Waltz Bakes x Harvest Moon Bookshop คาเฟ่และร้านหนังสืออิสระ ที่อยากชวนมามีวันดีๆ ท่ามกลางกลิ่นขนมและวิวทุ่งนา

ทุ่งนาสีเขียวกว้างไกลสุดสายตา กลิ่นดินหลังฝนตกโชยมากับสายลมแผ่ว ใต้เงาไม้ของต้นลำไยที่ปลูกอยู่รายล้อม บ้านไม้ชั้นเดียวตั้งตระหง่านอยู่ปลายคันนา มองภายนอกดูคล้ายที่อยู่อาศัยทั่วไป แต่ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นโต๊ะ เก้าอี้ไม้ บาร์ขนม และห้องที่มีหนังสือนับร้อยซ่อนอยู่ภายใน ที่นี่คือ Waltz Bakes x Harvest Moon Bookshop คาเฟ่ขนมอบและร้านหนังสืออิสระที่ตั้งอยู่ในชุมชนสันผักหวาน ไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่แค่ 15 นาที ที่นอกจากจะมีกลิ่นขนมอบกับหนังสือดีๆ คอยต้อนรับลูกค้าทุกวัน วิวทุ่งนาที่ทอดยาวรอบด้านก็เหมาะแก่การมาใช้เวลาทอดสายตาเพลินๆ ในวันหยุดไม่เบา นั่นอาจเป็นเหตุผลที่ ‘อัง-ชฏิลรัตน์ ดอนปัน’ อดีตกราฟิกดีไซเนอร์ชาวเชียงใหม่ และ ‘แขก-ปิยศักดิ์ ประไพพร’ หนุ่มลำพูนอดีตพนักงานร้านหนังสืออิสระ ตัดสินใจปล่อยมือจากงานที่ทำมาหลายปีแล้วมาก่อร่างสร้างฝันที่ปลายคันนาแห่งนี้แทน คาเฟ่ของแม่ญิงเจียงใหม่ x ร้านหนังสือของบ่าวหละปูน เรื่องราวก่อนจะมาเปิดร้านด้วยกันนั้นสุดแสนจะเรียบง่าย : แขกกับอังเป็นแฟนกัน คบกันมาหลายปี เมื่อตั้งใจว่าจะสร้างชีวิตร่วมกันแล้วทั้งคู่จึงมองหาพื้นที่ปลูกบ้านเพื่อลงหลักปักฐาน แขกที่ก่อนหน้านี้ทำงานเป็นพนักงานประจำร้านเล่า ร้านหนังสืออิสระย่านนิมมานฯ ก็ได้รับการแนะนำให้รู้จักพื้นที่ตรงนี้โดยคนรู้จัก เขาจำได้ว่าบรรยากาศในวันที่มาดูไม่ต่างจากวันนี้มากนัก พื้นที่โล่งกว้าง รายล้อมไปด้วยสีเขียวของทุ่งนาและต้นลำไยของชาวบ้านสันผักหวาน-เรียบง่ายแค่นั้น แต่ความเรียบง่ายแค่นั้นก็ทำให้ทั้งสองพอเห็นภาพชีวิตคู่ พวกเขายังมองว่าที่ตรงนี้ทำเลดี ไม่ไกลจากอำเภอเมืองเกินไป “ในแง่การอยู่อาศัยเราต้องการสถานที่ที่เงียบสงบหน่อย ซึ่งหาที่แบบนี้จากในเมืองได้ยาก” แขกเล่าเหตุผล ก่อนอังจะเสริมต่อ […]

The Alphabet Book Café ดื่มกาแฟ จิบค็อกเทล อ่านวรรณกรรม ที่สอดแทรกไปด้วยอุดมการณ์คนทำหนังสือ

