ประเทศฮาบ่ใจ่ของคิง : ฮ่องเต้ ธนาธร ผู้เรียกร้องความเท่าเทียมจากล้านนาสะเทือนกรุงเทพฯ 

นัดพบฮ่องเต้ ผู้ประสบภัย 112 ในเชียงใหม่ ขณะที่หลายประเทศเตรียมพร้อมรับมือวิกฤตโลกร้อนด้วยนวัตกรรม เพราะแผ่นทวีปที่กำลังจะจมน้ำจากธารน้ำแข็งขั้วโลกละลายในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า แต่สิ่งที่รัฐไทยกำลังเลือกทำในปัจจุบัน คือการไล่ทุบกำราบคนเห็นต่างให้สยบยอมอยู่ใต้ตีนอย่างแข็งขัน  นี่คือข้อบ่งชี้ว่า ประเทศเรากำลังหมดหวังและถอยหลังลงคลองในสายตาคนรุ่นใหม่ แต่ขั้วอนุรักษนิยมกลับมองว่า นี่คือการรักษาความมั่นคงอันดีงามของชาติที่แสนสงบและดีพร้อมกว่าชาติใดใดในโลก และนี่คือสาเหตุที่ช่วงเกือบปลายปี 2564 เราตัดสินใจเดินทางไปพบนักกิจกรรมอย่าง ฮ่องเต้-ธนาธร วิทยเบญจางค์ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลังจากเขาถูกแจ้งจับคดีมาตรา 112 ก่อนหน้านั้นเพียงไม่นานนัก ฮ่องเต้ตั้งใจนัดให้เราไปพบที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ไม่ไกลจากคณะสังคมศาสตร์ คณะที่เขากำลังศึกษาวิชาปรัชญา ชั้นปีที่ 3 ในปัจจุบัน นี่คืออาคารที่ผู้บริหารมหา’ลัยตัดสินใจสั่งริบเอาพื้นที่จอดรถของนักศึกษามาสร้างอาคารที่ผู้เรียนแทบไม่ได้ใช้งาน เราถามฮ่องเต้ถึงจำนวนคดีความที่เขาได้รับ หลังการลุกขึ้นมาเรียกร้องความเท่าเทียมบนพื้นที่สาธารณะ “เกินสิบ (หัวเราะขื่นๆ) ส่วนใหญ่เป็นคดี พ.ร.บ.ชุมนุม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ร.บ.ควบคุมโรค และจะโดน 116 จำนวนหนึ่งหรือสองคดีนี่แหละ แล้วก็มี 112 อีกจำนวนหนึ่งคดี ผมคิดอยู่ว่า อีกหน่อยอาจจะมีคดีแปลกๆ โผล่ขึ้นมาอีก” เด็กหนุ่มยิ้มขื่นบางๆ หลังพูดจบ “หน้าที่ของเราคือยิ้ม และขัดขืนมัน เพื่อทำให้ประเทศนี้เปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นกว่านี้ให้ได้ ผมไม่คิดว่าเราต้องกลัวกฎหมายฉบับนี้ แค่ต้องทำงานของตัวเองต่อไป […]

“ยังมีคนที่ไม่มีสิทธิ์รักใครได้อย่างเป็นทางการ” คุยเรื่องสมรสเท่าเทียมกับคนจัดม็อบ LGBTQ+

