ลัดเลาะเส้นเจริญกรุง ตามหาแรงบันดาลใจไปกับ Yamaha Grand Filano Hybrid

ถ้าอยากออกไปสัมผัสบรรยากาศเมืองที่ยังคงสถาปัตยกรรม อาคารบ้านเรือนเมื่อ 150 ปีก่อนไว้อยู่ หรือหาร้านอาหารในตำนานที่สืบทอดความอร่อยรุ่นต่อรุ่น ‘เจริญกรุง’ จะเป็นย่านแรกๆ ที่ปิ๊งขึ้นมาในหัว ให้เราต้องไปเสาะแสวงหา แต่ปัจจุบันเจริญกรุงไม่ได้เป็นเพียงย่านเก่าแก่แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เท่านั้น แต่กลายเป็นย่านที่ถูกแปลงโฉมใหม่ให้กลับมาคูลอีกครั้ง เห็นได้ชัดจากร้านค้า ร้านอาหาร ร้านทางเลือกใหม่ๆ มาเปิดจำนวนมาก หรือร้านเก่าแก่ที่ปลุกตัวเองให้มีชีวิตชีวาขึ้น รวมไปถึงเจริญกรุงยังเป็นพื้นที่หลักในการจัดงานเทศกาลใหญ่ประจำปีอย่าง Bangkok Design Week ที่นำการออกแบบผสมผสานกับพื้นที่ในชุมชนให้มีสีสันยิ่งขึ้น เมื่อเจริญกรุงเป็นย่านที่เต็มไปด้วยมนต์ขลังและความสร้างสรรค์ คอลัมน์ Urban Guide ครั้งนี้ จึงอยากชวนชาว Urban ไปลัดเลาะเส้นเจริญกรุงในวันว่างๆ ตามหาแรงบันดาลใจเพื่อปลุกแพสชันในชีวิตให้กลับมาอีกครั้ง แต่ไปครั้งนี้ต้องมีสไตล์คูลๆ เท่ๆ กับ Yamaha Grand Filano Hybrid ด้วยนะ…พร้อมแล้วก็สตาร์ทไปกันเลย จุดหมายวันนี้ เราขี่ Yamaha Grand Filano Hybrid สีชมพู (Old Rose) สดใส พร้อมสไตล์โฉบเฉี่ยว โดดเด่นมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร ไป 3 สถานที่ที่ตอบโจทย์ทุกความสร้างสรรค์ ตั้งแต่หากิจกรรมในช่วงเช้าที่ร้าน Soul Salt […]

