รักต่างวัย…ปรับความเข้าใจ คน 4 เจนฯ ในครอบครัว - Urban Creature

“ความผูกพันที่เชื่อมความเป็นครอบครัวที่แท้จริง ไม่ใช่สายเลือดแต่เป็นการเคารพและสร้างความสุขในชีวิตของกันและกัน”

Richard Bach นักเขียนชาวอเมริกัน

ทุกความสัมพันธ์มีจุดเริ่มต้นมาจากสถาบันครอบครัว ซึ่งเปรียบเป็นที่พักใจของสมาชิกในบ้าน ความผูกพันที่จะอยู่ไปกับเราตลอดชีวิต ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างคุณพ่อ คุณแม่ พี่ ป้า น้า อา หรือแม้กระทั่งคุณปู่คุณย่าของเรา ด้วยช่วงอายุที่ห่างกัน บางทีก็อาจเป็นเหตุให้มีเรื่องทะเลาะถกเถียงหรือไม่ลงรอย เพราะความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน ซึ่งอาจจะทำให้มีกำแพงระหว่างวัยจนเกิดความห่างเหินไม่สนิทใจ

จากผลการวิจัยต่างประเทศบอกว่า การที่จะสร้างคุณภาพของครอบครัวที่ดี หรือสร้างภูมิคุ้มกันที่เข้มแข็ง ส่วนหนึ่งที่สำคัญคือ “การยอมรับความแตกต่างซึ่งกันและกัน” เข้าใจมุมมองของแต่ละวัยที่ไม่มีใครตัดสินว่าถูกหรือผิด เพราะบริบทที่แต่ละคนเติบโตมา หล่อหลอมให้ดำเนินชีวิตกันคนละแบบ ถ้าเราได้เข้าใจมุมมองความคิดของคนแต่ละเจเนอเรชัน การสื่อสารกันก็จะเป็นเรื่องง่ายมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว

Gen B : อดทนเก่ง ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง

ถ้าถามว่าคนเจนฯ ไหนอดทนมากที่สุด ก็ต้องขอยกตำแหน่งชนะเลิศให้กับคน Gen B เรียกอีกชื่อว่า ยุค “Baby Boomer” ซึ่งเป็นคนที่เกิดในช่วง พ.ศ. 2489 – 2507 หรืออายุ 55 ปีขึ้นไป ซึ่งตอนนี้หลายคนอาจจะเป็นคุณปู่กันแล้ว คนเจนฯ นี้เกิดในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง ได้เห็นภาพความลำบากของพ่อแม่ที่ต้องทำงานหาเงิน เนื่องจากเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอนในสภาวะหลังสงคราม จึงทำให้ข้าวของมีราคาแพง ทุกคนต่างต้องดิ้นรนในการใช้ชีวิต

คำว่า “งานคือทุกอย่างของชีวิต” คงจะเหมาะกับคนยุคนี้ เพราะในการทำงานที่ต้องเจอกับการแข่งขันสูง จึงต้องอดทนทุ่มเทกับงานมากๆ เพื่อวางรากฐานความมั่นคงของครอบครัวต่อไปในอนาคต เลือกที่จะวางแผนให้ลูกหลานสืบทอดกิจการหรือเดินตามรอยของตน เพราะไม่อยากเห็นคนรุ่นหลังต้องมาเผชิญความลำบากเหมือนคนรุ่นเขา ซึ่งทำให้กลายเป็นคนไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงสักเท่าไหร่ เลยเลือกที่จะสร้างคอมฟอร์ทโซนให้ตัวเองและครอบครัว เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเข้ามาในชีวิต

Gen X : แฟมิลี่แมน และเป็นตัวของตัวเอง

คนเจนฯ นี้จะเกิดในช่วง พ.ศ. 2508 – 2522 อยู่ในช่วงอายุ 40 – 54 ปี หรือประมาณคนรุ่นคุณพ่อคุณแม่ของพวกเรา และเป็นลูกๆ ของคน Gen B เติบโตในช่วงที่เหตุการณ์ต่างๆ ในโลกสงบลงแล้ว และเริ่มมีการเข้ามาของเทคโนโลยีหลายอย่าง เช่น คอมพิวเตอร์ วิดีโอเกม ไปจนถึงสไตล์เพลงฮิปฮอป ที่ช่วยสร้างสีสันแปลกใหม่ให้คนยุคนี้

