Urban Eyes 22/50 เขตบึงกุ่ม

บึงกุ่มเป็นเขตที่เราไม่คุ้นเคยเลย ถ้าให้เล่าถึงความทรงจำที่เกี่ยวกับเขตนี้ เราจำได้แค่เป็นเขตที่มีถนนประเสริฐมนูกิจตัดผ่าน นอกนั้นก็นึกไม่ออกแล้ว เลยต้องรีเสิร์ชถึงเขตนี้มากเสียหน่อย ไปดุ่มๆ ใช้ความเคยชินแบบหลายๆ เขตที่ผ่านมาไม่ได้ บริเวณที่เราไปลงพื้นที่หลักๆ ครั้งนี้ เริ่มต้นที่วัดนวลจันทร์เป็นแห่งแรก วัดนี้ตั้งอยู่บนถนนนวลจันทร์ ถ้าใครขับรถผ่านก็คงมองเห็นได้เพราะเป็นวัดใหญ่ เราชอบโซนที่วางธูปเทียนเป็นพิเศษ ธูปที่นี่มีกิมมิกเฉพาะตัวตรงที่ข้างในธูปมีตัวเลข คล้ายๆ เป็นเซียมซีที่ต้องจุดไฟแล้วตัวธูปจะค่อยๆ หายไป เหลือแต่ขี้เถ้าด้านในที่มีตัวเลข เป็นนวัตกรรมที่ชวนให้ลุ้นและตื่นเต้นดี ส่วนถนนนวลจันทร์ก็เป็นถนนที่น่าสนใจ ตามตรอกซอกซอยมีอะไรเล็กๆ น้อยๆ ให้สำรวจและถ่ายภาพอยู่เรื่อยๆ และอีกสถานที่ที่เราไปคือ สวนเสรีไทย ที่เป็นสวนสาธารณะติดกับคลองบึงกุ่ม เหมาะกับการออกกำลังกายเป็นอย่างยิ่ง มีทั้งพื้นที่สีเขียวและบ่อน้ำอยู่กลางสวน แถมลมเย็นสบายตลอดเวลา ช่วงเย็นๆ มีผู้คนออกมาวิ่งออกกำลังกายกันค่อนข้างเยอะ ดูมีชีวิตชีวาทีเดียว ใครที่ชอบสวนสาธารณะ รับรองมาที่นี่ไม่ผิดหวังแน่นอน บึงกุ่มเป็นเขตที่เราไม่คุ้นเคยเลย ถ้าให้เล่าถึงความทรงจำที่เกี่ยวกับเขตนี้ เราจำได้แค่เป็นเขตที่มีถนนประเสริฐมนูกิจตัดผ่าน นอกนั้นก็นึกไม่ออกแล้ว เลยต้องรีเสิร์ชถึงเขตนี้มากเสียหน่อย ไปดุ่มๆ ใช้ความเคยชินแบบหลายๆ เขตที่ผ่านมาไม่ได้ ถึงแม้จะเป็นเขตที่อยู่ชานเมือง เราก็ยังพบเจอกับรถติดได้เสมอ ระหว่างนั้นมีน้องสองคนยื่นหน้าออกมาจากรถกะป๊อ แถมแสงก็ลงทางนั้นพอดี ดูเป็นมู้ดน่ารักๆ พิกัด : ถนนเสรีไทย (goo.gl/maps/nCp7EEjMsfbLm7Ue9)Shutter Speed 1/500 f/11 […]

Urasando Public Toilet ห้องน้ำสาธารณะที่ออกแบบด้วยความเรียบง่าย ใช้งานสะดวก สวยงามด้วยสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม

เวลาต้องใช้ห้องน้ำสาธารณะ ทุกคนจะนึกถึงเรื่องความสะอาด สุขอนามัย และความปลอดภัยเป็นสำคัญ แน่นอนว่าห้องน้ำสาธารณะหลายๆ แห่งในบ้านเรานั้นไม่ค่อยน่าพิสมัยเสียเท่าไหร่  วันนี้เราอยากพาไปดูอีกหนึ่งไอเดียการออกแบบห้องน้ำสาธารณะในประเทศญี่ปุ่น ในโครงการ ‘The Tokyo Toilet’ ซึ่งจัดขึ้นโดยมูลนิธินิปปอน (Nippon Foundation) เนื่องในโอกาสการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกที่โตเกียว 2020 ที่ผ่านมา  โครงการ The Tokyo Toilet ได้ชวนเหล่านักออกแบบและสถาปนิกมาออกแบบห้องน้ำสาธารณะหลายแห่งทั่วเขตชิบูยาของกรุงโตเกียว เพื่อสร้างการออกแบบที่อบอุ่น เชิญชวน และโดดเด่น และทำให้ประชาชนสามารถใช้ห้องน้ำนอกบ้านกันได้อย่างสุขใจ โดยหนึ่งในนักออกแบบที่ไม่ใช่คนญี่ปุ่นอย่าง ‘Marc Newson’ นักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชาวออสเตรเลีย ได้ออกแบบห้องน้ำสาธารณะแห่งที่ 14 จากทั้งหมด 17 แห่ง ชื่อว่า ‘Urasando Public Toilet’ ซึ่งเริ่มเปิดให้ใช้งานไปในวันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมา ด้านในของห้องน้ำสาธารณะแห่งนี้ทาด้วยสีเขียวพาสเทลเป็นหลัก เพื่อให้เกิดความนุ่มนวลสบายตา ดูสว่าง ให้ความรู้สึกสะดวกสบาย เกิดเป็นความเรียบง่ายที่สามารถมองเห็นทุกสิ่งได้อย่างทั่วถึง ส่วนวัสดุที่เลือกใช้มีความทนทาน ทำความสะอาดง่าย ส่งผลให้พื้นที่สาธารณะมีเสน่ห์เชื้อชวนให้ผู้คนมาใช้บริการ นอกจากนี้ Marc Newson ยังได้หยิบหัวใจของสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมญี่ปุ่นมาใช้เพื่อทำให้สไตล์งานออกแบบของเขาเข้ากับรากเหง้าของแดนอาทิตย์อุทัย ด้วยการดีไซน์หลังคาทองแดงมิโนโกะ […]

ที่ตั้งแผงโซลาร์เซลล์ใหญ่ที่สุดใน NYC บนดาดฟ้าเทอร์มินอลใหม่สนามบิน JFK ช่วยผลิตพลังงานทดแทนในช่วงไฟดับ

สนามบินนานาชาติจอห์น เอฟ เคนเนดี (JFK) กำลังจะมีอาคารผู้โดยสารแห่งใหม่ (New Terminal One หรือ NTO) ซึ่งจะมีแผงโซลาร์เซลล์บนดาดฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดในนครนิวยอร์กและในบรรดาอาคารผู้โดยสารของสนามบินทุกแห่งในสหรัฐอเมริกา ด้วยแผงโซลาร์เซลล์จำนวนกว่า 13,000 แผงที่มีชื่อว่า ‘ไมโครกริด (Microgrid)’ เมื่อโครงการเสร็จสิ้นลง NTO จะเป็นศูนย์กลางการขนส่งสนามบินแห่งแรกในภูมิภาคนิวยอร์กที่ดำเนินการได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องพึ่งพาโครงข่ายไฟฟ้า และสามารถดำเนินการได้ 100 เปอร์เซ็นต์ในช่วงที่ไฟฟ้าดับผ่านการทำงานของไมโครกริด โดยพลังงานของไมโครกริดเกิดจากแหล่งพลังงานหลายประเภทรวมกัน ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์จากแผงโซลาร์เซลล์บนดาดฟ้า ที่เก็บพลังงานแบตเตอรี่ เซลล์เชื้อเพลิง และความร้อน ซึ่งไมโครกริดจะประกอบไปด้วย 4 เกาะพลังงาน โดยแต่ละเกาะจะทำหน้าที่เป็น ‘ระบบพลังงานท้องถิ่นแบบผสมผสาน’ ที่ทั้งผลิตและกักเก็บพลังงาน แถมยังมาพร้อมกับระบบอัตโนมัติและระบบควบคุมขั้นสูงด้วย  แม้ว่าพลังงานที่คาดว่าไมโครกริดจะผลิตได้อาจเพียงพอสำหรับจ่ายไฟให้กับบ้านเรือนราว 3,570 หลังเป็นเวลาหนึ่งปี แต่ดูเหมือนว่าเทอร์มินอลนี้จะยังไม่สามารถจ่ายพลังงานให้กับพื้นที่อื่นๆ ของเมืองในวงกว้างได้ ด้วยกฎหมายท้องถิ่นที่ยังไม่อนุญาตให้ไมโครกริดของสนามบินจ่ายไฟไปยังพื้นที่โดยรอบ เพราะฉะนั้นพลังงานที่ผลิตจากไมโครกริดจะถูกใช้ภายในสนามบิน ​JFK เป็นหลัก  โดยโครงการได้เปิดเผยว่า เทอร์มินอลนี้จะมอบพลังงานที่ยั่งยืน ยืดหยุ่น ซึ่งทั้งหมดจะผลิตจากท้องถิ่นและคาดการณ์ต้นทุนได้ ที่สำคัญ พลังงานจากไมโครกริดจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ทันทีมากถึง 38 เปอร์เซ็นต์ และจะช่วยให้ชุมชนรอบสนามบิน JFK มีอากาศที่สะอาดขึ้นด้วย  […]