P.Sherman The Enjoyable Ground เปลี่ยนตึกร้างให้เป็นที่แฮงเอาต์สำหรับคนฝั่งธนฯ

ถ้าทุกคนได้เห็นภาพตรงหน้าอย่างที่เราเห็น ต้องไม่เชื่อแน่ๆ ว่ากิจกรรมทั้งหมดนี้เกิดขึ้นอยู่ในอาคารเก่าย่านอรุณอมรินทร์ ที่เคยเป็นตึกร้างมาก่อน เพียงแค่เลี้ยวเข้าซอยอรุณอมรินทร์ 39 ทั้งภาพของคนเล่นเซิร์ฟสเก็ตในลานสเก็ตทรงโค้งซึ่งอยู่กลางพื้นที่ มีร้านอาหารและคาเฟ่รายรอบ พร้อมผู้มาใช้บริการที่นั่งกระจัดกระจายกันเป็นหย่อมๆ บรรยากาศเหมือนอยู่ในโรงอาหารของไฮสกูลต่างประเทศที่มีโต๊ะวางเรียงรายให้เลือกนั่งได้ตามใจ ไหนจะเสียงเพลงที่เปิดขับกล่อมช่วยเพิ่มชีวิตชีวาให้พื้นที่ และโซนจัดแสดงศิลปะที่มีศิลปินคอยชักชวนให้มาร่วมกิจกรรมไปด้วยกัน  อมร สุนทรญาณกิจ ผู้เป็นเจ้าของพื้นที่ ยิ่งเซอร์ไพรส์เราไปอีก เมื่อเขาบอกว่าก่อนหน้าจะเป็นลานเซิร์ฟสเก็ตอินดอร์สุดเก๋อย่าง P.Sherman The Enjoyable Ground ที่นี่เคยเป็นโรงงานเย็บผ้าของครอบครัวสุนทรญาณกิจมาก่อน แต่หลังญาติๆ ย้ายออกไปตั้งโรงงานอยู่นอกเมือง ตึกแห่งนี้ก็ถูกทิ้งร้างมามากกว่าสิบปี  พอมรดกถูกส่งต่อมาให้สถาปนิกอย่างอมร เขาจึงเริ่มคิดอยากรีโนเวตตึกแห่งนี้ให้ดีขึ้นกว่าเก่า เปลี่ยนตึกร้างเป็นลานเซิร์ฟสเก็ต “เพราะที่บ้านพี่น้องทุกคนมีธุรกิจกันหมดเลย ตอนแรกผมเลยกะจะรีโนเวตทำเป็นออฟฟิศ เปิดชั้นล่างให้เช่าทำร้านอาหาร ร้านตัดผม หรือคาเฟ่เล็กๆ ให้พนักงานในออฟฟิศมาใช้ แต่ก็ไม่ได้ทำสักที พอดีกับตอนโควิด เซิร์ฟสเก็ตค่อนข้างดัง เราก็ไปเริ่มเล่นด้วย พอเล่นๆ ไปเริ่มสนุก จริงจัง เลยเริ่มชวนเพื่อนมาเล่นกันที่นี่” พื้นที่ชั้นสองของตึกร้างถูกใช้งานอีกครั้งเป็นสนามอินดอร์สำหรับเล่นเซิร์ฟสเก็ตช่วงหน้าฝน ส่วนลานหน้าอาคารก็ถูกใช้เป็นสถานที่แฮงเอาต์ที่เขาและเหล่าเพื่อนๆ จะพกเก้าอี้แคมป์ปิ้งมานั่งกินดื่มให้หายเหนื่อย  ตอนนั้นเองที่อมรเห็นความเป็นไปได้ใหม่ของพื้นที่ คิดรีโนเวตปรับปรุงพื้นให้เหมาะกับการเล่นมากขึ้น และชวนน้องชายมาเปิดคาเฟ่ทำเป็นพื้นที่รองรับเพื่อนๆ ชาวเซิร์ฟสเก็ต  “ตอนที่คิดจะทำ มันเริ่มมีลานสเก็ตเกิดขึ้นเยอะ ยิ่งเราอยู่ในซอยอย่างนี้ก็ยิ่งทำให้อยู่รอดต่อไปยาก เพราะถึงเซิร์ฟสเก็ตจะถูกบรรจุเป็นกีฬาไปแล้วยังไงก็ไม่มีทางหายไปร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เราก็ต้องยอมรับว่ากระแสเซิร์ฟสเก็ตก็คงไม่ได้อยู่ไปนานขนาดนั้น เพื่อเพิ่มโอกาสรอดทางธุรกิจเราเลยลองจับโมเดลมาร์เก็ตแบบที่อเมริกา […]

ราชบุตร สเตอริโอ ค่ายเพลงหมอลำยุค 70 ที่อยากทำให้ดนตรีอีสานกลับมาคึกคัก

วัยรุ่นส่วนใหญ่ที่เติบโตในจังหวัดอุบลราชธานียุค 1990 – 2000 จะรู้จักหรือคุ้นเคยกับ ‘ราชบุตร’ ร้านเช่าซีดีและดีวีดีที่มีอยู่หลายสาขาทั่วเมืองอุบลฯ เราเองก็คุ้นเคยกับที่นี่ดี เพราะในยุคที่การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมีอย่างจำกัด การเช่าซีรีส์หรือหนังกลับไปดูที่บ้านจึงเป็นหนึ่งในสื่อบันเทิงไม่กี่ประเภทที่คอยหล่อเลี้ยงจิตใจ และเปรียบเสมือนประตูสู่โลกกว้างให้เด็กต่างจังหวัดสมัยนั้น นอกจากธุรกิจร้านเช่าซีดีขวัญใจวัยรุ่นยุค 90 หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า ก่อนหน้านั้นราชบุตรเคยทำ ‘ค่ายเพลงหมอลำ’ อย่างเต็มตัวนานถึง 20 ปี โดยใช้ชื่อว่า ‘ราชบุตร สเตอริโอ’ ราชบุตร สเตอริโอ เคยเป็นค่ายเพลงที่ประสบความสำเร็จแห่งหนึ่งของประเทศไทย และเคยอัดเพลงให้ศิลปินแห่งชาติหลายคน เช่น เคน ดาเหลา, บานเย็น รากแก่น, ป.ฉลาดน้อย ส่งเสริม, ทองใส ทับถนน, บุญเพ็ง ไฝผิวชัย, และฉวีวรรณ ดำเนิน ทั้งนี้ ปัจจุบันค่ายเพลงราชบุตร สเตอริโอ หยุดดำเนินการอย่างถาวรแล้ว เนื่องจากธุรกิจซบเซาลงตามความนิยมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย ปิดฉากตำนานการอัดเพลงและการผลิตเพลงหมอลำยุค ‘แอนะล็อก’ ลงอย่างสิ้นเชิง  ขณะเดียวกัน ราชบุตร สเตอริโอ กำลังเปลี่ยนถ่ายตัวเองเข้าสู่ยุค ‘ดิจิทัล’ อย่างค่อยเป็นค่อยไป เรามีโอกาสกลับอุบลฯ เพื่อพบกับ […]

