพลงหรือเล่นเกม กลายเป็นว่ากลุ่มคนที่ดูรายการเหล่านี้กลับไม่ใช่เด็ก แต่เป็นผู้ใหญ่ที่อยากติดตามความน่ารักของเด็กๆ ที่ร่วมรายการแทน รายการเด็กทำกำไรได้ไม่ดี ในปี 2556 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้มีข้อกำหนดว่า ช่องโทรทัศน์ทุกช่องจะต้องมีรายการสำหรับเด็กที่มีเนื้อหาเหมาะสมและไม่เป็นภัยต่อการพัฒนาทั้งสติปัญญา อารมณ์ และสังคมของเด็กและเยาวชนอย่างน้อย 60 นาที ในช่วง 16.00 – 18.00 น. ของทุกวัน และ […]

Bangkok Street Noise สนับสนุนโปรเจกต์ดนตรีเพื่อให้เสียงดนตรีได้มีพื้นที่ในเมืองนี้ต่อไป

โปรเจกต์ ‘Bangkok Street Noise’ มีจุดเริ่มต้นมาจากความอยากเล่นดนตรี และเมื่อพื้นที่ดนตรีในเมืองนั้นมีน้อย ‘ป๊อก-วรรณฤต พงศ์ประยูร’ จึงรวบรวมเพื่อนคนดนตรีช่วยกันหาพื้นที่และเวที โดยใช้อุปกรณ์เครื่องเสียงแบบพกพา เคลื่อนย้ายกันง่ายๆ เปิดการแสดงดนตรียามแดดอ่อนของบ่ายวันอาทิตย์ไปจนถึงหัวค่ำ เพิ่มสีสันและสุนทรีย์ทางเสียงให้เมืองนอกเหนือจากเสียงการจราจร  ทางกลุ่มมีความตั้งใจว่าอยากให้การเล่นดนตรีเป็นอีกเรื่องธรรมดาของเมือง และเป็นอีกหนึ่งเสียงของความเรียบง่าย ที่หากใครผ่านไปผ่านมาก็สามารถเลือกที่นั่งชมนั่งฟังได้ตามอัธยาศัย ไม่เสียเงิน Bangkok Street Noise ใช้ประโยชน์จากพื้นที่สาธารณะที่ไม่ได้ใช้งาน ตั้งเวทีแบกะดินและไม่ได้เคลื่อนย้ายสิ่งใดๆ ในสถานที่เหล่านั้นนอกจากการเก็บขยะ ในแต่ละสัปดาห์จะมีวงดนตรีแนวทดลองหลากหลายสไตล์เพลงที่ได้รับการชักชวน มานำเสนอผลงานในสถานที่ที่ต่างกันออกไป เช่น ใต้สะพานทางด่วน เลียบคลอง ริมรางรถไฟ สวนทิ้งร้าง หรือบริเวณชุมชน ฯลฯ ปัจจุบัน Bangkok Street Noise เดินทางจัดงานกันมาถึง Street Gig ครั้งที่ 55 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม 2566 และทางกลุ่มได้ประกาศว่า ลำโพงที่ใช้งาน Street Gig มาเป็นเวลานานพังหมดแล้ว แต่พวกเขาก็ยังคงอยากพัฒนา Street Gig ให้เกิดขึ้นอีกในครั้งต่อไป เพื่อทำให้ชาวเมืองเข้าถึงดนตรีได้มากขึ้นอีกนานๆ […]

เสน่ห์ของจังหวัดชัยภูมิ และปัญหาดาร์กๆ ที่คนนอกพื้นที่ไม่ค่อยรู้ กับหมออุ๋ย | คนย่านเดียวกัน EP.6

