SENSE
ครั้งแรกในเอเชีย! ที่คุณจะได้ร่วมเซอร์ไพรส์และดื่มด่ำกับศิลปะแนวใหม่ในอีเวนต์สุดอาร์ต จาก Hoegaarden
ทุกวันนี้เราสามารถสร้างสรรค์ผลงานศิลปะได้หลากหลายรูปแบบ และไม่จำกัดวัสดุที่ใช้ ไม่จำเป็นต้องอยู่บนกระดาษหรือแคนวาสเท่านั้น แต่ยังสามารถเปิดกว้างให้ศิลปินได้มีพื้นที่ในการครีเอทผลงานที่มีเอกลักษณ์ และบอกเล่าเรื่องราวของแต่ละคนได้อย่างไร้กรอบ Hoegaarden มาพร้อมกับอีเวนต์สุดอาร์ต ที่เปิดโอกาสให้คุณได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะหรือข้อความในแบบฉบับของตัวเองลงบนฟองเบียร์ ที่จะพาทุกคนมาสัมผัสกับประสบการณ์สุดเซอร์ไพรส์แนวใหม่กันที่งาน What a Sur-Pint! ซึ่งภายในงานนอกจากจะได้สร้างสรรค์ศิลปะบนฟองเบียร์ด้วยตัวเองแล้ว ยังมีศิลปินรุ่นใหม่มากความสามารถอย่าง Gongkan ศิลปินนักวาดไทยที่ดังไกลถึงนิวยอร์ก และ Sundae Kids ศิลปินเจ้าของลายเส้นอันเป็นเอกลักษณ์และเรื่องราวสุดน่ารัก มาร่วมพูดคุยและครีเอทลวดลายสุดเอ็กซ์คลูซีฟได้เฉพาะที่งานนี้ เตรียมตัวให้พร้อม ! แล้วมาปลดปล่อยความอาร์ตในตัวคุณ กับหลากหลายกิจกรรม เช่น เวิร์กช็อปการวาดตัวอักษร หรือ Calligraphy โดยทีมมืออาชีพอย่าง Infinite Paper Lab เพลิดเพลินกับการเสพงานศิลปะในโซน One of a Kind Art Exhibition เคล้าเพลย์ลิสต์เท่ๆ จาก DJ Praewapower หรือแพรวาจากวง Yellow Fang และสนุกกับการถ่ายรูปกับมุมสุดชิคภายในงาน ที่จะทำให้คุณได้ภาพเก๋ๆ โพสต์ลงโซเชียลได้แบบไม่ซ้ำใคร ที่สำคัญงานนี้ยังมาพร้อม What a Sur-Pint! Kit […]
ฝ่าท่อคลองโอ่งอ่าง โปรเจกต์ปลุกย่านเก่าด้วยงานศิลป์จากเอกลักษณ์ชุมชน
คุยกับอาจารย์ศิลปากร ถึงเบื้องหลังโปรเจกต์ฝาท่อระบายน้ำริมคลองโอ่งอ่าง และมุมมองใหม่ของคนวงการศิลป์ที่มีต่อย่านเก่า
อนุรักษ์ ‘อาคาร 2465’ สถาปัตยกรรมทรงคุณค่าของโรงงานมักกะสัน
ในอดีตหากพูดถึง ‘โรงงานมักกะสัน’ (Makkasan Workshop) ภาพของความยิ่งใหญ่และรุ่งเรืองคงมีให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ เพราะสมัยก่อนนั้น ถือได้ว่าเป็นโรงงานซ่อมรถไฟแห่งเดียวในอาเซียนที่สามารถทำการซ่อมและผลิตรถโดยสารได้อย่างสมบูรณ์ แต่เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนผ่าน บทบาทที่เคยเกรียงไกรก็ลดลงเหลือเพียงงานซ่อมหนักรถจักรดีเซล ซ่อมรถดีเซล รางรถโดยสาร ซ่อมดัดแปลงล้อ และอุปกรณ์อื่นๆ รวมถึงสนับสนุนงานซ่อมบำรุงในส่วนภูมิภาคเท่านั้น ท่ามกลางโรงงานและอาคารหลายหลังในที่ดินหลายร้อยไร่ของโรงงานมักกะสัน