แม้หลายคนพร่ำบอกว่าประเทศไทยเฟรนด์ลี่กับ LGBTQ+ มาก แต่เชื่อไหมผ่านมาหลายสิบปี รัฐไทยยังไม่เคยคุ้มครองสิทธิที่พวกเขาจะรักกันได้อย่างเท่าเทียมเลยสักครั้ง ย้อนกลับไปเมื่อเกือบสองปีก่อนในวันที่ 25 กรกฎาคม 2563 เรายังจดจำบรรยากาศและกิจกรรมของ ‘ม็อบไม่มุ้งมิ้งแต่ตุ้งติ้งค่ะคุณรัฐบาล’ ได้ดี ในฐานะที่เป็นม็อบที่มีสีสันมากที่สุด มีลูกล่อลูกชนมากที่สุด และครีเอทีฟที่สุดในประวัติศาสตร์การชุมนุมของประเทศไทยตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งการต่อบทหนังเรื่อง ‘หอแต๋วแตก’ ที่บิดเอารายละเอียดประเด็นปัญหาทางการเมืองไทยมาสื่อสารอย่างลงตัว การใช้เพลงฮิตในชุมชนคนที่มีความหลากหลายทางเพศเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย การแสดงออกอย่างเสรีผ่านเสื้อผ้าหน้าผมของผู้ชุมนุมที่สดใสจัดจ้าน การปรากฏของธงรุ้งงขนาดใหญ่โบกสะบัดสง่างามกลางถนน รวมถึงการปราศรัยรสแซ่บถึงรากปัญหาเพื่อเรียกร้องสิทธิและเป็นปากเสียงสื่อสารปัญหาใต้พรมที่ LGBTQ+ ต้องเผชิญมาแสนนาน กิจกรรมทั้งหมดสร้างสรรค์ได้อย่างมีลูกเล่นชวนอมยิ้ม แต่ขณะเดียวกันก็เน้นย้ำถึงหลักการอย่างหนักแน่น เพราะต้องการสนับสนุนจุดยืนของขบวนการประชาธิปไตยเต็มใบ รวมถึงต้องการเรียกร้องและผลักดันประเด็นความเท่าเทียมทางเพศให้เกิดขึ้นจริงสักที ทำให้ แรปเตอร์–สิรภพ อัตโตหิ และเพื่อนสมาชิกกลุ่มเสรีเทยพลัส หยิบเอาไอเดียที่ตัวเองเสนอในแฮชแท็กทวิตเตอร์ #ไอเดียออกม็อบ มาเดบิวต์จัดม็อบแรกในชีวิต ในเวลานั้นประเด็นเรื่องเพศและมูฟเมนต์ #สมรสเท่าเทียม เริ่มมีกระแสพูดถึงอย่างแพร่หลายแล้ว ทว่าเมื่อเกิดม็อบที่โฟกัสถึงสิทธิของคนเพศหลากหลายขึ้น ทั้งยังมี ม็อบไม่มุ้งมิ้งแต่ตุ้งติ้งค่ะคุณรัฐบาล ครั้งที่ 2 และอีกหลายๆ ม็อบตามมา ประกอบกับกลุ่มแอ็กทิวิสต์ที่ต่อสู้เรื่องเพศทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่ที่เริ่มมีพื้นที่ เป็นที่รู้จักมากขึ้น ก็ยิ่งเสริมพลังให้การต่อสู้เรื่องความเท่าเทียมทางเพศ และขอบเขตบทสนทนาเรื่องนี้ให้ไปไกลกว่าที่เคย ล่าสุดมูฟเมนต์ #สมรสเท่าเทียม ได้กลายเป็นที่ถกเถียงกันในสังคมอย่างดุเดือดว่า ทำไมรัฐบาลไทยถึงยังไม่ให้ผ่านซะที (วะ) โดยที่แรปเตอร์เองก็ได้ร่วมจัดม็อบสมรสเท่าเทียมในนามเครือข่ายภาคีสีรุ้งเพื่อสมรสเท่าเทียม […]

‘คุก’ พื้นที่ไร้สิทธิที่ไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของเมืองในมุมมอง ‘รุ้ง ปนัสยา’

รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล แกนนำนักศึกษาหญิงจากแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ ถูกจองจำในเรือนจำมาแล้ว 3 ครั้ง ส่วนอีก 1 ครั้งหลังคือ การใส่กำไล EM จำกัดพื้นที่ในเคหสถาน ถ้าย้อนกลับไปเกือบสามปีก่อน เราคงจินตนาการไม่ออกเลยว่าการเรียกร้องประชาธิปไตยจะมาไกลและมีการพูดถึงปัญหาตรงไปตรงมาอย่างในตอนนี้ แต่การกล้าตั้งคำถาม การเสนอแนวทางให้สถาบันปรับตัว และการขับไล่เผด็จการ ก็ต้องแลกมาด้วยพันธนาการผู้เรียกร้องครั้งแล้วครั้งเล่า  จากการติดตามข่าวคราวของรุ้งและแกนนำคนอื่นๆ ช่วงที่อยู่ในเรือนจำ เราสังเกตเห็นว่าข่าวเหล่านี้ถูกเล่าในวงจำกัด มีการนำเสนอเฉพาะกลุ่มบนโซเชียลมีเดีย จากบุคคลหรือสำนักข่าวเจ้าเดิมๆ ส่วนสื่อกระแสหลัก หรือสื่ออนุรักษนิยม เราไม่เคยได้รับข้อมูลที่ตีแผ่ความเป็นจริงส่วนนี้เลย ช่วงเกือบสิ้นปีที่แล้ว ก่อนรุ้งเข้าเรือนจำเป็นครั้งที่สาม เราถามเธอ จากข้อสังเกตส่วนตัวว่า คิดยังไงที่ ‘ทัณฑสถาน’ หรือ ‘คุก’ เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเมืองที่แทบไม่เคยถูกพูดถึง และแน่นอน มันเป็นพื้นที่ลับแลที่คนส่วนหนึ่งไม่แยแสว่ามีปัญหามากมายสะสม นั่นหมายถึงคุณภาพชีวิตต่ำเตี้ยเรี่ยดินของผู้ต้องขังที่ไม่เคยถูกยกระดับ และกระบวนการยุติธรรมบิดเบี้ยวที่ไม่เคยได้รับการแก้ไข คุก : พื้นที่ห่างไกลเมืองและศิวิไลซ์  “คุก ส่วนใหญ่อยู่ไกลจากพื้นที่ชุมชน โดยเฉพาะคุกที่เกิดขึ้นใหม่ หรือคุกในต่างจังหวัด เพื่อให้ตั้งอยู่ไกลจากเมือง และเพื่อให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่ เขาคงไม่อยากให้คุกอยู่ในชุมชน แต่ถ้าคุกอยู่ไกลชุมชนมากๆ ก็จะทำให้ผู้ต้องขังลำบากมาก เพราะทนายความและญาติไปเยี่ยมได้ยาก สิ่งนี้สำคัญต่อผู้ต้องขังมาก ถ้าขาดตัวกลางนี้ไปก็แปลว่าคนข้างในจะไม่ได้รู้เรื่องข้างนอกเลย “มันจะทำให้คนข้างในมีความเครียดสูงขึ้นมากๆ […]

