Moon Crayon ร้านหนังสืออิสระและเกสต์เฮาส์ในเมืองแพร่ ที่ต้องการสร้างประสบการณ์ให้คนอยากอ่านหนังสือมากขึ้น

ถ้าถามว่าสถานที่หรือบรรยากาศแบบไหนที่จะทำให้เรารู้สึกอยากหยิบหนังสือเล่มโปรดขึ้นมาอ่าน สำหรับเราคงเลือก ‘Moon Crayon’ ร้านหนังสืออิสระและเกสต์เฮาส์ในจังหวัดแพร่ แห่งนี้แหละ เพราะทุกอย่างใน Moon Crayon ล้วนแล้วแต่ถูกคิดมาเป็นอย่างดีโดย ‘เพชร-เพชรฟ้า ภาคพิชเจริญ’ สาวแพร่และคนรัก ด้วยจุดประสงค์ที่อยากชวนให้ผู้คนหันมาอ่านหนังสือกันมากขึ้น “จริงๆ เราอยากทำร้านหนังสืออยู่แล้ว คิดไว้ว่าคงทำตอนเกษียณ แต่พอตัดสินใจกลับมาอยู่แพร่และทำเกสต์เฮาส์ เราเลยคิดว่าเกสต์เฮาส์กับร้านหนังสือมันน่าจะไปด้วยกันได้” เพชรเล่าถึงจุดเริ่มต้นที่ตัดสินใจทำร้านหนังสือควบคู่กับเกสต์เฮาส์ ร้านหนังสือเล็กๆ บรรยากาศน่ารักแสนอบอุ่นแห่งนี้ ประกอบไปด้วยหนังสือประเภทปรัชญา จิตวิทยา วรรณกรรม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมต่างประเทศ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นหนังสือประเภทที่เพชรและแฟนสนใจเป็นทุนเดิม “ที่เลือกหนังสือประเภทเหล่านี้เพราะเราสนใจและพอที่จะแนะนำได้ เพราะจะมีลูกค้าบางคนที่เข้ามาแล้วถามว่า ถ้าจะเริ่มอ่านหนังสือควรเป็นเล่มไหนดี เราก็ให้คำแนะนำได้” เพชรมองว่า Moon Crayon ไม่ใช่ร้านหนังสือสำหรับนักอ่านโดยเฉพาะ แต่เป็นร้านหนังสือที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนเพื่อนนักอ่าน ที่คอยดึงคนที่สนใจอยากลองหาหนังสือสักเล่มอ่าน เข้ามาในวงจรของการอ่านมากกว่า “หลายคนที่ตอนนี้เป็นลูกค้าประจำ เขาก็เริ่มจากการเป็นคนไม่เคยอ่านหนังสือมาก่อน โดยเริ่มจากเล่มง่ายๆ แล้วค่อยๆ ไต่ขึ้นไป แค่นี้เราก็รู้สึกดีใจแล้ว” เพชรเล่าด้วยรอยยิ้ม และหนึ่งสิ่งที่เพชรเลือกใช้สร้างบรรยากาศให้คนอยากหยิบหนังสือขึ้นมาอ่านคือ การหยิบเอากระดาษลายน่ารักๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้แรงบันดาลใจมาจากตอนไปเที่ยวที่ประเทศญี่ปุ่นมาใช้ห่อหนังสือ รวมไปถึงกิมมิกเล็กๆ อย่างการ์ดเขียนมือจากสีธรรมชาติ ที่ทางร้านจะเขียนแนบไปกับตัวหนังสือที่ลูกค้าซื้อ หรือใครอยากจะเขียนด้วยตัวเองก็ได้เช่นกัน ไม่ใช่แค่หนังสือเท่านั้น แต่ […]

แค่สแกน QR Code ก็รีไซเคิลได้ ด้วยป้ายเสื้อฮู้ด FOR TOMORROW ติดตามการเดินทางของสินค้าจนครบลูป