ได้ซุกซ่อนสิ่งปลูกสร้างที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมไว้นับไม่ถ้วน หนึ่งในนั้นคือ ‘อาคาร 2465’ หรือ ‘โรงซ่อมรถโดยสาร โรงงานมักกะสัน’ ซึ่งปัจจุบันทำหน้าที่เป็นอาคารพัสดุ | ย้อนเวลาไปหาสถาปัตยกรรมล้ำค่า ‘อาคาร 2465’ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ลูกระเบิดหล่นลงบริเวณโรงงานมักกะสันและพื้นที่โดยรอบเป็นว่าเล่น จนอาคารภายในโรงงานพังทลายเสียหายไปเกือบหมด มีเพียงไม่กี่หลังที่อยู่รอดปลอดภัยมาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ ‘โรงซ่อมรถโดยสาร โรงงานมักกะสัน’ ปัจจุบันถือได้ว่าเป็นอาคารที่เก่าแก่ที่สุดของโรงงาน ‘โรงซ่อมรถโดยสาร’ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2465 มีลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว ตัวอาคารเป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังก่ออิฐโชว์แนวทั้งหลัง ส่วนข้างบนเป็นโครงหลังคาเหล็ก ทั้งหมดนี้เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ตรงหน้าบันมีตัวเลขไทยระบุปีที่สร้าง คือ ๒๔๖๕ และอักษรย่อ ร.ฟ.ผ. หรือกรมรถไฟแผ่นดิน (เป็นชื่อที่ใช้ระหว่าง พ.ศ. 2464-2467) […]
มองเปลือกใหม่ศาสนาพุทธ กับทีม ‘โพธิเธียเตอร์’
คุยเรื่องความห่างไกลของศาสนากับผู้คน และเปลือกของพุทธที่แท้จริง กับ ‘พระสุธีรัตนบัณฑิต’ เจ้าอาวาสวัดสุทธิวราราม และทีม ‘โพธิเธียเตอร์’ กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่รวมตัวกันจัดงานศิลปะ ‘BODHI THEATER: Buddhist Prayer RE-TOLD’
Pet Funeral Thailand ผู้สานต่อความทรงจำในวาระสุดท้ายของสัตว์เลี้ยง
ไม่ว่าช้าหรือเร็ว ‘การจากลา’ ย่อมมาเยือนทุกสรรพสิ่งบนโลกใบนี้ ทำให้คนที่ยังมีลมหายใจอยู่ ต้องเป็นผู้ทำหน้าที่ส่งร่างคนที่คุณรักให้ไปสู่ภพภูมิที่ดี
SCENT OF MEMORY ‘กลิ่นแห่งความทรงจำ นานแค่ไหนก็ยังไม่ลืม’
‘กลิ่น’ ต่างเชื่อมกับความทรงจำระยะยาวของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นของความรัก กลิ่นของความหวัง กลิ่นของความทรงจำ เมื่อเราสัมผัสถึงกลิ่นแห่งความทรงจำดีๆ ของใครสักคน เรามักจะเห็นภาพของความทรงจำเหล่านั้นหวนคืนมาเสมอ
Age Difference and Love รักต่างวัย อายุห่างไกลแต่ใจใกล้กัน