Wonders of Street View สำรวจความแปลกประหลาดทั่วโลกจากการจับภาพของ Google Street View

ใครเคยพาตัวเองไปท่องเที่ยวผ่าน Google Street View บ้าง Google Street View เป็นเว็บไซต์ที่จะทำให้เราได้พาตัวเองไปสำรวจสภาพแวดล้อมเสมือนจริงผ่าน Google Maps โดยภาพเหล่านั้นเกิดขึ้นจากการที่ Google ส่งกล้องพิเศษออกไปทั่วโลกในรูปแบบของรถยนต์ จักรยาน หรือผ่านทางเรือ เพื่อถ่ายภาพสิ่งรอบตัว ก่อนจะรวบรวมเป็นแผนที่ให้เราใช้กันอย่างทุกวันนี้ เชื่อว่าหลายคนคงเคยใช้เวลาว่างสำรวจพื้นที่ต่างๆ ผ่าน Google Street View และอาจได้ค้นพบความสนุกสนานจากภาพที่ Google จับมาได้ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ที่ดูผิดปกติ ความผิดพลาดจากการจับภาพ หรือแม้แต่ภาพผู้คนที่ยืนถ่ายรูปขณะที่รถ Google Street View ขับผ่านพวกเขาไป ซึ่งเรื่องราวแปลกๆ ที่เราเห็นอาจมีทั้งภาพชายสามขา ลูกตายักษ์ บ้านรูปรองเท้า เครื่องบินแมคโดนัลด์ ฯลฯ ประสบการณ์นี้ทำให้นักพัฒนาเว็บไซต์อย่าง Neal Agarwal รวบรวมภาพที่น่าสนใจจากสถานที่ต่างๆ กว่า 300 แห่งทั่วโลกเอาไว้บนเว็บไซต์ที่ชื่อว่า ‘Wonders of Street View’  เมื่อกดเข้าไปหน้าแรกของหน้าเว็บไซต์จะสุ่มภาพสถานที่ขึ้นมาให้ โดยเราสามารถกดปุ่มแรนดอมเพื่อพาตัวเองไปยังโลเคชันอื่นๆ ทั่วโลก ซึ่งการคลิกเพียงครั้งเดียวนี้อาจจะพาเราไปพบกับความแปลกใหม่ ความตลก […]

ไปปรับสมดุลร่างกาย บำรุงหัวใจ และเสริมสร้างจิตวิญญาณ ที่งาน ‘ข้างใน Festival’