ขยะเสื้อผ้าจำนวนมากที่เกิดจากกระแสฟาสต์แฟชั่น มักลงเอยด้วยการเป็นขยะฝังกลบ ซึ่งไม่ใช่การกำจัดขยะอย่างถูกวิธีและไม่ได้ถูกแก้ไขที่ต้นเหตุอย่างที่ควรจะเป็น คงจะดีไม่น้อยถ้าเรามีนวัตกรรมที่เข้ามาทำให้การทิ้งเสื้อผ้าไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังช่วยรีไซเคิลให้เสื้อผ้าเหล่านี้กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้อีกครั้ง ‘SixR’ แพลตฟอร์มซื้อ-ขายเสื้อผ้าออนไลน์ จับมือกับวิทยาลัย ‘George Brown’ และสถาบัน ‘Brookfield Sustainability Institute’ เปิดตัวคอลเลกชันเสื้อฮู้ด ‘FOR TOMORROW’ ที่ออกแบบมาเพื่อต่อสู้กับกระแสฟาสต์แฟชั่น โดยเสื้อในคอลเลกชันนี้จะถูกสกรีนคิวอาร์โค้ดลงบนป้ายเสื้อ เพื่อให้เราติดตามการเดินทางของฮู้ดตัวนั้นผ่านการสแกนคิวอาร์โค้ด ตั้งแต่แหล่งที่มาของวัสดุที่เลือกใช้ในการผลิต กระบวนการออกแบบและการผลิต ไปจนถึงการส่งสินค้าที่ไม่ต้องการใส่แล้วกลับคืนสู่แพลตฟอร์ม SixR อีกครั้ง และแพลตฟอร์มจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการนำสินค้าเหล่านี้กลับไปรีไซเคิลให้ แถมตัวผู้บริโภคเองยังติดตามสถานะการรีไซเคิลผ่านแพลตฟอร์ม พร้อมกับได้รับเงินส่วนลดเพื่อนำไปซื้อเสื้อผ้าตัวใหม่ในครั้งต่อไป นอกจากนี้ SixR ยังมีความพยายามที่จะใช้วัสดุที่ยั่งยืนในการสร้างสรรค์เสื้อผ้าคอลเลกชันอื่นๆ ภายในแพลตฟอร์ม เพื่อให้นำไปรีไซเคิลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามความตั้งใจของแพลตฟอร์ม เสื้อฮู้ด FOR TOMORROW มีทั้งหมด 4 สี ประกอบด้วยสี Midnight, Sky, Moon และ Sand โดยมีไซซ์ให้เลือกตั้งแต่ XS ไปจนถึง 2XL ในราคา 69 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2,400 บาท) […]

‘Coachtopia’ แบรนด์ลูกจาก ‘Coach’ ที่นำเอาเศษวัสดุจากแบรนด์แม่มาผลิตเป็นกระเป๋าแฟชั่นใบใหม่

อุตสาหกรรมแฟชั่นขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งสร้างขยะจำนวนมากให้กับโลก ด้วยวิธีการผลิตที่มักเหลือเศษวัสดุทิ้งเอาไว้โดยไม่ได้นำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ รวมไปถึงกระบวนการต่างๆ ในการผลิตที่เป็นส่วนหนึ่งในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากเทรนด์ความยั่งยืนที่ไม่ว่าผู้ประกอบการรายใหญ่หรือรายย่อยก็ต้องให้ความสำคัญ ทำให้เมื่อปี 2566 ที่ผ่านมา แบรนด์แฟชั่นชื่อดัง ‘Coach’ เปิดตัว ‘Coachtopia’ แบรนด์ลูกที่ยังคงนำเสนอสินค้าแฟชั่น แต่เป็นการผลิตจากกระบวนการหมุนเวียนวัสดุแทน ด้วยความตั้งใจที่จะหลีกเลี่ยงการผลิตจากวัสดุใหม่ ซึ่งคิดเป็น 38 เปอร์เซ็นต์ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมแฟชั่น แบรนด์ Coachtopia จึงใช้วิธีการนำเอาวัสดุที่มีอยู่แล้วและยังมีอายุการใช้งานอีกนานกลับมาใช้ใหม่ หรือหากวัสดุเหล่านั้นไม่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ ก็ต้องนำไปรีไซเคิลหรือย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ซึ่งวัสดุที่ว่านั้นมาจากเศษหนังจากการผลิตกระเป๋า Coach นั่นเอง โดยสินค้ากลุ่ม Coachtopia Leather นั้นเป็นการรีไซเคิลเศษที่เหลือจากการฟอกหนังอย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์ ส่วนสินค้าในกลุ่ม Coachtopia Loop จะผลิตขึ้นจากพลาสติกรีไซเคิลอย่างน้อย 98 เปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกันกับการนำเรซินมาทำเป็นป้ายห้อย และสายรัดก็ทำขึ้นจากพลาสติกรีไซเคิล ซึ่งวิธีการทั้งหมดนี้ยังคงเป็นกระบวนการเริ่มต้นเท่านั้น และทางแบรนด์เองก็พยายามหานวัตกรรมใหม่ๆ ในการผลิตสินค้าแฟชั่นที่รักโลกไปพร้อมๆ กันอยู่เสมอ ไม่ใช่แค่โปรดักต์ที่เปลี่ยนไปเท่านั้น แต่แคมเปญล่าสุดของ Coachtopia ก็ไม่ได้ใช้วิธีประชาสัมพันธ์แบบดั้งเดิมอย่างการนำเหล่าคนดังมาถ่ายภาพแฟชั่นเซต แต่เปลี่ยนเป็นการปล่อยสารคดีเรื่อง The Road to Circularity ที่ว่าด้วยกระบวนการผลิตกระเป๋าและเส้นทางการเปลี่ยนแปลงสินค้าแฟชั่นของแบรนด์ไปด้วยกัน ชม […]

สำรวจปัญหาสิ่งแวดล้อมผ่าน 38 หนังสั้นในเทศกาล ‘หนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน’ วันที่ 15 – 18 ก.พ. 67 ที่สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ

กลับมาอีกครั้งสำหรับ ‘CCCL Film Festival 2024’ หรือ ‘เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน’ ที่ชวนทุกคนมาร่วมสำรวจเรื่องราวการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบในพื้นที่ต่างๆ ทั่วเอเชีย ผ่านหนังสั้น 38 เรื่องที่คัดเลือกมาแล้วเน้นๆ จากทั้งหมด 383 เรื่อง จากจำนวนหนังที่ฉายแบ่งเป็นหนังสารคดี 19 เรื่อง และหนังประเภทอื่นๆ ที่ไม่ใช่สารคดี 19 เรื่อง ซึ่งเป็นหนังสั้นสัญชาติไทยจำนวน 16 เรื่อง และหนังสั้นสัญชาติอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียอีก 22 เรื่อง เป้าหมายของการฉายหนังในเทศกาลฯ นี้เป็นไปเพื่อบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับผลกระทบจากวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อผู้คนและชุมชน รวมถึงนำเสนอแนวทางการแก้ไข ไปจนถึงการปรับตัวและรับมือต่อวิกฤตการณ์โลกรวน นอกจากภาพยนตร์ที่จัดฉายให้ดูกันแล้ว ทางเทศกาลฯ ยังมีการจัดกิจกรรมตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมชิงทุนสนับสนุนการผลิตภาพยนตร์สั้น กิจกรรมพัฒนางานศิลปะของยุวทูต CCCL และกิจกรรมเสวนาประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาพยนตร์ ที่มุ่งสร้างความตระหนักรู้และแรงบันดาลใจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและการรับมือต่อวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อไป เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน ปี 2567 จะจัดฉายที่แรกในกรุงเทพฯ ที่สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ วันที่ 15 – 18 กุมภาพันธ์ 2567 ก่อนจะสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปยังจังหวัดเชียงราย น่าน […]

น้ำหอมรักโลก ‘Air Eau de Parfum’ ทำจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หวังช่วยลดมลภาวะทางอากาศ