เนื่องจากบางประเทศเริ่มมีเศรษฐกิจที่ดี มีการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ ไปจนถึงรูปแบบแฟชั่นใหม่ๆ ทำให้คนเจนฯ นี้มีอิสระทางความคิด เลือกที่จะเป็นตัวของตัวเองได้ตามใจ ไม่มีข้อจำกัดที่ต้องดิ้นรนเอาตัวรอดเหมือนคนรุ่น Gen B แต่ด้วยความที่คน Gen X ได้เห็นความลำบากของพ่อแม่ที่พยายามตั้งตัวประกอบอาชีพ จึงรู้สึกว่าครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของชีวิต เพราะได้ซึมซับความเหนื่อยยากจากคนรุ่นก่อนมาแล้ว จึงไม่แปลกที่คนเจนฯ นี้ จะเป็นตัวตั้งตัวตีในการรวมตัวคนในครอบครัวนัดกินเลี้ยงสังสรรค์ทุกเทศกาลสำคัญ

Gen Y : ผู้กล้าออกจากกรอบ ช่วงรอยต่อการเปลี่ยนแปลง

ยุคนี้เป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลงที่เทคโนโลยีเข้ามามีความสำคัญในชีวิตประจำวัน เมื่อก่อนเวลาคนรุ่นพ่อรุ่นแม่จะเขียนจดหมายบอกคิดถึงใครสักคนต้องใช้เวลานานเกือบอาทิตย์ แต่ในยุคของคน Gen Y เราสามารถส่งข้อความหากันได้เพียงแค่ไม่กี่วินาที ทำให้คนรุ่นนี้ไม่ค่อยมีความอดทนเท่าไหร่ ถ้าเทียบกับคนรุ่นอื่นๆ และมีทางเลือกในการใช้ชีวิตมากกว่าคนรุ่นก่อน

นอกจากนี้ การเลี้ยงดูจากพ่อแม่คน Gen X ที่เริ่มมีชีวิตที่สบายแล้ว จึงมีเวลาเลี้ยงดูเอาใจใส่ลูกๆ สนับสนุนให้ลูกเป็นในสิ่งที่พวกเขาอยากเป็น ซึ่งทำให้คน Gen Y ที่เกิดในช่วง พ.ศ. 2523 – 2540 หรืออยู่ในช่วงอายุ 22 – 39 ปี มีความคิดเป็นอิสระมากขึ้น กล้าหลุดออกจากกรอบที่คนสมัยก่อนตั้งไว้ ชอบแสดงความคิดเห็น กล้าที่จะแสดงออก สามารถใช้เทคโนโลยีในมือได้อย่างหลากหลาย และทำอะไรหลายอย่างได้ในเวลาเดียวกัน

Gen Z : นักโซเชียล โตมากับเทคโนโลยี

ถ้าคำนิยามของคน Gen X กล่าวว่า “งานคือทุกอย่างของชีวิต” สำหรับคน Gen Z คงต้องเปลี่ยนเป็น “อินเทอร์เน็ตคือส่วนหนึ่งของร่างกายไปเสียแล้ว” คนรุ่น Gen Z คือคนที่เกิดในช่วง พ.ศ. 2541 เป็นต้นไป หรืออายุน้อยกว่า 21 ปี เติบโตท่ามกลางสังคมดิจิตอล ทุกอย่างสื่อสารด้วยระบบออนไลน์ ข้อมูลข่าวสารมีการอัปเดตตลอดเวลา

จุดเด่นของคนเจนฯ นี้คือใช้เทคโนโลยีเก่ง และระมัดระวังในการใช้งาน เพราะได้เห็นบทเรียนจากคนรุ่นก่อนๆ มาบ้างแล้ว คาดว่าในอนาคตเด็กรุ่นนี้จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ๆ แต่ในเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัว เด็กรุ่นนี้มักจะเห็นพ่อแม่ของตัวเองออกไปทำงานข้างนอกทั้งคู่ พวกเขาจึงได้รับการเลี้ยงดูจากคนอื่นมากกว่าพ่อแม่ของตัวเอง หรือสนใจแต่จอสมาร์ทโฟน เก็บตัวเงียบมากกว่าที่จะสื่อสารกับคนภายนอก

ถ้าเราลองสังเกตคนในครอบครัวจะเห็นว่า จริงๆ แล้ว เราอยู่ท่ามกลางคนหลากหลายเจเนอเรชัน บางครั้งเราก็มีกำแพงในการเข้าหาคนในครอบครัว แต่ถ้าเราพยายามที่จะเรียนรู้ความแตกต่างของคนแต่ละวัย ก็อาจจะช่วยทลายกำแพงในใจให้เราเชื่อมความสัมพันธ์ของครอบครัวได้แนบชิดมากยิ่งขึ้น