“เด็กฝึกงานคือแรงงานในอนาคต” ซีเรียสเรื่องการฝึกงานและความเป็นธรรมกับสมัชชาIntern

ไม่ได้ค่าตอบแทน ไม่มีสวัสดิการ ไม่ได้เครดิต พี่เลี้ยงให้ทำแต่งานง่ายๆ บาดเจ็บจากการฝึกงาน โดนบริษัทเอารัดเอาเปรียบ หรือทำงานหนักข้ามวันข้ามคืน เราเชื่อว่าปัญหาเหล่านี้ต่อให้คุณไม่มีประสบการณ์ฝึกงานมาก่อนก็คงเคยสัมผัสมาบ้าง ไม่ว่าเสียงบ่นระบายจากคนรอบข้าง คนในโซเชียลมีเดีย ข่าวสารสื่อออนไลน์ หรือเรื่องเล่าต่อกันมา เกิดเป็นแนวคิดการฝึกงานคือการหาประสบการณ์ อย่าไปคาดหวังเงินหรือสวัสดิการตอบแทนนัก บริษัทสอนงานให้ก็ดีแล้ว เป็นต้น ทั้งที่ถ้าพิจารณาตามความจริงแล้ว นี่คือสิทธิที่เด็กฝึกงานพึงได้รับ และไม่ใช่สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเพียงผู้เดียว เพราะรัฐเองก็ควรเข้ามาช่วยเหลือภาคธุรกิจด้วย เราไม่รู้ว่าคุณมองเรื่องการฝึกงานยังไง แต่อย่างน้อยมีคนกลุ่มหนึ่งที่มองเห็นความสำคัญของประเด็นนี้ และหยิบยกขึ้นมาสื่อสารในนามของ ‘สมัชชาIntern’ ซึ่งประกอบด้วย สุดปรารถนา ชาตรี, ภูริภัทร ณ สงขลา และนภเศรษฐ์ ผลจันทร์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ “อย่างแรกต้องเชื่อก่อนว่าเราเป็นแรงงานคนหนึ่ง ต้องเชื่อในสิทธิมนุษยชนที่เราพึงได้ก่อนที่จะตั้งคำถามถัดไป” นี่คือแนวคิดที่สมัชชาIntern ต้องการนำเสนอกับสังคม โดยเฉพาะนักศึกษาที่ต้องเข้าฝึกงาน เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในสิทธิและเสียงของตัวเอง ให้กล้าตั้งคำถาม ต่อรอง และเรียกร้องกับผู้เกี่ยวข้อง คุณภาพชีวิตของเด็กฝึกงานไทยจะได้ดีขึ้นกว่านี้ มากไปกว่านั้น พวกเขายังร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันร่าง พ.ร.บ.ฝึกงาน โดยทำหน้าที่พูดคุยกับผู้ประกอบการและสื่อสารข้อเสนอสู่สังคม ทำให้นักเรียนนักศึกษาจำนวนไม่น้อยให้ความสนใจ พร้อมเอ่ยตรงกันว่า “ในที่สุดก็มีสิ่งนี้เสียที”  เพราะเคยตั้งคำถามกับการฝึกงานมาเหมือนกัน เราจึงนัดคุยกับสุดปรารถนาและภูริภัทร […]

เพราะหนังสือคือการเมือง การแปลจึงเป็นการเคลื่อนไหว : คุยกับแรงงานอักษรจาก Soi Squad

