What Did You Eat Yesterday? หนังฟีลกู้ดไม่ขายจิ้น แต่ถ่ายทอดชีวิตจริงของเกย์ญี่ปุ่นที่ดูแล้วยิ้ม + หิว

What Did You Eat Yesterday? หรือ เมื่อวานคุณทานอะไร น่าจะเข้าไปอยู่ใน Watchlist ของใครหลายคนตอนที่สตรีมมิงเจ้าใหญ่นำมาเผยแพร่ให้คนไทยดู พร้อมกับเสียงลือเสียงเล่าอ้างจากนักรีวิวที่ดูแล้วว่า นี่คือซีรีส์ญี่ปุ่นแนว Slice of Life ที่ดูแล้วทั้งฟินและหิวไปพร้อมกัน  ที่ว่าฟิน เพราะมันถ่ายทอดเรื่องราวของคู่รักเกย์วัยกลางคนอย่างสมจริงและแสนจะอบอุ่นใจ โดยไม่ได้เน้นขายความจิ้น ความโป๊ หรือการแสดงความรักด้วยการแตะเนื้อต้องตัว กอดจูบกัน เหมือนซีรีส์ชายรักชายส่วนหนึ่งในสื่อเมนสตรีมจะเป็น อันที่จริง ถ้าจะมีอะไรในเรื่องนี้ที่นับเป็น ‘การแสดงความรัก’ ได้ มันคงจะเป็นบทสนทนาเรียบง่ายที่ตัวละครถามไถ่ความเป็นไปของกันและกันทุกวัน รวมไปถึงการทำอาหารอันละเอียดลออ ใส่ใจของ ‘ชิโร่’ ที่สอดแทรกเป็นกิมมิกในทุกๆ ตอน นำมาซึ่งความหิวของทั้ง ‘เคนจิ’ และคนดูอย่างเราและเพราะติดใจความฟิน/ความหิวของมันนี่แหละ เราจึงไม่พลาดจะเดินเข้าโรงหนังทันที เมื่อ What Did You Eat Yesterday? เวอร์ชันภาพยนตร์เข้าฉาย ย้อนกลับไปก่อนที่เรื่องนี้จะกลายเป็นซีรีส์ฮิต What Did You Eat Yesterday? เคยเป็นมังงะที่มียอดพิมพ์กว่า 5 ล้านเล่มในญี่ปุ่น ในความนิยมอันล้นหลาม Fumi […]

Broker การเดินทางเพื่อตามหาครอบครัวที่แท้จริงบนโลกสีเทากระดำกระด่าง

บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของภาพยนตร์ “คนนิจิวะ อันนยองฮาเซโย” คือคำทักทายสองภาษาจาก ‘โคเรเอดะ ฮิโรคาสุ’ ผู้กำกับชาวญี่ปุ่นเจ้าของผลงานภาพยนตร์เกาหลีเรื่องล่าสุด Broker (2022) ที่เรากำลังจะได้รับชมในอีกไม่กี่นาทีข้างหน้า  ด้วยความบังเอิญผสมกับความพยายามอีกเล็กน้อย ทำให้นักท่องเที่ยวอย่างเราหาบัตรชมภาพยนตร์เรื่องนี้ที่เกาหลีในรอบเดินสายทักทายผู้ชมของทีมนักแสดงและผู้กำกับมาได้สำเร็จ แต่นอกเหนือจากเสียงชื่นชมและการยืนปรบมือยาว 12 นาทีที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์เมื่อสองสัปดาห์ก่อนหน้า สิ่งที่เรารับรู้เกี่ยวกับ Broker มีไม่มากนัก หนึ่ง–นี่คือภาพยนตร์แนวดราม่ากึ่งโร้ดมูฟวี่ที่บอกเล่าการเดินทางของคุณแม่ยังสาวที่ตัดสินใจทอดทิ้งลูกของตัวเองไว้ที่กล่องรับทารก กับชายแปลกหน้าสองคนที่หวังจะนำเด็กไปขาย โดยมีสองตำรวจหญิงเฝ้าสะกดรอยตามอยู่ สอง–แม้นี่จะเป็นภาพยนตร์เกาหลีเรื่องแรกของโคเรเอดะ แต่เขาก็สามารถดึงนักแสดงมากฝีมือมาร่วมงานได้อย่างคับคั่ง ไม่ว่าจะเป็นซงคังโฮ จากภาพยนตร์ Parasite, คังดงวอน จากภาพยนตร์ Peninsula, แบดูนา จากซีรีส์ Kingdom, อีจีอึน (IU) จากซีรีส์ Hotel Del Luna และอีจูยอง จากซีรีส์ Itaewon Class  “ช่วงเย็นวันอาทิตย์แบบนี้เป็นเวลาที่มีค่าของทุกคน ขอบคุณที่ตัดสินใจมาชมภาพยนตร์ของพวกเรา หวังว่าทุกคนจะกลับไปพูดคุยถึงหนังของเรากันต่อได้บนโต๊ะอาหารมื้อค่ำวันนี้นะคะ” อีจีอึน ผู้รับบท โซยอง กล่าวกับผู้ชมในโรง ในตอนนั้น เราไม่แน่ใจนักว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะสร้างบทสนทนาต่อไปได้ยืดยาวแค่ไหน แต่เมื่อได้เวลาที่ไฟในโรงหนังมืดลง Broker ก็ค่อยๆ พาเราออกเดินทางไปบนถนนทอดยาว […]

