PEOPLE
ฟังเสียง ‘คนตัวเล็ก’ ไปจนถึง ‘คนตัวใหญ่’ ที่จะมาถ่ายทอดแนวคิด มุมมอง รวมถึงแรงบันดาลใจ เพื่อสะท้อนสังคมที่มีความหลากหลาย เพราะเสียงของทุกคนล้วนสำคัญ
The Professional | ศึกษาศิลปะการออกแบบดอกไม้กับร้าน Flower in Hand by P.
หากพูดถึงร้านขายดอกไม้ เรามักจะนึกถึงอาชีพคนจัดดอกไม้ แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบว่าในแวดวงนี้มีอาชีพ ‘นักออกแบบดอกไม้’ ด้วย ‘แพร พานิชกุล’ คือนักออกแบบดอกไม้และเจ้าของร้านดอกไม้ Flower in Hand by P. ผู้เริ่มต้นอาชีพนี้จากความหลงใหลในดอกไม้ ก่อนเริ่มหันมาใส่ใจกระบวนการผลิตของตัวเองมากขึ้น ทั้งในแง่ดีไซน์และสิ่งแวดล้อม โดยมีความหวังว่าธุรกิจของเธอจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความครีเอทีฟให้กับเมือง และสามารถอยู่ร่วมกับคนและโลกได้อย่างเป็นมิตรไปพร้อมๆ กัน
Thai Lebenspartner บริษัทจัดหาคู่ที่ไม่ได้เกิดจากความรักอย่างเดียว แต่เกิดจากความต้องการที่ขาดไป
ลมหนาวหวนคืนมาในทุกๆ สิ้นปี ถนนถูกปกคลุมไปด้วยความเงียบสงัด ท้องฟ้าเป็นสีควันบุหรี่รอวันผลัดเปลี่ยนฤดูกาล ผมเชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องพลัดถิ่นฐานออกจากบ้านเกิดด้วยเหตุผลบางประการ ไม่ว่าจะเป็นการหลีกหนีวิถีชีวิตเดิมที่ย่ำแย่ การออกเดินทางเพื่อแสวงโชค การไปศึกษาต่อในสถาบันต่างแดน และอื่นๆ อีกมากมายที่รวมถึงเรื่องของชีวิตคู่ด้วย ผมเดินทางมายัง Koblenz เมืองที่อยู่ทางฝั่งทิศตะวันตกเฉียงเหนือไม่ใกล้ไม่ไกลนักจากเมือง Frankfurt ประเทศเยอรมนี เพื่อพูดคุยกับ ‘พิมพ์พัฒน์ มาตรังศรี เมนด์ลิ่ง’ หรือพี่พิมพ์ เจ้าของธุรกิจเกี่ยวกับการจัดหาคู่ Thai Lebenspartner (คู่ชีวิตไทย-เยอรมัน) ที่อาศัยอยู่ในเมืองนี้เป็นเวลากว่าสิบหกปีแล้ว ผมเชื่อว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจนี้ได้ ทั้งในเรื่องของการทำงานและเหตุผลต่างๆ ในการประกอบธุรกิจ ไปจนถึงเหตุผลที่ผู้หญิงไทยจำนวนไม่น้อยเลือกที่จะแต่งงานกับชาวต่างชาติ ครั้งนี้นับว่าเป็นโชคดีที่พี่พิมพ์เปิดโอกาสให้ผมได้ทำความรู้จักกับเรื่องราวของธุรกิจนี้ ผ่านบทสนทนากับพี่พิมพ์ เกือบสามสิบปีที่ผ่านมาก่อนพลัดถิ่นฐาน เราทำมาหลายอย่างมาก เริ่มทำงานจริงๆ ตั้งแต่อายุสิบเจ็ด เรียนไปด้วยทำงานไปด้วย เริ่มต้นจากการเป็นสาวโรงงานที่โรงงานผลิตฮาร์ดดิสก์แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ เราทำได้แค่สามปีก็ลาออก เนื่องจากเราเป็นคนชอบพัฒนาตนเองและอยากเรียนรู้ทักษะอื่นๆ นอกเหนือจากสิ่งที่ทำซ้ำๆ ทุกๆ วัน ตอนนั้นเราอยากพูดภาษาอังกฤษได้ แต่ด้วยความที่ไม่มีทุนทรัพย์มากพอที่จะไปลงคอร์สเรียนภาษา เราเลยตัดสินใจเข้าไปทำตำแหน่งประชาสัมพันธ์ที่โรงเรียนสอนภาษาแทน