‘อุ๋ย-ชุมพร ปานเปีย’ คือคุณหมอผู้ที่เติบโตและทำงานอยู่ในจังหวัดชัยภูมิ จังหวัดที่ใครหลายคนอาจนึกภาพบรรยากาศ ผู้คน และสถานที่ต่างๆ ในพื้นที่ไม่ออก เนื่องจากเป็นเมืองรองและไม่ได้มีความโดดเด่นในแง่สถานที่ท่องเที่ยวมากนัก ในฐานะคนทำงานใกล้ชิดกับชาวบ้านในพื้นที่ อุ๋ยจะพาไปสำรวจว่าจังหวัดนี้มีเสน่ห์อย่างไร รวมถึงมุมดาร์กๆ อย่างปัญหาการทำแท้งเถื่อน ที่เปลี่ยนมุมมองความคิดของหมออุ๋ยไปอย่างสิ้นเชิง ติดตามฟัง ‘คนย่านเดียวกัน’ ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/o5gsN70HjDA Spotify : http://bit.ly/3QFrXfG Apple Podcasts : http://bit.ly/3WcHS62 Podbean : http://bit.ly/3GF57zT

ร้านจัดดอกไม้ที่เปลี่ยนขยะให้มีคุณค่าอย่างยั่งยืน | Urban เจอนี่

“เราเห็นแต่ความสวยงามของดอกไม้ แต่ถ้าเรามองลงไปในรายละเอียดลึกๆ แล้ว มันก็สร้างมลพิษที่เราไม่ได้คิดถึงเหมือนกัน” หลายคนอาจไม่รู้ว่า ‘อุตสาหกรรมจัดดอกไม้ขาย’ คือหนึ่งในวงการที่สร้างปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ตั้งแต่การปลูกในปริมาณมากเพื่อรองรับความต้องการในโอกาสวันสำคัญ ซึ่งมาพร้อมกับการใช้ยาฆ่าแมลง การขนส่งเพื่อการส่งออกและนำเข้าดอกไม้ ที่ต้องใช้พลังงานและก่อมลพิษจำนวนมหาศาล นี่ยังไม่รวมถึงการใช้วัสดุประเภทพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งในการจัดดอกไม้แต่ละครั้ง เช่น โฟมและสารเคมีที่เป็นพิษ ปลายทางของช่อดอกไม้จึงกลายเป็นของที่กองกันเป็นภูเขาขยะ และปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณมาก Urban เจอนี่ ครั้งนี้อยากชวนทุกคนไปทำความรู้จัก Flower in Hand by P. ร้านจัดดอกไม้ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ด้วยการอัปไซเคิลขยะดอกไม้ให้เป็นสินค้าหลากหลาย ทั้งช่อดอกไม้แห้ง กรอบรูป และการ์ด ด้วยความหวังว่ากระบวนการนี้จะช่วยลดขยะและทำให้ดอกไม้มีคุณค่าอย่างยั่งยืน

Introvert’s City ถ้าเมืองนี้เป็นเมืองของมนุษย์อินโทรเวิร์ต

จะดีแค่ไหนถ้าเมืองของเราออกแบบให้เข้ากับมนุษย์ ‘Introvert’ มากขึ้น เพื่อให้การท่องเที่ยวในเมืองใหญ่ไม่สูบพลังชีวิต ต้องกลับมานอนติดห้องไปอีกหลายวัน จนหลายคนรู้สึกว่า เรานี่ช่างไม่เหมาะกับการออกไปข้างนอกซะเลย ทั้งที่ความจริงแล้ว สาเหตุที่ทำให้การออกจากบ้านของประชากร Introvert สูญเสียพลังงานมากกว่าชาว Extrovert นั้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะเมืองของเราไม่ได้ถูกออกแบบมาให้คำนึงถึงคนกลุ่มนี้เท่าไหร่นัก ทั้งที่ผลสำรวจของ The Myers-Briggs Company พบว่ามีผู้คนทั่วโลกมากถึง 56.8 เปอร์เซ็นต์เป็น Introvert ด้วยซ้ำ เพื่อให้การใช้ชีวิตในเมืองเป็นของทุกคน คอลัมน์ Urban Sketch ขออาสาออกแบบ ‘เมืองของมนุษย์อินโทรเวิร์ต’ ในรูปแบบของตัวเอง ที่ทำให้การออกจากบ้านของผู้คนกลุ่มนี้ไม่เป็นเรื่องยากจนเกินไป โดยเน้นที่การออกแบบพื้นที่ให้คำนึงถึงชาว Introvert มากขึ้น 01 | Private Zone in Public Space โดยปกติแล้ว พื้นที่สาธารณะหลายแห่งมักสร้างขึ้นเพื่อนำพาให้ผู้คนในสังคมออกมามีปฏิสัมพันธ์กัน แต่ถ้าหากเราอยากใช้พื้นที่สาธารณะไปพร้อมๆ กับความเป็นส่วนตัวและไม่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นมากจนเกินไปล่ะ สิ่งนี้อาจเป็นเรื่องยากไม่น้อยเลยทีเดียว เราจึงขอหยิบเอาแนวคิด ‘Private Zone in Public Space’ ที่เป็นเหมือนหลุมหลบภัยเล็กๆ ในพื้นที่ใหญ่ๆ มาตอบโจทย์ชาว Introvert […]

