WOSH เครื่องล้างมือสุดล้ำจากญี่ปุ่น มีช่องทำความสะอาดโทรศัพท์ด้วยรังสี UV-C

ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังไม่รู้ว่าจะดีขึ้นเมื่อไร จะหยิบจับอะไรก็ต้องคอยระวังเชื้อโรค จนต้องหมั่นล้างมือบ่อยๆ และรู้หรือไม่ว่าของใกล้ตัวอย่าง ‘โทรศัพท์มือถือ’ ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนั้น เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคชั้นดีเลย ต่อให้มือเราล้างสะอาด แต่ถ้าของที่ถือไม่สะอาดก็เปล่าประโยชน์ WOSH เครื่องล้างมือฆ่าเชื้อโรคจากบริษัท WOTA ผู้พัฒนาและผลิตอุปกรณ์บำบัดน้ำในญี่ปุ่น จึงเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้มือเราสะอาด แถมยังประหยัดทรัพยากรน้ำ เพราะไม่จำเป็นต้องต่อท่อประปา นำน้ำที่ใช้แล้วมาใส่ในเครื่องนี้ได้เลย บรรจุน้ำได้ถึง 20 ลิตร ใช้ล้างมือได้ 500 ครั้ง ตัวเครื่องมีระบบทำความสะอาดน้ำ 3 ขั้นตอน ได้แก่ การกรองผ่านเยื่อ (Membrane Filtration) การทำความสะอาดด้วยคลอรีน และการฉายรังสี UV อย่างเข้มข้นเพื่อฆ่าเชื้อ แต่ถึงอย่างไรเครื่องนี้ก็ยังต้องติดตั้งในที่ที่มีแหล่งจ่ายไฟอยู่  นอกจากนี้ ระหว่างที่เราล้างมือ ก็ให้เครื่องนี้ทำความสะอาดโทรศัพท์มือถือของเราไปพร้อมๆ กัน เพราะ WOSH ยังมีช่องทำความสะอาดโทรศัพท์มือถือด้วยรังสี UV-C ที่ใช้เวลาเพียง 20 – 30 วินาทีก็ฆ่าเชื้อโรคได้ถึง 99.99 เปอร์เซ็นต์ เมื่อปลายปีที่แล้ว เครื่องล้างมือสุดล้ำจำนวนกว่า 4,000 เครื่อง […]

Untitled ศิลปนิพนธ์เรียนรู้โรคกลัวรูของเด็กโฟโต้อาร์ตแห่งเชียงใหม่ผู้เป็นโรคกลัวรู

ชวนดูศิลปนิพนธ์โรคกลัวรูของนักศึกษาสาขาศิลปะการถ่ายภาพ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ChopValue แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ ที่รีไซเคิลตะเกียบไม้ 33 ล้านคู่ เป็นของใช้และของเล่น ช่วยลดปริมาณขยะใช้ครั้งเดียวทิ้ง

ตะเกียบไม้ดูเหมือนจะเป็นอุปกรณ์ที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม เพราะย่อยสลายง่ายและทำจากวัสดุที่หาได้ตามธรรมชาติ แต่ในความเป็นจริง เราต้องตัดต้นไม้จำนวนมากเพื่อนำมาผลิตเป็นตะเกียบใช้แล้วทิ้ง ที่จะอยู่กับเราเพียงอาหารหนึ่งมื้อเท่านั้น ChopValue บริษัทเฟอร์นิเจอร์ของแคนาดาจึงติดต่อร้านอาหารกว่า 300 ร้านในแวนคูเวอร์ เพื่อนำตะเกียบไม้ใช้แล้ว มารีไซเคิลให้กลายเป็นเฟอร์นิเจอร์และของใช้ในบ้านสุดเก๋ เช่น โต๊ะ ชั้นวางของ เขียง หรือแม้แต่ของเล่นอย่างโดมิโน  พวกเขาจะนำตะเกียบที่รวบรวมได้ประมาณ 100 กิโลกรัมต่อวัน เข้าเครื่องจัดเรียง แล้วนำไปเคลือบเรซินเพื่อป้องกันการไหม้จากการอบฆ่าเชื้อโรคเป็นเวลา 5 ชั่วโมง จากนั้นก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการทำเฟอร์นิเจอร์ ปัจจุบันพวกเขารีไซเคิลตะเกียบไม้ไปแล้วกว่า 33 ล้านคู่  เรียกว่าเป็นไอเดียที่สร้างสรรค์มากๆ เพราะนอกจากจะเป็นการลดขยะใช้ครั้งเดียวทิ้งแล้ว ยังช่วยยืดอายุการใช้งานของตะเกียบไม้ได้นานขึ้นอีกด้วย ผู้ที่สนใจเลือกซื้อสินค้าได้ที่ https://chopvalue.com/  Source : Insider | https://bit.ly/3tXGln4 