ตรงนี้เองที่ทำให้เราได้รู้จักคนเพิ่มและได้ถูกชักชวนให้ไปทำงานในสายงานนำเข้าและจัดจำหน่ายคอมพิวเตอร์ ในตอนนั้นโฮมคอมพิวเตอร์ถือว่าเป็นสิ่งใหม่และเป็นที่นิยมในสังคมมาก แต่หลังจากนั้นไม่นานทั้งประเทศก็เจอกับวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง บริษัทที่เราทำอยู่ก็ได้รับผลกระทบมาก แต่เจ้านายเขาไม่อยากเลย์ออฟพนักงาน เลยเลือกปรับโครงสร้างบริษัทจากเดิมที่มีเพียงแค่การนำเข้าและจัดจำหน่ายคอมพิวเตอร์เพิ่มมาเป็นบริการ One Stop Service คือรับทำงานเอกสาร ไม่ว่าจะพิมพ์งาน […]
ฮาวทูชาร์จแบตฯ กายใจในเมืองใหญ่ที่ดูดพลังเราทุกวัน คุยกับนักละครบำบัด ‘กิ๊ฟท์ ปรีห์กมล’
ในฐานะคนที่จากบ้านเกิดมาอยู่เมืองใหญ่หลายปี สิ่งที่ทำใจให้ชินไม่ได้สักทีคือความรู้สึกไม่มีพลังในการควบคุมสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ฉันไม่อาจเรียกตัวเองว่าเพื่อนสนิทกับขนส่งสาธารณะ ไม่ชอบความแออัด กะเวลาไม่ได้ ถ้าจะเดินทางครั้งหนึ่งก็ต้องเผื่อเวลาอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง ไหนจะฝุ่นควันในอากาศและสถานการณ์บ้านเมืองที่ทำให้หัวร้อนได้ทุกวัน ‘เมืองนี้สูบพลัง’ คือความคิดตั้งแต่วันแรกที่มาอยู่ที่นี่จนถึงปัจจุบัน ความรู้สึกต่อมาที่หลายคนน่าจะมีเหมือนกันคือ ‘ฉันอยากออกไปจากที่นี่ แต่ยังไปไหนไม่ได้’ ด้วยเหตุผลนับร้อยพันที่แต่ละคนมีไม่เหมือนกันคอยฉุดรั้งไว้ นั่นคือเหตุผลที่ฉันมาพบกับ ‘กิ๊ฟท์-ปรีห์กมล จันทรนิจกร’ หญิงสาวผู้ที่หลายคนอาจรู้จักในฐานะผู้ก่อตั้ง Ma.D Club for Better Society กิจการเพื่อสังคมที่ซัปพอร์ตกลุ่มคนผู้อยากสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีในสังคมเมื่อหลายปีก่อน ประสบการณ์เกี่ยวกับสุขภาพจิตจากตัวเธอเองและคนรอบข้างในช่วงเวลานั้น ทำให้ปรีห์กมลสนใจด้านจิตใจและการบำบัดมากขึ้นไปอีก โดยเฉพาะละครบำบัดที่ทำงานกับเธอได้ดีเป็นพิเศษ หลังจาก Ma.D ปิดตัวลงในปลายปี 2018 เธอจึงเดินทางไปเรียนต่อ MA Drama and Movement Therapy ที่ The Royal Central School of Speech and Drama ประเทศอังกฤษ และกลับมาทำงานที่นี่ในฐานะนักละครบำบัด และในฐานะคนทำงานเกี่ยวข้องกับร่างกายและจิตใจอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ปรีห์กมลคือคนที่เราอยากขอคำปรึกษาเรื่องการกลับมาดูแลกายใจในเมืองสูบพลังที่เรา (จำเป็น) ต้องใช้ชีวิตอยู่ เล่าให้ฟังหน่อยสิว่าหลักของละครบำบัดที่คุณทำอยู่คืออะไร และมันต่างจากการบำบัดแบบอื่นอย่างไร สำหรับเรา […]
เป้าหมายปีใหม่นี้คือ ‘พักผ่อน ทำงาน พักผ่อน ทำงาน’ เพื่อปลอบประโลมหัวใจอย่างแท้จริง
