PEOPLE
ฟังเสียง ‘คนตัวเล็ก’ ไปจนถึง ‘คนตัวใหญ่’ ที่จะมาถ่ายทอดแนวคิด มุมมอง รวมถึงแรงบันดาลใจ เพื่อสะท้อนสังคมที่มีความหลากหลาย เพราะเสียงของทุกคนล้วนสำคัญ
ทำอย่างไรให้ ‘บ้าน’ ไม่ใช่ ‘ฝัน’ ที่ไกลเกินเอื้อม คุยเรื่องนโยบาย Public Housing กับ ‘รศ. ดร.บุษรา โพวาทอง’
ต้องมีเงินเท่าไหร่ถึงจะซื้อ ‘บ้าน’ ได้หนึ่งหลัง เมื่อพูดถึงคำว่า ‘บ้าน’ นิยามของแต่ละคนอาจต่างกันออกไป บ้างมองเป็นเพียงพื้นที่หลับนอน โครงสร้างหนึ่งที่มีหลังคาคลุม ขณะที่บางคนยกให้บ้านเป็นมากกว่านั้น เป็นพื้นที่ปลอดภัย เป็นเครื่องหมายของความสำเร็จ หรือเป็นสินทรัพย์ที่สามารถลงทุนต่อยอดได้ในอนาคต คำว่าบ้านจึงไม่ใช่เพียงแค่สิ่งปลูกสร้าง แต่ยังสะท้อนถึงคุณภาพชีวิตและความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจของใครหลายคน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันราคาที่อยู่อาศัยไต่ระดับสูงขึ้นจนเกินกว่ารายได้เฉลี่ยของประชากรส่วนใหญ่ การมีบ้านอาจกลายเป็นความฝันที่ไกลเกินเอื้อมสำหรับคนไทยยุคนี้ เพราะต่อให้ทำงานเก็บเงินทั้งชีวิตก็ยากที่จะคว้าบ้านในฝันมาได้ และมีไม่น้อยที่จำเป็นต้องอาศัยในบ้านที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต หรือบางคนอาจไม่มีบ้านให้กลับในวันที่เหนื่อยล้าด้วยซ้ำไป วันนี้คอลัมน์ Think Thought Thought จะพาทุกคนไปร่วมหาคำตอบว่า ‘เราจะทำอย่างไรให้ ‘บ้าน’ ไม่ใช่ฝันที่ไกลเกินเอื้อม’ กับ ‘รศ. ดร.บุษรา โพวาทอง’ อาจารย์ประจำภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผ่านการทำความเข้าใจนโยบายที่อยู่อาศัยผ่านแนวคิด ‘ที่อยู่อาศัยที่รัฐอุดหนุน’ (Public Housing) หรือการที่ภาครัฐออกแบบนโยบายให้ประชาชนสามารถเข้าถึงที่อยู่อาศัยได้ในราคาที่เหมาะสม พร้อมช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ที่อยู่อาศัย : ปัจจัยพื้นฐานที่สะท้อนคุณภาพชีวิต “ที่อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในพื้นฐานปัจจัยสี่ของการดำรงชีวิตมนุษย์ที่ไม่ค่อยถูกพูดถึง เพราะหลายคนเกิดมามีบ้านอยู่แล้ว ทว่าอย่าลืมว่ายังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง หรือมีแต่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมกับการอยู่อาศัย” บุษราอธิบายถึงความสำคัญของที่อยู่อาศัย สิ่งที่บุษราทำคือการชวนให้เราหันกลับมาทบทวนบทบาทของ ‘บ้าน’ ในฐานะหนึ่งในปัจจัย 4 ซึ่งเป็นความจำเป็นพื้นฐานที่ขาดไม่ได้ เพราะบ้านไม่ได้เป็นเพียงที่พักพิงทางกาย […]
จะมีช่วงเวลาไหนเหมาะสมกับการชำระล้างจิตใจตัวเองเท่าช่วงสิ้นปี ชวนมาสำรวจด้านมืดที่แอบอยู่ลึกๆ ในตัวเรากัน