เชื่อมสัมพันธ์ในบ้าน ให้สุขใจอย่างยั่งยืน

หากพูดถึงการรักษาความสัมพันธ์ในครอบครัว บางครอบครัวอาจมองเป็นเรื่องที่เล็กๆ ที่ต่างคนต่างคิดว่าเดี๋ยวค่อยทำตอนไหนก็ได้ แต่นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คนในครอบครัวค่อยๆ ห่างเหินกัน คงจะดีกว่าหากเราหมั่นใส่ใจซึ่งกันและกัน เพราะคนแต่ละเจเนอเรชัน ก็มีมุมมองทางความคิดที่แตกต่างกัน ซึ่งเราสามารถปรับความเข้าใจด้วยข้อแนะนำง่ายๆ ที่ครอบครัวไหนก็ทำได้เหล่านี้

แสดงความรักให้มากขึ้น

“ก็ความรักถ้าไม่ใช่ความลับ ถ้าอยากให้รักทำไมต้องปิด” เพราะถ้าเราปิดกั้นเกินไป เราจะไม่มีทางรู้ความในใจที่อีกฝ่ายรู้สึก ทางที่ดีเราควรจะเปิดเผยและสื่อสารกันอย่างจริงใจในครอบครัว อาจจะเริ่มต้นด้วยสิ่งง่ายๆ อย่างการกอด การยิ้มให้กัน หรือพูดให้กำลังใจกันบ้าง เช่น วันนี้ทำงานเหนื่อยไหม, ไม่เป็นไรนะลูก, คิดถึงจังเลย หรือ อาจจะชื่นชมคนในบ้าน เมื่อพวกเขาทำสิ่งต่างๆ ได้ดี

ไม่เขินที่จะเอ่ยคำว่า “ขอบคุณ”

หลายคนคงรู้จักเทศกาลขอบคุณพระเจ้า หรือ Thanksgiving Day ซึ่งจัดขึ้นปีละครั้ง เพื่อให้เราเห็นความสำคัญของครอบครัว หรือคนใกล้ชิด และไม่ลืมที่จะกล่าวขอบคุณเรื่องราวดีๆ ที่ทำให้กัน ซึ่งจริงๆ แล้วเราไม่จำเป็นจะต้องพูดขอบคุณในโอกาสที่ดีเท่านั้น แต่ควรจะพูดให้กันในทุกๆ วัน แบ่งปันคำพูดที่ทำให้ผู้ฟังรู้สึกดีและอุ่นใจเมื่อได้ยิน อีกทั้งเป็นการเคารพให้เกียรติซึ่งกัน นอกจากนี้ ยังเป็นวิธีที่ปลูกฝังให้เด็กๆ รู้จักการขอบคุณอีกด้วย

หมั่นแชร์กิจกรรม ทำร่วมกันสักหน่อย

ถ้าเรายังไม่กล้าที่จะสื่อสารกันตรงๆ เราอาจจะเริ่มจากการทำกิจกรรม ที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์ภายในครอบครัวให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ลองหาเวลาร่วมกันในครอบครัว เช่น ทานอาหารพร้อมหน้ากันสักมื้อ, เล่นกีฬานอกบ้าน, เที่ยวห้างฯ หรือแม้กระทั่งช่วยกันทำความสะอาดบ้าน ก็เป็นกิจกรรมง่ายๆ ที่ทุกบ้านสามารถทำได้ การใช้เวลาร่วมกันจะช่วยละลายพฤติกรรมให้เรายอมรับความแตกต่างของคนในครอบครัว กล้าพูดกล้าเล่นกันมากขึ้น และเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้กลมเกลียว

ใช้ชีวิตท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ดี “THE FORESTIAS”

สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คือการได้ใช้ชีวิตในพื้นที่ที่ทุกคนในครอบครัวอยู่ร่วมกันได้อย่างอบอุ่น ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นการอยู่ใกล้ชิดพื้นที่สีเขียวอากาศบริสุทธิ์ ผ่านร่มเงาใต้ต้นไม้สีเขียวน้อยใหญ่ หลายล้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก และเทคโนโลยีที่ทำให้การใช้ชีวิตสะดวกสบายมากขึ้น ตอบโจทย์คนทุกเจเนอเรชันอย่าง “THE FORESTIAS”