การดำเนินชีวิตของมนุษย์ในแต่ละวันมีส่วนปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และส่งผลให้โลกของเราประสบปัญหาภาวะโลกร้อน แต่หากเราต้องการนำมลพิษเหล่านั้นมาสร้างประโยชน์ จะเป็นไปในทางไหนได้บ้าง ‘AIR COMPANY’ บริษัทที่มีเป้าหมายเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นพลังงานที่ใช้ได้ไม่จำกัด ค้นพบวิธีใหม่ในการเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นเอทานอล และนำมาผสมกับน้ำและน้ำมันหอมระเหย เพื่อผลิตเป็นน้ำหอมที่ไม่เหมือนใคร ด้วยข้อความบนแพ็กเกจผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่า ‘กำลังทำให้ CO2 เป็นสิ่งสวยงาม’ เพราะ AIR COMPANY จะใช้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จำนวน 3.6 กรัมที่ไม่ได้ปล่อยไปในบรรยากาศ มาใช้ทำน้ำหอม ‘Air Eau de Parfum’ ปริมาณ 50 มิลลิลิตร ซึ่งขั้นตอนต่างๆ ในการผลิตน้ำหอมแต่ละขวดอาจทำให้น้ำหอม Air Eau de Parfum มีราคาสูงกว่า Coco Chanel No.5 ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ขณะเดียวกัน แม้ว่าเทคโนโลยีการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาใช้ใหม่จะเป็นวิธีเล็กๆ ที่มีศักยภาพในการช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมได้ก็ตาม แต่ปัญหาด้านค่าใช้จ่าย การโน้มน้าวผู้ใช้เทคโนโลยีใหม่ และวิธีการขยายธุรกิจนี้ออกไปในระดับอุตสาหกรรมก็ยังคงเป็นปัญหาที่ต้องหาแนวทางแก้ไขและพัฒนากันต่อไป ไม่แน่ว่าหลังจากนี้เราอาจจะเปลี่ยนบทบาทจากผู้สร้างมลพิษมาเป็นผู้มีส่วนร่วมในการลดมลพิษผ่านการใช้น้ำหอม Air Eau de Parfum นี้ก็ได้ […]

Alive Arrive Hua Lamphong Journey Map ลายแทงตามหาร้านอร่อยในย่านหัวลำโพง พร้อมเก็บตัวปั๊มคำอวยพรจากคนในย่าน

‘หัวลำโพง’ เป็นอีกหนึ่งย่านน้องใหม่น่าจับตามองประจำงานเทศกาล Bangkok Design Week 2024 จาก ‘เครือข่ายชาวหัวลำโพง’ ที่เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มเยาวชน กลุ่มผู้ประกอบการ คาเฟ่ โฮสเทล ร้านค้า บ้านศิลปิน นักออกแบบ และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กที่อาศัยหรือทำงานในพื้นที่ โดยมีหมุดหมายที่ต้องการสร้างการจดจำใหม่ให้กับย่านและสร้างสรรค์ให้พื้นที่แห่งนี้กลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังจากที่ได้รับผลกระทบจากการย้ายสายรถไฟและพนักงานเกือบทั้งหมดไปยังสถานีกลางบางซื่อ ในธีมง่ายๆ อย่าง ‘การเปิดบ้าน’ เพื่อสื่อถึงการเปิดบ้านต้อนรับคนใหม่ๆ และโอกาสใหม่ๆ รวมไปถึงการเปิดประตูบ้านของชุมชนให้มาแลกเปลี่ยนพูดคุยกันด้วย และหนึ่งในกิจกรรมที่เราหยิบยกมาชวนทุกคนไปสำรวจกันคือ ‘Alive Arrive Hua Lamphong Journey Map’ แผนที่ตามหาความอร่อย ซึ่งเป็นหนึ่งส่วนเล็กๆ แสนสำคัญที่เปิดโอกาสให้เจ้าบ้านย่านหัวลำโพงได้เปิดบ้านต้อนรับกลุ่มคนใหม่ๆ เพื่อทำความรู้จัก รับฟังเรื่องเล่า และกระตุ้นให้ย่านกลับมามีสีสันอีกครั้ง เพราะนอกจากจุดจัดเทศกาลกว่า 10 จุดทั่วทั้งย่านแล้ว ภายในหัวลำโพงยังประกอบไปด้วยร้านค้าและร้านอาหารรสเลิศจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นอาหารจีน อาหารอีสาน อาหารฮาลาล ไปจนถึงเครื่องดื่มและของหวาน เปิดให้บริการทั่วทั้งซอยพระยาสิงหเสนีและชุมชนตรอกสลักหิน ยาวไปจรดถนนเจริญเมือง นอกจากตัวแผนที่ที่มาพร้อมกับหมุดร้านอาหาร 15 แห่งในพื้นที่และจุดจัดกิจกรรมในเทศกาลฯ ต่างๆ แล้ว เรายังจะได้รับสติกเกอร์องค์ประกอบย่านหัวลำโพงและกระดาษรูปโคมจีนสำหรับบันทึกคำอวยพรจากร้านค้า ที่ไม่ว่าไปเยือนร้านไหนก็จะมีตราปั๊มคำอวยพรที่แตกต่างกันไป รอให้เราเดินไปปั๊มเก็บเป็นที่ระลึก […]