เราอยู่ในยุคสมัยแห่งความย้อนแย้ง ในขณะที่การตื่นตัวทางการเมืองเบ่งบาน วงการหนังสือคึกคักไปด้วยผู้คนที่สงสัยใคร่อ่านงานเขียน #เบิกเนตร ส่งให้บรรดาหนังสือประวัติศาสตร์การเมือง และหนังสือแปลแนววิชาการที่เคยเงียบเหงา กลายเป็นหนังสือขายดีที่พบได้ในมือวัยรุ่นหรือคนทำงานทั่วไป ไม่น่าเชื่อว่าในระนาบเวลาเดียวกัน กลับมีข่าวตำรวจบุกเข้าไปยังสำนักพิมพ์ เพื่อยึดหนังสือที่อ้างว่า ‘มีเนื้อหาผิดกฎหมาย’ (เล่มเดียวกับที่ขายดีนั่นแหละ) และมีหนังสือหลายเล่มถูกห้ามเผยแพร่แจกจ่ายในราชอาณาจักร ย้อนแย้งจริงไหมเล่า  หากประชาชนขวนขวายที่จะอ่าน รัฐบาลจะสั่งห้ามไปทำไม หน่วยงานที่มีอำนาจมากมายจะกลัวอะไรกับแค่หนังสือ ‘หนังสือ การแปล และถ้อยคำสัมพันธ์ สำคัญอย่างไรกันแน่กับการเมือง?’ เราทดคำถามนี้ไว้ในใจ  “ทีมซอยมองเห็นร่วมกันว่าการแปลและการตีพิมพ์เป็นการขับเคลื่อนทางสังคมรูปแบบหนึ่ง การนำความคิดหรือตัวบทในภาษาหนึ่งมาพูดในอีกภาษามันได้พาเราข้ามผ่านพื้นที่ทางการเมืองในหลายมิติ” เป็นประโยคนี้ของเจน-จุฑา สุวรรณมงคล บรรณาธิการบริหารของซอย ที่ทำให้เรามั่นใจว่านี่แหละกลุ่มคนที่จะตอบคำถามให้เราได้! เราจึงรีบจดประโยคจากงานเสวนา บทจTalk ของสำนักพิมพ์บทจร แล้วอีเมลไปขอคุยกับทีมซอยทันที โชคดีของเราที่คำตอบของพวกเขาคือตกลง เรารู้จัก ‘ซอย | soi’ หรือ soi squad ครั้งแรกผ่านหนังสือ แด่การผลัดทิ้งซึ่งหญิงชาย แด่ความลื่นไหลที่ผลิบาน (Beyond the Gender Binary) ผลงานเล่มบางๆ ที่พาคนอ่านไปครุ่นคิดเรื่องบรรทัดฐานทางเพศให้ลึกซึ้งผ่านเรื่องเล่าของผู้คนหลากหลาย ผลงานของ สำนักพิมพ์ซอย สำนักพิมพ์ซึ่งตีพิมพ์หนังสือแปลในประเด็นแสบๆ คันๆ ที่เป็นวาระสำคัญของยุคสมัย อย่างความหลากหลายทางเพศ […]