5 หนังและซีรีส์อินเดียท้าทายค่านิยม โชว์กึ๋นคนทำหนังแดนภารตะ

ปฏิเสธไม่ได้ว่านาทีนี้ หนึ่งในหนังที่มาแรงสุดๆ ในไทยคือ Gangubai Kathiawadi ที่ทำให้บางคนเปลี่ยนภาพจำของหนังอินเดียที่มักเป็นภาพของการร้อง เล่น เต้นข้ามภูเขาของพระนาง  ในความเป็นจริง หนังอินเดียก้าวไปไกลกว่านั้นมานานแล้ว หนังบางเรื่องจุดประเด็นถกเถียงในความเชื่อและค่านิยมเก่าๆ ในสังคม (ในที่นี้ไม่ได้บอกว่าเป็นสิ่งที่ผิดหรือถูก) ไม่ว่าจะด้านศาสนา การศึกษา อาชญากรรม และสิทธิเสรีภาพ บางเรื่องประสบความสำเร็จจนทำรายได้หลักล้านล้าน (ใช่ หลักล้านล้าน อ่านไม่ผิดหรอก) และบางเรื่องถึงขั้นโดนฟ้องร้องตอนออกฉาย อย่างไรก็ดี นี่คือโอกาสเหมาะที่เราอยากแนะนำหนังอินเดียเรื่องโปรดให้ดู เพราะเชื่อว่าหนังจากดินแดนภารตะแห่งนี้มีความ ‘ว้าว’ ที่รอให้เราไปสำรวจอีกเยอะ  01 | Gangubai Kathiawadi (2022) ไม่แปลกใจเลยสักนิดว่าทำไม Gangubai Kathiawadi ถึงมีกระแสฮือฮาในบ้านเรา เพราะนี่คือหนังหญิงแกร่งแห่งมุมไบที่เต็มไปด้วยความบันเทิงครบเครื่อง และเมสเซจอันจัดจ้าน ถึงแก่น มันเล่าเรื่องราวของ ‘คังคุไบ’ ตั้งแต่ตอนเป็นเด็กสาวที่ใฝ่ฝันอยากเป็นนักแสดง กระทั่งถูกสามีหลอกไปขายให้ซ่องโสเภณี แต่ชีวิตของเธอก็ไม่ได้หยุดแค่นั้น เธอสู้ชีวิตกลับด้วยการพยายามฝ่าฟันจนกลายมาเป็นแม่เล้า มาเฟีย รวมถึงแอ็กทิวิสต์สาวสุดปังแห่งย่านกามธิปุระผู้ผลักดันสิทธิของผู้ค้าบริการและเด็กกำพร้า  อันดับหนึ่งบนเน็ตฟลิกซ์ไทยตลอดทั้งสัปดาห์คงการันตีได้ว่า Gangubai Kathiawadi เป็นหนังที่ป็อปปูลาร์มากแค่ไหนในบ้านเรา ยังไม่นับรวมการถูกคัฟเวอร์ลุคโดยดารานักร้องและแม่ค้าออนไลน์ทั่วราชอาณาจักร (ถ้าหันมาเรียกร้องสิทธิให้เซ็กซ์เวิร์กเกอร์ไทยด้วยจะดีมากๆ) ดู Gangubai […]