ไม่มีใครอยากยอมรับและสบตาด้านมืดของตัวเองนักหรอก หลายคนอยากจะลบหรือปัดมันออกไปให้ไกลด้วยซ้ำ แต่ความจริงที่ไม่น่าสนุกนักคือ การเปิดประตูสู่ความดาร์กหรือสบตากับด้านมืดของเรา นับเป็นหนึ่งในเส้นทางที่จำเป็นมากๆ ในการทำความรู้จักตัวเองอย่างลึกซึ้ง เพื่อเริ่มเยียวยาปมปัญหาที่มี หากย้อนไปถึงผู้เริ่มศึกษาด้านมืดของจิตใจมนุษย์ มีจิตแพทย์รุ่นบุกเบิกท่านหนึ่งชื่อ ‘คาร์ล ยุง’ (Carl Jung) เคยอธิบายไว้ว่า เงามืดในจิตใจมนุษย์ (Shadow) เป็นด้านมืดของนิสัยเรา เป็นมวลอารมณ์ด้านลบที่มักจะควบคุมได้ยาก เช่น ความโกรธเกรี้ยว ความอิจฉาริษยา ความละโมบ ความเห็นแก่ตัว ไฟราคะ หรือความกระหายในอำนาจ ประสบการณ์ไหนก็ตามที่เกิดขึ้นแล้วเราปฏิเสธมัน ไม่ว่าจะมีความคิดต่อสิ่งนั้นว่าเป็นสิ่งที่น่ากลัว น่าขยะแขยง ชั่วร้าย ไม่สามารถให้อภัยได้ หรืออะไรก็ตามที่เรารู้สึกตรงกันข้าม ไม่สามารถไปด้วยกันได้กับสิ่งที่จิตสำนึกของเราเลือกส่งออกมา สิ่งนั้นจะตกไปอยู่ในด้านมืดของเราในที่สุด ‘ควรรู้ด้านมืดของเรา เพื่อตั้งรับให้ทัน’ จัสติน บัลโดนี (Justin Baldoni) คือนักแสดงนำจากหนัง It Ends WIth Us ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว (Domestic Violence) เขาแสดงเป็นคุณหมอหนุ่มรูปหล่อ ผู้ทำร้ายร่างกายและขืนใจภรรยาแม้ว่าจะรักเธอมากก็ตาม จัสตินเล่าว่า ก่อนและระหว่างการถ่ายทำ เขาตั้งใจหาข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงรับฟังประสบการณ์จากเหยื่อ เพื่อจะเข้าถึงบทบาทได้อย่างเต็มที่ “ผมคิดว่าสำคัญมากนะ […]
Hello Stranger คลายข้อสงสัย เหตุใดเราถึงไว้ใจเล่าเรื่องส่วนตัวให้คนแปลกหน้าฟัง
ก่อนจะเริ่มเขียนเรื่องนี้ ผู้เขียนเพิ่งเข้าไปใน TikTok และบังเอิญไปเจอหมอดูคนหนึ่งกำลัง Live เปิดไพ่อยู่ ก็เลยถามคำถามที่อยากรู้กับหมอดู ‘แปลกหน้า’ คนนี้ ซึ่งผู้เขียนไม่เคยรู้จักหรือได้ยินชื่อเขามาก่อน แต่เราก็ไว้ใจเหลือเกินที่จะให้เขาตอบหน่อยว่า “การเงินเดือนนี้จะเป็นอย่างไรคะ” โชคดีที่เป็นเรื่องเงิน ซึ่งสำหรับตัวผู้เขียนไม่ได้กลัวว่าจะได้ยินอะไรบาดใจ และโชคดีอีกที่คำตอบออกมาในระดับที่พอรับได้ “คุณไม่ต้องกังวลนะคะ มีพอใช้ ไม่ได้เยอะ แต่พอใช้แน่นอน” ตัดภาพมาที่คุณผู้หญิงอีกคนที่ถามคุณหมอดูว่า “สามีกำลังนอกใจอยู่หรือเปล่า” “นอกใจค่ะ เขาไม่ได้มีคุณคนเดียว” หมอดูเปิดไพ่อย่างรวดเร็ว แล้วรีบตอบแบบไม่มีการเกริ่นใดๆ จนถึงตอนนี้ ผู้เขียนก็ยังนึกถึงหญิงสาวคนนั้นอยู่ว่าจิตใจจะเป็นอย่างไรบ้างนะ การทำนายอนาคตคงต้องใช้ศาสตร์เฉพาะ หากต้องการรู้ก็ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญศาสตร์นี้เป็นคนตอบให้ แต่ก็มีหลายเรื่องราวส่วนตัว โดยเฉพาะปัญหาที่มีความซับซ้อนและเจ็บปวดใจ ที่หลายคนไว้ใจให้คนแปลกหน้าหรือคนที่ไม่ได้สนิท ไม่ได้เข้าใจความเป็นเราขนาดนั้น เป็นผู้รับฟังและช่วยชี้แนะ มอบกำลังใจ อะไรใน ‘ความไม่ได้รู้จักเป็นการส่วนตัว’ ของคนอื่น ที่ทำให้เราอยากเล่า ‘เรื่องราวส่วนตัว’ ให้ฟังขนาดนี้ เรากับคนแปลกหน้าไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียทางความรู้สึกต่อกัน หลายครั้งหลายคราที่เรามีปัญหาเดิมๆ กับเรื่องเดิมๆ คอยฟังคำแนะนำ (หรือบางครั้งก็เป็นคำบ่น) จากคนที่สนิทกันจนชินชา กลายเป็นการฟังหูซ้ายทะลุหูขวา นั่นทำให้เราไม่มีแรงบันดาลใจมากพอที่จะลุกขึ้นมาแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่เป็นอยู่ แม้จะไม่ได้ชอบสถานการณ์ตอนนี้มากนักก็ตาม แต่พอได้ฟังคำแนะนำจากคนที่ไม่เคยถามเขามาก่อน กลับรู้สึกเหมือนได้รับมุมมองแปลกใหม่ ไม่เคยลองมองสถานการณ์ที่เป็นอยู่ด้วยเลนส์นี้มาก่อน ราวกับได้รีเฟรช เห็นภาพชัดรอบด้าน […]
พาไปดูชีวิตคนเมืองที่ต้องรออะไรสักอย่าง นาน น้าน นาน จนตายไปเป็นผีแล้วก็ยังต้องรออยู่
เวลาดูหนังผี นอกจากความน่ากลัวก็มักมีความเศร้าแฝงมาด้วยตลอด เพราะผีแต่ละตัวมักมีห่วงให้ยังวนเวียนอยู่ในโลกมนุษย์ ตั้งแต่การตายโดยไม่รู้ตัวแล้วยังใช้ชีวิตเหมือนเดิม ตัดใจจากใครสักคนไม่ได้ ต้องคอยไปเฝ้ามอง หรือกระทั่งยังรออะไรบางอย่างอยู่อย่างนั้น รอรถติด รอรถเมล์ รอต่อคิวบีทีเอส รอถนนซ่อมเสร็จ นี่คือตัวอย่างการรอที่คนเมืองต้องประสบพบเจออยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ซึ่งถ้าลองเอาเวลาเหล่านั้นมาต่อกันคงน่าทึ่งไม่ใช่น้อย ที่เราต้องเสียเวลาไปกับการรอมากขนาดนี้ และแน่นอนว่า เวลาที่เรารออะไรนานๆ ก็มักนึกถึงการเปรียบเทียบทำนองว่า รอนานขนาดนี้ ตายแล้วเกิดใหม่ไปหลายรอบก็ยังไม่เสร็จหรือไม่ได้ไปเลยมั้ง แล้วจะเป็นไปได้ไหมที่ผีๆ ในเมืองจะยังคงวนเวียนไม่ไปไหน เพราะรอนั่นโน่นนี่จนตายแต่ไม่รู้ตัว คอลัมน์ One Day With… เลยขอใช้โอกาสช่วงฮาโลวีนหยิบเอาสาเหตุการรอจนตายของเหล่าผีในเมืองมาตีแผ่ให้ทุกคนดู ใครเคยมีประสบการณ์ร่วมกับผีตัวไหนก็ไปปลอบใจพี่ผีเขากันได้ เป็นอะไรตายมาล่ะ? ฉันรอ รถเมล์ จนตาย 15 นาที 30 นาที 1 ชั่วโมง คุณเคยรอรถเมล์นานสุดเท่าหร่ายยย (ทำเสียงยานให้สมกับเป็นผี) รู้ไหม ฉันรอรถเมล์นานมากที่สุดเป็นเวลาชั่วกัปชั่วกัลป์ เพราะบางคันก็ไม่ยอมจอดที่ป้าย หรือบางคันก็แน่นจนเบียดตัวขึ้นไปไม่ได้แล้ว รู้ตัวอีกทีก็กลายเป็นผีรอที่ป้ายรถเมล์ ซึ่งจากที่สังเกตการณ์มา คนก็ยังรอรถเมล์นานเหมือนเดิม เพิ่มเติมคืองุนงงสับสนกับสีและสายรถเมล์ที่ปรับใหม่ ทำเอาคนที่ใช้รถเมล์บ่อยๆ มึนไปตามๆ กัน ยังไม่นับประเด็นรถเมล์ร้อนที่นี่ก็ปาไปปี 2024 ภาวะโลกร้อนข้ามขั้นไปยังภาวะโลกเดือด คนไทยก็ยังต้องใช้รถเมล์ร้อนที่ใช้น้ำมันดีเซลซึ่งเป็นสาเหตุของ PM […]