อวโลกิตะ : พื้นที่ภาวนาใจกลางสีลมที่เปิดให้คนเมืองเข้าใช้ฟรี

ในวันที่เหนื่อยล้า งานไม่เป็นดั่งใจ และอีกสารพันปัญหาของคนสู้ชีวิตในเมืองใหญ่ที่ชีวิตสู้กลับอย่างไม่ไยดี เย็นวันนั้นคุณเลือกที่จะพาตัวเองไปที่ไหนต่อ? บางครั้งเราแค่ต้องการที่นั่งเงียบๆ เพื่อให้ตัวเองได้หยุดคิดและไตร่ตรองสักพัก แต่ในเมืองที่พื้นที่สาธารณะน้อยอย่างกรุงเทพฯ จะมีที่ไหนที่เปิดให้เราเข้าไปนั่งพักและใช้เวลาอยู่กับตัวเองในช่วงเวลาหลังเลิกงานได้ฟรีๆ บ้าง ท่ามกลางบรรยากาศอันเร่งรีบ แข่งขัน และตึกสูงรายล้อมในสีลมย่านเศรษฐกิจใจกลางเมือง บนชั้น 9 ของอาคารตั้งฮั่วปัก ซอยสาทร 10 มีสเปซเล็กๆ ที่ชื่อว่า ‘อวโลกิตะ (Avalokita)’ ตั้งอยู่ ที่นี่คือ Meditation Space หรือพื้นที่ภาวนาที่เปิดให้คนเข้ามานั่งพัก อยู่กับตัวเอง เพื่อบ่มเพาะความรัก ความกรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านศาสนา ไม่มีกฎเกณฑ์ในการใช้งาน และเปิดกว้างสำหรับทุกคน ไม่ว่าใครก็สามารถเข้ามาใช้พื้นที่ตรงนี้ได้ฟรีๆ เหมาะสำหรับคนที่อยากหลีกหนีความวุ่นวายหลังเลิกงานในเมืองกรุง มานั่งพักใจและเปิดประสบการณ์ใหม่ให้ตัวเอง  ภาพคนนั่งสมาธิในห้องเล็กๆ ท่ามกลางตึกสูงในสีลม ตัดกับท้องฟ้ายามค่ำคืนของกรุงเทพมหานคร คือจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราได้รู้จักกับ ‘อวโลกิตะ’ และแค่ได้ยินว่าที่นี่เปิดให้เข้า ‘ฟรี’ ก็ยิ่งชวนแปลกใจ เพราะในเมืองที่ค่าครองชีพสูงแบบนี้ การจะเปิดพื้นที่ให้คนเข้าใช้ได้ฟรีๆ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เราจึงนัดพบกับ แพร์-วิลาวัณย์ บุญเกื้อกุลวงษ์ กรรมการมูลนิธิวัชรปัญญา เพื่อพูดคุยถึงแนวคิดในการทำอวโลกิตะเพื่อเป็นพื้นที่ปลอดภัยและที่พักใจของคนเมือง จุดเริ่มต้นของ ‘อวโลกิตะ’ AVALOKITA : […]

Baan Plan Cafe คาเฟ่ห้องสมุดย่านสาทร ที่อยากเป็นจุดหยุดพักให้คนเมือง

ทุกวันนี้ห้องสมุดในกรุงเทพฯ พอมีให้เห็นมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน แต่ที่จะเข้าไปใช้บริการได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องกังวลถึงกฎระเบียบต่างๆ เดินทางง่าย และมีบรรยากาศเป็นกันเอง ร่มรื่น ชวนให้รู้สึกรื่นรมย์ กลับมีจำนวนแทบนับนิ้วได้ หนึ่งในนั้นคือ ห้องสมุดประชาชนแสงอรุณ ที่ตอนนี้กลายมาเป็น บ้านแปลนคาเฟ่ คาเฟ่แห่งนี้ตั้งอยู่ในสาทร ซอย 10 ที่นับว่าเป็นย่านสำคัญทางธุรกิจของกรุงเทพฯ ทุกครั้งที่นึกถึงสาทร เรามักเห็นภาพรถติด คนทำงานเดินขวักไขว่ ตึกระฟ้ามากมาย  ทว่าเมื่อได้เดินเข้ามาในสาทร ซอย 10 และพบกับ บ้านแปลนคาเฟ่ ที่มีความร่มรื่นจากแมกไม้ใหญ่ และพื้นที่ที่ออกแบบเน้นไปทางเรียบง่าย โปร่งโล่ง ทำให้รู้สึกเหมือนได้หยุดพักจากความวุ่นวายในเมืองใหญ่ ไหนจะยังมีชั้นหนังสือเรียงรายให้ใช้บริการฟรี  สำหรับเราที่เป็นคนรักหนังสือและชอบบรรยากาศของคาเฟ่ บอกได้เลยว่าที่นี่คือสถานที่ชุบชูใจชั้นดี ห้องสมุดประชาชนที่กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง แม้ตัวคาเฟ่ห้องสมุดแห่งนี้จะเพิ่งเปิดได้ประมาณ 2 ปี แต่ใครที่รู้สึกคุ้นชื่อ ‘บ้านแปลน’ เป็นพิเศษก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะที่นี่คือส่วนหนึ่งของ ‘แปลน’ กลุ่มคนจากประวัติศาสตร์ทางการเมืองเมื่อช่วงปี 2516 ที่รวมตัวกันก่อตั้งธุรกิจด้านการออกแบบหลากหลายแขนง โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างสรรค์สังคมที่มีคุณภาพ เอ-ศิริวรรณ เจือแก้ว สถาปนิกฝ่ายวิจัยและพัฒนา ของบริษัท แปลน แอสโซซิเอทส์ จำกัด ผู้รับหน้าที่เป็นผู้จัดการบ้านแปลนคาเฟ่ เล่าให้เราฟังถึงอดีตของร้านว่า […]

เวฬาวาริน โรงแรมจากตึกเก่า 100 ปี ที่คืนชีพให้วารินฯ กลับมาคึกคัก

เราได้ยินมาว่า ตอนนี้อีสานสุดจะครึกครื้นและอุบลราชธานีก็เต็มไปด้วยความคึกคัก เพราะมีร้านรวงใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย มีคอมมูนิตี้ของคนรุ่นใหม่ และมีอะไรที่น่าตื่นเต้นเต็มไปหมด สำหรับใครที่มาเที่ยวอุบลฯ แต่ไม่รู้จะไปพักที่ไหน Urban Guide ชวนขับรถต่ออีกสักประมาณ 10 นาที ไปที่เวฬาวาริน โรงแรมที่สร้างจากตึกเก่าอายุร่วม 100 ปี แห่งอำเภอวารินชำราบ ที่ห่างจากตัวเมืองอุบลฯ ไปนิดเดียว แค่ข้ามสะพานเสรีประชาธิปไตยไปก็ถึงแล้ว เวฬาวารินคือโรงแรมที่มีโครงสร้างเดิมเป็นไม้ และตั้งอยู่บริเวณถนนทหารซึ่งสมัยก่อนเป็นย่านที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวา เพราะถ้าย้อนกลับไปหลายสิบปี คนที่จะเข้ากรุงเทพฯ หรือโคราชผ่านทางรถไฟ ก็ต้องแวะมานอนที่ละแวกนี้ก่อนทั้งนั้น แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไป ถนนหนทางเริ่มดีขึ้น มีสนามบินมาเปิดให้บริการ ความเจริญก็ย้ายไปอยู่ในตัวเมืองอุบลฯ จนย่านนี้เต็มไปด้วยความเงียบเหงา พระอาทิตย์ตกดินเมื่อไหร่ก็เงียบสนิทและมีสถานะเป็นแค่ทางผ่านเท่านั้น จากอาคารไม้ที่มองจากชั้นล่างมีพื้นชั้นบนผุพังจนมองทะลุไปได้ถึงหลังคากลับมาเป็นโรงแรมได้อย่างไร การคืนชีพของอาคารหลังเดียวทำให้ย่านนี้กลับมามีชีวิตชีวาได้เพราะอะไร เราชวนย้อนดูเรื่องราวที่ไหลผ่านเวฬาวารินไปพร้อมกันเลยครับ  เดิมทีอาคารอายุร่วมร้อยปีหลังนี้มีเจ้าของรุ่นดั้งเดิมคือท่านผู้หญิงตุ่น โกศัลวิตร ใช้ตึกนี้เป็นที่เก็บสินค้า และขนถ่ายสินค้าจากแม่น้ำมูล แล้วทีนี้คุณตาของ บี-อภิวัชร์​ ศุภากร เจ้าของคนปัจจุบัน มีความสนิทชิดเชื้อกันกับวิชิต โกศัลวิตร สามีของท่านผู้หญิง เพราะเป็นคนค้าคนขายและเป็นคนจีนเหมือนกัน จึงซื้อต่อมาได้เป็นเวลากว่า 70 ปีแล้ว ประจวบเหมาะกับเวลาที่ได้คลังเก็บสินค้าเก่ามาก็เป็นเวลาเดียวกับที่ทางรถไฟสร้างมาถึงจังหวัดอุบลราชธานี ทำให้ละแวกนี้เป็นย่านความเจริญเก่า ที่นักเดินทางต้องมาพักก่อนที่จะขึ้นรถไฟในเช้าวันรุ่งขึ้น ทำให้มีโรงแรมเกิดขึ้นประมาณ […]