เต้นสวิงครั้งที่ 6 รับปีกระต่ายในงาน ‘สวิงในสวน Swing in the Park’ เสาร์ที่ 14 ม.ค. 66 ที่สวนรถไฟ

เมื่อปีที่แล้ว หนึ่งในความสนุกของเมืองคืองานสวิงในสวน ที่ไม่ว่าจะจัดกี่ครั้งก็มีผู้ไปร่วมกิจกรรมอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง ปีนี้ใครที่คิดถึงบรรยากาศแบบนั้น กิจกรรม ‘สวิงในสวน Swing in the Park’ ครั้งที่ 6 ก็เดินทางมาต้อนรับทุกคนเข้าปีกระต่ายอย่างหรรษาแล้ว แถมครั้งนี้ยังพิเศษกว่าเดิม เพราะนอกจาก ‘The Stumbling Swingout’ ผู้จัดงานเจ้าเก่า ก็ยังมีเพื่อนๆ นักเต้นสวิงเท้าไฟตบเท้าเข้ามารวมจอยน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นครูสุ ครูแพท จากโรงเรียน Jelly Roll Dance Club, DJ Ochit ผู้เชี่ยวชาญการเปิดเพลง Swing Jazz สำหรับนักเต้น, วง Sneh จากศิษย์เก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงน้องโฟ จากศิษย์เก่าคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใครสนใจโชว์สเต็ปเท้าไฟ ตารางแสดงมีดังนี้เลย แปะตารางมาขนาดนี้ เหล่านักเต้นสวิงทั้งหน้าเก่าและใหม่คงต้องรีบซ้อมเต้นให้พร้อม แล้วแหละ  งาน ‘สวิงในสวน Swing in the Park’ จัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 14 มกราคม […]

Laundry Holiday ร้านซักผ้า 24 ชั่วโมงในญี่ปุ่นที่อยากให้ลูกค้าได้สนุกกับการซักผ้าในทุกๆ วัน

ปกติแล้วเวลาไปร้านสะดวกซัก คนส่วนใหญ่คงไม่มีกิจกรรมอะไรให้ทำเพื่อฆ่าเวลาระหว่างรอเท่าไรนัก นอกจากนั่งมองเครื่องซักผ้าและเครื่องอบผ้าที่วางเรียงรายอยู่หมุนจนครบเวลา  แต่ไม่ใช่สำหรับ ‘Laundry Holiday’ ร้านซักผ้าที่เปิด 24 ชั่วโมงในเมือง Shikokuchuo จังหวัด Ehime ของประเทศญี่ปุ่น ที่อยากให้ลูกค้ามีความสุขกับกิจวัตรประจำวันอย่างการซักผ้า ด้วยการออกแบบร้านที่ผสมผสานกิจกรรมอื่นๆ เข้าไปในพื้นที่ด้วย  ส่วนใหญ่ภายในร้านซักรีดมักจะมีโต๊ะขนาดใหญ่สำหรับพับผ้าหรือการใช้งานอื่นๆ แต่ที่ Laundry Holiday เฟอร์นิเจอร์เหล่านี้ถูกเปลี่ยนให้เป็นโต๊ะปิงปอง ส่วนด้านนอกร้านนั้นก็ตกแต่งด้วยม้านั่งคอนกรีตและกระถางต้นไม้ เพื่อให้ลูกค้าพักผ่อน สังสรรค์ หรือทำกิจกรรมสนุกๆ ระหว่างรอซักผ้าก็ได้เช่นกัน แต่หากใครไม่ใช่สายออกกำลังกายหรือไม่อยากนั่งพักผ่อนเฉยๆ ในพื้นที่เดียวกันนั้นก็มี Yoshio Ice Cream ร้านไอศกรีมที่ตกแต่งด้วยกระเบื้องสีเขียวเข้มกลืนกับบรรยากาศร้านซักผ้า ที่รอให้ลูกค้ามาลิ้มรสของหวานเย็นชื่นใจกันอยู่ด้วยเหมือนกัน Laundry Holiday จึงถือเป็นไอเดียที่เปลี่ยนให้การซักผ้าไม่น่าเบื่อ แถมยังเพิ่มพื้นที่พบปะและทำกิจกรรมให้กับผู้คนด้วย  Source : Designboom | bit.ly/3irXbKk