ตามหาตัวตนและรักหมดใจใน Heartstopper ซีรีส์วัยรุ่นฟีลกู้ดที่บอกว่าใครก็มีความรักดีๆ ได้

ถ้าตอนเด็กๆ คุณเคยดูหนังรักวัยรุ่นแล้วอินจนอยากมีความรักบ้าง เราคือเพื่อนกัน และถ้าตอนเด็กๆ คุณรู้ว่านั่นเป็นได้แค่ฝัน ความจริงแล้วคุณนึกภาพตัวเองมีความรักแบบตัวละครไม่ออกเพราะคุณกับพวกเขาไม่ ‘เหมือน’ กันเลยสักนิด เราขอยกมือตบบ่าอย่างเข้าใจ ในฐานะคนที่นับตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน LGBTQ+ เราเติบโตมากับหนังและซีรีส์โรแมนติกที่ตัวเอกเป็นชาย-หญิงที่รักเพศตรงข้าม หากจะมีเรื่องที่เล่าชีวิตรักของคนในคอมมูฯ ก็มักจะจบไม่สวย เต็มไปด้วยภาพชีวิตอันยากลำบากของชาวเพศหลากหลายที่สมจริงแต่ก็หดหู่ จนบางครั้งก็ทำให้เราในวัยเด็กดูแล้วตั้งคำถามว่า เกิดมาชอบเพศเดียวกันแล้วฉันจะมีความรักใสๆ มีโมเมนต์ใจเต้นตึกตักหรือความรู้สึกว่ามีผีเสื้อบินในท้องแบบเด็กคนอื่นไม่ได้เลยเหรอ หลายปีผ่านไปจนเลยวัยเด็กมาไกล ไม่เคยมีหนังหรือซีรีส์เรื่องไหนตอบคำถามนั้นได้ จนกระทั่งเรารู้จัก Heartstopper เพื่อนคนพิเศษ  อันที่จริง ครั้งแรกที่ได้ยินชื่อ Heartstopper ไม่ใช่ซีรีส์ แต่เป็นคอมิกขายดีของ Alice Oseman นักเขียนชาว LGBTQ+ ที่ได้รับความนิยมมากจน Netflix หยิบมาทำซีรีส์  Heartstopper เริ่มต้นเรื่องราวที่โรงเรียนชายล้วนทรูแฮม ในวันเปิดเทอมหลังเทศกาลปีใหม่ ชาร์ลี (รับบทโดย Joe Locke) เด็กหนุ่มขี้อายผู้เปิดตัวว่าเป็นเกย์คนเดียวในโรงเรียน นัดพบกับ เบน (รับบทโดย Sebastian Croft) เด็กหนุ่มคนรักในความลับเพื่อมาจู๋จี๋กัน เป็นเรื่องปกติสำหรับชาร์ลีไปแล้วที่จะมาเจอเบนในเวลากับสถานที่ที่อีกฝ่ายสะดวก เพราะเบนกำลังค้นหาตัวเอง ไม่มีแผนจะเปิดตัวกับใคร และใช่ว่าชาร์ลีพูดอะไรไปแล้วเบนจะสนใจ เขาแค่มาหาในเวลาที่อยากกอดจูบกับผู้ชายเท่านั้น แม้ภายนอกจะยิ้มแย้มแจ่มใส […]

