สำรวจอาร์ตบุ๊ก ซีน และเหล่าสิ่งพิมพ์เจ๋งๆ ในงาน Bangkok Art Book Fair

หลังจากย้ายไปจัดงานแบบออนไลน์เมื่อปีที่แล้ว ปีนี้เทศกาลหนังสือศิลปะกรุงเทพฯ ครั้งที่ 4 หรือ Bangkok Art Book Fair (BKKABF) กำลังจะกลับมาจัดงานแบบ On-site อีกครั้งในวันที่ 26 – 27 พฤศจิกายน 2564 นี้ ครั้งนี้ BKKABF 2021 มากับธีม ‘DON’T KEEP YOUR DREAM AT HOME’ ที่ทำหน้าที่แทนผู้จัดพิมพ์ทุกคนที่มีส่วนร่วมในการตั้งคำถามและท้าทายปัญหาสังคมกับการเมืองในปัจจุบัน ท่ามกลางความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นจากการระบาดของโควิด-19 นอกจากอาร์ตบุ๊กและสิ่งพิมพ์หลากหลายรูปแบบจากเหล่านักเขียน ศิลปิน และผู้จัดพิมพ์ ทั้งไทยและต่างประเทศที่เราจะได้ยลโฉมแล้ว ภายในงานยังมีอินสตอลเลชันที่น่าสนใจร่วมจัดแสดงด้วย นับว่าเป็นการเรียกคืนบรรยากาศที่สร้างแรงบันดาลใจ ความคิดสร้างสรรค์ และเอื้อต่อการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นให้กลับมาสัมผัสได้อีกครั้งสำหรับคนรักอาร์ตบุ๊ก ซึ่งงานนี้จัดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2017 และมีนักสร้างสรรค์อาร์ตบุ๊กไทยหน้าใหม่ๆ เข้าร่วมทุกปี ใครเป็นแฟนคลับสิ่งพิมพ์สนุกๆ ต้องไม่พลาดงานนี้ เท่านั้นยังไม่พอ BKKABF 2021 ยังจับมือกับ Spacebar Design Studio เปิดรับซีนหรือหนังสือทำมือที่ต่อยอดจากโปรเจกต์ What is […]

MY HERO บันทึกสายสัมพันธ์ของน้องชายต่อพี่ชายคนพิเศษ

My Hero คือบันทึกความทรงจำระหว่างผมกับพี่ชายที่มีภาวะ Down syndrome เพราะความรู้สึกกลัวการสูญเสียเขาแบบกะทันหัน จนอาจไม่ได้ใช้เวลาร่วมกัน… 

Netflix Book Club รายการสำหรับนักอ่านที่ได้เห็นนิยายกลายเป็นหนัง

ตื่นเต้น เฝ้ารอ ประหลาดใจ มีความสุข กังวล คุณมีรีแอ็กชันแบบไหนเมื่อได้รู้ว่าหนังสือเล่มโปรด (หรือเล่มที่เพิ่งอ่านจบ) จะถูกสร้างเป็นซีรีส์หรือภาพยนตร์ในเร็วๆ นี้ สำหรับเรา นอกจากการติดตามและลุ้นว่าหนังสือที่อ่านจะดัดแปลงไปเป็นอีกมีเดียมหนึ่งยังไงแล้ว เบื้องหลังการตีความและกระบวนการดัดแปลงบทก็น่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะคงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ทีมงานจะเก็บเอาใจความสำคัญ และดีเทลยิบย่อยที่แฝงในตัวอักษรบนหน้ากระดาษมาถ่ายทอดผ่านภาพ แสง สี เสียงได้ครบ ตรงใจกับจินตนาการคนอ่านส่วนใหญ่ แต่ในที่สุด เราก็ไม่ต้องรออีกต่อไป เพราะสตรีมมิงชื่อดัง Netflix ได้จับมือกับ Starbucks ทำ Netflix Book Club เล่าถึงเบื้องหลังและฮาวทูการแปลงร่างวรรณกรรมให้เป็นซีรีส์หรือภาพยนตร์ชื่อดังที่ไม่ว่าใครก็ต้องพูดถึง ซีรีส์รายการนี้ชื่อ But Have You Read the Book? โดยได้พิธีกรดำเนินรายการเป็น Uzo Aduba นักแสดงจากซีรีส์ Orange Is the New Black ความพิเศษที่รายการนี้แตกต่างจากรายการบุ๊กคลับอื่นๆ คือ การชวนทีมนักแสดง ผู้เขียนบท นักเขียน รวมไปถึงทีมงานที่อยู่เบื้องหลังกระบวนการดัดแปลงหนังสือไปสู่ภาพยนตร์หรือซีรีส์ มาพูดคุยเจาะลึกถึงตัวละคร ธีม เรื่องราวทั้งหมด ไปจนถึงเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่คนดูภาพยนตร์หรือซีรีส์อย่างเดียวอาจไม่เคยรู้มาก่อน […]