“มันเป็นสถานที่ที่เล็กและธรรมดาเกินไปสำหรับคนในแวดวงสังคมชั้นสูง และก็เงียบเกินไปสำหรับผู้ที่โปรดปรานแสงสีและเสียงอึกทึกแห่งอารยธรรมสมัยใหม่” ประโยคจากหนังสือ ‘The Awakening (การฟื้นตื่นของเอ็ดน่า)’ โดย Kate Chopin (เคต โชแปง) ที่ ‘เอก-เอกสิทธิ์ เทียมธรรม’ ผู้จัดการร้าน ‘The Alphabet Book Café’ และบรรณาธิการสำนักพิมพ์ ‘สมมติ’ เลือกให้เป็นคำนิยามที่อธิบายภาพบรรยากาศของคาเฟ่หนังสือแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี สำหรับเรา คาเฟ่หลังสีดำแซมไปด้วยสีเขียวของต้นไม้หลังนี้ คือสถานที่หลบภัยชั้นดีของผู้ที่ต้องการหลีกหนีความวุ่นวายในเมือง เพื่อใช้เวลาอยู่กับตัวเอง เสียงเพลง และหนังสือสักเล่ม ก่อนกลับไปลุยงานต่อในวันถัดไป แม้จะอยู่ไกลจากตัวเมืองเสียหน่อย แต่รับประกันว่ามาแล้วไม่รู้สึกเสียเที่ยวอย่างแน่นอน จาก ‘สมมติ Book Café’ สู่ ‘The Alphabet Book Café’ ถึงแม้ว่าร้าน The Alphabet Book Café จะเพิ่งเปิดได้ไม่นาน แต่ความจริงแล้วแนวคิดเรื่องการทำ Book Café ภายใต้สำนักพิมพ์สมมตินั้นถือกำเนิดขึ้นมานานแล้ว “จุดที่เห็นได้ชัดเลยคือเมื่องานหนังสือปี 2558 เราพยายามดีไซน์ตัวบูทขายหนังสือ ให้ไม่ได้ทำหน้าที่แค่ขายหนังสือเพียงอย่างเดียว” เอกเล่าถึงช่วงเริ่มต้นที่ไอเดียเรื่องนี้เริ่มออกมาเป็นรูปเป็นร่าง […]

ท่องกรุงเทพฯ ส่องสถาปัตยกรรม พา New Honda Civic e:HEV RS ไปสร้างไลฟ์สไตล์ในเมือง

ถ้าเป็นคนเราอาจสังเกตรูปร่างหน้าตาภายนอกและพูดคุยเพื่อรับรู้ได้ประมาณหนึ่งว่าเขาเป็นคนแบบไหน แต่สำหรับ ‘เมือง’ การได้ออกไปเห็นอาคาร บ้านเรือน และสถาปัตยกรรมต่างๆ เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เราเข้าใจเรื่องราวความเป็นมาของย่านนั้นๆ ได้เป็นอย่างดีเช่นเดียวกัน  ซึ่งทุกเมืองทั่วโลกล้วนมีเสน่ห์ในตัว ไม่ต่างจากกรุงเทพฯ ที่อัดแน่นด้วยเอกลักษณ์มากมายและยังมีอะไรให้น่าค้นหาอยู่ ไปย่านหนึ่งเราอาจได้บรรยากาศแบบหนึ่ง และเพียงเดินทางไม่นานไปอีกย่านหนึ่ง อาคาร บ้านเรือน และบริบทโดยรอบที่เปลี่ยนไปก็ทำให้เราได้ซึมซับบรรยากาศแปลกใหม่แล้ว จึงไม่แปลกที่ชาวต่างชาติส่วนใหญ่มาเที่ยวในกรุงเทพฯ จะชื่นชอบ จนเอ่ยปากชมกันนักต่อนัก ไหนๆ วันนี้มีเวลาได้ชิล เราขอพาเพื่อนสาวชาว Urban Creature จัดทริปออกไปสำรวจเมืองให้กว้างขึ้น ส่องสถาปัตยกรรมในย่านต่างๆ แวะตามคาเฟ่สุดชิก พร้อมทำคอนเทนต์กับ New Honda Civic e:HEV RS ที่เป็นเจเนอเรชัน 11 ของรุ่น Civic ที่อยู่คู่คนไทยมานาน และครั้งนี้ก้าวสู่มิติใหม่ด้วยระบบขับเคลื่อนฟูลไฮบริด ประหยัดน้ำมันยิ่งกว่าเดิม แต่ยังให้อัตราเร่งที่เร็วแรงเหมือนกับดีไซน์ตัวรถที่ดูสปอร์ตพรีเมียม หรูหราในทุกมุมมอง สอดรับกับไลฟ์สไตล์คนเมืองได้อย่างลงตัว เมื่อเป็นรถที่เข้ากับคนเมืองอย่างเราขนาดนี้แล้ว…งั้นขอสตาร์ทขับไปทั่วเมือง และแวะถ่ายรูปรถคู่กับเมืองย่านต่างๆ มาฝากชาว Urban Creature จะได้เห็นชัดกันเลยว่า New Honda Civic e:HEV RS ดีงามขนาดไหน ความโฮมมี่ ในย่านใจกลางเมือง เริ่มต้นเช้าแบบนี้ ต้องขอแวะดื่มกาแฟกันก่อนที่ […]

Greenovative Destination พาส่อง สถานีบริการน้ำมัน สไตล์ ‘Bangchak Unique Design’ ที่เป็นมากกว่าแค่สถานีบริการน้ำมัน