Art is a Way of Life 5 สารคดีเบื้องหลังศิลปะที่อยู่ในชีวิตประจำวัน

ช่วงหยุดยาวสงกรานต์ของทุกปีถือเป็นช่วงเวลาสุดเพอร์เฟกต์สำหรับคนที่อยากพักผ่อนหรือนอนดู Netflix อยู่บ้านแบบชิลๆ จะได้อยู่กับตัวเองและชาร์จพลังอย่างเต็มที่ ส่วนใครอยากหาแรงบันดาลใจและจุดประกายไอเดียใหม่ ไปพร้อมๆ กับการพักกายพักใจโดยไม่ต้องก้าวเท้าออกจากบ้าน ก็ทำได้เช่นกัน  เราอยากชวนทุกคนเปิดโลกแห่งไอเดียสร้างสรรค์ไปกับ 5 สารคดีแห่งจินตนาการและความคิดสุดบรรเจิด ที่จะพาทุกคนสำรวจความจริงและเบื้องหลังของศิลปะแขนงต่างๆ จากทั่วทุกมุมโลก เช่น การออกแบบ การทำอาหาร การถ่ายภาพ ดนตรี ไปจนถึงผลงานจากดอกไม้ไฟขนาดมหึมา ผ่านเรื่องราวน่าประทับใจและจังหวะการเล่าเรื่องที่ทำให้เราเข้าใจแนวคิดและชีวิตของเหล่าศิลปินแบบถึงแก่น ต้องบอกก่อนเลยว่าสารคดีที่เราคัดสรรมาไม่น่าเบื่อจนชวนหลับอย่างที่หลายคนคิด แต่เต็มไปด้วยซีนสนุกๆ และน่าตื่นเต้นไม่ต่างจากหนังหรือซีรีส์ดีๆ สักเรื่องเลย เราเชื่อว่าหลังดูจบหลายคนจะมีไอเดียสร้างสรรค์พลุ่งพล่าน พร้อมกลับไปทำงานและลุกขึ้นมาทำอะไรใหม่ๆ หลังวันหยุดยาวแน่นอน 01 | Abstract: The Art of Design ซึมซับดีไซน์ล้ำสมัยจากเหล่านักออกแบบระดับโลก หากสังเกตดีๆ ทุกคนจะเห็นว่ารอบตัวของเราล้วนโอบล้อมไปด้วยผลผลิตของ ‘การออกแบบ’ ที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรม ดีไซน์รถยนต์ บรรจุภัณฑ์ ภาพวาดประกอบ ปกนิตยสาร ตัวอักษร ไปจนถึงเสื้อผ้าและรองเท้าที่เราสวมใส่ในชีวิตประจำวัน แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่ากว่าผลงานและสินค้าเหล่านี้จะถูกผลิตสู่สายตาชาวโลก พวกมันต้องผ่านกระบวนการคิดและออกแบบที่ละเอียดถี่ถ้วนขนาดไหน และเบื้องหลังของผลงานแต่ละชิ้นมีองค์ประกอบอะไรบ้าง ช่วงวันหยุดยาวทั้งที เราจึงอยากชวนทุกคนดู ‘Abstract: The Art of […]