‘ปัจจุบัน’ เป็นเรื่องยาก และเราถอยห่างจากช่วงเวลาตรงหน้าทุกขณะ เพราะมีสิ่งต่างๆ มากมายที่เข้ามากระทบจิตใจให้เรานึกย้อนกลับไปหาอดีต และกังวลในสิ่งที่ยังมาไม่ถึงอยู่เสมอ  นอกจากร่างกายที่ต้องดูแลเป็นอย่างดี หัวจิตหัวใจก็เป็นเรื่องสลับซับซ้อนและต้องคอยเยียวยารักษา การหมั่นสำรวจข้างในอยู่เสมอคือสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ชีวิตเกิดความสมดุล ด้วยเหตุนี้ เราจึงเลือกพาตัวเองลุกจากที่นอนในวันหยุดแสนน้อยนิด ออกไปใช้ชีวิตอยู่กับช่วงเวลาปัจจุบัน ในงาน ‘ข้างใน Festival’ เมื่อกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยหวังว่าจะช่วยทำให้จิตใจที่ว้าวุ่นกับโลกข้างนอก ได้กลับมาสงบเงียบและมีชีวิตชีวามากขึ้น  ‘ข้างใน Festival’ จัดขึ้นเป็นครั้งแรกโดย ‘Muchimore’ ชุมชนผู้คอยเป็นตัวกลางเชื่อมโยงพาทุกคนกลับมาดูแลจิตใจ และเปิดพื้นที่ให้ผู้คนได้เข้ามาพักใจ พร้อมกับศาสตร์ต่างๆ มากมายที่ช่วยให้สติเกิดความมั่นคง และจิตวิญญาณได้กลับมาสว่างไสว  งานครั้งนี้ มัชฌิมอร์ได้ขยายพื้นที่จากข้างในอาคาร Awareness Space ออกไปสู่พื้นที่กว้างในสวนวนธรรม และรวบรวมเหล่ากิจกรรมฮีลจิตใจไว้อย่างครอบคลุมหลากหลาย คอลัมน์ Experimentrip อยากพาทุกคนออกเดินทางย้อนกลับไปข้างในอีกครั้ง เพื่อสำรวจสิ่งที่เคยเกิดขึ้นและนำมันมาทบทวนเพื่อก้าวต่อไปในชีวิตปัจจุบัน  เราอยู่ที่ไหน เรามาทำอะไร แม้แดดต้นปีจะแรง แต่ปลายฤดูหนาวก็ยังทำให้ลมเย็นๆ พัดมาสัมผัสผิวอยู่บ้าง เมื่อเดินเข้าไปในสวนวนธรรม การถูกห้อมล้อมด้วยเสียงนกร้องกับพื้นที่สีเขียว ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายจากการเดินทางบนท้องถนนที่ผ่านมาไม่น้อย ผู้คนที่เข้าร่วมกิจกรรมต่างทยอยกันเข้ามาในสวนหนาตา ‘สนัด-ณัฐพงษ์ โสธรวัฒนา’ ผู้ก่อตั้ง Muchimore เริ่มต้นต้อนรับทุกคนด้วยคำถามที่ว่า “วันนี้เราอยู่ที่ไหน และวันนี้เรามาทำอะไร” เพื่อเน้นย้ำให้สติของทุกคนในเช้าวันหยุดสุดสัปดาห์กลับมาอยู่กับลมหายใจของปัจจุบัน และเมื่อการเคลื่อนไหวของทุกสิ่งสงบนิ่ง […]

ไม่ใช่เติ้ง ลี่จวิน ก็เต้นสวิงกลางเยาวราชได้ กับ ‘เติ้ง ลี่ Swing’ ส่งท้าย BKKDW2023 วันที่ 12 ก.พ. 66 ที่ตลาดเก่าเยาวราช