เดี๋ยวนี้จะเข้าสถานีบริการน้ำมันหนึ่งครั้ง ดูแค่เรื่องน้ำมันคงไม่พอแล้ว ไหนจะต้องมีห้องน้ำที่สะอาด มีร้านอาหารมากมายให้เลือกสรร เอาแบบที่จอดรถเติมน้ำมันหนึ่งครั้ง ต้องได้ความสุขกายสบายใจกลับไปแบบเต็มกระเป๋า และทั้งหมดที่กล่าวมายังต้องอยู่รวมกันอย่างลงตัวและสวยงามด้วยนะ ซึ่งความต้องการเหล่านี้ตอบโจทย์ได้ด้วย ‘สถานีบริการน้ำมันบางจาก’ ที่ออกแบบสถานีด้วยรูปแบบยูนีคดีไซน์ (Unique Design) เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภค ด้วยแนวคิดการเป็นจุดหมายของการใช้ชีวิตของคนทุกช่วงวัยอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน (Your Greenovative Destination for Intergeneration) ทำให้บางจากฯ ไม่เหมือนสถานีบริการน้ำมันแบบเดิมๆ แต่เสมือนได้เดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่มากกว่าแค่ความสวย ความพรีเมียม ความประณีต แต่ตอบโจทย์ความสะดวกสบาย คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ดีต่อโลก ดีต่อใจ เป็นพื้นที่ที่ทุกคนเข้ามาสร้างความสุขได้ด้วยตนเอง ปัจจุบันบางจากฯ มีสถานีบริการน้ำมันที่ใช้การออกแบบแบบยูนีคครอบคลุมทั่วประเทศ ทั้งหมด 54 สาขา และมีแผนขยายเครือข่ายในรูปแบบนี้เพิ่มเป็นมากกว่า 80 สาขา ภายในปี 2565  วันนี้ Urban Creature จึงได้เก็บภาพบรรยากาศส่วนหนึ่งของสถานีบริการน้ำมัน Bangchak Unique Design ได้แก่ สาขาศรีนครินทร์ กม.14, สาขาสุขุมวิท 62 และสาขาอินฟินิท เกษตรนวมินทร์ […]

Navakitel โรงแรมที่บอกเล่าความเป็นนครศรีฯ ผ่านสถาปัตยกรรมและงานดีไซน์

หากพูดถึงนครศรีธรรมราช ภาพของธรรมชาติอันสวยงาม สถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อทั้งทะเลและภูเขา รวมไปถึงการท่องเที่ยวด้านความศรัทธาอย่างไอ้ไข่หรือจตุคามรามเทพคงขึ้นมาในใจใครๆ หลายคน  จากเมืองรองที่เป็นเหมือนแค่ทางผ่านไปสู่จังหวัดอื่น ปัจจุบันนครศรีธรรมราชคึกคักไปด้วยธุรกิจน้อยใหญ่ของคนรุ่นใหม่ที่กลับบ้านมาพัฒนาเมือง Navakitel Design Hotel คือโรงแรมในจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ไม่เพียงเห็นโอกาสของจังหวัด ทว่าสร้างขึ้นโดยใช้ดีไซน์ที่สะท้อนถึงเรื่องราวในตัวจังหวัดมาเป็นหนึ่งในจุดขาย เป็นทางเลือกให้แขกบ้านแขกเมืองเข้าพัก  ‘เฟิส-วาริชัย บุญประดิษฐ์’ หนึ่งในคนรุ่นใหม่ที่กลับบ้านมาดูแลโรงแรมซึ่งเป็นกิจการของครอบครัว อยากใช้พื้นที่แห่งนี้เป็นหนึ่งในสถานที่จุดประกาย สร้างโอกาสทางการงานให้คนนครฯ ที่อยู่ไกลบ้านได้มีโอกาสกลับมาอยู่ในพื้นที่อีกครั้ง กลับบ้านเพราะเห็นโอกาสในจังหวัด เฟิสเล่าให้ฟังว่า นาวากีเทลเริ่มต้นจากความตั้งใจของครอบครัวที่อยากต่อยอดที่ดินผืนแรกของที่บ้านให้เกิดประโยชน์ โดยที่ตัวเขาเองเพิ่งกลับมาช่วยที่บ้านบริหารหลังจากโรงแรมสร้างเสร็จเมื่อ 3 ปีก่อน “ตอนที่ที่บ้านมีแพลนจะสร้างโรงแรม เรายังเรียนอยู่ที่กรุงเทพฯ ตอนนั้นเลยยังไม่ได้รับรู้ข้อมูลอะไรมากนัก ไม่รู้หรอกว่าเขาจะทำอะไรยังไงบ้าง แต่โรงแรมมาสร้างเสร็จตอนเราเรียนจบพอดี ก็เลยตัดสินใจกลับมาทำ” ผู้บริหารหน้าใหม่อย่างเขาเปิดใจเล่าให้ฟังตรงๆ เขาบอกว่าสาเหตุที่ทำให้ตัดสินใจกลับบ้านมาดูแลธุรกิจของครอบครัวเป็นเพราะตัวเองย้ายออกจากนครฯ ไปใช้ชีวิต เรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่จบชั้นมัธยมต้น แต่ถึงจะใช้เวลานานขนาดนั้น เขาก็ยังรู้สึกว่ากรุงเทพฯ ไม่ใช่ที่ที่ใช่ของตัวเองอยู่ดี  “เราไปเรียนที่กรุงเทพฯ เจ็ดถึงแปดปี แต่ไม่อินกับกรุงเทพฯ เลย ไปอยู่ที่นั่นแน่นอนว่าการปรับตัวก็ไม่ง่าย กว่าจะเดินทางไปนู่นมานี่เป็น กว่าจะเข้ากับเพื่อนได้ เราเลยตั้งคำถามระหว่างทางตลอดว่าทำไมต้องกรุงเทพฯ ทำไมต้องเป็นแบบนั้น “พอมาฉุกคิดเลยเจอว่าเราเองก็เป็นเหมือนหนึ่งในผลผลิตของค่านิยมสังคมไทยที่ถูกบีบให้มาที่นี่ อยู่โรงเรียนประจำจังหวัด แล้วต้องไปโรงเรียนระดับประเทศให้ได้ ต้องอยู่มหา’ลัยระดับประเทศให้ได้ ทุกอย่างเต็มไปด้วยการแข่งขัน และโอกาสทุกอย่างมันก็กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ […]