#หญิงเองก็ลำบาก ฟังเสียงผู้หญิงทั่วโลกที่ต้องการมีชีวิตที่เท่าเทียมและปลอดภัย

ข้อใดต่อไปนี้ คือเหตุการณ์ที่คุณเคยเจอในชีวิตก. เดินห่อไหล่เพราะกลัวโดนมองหน้าอกข. ถ่ายทะเบียนรถให้เพื่อนหรือครอบครัว เผื่อเกิดกรณีฉุกเฉินค. โดนคนแปลกหน้าแซว อย่าง ‘ไปไหนจ๊ะ’ ‘คนสวย’ ‘อยู่แถวไหน’ง. เจียดเงินซื้อข้าวเพราะต้องซื้อผ้าอนามัยจ. ถูกทุกข้อ คำถามข้างต้นเป็นเหตุการณ์ที่ผู้หญิงจำนวนนับไม่ถ้วนต้องพบเจอในแต่ละวัน หรืออาจต้องเผชิญมาทั้งชีวิต ถึงแม้บางคนอาจมองว่าเป็น ‘เรื่องเล็ก’ แต่เชื่อเถอะว่าสิ่งเหล่านี้สร้างความกลัว ความหวาดระแวงในการใช้ชีวิต และความรู้สึกที่ไม่ปลอดภัยในการออกมาส่งเสียงจากการโดนกดทับของสังคม ซึ่งพวกเธอไม่ได้ต้องการเรียกร้องให้ตัวเองมีสิทธิเหนือคนอื่น แต่ต้องการใช้ชีวิตในฐานะมนุษย์คนหนึ่งอย่างเท่าเทียม และไม่ให้ลูกหลานต้องเผชิญกับสิ่งที่พวกเธอเคยเจอ Where Is My Name? – ผู้หญิงอัฟกันไร้สิทธิในการมีตัวตนในสังคม ผู้หญิงในประเทศอัฟกานิสถานไม่มีสิทธิ์เปิดเผยชื่อของตัวเอง แม้กระทั่งป้ายหลุมศพก็ไร้ชื่อพวกเธอ เพราะข้อห้ามอันคร่ำครึของชาวอัฟกันที่เมื่อใครพูดชื่อพี่สาว น้องสาว ภรรยา และแม่ในที่สาธารณะ ถือว่าเป็นเรื่องน่าอับอายและเสื่อมเสียเกียรติ จนผู้หญิงต้องใช้นามสมมติเวลาไปพบคนแปลกหน้า รวมถึงการไปพบแพทย์ด้วย อีกทั้งกฎหมายอัฟกานิสถานอนุญาตให้มีชื่อแค่ ‘พ่อ’ ในใบแจ้งเกิดเท่านั้น ทำให้ผู้หญิงอัฟกันกลุ่มหนึ่งลุกขึ้นมาทำแคมเปญออนไลน์ที่ชื่อว่า #WhereIsMyName เพื่อทวงคืนสิทธิในการมีตัวตนของพวกเธอกลับคืนมา #FreePeriods #Saveผ้าอนามัย – ราคาที่ต้องจ่ายเพียงเพราะ ‘มีประจำเดือน’ ผ้าอนามัยเป็นสิ่งที่ผู้มีประจำเดือนต้องควักเงินจ่ายทุกเดือนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และคนบางกลุ่มไม่สามารถเข้าถึงได้ เพราะราคาไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพ ทำให้ต้องใช้ผ้าอนามัยซ้ำๆ หรือใช้วัสดุทดแทน ซึ่งเสี่ยงต่อปัญหาด้านสุขอนามัย หลายประเทศจึงมีการเรียกร้องให้ผ้าอนามัยเป็นรัฐสวัสดิการ […]

‘ไทยกำลังลืมคนไร้บ้าน’ โควิด-19 ไม่เลือกติดเฉพาะชนชั้น

คุณน่าจะรู้ว่าไทยเป็น ‘ประเทศเดียว’ ที่ประชาชนควักเงินจ่ายวัคซีนทางเลือกเอง และก็ไม่ใช่ทุกคนจะมีสิทธิ์ได้รับวัคซีนด้วยนะ เพราะถ้าไม่มีเงินจ่ายค่าเน็ต ลงทะเบียนในเว็บไซต์หรือแอปฯ ต่างๆ ก็อด บางคนมีเงินแต่ก็ยังจองไม่ได้ เพราะจำนวนวัคซีนที่มีให้จำนวนจำกัด วัคซีนจากรัฐบาลยิ่งไม่ต้องพูดถึง นอกจากให้ Sinovac มาโดยไม่ได้ร้องขอ จนแพทย์ด่านหน้าติดเชื้อ ภูมิคุ้มกันไม่ขึ้น AstraZeneca ชนชั้นกลางยังคงแย่งลงทะเบียนวัคซีน ได้ฉีดบ้าง เลื่อนโดยไม่มีกำหนดบ้าง Pfizer ที่อเมริกาบริจาคให้ แพทย์บางคนก็ยังไม่ได้ฉีด  การเข้าถึงวัคซีนที่ทรหดในไทยนำไปสู่ยอดติดเชื้อโควิด-19 พุ่งสูง โรงพยาบาลรัฐ เอกชน และโรงพยาบาลสนามเต็ม ทำให้ต้องมีระบบ Home Isolation เข้ามา แต่กลับไม่ให้ข้อมูลที่ชัดเจน รัฐแก้ปัญหาด้วยการล็อกดาวน์ แต่ยังทำให้คนตกงาน รายได้หาย คนตายเพิ่ม และใช่ ‘คนนอนตายข้างถนน’ ก็มีเหมือนกัน น่าเศร้าที่คนตายข้างถนนบางส่วนเป็น ‘คนไร้บ้าน’ เร่ร่อน ไม่มีสวัสดิการ ไม่มีโอกาสจองวัคซีน ไม่มีเงินออกนอกประเทศไปฉีดวัคซีนดีๆ เข้าไม่ถึงระบบการรักษา ไม่มีอะไรเลย พวกเขาเป็นเพียงกลุ่มคนที่กำลังจะหมดลมหายใจ เพราะรัฐไทยไร้ความมั่นคง “คนเร่ร่อนคือผลกระทบของทุกปัญหาในประเทศที่ถูกซุกไว้ใต้พรม วันที่มีคนตายข้างถนน และนายกฯ ยืนยันว่า ห้ามมีภาพเหล่านั้นอีก […]

