ภาพนู้ด ให้ร่างเปลือยเปล่งเสียงที่อยากสะท้อน : แมท โศภิรัตน์

เธอคือ ราวสองหรือไม่ก็สามปีก่อน ขณะเลื่อนฟีดเฟซบุ๊ก ซึ่งพลันสะดุดหยุดตรงภาพถ่ายนู้ดที่ใครสักคนแชร์ไว้ ผมไม่รีรอที่จะคลิกเข้าไปยังต้นทาง ภาพถ่ายแปลกตาปรากฏอยู่บนไทม์ไลน์ ความแปลกตาน่าสนใจที่ว่านี่มิได้เป็นเพราะบุคคลในภาพเปลือยเปล่าเพียงอย่างเดียว หากยังรวมถึงท่าทีเชิงสัญลักษณ์ชวนนิ่งนึก แฟนเพจนั้นชื่อ ผู้หญิง ถือกล้อง ชื่อเรียบง่าย ตรงไปตรงมา แต่เมื่ออ่านย้ำกลับรู้สึกถึงนัยของคำประกาศที่แสดงตนท้าทายมาตรฐานความคิดความเชื่อเก่าอยู่ในที ใช่-เธอคือผู้หญิง ใช่-เธอถือกล้อง และก็ใช่อีก-เธอถ่ายภาพนู้ด แมท-โศภิรัตน์ ม่วงคำ หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ ‘ผู้หญิง ถือกล้อง’ คือศิลปินถ่ายภาพนู้ดที่กำลังถูกพูดถึงและน่าจับตามองมากที่สุดคนหนึ่งของยุคสมัย ไม่ว่าจะเป็นแง่มุมทางศิลปะ หรือแง่มุมทางขนบธรรมเนียมแบบอนุรักษนิยม อีกทั้งข้อครหาแคลงใจจากผู้ฝักใฝ่ศีลธรรมดั้งเดิม จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อแรกเริ่มนำผลงานออกแสดง สิ่งเหล่านี้คือหนึ่งในแรงปะทะที่เธอต้องรับมือ  หากก็เหมือนผู้มาก่อนกาล เหมือนพืชผลที่รอการเก็บเกี่ยว ในช่วงขวบปีหลังที่เรื่องความหลากหลายและความเท่าเทียมกลายเป็นกระแสหลักของสังคม ซึ่งช่วยขับเน้นวาววับที่มีอยู่ก่อนแล้วในผลงานให้ยิ่งเปล่งประกาย คำถามทั้งหลายที่เคยโถมถาถึงเธอจึงถูกผลงานของเธอโยนกลับไปตั้งคำถามกับผู้เคลือบแคลงสงสัย อาจแตกต่างกันตรงที่คำถามที่เกิดจากผลงานของเธอไม่ได้มีความมาดมั่นที่จะต้องได้รับคำตอบสุดท้าย หากกลับมุ่งหวังถึงการชักชวนให้ครวญคิด เป็นเสียงสะท้อน เป็นการทำความเข้าใจ และเป็นการต่อยอดสู่คำถามอื่น ศิลปินพำนัก หลังจากติดตามผลงานของพี่แมท ทั้งทางออนไลน์ ทั้งออกไปชมนิทรรศการในกรุงเทพฯ แต่ผมก็ยังไม่เคยพบเธอเลยสักครั้ง แถมนิทรรศการที่ไปชมล้วนเป็นการแสดงผลงานร่วมของศิลปินภาพถ่ายหลายท่าน จนกระทั่งเมื่อช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา ผมได้ทราบว่าพี่แมทกำลังมีนิทรรศการภาพถ่ายเดี่ยวที่จังหวัดขอนแก่น และทุกสิ่งก็พลันรวดเร็วราวกับสปีดชัตเตอร์ที่จับการโบยบินของนกให้นิ่งค้างบนภาพถ่าย ผมตัดสินใจทันที จับจองที่นั่งบนรถไฟด่วนพิเศษ ผ่านวันปีใหม่มาเพียงสัปดาห์เดียว ผมก็ยืนอยู่เบื้องหน้าภาพถ่ายของเธอ วันนั้นตัวเมืองขอนแก่นอากาศหนาว ผมออกจากที่พักก่อนเวลา เต็มใจเดินตากแดดให้ร่างกายอบอุ่น จนถึงเดอะวอลล์ […]

ความรักฤดูหนาวผ่านรูปวาดลายเส้นคอลเลกชันใหม่จาก Sundae Kids

ชวนทุกคนมาสัมผัสเรื่องราวความรักสุดโรแมนติกในฤดูหนาวผ่านศิลปะรูปวาดลายเส้น ถ่ายทอดลงบนพื้นผิวรูปแบบใหม่ที่ไม่เหมือนใคร พร้อมถามถึงมุมมองความรักหน้าหนาว ของ Sundae Kids ว่าจะออกมาเป็นสีอะไร ?