noble PLAY ประสบการณ์สร้างสรรค์แห่งใหม่ใจกลางเพลินจิต

‘Next Station เพลินจิต…’ เมื่อได้ยินชื่อสถานีเพลินจิตจากเสียงประกาศอันคุ้นเคยบนรถไฟฟ้า คุณจะคิดถึงอะไรเป็นอย่างแรก?  ในภาพจำของหลายคน ชื่อ ‘เพลินจิต’ อาจจะทำให้นึกถึงย่านออฟฟิศใจกลางเมือง ที่มีหนุ่มสาววัยทำงานเดินกันขวักไขว่ แต่เมื่อถึงช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ทุกคนหยุดทำงาน ย่านเพลินจิตที่รายล้อมด้วยตึกออฟฟิศจึงเงียบเหงาเป็นพิเศษ ตอนนี้เพลินจิตจะไม่เหงาอีกต่อไปแล้ว เพราะ ‘noble PLAY’ พื้นที่สร้างประสบการณ์สร้างสรรค์แห่งใหม่ใจกลางเมือง พัฒนาโดย บริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เพิ่งเปิดเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา และพร้อมให้ทุกคนเข้าไปทำอะไรสนุกๆ ด้วยกันแล้ว ท่ามกลางตึกออฟฟิศที่รายล้อมย่านเพลินจิต noble PLAY คือพื้นที่เดียวที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่หลากหลายของคนเมือง ไม่ว่าจะเป็น ‘Art Space’ สำหรับจัดนิทรรศการศิลปะ, ‘Eatery’ กินเมนู All day brunch จาก Toby’s สาขาใหม่ล่าสุด, ‘Pop up Cafe’ ที่จะมีร้านกาแฟ Specialty ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมา ตั้งแต่วันนี้ – 30 […]

Juumpo Family Recipes อาหารพังงาสูตรก๋ง ที่หากินได้เฉพาะครอบครัวตะกั่วป่า

เมืองกำลังจะเปิดเต็มตัว การท่องเที่ยวก็เริ่มกลับมาคึกคัก ช่วงนี้ใครมีโอกาสได้ไปเยือนพังงาแล้วแพลนยังว่างอยู่ เราขอชวนไปลองชิมอาหารแบบฉบับชาวตะกั่วป่าที่ Juumpo Family Recipes กับอาหารที่มีส่วนผสมของหลายวัฒนธรรมจากการเป็นเมืองท่าของจังหวัดพังงา และเป็นสูตรอาหารอายุกว่า 80 ปี ที่ตกทอดมาจากก๋ง ซึ่งเป็นชาวจีนที่อพยพมาเป็นคนงานในเหมืองแต่ฝีมือทำอาหารแสนโดดเด่นจนได้รับฉายาว่า ‘จุมโพ่’ หรือที่แปลว่าพ่อครัว อาหารของที่นี่จะว่าไม่เคยกินมาก่อนก็ใช่ แต่จะบอกว่าไม่คุ้นเคยก็คงไม่ถูก เพราะมีความเป็นลูกผสมและมาจากสูตรประจำตระกูลทำให้มีรสชาติไม่เหมือนใคร มีความกลมกล่อม มีเครื่องเทศ แต่ไม่ได้เผ็ดร้อนและเน้นเครื่องแกงเหมือนอาหารใต้ที่เราคุ้นเคย แต่ความอร่อยการันตีได้ว่าเด็ดจริง เพราะเป็นร้านแนะนำของมิชลิน ไกด์ด้วย  ถ้าอยากรู้ว่าอาหารของชาวตะกั่วป่าจะเด็ดแค่ไหน และมีเรื่องราววัฒนธรรมอะไรแฝงไว้บ้าง มาดูไปพร้อมกันเลย! Juumpo Family Recipes ลูกหลานชาวตะกั่วป่าขนานแท้อย่าง ปีย์-ปิยธวัช อนุศาสนนันท์ เริ่มต้นเล่าที่มาของอาหารในแบบฉบับจุมโพ่ไว้ว่า เกิดขึ้นมาจาก ‘ก๋ง’ ซึ่งเป็นชาวจีนที่เดินทางจากแผ่นดินใหญ่มาตั้งรกรากที่ประเทศไทย “ก๋งเริ่มจากทำงานในเหมืองแร่ ซึ่งเป็นอาชีพหลักในสมัยก่อนของคนแถบนี้อยู่แล้ว ก๋งเนี่ยถือว่าเป็นคนที่ทำอาหารอร่อย ก็จะได้รับหน้าที่หลักในการทำอาหารให้นายเหมือง เพื่อนร่วมงาน หรือกุลี ทุกคนที่ได้กินอาหารฝีมือก๋งก็จะถูกใจแล้วก็จะเรียกก๋งว่าจุมโพ่ ซึ่งภาษาจีนแปลว่าพ่อครัว แล้วคำนี้ก็กลายเป็นฉายาของก๋งมาโดยตลอด ไปไหนมาไหนก็จะเรียกจุมโพ่” ความตั้งใจของปีย์คือการหยิบเอาวัฒนธรรมบาบ๋าหรือเปอรานากันออกมาแสดงให้ทุกคนเห็น ถ้าใครมีโอกาสได้มาพักที่โรงแรมกาล เขาหลัก ซึ่งมีร้านอาหารจุมโพ่เป็นส่วนหนึ่งของที่พัก จะพบว่ามีวัฒนธรรมแบบบาบ๋าแฝงอยู่ทุกที่ ตั้งแต่การต้อนรับ การตกแต่ง ที่พัก […]