You Me We Us นิทรรศการที่เล่าว่าไม่ว่าชาติพันธุ์ไหนคุณก็คือคน

‘จะดีแค่ไหน ถ้าอยู่ที่ไหนคุณก็ยังเป็นคน’  อาจฟังดูแปลก แต่ความเป็นจริง โลกนี้ยังเต็มไปด้วยคนที่ถูกคนด้วยกันกดขี่ และถูกบังคับให้ไม่เป็นคน เพียงเพราะต่างเพศ ชนชั้น เชื้อชาติ ศาสนา รสนิยม และอุดมการณ์ทางการเมือง แม้ร่างกายมีเลือดเนื้อเหมือนกัน แต่กลับถูกคนด้วยกันตีคุณค่าต่างจนไม่เท่าเทียม และอาจนำไปสู่การทำร้ายและเข่นฆ่า ประเด็นขัดแย้งเรื่องชาติพันธุ์ในสังคมไทยก็เกิดจากสาเหตุคล้ายกัน นั่นอาจเพราะความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมไม่เคยถูกคลี่คลายทำความเข้าใจถ่องแท้ ราวกับว่าการผลักให้คนที่แตกต่างกลายเป็นอื่นจะง่ายกว่าการใช้เวลาเรียนรู้ร่วมกัน เรากำลังพูดถึง You Me We Us นิทรรศการออนไลน์โดย UNDP ประเทศไทย ซึ่งร่วมมือกับเยาวชนกว่า 10 ชาติพันธุ์ และกลุ่มเยาวชนไร้สัญชาติที่มองเห็นช่องโหว่ด้านการรับรู้เกี่ยวกับกลุ่มชนต่างๆ นิทรรศการนี้จึงหยิบความหลากหลายทางเชื้อชาติในสังคมไทยมาบอกเล่าว่าภายใต้ความต่าง เรามีความเหมือน เพียงแค่ระยะห่างทางสังคมอาจทำให้คนเข้าใจกันน้อยเกินไป You Me We Us จึงเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำพาไปสู่การมองเห็นกันมากขึ้น  บนหน้าเว็บไซต์ของนิทรรศการจะชวนทุกคนไปสำรวจเชื้อชาติของตัวเองและคนรอบข้าง ทดสอบความเข้าใจว่ารู้จักเผ่าพันธุ์ไหนบ้าง เพราะไทยไม่ได้มีแค่ไทย แต่มีคนกว่า 60 ชาติพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นคนไทยเชื้อสายจีน ลาวอีสาน กะเหรี่ยง ขมุ ม้ง อาข่า ล้านนา ละว้า มอญ หรือไทใหญ่ ฯลฯ […]

‘หนังไทยไปไกลกว่านี้ ถ้าไม่ถูกปิดปาก’ คุยกับ หมู ไก่ พี่น้องผู้กำกับบ้านบุญประกอบ

เอหิปัสสิโก (Come And See) เป็นภาพยนตร์สารคดีตีแผ่มุมมองความศรัทธาในสถาบันบางอย่างผ่านคดีพระธัมมชโย วัดพระธรรมกาย ลำดับล่าสุดของผู้กำกับ ไก่-ณฐพล บุญประกอบ ที่เกือบถูกเซนเซอร์โดยรัฐไทย แต่ตอนนี้กำลังจะได้ลง Netflix วันที่ 1 สิงหาคม 2564  Friend Zone ระวัง..สิ้นสุดทางเพื่อน เป็นภาพยนตร์โรแมนติกคอเมดี้ว่าด้วยเรื่องราวความสัมพันธ์ของสองเพื่อนสนิทที่ติดอยู่ในเฟรนด์โซน ลำดับล่าสุดของผู้กำกับ หมู-ชยนพ บุญประกอบ ที่โลดแล่นบนจอภาพยนตร์ถึง 13 ประเทศทั่วเอเชีย ‘ไก่’ คนน้อง ชอบเล่าเรื่องจริงในสังคมผ่านสารคดี เพราะอยากเพิ่มจำนวนสารคดีในประเทศไทยที่มีน้อย (มาก) ด้วยปัจจัยเสี่ยงยาวนับพันข้อ ‘หมู’ คนพี่ ชอบทำหนังคอเมดี้ เพราะอยากเห็นคนไทยหัวเราะออกมาดังๆ และการลุ้นว่าคนดูจะขำมุกที่ใส่ไว้ในเรื่องไหม นั่นแหละคือความท้าทาย ทั้งสองมีมุมมองการกำกับ ลีลา และจุดมุ่งหมายต่างกัน แต่การเป็นคนทำหนังเหมือนกันนี่แหละ คือจุดร่วมที่ทำให้ฉันนัดสองพี่น้องบ้านบุญประกอบมาคุยถึงการเลือกให้คุณค่างานศิลปะของรัฐไทย การปิดปากงานสร้างสรรค์ และการไม่ยอมรับความจริง จนทำให้อุตสาหกรรมหนังไทยติดปัญหา ยังไปได้ช้าพอๆ กับการมีวัคซีนโควิด-19 ดีๆ ในประเทศ วงการหนังไทยแบบไหนที่พวกคุณอยากเห็น หมู : อยากเล่าอะไรก็ได้ เพราะคอนเทนต์ดีๆ […]