Japan Again ในวันที่แสงแดดอบอุ่น

ขึ้นปีใหม่เลยคิดถึงเรื่องเก่า เปิดลิ้นชักออกมาแล้วไม่เจอเครื่องไทม์แมชชีนย้อนเวลาเหมือนในห้องของโนบิตะ วิธีเดียวที่ใช้นึกถึงวันที่ผ่านมาให้จดจำได้มากที่สุดคงไม่พ้นการดูภาพถ่าย ภาพแทนสายตาที่บันทึกไว้เป็นเครื่องกันลืมว่าครั้งหนึ่งเราเคยรู้สึกอย่างไรต่อช่วงเวลาเหล่านั้น ‘เซโตะอุจิ’ เป็นอาณาจักรทะเลที่ใหญ่สุดในญี่ปุ่น แวดล้อมไปด้วย 7 จังหวัดที่มีสไตล์ต่างกันออกไปตามแต่ละวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้นๆ แต่สิ่งที่ไม่ต่างกันคือการจัดสรรพื้นที่อยู่อาศัยอย่างดีเยี่ยม ไม่ว่าจะชนบท ชุมชนริมฝั่ง หรือในเมืองใหญ่ ทุกวิถีชีวิตล้วนดำรงด้วยความเป็นระเบียบ สะอาดตา มองแล้วไม่มีอะไรเกะกะ มีแต่ความสบายใจ ประเทศโลกที่สามกับประเทศโลกที่หนึ่งช่างแตกต่าง ญี่ปุ่นครั้งแรกของเราในฐานะผู้มาเยือนจึงมีแต่ภาพแปลกใหม่ สิ่งรอบตัวไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ สำคัญมากหรือน้อย ล้วนแล้วแต่มีรายละเอียดราวกับชิ้นงานศิลปะให้ชวนมอง เป็นเมืองที่คนเดินได้แบบไม่ต้องกังวล ปั่นจักรยานไปทำงานได้อย่างปลอดภัย ผู้สูงอายุเองก็ยังยืนหลังตรงทำมาหากินได้จำนวนไม่น้อย เกือบทุกคนแข็งแรงจนมีกล้ามขาเป็นมัดๆ  อีกความดึงดูดของญี่ปุ่นคือ ดินแดนแห่งนี้เต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมตึกสูงต่ำลดหลั่นกันไป ประกอบกับเป็นเมืองที่อุดมไปด้วยความร่วมสมัยและยังคงผสานความดั้งเดิมไว้อย่างลงตัว แสงแดดอบอุ่นที่ญี่ปุ่นช่วยให้กล้องโลหะตัวเก่าที่เราพกติดตัวไปบันทึกภาพความทรงจำออกมาได้อย่างถูกต้องที่สุดเทียบเท่าที่เคยได้มองเห็น  ญี่ปุ่นเมื่อสี่ปีที่แล้วกลายเป็นภาพจำเลือนๆ ตามขวบปีที่เพิ่มขึ้น ไม่รู้ว่าหลังจากยุคโรคระบาด ที่นั่นจะเป็นอย่างไรบ้าง เริ่มปีใหม่ที่คนบนโลกสามารถเดินทางทั่วถึงกันได้แล้วแบบนี้ ยิ่งทำให้รู้สึกอยากจองตั๋วเครื่องบินขึ้นมา แต่เปิดลิ้นชักอีกทีคราวนี้ก็พบว่า ยังไม่มีตังค์นี่หว่า ดูท่าคงต้องทำงานเก็บเงินก่อน หวังว่าจะได้พบกันอีกนะ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected]