กำปงกู พื้นที่สาธารณะที่ทำโดยประชาชน ไม่มีเวลาเปิดปิด ไม่จำกัดกิจกรรม และเติบโตไปพร้อมผู้ใช้งาน

แดดสี่โมงเย็นของยังคงส่องแสงแรงกล้า ช่วงเวลาที่ตะวันยังไม่คล้อยต่ำ บรรยากาศของเมืองปัตตานีมีลมพัดเป็นระลอก ที่ลานสเก็ตก็มีเพียงหนุ่มน้อยจากชุมชนบือตงกำปงกูสามนาย ที่มาพร้อมกับสเก็ตบอร์ดหนึ่งแผ่นเดินเข้ามาทักทาย บอกว่าเดี๋ยวอาจารย์อาร์ม-ดร.ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย ที่นัดกันไว้ก็จะมาแล้ว  คุยไปไถเล่นไปโชว์ลีลาไปไม่นานเท่าไหร่ เสียงเครื่องยนต์ที่คุ้นเคยก็ดังขึ้นจากทางเข้ากำปงกู นักกีฬาสามคนหมดความสนใจสเก็ตอันจิ๋ว วิ่งไปเปิดท้ายรถซีดานสีเขียวแก่อย่างคุ้นเคยก่อนจะช่วยขนทั้งสเก็ตบอร์ด เซิร์ฟสเก็ต หรือโรลเลอร์เบลดออกมาคอยท่าเพื่อนๆ  ตัวเล็กเหล่านี้จะรู้จักกำปงกูกันในฐานะลานสเก็ตประจำชุมชน ที่ข้างในเป็นห้องสมุดเปิดให้เข้าไปอ่านหนังสือ นั่งเล่น นอนเล่นกันได้ แต่เราขอนิยามที่นี่ว่าเป็นพื้นที่สาธารณะที่จัดทำโดยประชาชนดีกว่า เป็นที่สาธารณะที่ไม่ได้มีไว้เพื่อทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่จะทำอะไรก็ได้ตามแต่ใจผู้ใช้งาน ไม่มีเวลาเปิด-ปิด ไม่มีค่าใช้จ่าย จะมาใช้งานตอนไหนก็ไม่ว่ากัน  01 ชุมชนบือตงกำปงกู เวลาผ่านไปไม่นานนัก ชาวแก๊งมากันเต็มลาน บางคนเหมือนจะเพิ่งเริ่มหัดยืนบนกระดานได้ไม่นาน บางคนดรอปอินลงมาจากแลมป์อย่างคล่องแคล่ว ส่วนบางคนก็ถนัดที่จะดูเพื่อนมากกว่า หลังจากทักทายและเซย์ฮายกันเรียบร้อย เราชวน อ.อาร์ม เข้าร่มไปยังบริเวณห้องสมุดที่ยังอยู่ในสภาพกึ่งทางการ คือบางมุมก็เป็นระเบียบเรียบร้อย แต่บางจุดก็ยังรอการจัดการอยู่ “ทีแรกเป็นร้านชาบูมาก่อน เสร็จแล้วพอโควิดมันเล่นงานคนเช่าก็เลยเลือกที่จะเปลี่ยนลุคใหม่ไปเลย แล้วตอนนี้เขาก็เลิกทำไปก่อน ทุบทั้งหมดออกแล้วเหลือเศษกระจกไว้ให้เราดูต่างหน้า (ยิ้ม) ทีแรกเราตั้งใจทำแค่ลานสเก็ตข้างหลังนี้แหละ ก็เลยเริ่มจากการเคลียร์พื้นที่ด้านหลังที่เคยเป็นป่ามาก่อน กะว่าจะลาดปูนเฉยๆ เพราะเท่านี้ก็ไถสเก็ตได้แล้ว แล้วถ้าเกิดว่างๆ ก็อาจจะมาทำตลาดทำอะไรก็ว่าไป เราคิดแค่นั้นเอง “แต่ว่าในช่วงที่เราเข้ามาดูพื้นที่กันก็เห็นคนเข้ามาซื้อขายยาเสพติด ทั้งที่เราก็ยืนอยู่ตรงนั้นนะแต่เขาก็ทำธุรกรรมกันได้ (หัวเราะ) เราก็รู้สึกว่ามันทำให้พื้นที่ตรงนี้ฮาร์ดคอร์เกินไปหน่อย ก็เลยคุยกับทางทีมดีไซเนอร์แล้วบอกให้เขาออกแบบลานสเก็ตให้เป็นเรื่องเป็นราวไปเลยดีกว่า บังเอิญว่าคนออกแบบก็เล่นไม่เป็นด้วย […]

