LATEST
#TILFF2024 เทศกาลหนัง LGBTQ+ ในไทย นำเสนอความหลากหลายจากทั่วทุกมุมโลก จัดฉาย 28 เรื่อง ทั้งดูฟรีและในราคาเข้าถึงได้ วันที่ 6 – 10 ก.ย. 67 ที่ Paragon Cineplex
ได้เวลาฉลองสมรสเท่าเทียมกับ ‘THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ+ FILM & TV FESTIVAL 2024’ หรือ TILFF 2024 เทศกาลภาพยนตร์ LGBTQ+ ครั้งแรกของประเทศไทย เทศกาลที่จัดขึ้นเพื่อนำเสนอผลงานศิลปะในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และโทรทัศน์ ผ่านเรื่องราวความหลากหลายในสังคมจากทั่วทุกมุมโลก ที่จะสร้างแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ให้กับกลุ่มคอมมูนิตี้ LGBTQ+ ทั้งในประเทศไทยและระดับนานาชาติ TILFF 2024 มาพร้อมกับไฮไลต์น่าสนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดฉายภาพยนตร์ 28 เรื่องที่ได้รับรางวัลจาก 14 ประเทศ เช่น Before I Change My Mind จากแคนาดา, Big Boys และ Framing Agnes จากสหรัฐอเมริกา, I Don’t Want to Sleep Alone จากไต้หวัน, Splendid Isolation จากโปแลนด์ รวมไปถึง รักแห่งสยาม และ ฉันผู้ชายนะยะ […]
日夜公园 By Jetlag Books ป็อปอัปร้านหนังสืออิสระชั่วคราวในปักกิ่ง ที่ใช้สิ่งพิมพ์มาเพิ่มสีสันให้พื้นที่สาธารณะในเมือง
ระหว่างแนวต้นไม้บนถนนซานหลี่ถุน ย่านท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน มีป็อปอัปร้านหนังสืออิสระชั่วคราวขนาด 50 ตารางเมตร วางตัวอยู่ในแนวยาว โปรเจกต์นี้เกิดขึ้นเมื่อปี 2022 ที่ ‘Jetlag Books’ ร้านหนังสือสัญชาติจีน ได้ร่วมมือกับ ‘Swire Group’ บริษัทผู้นำระดับโลก เสนอแนวคิดที่ต้องการจะสร้างแผงขายหนังสือพิมพ์สำหรับคนรุ่นใหม่ในเมืองขึ้นบนถนนแห่งนี้ ซึ่งเป็นโครงการวัฒนธรรมสาธารณะชั่วคราว ที่ผสมผสานการมีส่วนร่วมของชุมชนเข้ากับเสน่ห์ของร้านหนังสืออิสระ โดยมุ่งหวังที่จะบูรณาการการอ่านเข้ากับชีวิตประจำวันของผู้คนอีกครั้ง จนในที่สุดก็ได้ออกมาเป็น ‘日夜公园 (Day and Night Park)’ จากฝีมือการออกแบบของสตูดิโอออกแบบ ‘CATS’ ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก Belt of Venus หรือสายคาดเอวของวีนัสตามตำนานเทพปกรณัมกรีก-โรมัน ชื่อเรียกแถบแสงสีชมพูจางๆ ในช่วงก่อนพระอาทิตย์ขึ้นหรือในขณะที่กำลังจะลับขอบฟ้า ทำให้ผนังของ 日夜公园 มีลักษณะไล่ระดับจากโทนสีเหลืองเข้มลงมาจนถึงสีแดงกุหลาบบริเวณฐาน เมื่อเจอกับแสงแดดในแต่ละช่วงเวลาก็จะให้ประสบการณ์และความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ บริเวณภายในของแผงขายหนังสือแห่งนี้ยังได้รับแรงบันดาลใจจากสัดส่วนของห้องโดยสารบนเครื่องบิน ที่ความสูงของเพดานจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นจาก 2.15 เมตร เป็น 3.4 เมตร เชิญชวนผู้คนที่เดินผ่านไปมาให้เข้ามาสัมผัสกับหนังสือที่ประจำการอยู่ด้านใน Jetlag Books หวังว่า ป็อปอัปร้านหนังสืออิสระชั่วคราวแห่งนี้จะก้าวข้ามรูปแบบร้านหนังสือแบบเดิมๆ เพื่อสร้างประสบการณ์เชิงพื้นที่ที่น่าดึงดูดใจ […]
ปอกเปลือกความเหลื่อมล้ำดั่งหนามทิ่มแทง และความยุติธรรมที่ไม่มีวันออกผลใน วิมานหนาม (The Paradise of Thorns)
‘วิมานหนาม (The Paradise of Thorns)’ ผลงานล่าสุดจากค่าย GDH ร่วมกับ ‘ใจ สตูดิโอ’ ผ่านการกำกับของ ‘บอส-นฤเบศ กูโน’ (ซีรีส์แปลรักฉันด้วยใจเธอ) ด้วยเรื่องราวที่แปลกใหม่แตกต่างจากสิ่งที่ค่ายหนังอารมณ์ดีของไทยเคยทำมา พร้อมการแสดงของศิลปินที่พลิกบทบาทมาสู่การเป็นนักแสดงอย่าง ‘เจฟ ซาเตอร์’ และ ‘อิงฟ้า’ นักร้องและนางงามที่สลัดบทบาทมารับบทใหม่ในแบบที่ผู้ชมไม่เคยเห็นมาก่อน ทั้งหมดนี้คงทำให้หลายคนรู้สึกอยากดูวิมานหนามขึ้นมาทันที แต่อีกความน่าสนใจสุดๆ ของภาพยนตร์เรื่องนี้คือ ความต้องการนำเสนอประเด็นสังคมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมาไม่นานนี้ ด้วยการมองเห็นถึงปัญหาของช่องโหว่ทางกฎหมายมากมายที่ทำให้เกิดความทุกข์ยากแก่ผู้คนชายขอบที่ไม่ได้เป็นที่สนใจในสังคม ประเด็นหนึ่งที่เห็นเด่นชัดที่สุดคือ สิทธิตามกฎหมายของคู่รัก LGBTQ+ ที่ทำให้หลายคนพลาดโอกาสในการมีชีวิตอย่างที่ควรจะเป็นไปอย่างน่าเสียดาย สิ่งเหล่านี้ถูกนำเสนอผ่านเรื่องราวของ ‘ทองคำ’ (เจฟ ซาเตอร์) และ ‘เสกสรร’ (เต้ย พงศกร) คู่รักที่ร่วมกันสร้างสวนทุเรียนขึ้นมาด้วยน้ำพักน้ำแรงของตัวเองกว่า 5 ปี โดยทองคำเป็นคนหยิบยื่นเงินในการไถ่ถอนที่ดินติดจำนองและมอบที่ดินผืนนี้ให้เสกไว้เป็นดั่งทะเบียนสมรสของทั้งสอง แต่ยังไม่ทันได้มีความสุขนานพอที่จะเห็นผลผลิตผลิดอกออกผล เสกก็ประสบอุบัติเหตุจนเสียชีวิตไปในที่สุด ทำให้ทรัพย์สมบัติทั้งหมดกลับไปตกอยู่กับ ‘แม่แสง’ (สีดา พัวพิมล) ผู้เป็นมารดาของเสก และได้พา ‘โหม๋’ (อิงฟ้า วราหะ) ลูกสาวที่เก็บมาเลี้ยง รวมทั้ง […]
ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive สิงหาคม 2567
‘น้อยแต่มาก เล็กแต่ยิ่งใหญ่ พระเจ้าอยู่ในรายละเอียด’ วลีเหล่านี้เป็นสิ่งที่เหล่าคนทำงานออกแบบหรือทำงานสร้างสรรค์มักได้ยินกันจนชินหู ซึ่งการวัดกึ๋นในผลงานออกแบบใดๆ ในปัจจุบัน เรามักไปตามดูกันตรงรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ปรากฏอยู่ในผลงานนี่แหละ อย่างไรก็ตาม ตัวผมเองไม่ค่อยอยากจำกัดคำเท่ๆ พวกนี้อยู่แค่ในวงการนักออกแบบหรือคนทำงานสร้างสรรค์เท่านั้น เพราะหลายครั้งผมก็เห็นผลงานออกแบบตามริมทางท้องถนนจากคนทั่วไปที่ไม่ได้เรียนออกแบบ ที่มีลักษณะน้อยแต่มากหรือมีรายละเอียดเล็กๆ ที่เห็นแล้วน่าทึ่งไม่แพ้นักออกแบบตัวจริงอยู่บ่อยๆ ไม่รู้ว่าใครเห็นด้วยกับผมไหมว่า เวลาจะลงรายละเอียดในงานออกแบบใดๆ เราในฐานะนักออกแบบมักพยายามทำให้มันดูแนบเนียนไปกับภาพใหญ่ แต่ในงานออกแบบเล็กๆ ตามริมทางท้องถนนนั้นกลับตรงกันข้าม เพราะมีความไม่แนบเนียนและโดดออกมาจากชิ้นงานให้เห็น แต่ถึงแม้มันจะสามารถสังเกตเห็นได้ง่าย แต่หลายคนก็เลือกที่จะมองข้ามไปอยู่บ่อยครั้ง อาจเพราะสุดท้ายแล้ว เมื่อมองรวมๆ ภาพใหญ่กับทัศนียภาพของเมืองไทยต่างกลมกลืนกันไปอยู่ดีนั่นเอง แต่ไม่ต้องรู้สึกพลาดอะไรไป หากใครไม่ค่อยได้สังเกตเห็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ พวกนี้ตามริมทาง ผมได้คัดสรรภาพของเหล่านี้มาให้เพื่อนๆ ได้รับชมอยู่แล้วเป็นประจำทุกเดือนในคอลัมน์ #ดีไซน์เค้าเจอ เพื่อเป็นกรณีศึกษาให้เราฝึกมองของรอบตัวให้ดีมากขึ้น เผื่อเวลาที่เราออกจากบ้านแล้วผ่านตามตรอกซอกซอย อาจจะได้ลองกวาดสายตามองไปตามแนวผนังตามจุดต่างๆ และพระเจ้า (แบบไทยๆ) ที่อยู่ในรายละเอียดอาจจะปรากฏตัวให้เห็นก็เป็นได้ Doll Stopper อะไรที่ดูผิดที่ผิดทาง หลายครั้งมันถูกคิดมาแล้วเป็นอย่างดี อย่างประตูรั้วเหล็กหน้าบ้านในรูปนี้ที่มีตุ๊กตาหมีตัวเล็กๆ ตัวหนึ่งถูกมัดติดเอาไว้ เมื่อลองพิจารณาดูรวมๆ ก็พบว่า น้องตุ๊กตาหมีตัวนี้คือดีเทลซับแรงกระแทกของประตูรั้วเหล็กที่อาจเปิดไปชนกับกำแพงด้านข้าง กลายเป็น Doll ที่เป็น Door Stopper นั่นเอง FruitWork […]
Acousticity | WANYAi ความทรงจำที่ยังหายใจ Live Session @BACC
ใครที่ไปเดินเล่นแถวสยามบ่อยๆ น่าจะเคยเห็นหรือได้ยินเสียงเพลงจากวงดนตรีเปิดหมวก ที่มาโชว์ความสามารถทั้งร้องทั้งเล่นให้คนที่เดินผ่านไปผ่านมารับฟังกัน บ่อยครั้งที่นี่คือสถานที่จัดคอนเสิร์ตกลางแจ้งเสียด้วยซ้ำ สยามในปัจจุบันจึงเป็นเหมือนศูนย์รวมของนักดนตรีและศิลปินหลากหลายรุ่น วันนี้ Urban Creature พา ‘แว่นใหญ่’ มาย้อนความหลังผ่านเพลง ‘ความทรงจำที่ยังหายใจ’ ที่บริเวณหน้าหอศิลปกรุงเทพฯ ในรายการ Acousticity ที่จะชวนศิลปินมาเล่นเพลงในพื้นที่สาธารณะของเมือง อันอบอวลไปด้วยเสียงบรรยากาศของพื้นที่นั้น และรับรู้เบื้องหลังภายใต้เสียงเพลงที่เราได้ยิน
‘ยังธน’ กลุ่มคนวัย Young ที่รวมพลังพัฒนาฝั่งธนฯ ด้วยความสนุก ตั้งแต่จัดเตะบอลไปจนถึงสร้างเกมที่ทำให้คนอยากมาตามรอย
การพัฒนาเมือง ฟังแล้วเป็นเรื่องแสนยิ่งใหญ่ การเสกโครงสร้างพื้นฐานสุดอลังการ การขุดลอกคูคลอง เอาสายไฟลงใต้ดิน ปรับระดับพื้นทางเดินให้เรียบเกลี้ยง การวางวิสัยทัศน์เมือง ตั้งเป้าหมายมุ่งไปข้างหน้าอีกหลายสิบปี แต่จะเป็นไปได้ไหม ถ้าเราจะพัฒนาเมืองด้วยการจัดงานเตะบอลหรือการสร้างเกมขึ้นมาสักอัน ฟังดูแปลก เหนือความคาดหมาย แต่นี่คือสิ่งที่ ‘ยังธน’ ทำมาแล้วจริงๆ ยังธน เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่ผูกพันกับย่านธนบุรี บ้างก็เกิดและเติบโตในพื้นที่นี้จนเรียกธนบุรีว่าบ้าน แม้สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มจะมีพื้นเพแตกต่างกัน บางคนเป็นสถาปนิก บางคนเป็นอาจารย์ แต่ทุกคนมีจุดร่วมเดียวกันคือ อยากเห็นธนบุรีเป็นย่านที่น่าอยู่มากขึ้นกว่าเดิม แทนที่การพัฒนาเมืองจะเป็นแค่เรื่องของผู้มีอำนาจหรือผู้เชี่ยวชาญ ระดมพลทำโครงการพลิกเมืองจากหน้ามือเป็นหลังมือ ต้องวางแบบแผนให้เป๊ะทุกกระเบียดนิ้ว ต้องจริงจัง ขึงขัง ยังธนแสดงให้เห็นว่า กลุ่มคนธรรมดาก็สามารถรวมตัวกันเพื่อขับเคลื่อนย่านให้ดีขึ้นได้ และมี ‘ความสนุก’ เป็นสารตั้งต้นของการพัฒนาเมืองได้เหมือนกัน ในตึกแถวสีเทาปูนเปลือยริมถนนอิสรภาพ เราได้เจอกับ ‘บลู-รวิพล เส็นยีหีม’, ‘จั่น-จิรทิพย์ เทวกุล’, ‘ฮิน-ฐากูร ลีลาวาปะ’ และ ‘เมฆ สายะเสวี’ สี่สมาชิกกลุ่มยังธนที่รอคอยต้อนรับด้วยความยินดี หลังจัดแจงห้องและเก้าอี้ให้เรียบร้อย เตรียมพร้อมกับการสัมภาษณ์ ทั้งหมดก็นั่งประจำที่ แล้วบอกเล่าถึงความฝันของคนตัวเล็กๆ อย่างพวกเขาที่อยากเห็นเมืองที่ดี การขับเคลื่อนย่านธนบุรีเกือบสิบกว่าปีที่ผ่านมา รวมถึงจุดเริ่มต้นของคำว่า ‘ยังธน’ ที่เริ่มต้นในห้องสี่เหลี่ยมสีเทาที่เรานั่งพูดคุยกันอยู่ห้องนี้ กลุ่ม […]
‘Bangkok-Error’ Illustrated Zine ซีนที่พาไปสำรวจกรุงเทพฯ เมืองพิกล จนพาคนไปเจอเรื่องประหลาด
.นักอ่านคนไหนที่ชอบทั้งสิ่งพิมพ์และเรื่องเมือง น่าจะถูกใจ ‘Bangkok-Error (กรุงเทพฯ เมืองพิกล)’ นิตยสารภาพประกอบ (Illustrated Zine) ลายเส้นสุดน่ารักสีสันสะดุดตา โดย ‘พุดชมพู เส็งหลวง’ เจ้าของนามปากกา ‘phutchomphu’ ที่ภายในประกอบด้วยเรื่องราวการใช้ชีวิตของชาวกรุงเทพฯ อันแวดล้อมไปด้วยความพิกลของพื้นที่สาธารณะและระบบสาธารณูปโภคสุดเพี้ยน แต่ยังคงแทรกความหวังถึงการออกแบบที่คิดถึงคนเมืองมากขึ้นในอนาคต เพราะเราต่างรู้กันดีว่าการใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ นั้นเหมือนต้องผจญภัยตลอดเวลา เห็นได้ง่ายๆ จากการใช้ทางเท้าที่เราไม่มีทางรู้เลยว่าจะเจอกระเบื้องแตก น้ำขัง หรืออึหมา จนเหมือนเรากำลังเล่นเกม ‘Minesweeper’ ในชีวิตจริง นี่ยังไม่นับการเผชิญหน้ากับภาวะน้ำท่วมขังหลังฝนตกหนัก และท่อระบายน้ำที่เป็นศูนย์รวมสิ่งไม่น่าภิรมย์ ทั้งไขมันและเศษอาหาร ซากใบไม้ ซากหนู สิ่งปฏิกูลอื่นๆ หรือฟูกที่นอน เรียกได้ว่าหากใครผ่านด่านนี้ไปได้ ก็สมควรจะได้รับรางวัลเป็นยารักษาโรคน้ำกัดเท้าไปด้วยเป็นของแถม แม้เนื้อหาของ Bangkok-Error จะดูตลกร้าย ด้วยการเสียดสีการใช้ชีวิตของคนกรุงเทพฯ ออกมาได้ฉูดฉาดเจ็บแสบ แต่ขณะเดียวกัน นิตยสารเล่มนี้ก็ชวนผู้อ่านตั้งคำถามว่า