จากการฝึกคัดลายมือของเด็กชั้น ม.6 สู่ฟอนต์ ‘ถาป่ง ถาปัด’ ใช้ได้ฟรีทุกงานออกแบบ

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายคนคงเห็นการแจกฟอนต์ลายมือชื่อ ‘ถาป่ง ถาปัด (thaphong thapad)’ ผ่าน Facebook Page : F0NT แหล่งรวมฟอนต์ไทย ทั้งแบบฟรีและเสียค่าใช้จ่ายจากเว็บฟอนต์ (f0nt.com) ถาป่ง ถาปัด เป็นแบบอักษรที่ออกแบบโดย ‘อิง-จิรายุ บัวสุวรรณ’ นักเรียนชั้น ม.6 จากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ฯ บางเขน ซึ่งอยู่ระหว่างการทำพอร์ตโฟลิโอเข้าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และต้องฝึกทำ Sketch Design แต่ด้วยความที่เขารู้สึกว่าลายมือเดิมของตนไม่เข้ากับงานออกแบบเท่าไหร่ จึงนั่งคัดลายมือเพื่อนำมาปรับใช้กับภาพวาด จากการศึกษารูปแบบฟอนต์ในงานสเก็ตช์หลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นงานออกแบบในอินเทอร์เน็ต หนังสือออกแบบเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม และลายมือของพ่อที่ประกอบอาชีพสถาปนิก เมื่อนำรูปแบบการเขียนทั้งหมดมาผสมผสานกัน จิรายุก็ลองผิดลองถูก จนได้ออกมาเป็นลายมือที่เขาเขียน ก่อนทำมาเป็นฟอนต์ ถาป่ง ถาปัด พร้อมเปิดให้โหลดใช้ฟรีทุกรูปแบบ จิรายุบอกกับเราว่า เขาหวังว่าฟอนต์นี้จะเป็นประโยชน์กับใครหลายคน โดยเฉพาะนักเรียนที่ต้องฝึกคัดลายมือสำหรับงานสถาปัตย์เหมือนกัน ดาวน์โหลดฟอนต์ ถาป่ง ถาปัด ได้ที่ : f0nt.com/release/thaphong-thapad

MT. BROMO ภูเขาไฟแห่งชีวิต

ท่ามกลางอากาศหนาวเย็นของพื้นที่ที่มีความสูง 2,329 เมตรเหนือน้ำทะเล ‘โบรโม’ ภูเขาไฟหนึ่งในกลุ่มวงแหวนแห่งไฟที่ยังคงปะทุ กลับถูกโอบรัดไว้อย่างอบอุ่นด้วยทะเลทรายแห่งความเชื่อ การมาเยี่ยมของนักท่องเที่ยว และการสนับสนุนจากรัฐบาล โบรโม เป็นภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ในจังหวัดชวาตะวันออก ประเทศอินโดนีเซีย ที่ถูกล้อมรอบไปด้วยทะเลทรายสีดำและหมอกหนาตลอดทั้งวัน โดยโบรโมมีชื่อมาจากการออกเสียงเรียกพระพรหมของชาวชวา ที่พวกเขาเชื่อว่าเป็นผู้สร้างสิ่งมหัศจรรย์ทั้งหลายบนโลก โดยช่วงต้นเดือนกรกฎาคมของทุกปี ชาวบ้านในหมู่บ้าน Cemoro Lawang จะเดินทางนำของไปสักการบูชาภูเขาไฟ ไม่ว่าจะเป็นผลไม้ ดอกไม้ หรือขนมหวาน ซึ่งจะนำไปวางไว้บริเวณองค์พระพิฆเนศที่ตั้งอยู่ตรงปากปล่องภูเขาไฟ เพื่อขอพรแก่ตนเองและขอให้เทพแห่งภูเขาไฟช่วยปกปักรักษาหมู่บ้าน นอกจากนี้ จากคำบอกเล่าของคนในพื้นที่ บริเวณต่างๆ ในทะเลทรายที่มีการตั้งแท่นบูชาจะมีการนำเศษไก่ไปวางไว้เพื่อเป็นการเซ่นไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์โดยรอบด้วย นอกจากการอนุรักษ์ดูแลของชาวบ้านแล้ว รัฐบาลยังมีโครงการช่วยสนับสนุนและส่งเสริมพื้นที่ผ่านการจัดกิจกรรม Karisma Event Nusantara (KEN) โดยจะนำศิลปะ วัฒนธรรม และอาหารในแต่ละพื้นที่ มาจัดแสดงเป็นอีเวนต์ที่ช่วยดึงดูดความสนใจจากนักท่องเที่ยวและขยับเขยื้อนเศรษฐกิจให้เติบโต และในปีนี้ก็มีการจัดกิจกรรมที่ภูเขาไฟโบรโมด้วย กิจกรรมนี้นอกจากจะกระตุ้นเศรษฐกิจระดับประเทศแล้ว ยังช่วยส่งเสริมศิลปินตัวเล็กตัวน้อยในภูมิภาคต่างๆ ทั้งเรื่องของเงินและกำลังใจว่า สิ่งที่พวกเขากำลังทำนั้นได้รับการมองเห็น มีคนอีกมากที่เห็นคุณค่า และยังสร้างความหวังว่า ความสวยงามเหล่านี้จะถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีสำหรับผู้คนในภายภาคหน้า หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