Sharesouls อนุสรณ์ออนไลน์ พื้นที่เก็บความทรงจำของคนที่จากไป ให้เรื่องราวยังคงอยู่ไว้ตลอดกาล

ใครที่กำลังคิดถึงสมาชิกในครอบครัว คนรัก หรือแม้แต่สัตว์เลี้ยงที่จากไปแล้ว เราขอชวนทุกคนเก็บความทรงจำของพวกเขาให้อยู่กับเราตลอดกาลผ่านอนุสรณ์ออนไลน์ ‘Sharesouls’ แพลตฟอร์มที่จะช่วยเก็บรักษาความทรงจำดีๆ และเรื่องราวต่างๆ ของผู้ที่จากไปเอาไว้ เพื่อไม่ให้ตัวตนของคนเหล่านั้นเลือนหายไปตามกาลเวลา เพราะความทรงจำเหล่านั้นถือเป็นช่วงเวลาที่มีค่า และเป็นสิ่งเดียวในโลกที่คุณไม่สามารถหาสิ่งใดมาทดแทนได้ สำหรับวิธีเก็บรักษาความทรงจำใน Sharesouls ผู้ใช้งานสามารถเลือกสร้างอนุสรณ์สำหรับครอบครัว เพื่อน ญาติ คนรัก คนรู้จัก หรือแม้แต่สัตว์เลี้ยงที่จากไปแล้ว และเขียนบอกเล่าเรื่องราวของคนเหล่านั้น พร้อมใส่รูปภาพ วิดีโอ หรือเพลง เพื่อให้ทุกคนที่เข้ามาเยี่ยมได้รู้จักพวกเขามากขึ้น ส่วนใครก็ตามที่เข้ามาเยี่ยมเยียนสามารถแสดงความอาลัยได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการวางดอกลิลลีออนไลน์ เขียนคำไว้อาลัย หรือจุดเทียนเพื่อให้อนุสรณ์แห่งนี้สว่างไสว เป็นสัญลักษณ์ว่าทุกชีวิตในแพลตฟอร์มนี้จะไม่ถูกลืมเลือน จุดเริ่มต้นของ Sharesouls เกิดขึ้นในช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้หลายๆ คนต้องเผชิญกับความสูญเสียและโศกเศร้ากับการจากไปแบบที่ไม่ทันได้บอกลาคนรัก สิ่งที่ทำได้มีเพียงแค่การแสดงความเสียใจผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย จากนั้นคนที่จากไปก็จะค่อยๆ เลือนหายไปจากชีวิต เหมือนไม่เคยมีตัวตนอยู่บนโลกใบนี้ Sharesouls จึงต้องการสร้างพื้นที่ให้ทุกคนได้บันทึกและถ่ายทอดเรื่องราวของคนที่เรารัก รวมถึงลดช่องว่างในการเดินทางมาร่วมไว้อาลัยด้วย ใครที่สนใจเข้าไปบันทึกเรื่องราวและความทรงจำดีๆ ของคนรักที่จากไปแล้วได้ที่ sharesouls.com

ส่องปรากฏการณ์บุลลี่ในสังคมเกาหลีผ่าน The Glory ที่คว้ารางวัลซีรีส์ยอดเยี่ยมแห่งปี