Twenty Five Twenty One ท่ามกลางความโหดร้ายของยุคสมัย โชคดีแค่ไหนที่เราได้รักกัน

ค่ำวันหนึ่งของเดือนพฤศจิกายน ปี 1997 หลังจากที่ออกไปเตร็ดเตร่ตามประสาวัยรุ่นทั่วไป แพคอีจิน (รับบทโดย นัมจูฮยอก) กลับบ้านมาพบกับภาพของครอบครัวของเขาที่กำลังจะแตกสลาย เปล่าเลย มันไม่ได้เป็นเพราะพ่อกับแม่เขาผิดใจกัน และมันก็ไม่ใช่เพราะสมาชิกคนใดคนหนึ่งได้ตายจากไป ครอบครัวของเด็กหนุ่มยังคงอบอุ่น พวกเขายังคงรักกันอย่างสุดหัวใจ แต่มันเป็นเพราะเหตุการณ์หนึ่งต่างหากที่สั่นสะเทือนความมั่นคงทางการเงินของครอบครัวนี้อย่างรุนแรง รุนแรงถึงขนาดที่พ่อของอีจินถึงขั้นยื่นข้อเสนอขอหย่ากับแม่ บอกให้ลูกคนโตอย่างอีจินไปเป็นทหารเกณฑ์ ส่วนลูกคนเล็กก็ให้ย้ายไปอยู่กับญาติไปก่อน  “ครอบครัวของเราคงต้องแยกกันอยู่สักพัก” พ่อของอีจินกล่าวด้วยน้ำเสียงอ่อนล้า ท่ามกลางเสียงสะอื้นไห้ของมารดา อีจินได้แต่เพียงพยักหน้าอย่างจนปัญญาเพราะไม่รู้จะช่วยครอบครัวอย่างไร เหตุการณ์ที่สั่นสะเทือนครอบครัวอีจินไม่ใช่อะไรอื่น แต่คือวิกฤต IMF ที่ได้กระชากเศรษฐกิจของประเทศเกาหลีใต้ซึ่งกำลังพุ่งขึ้นเรื่อยๆ ให้ลงมากองอยู่กับพื้นอีกครั้ง สีสันชีวิตวัยรุ่นของอีจินดับสนิทลงในทันทีเพราะเหตุการณ์ครั้งนั้น เช่นเดียวกับความฝันที่ระเหิดหายไปกับอนาคตที่ขมุกขมัว เช้าวันหนึ่งของเดือนกรกฎาคม ปี 1998 นาฮีโด (รับบทโดย คิมแทรี) เด็กสาว ม.ปลาย และนักฟันดาบประจำโรงเรียนรีบพุ่งตัวออกจากบ้านอย่างลิงโลด เธอตรงดิ่งไปนั่งหลับในห้องเรียน จากนั้นก็แวะไปย้ำเฮียร้านเช่าการ์ตูนว่าอย่าลืมเก็บเล่มใหม่ของ ‘ฟูลเฮาส์’ การ์ตูนเรื่องโปรดไว้ให้ด้วยนะ ก่อนจะแผล็วไปยังชมรมฟันดาบของโรงเรียนอีกแห่ง ไปเกาะขอบหน้าต่างแอบดู ‘โกยูริม’ (รับบทโดย โบนา) นักกีฬาฟันดาบทีมชาติเจ้าของเหรียญทองโอลิมปิกผู้เป็นเสมือนไอดอลของเธอ ฮีโดมีฝัน และความฝันของเธอก็ไม่ใช่อะไรอื่นแต่คือการได้ประดาบเคียงข้างกับนักกีฬาฟันดาบที่เป็นดั่งแสงสว่างในชีวิต ท่ามกลางความเปราะบางของสภาพเศรษฐกิจ การเมืองที่เดือดพล่าน และความขัดแย้งของคนในชาติที่ปะทุอยู่เรื่อยๆ ฮีโดยังคงโอบกอดความฝันของตัวเองไว้อย่างแนบแน่น ไม่ได้สนใจอะไรมากไปกว่า ฟูลเฮาส์ […]

Juvenile Justice : ซีรีส์อาชญากรเด็กที่ตั้งคำถามว่า เราพยายามเพื่ออนาคตของชาติมากพอหรือยัง?