ไม่ใช่ทุกคนที่อยากโตเป็นผู้ใหญ่ เพราะภาระที่ล้นตัว ทำให้คนรุ่นใหม่ไม่อยากเติบโต
“เป็นผู้ใหญ่ ทำไมยากจัง” นี่เป็นหนึ่งในสิ่งที่ผู้เขียนในฐานะนักจิตบำบัดได้ยินคนไข้บ่นให้ฟังบ่อยๆ ในชั่วโมงบำบัด ไม่ว่าจะด้วยความซับซ้อนที่มากขึ้นของความสัมพันธ์ การบริหารการเงิน กระทั่งการผ่านพ้นดราม่าในครอบครัว และในวันนี้ เรื่องที่ผู้เขียนอยากชวนคุยเป็นพิเศษคือ ความยากในการเติบโตด้านอาชีพการงาน ถ้ามาพิจารณาดูมุมมองที่คนแต่ละรุ่นให้ความหมายและคุณค่าแก่การทำงาน ก็ต้องบอกว่า จากบทความของ PubMed Central ได้พูดถึงชาว Gen Z หรือกลุ่มคนที่เกิดในช่วงกลางยุค 90 ไปจนถึงต้นยุค 2010 ไว้อย่างน่าสนใจ คุณลักษณะเด่นของคนกลุ่มนี้คือ มีความมั่นใจในตัวเองและมุ่งมั่นกับงานที่ทำสูง ต้องการจะพุ่งไปถึงงานในฝันให้ได้ และโหยหาโอกาสที่จะเพิ่มทักษะในสายงานที่ตัวเองรัก ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขาให้ความสำคัญกับการทำงานที่มีความยืดหยุ่น ไม่เคร่งเครียดจนเกินไป สุขภาพจิตพวกเขาต้องไหว เพราะชีวิตนอกเหนือจากสถานที่ทำงานก็สำคัญมากสำหรับพวกเขาเช่นเดียวกัน ถ้าคนกลุ่มนี้รู้ตัวว่าไม่ชอบสิ่งที่ทำอยู่เมื่อไหร่ พวกเขาจะเปลี่ยนงานทันที สรุปโดยรวมคือ เป็นกลุ่มคนที่ทุ่มเทให้อาชีพในฝันสุดๆ แต่ก็ชัดเจนในจุดยืนมากเหมือนกันว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่รู้สึกว่าสิ่งที่ทำอยู่ไม่ใช่ทางหรือไม่ใช่ที่ของตนแล้ว ก็พร้อมจะเดินจากไปเพื่อตามหาเส้นทางใหม่ที่คู่ควร แต่ในยุคก่อนหน้าชาว Gen Z ที่เป็นคนวัยผู้เขียน หลายคนมักรู้สึกว่า พวกเราคือรุ่นคาบเกี่ยว คือใจหนึ่งก็อยากวิ่งตามฝัน สร้างคุณค่าในงานที่อยากแสดงออกมาให้ทุกคนเห็น แต่อีกใจหนึ่งก็เป็นเดอะแบกซะเหลือเกิน บางคนแบกภาระของครอบครัวในฐานะคนดูแลหลัก ส่วนบางคนแบก ‘ความหวังหรือความกดดัน’ ที่ครอบครัวโยนมาให้เราโดยที่พวกเขาไม่รู้ตัว หรือกระทั่งเรานั่นแหละที่โยนให้ตัวเอง จะเห็นว่าผู้คนรุ่นพวกเรามากมายที่ตั้งใจทำงานจนในที่สุดก็เหมือนจะเดินมาสู่ทางแยก ระหว่างเดินต่อไปให้สุด […]
แปรรูปโกโก้ในโรงงานช็อกโกแลต Infinite Cacao | The Professional