รีโนเวต หอสมุดวังท่าพระ 57 ปี ให้เชื่อมบริบทท่าช้าง และเป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปะกับโบราณคดี

ห้องสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากรในความทรงจำคุณเป็นแบบไหน? หากคุณเป็นชาวศิลปากร อาจจดจำภาพห้องสมุดเล็กๆ ที่นักศึกษาล้อมวงแน่นรอบโต๊ะ เต็มไปด้วยเสียงพูดคุยจอแจ ซึ่งบ่อยครั้งต้องแย่งชิงที่นั่ง และต่อคิวยืมหนังสือแต่ละเล่มที่มีอยู่อย่างจำกัด แต่ถ้าคุณเป็นผู้แวะเวียนมาใช้บริการเป็นครั้งคราว อาจพบว่าที่นี่คือสวรรค์ของคนรักหนังสือศิลปะ งานดีไซน์ สถาปัตยกรรม โบราณคดี และประวัติศาสตร์ ซึ่งเต็มไปด้วยมนตร์ขลังของบรรยากาศเก่าแก่ ไม่ว่าภาพจำจะเป็นแบบไหน แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไป ห้องสุดเก่าในมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งนี้ก็แปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ก่อนเป็น ‘หอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร’ ห้องสมุดแห่งนี้เคยเปิดทำการครั้งแรกมาตั้งแต่ปี 2507 โดยตั้งอยู่ภายในอาคารบริเวณหลังลานอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ก่อนย้ายมาสร้างด้านหน้าสำนักงานอธิการบดีเมื่อปี 2518 จนถึงปัจจุบัน เดิมทีออกแบบโดย ‘ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุริยา รัตนพฤกษ์’ เป็นสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์นที่เริ่มต้นไว้อย่างดี แต่ด้วยการปรับปรุงพื้นที่ตามกาลเวลา โดยไม่ได้มีแผนการพัฒนาชัดเจน จึงทำให้ภาพรวมการขยับขยายพื้นที่ค่อนข้างสะเปะสะปะ  ในปี 2558 นับตั้งแต่เริ่มโครงการปรับปรุงวิทยาเขตวังท่าพระของมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเป็นการปรับปรุงพื้นที่ทั้ง 4 คณะวิชา ประกอบด้วย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ คณะมัณฑนศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะโบราณคดี รวมถึงพื้นที่ส่วนกลางอื่นๆ ซึ่งหอสมุดเป็นหนึ่งในโปรเจกต์ที่ได้รับการยกเครื่องใหม่ ‘ผู้ช่วยศาสตราจารย์นันทพล จั่นเงิน’ หรือ ‘อาจารย์โอ๊ต’ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดกลาง ผู้ออกแบบหอสมุดวังท่าพระเวอร์ชันล่าสุด จึงตั้งใจที่จะพัฒนาและปรับปรุงให้อาคารหอสมุดมีภาพลักษณ์และภูมิทัศน์ที่ดีขึ้น […]