‘Thai Khon x Contemporary MR’ จะเป็นอย่างไร ถ้าวาร์ปครูโขนและครูเต้นร่วมสมัย มาสอนร่ายรำกันในโลกเสมือน

ที่อยู่ตรงหน้าคือร้านกาแฟ แต่เมื่อสวมแว่น Meta Quest 3 ครอบหัว เราก็เห็น Avatar หนุมานมาปรากฏกายในพื้นที่ร้าน พอลองโยกย้ายมือและแขนเลียนแบบเจ้าหนุมาน คำว่า ‘AWESOME’ ก็เด้งขึ้นมาเป็นเอฟเฟกต์ ส่งสัญญาณว่าเราทำท่าถูกต้องตามอย่างตัวละครในโลกเสมือนแล้ว ตามปกติเวลาอยากฝึกเต้น เรามักหาครูสักคนมาเต้นให้ดูตรงหน้า แล้วลอกท่าทางตาม หรือไม่ก็เปิดคลิปวิดีโอบนจอคอมพิวเตอร์ แล้วแกะท่าตามคนในจอ แต่ ซูฟีย์ ยามา และ เคธี่ เดล-เอเวอเร็ท (Katie Dale-Everett) บอกกับเราว่า ในอนาคตเราอาจเรียนเต้นรำผ่านเทคโนโลยี ‘Mixed Reality’ พร้อมชวนให้ลองสวมแว่น Meta Quest 3 ทดลองฝึกเต้นจากแอปฯ ต้นแบบที่พวกเธอพัฒนาขึ้นมา ซูฟีย์ ยามา คือ Creative Technologist ชาวไทย หรือนักสร้างสรรค์ที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ และเป็นผู้ก่อตั้งสตูดิโอ ‘Utopia Lab Studio’ ที่สรรค์สร้างสื่อผสมผสานศิลปะและเทคโนโลยีหลากหลาย เช่น Virtual Reality (VR), Augmented Reality […]

One Bangkok Public Art Collection เตรียมพบผลงานชิ้นพิเศษจาก ‘อนิช คาพัวร์’ และ ‘โทนี แคร็กก์’ ผลักดันกรุงเทพฯ สู่จุดหมายด้านศิลปะและวัฒนธรรมระดับโลก