หลายคนที่ทำงานอยู่กรุงเทพฯ โดยเฉพาะใครที่ย้ายจากบ้านในต่างจังหวัดมาปักหลักใช้ชีวิตและฝากความหวังความเจริญไว้กับเมืองใหญ่นี้ สิ่งหนึ่งที่ต้องทุ่มสุดตัวเสมอมาคือ ‘หน้าที่การงาน’ เพราะนั่นหมายถึงความก้าวหน้าในอาชีพของตัวเอง การมีเงินมากพอที่จะอยู่อย่างสบายและไม่ทำให้ครอบครัวต้องลำบาก และการมีตัวตนอย่างภาคภูมิใจในสังคมที่คนจะล้นเมืองแห่งนี้ ‘ทำงาน ทำงาน ทำงาน’ คงเป็นสโลแกนที่ใครๆ ได้ยินบ่อยมากเมื่อปีที่ผ่านมา ปีนี้เราเลยอยากชวนให้ลองมาปรับสมดุลชีวิตเป็น ‘พักผ่อน ทำงาน พักผ่อน ทำงาน พักผ่อน ทำงาน’ จะได้ไหม เพราะเราเชื่อว่ายิ่งวันเวลาผ่านไป สังคมที่มีแต่การแข่งขันขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งทำให้เราหลงลืมไปเลยว่าการพักผ่อนนั้นไม่ใช่แค่สิ่งสำคัญ แต่เป็น ‘ที่สุดของความจำเป็น‘ เราเลยอยากชวนทุกคนมาลองสร้างความตั้งใจใหม่จากที่ผ่านมา หลายคนอาจทุ่มให้งานจนหมดตัวแล้ว ปีนี้ลองมาเผื่อพื้นที่อบอุ่นๆ ให้การพักผ่อนเพื่อหัวใจที่ชุ่มชื่นขึ้นบ้างดีกว่า โทรศัพท์ยังชาร์จทุกวันเลย ทำไมไม่ยอมชาร์จแบตฯ ร่างกาย ไม่รู้มีใครเป็นเหมือนเราหรือเปล่า วันไหนที่รู้สึกตัวเองนิสัยไม่ดี หงุดหงิดอะไรไปทั่ว จะมานึกขึ้นได้ทีหลังว่าวันนั้นนอนน้อย พอๆ กับคนรักสุขภาพทั้งหลายที่เห็นด้วยเป็นเสียงเดียวกันว่า ถ้าวันนั้นต้องเลือกระหว่างการ ‘นอนให้พอ’ หรือ ‘ไปออกกำลังกาย’ ขอเลือกการนอนมาก่อนเสมอ เพราะร่างกายเราจะแข็งแรงหรือสุขภาพจิตจะดีขึ้นไม่ได้เลย ถ้ารากฐานของเรานั้นสั่นคลอน เมื่อไหร่ที่เหลือบมองโทรศัพท์มือถือแล้วเห็นแบตฯ เหลืออยู่รอมร่อ เราจะรีบหาที่ชาร์จอย่างไม่มีรีรอ ในขณะเดียวกัน หากความเหนื่อยล้าที่สั่งสมมานานในวันนั้นหรือตลอดสัปดาห์นั้น ทำให้พลังการใช้ชีวิตของเราเหือดแห้งเต็มที สิ่งที่จะดูสมเหตุสมผลที่สุดคือการชาร์จพลังของเราให้ไปต่อได้นั่นเอง ไม่ใช่ทู่ซี้ทำสิ่งที่ทำอยู่ต่อไปอย่างไม่ยอมฟังเสียงร่างกาย การพักผ่อนเพื่อดูแลตัวเองให้ดี คือการว่ายทวนกระแสสังคมทุนนิยมที่บ้าคลั่ง […]
สำรวจเมืองขอนแก่นกับ Isan BCG Expo เรียนรู้การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน
ในภูมิภาคอีสาน โดยเฉพาะจังหวัด ‘ขอนแก่น’ นั้นอุดมไปด้วยวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาร การเกษตร ศิลปะ ดนตรี และอัตลักษณ์อย่างวัฒนธรรมพื้นบ้าน ฯลฯ จากความรุ่มรวยเหล่านี้เอง ทำให้เกิด ‘Isan BCG Expo 2022’ หรืองานมหกรรมนวัตกรรมยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอีสานและเป็นครั้งแรกในไทย เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา Isan BCG Expo 2022 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด ‘Collaboration : ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ’ ณ Khon Kaen Innovation Centre (KKIC) โดยกระจายการจัดงานไปยังบริเวณโดยรอบครอบคลุมดาวน์ทาวน์ของจังหวัด เช่น ย่านศรีจันทร์ เทศบาลเมืองขอนแก่น และถนนไก่ย่าง งานครั้งนี้ได้มีการนำเสนอโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน BCG (Bio, Circular, Green Economy) ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญต่ออนาคตของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย ที่จะเข้ามามีส่วนช่วยพัฒนาชุมชนและรากฐานเศรษฐกิจให้เข้มแข็งขึ้น ด้วยการผสมผสานทุนทางทรัพยากร อัตลักษณ์ ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ทำให้สิ่งที่มีอยู่แล้วเกิดคุณค่าและมีมูลค่าเพิ่มขึ้น จากการได้ไปสำรวจขอนแก่นผ่านแว่นของงาน Isan BCG Expo 2022 […]
‘ฟิว-ชัพวิชญ์ เต็มนิธิกุล’ นักแต่งดนตรีประกอบภาพยนตร์รุ่นใหม่ | THE PROFESSIONAL
“ดนตรีประกอบสำคัญกับภาพยนตร์ไหมคงฟันธงไม่ได้ แต่เก้าสิบเปอร์เซ็นต์ของภาพยนตร์บนโลกนี้มีดนตรีอยู่ในนั้น”.อย่างที่หลายคนเข้าใจ ภาพยนตร์เป็นสื่อที่มีองค์ประกอบของทั้งภาพและเสียงผสมกัน ร้อยเรียงออกมาเป็นชุดเรื่องเล่าที่ให้ข้อมูล ให้ความเข้าใจ ให้ความรู้สึกกับผู้ชม ‘เสียงดนตรี’ เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่หลายคนอาจไม่ทันสังเกตเพราะไม่สามารถมองเห็นได้ แต่เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ต้องการคนชำนาญเฉพาะด้านมาสร้างสรรค์ .THE PROFESSIONAL ชวนดูเบื้องหลังการทำงานของ ‘ฟิว-ชัพวิชญ์ เต็มนิธิกุล’ นักทำดนตรีประกอบภาพยนตร์รุ่นใหม่ ที่ฝากผลงานไว้ทั้งในภาพยนตร์ไทยและต่างประเทศ รวมถึงสำรวจแนวคิดหลังตัวโน้ตของเพลงที่คุณได้ยินผ่านจอภาพยนตร์ที่สำคัญไม่แพ้ภาพเคลื่อนไหว #UrbanCreature #TheProfessional #Score #FilmScoring #MusicComposer #Producer #นักแต่งดนตรีประกอบภาพยนตร์ #ดนตรีประกอบ #เพลงประกอบ #นักทำเพลง
DiStar Fresh Farm โรงงานปลูกผักระบบปิดที่ไม่ง้อฤดูกาลแห่งแรกในไทย
จะดีแค่ไหนถ้าเมืองไทยมีฟาร์มที่สามารถปลูกผักได้ตลอดทั้งปีโดยไม่ขึ้นกับฤดูกาล ส่วนผลผลิตยังปลอดภัยสูงและมีคุณภาพคงที่ด้วย แนวคิดนี้เกิดขึ้นจริงแล้วที่ DiStar Fresh Farm โรงงานผลิตพืชที่พลิกโฉมการปลูกผักในพื้นที่เปิดโล่งแบบเดิมๆ ให้เป็นการปลูกผักในฟาร์มแนวตั้ง ที่ควบคุมสภาพแวดล้อมได้ แถมยังสะอาดปลอดภัย เพราะไม่ต้องใช้ดินหรือยาฆ่าแมลง สะอาดถึงขั้นที่ว่าสามารถเก็บผักกินกันสดๆ จากต้นโดยไม่ต้องล้างเลย วันนี้ Urban Creature ขอพาทุกคนไปพูดคุยกับ ‘กฤษณะ ธรรมวิมล’ และ ‘สานสิน ศรีภิรมย์รักษ์’ เกษตรกรผู้อยู่เบื้องหลัง DiStar Fresh Farm ถึงแนวทางและปัจจัยสำคัญในการทำฟาร์มผักแนวตั้ง ที่จะช่วยสร้างความยั่งยืนให้แก่ภาคเกษตรกรรม และตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุคปัจจุบันมากขึ้น
ฐาปณี หลูสุวรรณ ผู้กำกับ Blue Again กับสถานะ ‘ไม่เป็นคนของที่ไหนเลย’ ในชีวิตและวงการหนัง