“THE FORESTIAS”  คือต้นแบบระบบนิเวศที่อยู่อาศัยบนพื้นฐานของความสุขที่ยั่งยืน กับแนวคิดเชื่อมต่อความสัมพันธ์ของครอบครัวให้แน่นแฟ้น ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Imagine Happiness” ที่ให้ทุกคนได้ใช้ชีวิตและไลฟ์สไตล์อย่างที่ฝัน ผ่านองค์ประกอบสำคัญ 4 ข้อ

1. Connection 4 Generations  : พื้นที่สร้างความอบอุ่นให้กับครอบครัว ใช้ชีวิตร่วมกันครบทุกเจเนอเรชัน

2. 50 Shades of nature : ความสุขในการใช้ชีวิตท่ามกลางธรรมชาติบนระบบนิเวศขนาดใหญ่

3. Community Of Dreams : รายล้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครันสำหรับการอยู่อาศัย

4. Sustainnovation Of Well-Being : เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างความยั่งยืนในการใช้ชีวิต

The Forestias by MQDC อยากให้ทุกคนเข้าใจความสำคัญของครอบครัวเพื่อแบ่งปันความสุขและความทรงจำดีๆ ร่วมกัน ผ่านคลิปวิดีโอแอนิเมชันในช่วงเทศกาลคริสต์มาสที่ผ่านมา เพื่อสื่อสารให้ทุกคนคิดถึงช่วงเวลาดีๆ เมื่อได้อยู่กับสมาชิกในบ้านพร้อมหน้าพร้อมตากัน รวมถึงแชร์มุมมองของศิลปินนักวาดภาพประกอบชื่อดังในแต่ละเจเนอเรชัน ที่อาจแตกต่าง แต่มีจุดร่วมเดียวคือ “การใช้ชีวิตร่วมกันในครอบครัวอย่างมีความสุข”

ครูปาน สมนึก คำนอก

“ผมได้เห็นถึงความสวยงามของธรรมชาติ การอยู่ร่วมกันของสิ่งที่อยู่รอบตัวเราทั้งหมด ไม่ใช่แค่ คน แต่รวมไปถึงสัตว์ ต้นไม้ ดอกไม้ การที่มีสิ่งแวดล้อมที่สวยงามเราก็จะได้ความสุขที่ยั่งยืนในชีวิต”

ครูก้อง กันตภณ เมธีกุล (Gongkan)

“จินตนาการเมืองที่สื่อความหมายของความสุขอย่างยั่งยืนในแบบของผม เหมือนกับการที่ผมได้เห็นใบไม้ในคลิป

เราได้ถูกพาไปในสถานที่หนึ่งที่ทำให้เรามีความสุข ไม่ว่าจะเป็นเจเนอเรชันไหนก็ตาม และสุดท้ายเราได้มาอยู่ในที่เดียวกัน พื้นที่ที่ทุกคนสามารถทำกิจกรรมร่วมกันได้อย่างมีความสุข”

ครูโลเล ทวีศักดิ์ ศรีทองดี (Lolay)

“การมานั่งทานอาหารร่วมกัน มันมีความอบอุ่น ความน่ารักของความเป็นครอบครัว เวลาที่ผมทำงานแล้วมีลูกๆ ภรรยา คุณปู่ คุณย่า อยู่รอบๆ เราได้รับพลังในการทำงาน ทุกคนมีส่วนช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับเรา ซึ่งในโลกนี้มันมีความสุขอยู่จริงๆ นะ ที่เราสามารถสร้างขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง”

ความสุขของชีวิตไม่ใช่การทุ่มเทกับงาน แต่คือการใส่ใจในรายละเอียดสิ่งต่างๆ รอบตัว อย่างสมาชิกในครอบครัวของเรา ได้แบ่งปันการใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน ท่ามกลางสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่แสนอบอุ่น เป็นส่วนผสมของชีวิตที่ทุกคนควรรักษาเก็บเอาไว้ให้ดี

“Life’s greatest gifts are the moments spent together

ของขวัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิต คือ การมีช่วงเวลาที่ดีอยู่ร่วมกัน”

 

SOURCE :

https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/330/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2-E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%8B%E0%B8%94/

https://www.verywellfamily.com/things-to-do-bring-family-together-3129447

http://bsris.swu.ac.th/journal/80544/file/1.pdf

Writer

Graphic Designer

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.