VIDEO
เบื้องหลังความสร้างสรรค์นักออกแบบอาหารผู้ส่งต่อวัตถุดิบไทยผ่านการแปลงเป็นกลิ่น
“กลิ่นอะไรหอมจังต้องอร่อยแน่เลย” “ได้กลิ่นมาแต่ไกลทำเอาหิว” อีกหลากหลายประโยคที่กลิ่นมักเข้าไปมีส่วนร่วมกับความอร่อยของอาหาร ปฏิเสธไม่ได้ว่ากลิ่นมีผลกับรสชาติของอาหารแต่ละจาน นอกจากส่งเสริมรสชาติกลิ่นยังสร้างความทรงจำให้เราจดจำรสนั้นได้ขึ้นใจ หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญที่รู้ถึงพลังข้อนั้นคือ ‘คุณวนัสนันท์ กนกพัฒนากูร’ นักออกแบบอาหาร และกูรูอาหารในวงการเชฟจีน เขาไม่เพียงแค่รู้แต่ยังหยิบมาลงมือทำ สร้างสรรค์ ‘นํ้าหอมอาหาร’ นวัตกรรมแต่งกลิ่นบนจาน ที่ส่งต่อเรื่องราววัตถุดิบไทยที่ซ่อนอยู่ในกลิ่นนั้นด้วย
โลกปัจจุบันกับการสร้างสรรค์คอนเทนต์ กับ ปั๋น-ดริสา และอ.ดร.เจษฏา l ความรู้รอดตัว EP.2
จริงหรือเปล่ากับคำถามที่ว่า ในยุคที่ทุกคนสามารถเป็นผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์ ‘ใครๆ ก็เป็นสื่อได้ ?’ หนึ่งในคำถามชวนคิด ผ่านบทสนทนาของ ปั๋น-ดริสา การพจน์ ศิลปินที่พ่วงตำแหน่ง content creator และ อ.ดร.เจษฏา ศาลาทอง อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ รวมไปถึงแลกเปลี่ยนคำถามกับผู้ร่วมคลาส เพื่อแบ่งปันหลากหลายแนวคิดให้แก่กันและกัน ตั้งแต่การจัดการในวันที่มีทั้งคนรักและคนชัง ไปจนถึงสื่อควรมีหน้าที่แบบไหนกันแน่ระหว่างชี้นำสังคม หรือสะท้อนสังคม เราขอชวนทุกคนมาร่วมหาคำตอบด้วยกันใน Better Living Room ห้องว่างให้เล่า กับซีรีส์ ‘ความรู้รอดตัว’ EP.2 ‘Content is Now’
สะท้อนเสียงคนเมืองกับความเชื่อเรื่อง ‘เบอร์มงคล’ จริงหรือไม่ที่ทำให้ชีวิตดีขึ้น
ความเชื่อในเรื่องสิ่งมงคลเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับคนไทยมาทุกยุคทุกสมัย และมักจะหาทางพาตัวเองเข้าไปแฝงตัวในชีวิตประจำวันของผู้คนจนได้ ไม่ว่าจะเป็น พระเครื่อง สี หรือเลขทะเบียนรถ ในปัจจุบันที่คนไทยมีโทรศัพท์มือถือเป็นปัจจัยที่ 6 ก็ไม่พ้นที่ความเชื่อเรื่องสิ่งมงคลจะผนวกเข้ากับเบอร์โทร Urban Voice จึงพาไปสำรวจเสียงคนในเมืองถึงความเชื่อดังกล่าว ในตอน ‘เบอร์มงคล’ แค่ตัวเลข หรือ ศาสตร์เสริมดวง ขอขอบคุณ คุณแมน การิน จากเพจ Man Karin และเพจ Horosocietyดร. ทิพย์นภา หวนสุริยา อาจารย์ภาควิชาจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถอดปรัชญาการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ว่าด้วยพื้นที่และเวลา l Shape of Wisdom EP.1