LGBTQ+ หางานยาก? คุยกับ โกโก้ กวินตรา Trans Woman ผู้สมัครงาน 200 ที่แต่ไม่มีใครเรียก

สมัยนี้อย่าเลือกงานมากเลย แต่ทำไมงานถึงเลือกเพศ?  โดนกาหัวใบสมัครงาน เพราะไม่ใช่ผู้หญิงหรือผู้ชาย ตำแหน่งงานที่จะโปรโมตสำหรับผู้หญิงเท่านั้น เธอไม่ใช่ผู้หญิง อย่ามาแสดงท่าทางตุ้งติ้ง หรือทำตัวเจ้าฮะให้เห็นตอนทำงานล่ะ ถกประเด็นโอกาสเข้าถึงงานของเพศหลากหลายกับ โกโก้-กวินตรา เทียมไสย์ ผู้หญิงข้ามเพศผู้เป็นนักวิจัยนโยบายให้กับองค์กรระหว่างประเทศแห่งหนึ่ง พร้อมกับสร้างโปรเจกต์ She Can เพื่อฝึกทักษะและเตรียมพร้อมเยาวชนคนข้ามเพศให้เติบโตเป็นผู้นำในสังคม ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นหลังจากเธอเรียนจบปริญญาโทด้าน Gender Studies ที่วิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและการศึกษาแอฟริกา มหาวิทยาลัยลอนดอน (SOAS University of London) ด้วยทุนรัฐบาลอังกฤษ ก้าวชีวิตที่ยิ่งใหญ่ ใครจะคิดว่าเธอเคยเป็นเด็กจบใหม่ที่ร่อนสมัครงานไปมากกว่า 200 ใบแต่กลับไม่มีใครเรียกไปสัมภาษณ์ จะว่าคุณสมบัติที่มีไม่เหมาะสมกับงานทั้งสองร้อยงานเลยก็คงไม่ใช่ เธอจึงเชื่อว่าส่วนหนึ่งมาจากเหตุแห่งเพศ เพราะสังคมไทยที่เป็นอยู่ไม่มีทั้งกฎหมายรับรองสถานะทางเพศ ยังคงเหยียด เลือกปฏิบัติ และมอง LGBTQ+ ไม่เท่ากับคนอื่น ไหนว่าอย่าเลือกงาน แต่ทำไมงานถึงเลือกเพศได้? เธอพร้อมแล้วที่จะถกประเด็นให้คุณได้รู้ งานเลือกเพศ งานวิจัยการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของ LGBTI ในประเทศไทยปี 2561 จากธนาคารโลก (World Bank) ซึ่งสำรวจกลุ่ม LGBTQ+ และคนที่ไม่ใช่ LGBTQ+ รวม 3,502 […]

“ผู้หญิงข้ามเพศคือผู้หญิง ถ้าสังคมไม่ยอมรับ ประชาธิปไตยก็จอมปลอมต่อไป” อั้ม เนโกะ