ใกล้เข้ามาทุกทีกับโครงการ ‘One Bangkok’ ที่จะเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ปลายเดือนตุลาคมนี้ ภายใต้แนวคิด The Heart of Bangkok เมืองกลางใจที่ใช้ใจสร้าง นอกจากประกอบไปด้วยอาคารสำนักงาน ที่อยู่อาศัย โรงแรม ศูนย์แสดงนิทรรศการ คอนเสิร์ตฮอลล์ระดับโลก พื้นที่สาธารณะเปิดโล่ง และพื้นที่สีเขียวจำนวน 50 ไร่แล้ว ทางโครงการยังให้ความสำคัญกับการนำศิลปะและวัฒนธรรมมาผสมผสานเป็นส่วนหนึ่งกับการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้คนด้วย และในไตรมาส 4 ปี 2567 ทาง วัน แบงค็อก เตรียมนำเสนอ One Bangkok Public Art Collection คอลเลกชันศิลปะสาธารณะที่กระจายตัวอยู่ทั่วทั้งโครงการ ผ่านการออกแบบอย่างพิถีพิถันให้สอดคล้องไปกับวิถีชีวิตและสุนทรียศาสตร์ของ วัน แบงค็อก  ในคอลเลกชันประกอบด้วยผลงานของศิลปินระดับโลก ซึ่งสร้างปรากฏการณ์ผ่านศิลปะระดับแลนด์มาร์กมาแล้วมากมาย นั่นคือ ‘อนิช คาพัวร์’ (Sir Anish Kapoor) เจ้าของประติมากรรมที่เลื่องชื่อที่สุดแห่งยุคสมัย อาทิ Cloud Gate และ The Bean ประติมากรรมขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ที่ Millennium […]

มองหนังฮ่องกงผ่านเลนส์ผู้กำกับร่วมสมัย

เมื่อพูดถึงภาพจำที่มีต่อหนังฮ่องกงแนวกังฟูอย่าง ‘Ip Man’ หรือหนังโจรกรรมแอ็กชันอย่าง ‘Police Story’ ภาพจำในอดีตเหล่านี้หลายๆ ครั้งก็เป็นกับดักที่ทำให้ผู้ชมทั่วโลกมองไม่เห็นถึงความหลากหลายของหนังฮ่องกงเช่นกัน “ในช่วงยุค 80 – 90 ผู้สร้างหนังในฮ่องกงเปรียบเสมือนศิษย์พี่ศิษย์น้อง การสร้างผลงานจะออกมาคล้ายๆ กัน แต่ในสมัยใหม่ คนรุ่นใหม่มักสนใจการสร้างหนังเกี่ยวกับเรื่องรอบตัว ใช้ความรู้สึกส่วนตัวเป็นส่วนใหญ่” Urban Creature คุยกับ ‘HO Miu-ki’ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง Love Lies และ ‘Nick CHEUK’ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง Time Still Turns the Pages สองผู้กำกับหนังฮ่องกงร่วมสมัยจากเทศกาลภาพยนตร์ฮ่องกง 2024 ถึงอุตสาหกรรมหนังฮ่องกงในยุคปัจจุบันว่ามีปัญหาอะไร การหาทุนทำหนังในประเทศมีมากพอหรือไม่ หรือมีอะไรเปลี่ยนไปบ้างจากสมัยก่อน เทศกาลภาพยนตร์ฮ่องกง 2024 จัดขึ้นตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ณ โรงภาพยนตร์ ‘House Samyan’ (ชั้น 5 สามย่านมิตรทาวน์) ติดตามข่าว […]

LittleFits บริการสมาชิกเสื้อผ้าเด็กรายเดือนแห่งแรกในไทย ตัวเลือกใหม่แบบรักษ์โลกของพ่อแม่ยุคปัจจุบัน

“ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เด็กอายุศูนย์ถึงสองปี เปลี่ยนไซซ์เสื้อผ้ามากถึงหกถึงเจ็ดครั้ง บางทีซื้อเสื้อผ้ามา ใช้ไม่กี่ครั้งก็ต้องเปลี่ยนแล้ว หรือบางคนซื้อมาไม่ได้ใช้ต้องทิ้งแล้วก็มี” แม้จะเป็นระยะเวลาสั้นๆ แค่ 2 ปีหลังจากเจ้าตัวน้อยลืมตาดูโลก แต่ก็ถือว่าเป็นระยะเวลามากพอที่จะสร้างขยะเสื้อผ้าเด็กจำนวนมาก เพราะเฉลี่ยแล้ว แต่ละครอบครัวจะสร้างขยะเสื้อผ้าเหลือทิ้งมากถึง 90 ชิ้น และคาร์บอนฟุตพรินต์กว่า 360 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อลดปัญหาขยะเสื้อผ้าเด็ก และช่วยเซฟเงินในกระเป๋าคุณพ่อคุณแม่ไปพร้อมๆ กัน ‘ต้า-ธนกฤต จินดามัยกุล’ และ ‘เซน-นรเทพ ถนอมบุญ’ สองหนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรงจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จับมือกันสร้าง ‘LittleFits’ บริการสมาชิกเสื้อผ้าเด็กรายเดือนแห่งแรกในไทยขึ้น จากคนที่มีความสนใจเหมือนกันสู่คู่หูธุรกิจ นอกจากเป็นนิสิตชั้นปีที่ 4 จากคณะและมหาวิทยาลัยเดียวกันแล้ว ความสนใจเรื่องเสื้อผ้าและสิ่งแวดล้อมยังเป็นอีกเรื่องที่เชื่อมต้ากับเซนเข้าด้วยกัน “แต่จุดเริ่มต้นจริงๆ คือเราทั้งสองคนสนใจเรื่องสตาร์ทอัพอยู่แล้ว และได้มีโอกาสทำเคสธุรกิจในมหา’ลัยด้วยกัน” เซนเท้าความถึงจุดที่ทำให้ทั้งคู่ขยับมาเป็นพาร์ตเนอร์ด้านธุรกิจ “หลังจากนั้นเลยทำให้รู้ว่าผมกับเขาชื่นชอบเรื่องเสื้อผ้าเหมือนกัน จนไปเจอเข้ากับ Pain Point เรื่องขยะที่เกิดจากเสื้อผ้าเด็ก จึงปรึกษาและพัฒนาออกมาเป็น LittleFits ในที่สุด” ต้าเสริม ชายหนุ่มอธิบายรูปแบบธุรกิจนี้อย่างง่ายๆ ให้เราฟังว่า LittleFits คือแบรนด์ให้บริการเสื้อผ้าเด็กแบบพรีเมียมลักซูรีรายเดือนแห่งแรกในประเทศไทย ที่มีจุดมุ่งหมายในการพยายามลดขยะเสื้อผ้าเด็ก ด้วยการทำให้เกิดการหมุนเวียนของเสื้อผ้าให้ได้มากที่สุด […]

‘Ignacy Jan Paderewski Academy of Music’ พาไปดูรางวัลชนะเลิศการออกแบบสถาบันดนตรีที่โปแลนด์ ที่ผสมผสานโครงสร้างใหม่กับสถาปัตยกรรมดั้งเดิมของเมือง

จำเป็นหรือไม่ที่สถาบันดนตรีจะต้องเป็นอาคารที่ภายในเต็มไปด้วยเครื่องดนตรีและห้องหับต่างๆ ที่จัดตามประเภทการสอนเท่านั้น ‘Ignacy Jan Paderewski Academy of Music’ คือสถาบันดนตรีในเมือง Poznań ประเทศโปแลนด์ ที่อยากให้สถาบันของตนไม่ใช่แค่ที่เรียนดนตรี แต่ต้องเป็นสถานที่ที่รวมไว้ทั้งวัฒนธรรมและการศึกษา  ทางสถาบันจึงร่วมมือกับ Association of Polish Architects จัดการแข่งขันด้านสถาปัตยกรรม เพื่อสร้างศูนย์วัฒนธรรมและการศึกษาแห่งใหม่ รองรับทั้งนักเรียนและผู้อยู่อาศัยในเมือง Poznań โดยการลงทุนนี้รวมถึงพื้นที่ทางวิชาการ ตลอดจนศูนย์กลางดนตรีระดับภูมิภาคที่มีห้องโอเปร่า โรงละคร และพื้นที่อื่นๆ อีกมากมาย สำหรับการแข่งขันครั้งนี้ ‘WXCA’ สตูดิโอออกแบบสถาปัตยกรรมชื่อดังของโปแลนด์ก็เป็นผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศไป จากการนำเสนอภาพสถาปัตยกรรมที่มีความทันสมัย ในขณะที่ยังคงรักษาสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมของเมืองเอาไว้ โดยสะท้อนบริบทเมืองในศตวรรษที่ 19 ได้เป็นอย่างดี WXCA ตั้งใจออกแบบให้อาคารมีรูปร่างเป็นกลางระหว่างอดีตและปัจจุบันของ Poznań โดยแบ่งอาคารออกเป็นบล็อกขนาดเล็กตามฟังก์ชันการใช้งานและความสูงที่ต่างกัน ซึ่งช่องว่างระหว่างบล็อกจะเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมโดยรอบ เป็นการเชื้อเชิญให้ผู้คนเดินเข้ามาภายในด้วย  ส่วนตัวอาคารด้านในมีการแบ่งโซนกันอย่างชัดเจน สำหรับทำหน้าที่เป็นพื้นที่สาธารณะ โซนสำหรับการศึกษา และโซนอื่นๆ เพื่อความสะดวกสบายในการทำงานของสถาบัน รวมถึงตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานที่หลากหลาย ทำให้มั่นใจได้ว่าแต่ละกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในอาคารแห่งนี้จะแยกจากกันอย่างเป็นอิสระ ไม่รบกวนกันและกัน Source :WXCA | tinyurl.com/4z6mh228 