ชวนมาถอดปัญญาของ ‘ผู้ช่วยศาตราจารย์ พิรัส พัชรเศวต’ อาจารย์และอดีตหัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาปนิกผู้มีงานออกแบบอันเป็นเอกลักษณ์ และได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญงานในลักษณะ Modern Tropical เบื้องหลังงานเหล่านี้ล้วนมีที่มาจากแนวคิดที่คำนึงถึงผู้คน สถานที่ สภาพแวดล้อม ทั้งหมดนี้หลอมรวมเป็นปัญญาใน ‘Shape of Wisdom ปัญญาสภาวะ’ รายการที่ชวนนักออกแบบมาพูดคุยเพื่อถอดปัญญาของเขา เหล่านั้นผ่านการตกผลึก ความจริง ความดี และความงามที่อยู่ในงาน
ตามล่าที่มาของฉายา Super Fruit ที่วงการผลไม้ต่างยกให้แก้วมังกร
หากถามคนรักผลไม้ว่าฉายา ‘Super Fruit’ คือผลไม้ชนิดใด หนึ่งในคำตอบของผลไม้นั้น คือ ‘แก้วมังกร’ ผลไม้กลีบสวย สีสดใส รสหวานชื่นใจ มีหลากพันธุ์ แก้วมังกรไม่ได้มีดีแค่รูปร่างหรือ รสชาติเท่านั้น แต่สรรพคุณยังเหลือล้น ดีต่อสุขภาพ และหากได้รับการต่อยอดยังส่งผลดีต่อเกษตรกรอีกด้วย Hunt จะพาไปสวนเกษตรแก้วมังกร Kenny Dragonfruit สวนแก้วมังกรที่ลงรากฝังดินตั้งแต่แก้วมังกรยังไม่เป็นที่นิยม จนมีประสบการณ์มากกว่า 24 ปี เพื่อตามล่าเบื้องหลังความเป็นสุดยอดผลไม้ว่าเป็นอย่างไร
The Professional 18 : ไม้ดัดไทยโบราณ
“ดัดไม้ตามใจคน คือเอกลักษณ์ของไม้ดัดไทยโบราณ” ย้อนเวลากลับไปเรียนรู้เรื่องราวและสัมผัสเสน่ห์ของ ‘ไม้ดัดไทย’ ความรื่นรมที่เกิดจากความอดทน วิริยะ อุตสาหะกับ ‘พระราชสิทธิสุนทร (สมพงษ์ กิตฺติสาโร)’ ท่านเจ้าอาวาสวัดคลองเตยใน ผู้สืบทอดตำนานไม้ดัดไทยโบราณ หนึ่งในการละเล่นของไทยตั้งแต่สมัยปลายกรุงศรีอยุธยาที่ปัจจุบันหลงเหลืออยู่น้อยเต็มที เพราะกว่าจะได้ไม้ดัดหนึ่งต้นนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย
Better Living Room EP.1 | งานที่ใช่ให้กายใจได้สดชื่น
Better Living Room ห้องว่างให้เล่าเปิดห้องเรียนในซีรีส์ ‘ความรู้รอดตัว’ โดยตอนที่หนึ่ง : ‘งานที่ใช่ให้กายใจได้สดชื่น’ นี้ นำเสนอความรู้ผ่านบทสนทนาของ โอ-ศรันย์ เย็นปัญญา นักออกแบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว กับ ดร.ทิพย์นภา หวนสุริยา อาจารย์ภาควิชาจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ร่วมคลาส เพื่อร่วมกันตกผลึกเป็นแนวทางการเลือกงานที่ใช่ของชีวิต เพื่อให้ค้นพบความสุขในการทำงานของตัวเอง