ประเทศเกาหลีใต้มีคำสามัญที่ใช้เรียกความรุนแรงในโรงเรียนว่า ‘학교폭력’ (ฮักกโยพงนย็อก) และมีคำศัพท์เฉพาะอย่างคำว่า ‘왕따’ (วังต้า) ที่ไม่มีคำแทนความหมายแบบแน่นอนในภาษาอังกฤษ แต่แปลความได้ราวๆ ว่า ‘เหยื่อที่ถูกบุลลี่’ โดยคำขั้วตรงข้ามของวังต้าคือ ‘일진’ (อิลจิน) หมายถึง ‘คนที่ชอบรังแกคนอื่นๆ และทำผิดกฎเป็นประจำ’ แค่ชุดคำไม่กี่คำ น่าจะพอทำให้เราเห็นกันแล้วว่า ศัพท์ที่ถูกบัญญัติขึ้นมาโดยเฉพาะเหล่านี้ คือหลักฐานและชื่อเรียกของสิ่งที่มีอยู่จริงและเกิดขึ้นอย่างเข้มข้นในสังคมเกาหลีใต้ นี่คือความรุนแรงที่เกิดจริง ทั้งในกรณีที่มีคนออกมาพูดถึงปัญหาที่ตัวเองเผชิญ หรือเรียกร้องความเป็นธรรมจากสิ่งที่เกิดขึ้น และในกรณีที่มันถูกเก็บงำไว้กับผู้ที่ถูกกระทำตลอดไป และใช่ นั่นหมายถึงความเจ็บปวดรวดร้าวที่เกิดขึ้นกับเด็กๆ และวัยรุ่นชาวเกาหลีใต้ ซึ่งเกิดขึ้นมานานหลายปีแล้ว The Glory เป็นซีรีส์เรื่องล่าสุดของนักแสดงสาวชื่อดัง ‘ซงฮเย-กโย’ ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในผลพวงของเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในสังคมเกาหลี และไม่ใช่แค่ซีรีส์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงหนัง นวนิยาย และเรื่องราวใน WEBTOON ที่เป็นผลผลิตสะท้อนแง่มุมของสังคมที่ผู้คนกำลังเผชิญกับปรากฏการณ์เลวร้ายรูปแบบนี้ หลังจากปล่อยซีรีส์พาร์ต 1 ออกมาไม่นาน The Glory ก็กวาดอันดับ 1 ในด้านยอดการรับชมบนแพลตฟอร์ม Netflix ได้ถึง10 ประเทศ ตั้งแต่เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย […]

‘ญี่ปุ่น’ กับการสร้างชาติด้วยวัฒนธรรมการเดินทาง ‘ระบบรถไฟ’

‘ญี่ปุ่น’ ถือเป็นประเทศที่มีเอกลักษณ์และความก้าวหน้าในหลายๆ ด้าน ทั้งแหล่งท่องเที่ยวที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน วัฒนธรรมอาหารที่โด่งดังไปทั่วโลก รวมถึงสวัสดิการและโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการใช้ชีวิตของประชาชนอย่างรอบด้าน จนทำให้แดนปลาดิบติดท็อป 10 ประเทศน่าอยู่ที่สุดในโลกแทบทุกปี หนึ่งในสิ่งอำนวยความสะดวกของญี่ปุ่นที่มีประสิทธิภาพและช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตประชากรมากที่สุดคือ ‘เครือข่ายรถไฟ’ ที่มาพร้อมชื่อเสียงเรื่องความทันสมัย ความสะอาด และการตรงต่อเวลา ขนาดที่ว่าถ้ารถไฟขบวนไหนออกเร็วหรือช้าแค่หลักวินาที ทางบริษัทรถไฟจะรีบออกแถลงการณ์ขอโทษผู้โดยสารทันที จากความสะดวกสบายของระบบขนส่งสาธารณะ ทำให้ชีวิตของชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ผูกติดอยู่กับการเดินทางด้วยรถไฟ เห็นได้จากสัดส่วนผู้โดยสารที่ใช้งานระบบรถไฟในกรุงโตเกียวที่มีมากถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นตัวเลขค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับมหานครนิวยอร์กและกรุงลอนดอน ที่มีสัดส่วนดังกล่าวประมาณ 22 เปอร์เซ็นต์ และ 19 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ คอลัมน์ Report ประจำเดือนนี้ชวนไปสำรวจว่า ปัจจัยใดที่ทำให้ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในเครือข่ายรถไฟที่ดีที่สุดในโลก โดยพาผู้โดยสารไปส่งยังจุดหมายปลายทางได้เกือบทุกที่ทั่วประเทศ แถมยังครอบคลุมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนทุกกลุ่ม เปลี่ยนให้เอกชนดูแลเครือข่ายรถไฟ ต้องเล่าให้ฟังก่อนว่า ผู้ดูแลบริหารเครือข่ายรถไฟทั่วเกาะญี่ปุ่นคือ ‘กลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่น’ หรือ ‘Japan Railways Group (JR Group)’ ที่แต่เดิมรัฐเป็นเจ้าของ แต่เมื่อปี 1987 รัฐบาลได้ดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (Privatization) โอนกิจการให้เอกชนเข้ามาดูแล เพื่อแก้ไขสองปัญหาหลักๆ ได้แก่ การเป็นองค์กรขนาดใหญ่อุ้ยอ้ายจนบริหารงานยาก และการดำเนินงานภายใต้อิทธิพลทางการเมืองจนสร้างความเสียหายให้องค์กร อย่างการสร้างเส้นทางรถไฟที่ไม่ทำกำไรเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง […]