‘Moto Taxi Auto Sign’ ป้ายบริการวินฯ แบบอัตโนมัติในกรุงเทพฯ ช่วยจัดระเบียบการใช้วินมอเตอร์ไซค์ให้ดีกว่าเดิม

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า หนึ่งในความสะดวกสบายของคนเมืองคือบริการ ‘วินมอเตอร์ไซค์’ ที่ช่วยลดระยะเวลาการเดินทางในเมืองที่รถติดและวุ่นวายได้เป็นอย่างมาก แต่ขณะเดียวกันก็มีปัญหาในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นการจอดรถกีดขวางการจราจรและบนทางเท้า หรือผู้ใช้บริการจำนวนมากต่อคิวรอแต่กลับไม่มีรถให้บริการในช่วงเวลาเร่งด่วน เป็นต้น ในงาน ‘Bangkok Design Week 2024’ เราได้เห็นผลงานจาก ‘Bangkok City Lab’ ที่อยากช่วยแก้ปัญหาวินมอเตอร์ไซค์ให้เป็นมิตรกับผู้ใช้บริการและพื้นที่ข้างเคียงมากขึ้น ผ่านโครงการทดลอง ‘ป้ายบริการวินฯ แบบอัตโนมัติ’ (Moto Taxi Auto Sign) ป้ายบริการที่จุดรอคิว แสดงสถานะว่ามีวินฯ ที่กำลังให้บริการในพื้นที่อยู่ขณะนี้กี่คัน ทาง Bangkok City Lab บอกกับเราว่า โครงการป้ายบริการวินฯ แบบอัตโนมัติ เริ่มต้นขึ้นจากการสำรวจพื้นที่เพื่อกำหนดประเด็นปัญหา ซึ่งสอดคล้องกับทางนโยบายผู้บริหารกรุงเทพฯ ที่อยากจัดการปรับปรุงเรื่องบริการวินมอเตอร์ไซค์ให้เป็นระเบียบมากขึ้น ผู้จัดทำโครงการพยายามมองหาไอเดียที่มีประสิทธิภาพและสร้างประโยชน์กับทุกฝ่าย ซึ่งป้ายอัตโนมัตินี้ก็เป็นหนึ่งจากหลายๆ ไอเดียที่คิดว่าครอบคลุมความต้องการ จึงนำไอเดียนี้ไปสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เมื่อได้รับผลตอบรับที่ค่อนข้างดีก็จัดการทำ Mock-up และจัดแสดงพร้อมกับประชาสัมพันธ์ภายในงาน Bangkok Design Week 2024 โดยพยายามลงทุนน้อยที่สุด เปลี่ยนแปลงทัศนคติน้อยที่สุด แต่สร้างผลกระทบเชิงบวกมากที่สุด ส่วนสิ่งที่ท้าทายที่สุดในการทำโครงการนี้คือ การนำเสนอและอธิบายแนวคิดให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ให้บริการวินมอเตอร์ไซค์ โดยต้องทำให้พวกเขาเห็นภาพชัดเจนเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน […]