‘ซาว เอกมัย’ ร้านอาหารอีสานที่มีกฎเหล็กว่า ‘อย่าใช้สมอง แต่ให้ใช้ลิ้นกิน’

“อะไรคือสิ่งที่ทำให้อีฟหันมาเสนอความแซ่บของสำรับอีสาน” “เราต้องการให้คนเปลี่ยน Perception ที่มีต่ออาหารอีสาน ว่ามันไม่ใช่แค่ของราคาถูก” คำตอบของ อีฟ-ณัฐธิดา พละศักดิ์ เมื่อเราถามถึงเป้าหมายของร้าน ‘ซาว เอกมัย’ ที่เธอลงมือฟูมฟักตั้งแต่สาขาแรกในจังหวัดอุบลราชธานี จนขยับขยายสู่สาขาสองที่เพิ่งแลนดิ้งในย่านเอกมัยมาได้ไม่นาน พร้อมหยิบวัตถุดิบพื้นบ้าน กรรมวิธีการปรุง และสำรับอาหารในแบบที่คนอีสานกินแบบไหน ซาวก็เสิร์ฟแบบนั้นให้ได้ลิ้มลอง อันที่จริงคุณอาจจะรู้จักอีฟจากบทบาทหนึ่งในผู้ก่อตั้ง Foundisan กลุ่มคนทำงานด้านดีไซน์ที่เล่าเรื่องอีสานผ่านงานออกแบบและงานคราฟต์ร่วมสมัย ซึ่งฉีกกรอบภาพจำของสินค้าโอท็อปแบบเดิมๆ ด้วยการ Redesign โปรดักต์เพื่อสร้างมูลค่าให้สูงขึ้น แน่นอนว่าวิชวลที่ออกมานั้นเต็มไปด้วยสีสัน ความสนุก และทันสมัยมากกว่าที่เคย หลังจากลงมือทำ Foundisan มานาน 3 – 4 ปี อีฟก็เจอโจทย์หินว่าจะทำอย่างไรให้สินค้าโอท็อปขายได้ แม้จะเอามายกเครื่องใหม่ก็ยังไม่สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ เพื่อช่วยให้คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีขึ้น ประกอบกับการลงพื้นที่ในทุกๆ ครั้ง อีฟจะได้ชิมอาหารฝีมือแม่ๆ ซึ่งมีคัลเจอร์ที่น่าสนใจ เพราะอีสานแต่ละจังหวัดก็มีเครื่องปรุงและวัตถุดิบบางอย่างแตกต่างกัน จึงกลายเป็นจุดประกายเล็กๆ ที่อยากเล่าวัฒนธรรมอีสานให้ง่ายกว่างานคราฟต์ ซึ่ง ‘อาหาร’ คือคำตอบ ร้านที่อยากเปลี่ยนมุมมองของคนต่ออาหารอีสาน ‘ซาว อุบลฯ’ คือซาวสาขาแรกที่อีฟได้เริ่มทำในช่วงที่ธุรกิจรถเกี่ยวข้าวของเธอกำลังจะไม่ได้ไปต่อ จึงชวนพนักงานของบริษัทลงพื้นที่ตระเวนกิน เฟ้นหาวัตถุดิบ รวมไปถึงสูตรอาหารต่างๆ โดยมีระยะเวลาเตรียมการเพียง […]