ฐาปณี หลูสุวรรณ เป็นลูกครึ่งอีสาน-จีน เกิดที่กรุงเทพฯ แต่ไปโตที่สกลนคร ก่อนจะเข้ามาเรียนหนังและทำงานในกรุงเทพฯ อีกครั้ง เธอพูดอีสานไม่คล่องปร๋อ แต่พอพูดไทยกลางก็ติดเหน่ออีสานจนโดนล้อ เหนือความซับซ้อนและย้อนแย้งทั้งปวงในตัวเธอ สิ่งหนึ่งที่แน่ชัดและไม่เคยเปลี่ยนแปลงคือ ฐาปณีไม่เคยรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนของที่ไหนเลย เหมือนกับ ‘เอ’ ตัวละครเอกใน Blue Again หนังเรื่องแรกในชีวิตของเธอ ผู้เป็นลูกครึ่งที่มีพ่อเป็นคนขาว แม่เป็นคนสกลนคร แต่ตัวเองกลับรู้สึกแปลกแยกจากสังคมรอบตัวไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน หากจะมีใครหรือสิ่งใดที่เอเรียกว่าเพื่อนได้เต็มปาก หนึ่งคือ ‘เมธ’ เพื่อนชายที่รู้จักกันตั้งแต่มัธยมฯ แต่ต้องแยกย้ายกันไปหลังเรียนจบ อีกสิ่งคือ ‘คราม’ วัตถุดิบย้อมผ้าที่เธอเติบโตมาด้วยกันตั้งแต่เด็ก ในทางหนึ่ง Blue Again คือเครื่องบันทึกความรู้สึกโดดเดี่ยวและเป็นอื่นที่ผู้กำกับอย่างฐาปณีรู้สึกมาตลอด แต่ในอีกทางหนึ่ง นี่คือผลพิสูจน์ความรักที่มีต่อการทำหนังของผู้หญิงคนหนึ่ง ผู้นิยามตัวเองว่าเป็นคนกลางๆ ไม่โดดเด่น และแม้จะไม่รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนของที่ไหน แต่แวดวงที่มั่นใจว่าอยากผลักตัวเองเข้าไปคือวงการผู้กำกับ นับแต่วันแรกเริ่ม Blue Again ใช้เวลาถึง 8 ปีกว่าจะได้ออกมาสู่สายตาผู้ชม และหนังเรื่องนี้ยังได้เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลไปฉายที่เทศกาลหนังปูซานในสาขา New Currents ที่มีหนังเพียงไม่กี่เรื่องได้เข้ารอบ พิสูจน์ในตัวมันเองแล้วว่าเป็นหนังที่พิเศษแค่ไหน แต่ใน 8 ปีของ Blue Again […]
‘เราโดน Gaslight หรือเผลอไป Gaslight ใครหรือเปล่า’ บอกทีว่าความสัมพันธ์ที่ดีต่อใจยังมีอยู่จริง
คำว่า ‘Gaslight’ เป็นคำที่คนค้นหาความหมายมากที่สุดในปี 2022 จากเว็บไซต์พจนานุกรมชื่อดัง Merriam-Webster เราจึงคิดว่าควรจะพูดถึงคำนี้ในหลากหลายแง่มุมให้มากที่สุดเกี่ยวกับการ Gaslight (แก๊สไลต์) ทางเว็บไซต์ได้ให้ความหมายคำนี้ที่เข้าใจอย่างเห็นภาพไว้ว่า ‘The act or practice of grossly misleading someone, especially for one’s own advantage.’ หรือแปลเป็นไทยคือ การกระทำบางอย่างที่ตั้งใจทำให้อีกฝ่ายเข้าใจผิด บิดเบือนความจริง เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ต้นกำเนิดของคำนี้มาจากหนังเรื่องหนึ่งในปี 1944 เป็นหนังที่เก่ามากขนาดว่าภาพยังเป็นสีขาว-ดำอยู่เลย หนังเรื่องนี้มีชื่อว่า Gaslight ตรงตัว ว่าด้วยเรื่องราวของ Paula สาวน้อยผู้อ่อนโยน ไร้เดียงสา ที่เผชิญเหตุการณ์เลวร้าย เห็นป้าแท้ๆ ถูกฆาตกรรมต่อหน้าต่อตาในบ้านของตัวเองที่เมืองลอนดอน หลายปีต่อมา เธอเดินทางไปยังประเทศอิตาลี และพบรักกับชายหนุ่มถึงขั้นตัดสินใจแต่งงาน ก่อนเดินทางกลับมาอยู่ที่บ้านหลังใหญ่ของเธอในลอนดอน ซึ่งเป็นมรดกของคุณป้านั่นเอง จุดพลิกผันของเรื่องคือการที่ผู้ชายคนนี้เห็น Paula รวยอู้ฟู่ ก็หวังจะฮุบทรัพย์สินมรดกทุกอย่างของหญิงสาวเอาไว้เอง โดยใช้วิธีการกลั่นแกล้ง ตั้งใจทำให้เธอรู้สึก ‘เป็นบ้า’ ซึ่งคำว่า Gaslight ก็มาจากตะเกียงไฟสมัยก่อน […]