ปรับปรุง ‘Shenzhen Airport’ ในจีนให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งและย่านการค้า โดยมีต้นโกงกางเป็นแรงบันดาลใจด้านดีไซน์

ยิ่งเมืองพัฒนามากขึ้นเท่าไร ธรรมชาติก็ค่อยๆ ถูกกลืนหายไปเท่านั้น ‘จีน’ เมืองที่ไม่เคยหยุดพัฒนาจึงมีแนวคิดที่จะรวม 2 สิ่งนี้เข้าด้วยกัน เพื่อให้คนเมืองรู้สึกเหมือนได้อยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ  Grimshaw บริษัทสถาปัตยกรรมชนะการประกวดออกแบบอาคารผู้โดยสารของสนามบิน Shenzhen ในเซินเจิ้นที่จะเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟความเร็วสูง และขนส่งสาธารณะอื่นๆ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อให้ที่นี่กลายเป็นจุดเชื่อมต่อการขนส่งที่ครบวงจรที่สุดในภูมิภาคนี้  โดยการออกแบบได้รับแรงบันดาลใจมาจากต้นโกงกาง ซึ่งเป็นพืชประจำภูมิภาค ตัวเสาเลียนแบบลำต้น และหลังคาเป็นลูกคลื่นเปรียบเสมือนการแผ่กิ่งก้านสาขาของต้นโกงกาง มีช่องว่างให้แสงธรรมชาติส่องเข้ามาได้ ภาพรวมของการปรับปรุงครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะลดการใช้พลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ตอบโจทย์กับ LEED หรือระบบการจัดอันดับอาคารสีเขียวที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีแผนเปลี่ยนพื้นที่รอบๆ อาคารผู้โดยสารฝั่งตะวันออกให้เป็นย่านการค้าและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมแห่งใหม่สำหรับคนเมืองอีกด้วย  Sources :Designboom | https://bit.ly/32OGs8A Dezeen | https://bit.ly/2Qw3DSG 

ว่าวจุฬา Originals : จักรกฤษณ์ อนันตกุล กับการถอดรองเท้ามาออกแบบเป็น Installation Art

“ดึงไปทางซ้าย วิ่งอีกๆ” เสียงน้องชายตะโกนเชียร์ฉันที่กำลังวิ่งว่าวตัวใหญ่ ลมพัดหอบมันสูงขึ้นๆ ขณะที่ขนาดของมันค่อยๆ เล็กลง จนดูเหมือนนกตัวน้อยบินลู่ลมอยู่บนฟ้า เชื่อว่าสมัยเด็กๆ หลายคนคงมีประสบการณ์วิ่งว่าวในท้องนา หรือเคยเห็นคนเล่นว่าวกลางท้องสนามหลวงกันมาบ้าง