เรากำลังถูกทำให้ชินชากับเมืองและพื้นที่สาธารณะที่ออกแบบมาไม่ดีหรือเปล่า อีกทั้งซีนเล่มนี้ยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเข้าถึงและปริมาณพื้นที่สีเขียวที่ควรจะเป็น การออกแบบทางเท้าที่สอดคล้องไปกับ Universal Design เพื่อให้ผู้อ่านสามารถจินตนาการถึงเมืองที่ดี และจุดประกายความหวังถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีจากการอาศัยอยู่ในเมืองที่เหมาะกับการใช้ชีวิตของคนทุกกลุ่ม ใครที่สนใจ Illustrated Zine ‘Bangkok-Error (กรุงเทพฯ เมืองพิกล)’ […]
‘AriAround’ แพลตฟอร์มเพื่อชาวอารีย์ ที่เชื่อว่าการเชื่อมโยงระหว่างกันจะทำให้ย่านและพื้นที่รอบๆ ดีขึ้นได้
เมื่อลองพิมพ์คำค้นหาในอินเทอร์เน็ตว่า ‘ย่านอารีย์’ ผลลัพธ์บนหน้าจอย่อมปรากฏรีวิวคาเฟ่และร้านอาหารขึ้นเต็มไปหมด จึงไม่น่าแปลกใจที่ย่านนี้จะเป็นจุดหมายเบอร์หนึ่งของเหล่าคนชิกๆ แต่นอกจากจะเป็นย่านคนเก๋แล้ว อารีย์ยังมีความน่าสนใจอีกหลายประการที่คนในย่านเองยังไม่รู้ด้วยเช่นกัน ‘อรุ-อรุณี อธิภาพงศ์’ คือชาวอารีย์ที่อยากให้ความน่าสนใจเหล่านั้นในย่านได้รับการค้นพบ และให้ผู้ที่มีความเกี่ยวข้อง ทั้งผู้อยู่อาศัย มาทำงาน หรือมาท่องเที่ยว ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาย่าน ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้คนได้เชื่อมโยงกัน โดยเธอได้ร่วมมือกับเพื่อนๆ สร้าง ‘AriAround’ แพลตฟอร์มสื่อกลางสำหรับเชื่อมคนย่านอารีย์ขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงคนกับชุมชน เป็นสื่อในการให้ข้อมูลของย่านในเชิงลึก ทั้งมิติประวัติศาสตร์ หรือกิจกรรมที่ทำให้คนได้มีส่วนร่วมในการเชื่อมโยงกับย่านอย่างลึกซึ้ง รวมไปถึงมิติสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตที่คนในย่านอยากเห็น เพราะคนในย่านมีความสำคัญในการพัฒนาพื้นที่ และคนนอกย่านก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้ย่านได้เติบโต คอลัมน์คนขับเคลื่อนเมืองจึงอยากชวนทุกคนจับรถไฟฟ้าลงสถานีอารีย์ ตามไปพูดคุยกับ AriAround ถึงการทำงานของแพลตฟอร์มที่ยกให้คนเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาและสร้างย่านให้น่าอยู่ โดยมี AriAround เป็นตัวกลางในการเชื่อมคนในชุมชนให้เข้าถึงกันและกันได้ง่ายขึ้น เพราะชื่นชอบจึงอยากทำให้ย่านอารีย์ดีกว่าเดิม ปกติแล้วหากจะมีการพัฒนาพื้นที่ใดสักพื้นที่หนึ่ง เรามักคิดว่าคนที่จะลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงคงต้องเป็นคนที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่เกิด แต่กับ ‘AriAround’ ไม่ใช่แบบนั้น เพราะความจริงแล้วอรุณีเองไม่ใช่คนในพื้นที่แต่ดั้งเดิม เพียงแต่เธอมีความสนใจในย่านอารีย์ และเห็นว่าเป็นพื้นที่ที่น่าจะลงมือเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างได้ “AriAround มีความเป็นมาจากการที่เราชอบย่านนี้ และเราก็อยากทำอะไรบางอย่างกับย่านนี้” อรุณีบอกกับเรา ส่วนความคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงย่านของเธอนั้นเกิดจากการที่ได้เดินทางไปใช้ชีวิตต่างประเทศในระยะหนึ่ง ทำให้ได้เห็นการทำงานร่วมกันของชุมชน และการลดใช้ทรัพยากรธรรมชาติ จนเธอรู้สึกว่าอยากจะเห็นมูฟเมนต์เหล่านั้นเกิดขึ้นที่ประเทศไทยบ้าง ประกอบกับงาน Bangkok Design Week […]
‘ริทัศน์บางกอก’ กลุ่มคนที่อยากให้คนเห็นย่านหัวลำโพงในมุมใหม่ๆ ด้วยการ Reconnect คนในและคนนอกเข้าด้วยกัน
ภาพของย่าน ‘หัวลำโพง’ ในความทรงจำของหลายๆ คนอาจหยุดอยู่แค่ที่ ‘สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)’ ยิ่งเมื่อมีการย้ายเส้นทางการเดินรถไฟบางส่วนไปที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (บางซื่อ) ภาพจำเกี่ยวกับย่านหัวลำโพงจึงเลือนรางตามไปด้วย แต่ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา การเข้ามาของกลุ่ม ‘RTUS-Bangkok ริทัศน์บางกอก’ ทำให้เราเห็นย่านหัวลำโพงในมุมมอง มิติ รวมถึงสถานที่ใหม่ๆ มากขึ้น ผ่านการบอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิตของคนในชุมชน พร้อมกับกิจกรรมต่างๆ ที่ร่วมมือกันระหว่างเครือข่าย ภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และชาวบ้านในชุมชนเอง ตามคอลัมน์คนขับเคลื่อนเมืองไปพูดคุยกับ ‘มิว-ญาณิน ธัญกิจจานุกิจ’, ‘จับอิก-ปกรณ์วิศว์ เวียงศรีพนาวัลย์’ และ ‘รวงข้าว-อภิสรา เฮียงสา’ แก๊งเพื่อนที่ร่วมกันทำกิจกรรมในย่านหัวลำโพงในนามของริทัศน์บางกอกกันว่า หัวลำโพงในมุมมองของพวกเขาและคนในย่านเป็นอย่างไร และในฐานะคนรุ่นใหม่ต่างถิ่นที่เข้ามาทำกิจกรรมในพื้นที่ พวกเขาทำอย่างไรถึงเชื่อมคนในและคนนอกย่านเข้าไว้ด้วยกันได้อย่างลงตัว รวมตัวคนรุ่นใหม่ที่อยากลบภาพจำหัวลำโพงแบบเดิมๆ “ตอนแรกชาวบ้านเขาไม่เข้าใจว่าเรามาทำอะไร ทำแล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับพื้นที่ แล้วเขาได้อะไร ทำให้มีการปิดกั้นเล็กน้อย แต่ตอนนี้เวลาเราไปลงพื้นที่ เขาจะต้อนรับแบบเอาน้ำไหม จะจัดกิจกรรมอะไรอีกไหม” คำบอกเล่าจากปกรณ์วิศว์ในวันที่ริทัศน์บางกอกทำงานในพื้นที่ชุมชนย่านหัวลำโพงมาเป็นระยะเวลากว่า 3 ปี ทำให้เราเห็นภาพความเปลี่ยนแปลงและการโอบรับของผู้คนในชุมชนได้เป็นอย่างดี แม้ว่าทั้ง 3 คนจะไม่มีใครเกิดและเติบโตในย่านหัวลำโพงมาก่อนเลยก็ตาม จุดเริ่มต้นของริทัศน์บางกอกไม่ได้เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของคนรุ่นใหม่ในชุมชนเพื่อสื่อสารความเป็นตัวตนสู่สายตาคนภายนอกเหมือนอย่างย่านอื่นๆ แต่เป็นการรวมกลุ่มกันของเด็กวัยรุ่นที่มีความสนใจเรื่องเมืองคล้ายๆ […]