หลังจากไปเต้นสวิงกันในสวนสาธารณะรอบกรุงเทพฯ กันมาถึง 6 ครั้ง ครั้งนี้ ‘The Stumbling Swingout’ ขอจัดใหญ่จับมือกับกลุ่ม ‘เยาวเล่น’ เปิดฟลอร์เต้นสวิงกลางย่านเยาวราช เพื่อส่งท้ายงาน Bangkok Design Week 2023 กันไปเลย ความพิเศษของการเต้นสวิงในครั้งนี้ นอกจากจะเปลี่ยนสถานที่มายังเยาวราชแล้ว ทาง The Stumbling Swingout ยังหยิบเอาบทเพลงอมตะในตำนานของราชินีเพลงแห่งเอเชียอย่าง ‘เติ้ง ลี่จวิน’ มาเรียบเรียงใหม่ในสไตล์สวิงแจซ เพื่อให้ทุกคนได้ร่วมเต้นไปด้วยกันในงาน ‘เติ้ง ลี่ Swing’ ด้วย เติ้ง ลี่ Swing มาในธีมที่นำเสนอความเป็นจีนโดยเพิ่มความพิเศษผ่านชุดกี่เพ้าหรือการแต่งตัวเป็นตัวละครจากภาพยนตร์จีนที่หลายคนชื่นชอบ แถมยังมีขบวนพาเหรดและโชว์สุดพิเศษภายในงาน ที่จะพาผู้เข้าร่วมไปสัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆ ในพื้นที่แห่งความทรงจำของย่านเยาวราช อย่าลืมจดวันแล้วมาเต้นสวิงส่งท้ายงาน BKKDW2023 ด้วยกันกับกิจกรรม ‘เติ้ง ลี่ Swing’ ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 20.00 – 22.00 น. ณ […]

The Professional | ศึกษาศิลปะการออกแบบดอกไม้กับร้าน Flower in Hand by P.

หากพูดถึงร้านขายดอกไม้ เรามักจะนึกถึงอาชีพคนจัดดอกไม้ แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบว่าในแวดวงนี้มีอาชีพ ‘นักออกแบบดอกไม้’ ด้วย ‘แพร พานิชกุล’ คือนักออกแบบดอกไม้และเจ้าของร้านดอกไม้ Flower in Hand by P. ผู้เริ่มต้นอาชีพนี้จากความหลงใหลในดอกไม้ ก่อนเริ่มหันมาใส่ใจกระบวนการผลิตของตัวเองมากขึ้น ทั้งในแง่ดีไซน์และสิ่งแวดล้อม โดยมีความหวังว่าธุรกิจของเธอจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความครีเอทีฟให้กับเมือง และสามารถอยู่ร่วมกับคนและโลกได้อย่างเป็นมิตรไปพร้อมๆ กัน

FYI

ปลุกความ MORE MADLY MINIMAL ในตัวคุณ ผ่าน 5 สัมผัส 5 ครีเอเตอร์ กับ AREN X by Areeya Property

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่หลงใหลกับสไตล์มินิมอลแบบสุดขีด และต้องการที่อยู่อาศัยที่สามารถแสดงตัวตนได้อย่างสมบูรณ์แบบ เราเชื่อว่าโครงการ ‘AREN X’ โดย ‘Areeya Property’ ที่ต่อยอดจากโครงการ AREN ที่ได้รับกระแสตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดีหลังจากเปิดตัวเมื่อปี 2564 จะมีสิ่งที่คุณมองหา เพราะคอนเซปต์ ‘MORE MADLY MINIMAL’ ของ AREN X ที่ Areeya Property ต่อยอดจากคอนเซปต์ MADLY MINIMAL ของ AREN จะเพิ่มความเป็นที่สุดของความมินิมอลเข้าไป เมื่อเราตัดสิ่งที่ไม่ใช่ ‘ตัวตน’ ของเราออกไป และเก็บไว้แต่สิ่งที่จำเป็น (Keep only the essential thing in life) ยิ่งตัดสิ่งที่ไม่ใช่ออกไปมากเท่าไร ความเป็นตัวตนของเราก็ยิ่งชัดเจนมากขึ้น ดังนั้นสิ่งที่ AREN X เลือกมาไว้ในโครงการ คือ Masterpiece ที่บ่งบอกไลฟ์สไตล์ของผู้อยู่อาศัย ที่มี DNA คือ ความ Uncompromise ที่หลงใหลความมินิมอลอย่างสุดทาง […]

Silom Master Plan เปลี่ยนทางเท้าสีลมให้เขียวขจีและน่าเดิน ด้วยโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ถนนสีลม ปี 2564