พีระ โองาวา ศิลปินผู้เปลี่ยนเสียงแว่วในหูให้เป็นศิลปะเรขาคณิตและความสุขของวัย 75

ยามผมเปลี่ยนเป็นสีดอกเลายามหลังเริ่มงองุ้มตามกาลเวลายามที่สายตาเริ่มพร่าเลือนยามที่คุณอายุเข้าวัยเลข 7ลองจินตนาการสิว่า ตอนนั้นคุณกำลังทำอะไรอยู่ สำหรับเรา…ยังเป็นนักเขียน? ยังไปคอนเสิร์ตของนักร้องวงโปรด? ยังชอบเข้ามิวเซียม?คำตอบคือ ยังไม่รู้เลย ว่าวันนั้นจะยังทำสิ่งที่รักอยู่หรือเปล่า  แต่สำหรับ พีระ โองาวา ศิลปินวัย 75 ปีท่านนี้ ชีวิตทุกวันตลอดระยะเวลาหลายสิบปี ยังเข้านอนตั้งแต่หัวค่ำ เพื่อตื่นตอนเที่ยงคืนมาเปิดเพลงบรรเลงของโมซาร์ตและบีโทเฟน แล้วลงมือสร้างสรรค์ ศิลปะเรขาคณิต จนถึงยามฟ้าเริ่มสางช่วง 5 นาฬิกา เขาทำทุกวันอย่างไม่มีหยุดพัก และจะมีความสุขทุกครั้งที่วาดภาพออกมาได้ดั่งใจคิด เสื้อเชิ้ตสีฟ้าอ่อน กางเกงสแล็กสีดำ และรอยยิ้มใจดีของคุณพ่อพีระต้อนรับเรา เมื่อ แตง-ประกายจิต โองาวา ลูกสาวคนโตของครอบครัวเชื้อเชิญเข้าบ้าน ตามด้วยคำทักทายของ คุณแม่สว่าง โองาวา และลูกชายคนเล็ก เต้-ยุทธจิต โองาวา  ครอบครัวลูกครึ่งญี่ปุ่นยิ้มแย้มอย่างเป็นกันเอง ก่อนรวมตัวนั่งล้อมวงบนชั้น 2 เพื่อพูดคุยถึงโลกศิลปะของคุณพ่อพีระ ท่ามกลางงานศิลปะเรขาคณิตนับสิบชิ้นที่รายล้อมอยู่ในห้องรับแขก และอีกหลายร้อยชิ้นที่ซุกซ่อนอยู่ในบ้านหลังอบอุ่น ศิลปะไร้อุปกรณ์ ชีวิตศิลปะของศิลปินอายุ 75 ปีเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วัยไม่ถึงสิบขวบ เขามักหยิบดินสอมาวาดภาพ Freehand หรือการวาดภาพโดยไม่ใช้เครื่องมือเป็นเหล่าสัตว์นานาชนิดตามที่ใจคิด เพราะมองว่าสัตว์ทุกตัวมีความสวยงามเฉพาะแบบ บ้างวาดสัตว์ตัวนั้นตามแบบที่เป็น บ้างเอาสัตว์หลายตัวมาผสมกันจนมีรูปร่างหน้าตาแปลกไปจากเดิม อย่างรูปไก่ที่มีขนเป็นงู รูปต้นไม้ที่กิ่งก้านของมันกลายเป็นงูเลื้อย […]

เมื่อมังงะ ดวงรายเดือน พระ ทำให้รั้วไซต์ก่อสร้างเป็นมากกว่าที่กั้นและเซฟแบบคาวาอี้