ดุกมั้ง : ร้านอาหารโฮมเมดที่รับลูกค้าวันละ 2 โต๊ะ และขายเฉพาะ ‘ปลาดุก’ เท่านั้น

คุณเคยไปทานอาหารร้านไหนที่มีวัตถุดิบหลักอย่างเดียวแต่ครีเอตได้หลากหลายเมนูไหม? ถ้ายังไม่เคยเจอร้านไหนใจกล้าขายแบบนี้ เราอยากแนะนำให้รู้จักกับ ‘ดุกมั้ง (Duke Munk)’ ร้านอาหารโฮมเมดในบ้านที่มีวัตถุดิบหลักอย่างเดียวคือ ‘ปลาดุก’ แถมยังมีเมนูไม่เยอะ และรับลูกค้ากลุ่มเล็กๆ แค่วันละ 2 โต๊ะ เท่านั้น  ดุกมั้ง คือร้านอาหารในบ้านของ ดอกฝิ่น-ธเนศ ทรัพย์ศาสตร์ และ เนย-ณัชชา วารีรัตนโรจน์ ในซอยชัยพฤกษ์ (ซอยสุขุมวิท 65) ที่เริ่มจากความชอบทำอาหาร เปิดขายเมนูปลาดุกเฉพาะเดลิเวอรีและเปิดบ้านให้เพื่อนมากินข้าวสังสรรค์ จนปัจจุบันเปิดบ้านเป็นร้านอาหารเล็กๆ ที่ช่วยกันทำแค่ 2 คน เหมือนมากินข้าวบ้านเพื่อน และต้องจองกันเป็นเดือนถึงจะได้กิน  ที่เปิดรับลูกค้าน้อยขนาดนี้ไม่ได้ต้องการจะเป็นร้านลับ หรือทำให้กินยากแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะทั้งคู่ไม่ใช่เชฟ เป็นแค่คนที่ชอบทำอาหารและอยากเปิดบ้านให้คนได้เข้ามากินอาหารฝีมือของตัวเองเท่านั้น จึงต้องใช้เวลาในการเตรียมวัตถุดิบและทำอาหารให้ได้คุณภาพเท่าที่ตัวเองจัดการไหว  นอกจากเมนูปลาดุกทุกจานในร้านนี้จะมีลูกเล่นน่าสนใจแล้ว เรื่องราวของปลาดุกก็สนุกไม่แพ้กัน เพราะกว่าจะทำอาหารจานปลาดุกได้หลากหลายแบบนี้ ดอกฝิ่นใช้เวลาศึกษาและทดลองอยู่นานพอสมควรกว่าจะค้นพบวิธีปรุงปลาดุกทุกจานให้ลงตัว ชื่อร้านดุกมั้ง (Duke Munk) ได้ไอเดียมาจากตอนที่ไปบวช ในวัดมีปลาดุกและเขาก็ชอบกินปลาดุกอยู่แล้ว จึงใช้คำว่า มั้ง (Monk) ที่แปลว่า พระ และอีกนัยหนึ่งคืออยากให้คนที่มากินตั้งคำถาม เกิดความสงสัยว่านี่ใช่ปลาดุกจริงๆ ไหม ปลาดุกมั้ง? […]

ลัดเลาะเส้นเจริญกรุง ตามหาแรงบันดาลใจไปกับ Yamaha Grand Filano Hybrid

ถ้าอยากออกไปสัมผัสบรรยากาศเมืองที่ยังคงสถาปัตยกรรม อาคารบ้านเรือนเมื่อ 150 ปีก่อนไว้อยู่ หรือหาร้านอาหารในตำนานที่สืบทอดความอร่อยรุ่นต่อรุ่น ‘เจริญกรุง’ จะเป็นย่านแรกๆ ที่ปิ๊งขึ้นมาในหัว ให้เราต้องไปเสาะแสวงหา แต่ปัจจุบันเจริญกรุงไม่ได้เป็นเพียงย่านเก่าแก่แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เท่านั้น แต่กลายเป็นย่านที่ถูกแปลงโฉมใหม่ให้กลับมาคูลอีกครั้ง เห็นได้ชัดจากร้านค้า ร้านอาหาร ร้านทางเลือกใหม่ๆ มาเปิดจำนวนมาก หรือร้านเก่าแก่ที่ปลุกตัวเองให้มีชีวิตชีวาขึ้น รวมไปถึงเจริญกรุงยังเป็นพื้นที่หลักในการจัดงานเทศกาลใหญ่ประจำปีอย่าง Bangkok Design Week ที่นำการออกแบบผสมผสานกับพื้นที่ในชุมชนให้มีสีสันยิ่งขึ้น เมื่อเจริญกรุงเป็นย่านที่เต็มไปด้วยมนต์ขลังและความสร้างสรรค์ คอลัมน์ Urban Guide ครั้งนี้ จึงอยากชวนชาว Urban ไปลัดเลาะเส้นเจริญกรุงในวันว่างๆ ตามหาแรงบันดาลใจเพื่อปลุกแพสชันในชีวิตให้กลับมาอีกครั้ง แต่ไปครั้งนี้ต้องมีสไตล์คูลๆ เท่ๆ กับ Yamaha Grand Filano Hybrid ด้วยนะ…พร้อมแล้วก็สตาร์ทไปกันเลย จุดหมายวันนี้ เราขี่ Yamaha Grand Filano Hybrid สีชมพู (Old Rose) สดใส พร้อมสไตล์โฉบเฉี่ยว โดดเด่นมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร ไป 3 สถานที่ที่ตอบโจทย์ทุกความสร้างสรรค์ ตั้งแต่หากิจกรรมในช่วงเช้าที่ร้าน Soul Salt […]

