ลัดเข้าวัด เลาะเข้าศาลเจ้า แวะเข้าโบสถ์ ทริปเดินสำรวจชุมชน ความเชื่อ และศรัทธาในพื้นที่สามย่านกับ TedxChula

เดี๋ยวนี้เวลาพูดถึงสามย่าน หลายคนคงคิดถึงบรรทัดทอง หมาล่า หรือเขตอาหารที่คึกคักตลอดคืน แต่จริงๆ พื้นที่ตรงนี้ได้ชื่อ ‘สามย่าน’ จากจุดตัดถนน 3 สาย คือ ถนนพระรามที่ 4 ถนนพญาไท และถนนสี่พระยา ซึ่งไม่เพียงแต่จุดตัดของถนนสามสาย ที่นี่ยังมีสามความเชื่อ สามรูปแบบความศรัทธาที่ปรากฏตั้งแต่อดีตกาลยาวนานมา ยามบ่ายของวันเสาร์ที่ผ่านมา TEDXChulalongkornU ได้ชวน Urban Creature ไปเดินสำรวจหลากหลายความเชื่อ ความศรัทธาในพื้นที่สามย่าน ในธีม How to train your jargon ที่มีไกด์ทัวร์ท้องถิ่นของแต่ละสถานที่ และนิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ มาดำเนินกิจกรรม ศาลเจ้าปึงเถ่ากงม่า สถานที่แห่งความศรัทธาที่ไม่อาจรักษาสัญญา “เขาขอเข้ามาปรับปรุง มีแพลนมาให้ดูว่าจะสร้างนู่นสร้างนี่ ย้ายเรามาตรงนี้ให้มีพื้นที่มากขึ้น สะดวกขึ้น แต่สุดท้ายก็ไม่เป็นอย่างที่บอก” เจ้าหน้าที่ศาลเจ้าปึงเถ่ากงม่าเล่าให้ฟัง สถานที่นี้คือศาลเจ้าที่เดิมเป็นศูนย์กลางทางจิตใจของคนในชุมชน ด้วยความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ของเทพทีกงและทีม่า ที่เล่าขานกันว่า ในวันที่เกิดเหตุไฟไหม้โดยรอบ ถึงแม้ศาลเจ้านี้สร้างด้วยไม้ทั้งหมดแต่พวกเป็ดไก่ที่วิ่งพากันเข้ามาหลบไฟในศาลเจ้ากลับมีชีวิตรอดกันทั้งหมด แต่ตอนนี้ศาลเจ้าปึงเถ่ากงม่าได้ย้ายเข้ามาตั้งอยู่ภายในโครงการ Dragon Town ซึ่งเป็นโครงการที่มีร้านค้า ร้านอาหาร ด้วยข้อต่อรองในการปรับปรุงพื้นที่ โดยสถานที่ที่เปลี่ยนแปลงไป […]

ชวนย้อนเวลากลับไปในลอนดอนยุค 90 ผ่านเว็บไซต์ ‘Public Lettering’ เพื่อศึกษากราฟิกดีไซน์บนป้ายในช่วงเวลานั้น