เด็ก คือ ผ้าขาวบริสุทธิ์ เด็ก คือ ความหวังของชาติ เด็ก คือ อนาคต เด็ก คือ สมบัติอันล้ำค่าของโลก คือคำกล่าวที่เราเห็นกันจนเกร่อ  แต่ถ้าเด็กเหล่านั้น             คือผู้ลงมือสังหารเด็กอายุ 9 ขวบที่ไม่เคยรู้จักหรืออาฆาตแค้นกันมาก่อน จากนั้นจึงลงมือชำแหละและอำพรางศพอย่างโหดเหี้ยม             คือผู้ทุจริตในการสอบครั้งใหญ่ เป็นสาเหตุให้เด็กๆ ในชั้นเรียนที่เหลือต้องเผชิญผลกระทบมหาศาลจนอาจถึงขั้นอนาคตดับ             คือผู้ที่หลอกลวง รุมกระทำชำเราเด็กหญิงผู้ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ พร้อมถ่ายคลิปไว้ข่มขู่ แถมมองเรื่องนี้เป็นเรื่องตลก และพูดถึงมันด้วยสีหน้าขบขันไม่รู้ร้อนรู้หนาว             คือผู้ที่กระทำผิดซ้ำซากโดยไม่มีทีท่าสำนึกผิดและไร้วี่แววที่จะปรับปรุงตัวเป็นคนที่ดีของสังคมแม้จะโดนลงโทษและได้รับโอกาสหลายต่อหลายครั้ง             เราจะยังเห็นด้วยกับข้อความสี่บรรทัดแรกของบทความนี้อยู่ไหม?             ไม่ว่าคำตอบของแต่ละคนจะเป็นอย่างไร เราอยากจะชวนคุยต่ออีกสักนิดหนึ่งว่า             เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร?             และ สังคมของเรากำลังจะพาเด็กๆ เหล่านี้ไปไหนต่อ? นี่เป็นคำถามที่ Juvenile Justice ซีรีส์ Courtroom Drama เนื้อหาเข้มข้นจากเกาหลีใต้จะพาคนดูขบคิดและหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน Juvenile Justice เล่าเรื่องของ ชิมอึนซอก (รับบทโดย คิมฮเยซู) ผู้พิพากษาศาลเยาวชนที่มากับความมุ่งมั่นแรงกล้าที่จะตัดสินและลงโทษเยาวชนผู้กระทำผิดอย่างเหมาะสม ยุติธรรม และพร้อมจะทำทุกทางให้ผู้กระทำผิดได้สำนึกถึงความผิดบาปที่ตนได้กระทำ แม้ผู้กระทำผิดที่เรากำลังพูดถึงจะเป็นเยาวชนก็ตามเพราะว่า “ฉันเกลียดเยาวชนที่กระทำผิด”  ชิมอึนซอกกล่าวเอาไว้ในตอนแรกของซีรีส์ *หลังจากนี้เป็นการเปิดเผยเนื้อหาส่วนหนึ่ง […]

Squid Game : หรือชีวิตคนจนจะเป็นได้แค่ของเล่นของคนรวย?

ในโลกอุดมคติ “ความเท่าเทียม” คงเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของใครหลายคน โลกที่แม้อำนาจทางเศรษฐกิจหรือตัวเลขในบัญชีอาจมีไม่เท่ากัน แต่คุณค่าความเป็นคนไม่มีใครต่ำต้อยกว่าใคร น่าเศร้าที่สิ่งนี้ยังเป็นได้เพียงอุดมคติ เพราะในโลกแห่งความเป็นจริง เราได้เห็นการที่คนมากมายถูกจัดวาง วาดภาพ หรือกดทับให้เป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงเพราะพวกเขาเป็นคนที่อยู่ชั้นลำดับล่างของฐานเศรษฐกิจ จนก็ต้องอยู่อย่างเจียม จนก็เพราะขี้เกียจ ไม่พยายาม เป็นคนไม่ดี เอาแต่สบาย จนก็ต้องอยู่อย่างคนจน หรือดีสุดก็เป็นเพียงเครื่องรองมือรองเท้าของคนรวย บางครั้งการกดทับหรือบังคับขืนก็อาจเป็นไปอย่างแนบเนียน หรือเป็นเพียงทัศนคติคำพูดเหยียดหยามแต่โลกใน “Squid Game” ซีรีส์กระแสแรงแห่งบ้าน Netflix จากประเทศเกาหลีใต้ คือโลกที่จับคนชายขอบไร้ทางไปในสังคมเข้ากรง มาเล่นเกมเพื่อเอาชีวิตรอด ทั้งจากตัวเกม และจากนรกในชีวิตประจำวันที่พวกเขาต้องอาศัยอยู่ให้ได้เห็นกันแบบถึงเลือดถึงเนื้อ และถึงอารมณ์ สเตจเซตอัปสีสันสดใสไฮโปรดักชัน แอบหยอดเอเลเมนต์ของวัยเยาว์ให้เข้ากับธีมเกม เจ้าหน้าที่ในชุดสีชมพูช็อกกิ้งพิงก์พร้อมหน้ากากสกรีนรูปทรงสามแบบที่บ่งบอกถึงชนชั้นภายใน ความหวาดระแวงระหว่างกันอันนำไปสู่การเผยความดำมืดในจิตใจมนุษย์ เงินรางวัลที่มากเกินกว่าชั่วชีวิตของใครหลายคนจะกล้าแม้แต่ฝันถึง และเกมแบบเด็กๆ ที่การก้าวพลาดไม่ใช่แค่เข่าถลอกหรือได้แผลฟกช้ำ แต่หมายถึงความตายแบบศพไม่สวย ยิงเป็นยิง ตลอดเรื่องคือมหกรรมละเลงเลือดแบบที่คำอ้อนวอนใดๆ ก็ไม่อาจดังไปกว่าเสียงปืน เหล่านี้คือองค์ประกอบที่ทำให้ Squid Game เป็นซีรีส์ Survival Horror ที่ถึงเครื่องและตอบโจทย์ในแง่การกระตุ้นอะดรีนาลีนในกายให้หลั่งไหล เอาใจช่วย เห็นใจ เกลียดชัง สาปส่งตัวละครหลากสีสันหลายสันดาน แม้ช่วงที่ผ่านมาจะมีคอนเทนต์ที่รวบรวม “ช่องโหว่” ทั้งรายละเอียดที่ไม่สอดคล้อง ลอจิกที่ไม่ค่อยน่าซื้อสักเท่าไหร่ […]