ปลูกต้นไม้กว่า 10,000 ต้น กับ ‘AIA+ Go Green’ ผ่านการลดใช้กระดาษ ด้วยการรับเอกสารในรูปแบบ e-Document
การใช้กระดาษอย่างสิ้นเปลืองเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม เพราะบางครั้งเราเองก็อาจไม่ได้คำนึงถึงผลเสียที่ตามมา ไม่ว่าจะเป็นขยะเหลือทิ้งหรือการตัดต้นไม้มาแปรรูปเป็นกระดาษ ‘เอไอเอ ประเทศไทย’ ได้เล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงผุดแคมเปญ ‘AIA+ Go Green ลดการพรินต์ เพิ่มการปลูก มุ่งสู่หมื่นต้นกับ AIA+’ เพื่อชวนให้คนรุ่นใหม่ทุกคนที่หันมาสนใจการทำประกันได้เป็นหนึ่งใน 100,000 กรมธรรม์ ที่ลดการใช้กระดาษกว่า 400,000 แผ่นไปกับแอปพลิเคชัน ‘AIA+’ เพราะการทำประกันมักมาพร้อมกับเอกสารจำนวนมากที่เสี่ยงต่อการสูญหายหรือเสียหาย จะดีกว่าไหมหากเปลี่ยนการเก็บกรมธรรม์ในรูปแบบของกระดาษมาเป็นระบบ e-Document และ e-Receipt บนแอปฯ ที่นอกจากจะตอบโจทย์การใช้งานของคนรุ่นใหม่และช่วยลดการใช้กระดาษแล้ว ยังง่ายต่อการจัดเก็บและติดตามข้อมูลอีกด้วย ติดตามเอกสารกรมธรรม์ได้ง่ายๆ แค่ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน AIA+ ขั้นตอนในการลดโลกร้อนไปกับเอไอเอนั้นเริ่มต้นง่ายๆ เพียงแค่ 4 ขั้นตอน เริ่มจากดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน AIA+ ทาง Apple Store หรือ Google Play Store โดยผู้ใช้งานสามารถติดตามรายละเอียดทุกอย่างของประกัน AIA ได้อย่างครอบคลุมทุกด้านบนแอปพลิเคชันเดียว เช่นเดียวกันกับการสมัครรับบริการ e-Document ก็สามารถทำผ่านสมาร์ตโฟนของเราได้เลยเช่นกัน เพียงแค่เลือกไอคอน ‘กรมธรรม์’ บนหน้าแรกของแอปพลิเคชัน สมัครบริการรับ e-Document ในหน้าเมนูบริการต่างๆ […]
HometownFinds เว็บไซต์รวมสินค้าฝีมือคนไทย ที่เปิดให้คนเข้ามาแชร์ร้านเด็ดในดวงใจ ปลุกกระแสไทยทำ ไทยใช้ ได้ของคุณภาพ
หลังจากที่เปิดตัว Temu แอปพลิเคชันอีคอมเมิร์ซจากจีนที่เข้ามาตีตลาดในไทย ก็ทำให้หลายคนเริ่มกังวลว่าอุตสาหกรรมสินค้าในบ้านเราอาจกำลังเผชิญกับวิกฤต เพราะต้องสู้กับสินค้าที่ราคาต่ำกว่า ปรากฏการณ์นี้นำมาสู่กระแสการพูดถึงบนโลกออนไลน์ว่า ความจริงแล้วสินค้าฝีมือคนไทยแม้จะมีราคาสูงกว่า แต่ก็ตามมาด้วยมาตรฐานการผลิตที่สูง สามารถใช้งานได้ยาวนานและปลอดภัย ทำเอาหลายคนออกมาแชร์สินค้าฝีมือคนไทยที่ตนเองชื่นชอบ แอ็กเคานต์ X (Twitter) @private_dominat จึงปิ๊งไอเดียทำ HometownFinds เว็บไซต์ตัวกลางที่ทำหน้าที่รวบรวมสินค้า ผลิตภัณฑ์ SMEs และผลงานของคนไทยที่คนไทยด้วยกันเองอยากแนะนำ ผู้ทำเว็บไซต์หวังว่า HometownFinds