‘โกโก้’ เครื่องดื่มหวานๆ ที่หลายคนอาจโปรดปราน แต่รู้หรือไม่ว่า กว่าจะมาเป็นรสชาตินี้ โกโก้ถูกแปรรูปมาสารพัดวิธีเพื่อให้นำมาชงกินได้ง่ายในทุกวัน ขณะเดียวกัน ระหว่างทางการแปรรูปก็มีส่วนที่ต้องทิ้งตามรายทางไปอย่างเปล่าประโยชน์ “โกโก้หนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์ มันจะกลายเป็นช็อกโกแลตให้เราจริงๆ แค่ห้าเปอร์เซ็นต์ ถ้าเราแกะผลสดออกมา มันจะมีเมล็ดข้างในอยู่ยี่สิบห้าเปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือคือเปลือกเจ็ดสิบห้าเปอร์เซ็นต์ มันยังเหลือขยะอีกหลายๆ ส่วนที่เรายังไม่ได้ต่อยอดหรือยังไม่เห็น” Urban Creature คุยกับ ‘อาร์ม-ปฤญจ์ นิพัทธโกศลสุข’ เจ้าของโรงงานช็อกโกแลต ‘Infinite Cacao’ ในจังหวัดระยอง ผู้ซึ่งมองว่าโกโก้สามารถแปรรูปได้ทุกส่วนและต่อยอดไปได้อย่างไม่รู้จบ
ลดแสงจ้า แก้ทางมืด สร้างเมืองน่าเที่ยว ทำความเข้าใจ Lighting Master Plan กับ ‘ผศ. ดร.จรรยาพร สไตเลอร์’
ชีวิตคนเมืองกำลังถูกรบกวนด้วยมลภาวะทางแสงโดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นแสงจากป้ายโฆษณา แสงจากอาคาร หรือแม้แต่ไฟจากถนน แน่นอนว่าข้อดีของแสงไฟเหล่านี้คือตัวช่วยให้เรามองเห็นในยามที่ท้องฟ้ามืดมิด แต่ก็ต้องยอมรับว่าบางครั้งความสว่างเหล่านี้กำลังรบกวนการใช้ชีวิตของเราและสรรพสัตว์ในเมืองโดยไม่รู้ตัวเช่นกัน แล้วจะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถกำหนดแนวทางการออกแบบแสงสว่างในเมืองได้ โดยการเลือกใช้สีของแสงให้เข้ากับบรรยากาศในพื้นที่ต่างๆ ของเมือง กำหนดความสว่างให้ไม่รบกวนสายตาทั้งในเขตที่อยู่อาศัยและย่านการค้า ซึ่งนอกจากความสวยงามที่ส่งเสริมอัตลักษณ์และกระตุ้นการท่องเที่ยวของเมืองแล้ว ยังช่วยด้านมิติสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย คอลัมน์ Think Thought Thought วันนี้พาไปพูดคุยทำความเข้าใจเรื่องแสงในเมืองกับ ‘ผศ. ดร.จรรยาพร สไตเลอร์’ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและนวัตกรรมการส่องสว่าง (LRIC) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หนึ่งในนักออกแบบแสงสว่าง (Lighting Designer) ว่า Lighting Master Plan คืออะไร และทำไม ‘แสงสว่าง’ ที่ส่งผลกับการใช้ชีวิตของเราในทุกมิติ ถึงควรถูกให้ความสำคัญทั้งจากภาครัฐและเอกชน ถอดบทเรียนแสงสว่างจากฝรั่งเศส พลิกโฉมอยุธยา กระตุ้นการท่องเที่ยวในเมืองเก่า ย้อนไป 20 ปีก่อน จรรยาพรเริ่มสนใจเรื่อง Lighting Master Plan การกำหนดแผนแม่บทหรือแนวทางการออกแบบแสงสว่างชุมชนเมือง ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ที่ยังไม่ถูกเห็นความสำคัญในประเทศไทย จากการได้ทุนศึกษาปัญหาใน ‘เมืองเก่าอยุธยา’ ที่แม้จะเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของไทย และรายล้อมไปด้วยสถาปัตยกรรมโบราณ ซึ่งเป็นพื้นที่มรดกโลกที่รับรองโดย UNESCO แต่กลับมีจำนวนนักท่องเที่ยวในเวลากลางคืนไม่มากเท่าที่ควรจะเป็น […]