ในโลกอันแสนโหดร้ายที่ใครๆ ให้ค่าแต่ความสำเร็จ เราจะปล่อยวางยังไง ไม่ให้ปล่อยปละละเลย

ขณะที่โลกแห่งการตื่นรู้เรื่องสุขภาพจิตได้พร่ำบอกทุกคนถึงความสำคัญของการ Slow Down หรือค่อยๆ ทำอะไรให้ช้าลง แต่โลกแห่งความจริงที่หลายคนต้องตรากตรำทำทุกอย่างให้สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน การปั้นชีวิตให้สวยดั่งที่ฝัน หรือความสัมพันธ์ ฯลฯ เราก็ไม่สามารถปรับโหมดเป็น ‘ปล่อยมันไป’ กันได้ง่ายๆ และจะยิ่งกระตุ้นความโมโหทุกครั้ง เวลาได้ยินใครบอกให้ ‘อย่าไปคิดมากกับชีวิตนักเลย’ การเข้าถึงสุขภาวะจิต ไม่ได้แปลว่าเราต้องอยู่ฝั่ง ‘Worry-free’ ไร้ซึ่งความกังวลเสมอไป แต่คือการขับเคลื่อนชีวิตไปเรื่อยๆ อย่างมีสติ รับรู้ถึงทุกอารมณ์ และปล่อยบางอย่างที่ขุ่นมัวหัวใจออกไป ไม่ให้มันมาทำลายเราได้ แล้วเรื่องอะไรบ้างเล่าที่เราควรปล่อยวาง ชวนมาสำรวจพร้อมๆ กันในบทความนี้ โลกไม่ได้จ้องแต่จะทำร้ายเรา แต่เป็นหน้าที่ของเราในการจัดการตนเอง นิสัยหนึ่งที่เป็นอุปสรรคในการมีสุขภาพจิตที่ดีคือ การมองว่าตัวเองคือ ‘เหยื่อ’ ในทุกเหตุการณ์โชคร้ายที่เกิดขึ้นกับเรา  สิ่งนี้ไม่ใช่การปล่อยวาง แต่คือการปล่อยปละละเลยแน่นอน เพราะเราไม่ได้รู้สึกสบายใจขึ้นหลังจากมองตัวเองว่าเป็นเหยื่อ อีกทั้งยังกลับทำให้เราไม่อยากพยายามลองหาทางแก้ไขหรือปรับปรุงชีวิตให้เติบโตและพัฒนาขึ้นจากจุดที่เป็นอยู่ ซึ่งนั่นจะยิ่งทำให้เรารู้สึกไม่มีความสุขกับตัวเอง เพราะเชื่อไปแล้วว่าคนอย่างเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ ในส่วนหนึ่งก็จริง มีหลายสิ่งที่เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่เราทุกคนมีความสามารถที่จะทำชีวิตให้ดีขึ้นหรือสุขขึ้นได้เสมอ เช่น ถ้าเราโดนไล่ออกจากงานที่รักและทุ่มเทอย่างเต็มที่ มันไม่ยุติธรรมเอาเสียเลย เราโมโหโวยวายกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ แต่หลังจากนั้นมันก็อยู่ในอำนาจของเราเช่นกัน ที่จะเลือกเดินต่อไปในชีวิตยังไง จะพยายามหางานใหม่ ที่แม้ไม่ได้เป็นงานที่รักเหมือนเดิมแต่ก็พอเลี้ยงตัวเองอยู่รอด หรือจะจมอยู่ที่เดิม ยอมแพ้กับชีวิต และเอาแต่จ้องจับข้อเสียของโลกใบนี้ที่เกิดกับเรา เพื่อนำมาเป็นบทสรุปให้ชีวิตตัวเองว่า […]