‘PingHatta’ อาร์ตติสต์ผู้วาดภาพต่อสู้กับมาตรฐานความงาม

การตั้งคำถามของ ‘ปิ๊ง-เปี่ยมรัก หัตถกิจโกศล’ หรือ ‘ปิ๊งหัตถะ’ นักวาดภาพประกอบผู้เคยทำงานอยู่ในวงการแฟชั่นและเห็นเรื่องราวของมันมาสักระยะ สู่การสร้างงานศิลป์ที่อยากเปลี่ยนภาพจำของแฟชั่นซึ่งฉายภาพค่านิยมความสวยของสังคม เพื่อให้ทุกเพศมีความมั่นใจในตัวเอง

ศิลปะปลายใบมีดด้วยเทคนิค ‘Paper-cutting’ กับ Collagecanto

ติดสอยห้อยตาม ‘บัว-วรรณประภา ตุงคะสมิต’ ผู้นิยามตัวเองว่าเป็นอาชีพรับจ้างทั่วไป แต่เรา (ไม่) แอบเรียกว่า ‘ศิลปินตัดกระดาษ’ ผู้สร้างลวดลายบนผืนกระดาษตั้งแต่ตั๋วรถเมล์ ลอตเตอรี่ ใบเสร็จทางด่วน ไปจนถึงพร็อพประกอบฉาก พร้อมคุยถึงเรื่องศิลปะปลายใบมีดด้วยเทคนิค ‘Paper-cutting’ กับการเปิดเฟซบุ๊กแฟนเพจ Collagecanto ที่เริ่มจาก ‘งานอดิเรก’ สู่โอกาสที่เปิดกว้างให้คนได้เห็นฝีมือ

ดอกไม้ไร้วิญญาณ เทคนิควิทยาศาสตร์ เพื่อคงสภาพให้เป็นอมตะ

จะยืดอายุดอกไม้สดอย่างไร ให้สวยทนและอยู่ได้นานยิ่งขึ้น คงมีหลายวิธีที่จะยืดชีวิตให้อยู่ไปได้สักระยะ แต่ไม่ใช่กับศิลปินชาวลอสแองเจลิส ‘ลูน่า อิคุตะ (Luna Ikuta)’ ที่สร้างศิลปะด้วยวิทยาศาสตร์เพื่อหล่อเลี้ยงชีวิตดอกไม้ให้เป็นอมตะ ! ‘Afterlife’ เป็นผลงานดอกไม้ไร้วิญญาณสุดบ้าระห่ำของ ‘อิคุตะ’ ศิลปินสื่อประสมที่เอากระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาพัฒนาให้เป็น ‘เทคนิคศิลปะ’ แบบไม่เคยมีใครลองทำมาก่อนแน่ ! ซึ่งวิธีการที่ใช้มีชื่อเรียกว่า ‘Decellularization (การชะล้างเซลล์)’ คือวิศวกรรมชีวการแพทย์เพื่อทำ ‘Extracellular Matrix (ECM)’ หรือ การแยกเมทริกซ์ หรือแยกตัวประกอบของเซลล์ออกไป ซึ่งจะยังคงโครงสร้างพื้นฐานเอาไว้แบบเดิม ถ้าพูดแบบให้เห็นภาพ ก็เหมือนกับปากกาลูกลื่นที่ถูกดูดหมึกออกจนเหลือแค่ปลอกปากกาเพียงอย่างเดียว โดยเขาเริ่มจาก ‘ดอกป๊อปปี้’ ก่อนอันดับแรก เพราะเป็นพันธุ์ที่ขึ้นอยู่ในแถบลอสแองเจลิสค่อนข้างเยอะ ซึ่งใช้การแยกเซลล์ด้วยวิธี ‘แช่ดอกไม้’ ลงไปในสารเคมีที่เป็นสูตรเฉพาะตัวของอิคุตะ เพื่อทำการลอกสีของดอกไม้ และดึงคลอโรฟิลด์ออกไป ทำให้ดอกไม้ถูกยับยั้งการสังเคราะห์แสงไม่ให้เจริญเติบโต โดยหลังจากที่เขาดึงสีออก ทำให้สีสันบนกลีบดอกไม้ถูกแทนที่ด้วยสีโปร่งแสง และเผยให้เห็นพื้นผิว รวมถึงโครงสร้างของดอกไม้ได้อย่างชัดเจนคล้ายกับการศึกษา ‘กายวิภาคศาสตร์’ ของดอกไม้ จนหลายคนต่างตั้งชื่อให้กับมันว่า ‘ดอกไม้ไร้วิญญาณ’ ที่สำคัญคือมันสามารถอยู่ใต้น้ำได้ตลอดไปเลยด้วย ! ซึ่งอิคุตะได้นำไปจัดแสดงเป็น ‘พืชน้ำ’ ในตู้ปลาของเขาเอง เพื่อสร้างภูมิทัศน์ทางน้ำให้กับปลากัด ซึ่งเป็นเพื่อนตัวจิ๋วได้แหวกว่ายอย่างอิสระไปกับความพลิ้วไหวของดอกไม้ที่เคลื่อนไปตามกระแสน้ำ […]

ล้วงลึกสกรีนพรินต์แบบเนิร์ดๆ ที่ The Archivist

“ผลิตงานพรินต์ด้วยมือ จะสู้พรินต์คอมพิวเตอร์ได้ไหม ?”