P.Sherman The Enjoyable Ground เปลี่ยนตึกร้างให้เป็นที่แฮงเอาต์สำหรับคนฝั่งธนฯ

ถ้าทุกคนได้เห็นภาพตรงหน้าอย่างที่เราเห็น ต้องไม่เชื่อแน่ๆ ว่ากิจกรรมทั้งหมดนี้เกิดขึ้นอยู่ในอาคารเก่าย่านอรุณอมรินทร์ ที่เคยเป็นตึกร้างมาก่อน เพียงแค่เลี้ยวเข้าซอยอรุณอมรินทร์ 39 ทั้งภาพของคนเล่นเซิร์ฟสเก็ตในลานสเก็ตทรงโค้งซึ่งอยู่กลางพื้นที่ มีร้านอาหารและคาเฟ่รายรอบ พร้อมผู้มาใช้บริการที่นั่งกระจัดกระจายกันเป็นหย่อมๆ บรรยากาศเหมือนอยู่ในโรงอาหารของไฮสกูลต่างประเทศที่มีโต๊ะวางเรียงรายให้เลือกนั่งได้ตามใจ ไหนจะเสียงเพลงที่เปิดขับกล่อมช่วยเพิ่มชีวิตชีวาให้พื้นที่ และโซนจัดแสดงศิลปะที่มีศิลปินคอยชักชวนให้มาร่วมกิจกรรมไปด้วยกัน  อมร สุนทรญาณกิจ ผู้เป็นเจ้าของพื้นที่ ยิ่งเซอร์ไพรส์เราไปอีก เมื่อเขาบอกว่าก่อนหน้าจะเป็นลานเซิร์ฟสเก็ตอินดอร์สุดเก๋อย่าง P.Sherman The Enjoyable Ground ที่นี่เคยเป็นโรงงานเย็บผ้าของครอบครัวสุนทรญาณกิจมาก่อน แต่หลังญาติๆ ย้ายออกไปตั้งโรงงานอยู่นอกเมือง ตึกแห่งนี้ก็ถูกทิ้งร้างมามากกว่าสิบปี  พอมรดกถูกส่งต่อมาให้สถาปนิกอย่างอมร เขาจึงเริ่มคิดอยากรีโนเวตตึกแห่งนี้ให้ดีขึ้นกว่าเก่า เปลี่ยนตึกร้างเป็นลานเซิร์ฟสเก็ต “เพราะที่บ้านพี่น้องทุกคนมีธุรกิจกันหมดเลย ตอนแรกผมเลยกะจะรีโนเวตทำเป็นออฟฟิศ เปิดชั้นล่างให้เช่าทำร้านอาหาร ร้านตัดผม หรือคาเฟ่เล็กๆ ให้พนักงานในออฟฟิศมาใช้ แต่ก็ไม่ได้ทำสักที พอดีกับตอนโควิด เซิร์ฟสเก็ตค่อนข้างดัง เราก็ไปเริ่มเล่นด้วย พอเล่นๆ ไปเริ่มสนุก จริงจัง เลยเริ่มชวนเพื่อนมาเล่นกันที่นี่” พื้นที่ชั้นสองของตึกร้างถูกใช้งานอีกครั้งเป็นสนามอินดอร์สำหรับเล่นเซิร์ฟสเก็ตช่วงหน้าฝน ส่วนลานหน้าอาคารก็ถูกใช้เป็นสถานที่แฮงเอาต์ที่เขาและเหล่าเพื่อนๆ จะพกเก้าอี้แคมป์ปิ้งมานั่งกินดื่มให้หายเหนื่อย  ตอนนั้นเองที่อมรเห็นความเป็นไปได้ใหม่ของพื้นที่ คิดรีโนเวตปรับปรุงพื้นให้เหมาะกับการเล่นมากขึ้น และชวนน้องชายมาเปิดคาเฟ่ทำเป็นพื้นที่รองรับเพื่อนๆ ชาวเซิร์ฟสเก็ต  “ตอนที่คิดจะทำ มันเริ่มมีลานสเก็ตเกิดขึ้นเยอะ ยิ่งเราอยู่ในซอยอย่างนี้ก็ยิ่งทำให้อยู่รอดต่อไปยาก เพราะถึงเซิร์ฟสเก็ตจะถูกบรรจุเป็นกีฬาไปแล้วยังไงก็ไม่มีทางหายไปร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เราก็ต้องยอมรับว่ากระแสเซิร์ฟสเก็ตก็คงไม่ได้อยู่ไปนานขนาดนั้น เพื่อเพิ่มโอกาสรอดทางธุรกิจเราเลยลองจับโมเดลมาร์เก็ตแบบที่อเมริกา […]