เปิดพื้นที่ให้ชาวเนิร์ดดาต้าแลกเปลี่ยนความรู้ด้านข้อมูลแบบเน้นๆ ในงาน ‘Data Con 2024’ วันที่ 5 ต.ค. 67 ที่ True Digital Park

‘มีข้อมูลก็เหมือนมีอำนาจในมือ’ เป็นคำกล่าวที่ไม่เกินจริงเลย เพราะปัจจุบันข้อมูลเป็นปัจจัยสำคัญทั้งในเรื่องการทำงาน การพัฒนาเปลี่ยนแปลง หรือแม้แต่การขับเคลื่อนประเด็นต่างๆ ในสังคม เพียงแต่ว่าพื้นที่สำหรับแลกเปลี่ยนความรู้ของคนทำงานด้านข้อมูลยังไม่ค่อยมีให้เห็นมากนัก ด้วยเหตุนี้ Rocket Media Lab, Skooldio, WeVis, Punch Up, Boonmee Lab, HAND, 101 และ 101PUB กลุ่มองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในด้านต่างๆ จึงร่วมกันสร้างสรรค์อีเวนต์ด้านข้อมูลครั้งแรกในประเทศไทยอย่าง ‘Data Con 2024’ ขึ้นมา งานนี้จะทำหน้าที่เป็นพื้นที่ที่เปิดให้คนที่ทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในสาขาต่างๆ หรือคนที่สนใจงานข้อมูลได้มาพบปะและแลกเปลี่ยนความรู้ความสนใจกัน โดยทำให้เห็นว่าข้อมูลนั้นมีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงโลกมากน้อยแค่ไหน ไม่แน่ว่างานนี้อาจจะเป็นอีกหนึ่งโอกาสการทำงานในอนาคตของหลายๆ คนเลยก็ได้ โดยกิจกรรมภายในงานจะประกอบไปด้วย 4 ส่วนที่มาเติมเต็มความอยากรู้ของชาวเนิร์ดข้อมูล ได้แก่ 1) Talk Session : ในช่วงเช้าพบกับ 5 สปีกเกอร์อย่าง เอกลักษณ์ หลุ่มชมแข หัวหน้าศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา, ณพล จาตุศรีพิทักษ์ นักวิจัยด้านรัฐศาสตร์ ISEAS, ดร.ชนิกานต์ ว่องวิริยะวงศ์ CEO แห่ง […]

ฟื้นตลาดเก่าเศร้าซึมให้สดใสภายใต้โครงการสังกะสีสตรีทอาร์ท โดยความร่วมมือของชาวบ้านและศิลปินจากชุมชนตลาดเก่าแม่กลอง