จิบค็อกเทลกับเหล่าคนรักสัตว์ ‘Suwincha Singsuwan Bar’ บาร์ชั่วคราวที่เปิดให้สัตว์เลี้ยงเข้าได้

ทาสหมาทาสแมวผู้ชื่นชอบการดื่มค็อกเทลต้องถูกใจบาร์แห่งนี้แน่ๆ เพราะ ‘Suwincha Singsuwan Bar’ คือป็อปอัปบาร์ย่านพระโขนงที่เปิดให้เราพาสัตว์เลี้ยงเข้าไปได้ คล้ายเป็นจุดพบปะของเหล่าคนรักสัตว์ที่มีความพิเศษด้วยค็อกเทลรสเลิศจากบาร์เทนเดอร์ไทยฝีมือระดับโลก Suwincha Singsuwan Bar เป็นบาร์ที่ตั้งชื่อแบบเรียบง่ายตามชื่อของบาร์เทนเดอร์สาวผู้เป็นเจ้าของอย่าง ‘ชาช่า-สุวิญชา สิงห์สุวรรณ’ ที่การันตีฝีมือด้วยผลงานการคว้ารางวัลอันดับ 4 ในการแข่งขัน ‘Bacardi Legacy Cocktail Competition 2013’ ที่ประเทศเปอร์โตริโก รวมถึงรางวัลระดับประเทศอีกมากมาย จากสูตรเครื่องดื่มค็อกเทลที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่ามีเสน่ห์เฉพาะตัวจากการใช้ส่วนผสมที่แปลกใหม่ จุดเริ่มต้นของบาร์แห่งนี้ เกิดจากการที่ชาช่าได้ไอเดียการเปิดบาร์แบบ Pet-friendly จากเพื่อนที่มักพาสัตว์เลี้ยงอย่างน้องหมาน้องแมวมาที่บ้านของเธอเวลารวมกลุ่มสังสรรค์ บวกกับความสามารถด้านบาร์เทนเดอร์ที่ทำให้ที่นี่เกิดขึ้นได้จริง ความตั้งใจของเธอคือ อยากให้บาร์เล็กๆ เพียง 4 โต๊ะ 15 ที่นั่งเป็นเหมือนกับ Comfort Zone ของคนรักสัตว์ โดยเปิดรับสัตว์ทุกชนิด ไม่จำกัดอยู่แค่น้องหมาน้องแมวเท่านั้น นอกจากนี้ ทุก 100 บาทจากการจำหน่ายเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของ ‘Tito’s Vodka’ จะนำไปบริจาคให้มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย (Soi Dog Foundation) เพื่อช่วยเหลือและดูแลสุนัขและแมวจรจัดที่บาดเจ็บต่อไป อีกความพิเศษของ Suwincha Singsuwan […]

1 117 118 119 120 121 371

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.