‘กระทรวงการคั่ว’ คั่วความรู้ สู่กาแฟที่ยั่งยืน
นี่คือร้านกาแฟที่แทนตัวร้านด้วยการเป็นกระทรวง มีเจ้าของที่บอกว่าขอเป็นปลัด และเมนูทุกแก้วในร้านเป็นตัวแทนตั้งแต่รัฐมนตรีจนถึงประชาชน ที่แห่งนี้คือ ‘กระทรวงการคั่ว’ สถานที่ที่เป็นทั้งร้านกาแฟ โรงคั่วกาแฟ ศูนย์การเรียน รวมไปถึงจุดนัดหมายของคนรักกาแฟแห่งย่านปุณณวิถี เมื่อคุณอนุวัฒน์ กอบน้ำเพ็ชร ปลัดแห่งกระทรวงการคั่ว มองว่าความรู้คือสิ่งเดียวกับความยั่งยืน ของคนตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำในวงการ เขาจึงสร้างที่แห่งนี้เพื่อส่งต่อความรู้ แต่จะส่งต่ออย่างไร และทำอย่างไรให้ยั่งยืนนั้น คำตอบอยู่ใน ‘กระทรวงการคั่ว’ คั่วความรู้ สู่กาแฟที่ยั่งยืน
พี่อ้ำ-ฤทัยวรรณ กับมุมมองความเป็น ‘เป็ด’
ทำได้หลายอย่างแต่ไม่เก่งสักอย่าง เหมือนเป็ด ที่ว่ายน้ำได้ เดินได้ บินได้ แต่ก็ไปไม่สุด นิยามของเป็ด หนึ่งในสภาวะที่เป็นสาเหตุให้คนยุคใหม่กังวลกันมากขึ้น “คนที่ทำได้หลายอย่าง แต่ไม่สุดสักทาง เป็นเหมือนกับเป็ด ที่บางครั้งก็เดิน บางครั้งก็ว่ายน้ำ บินได้แต่ก็ไปไม่สุด”คำนิยามของมนุษย์เป็ดที่สร้างความกังวลให้กับมนุษย์ที่ไม่ได้เชื่อว่าเราต้องมีฝันตายตัว ไม่ได้เชื่อว่าการไปถึงยอดเขาเท่านั้นถึงเรียกว่าสำเร็จ แล้วเป็ดเหล่านี้จะโบยบินอย่างเป็นสุขได้อย่างไร ค้นหาคำตอบผ่านบทสนทนาระหว่าง Urban Creature กับ พี่อ้ำ-ฤทัยวรรณ วงศ์สิรสวัสดิ์ รุ่นพี่มากประสบการณ์ หากต้องนิยามว่าพี่อ้ำทำอะไรมาบ้าง พี่อ้ำเคยอยู่ทั้งวงการการศึกษา โฆษณา โปรดักชั่น เขียนบท จนปัจจุบันเป็นคนทำสื่อ รุ่นพี่ผู้มากความสามารถคนนี้บอกว่าตัวเองก็เป็นเป็ด Insight ในตอนนี้จึงจะพาไปลงลึกบทเรียนจากเป็ดรุ่นพี่ที่อยากส่งต่อเป็ดรุ่นน้องให้คลายความกังวลและมองความเป็ดให้เป็นของขวัญ นั้นอาจหมายหนทางสู่ความสุขที่เป็ดทุกคนพึ่งมี
‘ปลาร้าพาสเจอร์ไรซ์’ วัตถุดิบไทยอีสานสู่ความเป็นสากล