รักต่างวัยจะไปกันรอดไหม ? ต้องอายุห่างกันขนาดไหน ทุกคนถึงยอมรับ ? ระยะห่างของอายุมีความสำคัญต่อชีวิตคู่มากหรือเปล่า ? ถ้าเสิร์ชข้อมูลเกี่ยวกับ ‘ความรักต่างวัย’ ในอินเทอร์เน็ต มักจะต้องมีคำถามที่เราพูดถึงข้างต้นโผล่ขึ้นมาเสมอ ความหมายที่แฝงไปด้วยความกังวล และไม่มั่นใจในระยะห่างของตัวเลข หากย้อนไปในสมัยก่อนรุ่นพ่อแม่ ความสัมพันธ์รูปแบบนี้อาจจะเป็นที่พูดถึงในสังคมด้วยภาพลักษณ์ไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ จนเรื่อยมาถึงปัจจุบัน ที่ดูเหมือนจะเปิดกว้างกับรูปแบบความรักมากขึ้น แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเปิดใจทุกคนเสมอไป แต่ความรักต่างวัย ก็ถือว่าเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ที่ดีอย่างหนึ่ง เราจึงอยากเผยมุมมองความรักเกี่ยวกับ ‘ระยะห่างของวัย’ ให้ทุกคนได้เข้าใจกันมากขึ้น และบอกเล่าให้ฟังถึงความสุขของความสัมพันธ์รูปแบบนี้ | ‘รักต่างวัย’ ความสัมพันธ์ระยะห่างด้วย ‘ตัวเลข’ ในสมัยนี้ เป็นเรื่องปกติที่ผู้ชายจะมีแฟนที่อายุมากกว่าตน หรือผู้หญิงบางคนก็มีสามีวัยเท่าพ่อ ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องแปลกเหมือนสมัยก่อน สาเหตุที่มีความรักต่างวัย คงจะเป็นเหมือน ความสัมพันธ์ที่ ‘ได้ประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย’ นั่นหมายถึงทั้งคู่ต่างเติมเต็มส่วนที่ขาดให้เข้ากันอย่างลงตัว เช่น ชายสูงวัยจะชอบสาวรุ่นเด็ก เพราะทำให้รู้สึกกระชุ่มกระชวย และเหมือนย้อนกลับไปสู่วัยหนุ่มอีกครั้ง ส่วนในมุมของผู้หญิงที่รักผู้ชายที่มีอายุ อาจเป็นเพราะต้องการความเป็นผู้ใหญ่ มั่นคง รู้สึกวางใจที่จะพึ่งพิงได้ ถึงแม้ผลสำรวจจากนักวิจัย Emory University ในรัฐ Atlanta จะกล่าวว่า คู่รักที่ห่างกันแค่ปีเดียว มีโอกาสหย่าร้างกันน้อยสุดถึง 3% ถ้าห่างกันประมาณ […]
A bond of Love : เมื่อความผูกพันซื้อความรักส์ไม่ได้
เมื่อเราโตขึ้นเป็นธรรมดาที่จะมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนทางพฤติกรรมภายนอกที่สังเกตเห็นได้ด้วยตา หรือการเปลี่ยนแปลงภายในที่ต้องใช้ใจสัมผัส หรือแม้กระทั่งฮอร์โมนสารสื่อประสาท ไปจนถึงการทำงานของเซลล์สมอง ล่วงเลยมาจนถึงห้วงเวลาสำคัญ มนุษย์ทุกคนย่อมต้องการมีความรัก เมื่อใครสักคนเริ่มก้าวเข้ามาในชีวิต หลายครั้งที่ความผูกพันถูกพัฒนากลายเป็นความรัก แต่กับบางคนมันอาจไม่ใช่อย่างที่เราคิด จนทำให้บางครั้งเราสับสันและไม่เข้าใจในความสัมพันธ์ และตัวตนของเขาหรือเธอคนนั้นเลย หรือจริงๆ แล้วความรักอาจไม่ใช่แค่เรื่องของหัวใจ แต่มันสามารถเข้าใจได้ด้วยหลักจิตวิทยา Attachment Theory | ทฤษฎีความผูกพัน ทฤษฎีความผูกพัน หรือ ทฤษฎีความผูกพันทางอารมณ์ (Attachment theory) เป็นหนึ่งในแบบจำลองทางจิตวิทยา