5 แยกลาดพร้าว The next new CBD ที่เป็นทุก VIBE ในการใช้ชีวิต

ในกรุงเทพฯ Central Business District (CBD) ที่เรานึกถึงคงหนีไม่พ้น ทำเลตรงสยาม เพลินจิต สีลม พญาไท สุขุมวิทตอนต้น ที่เป็นพื้นที่ศูนย์กลางของเมืองที่มีกิจกรรมขับเคลื่อนทางธุรกิจขนาดใหญ่ ศูนย์กลางของแหล่งงาน กิจกรรมทางสังคมและเศรษฐกิจของเมืองหรือประเทศ มีการพัฒนาปลูกสร้างอาคารสูง ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่สำนักงาน ศูนย์การค้า ห้างร้านและอาคารที่พักอาศัย รวมถึงมีขนส่งมวลชนเข้าถึงพื้นที่สะดวกสบาย แต่ปัจจุบันเมื่อความเจริญค่อยๆ เติบโตขึ้น พื้นที่รอบตัวเมืองเริ่มกลายเป็น New CBD ที่ขับเคลื่อนและเติมเต็มการใช้ชีวิตของผู้คนได้มากขึ้น ซึ่ง ‘5 แยกลาดพร้าว’ เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่จะกลายเป็น New CBD หรือ North CBD อันเป็นแลนด์มาร์กความเจริญของเมืองฝั่งเหนือได้ชัดเจนที่สุด เปรียบเทียบง่ายๆ หากย่านบางนาเป็นความเจริญของเมืองในฝั่งตะวันออก 5 แยกลาดพร้าว ก็นับเป็นความเจริญฝั่งเหนือของเมืองที่มีครบทุก VIBE ในการใช้ชีวิตเช่นเดียวกัน ทำไมถึงเป็น 5 แยกลาดพร้าว? การจะเป็นทำเลที่เป็น CBD ในอนาคตได้ สิ่งสำคัญต้องเป็นทำเลที่เพียบพร้อมในการใช้ชีวิตทุกๆ ด้าน ทั้งการอยู่อาศัย การออกไปทำงาน และความสะดวกสบายในการเดินทาง เรียกได้ว่าเป็น […]

9 Active Activities : สถานที่ทำกิจกรรมแอ็กทีฟทั่วกรุงเทพฯ-ปริมณฑล

หลังจากปีที่ผ่านมาชีวิตต้องเผชิญกับการล็อกดาวน์กรุงเทพฯ วนไปหลายรอบ ทำให้ชีวิตประจำวันเดินวันละไม่กี่ร้อยก้าว ทำให้ร่างกายเผาผลาญน้อยลง และน้ำหนักเพิ่มขึ้นแบบเงียบๆ ปีนี้เราจึงอยากชวนทุกคนมาตั้งปณิธานกับตัวเองไว้ว่า ปีนี้จะออกนอกบ้านไปทำอะไรแอ็กทีฟมากขึ้น เพื่อเรียกพลังชีวิตกลับคืนมา และลองออกไปทำกิจกรรมใหม่ๆ ในกรุงเทพฯ ให้บ่อยขึ้น หากคุณเป็นคนที่ทำงานหรือเรียนออนไลน์อยู่บ้านติดหน้าจอมาทั้งสัปดาห์ เราอยากชวนมาใช้เวลาวันหยุดด้วยการออกนอกบ้านไปทำกิจกรรมสนุกๆ ด้วยกัน กิจกรรมทั้ง 9 สถานที่ที่เลือกมามีทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เราคัดสรรมาทั้งในร่มและกลางแจ้ง เล่นได้ทั้งบนบกและในน้ำ จะเล่นคนเดียว เล่นเป็นคู่ หรือชวนเพื่อนไปแฮงเอาต์เป็นกลุ่มก็ได้ทั้งนั้น ไม่แน่ว่าปีนี้คุณอาจจะได้สกิลใหม่ หรือเจองานอดิเรกใหม่ที่ชอบก็ได้นะ ทั้งหมดที่คัดสรรมามีหลายราคาให้เลือกไป และบางกิจกรรมอยู่ในพื้นที่สาธารณะเข้าได้แบบฟรีๆ ได้ทำกิจกรรม ได้สุขภาพ ลองจิ้มสักกิจกรรมแล้วจองคิวเพื่อนๆ ไว้นะ! ล่องเรือใบ พายคายัก และวินด์เซิร์ฟ ที่ศูนย์กีฬาทางน้ำบึงหนองบอน นอกจากจะมาเดิน วิ่ง ปั่นจักรยานในสวนหลวง ร.9 กันได้แล้ว ที่ ‘ศูนย์กีฬาทางน้ำบึงหนองบอน’ ยังเป็นศูนย์รวมกิจกรรมทางน้ำที่ครบและหลากหลายที่สุด ได้แก่ เรือใบ พายคายัก ซัปบอร์ด และวินด์เซิร์ฟ แถมค่าเรียนและค่าสมาชิกรายปียังถูกมากๆ ใครบ้านใกล้อยู่ในย่านนี้จะยิ่งดีเข้าไปใหญ่เพราะมาใช้ได้จนคุ้ม แถมช่วงแดดร่มลมตกที่นี่ยังบรรยากาศดีมาก มาเล่นกีฬาแล้วยังมานั่งปิกนิกในสวนต่อได้ *การจองคอร์สเรียนกีฬาแต่ละชนิดติดต่อสอบถามราคาที่เฟซบุ๊กของสวนได้โดยตรง เนื่องจากตารางเรียนและเวลาไม่เท่ากัน อาจมีการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์โควิด-19 […]