สิ่งหนึ่งที่ทำให้การเดินในเมืองสนุกขึ้นคือ การที่ระหว่างทางเราได้สำรวจมองหาความน่าสนใจของการออกแบบกราฟิกบนป้ายที่พบเห็นไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นป้ายโฆษณาหรือป้ายร้านค้า เพราะนั่นคือสิ่งเล็กๆ ที่บ่งบอกถึงความคิดสร้างสรรค์และสถานที่นั้นๆ ต้องการนำเสนอ ถ้าเดินดูป้ายในไทยจนฉ่ำใจ แล้วอยากดูงานออกแบบป้ายของประเทศอื่นๆ บ้าง Urban Creature อยากแนะนำอีกหนึ่งเว็บไซต์ให้รู้จัก นั่นก็คือ ‘Public Lettering’ ที่รวบรวมป้ายโฆษณา ป้ายร้านค้า และงานออกแบบกราฟิกที่นำเสนอเอกลักษณ์องค์กรบริเวณใจกลางกรุงลอนดอนในยุค 90 Public Lettering สร้างขึ้นโดย ‘Phil Baines’ (ฟิล เบนส์) กราฟิกดีไซเนอร์ผู้ออกแบบปกหนังสือของสำนักพิมพ์ Penguin Books ไปจนถึงป้ายพิพิธภัณฑ์ และอนุสรณ์สถานในลอนดอน เพื่อส่งต่อภาพถ่ายงานออกแบบกราฟิกให้กับนักเรียนออกแบบกราฟิกดีไซน์ของเขา หลังจากได้รับผลตอบรับที่ดีในการประชุมของ ATypI (Association Typographique Internationale) องค์กรไม่แสวงหากำไรระดับนานาชาติที่มุ่งเน้นด้านการออกแบบ Typography และ Typeface ในปี 1997 เรียกว่าเป็นเว็บไซต์ที่เก็บรวบรวมภาพถ่ายโดยฟิล เบนส์ ที่ส่งผลต่องานออกแบบของเขาตั้งแต่ปี 1992 อีกทั้งยังทำให้เห็นความน่าสนใจของการออกแบบกราฟิกบนป้ายของลอนดอนในยุคหนึ่งที่เต็มไปด้วยเสน่ห์ที่ยากจะพบเจอในปัจจุบัน ใครที่เอนจอยงานออกแบบลักษณะนี้ ลองไปสำรวจตัวอักษรและป้ายกราฟิกในลอนดอนครั้งอดีตได้ที่ publiclettering.org.uk Sources :Planet Typography | […]

ค้นหาพื้นที่สุขภาพใกล้ฉัน ติดตามข้อมูลสุขภาพและกิจกรรมทางกายบน ‘City Health Check TH’ แพลตฟอร์มส่งเสริมสุขภาวะที่ดีให้คนไทย

สุขภาพของคนไทยเป็นอย่างไร พื้นที่ใกล้ๆ ที่เราจะไปออกกำลังกายได้อยู่ตรงไหนบ้าง จังหวัดเรามีพื้นที่สีเขียวมากเพียงพอหรือยัง ที่ผ่านมาหัวข้อทั้งหมดนี้อาจเป็นเรื่องที่ติดตามได้ยาก แต่ในตอนนี้เราสามารถค้นหาข้อมูลด้านสุขภาพเหล่านี้ได้ง่ายๆ บนช่องทางออนไลน์ผ่าน ‘City Health Check TH’ แพลตฟอร์มกิจกรรมทางกายจากความร่วมมือกันของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ Bedrock Analytics City Health Check TH คือแพลตฟอร์มส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่รวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่ในรูปแบบ Open Data จากหลากหลายแหล่งและหลากหลายมิติ เพื่อให้ผู้เข้าใช้งานเห็นภาพรวมของกิจกรรมทั้งหมด และนำไปวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของข้อมูลได้ โดยข้อมูลขนาดใหญ่เหล่านี้สามารถนำไปต่อยอดในการพัฒนาและแก้ปัญหาเมืองในหลายๆ ทาง เพื่อส่งเสริมสุขภาพของคนไทยให้ดีขึ้นได้ โดยกิจกรรมทางกายที่ว่านั้นคือ การเคลื่อนไหวร่างกายที่ทำให้เกิดการใช้พลังงานที่ช่วยให้ร่างกายมีการเผาผลาญ แบ่งออกเป็น 3 หมวด คือ กิจกรรมทางกายในการทำงานต่างๆ และการเรียน กิจกรรมทางกายในการเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง และกิจกรรมทางกายเพื่อการนันทนาการหรือกิจกรรมยามว่าง ส่วนจุดประสงค์ของแพลตฟอร์มนี้ก็เพื่อศึกษาแนวทางและพัฒนาแผนงานในการใช้ประโยชน์จากข้อมูล เหมาะกับการใช้งานทั้งในระดับใหญ่และปัจเจก เช่น – นักวิชาการหรือนักวิจัย ที่ต้องการนำข้อมูลไปใช้วิเคราะห์ในเชิงลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้หรือนวัตกรรมใหม่ๆ– หน่วยงาน ที่เก็บข้อมูลและใช้ข้อมูลเพื่อที่จะได้รู้ว่ามีจุดไหนที่ต้องการแก้ปัญหาบ้าง– องค์กรหรือบริษัท ที่ต้องการข้อมูลไปใช้เพื่อการตลาด– บุคคลทั่วไป ที่ต้องการข้อมูลเชิงลึกในเรื่องที่สนใจ นอกจากเรื่องสุขภาพของประชากรแล้ว บนแพลตฟอร์มนี้ยังมีฟังก์ชันติดตามข้อมูลพื้นที่สาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นสวนสาธารณะ ศูนย์กีฬา […]