พลังของคนรุ่นใหม่ ที่อยากให้ธนบุรีเป็นย่านที่ดีขึ้นกว่าเดิม | ยังธน
เราอาจมองว่าการพัฒนาเมืองเป็นแค่เรื่องของผู้มีอำนาจหรือผู้เชี่ยวชาญ ระดมพลทำโครงการพลิกเมืองจากหน้ามือเป็นหลังมือ ต้องวางแบบแผนให้เป๊ะทุกกระเบียดนิ้ว ต้องจริงจัง ขึงขัง แต่ในย่านธนบุรีกลับมีกลุ่ม ‘ยังธน’ ที่ประกอบไปด้วย ‘บลู-รวิพล เส็นยีหีม’, ‘จั่น-จิรทิพย์ เทวกุล’, ‘ฮิน-ฐากูร ลีลาวาปะ’ และ ‘เมฆ สายะเสวี’ กลุ่มคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่ผูกพันกับย่านธนบุรี ที่ทำให้คนในย่านได้เห็นว่ากลุ่มคนธรรมดาก็รวมตัวกันเพื่อขับเคลื่อนย่านให้ดีขึ้นได้ “การที่เราเข้าไปขับเคลื่อนในพื้นที่ไหนก็ตาม แม้เราจะเป็นคนริเริ่ม แต่สุดท้ายคนในพื้นที่ต้องขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง” แม้สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มจะมีพื้นเพแตกต่างกัน แต่ทุกคนมีจุดร่วมเดียวกันคือ อยากเห็นธนบุรีเป็นย่านที่น่าอยู่มากขึ้นกว่าเดิม โดยการนำ ‘ความสนุก’ มาเป็นสารตั้งต้นในการพัฒนาเมือง เพื่อขับเคลื่อนให้ชาวธนบุรีมีความสุขกับย่านนี้
พัฒนาชุมชนด้วยการเชื่อมคนนอกกับคนในย่านหัวลำโพง | ริทัศน์บางกอก
“ภาพจำของย่านหัวลำโพงสมัยก่อน คนอาจนึกถึงแค่ตัวสถานีรถไฟ จนไม่ค่อยเล็งเห็นถึงวิถีชีวิตของคนที่อยู่บริเวณรอบข้าง ทั้งที่เรามองว่าสิ่งนี้ก็เป็นเสน่ห์หนึ่งของย่านหัวลำโพงที่ยังไม่เคยมีใครพูดถึงมาก่อนเหมือนกัน” ‘ริทัศน์บางกอก’ เกิดขึ้นจากการรวมตัวของแก๊งเพื่อน ‘มิว-ญาณิน ธัญกิจจานุกิจ’, ‘จับอิก-ปกรณ์วิศว์ เวียงศรีพนาวัลย์’ และ ‘รวงข้าว-อภิสรา เฮียงสา’ ที่ร่วมกันทำกิจกรรมจนทำให้ชุมชนย่านหัวลำโพงกลับมามีชีวิตอีกครั้งโดยไม่ต้องพึ่งพิงเพียงสถานีรถไฟ เพราะพวกเขาเชื่อว่า การจะพัฒนาเมืองได้ต้องเริ่มจากการสร้าง Sense of Belonging และเชื่อมคนนอกและคนในเข้าด้วยกันก่อน แล้วการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพจะตามมาเอง Urban Creature ชวนคุยกับ ‘ริทัศน์บางกอก’ กลุ่มคนขับเคลื่อนเมืองที่เข้ามาพัฒนาและรื้อฟื้นวิถีชีวิตชุมชนย่านหัวลำโพงให้เป็นมากกว่าสถานีรถไฟ พร้อมทำให้เห็นถึงศักยภาพของพื้นที่ที่ไปได้ไกลมากกว่าเดิม สามารถติดตามกลุ่มริทัศน์บางกอกได้ที่ : www.facebook.com/rtusbangkok/?locale=th_TH