บทความนี้มีประโยค “ผู้หญิงข้ามเพศคือผู้หญิง” 7 ประโยค เทียบไม่ได้กับประโยค “ผู้หญิงข้ามเพศไม่ใช่ผู้หญิง” ที่พวกเธอทั่วโลกฟังมาตลอด เฉลี่ย 10 – 20 ปี ตั้งแต่จำความ ซึ่งคุณไม่สามารถนับนิ้วได้แน่นอนว่ากี่ครั้ง เพราะคงเกินแสนล้าน  “ทำไมไม่เคารพความเห็นที่แตกต่าง พวกเรามีสิทธิ์ไม่ยอมรับผู้หญิงข้ามเพศเป็นผู้หญิง มันคือเสรีภาพทางความคิด” สังคมชายเป็นใหญ่อ้างแบบนั้น ฮึ ขอสบถแด่เสรีภาพทางความคิดที่กำลังผลิตซ้ำความรุนแรงต่อผู้หญิงข้ามเพศ ตั้งแต่คำพูดที่ทำให้เจ็บปวด ขยายไปสู่การเลือกปฏิบัติในสังคม แผ่กว้างไปถึงการกีดกันทางกฎหมาย ถ้าเป็น ‘ไทย’ เข้าโรงเรียนก็ถูกบังคับสวมชุดไม่ตรงเพศสภาพ โตมาหน่อยถูกทำให้จนด้วยการกาหัวใบสมัครงานทั้งๆ ที่ยังไม่ได้อ่านความสามารถ แทบทุกเดือนต้องจ่ายสวัสดิการทางสุขภาพเองทั้งฮอร์โมนและค่าผ่าตัด ต่างจากฝรั่งเศส มอลตา แคนาดา และหลายประเทศแถบยุโรปที่การรักษาพยาบาลเหล่านี้ ‘ฟรี’ ไปให้สุดสำหรับประเทศนี้ที่ไม่มีกฎหมายคุ้มครองผู้หญิงข้ามเพศสักฉบับ ทั้งการเปลี่ยนคำนำหน้า การรับรองเพศสภาพในทะเบียนราษฎร์ หากถูกข่มขืนหรือล่วงละเมิดทางเพศ ก็ไม่สามารถเอาผิดผู้กระทำความผิดได้  ประโยคที่คุณพูดกันว่า “ผู้หญิงข้ามเพศไม่ใช่ผู้หญิง” แน่นอน คุณมีสิทธิ์คิดได้ในใจ แต่คุณไม่มีสิทธิ์แผ่ขยายความอัปยศนี้จนทำให้ผู้หญิงข้ามเพศเป็นกลุ่มแรกที่ได้รับความรุนแรงและถูกฆ่าตายมากที่สุดใน ‘โลก’ และมีอายุขัยเฉลี่ยเพียง 35 ปี เพราะความรุนแรงทางเพศ สังคม เศรษฐกิจ และการไม่เข้าถึงการรักษาพยาบาล ที่ทำให้พวกเธอจบชีวิตลงด้วยการฆ่าตัวตาย (ข้อมูลจาก […]

ติดคุกมีสิทธิ์สุขภาพดีไหม คำถามถึงคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐานของผู้ต้องขังที่กำลังหายไป

อาบน้ำ 8 ขันต่อวัน ต้องเลือกจุดทำความสะอาดที่สำคัญ ขับถ่ายในห้องน้ำขนาดเล็กไม่มีประตู มองเห็นตั้งแต่หัวจรดเท้า นอนรวมกันในห้องขัง 30 – 40 คน หนึ่งในตัวอย่างชีวิตผู้ต้องขังที่เผชิญหลังกำแพงเรือนจำในประเทศไทย ความลำบากตั้งแต่ลืมตาตื่นยันหลับตานอนอาจไม่เกินจริงไปนัก เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ตัวเลขการติดโควิด-19 ยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีทีท่าว่าจะลดลง ทั้งยังมีประกาศตรวจพบผู้ติดเชื้อกลุ่มใหม่กว่า 10,000 ราย กระจายอยู่ในเรือนจำกว่า 10 แห่งในหลายจังหวัดทั่วประเทศ  โดยสถานการณ์หนักสุดอยู่ที่เรือนจำและทัณฑสถานในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และเรือนจำขนาดใหญ่ที่ จ.เชียงใหม่ ซึ่งหลังจากข่าวนี้แพร่ออกไป พาเอาหลายคนตกอกตกใจไปตามๆ กัน ในสื่อโซเชียลเริ่มมีการแชร์ภาพการเป็นอยู่ของผู้ต้องขังที่ต้องนอนเรียงราย บ้างก่ายกอดกันจนแทบไม่มีช่องว่างให้นึกถึง Social Distancing เลยด้วยซ้ำ จากเหตุการณ์ครั้งนี้ อาจต้องย้อนกลับไปมองและคิดให้ถ้วนถี่ว่าแท้จริงแล้วการใช้ชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำนั้นเหมาะสม และถูกสุขลักษณะหรือไม่ แต่ช้าก่อนอย่าเพิ่งคิดว่า ทำไมล่ะ นั่นเรือนจำนะ จะให้สะดวกสบายเหมือนอยู่บ้านได้ยังไง คนทำความผิดจะต้องได้รับการดูแลอย่างดีงั้นเหรอ หยุดก่อน…เรากำลังพูดถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์คนหนึ่งควรได้รับต่างหาก และยิ่งในสถานการณ์ที่ประเทศเรามีโรคระบาดหนักแบบนี้ พวกเขาควรได้รับการดูแลไม่ต่างกันกับคนที่อยู่ข้างนอก สอดคล้องกับข้อมูลของสหพันธ์เพื่อสิทธิมนุษยชนสากล (FIDH) ที่ว่า เรือนจำในประเทศไทยมีนักโทษมากเป็นอันดับ 6 ของโลก แต่กลับไม่ได้มาตรฐานสากลเลยสักที่ เพราะไม่ผ่านการประเมินตามหลักที่กำหนดไว้ เช่น […]

1 2 3 4

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.