Na Pan School จากโรงเรียนสภาพทรุดโทรมสู่พื้นที่การเรียนรู้ใหม่ ด้วยแรงกายและใจของคนในหมู่บ้าน

โรงเรียน Na Pan ตั้งอยู่บนเชิงเขา Pa Han ที่เวียดนาม เป็นพื้นที่การเรียนรู้ของนักเรียน 204 คน จากหกชั้นเรียน โรงเรียนตั้งอยู่บนที่ดินกลางหมู่บ้าน โดยมีประตูหันหน้าไปทางถนนระหว่างหมู่บ้าน ด้านหลังติดกับลำน้ำและทุ่งนาอันกว้างใหญ่ ก่อนการปรับปรุง โรงเรียนนี้มีห้องเรียนที่ผุพังอย่างหนักถึงสามห้อง และต้องใช้ห้องเรียนชั่วคราวที่สร้างจากไม้ ผนังดิน พื้นกระเบื้องธรรมดา และหลังคาใยหินที่ซีดจาง ความท้าทายในการปรับปรุงที่นี่จึงเป็นการรวมโครงสร้างสามส่วนอย่างอาคารไม้เก่าแก่เกือบ 30 ปี อาคารอิฐอายุ 20 ปี และอาคารสร้างใหม่ที่ได้รับทุนจากมูลนิธิ VNHelp ให้กลายเป็นพื้นที่สถาปัตยกรรมที่ทันสมัยและเป็นหนึ่งเดียวกัน ที่นี่ได้รับการออกแบบให้เปิดโล่งด้วยหน้าต่างจำนวนมากเพื่อเพิ่มแสงธรรมชาติ และเปิดให้บรรยากาศโดยรอบเข้ามาสู่ห้องเรียน ผสมผสานกับการจัดเรียงหน้าต่างอย่างเป็นระเบียบ สะท้อนถึงการเต้น ‘Pieu Scarf’ แบบดั้งเดิมของคนท้องถิ่น ส่วนอาคารใหม่สร้างด้วยอิฐดินและมีทรงโค้งมน ชวนให้นึกถึงเตาเผาเครื่องปั้นดินเผาแบบดั้งเดิม โดยมีส่วนเชื่อมต่ออาคารใหม่และอาคารเก่าคือห้องอเนกประสงค์ที่ชาวบ้านร่วมกันเก็บหินจากแม่น้ำเพื่อสร้างขึ้นมา โครงการนี้ใช้เวลาเพียงสี่เดือน จากความร่วมมือของ 300 ครอบครัว มาใช้เวลาร่วมกันสร้างสิ่งนี้ โดยแต่ละคนนำหินกรวดจากแม่น้ำมา 30 ก้อน รวมกันประมาณ 80,000 ก้อน เพื่อให้เพียงพอต่อการสร้างห้องอเนกประสงค์ ปูพื้นลาน และตกแต่งพื้นที่อื่นๆ โครงการนี้ไม่เพียงแต่เปลี่ยนรูปลักษณ์ของโรงเรียน แต่ยังเป็นการเปลี่ยนความคิดของคนทั้งหมู่บ้าน […]

‘สองแถวแปลงร่าง’ นิทรรศการที่ชวนมองความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงรถสองแถวให้ดีขึ้น พร้อมทดลองนั่งสองแถวโฉมใหม่ที่ไฉไลกว่าเดิม