หลังจากเปิดตัว ‘โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ถนนสีลม พ.ศ. 2564 หรือ Silom Master Plan’ อย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา ในที่สุดก็มีภาพอัปเดตโครงการล่าสุดออกมาให้ชาวกรุงเทพฯ ได้ชมกันแล้ว Silom Master Plan เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของกรุงเทพมหานคร สมาคมเรารักสีลม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักการโยธา และสำนักผังเมือง เพื่อจุดประสงค์ในการปรับปรุงทางเท้าในย่านสีลมให้เกิด Active Transport อย่างการเดินเท้าในกรุงเทพที่มากขึ้น ทางโครงการได้ศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) มาร่วมจัดทำผังแนวความคิด (Conceptual Plan) และผังแม่บท (Master Plan) และบริษัท ฉมา จำกัด ร่วมออกแบบรายละเอียดภูมิสถาปัตยกรรมที่จะสร้างสรรค์พื้นที่และทัศนียภาพโดยรอบให้เกิดความสะดวก สบาย และความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานอย่างเป็นรูปธรรม  แนวคิดการออกแบบของ Silom Master Plan คือ การให้ความสำคัญกับคนเดินเท้าเป็นลำดับแรก (Pedestrian First) ประกอบกับการสร้างสวนสาธารณะแนวยาว (Linear Park) […]

ภารกิจพิชิตความรู้สึกทางเพศ การเดินทางไกลอีกครั้งของผู้สูงวัย ในหนัง Thai Massage ที่ Netflix

คนจำนวนไม่น้อยอาจมีความเหงาเป็นเพื่อนทุกช่วงเวลา ยิ่งกับผู้สูงอายุซึ่งเป็นวัยที่มองเห็นโลก ผ่านประสบการณ์มาอย่างยาวนาน หลายคนอาจคิดว่าพวกเขาน่าจะปลงและปล่อยวางปัญหาต่างๆ ในชีวิตได้แล้ว ทว่าผู้สูงวัยก็ยังมีความรู้สึกบางอย่างที่ไม่อาจบอกกับใครได้ และในบางสังคม สิ่งที่คิดหรือความต้องการของผู้สูงวัยก็ดูเป็นเรื่องต้องห้ามไปเสียทั้งหมด  เช่นเดียวกันกับ ‘อาตมะ (Atmaram Dubey)’ ชายชราวัย 70 ปี ผู้เป็นที่เคารพนับถือของคนในครอบครัวและเป็นที่รักของผู้คนรอบตัว เขาเปรียบเสมือนบุรุษผู้ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้อื่นอยู่เสมอ  อาตมะเป็นผู้ถือมั่นในคู่ครองแบบรักเดียวใจเดียวตลอดมา แต่ชีวิตของเขาช่างโดดเดี่ยวเดียวดาย เพราะภรรยาผู้เป็นที่รักของเขาป่วยนอนติดเตียงมากว่า 20 ปีก่อนเสียชีวิตจากไปในที่สุด เขาใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวและดูแลหลานๆ แม้จะยิ้มแย้มแจ่มใส เดินเหินคล่องแคล่ว แต่ความรู้สึกในใจที่เขาไม่เคยปริปากบอกใครก็ทำให้ทุกข์ทนเหลือเกิน  อาตมะค้นพบว่าตนเองมีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และร่างกายของเขาไม่ทำงานอย่างที่เคย ความเสน่หายังคงทำให้เขาหวนคิดถึงความใกล้ชิดของภรรยาในวันเก่าก่อน และตระหนักว่าชีวิตคนเราช่างแสนสั้น อาตมะจึงอยากมีเพศสัมพันธ์อีกครั้งก่อนวาระสุดท้ายมาเยือน  แต่เพราะสังคมของชาวอินเดียนั้นมีขนบวัฒนธรรมที่ยึดถือกันมา ทำให้ภาพของผู้สูงอายุต้องเป็นคนที่ไม่มีความปรารถนาใด ยิ่งกับเรื่องความต้องการทางเพศยิ่งเป็นเรื่องลับๆ ที่ต้องคอยปกปิดไว้ไม่ให้ผู้อื่นรู้โดยเด็ดขาด หากต้องไปพูดคุย บอกเล่า ปรึกษากับใครถึงปัญหาสมรรถภาพทางเพศหย่อนยาน ก็จะกลายเป็นเรื่องไร้สาระและอาจเป็นความตลกขบขันที่ถูกพูดต่อไปอีกสามบ้านแปดบ้าน  แผนการจาริกแสวงบุญสุดปั่นป่วนจึงเกิดขึ้น โดยชายสูงวัยได้รับการช่วยเหลือจากชายหนุ่มสุดทะเล้นนามว่า ‘ซานตุลัน (Santulan)’ ที่อยู่ในหมู่บ้านละแวกเดียวกัน คอยช่วยหาหนทางให้อาตมะได้กลับมาปึ๋งปั๋งและมีชีวิตชีวาอีกครั้ง อาตมะได้ออกเดินทางไกลจากบ้านโดยเครื่องบินเป็นครั้งแรก เพื่อผจญภัยไปแสวงบุญทำภารกิจพิชิตความรู้สึกทางเพศที่ ‘กรุงเทพมหานคร-ประเทศไทย’ ซึ่งเป็นดินแดนที่การันตีได้ว่า ความเสียวซ่านที่อาตมะต้องการนั้นจะบรรลุผลอย่างแน่นอน  ทั้งหมดนี้คือเรื่องย่อของภาพยนตร์อินเดียเรื่อง ‘Thai Massage’ ที่จะทำให้ผู้ชมได้ เฮฮาไปกับบทสนทนาของเหล่าตัวละคร […]