คำให้การจากพยานปากเอก นิยายดิสโทเปียภาคต่อ เรื่องเล่าของสาวรับใช้

“การให้สัญญาต่อพวกผู้หญิงว่าจะมีความเท่าเทียมเป็นเรื่องโหดร้ายเสมอมา… เนื่องด้วยธรรมชาติของผู้หญิงแล้ว พวกเธอจะไม่มีทางบรรลุความเท่าเทียมได้เลย” ใครที่เคยประทับใจ ‘เรื่องเล่าของสาวรับใช้ (The Handmaid’s Tale)’ นวนิยายไซไฟดิสโทเปียขึ้นหิ้งของนักเขียนชาวแคนาดา ‘มาร์กาเร็ต แอ็ตวูด’ ที่นำไปสร้างเป็นซีรีส์ทางสตรีมมิง Hulu เมื่อปี 2017 เตรียมพบกับภาคต่อความเจ็บปวดรวดร้าว และการลุกขึ้นมาต่อสู้ของพลเมืองที่ถูกกดขี่ได้ใน ‘คำให้การจากพยานปากเอก (The Testaments)’ ที่ตีพิมพ์ห่างกันถึง 30 กว่าปี และแปลเป็นภาษาไทยโดยสำนักพิมพ์ Library House นี่คือภาคต่อเรื่องราวจากเสียง ‘คนใน’ ที่ใช้ชีวิตภายใต้สภาวะไร้ชื่อ ไร้ตัวตน และมีเสรีภาพอย่างจำกัดจำเขี่ยตามแต่ผู้ปกครองเผด็จการทหารหรือ ‘ผู้บัญชาการ’ จะมอบให้ จากเรื่องราวของ ‘ออฟเฟรด’ หญิงรับใช้คนหนึ่งใน ‘กิเลียด’ อาณาจักรที่มีระบอบการปกครองแบบแบ่งแยกหน้าที่และชนชั้น มอบคุณค่าและบทบาทของคนจากความสามารถด้วยการอุทิศร่างกายให้แก่การผลิตทรัพยากรเพื่อผดุงการดำรงอยู่ของมวลมนุษยชาติ ซึ่งไม่ว่าใครได้อ่านล้วนรู้สึกเศร้า โกรธ และหมดหวังไม่ต่างจากความรู้สึกของตัวละคร คำให้การจากพยานปากเอก จะพาเราไปสู่ 15 ปีหลังจากตอนจบของ เรื่องเล่าของสาวรับใช้ โดยเล่าผ่านตัวละครหลักหญิง 3 คน นักเขียนอย่างแอ็ตวูดบอกว่าเธอได้แรงบันดาลใจจากสถานการณ์ในโลกสมัยใหม่ และโลกที่พวกเราอาศัยกันอยู่ ความพิเศษของหนังสือเล่มนี้คือ นอกจากมีเวอร์ชันปกอ่อนและปกแข็งที่เป็นผลงานภาพประกอบของ Noma […]

ศิลปินไทย-จีนสร้างศิลปะแม่น้ำโขง รณรงค์ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการสร้างเขื่อน และสะท้อนวิก​​ฤตลุ่มน้ำโขง

ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา จีนได้สร้างเขื่อนกั้นน้ำแม่น้ำโขงมากถึง 11 แห่ง เพื่อกักเก็บน้ำปริมาณมหาศาลซึ่งการสร้างเขื่อนทำให้ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงอย่าง ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ต้องเผชิญกับภัยแล้งและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่มากขึ้นเรื่อยๆ ศิลปินชาวไทยและชาวจีนจึงร่วมมือกันจัดแสดงผลงานศิลปะที่โฮงเฮียนแม่น้ำโขง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เพื่อสะท้อนวิกฤตแม่น้ำโขงและกระตุ้นให้ผู้คนตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการสร้างเขื่อน  โดยกลุ่มศิลปินไทยและจีนสร้างสรรค์ผลงานขึ้นหลังจากได้ลงพื้นที่แม่น้ำโขง แม่น้ำอิง และเยี่ยมชุมชนเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ศิลปะที่นำมาจัดแสดงมีตั้งแต่ภาพวาด โมไบล์ปลาสังกะสี การแสดงดนตรีสด ไปจนถึงการเพนต์ร่างกายด้วยสีแดงเป็นคำว่า ‘Save River’ เพื่อรณรงค์ให้ผู้คนหันมาช่วยกันรักษาแม่น้ำโขง นายเรียน จินะราช อดีตพรานปลาบึกและผู้อาวุโสชุมชนริมแม่น้ำโขงเปิดเผยว่า การสร้างเขื่อนอาจทำให้ปลาบึกสูญพันธุ์ เพราะเมื่อก่อนแม่น้ำโขงมีปลาชุกชุมหลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะปลาบึกที่มักออกมาในช่วงสงกรานต์ของทุกๆ ปี ในตอนนั้นไม่ต้องใช้เครื่องมือมากก็สามารถจับปลาได้ทีละเยอะๆ  ในอดีตเชื่อกันว่าปลาบึกว่ายไปวางไข่ที่ทะเลสาบต้าหลี่ในจีน แต่เมื่อจีนสร้างเขื่อน ปลาบึกจึงไม่รู้จะไปวางไข่ที่ไหน ปลาบึกตัวเมียทุกตัวที่จับได้จะมีไข่ ซึ่งแต่ละตัวมีไข่ 60 – 70 กิโลกรัม แต่การฟักเป็นตัวและเติบใหญ่มีน้อย เพราะมีศัตรูในธรรมชาติมาก โดยวิธีวางไข่คือการปล่อยไหลไปกับน้ำ ทั้งนี้ นายเรียนเปิดเผยว่า ตั้งแต่เด็กจนถึงปัจจุบัน เขาไม่เคยเห็นปลาบึกตัวเล็กในแม่น้ำโขงเลย ส่วนใหญ่ที่เห็นจะมีน้ำหนัก […]