‘รถสองแถว’ เป็นรถโดยสารที่เราอาจไม่ค่อยนึกถึงเท่าไรเพราะไม่ได้ใช้บริการมากนัก ทั้งที่ความจริงแล้ว ในหลายๆ พื้นที่สองแถวยังคงเป็นขนส่งที่จำเป็นต่อการเดินทางอยู่ ถึงอย่างนั้น รถโดยสารประเภทนี้กลับไม่ค่อยได้รับการพัฒนาในแง่ฟังก์ชันการออกแบบเท่าไร ทาง โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย, บัสซิ่ง ทรานสิท และ MAYDAY! จึงร่วมมือกันปรับโฉมรถสองแถว พร้อมชวนทุกคนมาสำรวจในนิทรรศการ ‘สองแถวแปลงร่าง’ งาน Bangkok Design Week 2025 ณ ลานคนเมือง หน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร นอกจากนิทรรศการที่ชวนไปทำความเข้าใจขนส่งสาธารณะเส้นเลือดฝอยอย่างรถสองแถวแล้ว ภายในงานยังมีโมเดลรถสองแถวแปลงร่างที่เปิดให้ใช้บริการในช่วง BKKDW 2025 ด้วย เพื่อให้ผู้โดยสารบางส่วนได้ลองสัมผัสประสบการณ์การนั่งรถสองแถวแบบใหม่ ที่ไม่แน่ว่าในอนาคตเราอาจจะได้ใช้รถสองแถวแบบใหม่นี้มากขึ้นก็ได้ ออกแบบใหม่เพื่อการใช้งานและความปลอดภัย ‘ศุภกร ศิริสุนทร’ Co-founder และ CFO บริษัท บัสซิ่ง ทรานสิท จำกัด เล่าให้เราฟังว่า โปรเจกต์นี้เริ่มต้นจากทางโตโยต้า ที่มีแนวคิด Mobility For All สนับสนุนความหลากหลายในการเดินทางได้เลือกรถสองแถวมาเป็นโจทย์เพราะพนักงานในโรงงานหลายคนต้องอาศัยรถสองแถวในการเดินทางระยะสุดท้าย (Last Mile Transportation) ส่วนทางบัสซิ่งเองก็เคยร่วมงานกับโตโยต้ามาก่อนแล้ว จึงร่วมมือกันพูดคุยและลงมือพัฒนารถสองแถวว่าจะเป็นไปในทิศทางไหนได้บ้าง […]

mapmap GO! แผนที่ย่านบางกอกใหญ่ที่อยากให้คนได้เดินเที่ยวดี

สำหรับย่านบางกอกใหญ่ แลนด์มาร์กที่คนรู้จักคงหนีไม่พ้น ‘วัดอรุณฯ’ จุดที่หลายคนแต่งองค์ทรงเครื่องสวมชุดไทยไปถ่ายรูปกับสถาปัตยกรรมสวยๆ แต่ที่หลายคนอาจไม่รู้คือ ภายในย่านบางกอกใหญ่ยังมีอีกหลายสิ่งรอให้เราไปค้นหา ‘mapmap GO!’ คือแผนที่ข้อมูลและเส้นทางแนะนำสำหรับวางแผนท่องย่านบางกอกใหญ่ในรูปแบบกระดาษ ผลงานจากการรวมตัวกันระหว่างทีม ‘mor and farmer’ ที่มีสมาชิกคือ ‘ธาริต บรรเทิงจิตร’, ‘ภาสุร์ นิมมล’ และ ‘รินรดา ราชคีรี’ และทีม ‘Refield Lab’ อย่าง ‘นักรบ สายเทพ’, ‘อรกมล นิละนนท์’ และ ‘อัตนา วสุวัฒนะ’ ในนาม ‘CAN : Community Act Network’ ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มคนที่สนใจเรื่องชุมชนและเมืองเอาไว้ด้วยกัน รวมคนและข้อมูลให้เดินเที่ยวดี “เราสนใจเรื่องของการทำข้อมูลและงานแผนที่กันอยู่แล้ว เลยคิดกันเล่นๆ ว่า แล้วถ้าข้อมูลที่เรามีสามารถแปลออกมาเป็นกระดาษให้คนมาใช้งานมันจะเวิร์กไหม เลยเลือกย่านหนึ่งที่ไม่ใหญ่มากอย่างย่านบางกอกใหญ่มาทำ” นักรบ หนึ่งในสมาชิกผู้จัดทำ mapmap GO! บอกกับเรา นอกจากนี้ อีกหนึ่งเหตุผลที่ลงเอยที่ย่านบางกอกใหญ่คือ ย่านนี้มีกลุ่มที่ทำงานกับชุมชนอย่าง ‘ยังธน’ และ […]

The junk, the gems ธีสิสที่ว่าด้วยสิ่งของข้างทาง และไอเดียการประยุกต์แบบบ้านๆ ของคนไทย