ตึกสูงที่ถูกทิ้งร้างในเมือง ส่งผลอะไรกับการใช้ชีวิตของคนเมืองบ้าง

‘ตึกร้าง’ มักเป็นสถานที่อันดับต้นๆ ที่ใช้เป็นโลเคชันประจำในรายการแนวลึกลับ กับการเข้าไปทำภารกิจพิสูจน์ความลี้ลับของอาคารเก่าทรุดโทรม ไม่ว่าจะเป็นตึกร้างชื่อดังหรือตึกร้างโนเนม เพราะทุกที่มีเรื่องเล่าทั้งสิ้น แต่นอกเหนือจากเรื่องผีๆ ที่เชื่อมโยงกับตึกร้างแล้ว ทุกคนเคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมกรุงเทพฯ ถึงมีตึกร้างเยอะแยะนัก เพราะไม่ว่าเราจะเดินทางไปย่านไหนก็มักพบเห็นตึกสูงที่ปล่อยทิ้งร้างเอาไว้แทบทุกที่ ทั้งๆ ที่มีข่าวอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในตึกร้างมาให้เห็นกันอยู่เรื่อยๆ คอลัมน์ Curiocity ชวนมาหาคำตอบถึงเรื่องนี้ พร้อมกับสำรวจว่าการมีอยู่ของตึกร้างพวกนี้ส่งผลเสียอะไรกับเมืองและผู้คนบ้าง เบื้องหลังตึกสูงที่ถูกปล่อยทิ้งร้าง ย้อนกลับไปในช่วง พ.ศ. 2533 ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจไทยกำลังเฟื่องฟูและพัฒนา ส่งผลให้เกิดโครงการก่อสร้างอาคารจำนวนมากในเมือง โดยส่วนใหญ่เป็นอาคารที่พักอาศัยในทำเลทองต่างๆ เพื่อรองรับการย้ายถิ่นฐานเข้ามาในเมือง  แต่ขณะที่การก่อสร้างกำลังดำเนินไป ก็เกิดวิกฤตการเงินปี 2540 หรือที่รู้จักกันในชื่อของ ‘วิกฤตต้มยำกุ้ง’ เหตุการณ์นี้ส่งผลให้เศรษฐกิจพังพินาศ สถาบันการเงินหลายแห่งถูกสั่งปิดจนทำให้ต้องยุติการกู้เงิน โครงการก่อสร้างต่างๆ ต้องหยุดชะงักลง ไม่ว่าจะเป็นอาคารที่เสร็จสมบูรณ์แล้วหรือยังไม่เสร็จดีก็ตาม ทำให้มีอาคารที่ถูกปล่อยทิ้งร้างมากกว่า 200 แห่ง เวลาผ่านไปกว่า 20 ปี หลายตึกได้รับการปรับปรุงจนกลายเป็นตึกใหม่ใช้งานได้แล้ว แต่บางตึกก็ยังถูกปล่อยทิ้งไว้ด้วยหลายเหตุผล ตั้งแต่ปัญหาเงินทุนที่นายทุนยังไม่สามารถหามาเดินหน้าโครงการต่อได้ การรอเจ้าของคนใหม่มารับช่วงต่อในการก่อสร้าง การฟ้องร้องค่าเสียหายจากการหยุดปล่อยเงินกู้จนผู้รับผิดชอบโครงการไม่สามารถดำเนินการจนแล้วเสร็จได้ ติดคดีความเกี่ยวกับการสร้างอาคารผิดแบบหรือโครงสร้างที่ไม่แข็งแรง และอีกเหตุผลสำคัญคือค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนอาคารที่อาจสูงกว่าการเดินหน้าสร้างต่อ นายทุนหลายเจ้าจึงเลือกวิธีการปล่อยอาคารทิ้งไว้เฉยๆ ให้เก่าไปตามกาลเวลา ดีกว่าต้องมาเสียเงินก้อนโต นอกจากนี้ อาคารบางแห่งที่ถูกหน่วยงานรัฐฟ้องร้องเนื่องจากก่อสร้างโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร […]