หนึ่งวันกับ ‘PASAYA’ โรงงานสิ่งทอที่เชื่อว่าคุณภาพสินค้าจะดีขึ้นตามคุณภาพชีวิตพนักงาน
เมื่อก้าวขาลงรถ แดดร้อนจ้าต้นฤดูหนาวก็ดูจะเย็นขึ้นบ้างจากสภาพแวดล้อมรอบตัวที่มีต้นไม้ให้เห็นกว่าในเมือง เช่นเดียวกับสีเขียวที่เป็นส่วนผสมหลักในโรงงานแห่งนี้ PASAYA (พาซาญ่า) คือแบรนด์สิ่งทอชื่อดังของไทย ก่อตั้งโดย ‘ชเล วุทธานันท์’ ที่มีแนวคิดการส่งเสริมความยั่งยืนเรื่องสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ปี 1990 ย้อนกลับไปในปี 1986 ซึ่งเป็นยุคทองของการส่งออก สิ่งทอถือได้ว่าเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของไทย ชเลรับช่วงต่อโรงงานชื่อ ‘สิ่งทอซาติน’ ที่ตั้งอยู่แถวพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการจากพ่อ ที่นั่นเป็นพื้นที่เล็กๆ มีเครื่องจักรทอผ้าเก่าๆ 20 เครื่อง พนักงานไม่ถึง 50 คน โรงงานอยู่ในสภาพไม่ค่อยดีนัก ทว่าการได้ไปใช้ชีวิตในโรงงานแห่งนั้นเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เขาเกิดแรงบันดาลใจในการสร้างโรงงานแห่งใหม่ที่จังหวัดราชบุรีขึ้น เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าต่อผู้ใช้ และทำประโยชน์ต่อสังคมรวมถึงโลกใบนี้ด้วย หนึ่งวันในโรงงานพาซาญ่าเริ่มต้นแล้ว เราจะพาไปดูกันว่าเกือบ 30 ปีที่ผ่านมา PASAYA ซึ่งเป็นธุรกิจหลักในวงการอุตสาหกรรมสิ่งทอที่ใช้พลังงานในการผลิตจำนวนมาก และปล่อยมลภาวะที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมนั้นมีการปรับตัวธุรกิจอย่างไร เพื่อให้เกิดความสมดุลต่อการมีอยู่ของโลกใบนี้ แพศยา ที่หมายถึงความสวย ฉลาด นอกกรอบ และสง่างาม ‘แพศยา’ เป็นคำไทย จำง่าย ทุกชาติออกเสียงตามได้ ชเลจึงเลือกตั้งเป็นชื่อโรงงาน เนื่องจากเขามองเห็นว่าคนที่ถูกด่าด้วยคำนี้ล้วนแล้วแต่มีคุณสมบัติ สวย ฉลาด คิดนอกกรอบ และมีความสง่างาม ซึ่งตรงกับความตั้งใจในการสร้างแบรนด์ PASAYA […]
Sak’54 ผู้ทำอาชีพช่างซ่อมกีตาร์มานานกว่า 20 ปี | The Professional
เขาว่ากันว่า อาชีพช่างซ่อมกีตาร์เปรียบเสมือนหลังบ้านของศิลปิน ไม่ว่าจะเป็นศิลปินโด่งดังระดับไหน ย่อมต้องการช่างซ่อมเครื่องดนตรีคู่ใจที่เชื่อมือได้ด้วยกันทั้งนั้น หากย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 20 ปีก่อน อาชีพช่างซ่อมกีตาร์อาจยังไม่ได้เป็นที่รู้จักแพร่หลายนัก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะย่านการค้าที่เกี่ยวกับเครื่องดนตรีกระจุกตัวอยู่ภายในเวิ้งนครเกษมเพียงจุดเดียว