นิสัยช่างสังเกตและความชอบในการเดินเมือง ทำให้ ‘ปิ๊ก-ชาคริยา เนียมสมบุญ’ บัณฑิตจากสาขาเครื่องเคลือบดินเผา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ปัจจุบันเป็นศิลปินอิสระ ได้ไปเดินยังจุดต่างๆ ของเมือง และพบความสนใจในการสร้างเครื่องเคลือบดินเผาจากไอเดียที่พบเห็นสิ่งของข้างทาง จนทำให้เกิดเป็นงานธีสิสชิ้นนี้ขึ้นมา ‘จุดนำสายตา’ เป็นคำนิยามที่ปิ๊กรู้สึกต่อตะกร้าผลไม้ ยางรถยนต์ แกลลอน หรือข้าวของที่วางอยู่ระเกะระกะ ควบคู่ไปกับความเป็นนักประดิษฐ์คิดค้นของคนไทย ที่มักหยิบจับสิ่งของที่ดูไม่เข้ากันมาประกอบเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ใหม่ งานประดิษฐ์เหล่านี้ไม่ได้สะท้อนแค่ไอเดียสร้างสรรค์ต่างๆ แต่ยังสะท้อนถึงวิถีชีวิตคนไทย ที่เมื่อปัญหาบางอย่างไม่สามารถแก้ไขอย่างถาวรได้ คนไทยก็มักแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยไอเดียการประยุกต์ใช้สิ่งของบางอย่าง เช่น ถ้าไม่อยากให้ใครมาจอดรถหน้าบ้าน ก็เอาแกลลอนหรือสิ่งของมาประกอบกันแล้ววางขวางพื้นที่ไว้ รวมถึงสิ่งของบางอย่างที่อาจใช้ประโยชน์ในรูปแบบเดิมไม่ได้แล้ว อย่างตะกร้าพลาสติกที่แตกบริเวณฐาน พ่อค้าแม่ค้าก็ดัดแปลงด้วยการนำมาตั้งเรียงกันเป็นโต๊ะ เพื่อไม่ให้ตะกร้าเหล่านั้นกลายเป็นขยะพลาสติกเสียเปล่าไปเฉยๆ จุดเริ่มต้นของงานนี้เกิดจากการไปเดินย่านทรงวาดของปิ๊ก และพบเข้ากับเสาไฟที่มีแกลลอนขวดนมตั้งอยู่ตรงฐาน แต่เมื่อมองเข้าไปข้างในขวดนมจะพบปลั๊กพ่วงซ่อนอยู่ ซึ่งตัวปิ๊กเองคาดเดาว่าอาจจะใช้เพื่อกันน้ำฝน หรือป้องกันไม่ให้ใครเห็น เพราะถ้าจะต่อปลั๊กจากไฟเหล่านี้ต้องมีการขออนุญาตก่อน เสาไฟและขวดนมที่ทรงวาดจึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ปิ๊กอัปสกิลการสังเกตของตนเองและค่อยๆ พัฒนามาเป็น ‘The junk, the gems’ ธีสิสที่บอกเล่าตามชื่อด้วยเรื่องราวของสิ่งของข้างทางที่เป็นขยะ แต่ถูกนำมาดัดแปลงจนเห็นถึง Gems ที่แทรกอยู่ในขยะเหล่านั้น โดยจุดสำคัญของผลงานชุดนี้คือ การนำเสนอไอเดียและการแก้ปัญหาของคนเมือง พร้อมสอดแทรกความเป็นตัวปิ๊กลงไป ด้วยความตั้งใจที่ไม่อยากเพียงแค่คัดลอกไอเดียที่เห็น แต่อยากจินตนาการเสียมากกว่าว่า ถ้าเธอเป็นคนทำงานชิ้นนี้ออกมา แต่ละงานจะออกมาหน้าตาแบบใด ปิ๊กเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยให้ฟังว่า นอกจากย่านทรงวาดที่ทำให้ได้เจอกับเสาไฟที่จุดประกายไอเดียแล้ว […]

mapmap parti แพลตฟอร์มสำรวจความเห็นและพฤติกรรมการใช้งานพื้นที่สีเขียว ด้วยการปักหมุดหรือค้นหา ‘สวนสาธารณะใกล้ฉัน’