เบื้องหลังความเปล่งประกายของวงการ K-POP ที่เต็มไปด้วยความจริงอันยากจะยอมรับ

‘เกาหลีใต้’ คือหนึ่งในประเทศที่ตลาดเพลงเติบโตเร็วที่สุดในโลก ส่วนสำคัญเกิดจากอุตสาหกรรม ‘เคป็อป (K-POP)’ ที่สร้างรายได้ให้กับประเทศมากถึง 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ราว 327,000 ล้านบาท) สื่อบันเทิงประเภทนี้กำลังสร้างปรากฏการณ์และได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ทั่วโลก จึงไม่แปลกใจที่เคป็อปจะกลายเป็นหนึ่งใน Soft Power ส่งออกวัฒนธรรมเกาหลีใต้ได้อย่างทรงพลัง เคป็อปก้าวเข้าสู่เวทีระดับโลกจากแนวดนตรีที่มีเมโลดีฟังง่าย สนุกสนาน ฟังครั้งแรกก็ติดหู พร้อมกับการเต้นที่แข็งแรง พร้อมเพรียง และเป๊ะแบบสุดๆ ไม่เพียงเท่านั้น ‘ศิลปินเคป็อป’ หรือ ‘ไอดอลเคป็อป’ ยังมีภาพลักษณ์ที่โดดเด่น น่าหลงใหล และมีเสน่ห์เฉพาะตัว แต่เบื้องหลังของวงการที่หลายคนมองว่าสมบูรณ์แบบนั้นอาจไม่ได้น่าชื่นชมเหมือนภาพลักษณ์ที่ถูกนำเสนอ คอลัมน์ Report ประจำเดือนนี้ขอพาไปสำรวจหลากหลายด้านมืดของวงการเคป็อป ไม่ว่าจะเป็นสัญญาทาสที่เอาเปรียบศิลปิน การล่วงละเมิดทางเพศ และการทำให้ผู้เยาว์เป็นวัตถุทางเพศ ซึ่งล้วนเป็นพิษและอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อทั้งศิลปินและแฟนคลับทั่วโลก Promise Youสัญญาทาสที่เอาเปรียบศิลปิน ช่วงเวลาก่อนไอดอลเคป็อปไม่ว่าเดี่ยวหรือกลุ่มจะเปิดตัวในฐานะศิลปินสู่สาธารณชนอย่างเป็นทางการ หรือที่เรียกว่า ‘เดบิวต์’ พวกเขาต้องผ่านการเข้าร่วมโปรแกรมเทรนนิงในฐานะ ‘เด็กฝึก’ หรือ ‘เทรนนี’ ของค่ายเพลง เพื่อพัฒนาและฝึกฝนทักษะต่างๆ อย่างหนักหน่วง ทั้งการเต้น การร้องเพลง การแสดง ฯลฯ ภายใต้ตารางกิจวัตรประจำวันและกฎที่เข้มงวด […]

1 111 112 113 114 115 371

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.