Equal Space เปิดพื้นที่ฮีลใจ พูดคุยแลกเปลี่ยนอย่างปลอดภัย วันที่ 4 – 25 ก.พ. 67 ใน 13 พื้นที่ทั่วประเทศ

ในปัจจุบันที่สังคมมีความเป็นปัจเจกมากขึ้น ทำให้หลายคนเลือกที่จะพูดคุยเพียงเฉพาะกับคนในกลุ่มของตัวเอง จนขาดการแลกเปลี่ยนความคิดกับบุคคลที่หลากหลาย และกลายเป็นช่องโหว่ของการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ สมาคมคนรุ่นใหม่กับนวัตกรรมทางสังคม (SYSI) จึงจับมือกับ 13 พื้นที่สร้างสรรค์ทั่วประเทศจากทั้ง 5 ภูมิภาคทั่วไทย ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคใต้ และภาคตะวันออก เพื่อเติมช่องว่างในการเรียนรู้ด้วยการสร้างสรรค์กิจกรรม ‘Equal Space’ ขึ้น กิจกรรมนี้เป็นการชวนทุกคนมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านกิจกรรมและบทสนทนาที่ออกแบบมาให้สนุก สบายใจ และปลอดภัย โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างวัฒนธรรมการพูดคุยที่ปราศจากการตัดสิน รวมถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในมุมมองที่หลากหลาย กิจกรรม Equal Space จะจัดขึ้นทุกสุดสัปดาห์ของเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ตั้งแต่วันที่ 4 – 25 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมีตารางกำหนดการ ดังนี้ – วันที่ 4 ที่ พก : ร้านหนังสือและโรงหนัง ขนาดเล็ก จังหวัดเชียงราย– วันที่ 10 – 11 ที่ กิ่งก้านใบ LearnScape x […]

มองปัญหาเมืองผ่านภาพสเก็ตช์สิ่งของข้างทาง ในนิทรรศการ ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ วันนี้ – 4 ก.พ. ที่ Everyday Architect Studio

เชื่อหรือไม่ว่า งานดีไซน์หรืองานสร้างสรรค์บางชิ้นอาจเป็นส่วนเล็กๆ ที่พาเราไปพบกับปัญหาต่างๆ ของการอยู่อาศัยในเมืองที่ซ่อนตัวอยู่ เช่นเดียวกับนิทรรศการ ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ โดย Everyday Architect & Design Studio ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงาน ‘Bangkok Design Week 2024’ ที่จะพาเราไปทำความเข้าใจและพบกับปัญหาในเมืองที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน ภายในนิทรรศการจัดแสดงภาพสเก็ตช์จำนวน 365 รูป ที่เป็นภาพวาดบันทึกสิ่งของและงานออกแบบสถาปัตยกรรมเล็กๆ น้อยๆ ระหว่างข้างทางในกรุงเทพฯ ตลอดช่วงปลายปี 2019 ถึงปลายปี 2020 โดยงานออกแบบทั้งหมดนี้มีชื่อเรียกว่า ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ เพื่อเป็นการให้คำจำกัดความภาพงานออกแบบสิ่งของที่ดูเรี่ยราด อยู่เป็นกองๆ เหมือนหมู่คณะที่ข้างทางนั่นเอง แม้ว่าผลงานเหล่านี้อาจจะดูไม่น่าสนใจและดูเหมือนจะนำไปต่อยอดไม่ได้ แต่ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ ‘ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์’ สถาปนิกผู้ก่อตั้งสตูดิโอฯ ได้วาดภาพเหล่านี้ ทำให้เขาเข้าใจถึงเงื่อนไขและปัญหาของเมืองที่ซ่อนอยู่แบบที่คาดไม่ถึง และปัญหาเหล่านี้มักมาพร้อมกับความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงเทคนิคที่ยากจะคาดเดา ช่วยท้าทายวิธีคิดและมุมมองของเหล่านักออกแบบหรือบุคคลทั่วไปที่เห็นผลงานเหล่านี้ด้วย ไปชมผลงานทั้งหมดนี้ได้ตั้งแต่วันนี้ – 4 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 10.00 – 19.00 น. […]