เคยไหม อยากไปเดินเล่นที่สวนสาธารณะใกล้ๆ แต่ไม่รู้ว่ามีที่ไหนบ้าง หรือหลายครั้งเหตุผลอาจกลับกัน เพราะใกล้ๆ เรามีพื้นที่สีเขียวลับๆ ที่อยากป่าวประกาศให้คนรู้ แต่ไม่รู้จะบอกยังไง ‘mapmap parti’ คือแพลตฟอร์มที่ชวนทุกคนมาแชร์ประสบการณ์การใช้พื้นที่สาธารณะสีเขียว ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือสำรวจการใช้งาน ความพึงพอใจ และความคิดเห็นที่มีต่อพื้นที่ เพื่อที่จะช่วยรวบรวมและส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปพัฒนาสวนให้ดีและตรงใจผู้ใช้งานมากขึ้น ซึ่งเป็นผลงานจาก mapmap แพลตฟอร์มร่วมขับเคลื่อนกลไกข้อมูลเมืองที่ได้รับการสนับสนุนจาก ‘สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)’ ขั้นตอนการใช้งานแพลตฟอร์มคือ เริ่มต้นด้วยการแชร์สวนสาธารณะที่เราใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการปักหมุดสวนที่หายไป หรือเลือกสวนจากพื้นที่ที่มีคนปักหมุดไว้ก่อนหน้า จากนั้นตอบคำถามสั้นๆ 4 หมวด เกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐาน การใช้งานพื้นที่ ความพึงพอใจ และข้อเสนอแนะสำหรับพัฒนาพื้นที่  ส่วนใครที่กังวลว่าแพลตฟอร์มจะเก็บข้อมูลครบจริงหรือเปล่า แล้วถ้าอยากชื่นชมบางพื้นที่ของสวนแล้วอยากให้มาปรับปรุงบางมุมล่ะ จะทำได้ไหม เราขอตอบเลยว่าทำได้ เพราะจากที่ลองเล่นมา สามารถปักหมุดได้ละเอียดสุดๆ อาจจะใช้เวลามากเสียหน่อยแต่รับรองว่าได้ผลตรงใจแน่นอน  พอทำแบบสำรวจเสร็จ เพียงเท่านี้ mapmap parti ก็จะประมวลผลจนได้ออกมาเป็นน้อง mapmap ในคาแรกเตอร์ที่ตรงกับการใช้งานของเราในแต่ละสวน แถมยังมีบอกด้วยว่า เราจะเผาผลาญพลังงานได้มากน้อยแค่ไหนในหนึ่งสัปดาห์ถ้ามาใช้บริการสวนสาธารณะแห่งนี้ ไม่แน่ว่าในอนาคต สวนสีเขียวที่ทุกคนปักหมุดและเสนอคำแนะนำไปอาจถูกนำไปพัฒนาพื้นที่ให้ดีขึ้นและตรงใจเราก็ได้ ยังไงลองเข้าไปเล่นกันดูที่ parti.mapmap.city/park

ชวนเด็กๆ ไปเรียนรู้ชุมชนพร้อมเล่นสนุกใน ‘มหกรรมรองเมืองเรืองยิ้ม’ ที่บริเวณถนนรองเมือง วันสุดท้ายของงาน BKKDW 2025

ไม่ต้องรอให้ถึงวันเด็กอีกรอบก็พาเด็กๆ ไปสนุกได้ที่งาน Bangkok Design Week 2025 กับ ‘มหกรรมรองเมืองเรืองยิ้ม’ ตอน รองเมือง พร้อมบวก เพื่อให้ทุกการบวกคือพลังที่สร้างการเปลี่ยนแปลง  งานนี้นับว่าเป็นพื้นที่เรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนเมือง ซึ่งชักชวนเด็กและเยาวชนในย่านหัวลำโพง ทั้งชุมชนวัดดวงแข ชุมชนตรอกสลักหิน ชุมชนแฟลตรถไฟ​ และชุมชนจรัสเมือง​ มาสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน เกิดเป็นเครือข่ายขับเคลื่อนงานพัฒนาเด็กและเยาวชนที่สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน อีกทั้งยังเป็นจุดพักผ่อนกายใจ พื้นที่เล่น และพื้นที่ปลอดภัยของเด็กๆ อีกด้วย ภายในงานมีกิจกรรมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นนิทรรศการพร้อมบวก กิจกรรมเวิร์กช็อป เวทีเสวนา การแสดงของเด็กๆ ร้านอาหารจากชุมชน และ Loose Part Play โซนเล่นอิสระกับกิจกรรมที่จะชวนให้เด็กๆ ได้เล่นสนุกกันอย่างปลอดภัย พร้อมกับเสริมพัฒนาการเต็มวัยให้กับเด็กน้อยทุกคนที่มาร่วมสนุก รองเมืองเรืองยิ้ม จัดขึ้นในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 วันเดียวเท่านั้น ตั้งแต่เวลา 16.30 – 20.00 น. ณ บริเวณถนนรองเมือง (ติดกำแพงรถไฟหัวลำโพง) ติดตามข้อมูลและกิจกรรมภายในงานเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : […]