นักท่องเที่ยวสายเสพงานศิลป์ เวลามาญี่ปุ่นน่าจะพุ่งไปงานนิทรรศการกรุบกริบต่างๆ ตามมิวเซียมเก๋อย่าง Mori Art Museum หรือ 21_21 DESIGN SIGHT จริงๆ แล้วถ้าสังเกตให้ดี ในเมืองแอบมีงานศิลปะน้อยใหญ่ซ่อนตัวอยู่ตามจุดต่างๆ มากมาย และจุดที่คนน่าจะมองข้ามกันมากที่สุดคือ ‘ไซต์ก่อสร้าง’ ตั้งแต่อยู่ญี่ปุ่นมาหลายปี ไม่มีวันไหนที่ออกจากบ้านแล้วไม่เจอการก่อสร้าง ภาพที่เห็นจนชินตามาพร้อมกับความชื่นชมเรื่องความสะอาด ความเงียบ และความเอาใจใส่ชุมชนรอบๆ เช่น มีการใช้แผ่นชีตเก็บเสียง เครื่องเก็บฝุ่น และล้างล้อรถที่ใช้ในการก่อสร้างทุกครั้ง เพื่อกันไม่ให้ความสกปรกหลุดออกมาภายนอก และมีพี่ รปภ. คอยโบกอำนวยความสะดวกให้ผู้สัญจร และในช่วงหลายปีมานี้ ไซต์ก่อสร้างพัฒนาความกรุบกริบด้วยการเติมความคาวาอี้ในหลายจุด จนต้องหยุดเดินหันมาถ่ายรูป ความเก๋ที่ว่านั้นมีหลากหลาย เช่น ผ้าใบลายเดียวกับสิ่งที่กำลังสร้าง รั้วกั้นเขตลายการ์ตูน (คนไทยน่าจะเคยเห็น AKIRA, ART OF WALL รั้วก่อสร้างลาย Akira ที่ชิบุยะ ซึ่งเมื่อก่อสร้างเสร็จก็จัดนิทรรศการแสดงผลงานเหล่านั้นต่อ แล้วเอารั้วก่อสร้างมาทำของเล่นขายด้วย) ผนังรั้วก่อสร้างผลงานออกแบบของศิลปิน รวมไปถึงกรวยเรืองแสง ไฟกะพริบลายดอกซากุระ บางครั้งเลยเถิดถึงขั้นเอาดวงรายเดือนตามราศีมาให้อ่านที่กำแพงด้วย แม้แต่ไซต์ก่อสร้างก็ยังคาวาอี้ ความเวรี่เจแปนนีสนี้มีที่มาอย่างไร ไปสำรวจที่มาความน่ารักเหล่านั้นกัน Animal Guard […]

นักศึกษาฝรั่งเศสปิ๊งไอเดีย เปลี่ยนหมากฝรั่งเคี้ยวแล้วเป็น ‘ล้อสเก็ตบอร์ด’ แก้ปัญหาขยะบนท้องถนน

ไม่น่าเชื่อเลยว่า ‘หมากฝรั่ง’ ที่เราหยิบขึ้นมาเคี้ยวเล่นเพลินๆ แล้วคายทิ้งเมื่อหมดรสหวานนั้น ต้องใช้เวลาในการย่อยสลายกว่า 50 ปี Hugo Maupetit และ Vivian Fischer สองนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยในฝรั่งเศส ที่มีแนวคิดจะช่วยดูแลความสะอาดของถนนอย่างยั่งยืน จึงเกิดไอเดียนำหมากฝรั่งที่เคี้ยวแล้วมาแปรรูปเป็นล้อสเก็ตบอร์ด ไอเทมที่กำลังฮิตกันอยู่ตอนนี้ พวกเขาบอกว่าเป็นการนำหมากฝรั่งที่เป็นขยะบนท้องถนนกลับคืนสู่ท้องถนนอีกครั้ง  วิธีการคือนำกระดานไปติดทั่วเมืองและในพื้นที่มีคน ทุกคนสามารถนำหมากฝรั่งที่เคี้ยวแล้วมาแปะไว้ ทุกๆ สัปดาห์หมากฝรั่งเหล่านั้นจะถูกรวบรวมและส่งไปที่โรงงานเพื่อผสมพวกมันเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นจึงแบ่งเป็นก้อนเล็กๆ แล้วเอาไปขึ้นรูป ทำเป็นล้อสเก็ตบอร์ด ขยะชิ้นเล็กๆ ใกล้ตัวที่เรามองข้ามจะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาขยะได้อย่างยั่งยืน Source : Yanko Design | https://bit.ly/3rUuzIw 

‘มุมเดิม เวลาเดิม ต่างปี’ ชุดภาพถ่ายถนนข้าวสาร 13 เมษาที่หยุดอยู่ที่เดิมเป็นปีที่ 2