หากใครได้ไปเยือน ‘ตลาดเก่าแม่กลอง’ หรือ ‘ตลาดเก่าริมน้ำเพชรสมุทรฯ’ ชุมชนย่านการค้าบริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแม่กลอง จ.สมุทรสงคราม จะเห็นแผ่นสังกะสีสีเขียวล้อมรอบพื้นที่ตลาดเก่าบางส่วน ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างอาคารจอดรถ 5 ชั้น ทำให้พื้นที่ตรงนั้นดูรกร้างและไม่ปลอดภัย ประกอบกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง ทำให้ตลาดเก่าแม่กลองดูเงียบเหงาจนพ่อค้าแม่ค้ารู้สึกเศร้าซึมตามไปด้วย ‘มานะชัย ทองยัง’ ทันตแพทย์ที่เติบโตมาในชุมชนแม่กลองที่เห็นปัญหาดังกล่าว จึงหาวิธีปรับปรุงทัศนียภาพของพื้นที่โดยใช้ศิลปะผลักดันการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านโครงการ ‘สังกะสีสตรีทอาร์ท’ ที่รับสมัครนักศิลปะอาสามาแต่งแต้มสีสันให้สังกะสีที่ล้อมรอบไซต์ก่อสร้างในพื้นที่ตลาดเก่าแม่กลอง “เราเคยมีโอกาสทำงานอีเวนต์กับเยาวชนร่วมกับองค์กรในจังหวัดอยู่บ้าง และเห็นการใช้ศิลปะในการกระตุ้นการท่องเที่ยว เช่น การออกแบบมาสคอตปาป้า-ทูทู่ การจัดกิจกรรมภาพถ่ายและจัดแสดง ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ได้รับผลตอบรับค่อนข้างดี จึงลองหยิบศิลปะมาช่วยแก้ปัญหาและคลายข้อกังวลของชาวบ้าน” มานะชัยกล่าวถึงจุดเริ่มต้นโครงการของเขา กิจกรรมสังกะสีสตรีทอาร์ทเริ่มด้วยการให้ศิลปินที่เคยร่วมกิจกรรมภาพวาดและงานศิลปะอื่นๆ มาพูดคุยกับคนในชุมชนว่า อยากให้อัตลักษณ์ของชุมชนถูกสื่อสารออกมาเป็นภาพแบบไหน และหวังว่างานศิลปะบนสังกะสีเหล่านี้จะกลายเป็นจุดเช็กพอยต์ของนักท่องเที่ยวตลอดช่วงเวลาที่มีการก่อสร้าง มานะชัยเล่าว่า ชาวบ้านหลายคนรู้สึกสนุกและตื่นเต้นที่จะได้ร่วมพัฒนาพื้นที่กับศิลปิน อีกทั้งยังพร้อมสนับสนุนโครงการเต็มที่ เช่น การสนับสนุนอาหาร โดยบางส่วนก็มาร่วมลงแรงทาสีด้วย “อยากให้โครงการนี้สะท้อนให้เห็นคุณค่าของงานสร้างสรรค์กับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดยต้องมีคนในชุมชนเป็นตัวหลักในการดำเนินการ ไม่ใช่การคิดแทนและดำเนินการโดยส่วนกลางอย่างเดียว” เขาเล่า ทั้งนี้ สังกะสีสตรีทอาร์ทได้ผ่านกระบวนการพูดคุยระหว่างศิลปินและชาวบ้านเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างรอดำเนินการลงพื้นที่ระบายสีสังกะสี แต่เพื่อความปลอดภัยของศิลปินและคนในชุมชน ทางผู้รับเหมาโครงการอาคารจอดรถได้ขอชะลอโครงการให้เริ่มขึ้นหลังลงเสาเข็มอาคารก่อน ติดตามความคืบหน้าโครงการหรือสนับสนุนสีและอุปกรณ์ทาสีได้ที่ Facebook : Manachai Na

ย้อนเวลากลับไปเต้นสวิงในยุค 30 ให้สนั่นฟลอร์ ในงาน ‘STEP INTO SWING’ ที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) วันที่ 25 สิงหาคม 67

ถึงเวลาวาดลวดลายให้สนั่นฟลอร์กันอีกครั้ง ที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ในงาน ‘STEP INTO SWING : Take the A train at Hua Lamphong’ โดยมี Jelly Roll Jazz Club ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นหัวเรือใหญ่ในการเปลี่ยนห้องโถงผู้โดยสารให้กลายเป็นฟลอร์สวิงแดนซ์สุดยิ่งใหญ่ ครั้งนี้พวกเขาจะพาทุกคนย้อนเวลากลับไปยุค Swing Era ในช่วง 30’s ที่การเต้นสวิงสุดแสนรุ่งเรือง พร้อมกับวงสวิงแจ๊สชั้นนำจาก 3 ประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ‘Carolina Reapers Swing’ จากประเทศฝรั่งเศส, ‘The Frankie Sixes’ จากประเทศมาเลเซีย และ ‘The Stumbling Swingout’ เจ้าเก่าเจ้าเดิมจากประเทศไทย นอกจากนี้ ภายในงานยังมีกิจกรรมพิเศษอย่างการแข่งขัน Battle รอบชิงชนะเลิศระหว่างนักเต้นนานาชาติ ปาร์ตี้เพลงแจ๊ส และการเต้น Shim Sham Dance […]