‘Prompt Park’ สวนที่ชวนทุกคนมาจินตนาการว่า พื้นที่รกร้างใต้ทางด่วนเป็นอะไรได้บ้าง

โปรเจกต์จากความร่วมมือของ we!park และ MVRDV ภายใต้ทุนสนับสนุนจากสถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย (Embassy of the Netherlands in Thailand) ทดลองพัฒนาพื้นที่รกร้างใต้ทางด่วนให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะผ่านเทคโนโลยี AI โดยโปรเจกต์นี้ต่อยอดมาจากกิจกรรม ‘Reimagine Underused Areas as Green Infrastructure’ ที่ชวนทุกคนมาลองคิดดูว่า จากพื้นที่ใต้ทางด่วนที่รกร้างและถูกละเลย จะสามารถเปลี่ยนเป็นพื้นที่แห่งโอกาสได้อย่างไรบ้าง จากเวิร์กช็อปทำให้เกิดภาพจินตนาการของพื้นที่สาธารณะสีเขียว เช่น สวนกินได้ พื้นที่เรียนรู้ ศูนย์กลางของชุมชนที่ใช้จัดกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตลาด Co-working Space ไปจนถึงการพัฒนาเป็นโครงสร้างพื้นฐานสีฟ้า เช่น พื้นที่กักเก็บน้ำ เพื่อช่วยลดปัญหาน้ำท่วมและเพิ่มคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้กับเมือง ภายใน Bangkok Design Week 2025 สวนแห่งนี้ได้จัดแสดงเหล่าไอเดียและองค์ความรู้จากการเวิร์กช็อปในรูปแบบของ Interactive Installation พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ทุกคนลองมามีส่วนร่วมในการออกแบบ ซึ่งรับชมภาพ Generate ที่ออกแบบกันได้แบบเรียลไทม์ แม้การจัดแสดงงานจะจบไปแล้ว แต่การได้เห็น Pop-up Installation สวนจิ๋วพร้อมที่นั่งสตรีทเฟอร์นิเจอร์ และ Lighting Experience […]

‘Bangkok Up+rising : Beyond the Chaos’ นิทรรศการครั้งแรกของ Urban Creature ที่อยากชวนมาสำรวจกรุงเทพฯ พร้อมจินตนาการถึง ‘ถ้าเมืองหน้ามีอยู่จริง’