ทว่าเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ธุรกิจเครื่องดนตรีก็เริ่มกระจายตัวออกไปยังย่านอื่นๆ มากขึ้น Urban Creature ชวนไปทำความรู้จักและฟังเรื่องราวของ Sak’54 ช่างซ่อมกีตาร์ผู้ชำนาญการกว่า 20 ปี ตั้งแต่ยุคเวิ้งนครเกษมจนมาถึงยุคปัจจุบันที่เขาออกมาเปิดกิจการรับซ่อมกีตาร์เป็นของตัวเอง นอกจากศาสตร์การซ่อมบำรุงกีตาร์ที่น่าสนใจแล้ว ที่ผ่านมาเขาได้เรียนรู้สิ่งใดบ้างกับการเป็นหลังบ้านให้ศิลปินที่มีชื่อเสียงในแต่ละยุคสมัย ตามไปเปิดหลังบ้านของช่างศักดิ์พร้อมๆ กัน
เมื่อการดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อม ทำให้คนดูแลป่วยไข้ไม่แพ้กัน
หลายครั้งที่เราเห็นโซเชียลมีเดียหยิบเอาสถานการณ์คู่รักผู้สูงอายุที่คนหนึ่งมีอาการความจำเสื่อม มาโรแมนติไซซ์ในแง่ต่อให้หลงลืมแต่อีกคนก็ยังตกหลุมรักผู้เป็นสามี/ภรรยาเหมือนเดิม แน่นอนว่าหลายคนก็คงมองว่าเป็นความน่ารักและอยากมีความสัมพันธ์แบบนี้บ้าง แต่สำหรับผู้ที่ต้องทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อม คลิปแค่ไม่กี่วินาทีนั้นอาจเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ที่เขาต้องเจอทุกวัน วันละหลายๆ ครั้ง จนไม่อาจทำใจชอบภาวะนี้ได้ ในช่วงเวลาที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว ซึ่งคาดเดาได้ไม่ยากว่าจะต้องมีผู้ป่วยความจำเสื่อมเพิ่มจำนวนขึ้น พอๆ กับที่จะมีคนต้องรับบทบาทเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยมากขึ้นเช่นกัน เราจึงอยากสร้างความเข้าใจให้สังคมรับรู้ว่า นอกจากผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลแล้ว ผู้ดูแลคนป่วยก็ควรได้การดูแลเช่นกัน ในฐานะกลุ่มคนที่เชี่ยวชาญและทำงานเรื่องนี้มาอย่างยาวนาน ‘รศ. พญ.วรพรรณ เสนาณรงค์’ และ ‘อรรถพล’ นักจิตวิทยาแห่งคลินิกความจำ และคลินิกสมองเสื่อมก่อนวัย รพ.ศิริราช จะมาแลกเปลี่ยนถึงสิ่งที่ผู้ดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อมต้องพบเจอ รวมถึงสิ่งที่คนรอบข้างและสังคมควรทำความเข้าใจทั้งกับตัวผู้ป่วยและคนที่ทำหน้าที่ดูแล ผู้ดูแลผู้ป่วยส่วนใหญ่คือลูกหลาน หลายคนอาจเข้าใจว่าสมองเสื่อมเป็นอาการของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์อย่างเดียว แต่ความจริงแล้วอาการสมองเสื่อมปรากฏได้กับผู้ป่วยโรคอื่นๆ ด้วย เช่น โรคหลอดเลือดในสมองที่คนไทยเป็นกันมาก โรคพาร์กินสัน เนื้องอกสมอง เป็นต้น นอกจากอาการสมองเสื่อม หลงๆ ลืมๆ แล้ว ผู้ป่วยยังมักมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยตามโรคที่เป็น ยกตัวอย่าง พฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ฉุนเฉียว ก้าวร้าว เดินไปเดินมา เห็นภาพหลอน ท้อแท้ นั่งนิ่งเฉย ฯลฯ ทักษะการใช้ภาษาที่เสื่อมถอย จดจำสิ่งใหม่ๆ ไม่ได้ เรียกชื่อสิ่งของไม่ถูก […]