“ถนนข้าวสารปีก่อนในวันที่ 13 เมษายนเป็นอย่างไร วันนี้ก็ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ปี 2563 – 2564 ทุกอย่างยังคงเงียบงัน” เป็นปีที่ 2 แล้วที่เราไม่ได้เห็นบรรยากาศคึกคักของเทศกาลสงกรานต์บนถนนข้าวสารแม้ปีนี้พ่อค้าแม่ขายและร้านรวงต่างๆ รอบถนนข้าวสารจะมีการเตรียมตัวจัดงานสงกรานต์เล็กๆ ที่พอจะเป็นไปได้ในช่วงที่โควิด-19 ดูจะซาลงไป แต่ก็ต้องพับทุกความตั้งใจเก็บไว้ เพราะเกิดการระบาดระลอกที่ 3 ในเมืองไทย  จึงเกิดเป็นชุดภาพถ่าย มุมเดิม เวลาเดิม แต่ต่างปี ของถนนข้าวสารในเช้าวันที่ 13 เมษายน ที่ไม่ได้มีเสียงหัวเราะและรอยยิ้มมา 1 ปีติดต่อกันแล้ว  พบว่าบางสิ่งที่เคยอยู่ตรงนั้น หายไปพบว่าบางสิ่งที่ไม่เคยมี ก็เกิดขึ้นใหม่พบว่าเมืองไทยย่ำอยู่กับที่มาตลอดพบว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น …นอกจากพื้นถนนดีไซน์ใหม่

Form KHONWAN ภาพถ่ายวัดนครสวรรค์ที่ทลายกรอบสีประจำวัด ว่าเป็นอะไรก็ได้ ไม่ใช่แค่ทอง

วัด ที่คุ้นเคยกันมักประกอบด้วยสีทอง เงิน ขาว ส้มอมแดง แต่สีสันของวัดในครั้งนี้ถูกทลายกรอบให้จางลง เมื่อได้เริ่มเก็บภาพถ่ายชุด Form KHONWAN เพื่อนำเสนอภาพความงดงามทางสถาปัตยกรรมของ ‘วัด’ ในจังหวัดนครสวรรค์บ้านเกิด ด้วยความชื่นชอบส่วนตัวด้านการถ่ายภาพสถาปัตยกรรม จึงนำสิ่งนี้มาสร้างสรรค์เป็นผลงาน พร้อมทั้งเรียนรู้ความแตกต่างของเอกลักษณ์ที่สะท้อนผ่านการออกแบบไปในตัว โดยในแต่ละภาพแสดงออกถึงสีสันที่แตกต่างรวมถึงความคิดในสถาปัตยกรรมใหม่ๆ ความพยายามที่จะหลุดออกจากระเบียบแบบแผนดั้งเดิมเพื่อสร้างเอกลักษณ์ ราวกับเป็นการผลิใบและงอกงามครั้งใหม่ของสถาปัตยกรรมอยู่เสมอ “ทุกอย่างล้วนขึ้นอยู่กับเวลา” ภาพชุดนี้สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่เป็นเพียงแค่ปัจจัยภายนอกเท่านั้น ทว่าสิ่งเหล่านั้นยังคงแทรกไปด้วยความศรัทธาที่ปรากฏให้เห็นผ่านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม ติดตามผลงานเพิ่มเติมได้ที่ : @Formthailand

ปฏิทินเดือนเมษาฯ ชวนเสพศิลป์ให้ใจเบิกบาน

ร้อนนี้ไปไหนดี ใกล้หยุดสงกรานต์แล้ว แม้ปีนี้อาจเป็นอีกปีที่เราไม่ได้เล่นน้ำให้ชุ่มฉ่ำ แต่หลายคนก็เฝ้ารอวันที่จะได้หยุดพักผ่อนอยู่กับบ้าน ขณะที่หลายคนกำลังเตรียมตัวไปเที่ยววันหยุดยาว ถ้าคุณไม่ได้มีแพลนไปไหนก็ไม่ต้องกลัวเหี่ยวเฉา เพราะ Urban’s Pick จะอยู่เป็นเพื่อน พร้อมชวนทุกคนไปเติมเต็มหัวใจให้เบิกบานกับอีเวนต์ศิลปะ และกิจกรรมดีๆ ตลอดเดือนเมษายน

mediums พื้นที่สร้างสรรค์แห่งย่านเอกมัย อาร์ตคอมมูนิตี้ที่เปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง

ชวนจับดินสอ หยิบสี เตรียมกระดาษ และพกไอเดียสร้างสรรค์ไป mediums อาร์ตคอมมูนิตี้ที่เปิดตลอด 24 ชม.

1 34 35 36 37 38 58

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.