เมื่อศิลปินที่รักดันไม่เป็นอย่างที่คิด พาไปดูวิธีการรักคนดังยังไงให้เซฟใจตัวเองไปด้วย
‘ถ้าสองคนนี้เลิกกันนะ ฉันจะไม่เชื่อเรื่องความรักอีกแล้ว’ หลายคนน่าจะเคยคิดอะไรแบบนี้ จากการเฝ้ามองคู่รักคนดังที่ตัวเองชื่นชอบ ที่ลุ้นให้พวกเขารักกันยั่งยืน แต่ที่สุดแล้วก็ไปไม่รอดถึงฝั่งฝัน การได้รับรู้ข่าวเลิกราของคู่ที่เราเชียร์มานาน มันบาดใจเหมือนเราเจ็บแทนเขา ทั้งๆ ที่ ก็ไม่มีใครรู้จักชีวิตส่วนตัวของคู่รักคนดังอย่างลึกซึ้งและละเอียดเท่าเจ้าตัวเอง ต่อให้คนดังเหล่านั้นจะเล่าเรื่องความรักของตัวเองออกสื่อบ่อยแค่ไหนก็ตาม ความสัมพันธ์ที่ดูมีเส้นขีดไว้ชัดเจน แต่ความรู้สึกเราเลยเถิดออกไปได้ยังไง ‘เธอไม่รู้จักเขาจริงๆ ด้วยซ้ำ’ อาจเป็นสิ่งที่คนนอกมองเข้ามา ด้วยความไม่เข้าใจในความสัมพันธ์ของคนคนหนึ่งที่หลงใหลคนดังอย่างหัวปักหัวปำ ทั้งในแง่ตัวตนที่เขานำเสนอออกมา หรือความคิดสร้างสรรค์อันสวยงามจากผลงานของเขา คอยติดตามชีวิตตลอด ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็คอยเป็นกำลังใจหรือออกตัวปกป้อง หากศิลปินในดวงใจเจอความทุกข์ ความรู้สึกนั้นก็เสียดแทงใจเหมือนตัวเองเจ็บแทน เว็บไซต์ findapsychologist.org อธิบายความสัมพันธ์พิเศษที่มีชื่อเรียกว่า Parasocial Relationship ว่า เป็นความสัมพันธ์ข้างเดียว ที่คนหนึ่งมอบทั้งพลังงานด้านอารมณ์ ความสนใจ และเวลาให้ โดยที่อีกคนไม่รับรู้ถึงการมีอยู่ของอีกฝ่าย ซึ่งมักเกิดในความสัมพันธ์ที่แฟนคลับมีต่อศิลปินหรือทีมกีฬา อย่างในตอนนี้ อีกหนึ่งกลุ่มคนดังที่หลายคนเลือกมีความสัมพันธ์แบบ Parasocial ด้วยคือนักการเมือง ‘ความคุ้นชิน’ ทำให้เกิดความผูกพัน เมื่อไหร่ก็ตามที่คนเราผูกพันกับอะไร เมื่อนั้นจะยิ่งทำให้ตนรู้สึกว่า เรารู้จักคนคนนี้หรือสิ่งสิ่งนี้ดีพอ ยกตัวอย่าง พ่อแม่หลายคนที่คิดว่าตัวเองรู้จักนิสัยใจคอหรือความฝันของลูกดี ซึ่งเขาไม่ผิดที่จะคิดอย่างนั้น เพราะอยู่ด้วยกันในบ้านทุกวัน แต่จริงๆ แล้วก็มีอีกหลายเรื่องที่ลูกเลือกจะไม่แสดงออกมาให้พ่อแม่เห็น ไม่ต่างจากศิลปินหรือคนดังที่เราหลงรัก ขนาดตัวอย่างแรกที่ยกมาเมื่อตอนเปิดเรื่อง แม้ตัวเองอาจไม่ได้เป็นแฟนคลับเหนียวแน่น แต่การแค่เห็นใครคนหนึ่งผ่านสื่อบ่อยๆ […]
การรวมกลุ่มของผู้ประกอบการรุ่นเก่าและใหม่ในการช่วยกันพัฒนาย่านทรงวาด | Made in Song Wat