ที่อธิบายถึงความเป็นไปของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ที่โดยพื้นฐานแล้วเด็กทุกคนเมื่อเกิดมามักจะมีความผูกพันกับผู้ที่ให้กำเนิดหรือผู้ที่เลี้ยงดู แต่ลักษณะของความสัมพันธ์ของแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันออกไป โดยนักจิตวิทยา ‘จอห์น โบลบี (John Bowlby)’ ผู้สร้างทฤษฎีความผูกพัน ได้กล่าวเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า พฤติกรรมความรู้สึกผูกพันที่เกิดขึ้นนั้นมีวิวัฒนาการมาจากกระบวนการ ‘คัดเลือกตามธรรมชาติ (Natural selection)’ และ ‘การปรับตัวที่สมดุลตามสภาพแวดล้อม (Adaptive value)’ ซึ่งหลักการเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้เด็กมีโอกาสอยู่รอดในสภาวะสังคมได้มากกว่า เพราะมีพ่อแม่และครอบครัวอยู่ใกล้เพื่อให้การปกป้องเลี้ยงดู โดยหลักสำคัญที่สุดของทฤษฎีนี้คือ เด็กจะสร้างความสัมพันธ์กับผู้เลี้ยงเปรียบเสมือน ‘เสาหลัก’ ในชีวิต อย่างน้อยหนึ่งคนเพื่อให้เกิดพัฒนาการทางสังคม และทางอารมณ์ได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งกลายเป็นทฤษฎีหลักที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน เพื่อศึกษาพฤติกรรมของทารกและเด็กในด้านต่างๆ ทั้งยังขยายไปถึงความสัมพันธ์ในแบบคู่รักด้วยนะ หลายคนอาจสงสัยว่าคนนี้ที่กำลังคุยๆ กันอยู่ […]
ยิ่งสูงยิ่งไกล การให้ยิ่งสำคัญ “ครูอาสาบนดอยสูง”
หลายคนตั้งเป้าหมายในชีวิตเอาไว้หลายอย่าง อยากได้อาชีพที่ทำงานสบายๆ อาชีพที่เงินเดือนสูงๆ อาชีพที่ทำแล้วมีหน้าตาในสังคม แล้วถ้าคุณเลือกได้อาชีพในฝันของคุณล่ะคืออะไร คงเป็นคำถามที่ตอบยากอยู่เหมือนกันใช่ไหมล่ะ แต่กับชายหนุ่มคนหนึ่งในอาชีพของเขาคือการเป็นอาสาสมัครอาสาสมัครในชนบทห่างไกลเพื่อช่วยเหลือเด็ก ๆ ชาวดอยให้ชีวิตที่ดีขึ้นโดยเขาได้รับแรงกดดันจากการรับชมรายการโทรทัศน์ที่นำเสนอเรื่องราวของ ‘คุณครูจันทร์แรม ศิริคำฟู’ ครูบนดอยในพื้นที่อำเภอแม่สายจังหวัดเชียงราย ที่อุทิศชีวิตให้กับนักเรียนและชาวเขาที่ไม่รู้หนังสือทั้งที่เธอจบเพียงป. 4 จนทำให้ ‘คุณต้อม’ ชายหนุ่มจากเมืองกรุง ผู้ทำงานด้านคอมพิวเตอร์ให้กับโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งได้ค้นพบเส้นทางชีวิตของตัวเอง และได้ลองสมัครเข้าร่วมโครงการครูบ้านนอก ของมูลนิธิกระจกเงา เพื่อเป็นอาสาสมัครไปสอนเด็กๆ ตามต่างจังหวัดในเวลาว่างจากงานประจำ เพื่อท้าทายตัวเองว่า หากลองทำตามฝันแล้วจะทำได้ไหม ? ทำแล้วจะมีความสุขหรือเปล่า ? และเขาก็ค้นพบว่า นี่คืออาชีพและสิ่งที่เขาใฝ่ฝันจะทำจริงๆ ซึ่งในเวลาต่อมามีรายการโทรทัศน์รายการ ‘โรงเรียนของหนู’ ได้เปิดรับสมัครครูอาสา เพื่อไปสอนหนังสือยังโรงเรียนชนบทในจังหวัดเชียงใหม่ คุณต้อมจึงไม่รอช้าที่จะยื่นใบสมัครแล้วก็ได้รับการคัดเลือก ทำให้การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้กลายเป็นอาชีพถาวรจากเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์กลายเป็น ‘ครูต้อม’ ครูอาสานับแต่นั้นมา จากประสบการณ์แรมปีในการไปสอนในครั้งนั้น ทำให้ครูต้อมมองเห็นว่า “เด็กๆ ในพื้นที่บนดอยสูงยังต้องการโอกาส และความช่วยเหลือด้านการศึกษาอยู่อีกมาก” โดยเฉพาะในพื้นที่ที่สูงและห่างไกลอย่างบ้านแม่ฮองกลาง และหมู่บ้านอื่นๆ ในอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ที่ครูต๋อยได้มีโอกาสเดินทางไปช่วยเหลือในครั้งหนึ่งด้วย ซึ่งลักษณะของพื้นที่แห่งนี้ไร้ซึ่งการเข้าถึงของไฟฟ้า ถนนก็เป็นดินโคลนจากลูกรัง เมื่อถึงหน้าฝนรถยนต์ก็ไม่สามารถเข้าถึงได้ ไปได้ก็แต่เพียงหน้าแล้งเท่านั้น จึงทำให้การลงมาศึกษาหาความรู้ยังตัวอำเภอ ที่มีทรัพยากรความรู้พร้อมมากกว่านั้นค่อนข้างลำบาก และด้วยเหตุผลเหล่านี้กลายเป็นจุดเริ่มต้นให้ครูต้อมและเพื่อนอีก 3 คนก่อตั้งโครงการ […]
รักต่างวัย…ปรับความเข้าใจ คน 4 เจนฯ ในครอบครัว
ทุกความสัมพันธ์มีจุดเริ่มต้นมาจากสถาบันครอบครัว ซึ่งเปรียบเป็นที่พักใจของสมาชิกในบ้าน ความผูกพันที่จะอยู่ไปกับเราตลอดชีวิต ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างคุณพ่อ คุณแม่ พี่ ป้า น้า อา หรือแม้กระทั่งคุณปู่คุณย่าของเรา ด้วยช่วงอายุที่ห่างกัน บางทีก็อาจเป็นเหตุให้มีเรื่องทะเลาะถกเถียงหรือไม่ลงรอย เพราะความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน ซึ่งอาจจะทำให้มีกำแพงระหว่างวัยจนเกิดความห่างเหินไม่สนิทใจ
“GEDES” งานออกแบบที่กระชับความสัมพันธ์ระหว่างคนกับภูมิทัศน์
หลายคนคงได้ยินชื่องาน Bangkok Design Week 2019 กันมาบ้างแล้ว ซึ่งงานนี้เป็นเทศกาลงานออกแบบของชาวกรุงเทพฯ ที่บรรดานักออกแบบ และนักสร้างสรรค์ ต่างรวมพลังกันออกมาสร้างผลงาน และถ่ายทอดมุมมองในแบบฉบับของตัวเอง ผ่านผลงานศิลปะในรูปแบบต่างๆ วันนี้ Urban Creature จึงพาไปลงลึกเปิดมุมมองความคิดของ GEDES แก๊งภูมิสถาปนิกคลื่นลูกใหม่ ที่น่าจับตามองว่ากลุ่มคลื่นลูกนี้จะเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนให้กับเมืองของเราอย่างไรบ้างนะ ถ้าพร้อมแล้วไปทำความรู้จักกับพวกเขากัน ! | ‘GEDES’ พวกคุณคือใคร พวกเราคือกลุ่มภูมิสถาปนิกจบใหม่ที่อยากทดลองสร้างผลงานในสัดส่วนที่ควบคุมได้ และเข้าถึงผู้คนง่าย ก็เลยเริ่มจากงานประกวดแบบ หรือการสร้างผลงานในรูปแบบ Installation หรือผลงานศิลปะที่จัดวางไว้ตามสถานที่ต่างๆ ด้วยแนวความคิดแบบ Landscape Architecture (ภูมิสถาปัตยกรรม) ที่อยากให้คนกับสิ่งแวดล้อมสามารถอยู่ร่วมกันได้ | ภูมิสถาปัตยกรรมคืออะไร เรามองว่าภูมิสถาปัตยกรรมคือ การหาสมดุลระหว่างคนกับธรรมชาติ พอคนเริ่มมีการพัฒนาพื้นที่อะไรขึ้นมาสักอย่าง และสิ่งนั้นกำลังเริ่มสร้างผลกระทบกับธรรมชาติ ซึ่งนั่นแหละมันเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องหาความสมดุลระหว่างสิ่งต่างๆ รอบตัว ไม่ว่าจะคนกับคน หรือคนกับพื้นที่ พื้นที่กับพื้นที่ ให้เป็นความสัมพันธ์ที่ดีและยืนยาว แต่มุมมองของคนไทยภูมิสถาปัตยกรรมยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากเท่าไหร่ ซึ่งงานของเราเหมือนถูกจำกัดแค่ว่า จัดสวน ปลูกต้นไม้ บางทีไม่ได้สนใจในเรื่องของการใช้พื้นที่ภายนอกเลย ทั้งที่จริงๆ แล้วเราสามารถเพิ่มทั้งคุณค่า มูลค่า ให้พื้นที่ภายนอกได้แบบเยอะมาก แถมยังทำให้พื้นที่เหล่านั้นมันมีพลังงาน […]
THE BIG ISSUE : นิตยสารสร้างอาชีพให้ “คนไร้ที่พึ่ง”
“เราเห็นคนไร้บ้าน คนเร่ร่อนอยู่ทุกวัน ถ้าเราสามารถช่วยเหลือพวกเขาได้ เราอยากจะช่วยอะไร ?” เชื่อว่าทุกคนต้องเคยเห็น คนเร่ร่อน หรือ คนไร้บ้านตามพื้นที่สาธารณะ พวกเขาเหล่านั้นล้วนอยู่ในสถานะ “คนไร้ที่พึ่ง” ที่ขาดแหล่งพักพิงทางกายและจิตใจ ซึ่งเรายังหมายรวมถึง คนไร้สัญชาติ อีกด้วย จากการสำรวจของมูลนิธิอิสระชนเกี่ยวกับคนไร้ที่พึ่งในประเทศไทย พ.ศ. 2560 มีมากถึง 70,539 คน และมีแนวโน้มจะเพิ่มจากปีก่อนมากขึ้นทุกปี ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจาก ตกงาน ไม่มีงานทำ หรือ มีอาการเจ็บป่วยทางจิตและร่างกาย ซึ่งแน่นอนว่า ทุกประเทศย่อมมีคนไร้ที่พึ่งในพื้นที่ คุ้นชินกับการมีอยู่ของพวกเขา ซึ่งบางคนอาจช่วยเหลือพวกเขาด้วยการให้เงิน ให้อาหาร หรือสิ่งของเครื่องใช้ เหล่านั้นอาจไม่ใช่คำตอบที่จะช่วยพวกเขาได้อย่างยั่งยืนสักเท่าไหร่ แต่การช่วยเหลือที่เราจะหยิบมาพูดถึงต่อไปนี้ คือการสร้างอาชีพ และสร้างชีวิตพวกเขาให้ดีขึ้นอย่าง “THE BIG ISSUE” นิตยสารสร้างอาชีพให้คนไร้ที่พึ่ง A HAND UP NOT A HAND OUT | ให้เบ็ดดีกว่าให้ปลา ใครจะคิดว่า บทสนทนาระหว่าง ‘GORDON RODDICK’ นักธุรกิจหนุ่ม […]