มองย่านทรงวาดผ่านฝาท่อดีไซน์ใหม่ ในนิทรรศการ ‘The Dragon of Soul’ วันนี้ – 18 ก.พ. 67 ที่ชุมชนทรงวาด

บางครั้งสิ่งที่ทำให้เมืองน่าอยู่ขึ้นอาจไม่จำเป็นต้องเป็นโปรเจกต์ใหญ่ๆ เสมอไป สิ่งเล็กๆ ใกล้ตัวอย่าง ‘ฝาท่อระบายน้ำ’ ที่พบเห็นได้ตามท้องถนนหรือทางเดินในเมืองก็สร้างชีวิตชีวาให้เมืองได้เช่นกัน เห็นได้จากหลายพื้นที่ในกรุงเทพฯ ที่เริ่มมีการปรับเปลี่ยนภาพจำฝาท่อเก่าๆ ด้วยการนำเอาฝาท่อดีไซน์ใหม่มาใช้ นอกจากจะทำให้ภูมิทัศน์ของเมืองดูดีขึ้นแล้ว ยังเป็นการเชิญชวนให้ผู้คนได้ใช้เวลาไปกับการเดินเท้าเพื่อสำรวจความสวยงามของฝาท่อและสิ่งรอบด้านอีกด้วย งาน ‘Bangkok Design Week 2024’ ในปีนี้ก็มีการหยิบเอาไอเดียการแปลงโฉมฝาท่อมาแสดงให้เห็นความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการพัฒนาเมือง โดย ‘บริษัท นวกาญจน์โลหะชลบุรี จำกัด’ หรือ ‘NVK’ ผู้ผลิตฝาท่อในไทยที่ให้ความสำคัญกับการดีไซน์และงานสร้างสรรค์ ร่วมกับศิลปิน ‘โอม-ธนรัชต์ ทองสิมา’ และ ‘Jinjer Team’ ดีไซน์ฝาท่อแบบใหม่ให้กับย่าน ‘ทรงวาด’ ด้วยแนวคิด ‘สถานที่คือชีวิต มังกรคือจิตใจ’ ผ่านการออกแบบที่ผสมผสานสถาปัตยกรรมและลายเส้นของมังกรจีนที่สะท้อนถึงเอกลักษณ์ของชุมชนทรงวาด ในนิทรรศการ ‘The Dragon of Soul’ ที่ ‘PLAY Art House Gallery’ ภายในงานไม่ได้มีแค่นิทรรศการฝาท่อเท่านั้น แต่ยังมีกิจกรรม ‘Let’s explore ฝาท่อดีไซน์’ที่ชวนผู้ร่วมกิจกรรมสแกน  QR Code ที่ฝาท่อ […]

ชวนชมการต่อสู้เพื่อศาลเจ้าแม่ทับทิม ผ่านสารคดี ‘The Last Breath of Sam Yan’ พร้อมกันทาง Netflix วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567

เมื่อปี 2563 สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) ได้สั่งรื้อถอน ‘ศาลเจ้าแม่ทับทิม’ ที่เป็นเหมือนศูนย์รวมความเชื่อของคนไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่สามย่าน เพื่อนำพื้นที่ไปสร้างเป็นคอนโดมิเนียม จนเกิดการเรียกร้องจากนิสิตจุฬาฯ และชาวบ้านถึงการคัดค้านการรื้อถอนศาล และในปีที่ผ่านมา เรื่องราวการต่อสู้เพื่อศาลเจ้าแม่ทับทิม สะพานเหลือง ก็ถูกทำเป็นสารคดี ‘The Last Breath of Sam Yan’ และออกฉายช่วงเดือนมิถุนายนทางโรงภาพยนตร์ House Samyan และ Doc Club & Pub. ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้ชม เนื่องจากสารคดีเรื่องนี้ช่วยจุดประเด็นให้ผู้คนตระหนักรู้ถึงปัญหาการพัฒนาเมืองที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชน เพื่อต้อนรับเทศกาลตรุษจีนที่กำลังมาถึง เราจึงอยากชวนทุกคนชมสารคดี The Last Breath of Sam Yan ที่มีโอกาสกลับมาฉายอีกครั้งในวงกว้างมากขึ้นผ่าน Netflix โดยเริ่มสตรีมวันที่ 9 กุมภาพันธ์นี้ ที่ www.netflix.com/title/81719493 ส่วนใครที่อยากไปเยี่ยมเยียนและสักการะศาลเจ้าแม่ทับทิม ศาลยังอยู่ที่โลเคชันเดิม บริเวณไซต์ก่อสร้างคอนโดฯ ข้างๆ อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ แวะไปได้ทุกวันตั้งแต่เวลา […]