ที่ผ่านมา Urban Creature ทำงานบนโลกออนไลน์มาตลอด ห่างหายจากออฟไลน์อีเวนต์ไปนาน จนเมื่อปีที่แล้วได้จัดทริปเดินตามคนขับเคลื่อนเมืองครั้งแรกที่พาผู้อ่านของเราไปเดินสำรวจย่านทรงวาดกับกลุ่ม Made in Song Wat ด้วยกัน และมากไปกว่านั้น เรายังได้รับการชักชวนจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ให้มาทำนิทรรศการร่วมกับ Studio Marketing Materials (SMM) ในเทศกาล Bangkok Design Week 2025 ด้วย แม้จะเป็นการทำนิทรรศการครั้งแรก และมีข้อจำกัดเรื่องไทม์ไลน์ แต่สุดท้ายพวกเราก็ทำงานชิ้นนี้ออกมาสำเร็จลุล่วง โดยมี CEA และ SMM ให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดี ในวันที่ไปเยือนนิทรรศการที่ติดตั้งเรียบร้อยแล้ว พวกเราดีใจมากในฐานะคนทำงานที่ได้ทดลองทำอะไรใหม่ๆ นอกกรอบโลกออนไลน์ และในฐานะผู้อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ คือการได้ส่งต่อภาพเมืองหน้าที่เราอยากเห็น อย่างน้อยๆ ข้อมูลทั้งหมดที่เรารวบรวมมาก็คัดสรรมาจากกระแสโลก ความสนใจของผู้ติดตามเพจ และทิศทางของเมืองที่คาดการณ์จากอนาคตทั้งสิ้น ‘กรุงเทพมหานคร’ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองน่าอยู่ของชาวต่างชาติหลายคน แต่หากมองให้ลึกลงไปแล้ว กรุงเทพฯ ยังมีอีกหลายแง่มุมที่คนอยู่อาศัยอยากปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้น รวมถึงยังมีอีกหลายส่วนที่ต้องการการยกระดับ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนผ่านความสร้างสรรค์ ให้สมฐานะตำแหน่งเมืองสร้างสรรค์ด้านการออกแบบจากยูเนสโก แต่การปรับเปลี่ยนแก้ไขอาจทำไม่ได้ตามใจนึก เราจึงอยากชวนทุกคนร่วมค้นหาคำตอบกันว่า ถ้าเมืองหน้ามีอยู่จริงจะเป็นอย่างไร […]

สองมือล้วงกระเป๋า สองเท้าก้าวไป ‘ซัพ’ ของดีในกรุงเทพฯ และโปรดักต์คอลเลกชันพิเศษที่ห้างซัพสินค้า ‘เนเบอร์มาร์ท’

ไม่ว่าจะแห่งหนไหนก็ล้วนมีของดีประจำย่านด้วยกันทั้งนั้น อย่างกรุงเทพฯ เองก็มีเหล่าของกินของใช้ที่นับเป็นของเด็ดของดีประจำย่านจำนวนไม่น้อย เพียงแต่หลายคนอาจไม่รู้หรือไม่ทันสังเกต หนึ่งในชิ้นงานที่เป็นที่พูดถึงในวงกว้างและช่วยเมืองได้จริงใน Bangkok Design Week 2025 คงต้องยกให้โปรเจกต์ เนเบอร์มาร์ท ร้านค้าที่มีแนวคิดสนับสนุน ‘คุณค่า’ ของกิจการเล็กๆ ในกรุงเทพฯ ซึ่งก่อตั้งขึ้นจากการพัฒนาร่วมกันของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA และไอแอลไอยู (ILI.U) พันธมิตรชาวคนรักเมืองที่น่ารักของพวกเรา ด้วยความที่มีโอกาสไปเยี่ยมชมร้านค้าเป็นคนกลุ่มแรกๆ แถมยังได้ลองลิ้มชิมรสเครื่องปรุงหลากหลายรสชาติในนิทรรศการประสบการณ์ ‘เครื่องกรุงรส’ ก็ทั้งรู้สึกสนุกและประทับใจในความเป็นหม้อหลอมทางวัฒนธรรมของเมืองหลวงของเรา ไหนจะยังได้ชมสินค้ากับแพ็กเกจจิ้งแบบออริจินัลกับสินค้า Made In กรุงเทพฯ จาก 20+ ย่านการค้า 60+ กิจการ ใน 8 หมวดสินค้า เช่น อาหารแห้งและวัตถุดิบ ของใช้และของแต่งบ้าน เสื้อผ้าและเครื่องประดับ เครื่องเขียน เป็นต้น ขอบอกว่าละลานตาไปหมด อยากคว้าหยิบใส่ตะกร้าไปจ่ายเงินทั้งร้านให้รู้แล้วรู้รอด ยังไม่นับรวมสินค้าคอลเลกชันที่เนเบอร์มาร์ทไปจับมือกับเหล่าผู้ประกอบการผลิตออกมาอีกนะ อย่างเครื่อง ‘กรุง’ รส ที่รวม 6 เครื่องปรุงรสคัดสรรแบบมินิไซซ์ จากโรงหมักบ่มเก่าแก่ที่ถือกำเนิดในกรุงเทพมหานคร, ชาสามย่าน […]

1 5 6 7 8 9 144

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.