‘Pellucid’ นิทรรศการศิลปะออนไลน์จากคณะวิจิตรศิลป์ มช. ที่ใช้ศิลปะตั้งคำถามกับชีวิต เศรษฐกิจ สังคม การเมือง

หากจำประเด็นการ ‘ตัดโซ่’ หอศิลป์เพื่อเข้าไปจัดแสดงนิทรรศการศิลปะของ นักศึกษาจากสาขาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ (Media Arts and Design) คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชั้นปีที่ 4 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ที่ผ่านมาได้ หลายคนคงอยากรู้ว่าเนื้อหานิทรรศการมีอะไร ทำไมถึงโดนขัดขวางไม่ให้ใช้พื้นที่? ตอนนี้ไม่ต้องตัดโซ่อีกต่อไปแล้ว เพราะทางคณะผู้จัด Media Arts and Design Festival หรือ MADSFEST ได้ยกนิทรรศการไปจัดทางออนไลน์ยาวถึงเดือนมีนาคม 2022 ให้เข้าถึงได้ทั่วไป และนอกเหนือจากผลงานของชั้นปีที่ 4 ที่จัดแสดง ‘ออฟไลน์’ ไปแล้ว งาน MADSFEST ที่เป็นพื้นที่ทดลองทางความคิด ตั้งคำถามกับ “กฎเกณฑ์ของสังคม” และใช้ศิลปะเพื่อสื่อสารเชื่อมโยงประเด็นหลากหลายสู่สาธารณะนี้ยังรวมผลงานของนักศึกษามีเดียอาร์ตหลายชั้นปีไว้อีกด้วย   เทศกาลปีนี้ใช้ชื่อว่า ‘Pellucid’ ซึ่งผู้จัดอธิบายความหมายว่า เป็น “การวิพากษ์ถึงรูปแบบระบบโครงสร้างสิ่งที่กดทับและครอบคลุมมุมมองของเราเอาไว้ ผ่านแนวคิดแบบโครงสร้างนิยม (Structuralism) ไม่ว่าจะเป็นอำนาจของรัฐ เพศ เชื้อชาติ ศาสนา ลำดับชนชั้นทางสังคม” โดยใช้ภาพ เสียง […]

ลาแล้ว สกาลา

ลาแล้วอย่างไม่มีทางหวนกลับ ไม่มีแม้กระทั่งตัวอาคารที่จะอนุรักษ์ไว้เพื่อเป็นประวัติศาสตร์ร่วมสมัยแห่งสยามสแควร์ กระทั่งสยามประเทศ

Wuhan City Pavilion & Kindergarten อาคารในอู่ฮั่นที่เป็นทั้งพาวิลเลียน โรงเรียนอนุบาล และที่จัดนิทรรศการ