Hannari Cafe de Kyoto คาเฟ่ชาเขียวจากเกียวโต ที่ช่วยเยียวยาใจคนอยากไปญี่ปุ่น

‘คิดถึงญี่ปุ่น’ เราเชื่อว่าคนไทยหัวใจญี่ปุ่นต้องมีความคิดนี้วนเวียนอยู่ในหัวตลอด 2 ปีที่ผ่านมา หรือแม้แต่คนที่มีแพลนจะไปญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2020 จนตอนนี้แล้วก็ยังทำได้เพียงเที่ยวญี่ปุ่นออนไลน์แบบเหงาๆ กันต่อไป ถ้ามีอะไรที่พอจะทำให้เยียวยาใจและคลายความคิดถึงญี่ปุ่นได้บ้าง ก็คงจะเป็นอาหารและบรรยากาศในไทยที่ทำให้เรารู้สึกเหมือนได้วาร์ปไปญี่ปุ่นสักพัก เราจึงอยากชวนไปรู้จักกับ Hannari Cafe de Kyoto คาเฟ่น้องใหม่ที่เพิ่งเปิดเมื่อกลางปี 2021 ที่ผ่านมา คาเฟ่ที่นำเอาชาเขียวจากเมืองอุจิ เกียวโต มาสร้างสรรค์เป็นเมนูขนมและของหวานอย่างหลากหลาย และยังมีเมนูคิสสะเต็นที่เป็นเมนูคาเฟ่สไตล์ญี่ปุ่นเรโทรยุค 80 อีกด้วย ทำให้เราได้สัมผัสกับความเป็นญี่ปุ่นแท้ๆ ที่ใจกลางทองหล่อ ร้านตั้งอยู่ใกล้ๆ กับดองกิ มอลล์ ทองหล่อ นี่เอง อิมพอร์ตความญี่ปุ่นจากเกียวโตสู่กรุงเทพฯ ไม่ใช่แค่นักท่องเที่ยวชาวไทยเท่านั้นที่เดินทางไปญี่ปุ่นไม่ได้ในช่วงนี้ แต่บริษัท เอช.ไอ.เอส. ทัวร์ส์ (HIS Tours) หนึ่งในบริษัทท่องเที่ยวชื่อดังที่ขึ้นชื่อเรื่องบริการด้านการท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นก็เช่นกันที่อดพาทุกคนไปญี่ปุ่นในช่วงที่โควิด-19 ระบาด จึงได้เปิด Hannari Cafe de Kyoto ขึ้นมาเพื่อเป็นที่พักใจของคนที่คิดถึงบรรยากาศความเป็นญี่ปุ่น หรือแม้แต่คนญี่ปุ่นเองยังติดใจที่นี่เช่นกัน เพราะเมื่อเข้ามาในร้านเราจะได้พบกับแม่บ้านญี่ปุ่นแวะเวียนมานั่งทานขนมหวานช่วงบ่ายกันเรื่อยๆ คำว่า ฮันนาริ (はんなり) เป็นภาษาท้องถิ่นของเกียวโต มีความหมายว่า “งดงาม” “สวยงาม” […]

1 3 4 5 6 7 10

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.