ราชบุตร สเตอริโอ ค่ายเพลงหมอลำยุค 70 ที่อยากทำให้ดนตรีอีสานกลับมาคึกคัก

วัยรุ่นส่วนใหญ่ที่เติบโตในจังหวัดอุบลราชธานียุค 1990 – 2000 จะรู้จักหรือคุ้นเคยกับ ‘ราชบุตร’ ร้านเช่าซีดีและดีวีดีที่มีอยู่หลายสาขาทั่วเมืองอุบลฯ เราเองก็คุ้นเคยกับที่นี่ดี เพราะในยุคที่การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมีอย่างจำกัด การเช่าซีรีส์หรือหนังกลับไปดูที่บ้านจึงเป็นหนึ่งในสื่อบันเทิงไม่กี่ประเภทที่คอยหล่อเลี้ยงจิตใจ และเปรียบเสมือนประตูสู่โลกกว้างให้เด็กต่างจังหวัดสมัยนั้น นอกจากธุรกิจร้านเช่าซีดีขวัญใจวัยรุ่นยุค 90 หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า ก่อนหน้านั้นราชบุตรเคยทำ ‘ค่ายเพลงหมอลำ’ อย่างเต็มตัวนานถึง 20 ปี โดยใช้ชื่อว่า ‘ราชบุตร สเตอริโอ’ ราชบุตร สเตอริโอ เคยเป็นค่ายเพลงที่ประสบความสำเร็จแห่งหนึ่งของประเทศไทย และเคยอัดเพลงให้ศิลปินแห่งชาติหลายคน เช่น เคน ดาเหลา, บานเย็น รากแก่น, ป.ฉลาดน้อย ส่งเสริม, ทองใส ทับถนน, บุญเพ็ง ไฝผิวชัย, และฉวีวรรณ ดำเนิน ทั้งนี้ ปัจจุบันค่ายเพลงราชบุตร สเตอริโอ หยุดดำเนินการอย่างถาวรแล้ว เนื่องจากธุรกิจซบเซาลงตามความนิยมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย ปิดฉากตำนานการอัดเพลงและการผลิตเพลงหมอลำยุค ‘แอนะล็อก’ ลงอย่างสิ้นเชิง  ขณะเดียวกัน ราชบุตร สเตอริโอ กำลังเปลี่ยนถ่ายตัวเองเข้าสู่ยุค ‘ดิจิทัล’ อย่างค่อยเป็นค่อยไป เรามีโอกาสกลับอุบลฯ เพื่อพบกับ […]