เมื่อไม่นานมานี้ ทีมสตูดิโอสถาปนิกสัญชาติจีนชื่อ ATELIER XI ได้ออกแบบสร้างอาคารพาวิลเลียนและโรงเรียนอนุบาลเมืองอู่ฮั่น (Wuhan City Pavilion & Kindergarten) จนเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งตัวอาคารแห่งนี้ตั้งอย่างโดดเด่นอยู่ใน Hankou ซึ่งห่างจากจุดที่เคยมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ครั้งแรกเพียง 1 กิโลเมตร สถาปัตยกรรมนี้เพิ่งสร้างเสร็จแบบสดๆ ร้อนๆ หลังแผนการสร้างได้ถูกระงับไปในช่วงครึ่งหลังของปี 2019 เพราะเชื้อโควิดที่ปะทุขึ้นมาทั่วทั้งเมือง ทว่าเมื่อเมืองกลับมาเปิดได้ใหม่อีกครั้ง โครงการก็สามารถดำเนินการต่อได้อย่างราบรื่นดี ในปี 2019 ทีมสถาปนิก ATELIER XI ได้รับการว่าจ้างให้ดีไซน์โรงเรียนอนุบาลที่มีขนาด 6 ห้องเรียนมาตรฐานในเมืองอู่ฮั่น นอกจากความท้าทายด้านงานก่อสร้างตึกในช่วงวิกฤติเชื้อไวรัสแพร่ระบาด โจทย์แสนยากต่อมา ก็คือการสร้างอาคารที่รับบทบาทเป็นทั้งพาวิลเลียนขายสินค้าชั่วคราว เป็นห้องโถงจัดแสดงนิทรรศการในปีแรกที่สร้างแล้วเสร็จ และจะเป็นโรงเรียนอนุบาลสำหรับเด็กๆ ในภายหลัง โดยทำให้อาคารมีความพร้อมต่อการปรับเปลี่ยนฟังก์ชันได้ในช่วงเวลาต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ โครงการนี้จึงตั้งใจสร้างด้วยแนวคิดการประหยัดต้นทุน เพื่อให้ใช้สอยพื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าและอรรถประโยชน์ โดยหลีกเลี่ยงการรื้อถอนตึกซึ่งจะสร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้ในอนาคต ทีมออกแบบ ATELIER XI พยายามจะแบ่งย่อยอาคารนี้ให้เป็นยูนิตต่างๆ ที่ปรับเปลี่ยนได้ ฟังก์ชันเชิงพื้นที่จึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้เรื่อยๆ โดยตัวโครงสร้างที่เสร็จสมบูรณ์ของอาคารจะมี ‘ช่องว่าง’ ต่างๆ ที่เชื่อมต่อกันด้วยช่องว่างภายในที่มีรอยพับอันซับซ้อน ซึ่งเราสังเกตเห็นได้ทั้งในบริเวณด้านหน้าและหลังคาที่อยู่ภายนอกอาคาร ช่วงเริ่มต้นของการออกแบบ […]

Beta Cinema โรงหนังในเวียดนามที่ผสมความเป็นท้องถิ่นกับดีไซน์ เพื่อเป็นแหล่งแฮงเอาต์คนรุ่นใหม่

ลืมภาพโรงหนังมืดๆ ทึมๆ ไปได้เลย สำหรับยุคปัจจุบันที่โรงหนังไม่ได้เป็นแค่สถานที่ดูหนังอีกต่อไป แต่ยังเป็นที่แฮงเอาต์สำหรับกลุ่มคนรุ่นใหม่ในการพบปะ พูดคุย และเอนจอยช่วงวันหยุดหรือเวลาหัวค่ำด้วยกัน อาคารรูปทรงเรขาคณิต มีสีสันเด่นชัด ชวนให้นึกถึงสถานที่สุดล้ำในหนังสักเรื่องที่อยู่ในภาพคือ โรงหนัง Beta Cinema ที่เพิ่งเปิดให้บริการในโฮจิมินห์ซิตี้ ประเทศเวียดนาม ซึ่งออกแบบโดยบริษัท Module K ตามโจทย์ของ Minh Bui ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Beta Group ที่ต้องการโรงหนังที่ดึงดูดกลุ่มคนรุ่นใหม่ แต่แค่ดีไซน์เก๋ไก๋ยังไม่พอ ความพิเศษที่อยู่เบื้องหลังการออกแบบโรงหนังแห่งนี้คือการหยิบเอาประวัติศาสตร์และความเป็นท้องถิ่นของไซง่อนมาผสมผสานกับการออกแบบ ทำให้โรงหนังขนาด 2,000 ตารางเมตร รองรับได้ 1,000 ที่นั่งแห่งนี้เต็มไปด้วยกลิ่นอายของไซง่อน โดยรายละเอียดการออกแบบแต่ละส่วนใน Beta Cinema ล้วนแล้วแต่อ้างอิงถึงสถานที่สำคัญๆ ที่กระจายอยู่ทั่วเมือง ยกตัวอย่าง โดมสีเขียวที่ได้รับแรงบันดาลใจจากที่ทำการไปรษณีย์กลางในยุคอาณานิคม ฝูงนกพิราบที่ได้รับอิทธิพลจากเอเลเมนต์ที่พบตามโรงละครโอเปร่าและจัตุรัส Paris Commune เคาน์เตอร์ขายตั๋วที่ออกแบบโดยอ้างอิงจากตลาด Ben Thanh ไปจนถึงล็อบบี้ด้านข้างและโถงทางเดินก็ชวนให้นึกถึงตรอกซอกซอยกับชีวิตบนท้องถนนของเมืองโฮจิมินห์ Jade Nguyen ผู้อำนวยการแห่ง Module K เล่าว่าเขาได้หยิบเอาลักษณะสำคัญๆ ที่เป็นไอคอนของไซง่อนมาเปลี่ยนรูปแบบโดยใช้วิธีลดทอนรายละเอียดให้เป็นรูปทรงเรขาคณิต แล้วประยุกต์เทคนิคการใช้สีแบบที่ใช้ในการออกแบบกราฟิกและการ์ตูน […]