ปั่นรถถีบในเชียงใหม่ เพจบ่นเรื่องถนนหนทางของคนขี่จักรยานที่อยากให้เชียงใหม่เป็นเมืองที่ Bicycle-friendly มากขึ้น

บอส-สิทธิชาติ สุขผลธรรม ไม่ใช่คนเชียงใหม่ แต่เขาคือเจ้าของเพจ ‘Chiang Mai Urban Cyclist: ปั่นรถถีบในเชียงใหม่’ ที่อยากผลักดันให้การขับขี่จักรยานในเชียงใหม่นั้นปลอดภัย มีถนนหนทางและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นมิตรต่อนักปั่นกว่าที่เคย จะพูดว่าบอสชอบปั่นจักรยานจนต้องลุกขึ้นมาก่อตั้งเพจก็อาจพูดได้ไม่เต็มปาก แต่หากจะกล่าวว่าชายหนุ่มชินกับการใช้จักรยาน บวกกับความอินเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ติดตัวมาตั้งแต่วัยรุ่น นั่นอาจนับเป็นแรงจูงใจในการทำเพจได้ เพราะมากกว่าการเรียกร้องเรื่องถนนหนทางและความปลอดภัย เพจของบอสยังอยากผลักดันไปถึงการตั้งนโยบายและพัฒนาเมืองในสเกลใหญ่ ที่ผู้ได้ประโยชน์จะไม่ใช่แค่นักปั่น แต่คือคนเชียงใหม่ทุกคน เวลา 3 ปีที่มาอยู่เชียงใหม่ทำให้คนที่ขับขี่จักรยานในชีวิตประจำวันเช่นเขามองเห็นอะไรบ้าง และแรงผลักดันหน้าตาแบบไหนที่ทำให้เขาเชื่อว่าเชียงใหม่จะเป็นเมือง Bicycle-friendly ได้ในที่สุด เรานัดเจอบอสเพื่อสนทนาเรื่องนี้กัน แน่นอนว่าในวันที่นัดเจอ เขาปรากฏตัวพร้อมกับจักรยานคู่ใจที่ขี่ไปไหนมาไหนรอบเมือง “เราเริ่มขี่จักรยานเพราะมันเป็นการเดินทางที่สะดวกและถูกที่สุด” “เราสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่เรียนจบ ม.6 พอขึ้นมหาวิทยาลัยก็ไปอยู่ชมรมอนุรักษ์ งานหลักๆ ของชมรมคือจัดค่ายและแคมเปญ แต่จริงๆ มันเป็นเรื่องการปลูกจิตสำนึกให้คนเข้าใจประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมมากกว่า  “พอเรียนปริญญาตรีจบ เราไปเรียนต่อโทด้านวิศวกรรมทางทะเลที่ฮาวาย ที่นั่นทำให้เราเริ่มขี่จักรยานเพราะมันเป็นการเดินทางที่สะดวกและถูกที่สุด เราใช้รถเมล์บ้าง แต่บางทีรถเมล์ก็ไม่ได้พาเราไปสุดทางที่อยากไป และบางทีมันก็ช้ากว่าขี่จักรยานเสียอีก “ฮาวายเป็นเกาะที่เป็นมิตรกับคนขี่จักรยาน ด้วยเพราะต้นไม้เยอะ ถนนมีร่มเงา คนที่นั่นจึงใช้จักรยานกันค่อนข้างเยอะ ถนนจะมีเลนจักรยานโดยเฉพาะในบางพื้นที่ ส่วนโซนที่ไม่มีเขาก็จะมีป้ายเขียนว่า Share the Road เพื่อให้คนขับรถให้ทางกับคนขี่จักรยานด้วย แม้แต่บนรถเมล์ก็จะมีพื้นที่ให้วางจักรยานบนนั้น   “เราอยู่ฮาวายได้สามปี […]

1 9 10 11 12 13 355

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.