‘ทรงวาด’ ย่านที่มีมนตร์เสน่ห์ที่ต่อให้เวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน ย่านนี้ก็เป็นที่รักของคนรักเมืองมาเสมอ และปัจจุบันก็กลับมาคึกคักกว่าเดิม รวมถึงยังกลายเป็นจุดเช็กอินของเหล่าวัยรุ่นและนักท่องเที่ยวนับไม่ถ้วน จากการมีธุรกิจใหม่ๆ อย่างร้านอาหาร คาเฟ่ และแกลเลอรีเข้ามาสร้างชีวิตชีวาให้ตัวพื้นที่ โดยที่ยังไม่ทิ้งความน่ารักอบอุ่นของบรรยากาศเก่าๆ ไป ด้วยการรวบรวมเหล่าผู้ประกอบการมาช่วยกันพัฒนาดีเอ็นเอของทรงวาดให้แข็งแรงและทำให้หัวใจของถนนทรงวาดกลับมาเต้นแรงอีกครั้ง “อยากจะสร้างย่านแบบไหน พวกเราไม่มีใครรู้เลย เราแค่มีใจที่อยากจะทำ มันไม่มีสูตรสำเร็จ” ผู้ประกอบการเหล่านี้รวมตัวกันในชื่อกลุ่ม ‘Made in Song Wat’ ในปี 2565 โดยมี ‘อุ๊ย-เกียรติวัฒน์ ศรีจันทร์วันเพ็ญ’ นายกสมาคมผู้เป็นคนแรกที่ริเริ่มเชิญชวนคนอื่นๆ ได้แก่ ‘เอ๋-พัชรินทร์ ศรีจันทร์วันเพ็ญ’, ‘ป็อก-สุขสันต์ เอื้ออารีชน’, ‘อิน-อินทุกานต์ คชเสนี สิริสันต์’ และ ‘อาร์ท-อรองค์ ประสานพานิช’ ร่วมกับสมาชิกผู้ก่อตั้งในปีแรกในการลงมือพัฒนาย่านนี้ด้วยกัน ซึ่งผลของการร่วมมือร่วมใจของคนในย่านที่สนับสนุน ยอมรับ และเดินหน้าพัฒนาไปด้วยกัน จนทำให้เมื่อปีที่แล้ว ทรงวาดกลายเป็นหนึ่งใน 40 ย่านสุดเจ๋งที่ได้รับการจัดอันดับจากสื่อระดับโลก ส่งผลให้ผู้คนยิ่งอยากเข้ามาลองสัมผัสความเป็นทรงวาดที่หาจากย่านไหนไม่ได้
คุยกับผู้อยู่เบื้องหลัง STEP INTO SWING เมื่อเสียงเพลงและสเต็ปเท้าอาจพาเราไปสู่กรุงเทพฯ ที่ดีขึ้น
เย็นวันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2567 สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) คลาคล่ำไปด้วยผู้คนในชุดวินเทจ เสียงเพลงสวิงดังกึกก้อง ฟลอร์เต้นรำเริ่มขยายพื้นที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนเต็มไปทั่วทั้งบริเวณ อาจกล่าวได้ว่า สิ่งเหล่านี้คือตัวชี้วัดความสำเร็จของ STEP INTO SWING : Take the A Train at Hua Lamphong อีเวนต์สวิงโดย 2 ทีมงานเบื้องหลังอย่าง The Stumbling Swingout วงดนตรีสวิงแจ๊สที่ก่อตัวขึ้นจากกลุ่มนักเต้นสวิง และ Jelly Roll Jazz Club โรงเรียนสอนเต้นสวิงที่ตั้งใจสร้างนักเต้นใหม่ๆ เพื่อให้สวิงกลายเป็นคัลเจอร์ที่แข็งแรงในอนาคต หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เฝ้ามองแวดวงการเต้นสวิงในไทยมาตั้งแต่ยุคก่อนโควิด-19 ในเวลานั้นหลายคนอาจจินตนาการไม่ออกว่า วันหนึ่งกรุงเทพฯ จะมีอีเวนต์ SWING IN THE PARK เกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง ก่อนจะขยายตัวลามเลยออกไปสู่สถานที่ที่น่าสนใจอีกมากมาย ทั้งอาคารลุมพินีสถาน ไปรษณียาคาร ลานชุมชนต่างๆ รวมถึงสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ที่ได้โคจรกลับมาจัดเป็นครั้งที่สองแล้ว การขยับขยายของฟลอร์สวิงแดนซ์จากในสตูดิโอสู่พื้นที่สาธารณะต่างๆ […]