อวโลกิตะ : พื้นที่ภาวนาใจกลางสีลมที่เปิดให้คนเมืองเข้าใช้ฟรี

ในวันที่เหนื่อยล้า งานไม่เป็นดั่งใจ และอีกสารพันปัญหาของคนสู้ชีวิตในเมืองใหญ่ที่ชีวิตสู้กลับอย่างไม่ไยดี เย็นวันนั้นคุณเลือกที่จะพาตัวเองไปที่ไหนต่อ? บางครั้งเราแค่ต้องการที่นั่งเงียบๆ เพื่อให้ตัวเองได้หยุดคิดและไตร่ตรองสักพัก แต่ในเมืองที่พื้นที่สาธารณะน้อยอย่างกรุงเทพฯ จะมีที่ไหนที่เปิดให้เราเข้าไปนั่งพักและใช้เวลาอยู่กับตัวเองในช่วงเวลาหลังเลิกงานได้ฟรีๆ บ้าง ท่ามกลางบรรยากาศอันเร่งรีบ แข่งขัน และตึกสูงรายล้อมในสีลมย่านเศรษฐกิจใจกลางเมือง บนชั้น 9 ของอาคารตั้งฮั่วปัก ซอยสาทร 10 มีสเปซเล็กๆ ที่ชื่อว่า ‘อวโลกิตะ (Avalokita)’ ตั้งอยู่ ที่นี่คือ Meditation Space หรือพื้นที่ภาวนาที่เปิดให้คนเข้ามานั่งพัก อยู่กับตัวเอง เพื่อบ่มเพาะความรัก ความกรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านศาสนา ไม่มีกฎเกณฑ์ในการใช้งาน และเปิดกว้างสำหรับทุกคน ไม่ว่าใครก็สามารถเข้ามาใช้พื้นที่ตรงนี้ได้ฟรีๆ เหมาะสำหรับคนที่อยากหลีกหนีความวุ่นวายหลังเลิกงานในเมืองกรุง มานั่งพักใจและเปิดประสบการณ์ใหม่ให้ตัวเอง  ภาพคนนั่งสมาธิในห้องเล็กๆ ท่ามกลางตึกสูงในสีลม ตัดกับท้องฟ้ายามค่ำคืนของกรุงเทพมหานคร คือจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราได้รู้จักกับ ‘อวโลกิตะ’ และแค่ได้ยินว่าที่นี่เปิดให้เข้า ‘ฟรี’ ก็ยิ่งชวนแปลกใจ เพราะในเมืองที่ค่าครองชีพสูงแบบนี้ การจะเปิดพื้นที่ให้คนเข้าใช้ได้ฟรีๆ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เราจึงนัดพบกับ แพร์-วิลาวัณย์ บุญเกื้อกุลวงษ์ กรรมการมูลนิธิวัชรปัญญา เพื่อพูดคุยถึงแนวคิดในการทำอวโลกิตะเพื่อเป็นพื้นที่ปลอดภัยและที่พักใจของคนเมือง จุดเริ่มต้นของ ‘อวโลกิตะ’ AVALOKITA : […]

Baan Plan Cafe คาเฟ่ห้องสมุดย่านสาทร ที่อยากเป็นจุดหยุดพักให้คนเมือง

ทุกวันนี้ห้องสมุดในกรุงเทพฯ พอมีให้เห็นมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน แต่ที่จะเข้าไปใช้บริการได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องกังวลถึงกฎระเบียบต่างๆ เดินทางง่าย และมีบรรยากาศเป็นกันเอง ร่มรื่น ชวนให้รู้สึกรื่นรมย์ กลับมีจำนวนแทบนับนิ้วได้ หนึ่งในนั้นคือ ห้องสมุดประชาชนแสงอรุณ ที่ตอนนี้กลายมาเป็น บ้านแปลนคาเฟ่ คาเฟ่แห่งนี้ตั้งอยู่ในสาทร ซอย 10 ที่นับว่าเป็นย่านสำคัญทางธุรกิจของกรุงเทพฯ ทุกครั้งที่นึกถึงสาทร เรามักเห็นภาพรถติด คนทำงานเดินขวักไขว่ ตึกระฟ้ามากมาย  ทว่าเมื่อได้เดินเข้ามาในสาทร ซอย 10 และพบกับ บ้านแปลนคาเฟ่ ที่มีความร่มรื่นจากแมกไม้ใหญ่ และพื้นที่ที่ออกแบบเน้นไปทางเรียบง่าย โปร่งโล่ง ทำให้รู้สึกเหมือนได้หยุดพักจากความวุ่นวายในเมืองใหญ่ ไหนจะยังมีชั้นหนังสือเรียงรายให้ใช้บริการฟรี  สำหรับเราที่เป็นคนรักหนังสือและชอบบรรยากาศของคาเฟ่ บอกได้เลยว่าที่นี่คือสถานที่ชุบชูใจชั้นดี ห้องสมุดประชาชนที่กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง แม้ตัวคาเฟ่ห้องสมุดแห่งนี้จะเพิ่งเปิดได้ประมาณ 2 ปี แต่ใครที่รู้สึกคุ้นชื่อ ‘บ้านแปลน’ เป็นพิเศษก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะที่นี่คือส่วนหนึ่งของ ‘แปลน’ กลุ่มคนจากประวัติศาสตร์ทางการเมืองเมื่อช่วงปี 2516 ที่รวมตัวกันก่อตั้งธุรกิจด้านการออกแบบหลากหลายแขนง โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างสรรค์สังคมที่มีคุณภาพ เอ-ศิริวรรณ เจือแก้ว สถาปนิกฝ่ายวิจัยและพัฒนา ของบริษัท แปลน แอสโซซิเอทส์ จำกัด ผู้รับหน้าที่เป็นผู้จัดการบ้านแปลนคาเฟ่ เล่าให้เราฟังถึงอดีตของร้านว่า […]

1 2 3 4 5 6 10

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.