จะทำให้ผู้ที่สนใจสินค้าฝีมือคนไทยเข้าถึงสินค้าได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังทำหน้าที่เป็นช่องทางหนึ่งในการร่วมแชร์หรือบอกต่อร้านที่ตนเองประทับใจออกไปในวงกว้างด้วย ใครที่กำลังมองหาสินค้าฝีมือคนไทยหรือมีร้านเด็ดในดวงใจอยากบอกต่อ เข้าไปดูได้ที่ hometownfinds.preview.softr.app แถมยังร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการพัฒนาเว็บไซต์ให้เสถียรขึ้นผ่านการโดเนต Buy Me Coffee ภายในเว็บเลย
‘Made in Song Wat’ กลุ่มคนขับเคลื่อนเมืองที่ร่วมมือกับผู้ประกอบการรุ่นเก่าและใหม่ พัฒนาย่านทรงวาดให้กลับมาคึกคัก
หากนึกถึงถนนทรงวาดในอดีต เชื่อว่าทุกคนคงนึกถึงภาพถนนที่เต็มไปด้วยร้านค้าของเหล่าอากงอาม่ากับบรรยากาศเงียบๆ ที่ผสมผสานความคลาสสิกของสถาปัตยกรรมมากมาย แต่ด้วยมนตร์เสน่ห์ของถนนทรงวาดที่ต่อให้เวลาจะผ่านไปเนิ่นนานแค่ไหน ย่านนี้ก็เป็นที่รักของคนรักเมืองมาเสมอ และปัจจุบันก็กลับมาคึกคักกว่าเดิมและกลายเป็นจุดเช็กอินของเหล่าวัยรุ่นและนักท่องเที่ยวนับไม่ถ้วน จากการมีธุรกิจใหม่ๆ อย่างร้านอาหาร คาเฟ่ และแกลเลอรีเข้ามาสร้างชีวิตชีวาให้ตัวพื้นที่ โดยที่ยังไม่ทิ้งความน่ารักอบอุ่นของบรรยากาศเก่าๆ ไป คอลัมน์คนขับเคลื่อนเมืองครั้งนี้ จะพามารู้จักกับ ‘Made in Song Wat’ กลุ่มคนที่ทำให้หัวใจของถนนทรงวาดกลับมาเต้นแรงอีกครั้ง จากการรวบรวมเหล่าผู้ประกอบการมาช่วยกันพัฒนาดีเอ็นเอของทรงวาดให้แข็งแรงขึ้น รวมไปถึงจับมือกันโปรโมตย่านนี้ผ่านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิตของคนรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ที่ถ้อยทีถ้อยอาศัยกันจนดึงดูดให้คนนอกอยากเข้าไปสัมผัสย่านนี้สักครั้ง รวมตัวผู้ประกอบการและโปรโมตย่าน ‘ทรงวาด’ คือหนึ่งย่านเก่าแก่ในกรุงเทพฯ ที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมทางเชื้อชาติอันหลากหลายที่กระจายตัวอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ แม้ในมุมของคนนอกอย่างเรานั้นอาจจะมีภาพจำว่าย่านนี้เป็นย่านแห่งการค้าขาย แต่ความจริงแล้วทรงวาดยังมีเสน่ห์อื่นๆ ซุกซ่อนอยู่อีกมากมายที่รอให้หลายคนเข้าไปค้นหา ด้วยกลิ่นอายของความเก่าแก่และความน่าสนใจของย่านนี้ ทำให้ผู้ประกอบการหลายคนที่ทั้งเกิด เติบโต หรือตั้งถิ่นฐานในย่านนี้มานานอยากตอบแทนทรงวาดด้วยการพัฒนาพื้นที่ที่พวกเขารักให้ดีขึ้น ผู้ประกอบการเหล่านั้นรวมตัวกันในชื่อกลุ่ม ‘Made in Song Wat’ ในปี 2565 โดยมี ‘อุ๊ย-เกียรติวัฒน์ ศรีจันทร์วันเพ็ญ’ นายกสมาคมผู้เป็นคนแรกที่ริเริ่มเชิญชวนคนอื่นๆ ได้แก่ ‘เอ๋-พัชรินทร์ ศรีจันทร์วันเพ็ญ’, ‘ป็อก-สุขสันต์ เอื้ออารีชน’, ‘อิน-อินทุกานต์ คชเสนี สิริสันต์’ และ ‘อาร์ท-อรองค์ […]