เรียนเพศศึกษานอกตำราไทยกับ Sex Education Season 3

‘เพศศึกษา’ คือหนึ่งในวิชาที่สะท้อนค่านิยมที่ล้าหลังในระบบการศึกษาไทย ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีเนื้อหาและค่านิยมที่อยู่ในบทเรียนก็ไม่เคยพัฒนาไปไกลกว่าคำว่าศีลธรรมอันดี นอกจากจะไม่ช่วยให้เด็กเปิดกว้างเรื่องเพศแล้ว ยังส่งต่อความเชื่อแบบผิดๆ และส่งผลกับสุขภาพทางเพศเมื่อพวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ด้วย ทำให้หลายครั้งเรามักจะพบคำถามแปลกๆ ในอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับสุขอนามัยทางเพศ ทั้งๆ ที่เป็นความรู้พื้นฐานที่ทุกคนควรจะถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก เพื่อให้เขาเข้าใจธรรมชาติของร่างกาย มากกว่าที่จะทำให้เซ็กซ์กลายเป็นเรื่องต้องห้าม Sex Education คือซีรีส์ที่ว่าด้วยเรื่องเซ็กซ์วุ่นๆ ของวัยรุ่นในโรงเรียนมัวร์เดลจาก Netflix ที่เคยกระตุกต่อมศีลธรรมอันดีของคนไทย จนมีพรรคการเมืองเข้ายื่นหนังสือต่อ กสทช. เพื่อขอให้ตรวจสอบ ‘เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนไทย’ มาแล้ว (ทั้งที่คนเขาดูกันทั้งโลก) ทำให้ชาวเน็ตแสดงความเห็นต่อเรื่องนี้กันอย่างล้นหลาม เพราะยิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุ จึงทำให้ซีรีส์เรื่องนี้ได้รับความนิยมมาตลอด ตอนนี้ Sex Education Season 3 กลับมาพร้อมความแสบ คัน และยังสอนเพศศึกษาได้มันเหมือนเคย เราจะพาไปเรียนรู้เรื่องเพศกับ Sex Education ซีซันนี้ผ่าน 8 บทเรียนที่ไม่มีในตำราไทย แต่เรียนรู้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่อยากเปิดใจศึกษาเรื่องเพศมากกว่าเดิม  นอกจากเรื่องเซ็กซ์แล้วในซีซันนี้ยังมีเรื่องความสัมพันธ์ของตัวละคร เพื่อน ครอบครัว คนรัก และสารพัดปัญหาของช่วง Coming of Age เช่น การ Come Out การค้นหาตัวเอง […]