สารตั้งต้นที่สร้างความอยากรู้อยากเห็นเวลาไปดูงานตามแกลอรี ที่มองผิวเผินอาจมีความต่างเพียงเล็กน้อย แต่เมื่อมองดูอย่างถี่ถ้วนกลับพบว่ามันแตกต่างอย่างสิ้นเชิง ซึ่ง ‘มิน-มิญชญา ชโยสัมฤทธิ์’ จากสตูดิโอ @The Archivist ผู้คลุกคลีเรื่องงานพรินต์สกรีนอย่างช่ำชองจะพาเราไปเข้าใจถึงเทคนิคซิลค์สกรีนจนเกือบเนิร์ด พร้อมทั้งเผยเสน่ห์งานพิมพ์ที่มีมากกว่าแค่ทาบบล็อก แล้วปาดสี แต่จะปลุกพลังการดูงานศิลป์ในตัวเราให้สนุกยิ่งขึ้นไปอีก !

จะเป็นอย่างไร ? เมื่อ ‘มหาตมะ คานธี’ มาขายขนมสายไหม

โปรเจกต์ล่าสุดของ Panchal คือ ‘Gandhi Floss’ มีที่มาจากแนวคิด “ถ้าบุคคลในประวัติศาสตร์อย่าง มหาตมะ คานธี มีแบรนด์สินค้าเป็นของตัวเองจะเป็นอย่างไร ?”

Jean Jullien ศิลปินแดนน้ำหอมชื่อก้องโลกผู้รักการวาดภาพตลกร้าย

ทำความรู้จัก ‘ฌอง จูเลียง’ นักวาดภาพประกอบและศิลปินชาวฝรั่งเศส ผู้สร้างแรงบันดาลใจสนุกๆ ผ่านลายเส้นซุกซน

JOYS คาเฟ่ไซซ์มินิแห่งเมืองเซินเจิ้น จิ๋วเพียง 9 ตารางเมตร

พาดูการแปลงโฉมตึกแถวเก่าให้กลายเป็นคาเฟ่ฮิปไซซ์มินิ ที่เมืองเซินเจิ้น ประเทศจีน

เรื่องเล่า ‘Now Normal’ ในวันที่กรุงเทพฯ ปรับวิถีชีวิตใหม่

เราได้มีโอกาสเข้าไปเยือนนิทรรศการ The Silence Project “Covid19 19.00” และ C2H5OH (75%) ที่ The Shophouse 1527 ซึ่งถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตล็อคดาวน์ เพราะวิกฤตโควิด-19 ของคนกรุงเทพฯ ทั้งในแง่ของกายภาพเมือง และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปได้อย่างตรงไปตรงมา และเสียดสีได้อย่างแยบยล โดยเราจะพาทุกคนร่วมไปเปิดประสบการณ์ทั้งสองนิทรรศการผ่านเรื่องเล่าของกรุงเทพฯ กัน

ถนนคนเดิน กลายเป็นของรถยนต์ตั้งแต่เมื่อไหร่?

รู้หรือไม่ว่า ? เมื่อ 100 ปีที่แล้ว มีคำว่า ‘Jaywalker’ ไว้เปรียบเทียบคนข้ามถนนอย่างผิดกฎหมาย ว่าเหมือนคนบ้านนอกเข้ากรุงที่ไม่รู้ว่าจะต้องเดินในเมืองอย่างไรให้ปลอดภัย ซึ่งเมื่อก่อน ‘ถนน’ เป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับผู้คน ทั้งการตั้งหาบเร่ค้าขาย หรือการเดินเตร็ดเตร่ รวมถึงรถลากที่ผ่านไปมา จนเรียกได้ว่า ‘คน’ เป็นเจ้าของถนนมากกว่าปัจจุบัน เพราะ ‘ยานพาหนะต้องระวังคน ไม่ใช่คนต้องระวังยานพาหนะ’ ผิดกับตอนนี้ที่เราต้องหันซ้าย-ขวา เพื่อมองรถ และยังต้องข้ามถนนในที่ทางที่วางไว้
.
แล้วอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ ‘รถ’ กับ ‘คน’ ต้องแยกทางกันอย่างชัดเจน ?

1 2 3 4 7

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.