Atelier Gardens HAUS 1 อาคารสำนักงานสีเหลืองสดใสในกรุงเบอร์ลิน ที่ทำให้การฟื้นฟูอาคารแบบยั่งยืนสนุกขึ้นได้

ปัญหาอาคารที่พบได้บ่อยคงไม่พ้นเรื่องความเสื่อมโทรมของตึกเก่า ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการปล่อยคาร์บอนฟุตพรินต์ และขณะเดียวกันก็อาจสร้างความเบื่อหน่ายให้กับผู้คนในเมืองด้วยรูปร่างโครงสร้างอาคารที่หน้าตาเป็นบล็อกๆ เหมือนกันไปหมด แต่สำหรับอาคาร ‘HAUS 1’ ที่ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ ‘Atelier Gardens’ ของสตูดิโอภาพยนตร์ในเมืองเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี กลับแตกต่างออกไป ด้วยฝีมือการออกแบบของสตูดิโอ Hirschmüller Schindele Architekten และ MVRDV เนื่องจากทางสตูดิโอได้เปลี่ยน HAUS 1 จากอาคารสำนักงานเก่าล้าสมัยที่สร้างขึ้นในปี 1990 ให้เป็นอาคารสำนักงานใหม่ที่ยั่งยืนมากขึ้น โดยใช้ประโยชน์จากโครงสร้างเดิมที่มีอยู่แทนการรื้อถอน และใช้สีเหลืองสดใสเพื่อชุบชีวิตอาคารหลังนี้ให้กลับมามีชีวิตชีวามากขึ้น อีกทั้งตัวอาคารเองยังต่อเติมบันไดสีเหลืองซิกแซ็กแบบไดนามิกบริเวณด้านหน้าอาคาร และเมื่อเดินตามบันไดขึ้นไปบนจุดสูงสุด ก็จะพบกับดาดฟ้าบนอาคารที่มีจุดชมวิวล้อมรอบทิวทัศน์ของเมืองเบอร์ลิน อีกทั้งพื้นที่ชั้นบนของดาดฟ้ายังมีอาคารกระจกสำหรับนั่งทำงานซึ่งสร้างขึ้นจากไม้รีไซเคิล และสวนสีเขียวที่ช่วยลดความร้อนในฤดูร้อน รวมไปถึงให้ความรู้สึกดีต่อสุขภาพจิต นอกจากนี้ ภายใน HAUS 1 ยังเป็นสถานที่นั่งทำงานของสตูดิโอ Atelier Gardens ที่ตกแต่งผนังและเพดานจากดินเผา ซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติที่นำกลับมารีไซเคิลเพื่อยืดอายุการใช้งานของอาคาร แถมยังมีคาเฟ่คอยให้บริการแก่ชาวออฟฟิศที่อ่อนล้าจากการทำงาน HAUS 1 แสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงอาคารสามารถทำไปพร้อมๆ กับการรักษาสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืนได้ ด้วยการนำโครงสร้างเก่ากลับมาใช้ใหม่ให้ได้มากที่สุด รวมถึงการให้ความสำคัญกับวัสดุทางชีวภาพที่ทั้งทนทานและมีคุณสมบัติรีไซเคิลได้ด้วย Sources : ArchDaily | t.ly/ZPCAIMVRDV | […]

1 3 4 5 6 7 119

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.