หากนึกถึงอาหารอีสาน หนึ่งวัตถุดิบที่อยู่คู่ครกเคียงจานมายาวนานคือ ‘ปลาร้า’. รสนัวแซ่บถึงใจของปลาร้าสร้างความหลงใหลให้ผู้รักการกินแบบไทยอีสาน จนปัจจุบันเราสามารถเห็นปลาร้าบรรจุขวดตามท้องตลาดมากขึ้น ลบภาพจำที่เครื่องปรุงรสจะมีเพียงน้ำปลา น้ำตาล ซีอิ๊ว เท่านั้น . Hunt ในตอนนี้จึงออกไปตามล่าเบื้องหลังปลาร้าบรรจุขวดที่ไม่ได้มีหมุดหมายเพียงเพื่อขยายอุตสาหกรรมปลาร้า แต่ยังเป็นหนึ่งในวิธีพาสเจอร์ไรซ์ ทลายกำแพงที่บางคนมองปลาร้าว่าเป็นอาหารไม่สะอาด โดยผู้ที่จะมาเผยเบื้องลึกการทลายกำแพงนี้คือ ‘โรงงานปลาร้าปลายจวัก’ ผู้สืบสานวิถีอาหารพื้นถิ่นจากโรงหมักปลาร้าแม่สาย จังหวัดสระบุรี ที่ทั้งชีวิตคลุกคลีกับปลาร้ามาถึง 30 กว่าปี ทั้งหมดเพื่อออกไปค้นพบคุณค่าของปลาร้ายุคใหม่ที่ไม่ได้เพียงหยิบรสชาติลงจานแต่ยังส่งผ่านวัฒนธรรมการกินลงไปในขวดส่งออกสู่สากล
‘หนังใหญ่’ สลักรอยไทยจารึกในภูมิปัญญา
“ก็เป็นห่วงว่าสมบัติของชาติ อันเป็นวิชาที่บรรพชนได้รังสรรค์ไว้นี้ … สืบต่อไปได้โดยสมบูรณ์”. ครูวีระ มีเหมือน ครูภูมิปัญญาไทยผู้มีใจรักศาสตร์แห่งผืนหนัง พูดถึงร่องรอยการสืบสานหนังใหญ่ที่กำลังเลือนลางลงไปทุกทีด้วย จึงเป็นที่มาของพิพิธภัณฑ์กุฎีไศเลนทร อ.สามโก้ จ.อ่างทอง สถานที่ส่งต่อเรื่องราว ‘หนังใหญ่’ ศิลปะวัฒนธรรมคู่คนไทยตั้งแต่อดีตกาล. เราจึงหยิบเรื่องราวคุณค่าและมุมมองที่จะตอบคำถามว่าสิ่งเหล่านี้ควรค่าแก่การอนุรักษ์อย่างไร ผ่าน ‘หนังใหญ่’สลักรอยไทยจารึกในภูมิปัญญา
‘เต้าหู้ดำ’ ซึมซับรสชาติแห่งโพธาราม
หากพูดถึงสีของเต้าหู้คุณจะนึกถึงสีอะไร ? ด้วยภาพจำของคนทั่วไป ‘สีขาว’ น่าจะเป็นคำตอบแรกที่ผุดขึ้นมาทันที แต่ครั้งนี้จะต่างออกไปเล็กน้อย เพราะเราจะ ไปตามล่าเต้าหู้ที่อยู่คู่ตรงข้ามกับภาพจำทั่วไป เพราะเต้าหู้ชนิดนี้มีสี ‘ดำ’ ภายใต้สิ่งที่ซ่อนอยู่ในเนื้อเต้าหู้สีดำ คือ วิธีการกลั่นรสชาติให้รสเค็มนำรสหวา นกำลังพอดี พ่วงด้วยความหอมจากเครื่องพะโล้ที่เป็นตัวทวีความอร่อยให้กลมก ล่อมยิ่งขึ้น ซึ่งการรังสรรค์ความนุ่ม เนียนละมุนลิ้นจนเป็นเอกลักษณ์นั้นมีเบื้องหลัง มาจากร้าน ‘เต้าหู้ดำแม่เล็ก’ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ผู้พัฒนาเต้าหู้ดำให้กลายเป็น ของขึ้นชื่อให้กับชุมชน ด้วยวิถีชีวิตผูกพันกับเทศกาลกินเจ ทำให้การถนอมอาหารเกิดเป็นวัตถุดิบเฉ พาะถิ่นมานานกว่า 50 ปี เราจึงพาไปล้วงลึกถึงเบื้องหลังใน “เต้าหู้ดำจากการ ถนอมอาหาร สู่รสชาติที่เป็นเอกลักษณ์”