เป็นสิตางศุ์ เป็นนางร้าย เป็นลิซ่า ‘พีทพามานา’ Creator ที่ใช้เสื้อผ้าแม่ทำ Parody วิวหลักล้าน

ท่ามกลางตลาดคอนเทนต์ครีเอเตอร์ในไทยที่บูมขึ้นเรื่อยๆ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการทำคอนเทนต์ให้โดดเด่นและโดนใจคนหมู่มากนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย สิ่งที่ยากกว่าคือการทำคอนเทนต์ใหม่ๆ เพื่อจูงใจให้คนยังกดติดดาว (หรือกระดิ่ง) ช่องเราไว้เสมอ แต่ความชอบคนเราเปลี่ยนไปได้ทุกวัน ครีเอเตอร์หน้าใหม่ก็กลายเป็นไวรัลในชั่วข้ามคืน การจะยืนระยะในวงการนี้ได้นั้นเรียกร้องเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ถูกอกถูกใจคนดู และหนึ่งในครีเอเตอร์ที่ทำแบบนั้นได้คือ ‘พีทพามานา’ แม้ว่าแอ็กเคานต์ติ๊กต็อกและเพจของ พีท-สุทิน โคตะถา จะเปิดมาได้แค่ปีกว่าๆ แต่ครีเอเตอร์วัย 27 ปีคนนี้ก็ขยันปล่อยคอนเทนต์ใหม่ๆ ออกมาให้คนดูได้หัวเราะ (หรืออย่างน้อยก็กระตุกมุมปากยิ้มล่ะ) ไม่ว่าจะเป็นคลิปเลียนเสียงคนดังอย่าง พิม นาคำไฮ หรือ สิตางศุ์ บัวทอง คลิปพาโรดี้ละครไทย ล่าสุดคือคลิปคัฟเวอร์เอ็มวีเพลง LALISA ของ LISA วง BLACKPINK ที่มียอดวิวกว่า 3 ล้านวิวเข้าไปแล้ว! ด้วยยอดคนดูขนาดนี้ ไม่เกินจริงเลยถ้าจะเรียกพีทว่าดาวติ๊กต็อก นอกจากจริตจะก้านการแอ็กติ้งที่ดูแล้วต้องตบเข่าฉาด เหตุผลที่ทำให้หลายคนกดติดตามพีทคือการสร้างคอนเทนต์จาก ‘อะไรง่ายๆ’ ที่อยู่รอบตัวอย่างการหยิบยืมเสื้อผ้าของแม่กับพี่สาวมาใส่ ไหนจะใช้นาข้าวในชนบทของอำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี เป็นฉากหลัง  สิ่งที่หลายคนไม่รู้คือเบื้องหลัง ‘อะไรง่ายๆ’ เหล่านั้นต้องแลกกับอะไรบ้าง คอลัมน์ The Professional คราวนี้ เราจึงอยากชวนไปสำรวจโลกของคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่ไม่ได้ง่ายดายเหมือนใช้ปลายนิ้วไถฟีด เสียงแมงแคงบินว่อน ลมจากเถียงนาพัดเอื่อย อีกฝั่งของวิดีโอคอล พีทในชุดเดรสแหวกอกกับวิกหน้าม้ารอให้คำตอบกับเราแล้ว โตมากับละครไทย […]

สีสันบนแผงลอตเตอรี่

พรุ่งนี้หวยออก ! ถูกหวยหรือถูกแ_กคงแล้วแต่คน
จะรวยจะจนพอหวยงวดนี้จบก็รีบซื้องวดใหม่
ตอนซื้อหวย สะดุดตา ‘รูปหลังแผงหวย’ กันบ้างไหม ?
ขนาดเล็กใหญ่ ลวดลาย สีสันแตกต่างกันออกไป
เห็นแล้วสวยดีแต่ไม่รู้ว่าเสริมโชคคนซื้อ คนขายบ้างหรือเปล่า

1 24 25 26 27 28 58

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.