Hometown Cha-Cha-Cha เมื่อหมอฟันสาวโซลซัดโซเซจากเมืองหลวงไปซบไหล่ ตจว. ในหมู่บ้านชายทะเลที่กงจิน

พอนึกถึงซีรีส์เกาหลีใต้ทีไร ส่วนใหญ่โลเคชันหลักของเรื่องก็มักเกิดขึ้นในโซล เพราะโซลคือภาพแทนของเมืองหลวงสุดป็อป ที่เป็นภาพจำของคนทั้งโลก ในฐานะศูนย์กลางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม เทคโนโลยี การศึกษา การท่องเที่ยว และเป็นเมืองที่มีประชากรมากกว่า 10 ล้านคนจนเรียกเป็น Megacity ของโลกใบนี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่ถ้าไม่ดำเนินเรื่องในโซล แล้วหันไปมองโลเคชันเมืองอื่นอย่างจังหวัดคังวอน พื้นที่ที่เค-ซีรีส์ส่วนใหญ่ไม่เลือกใช้ดำเนินเรื่องล่ะ คุณพอจะนึกถึงซีรีส์เรื่องไหนที่มีฉากหลังเป็นจังหวัดนี้ไหม ถ้านึกไม่ออก เราขอยก Hometown Cha-Cha-Cha ออริจินัลซีรีส์จาก Netflix มาเล่า เพราะนอกจากจะถ่ายทอดชีวิตคนในพื้นที่หมู่บ้านเล็กๆ ในจังหวัดคังวอน เรายังอยากชวนผู้ชมหลบจากกรุงโซลมาสำรวจเรื่องราวในพื้นที่นอกเมืองหลวงผ่านซีรีส์โรแมนติกคอเมดี้เรื่องนี้ คาจา! (ไปกัน) เดินทางไม่นานหรอก เพราะถ้ากะเส้นทางขับรถจากโซลไปคังวอนคร่าวๆ จะมีระยะทางประมาณ 100 กว่ากิโลเมตร มาเหยียบคันเร่งด้วยจังหวะ Cha-Cha-Cha จากเมืองหลวงสู่ปลายทางที่หมู่บ้านริมทะเลแสนสงบ (โลเคชันสมมติ) เพื่อพบกับเรื่องรักของทันตแพทย์สาวจากโซลที่ปิ๊งรักกับหนุ่ม ตจว.ไปพร้อมกันเลยดีกว่า ถ้าพร้อมแล้วคาดเข็มขัดให้มั่นเพราะตอนนี้เรากำลังอยู่บนรถของ Yoon Hye-jin (Shin Min-a) ทันตแพทย์สาวมั่นที่จำใจละทิ้งโซล เพราะดันไปมีความขัดแย้งกับผู้อำนวยการคลินิกทันตกรรมผู้มีคอนเนกชันกว้างขวางในเมืองหลวง ฮเย-จินเลยตกงาน เธอเศร้าจนต้องออกมานั่งเหม่อริมทะเลเงียบๆ คนเดียว ซึ่งซีนนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นชีวิตบทใหม่ของฮเย-จินแบบไม่อาจย้อนกลับ นอกจากจะเล่าเรื่องรักโรแมนติกเจือกับความโกลาหลที่เกิดขึ้น ยังมีแง่มุมเกี่ยวกับสังคมเมืองและสังคมชนบทให้เราได้สังเกตกันสนุกๆ แถมดูแล้วก็ได้อมยิ้มไปกับเคมีของ […]

Roh หนังผีมาเลย์ ความเฮี้ยนบนฐานเรื่องเล่าพื้นบ้านและพื้นเพศาสนา

Roh หนังผีเสียวสันหลังทุนน้อยสัญชาติมาเลเซีย ความเฮี้ยนที่ผูกเรื่องเล่าพื้นบ้าน ความเชื่ออิสลาม และอัลกุรอาน

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.