Crystal presents The Sound of Water Rhythmsphere งานดนตรีป็อปอัปจากคริสตัลที่เชื่อว่าทุกคนควรมีเวลาพัก

ในจุดที่หัวสมองตื้อ ความเครียดจู่โจม วิธีผ่อนคลายของหลายคนอาจเป็นการฟังเพลงที่เป็น Comfort Song สักเพลง เอนตัวนอน แล้วปล่อยอารมณ์ให้ล่องลอยไป แต่กับบางคนแค่สวมหูฟังแล้วดำดิ่งไปกับเมโลดี้อาจไม่พอ การพาตัวเองไปอยู่ท่ามกลางผู้คนใหม่ๆ และรับประสบการณ์ทางดนตรีด้วยกันอาจจะสดชื่นกว่า เพราะชาว Urban Creature เป็นมนุษย์อย่างหลัง เราจึงพาตัวเองมาอยู่ในงาน Crystal Presents The Sound of Water Rhythmsphere จัดโดยคริสตัล แบรนด์น้ำดื่มคุณภาพที่อยู่คู่คนไทยมาหลายปี ด้วยความเชื่อเดียวกันกับที่เรามี นั่นคือ คริสตัลเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนควรมีช่วงเวลาพักผ่อนเพื่อให้ได้เคลียร์ความคิด นอกจากน้ำดื่มจะมีประโยชน์ต่อร่างกายจิตใจ อารมณ์และความคิด พวกเขาได้จัดกิจกรรมดนตรีแบบใหม่เพื่อชวนคอดนตรีมาเคลียร์ความคิดด้วยกัน งานนี้คริสตัลจับมือกับอาร์เอส มิวสิค ขน 3 ศิลปินดังมาเล่นดนตรีใน 3 จุดชิลทั่วกรุงเทพฯ ทั้ง Sarah Salola ที่หน้าตึกพาร์ค สีลม, Scrubb ที่อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ และ Slapkiss ที่ตั้งวง ณ อุทยานเบญจสิริ รวมถึงเทศกาลดนตรี COOL […]

เปิดประสบการณ์รักษ์โลกผ่าน 5 ประสาทสัมผัส ณ ‘CRC Sensory Space’ ครั้งแรกในงาน ‘Wonderfruit 2023’

ถ้าพูดถึงเทศกาลดนตรีรักษ์โลกส่งท้ายปี ก็คงหนีไม่พ้นงาน ‘Wonderfruit 2023’ ที่เพิ่งจัดขึ้นไปเมื่อวันที่ 14 – 18 ธันวาคมที่ผ่านมา ณ เดอะฟิลด์ สยามคันทรีคลับ พัทยา งานนี้เราได้ดื่มด่ำกับแสง สี เสียง และการแสดงสุดมันส์ในรูปแบบไลฟ์สไตล์เฟสติวัล โดยมีฉากหลังเป็นสายลม ทุ่งหญ้า ภูเขา สอดคล้องกับความตั้งใจของเทศกาลที่ให้ความสำคัญกับการดูแลสิ่งแวดล้อมและชูคอนเซปต์เรื่องความยั่งยืน ซึ่งความพิเศษครั้งนี้คือ Wonderfruit ได้ Central Retail ที่เป็นพันธมิตรที่มีจุดยืนด้านความยั่งยืนร่วมกัน มาเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม และได้ต้อนรับผู้เข้าร่วมงานกว่า 30,000 คน มาร่วมสนุกไปกับกิจกรรมมากมายภายใน ‘CRC Sensory Space’ ที่รวบรวมหลากหลายแบรนด์ชั้นนำในเครือฯ อาทิ Central, L:A Bruket, Dyson, Tops และ Jing Jai Farmer Market เป็นต้น มาไว้ที่นี่ พร้อมเปิดโซน ‘Sensory Space with Central […]

สัมผัสเสน่ห์วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยวชุมชนแห่งแดนสตูล 

ช่วงไม่กี่ปีมานี้ ‘การท่องเที่ยวชุมชน’ เป็นอีกหนึ่งรูปแบบการท่องเที่ยวที่คนไทยให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเป็นการเดินทางที่ไม่ได้ให้แค่ความสนุกหรือการพักผ่อนหย่อนใจอย่างเดียว แต่ยังเป็นการพัฒนาท้องถิ่นและส่งเสริมความยั่งยืนให้กับสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมด้วย ถึงอย่างนั้นความท้าทายสำคัญของการท่องเที่ยวประเภทนี้คือการออกแบบพื้นที่เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับชุมชน ขณะเดียวกันก็ต้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรท้องถิ่น รวมถึงป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด คอลัมน์ Urban Guide ขอชวนทุกคนล่องใต้ไปที่อำเภอละงู จังหวัดสตูล ร่วมกับมูลนิธิเอสซีจี (SCG Foundation) เพื่อสัมผัสอีกหนึ่งเมืองรองของไทยที่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการท่องเที่ยวชุมชนกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ที่สำคัญ การจัดการแหล่งท่องเที่ยวของดินแดนชายฝั่งทะเลอันดามันแห่งนี้ยังเกิดจากความร่วมมือระหว่างเครือข่ายท้องถิ่น และเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่กลับมาพัฒนาบ้านเกิด จนหลายๆ คนกลายเป็นต้นแบบที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนในชุมชน ‘ต้นกล้าเป็ด’ จากนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสู่นักจัดการท่องเที่ยวชุมชน ความพิเศษของการเดินทางครั้งนี้คือ เรามีไกด์ท้องถิ่นที่พาไปสัมผัสธรรมชาติและวัฒนธรรมของสตูลตามแบบฉบับคนท้องถิ่น นั่นคือ ‘เป็ด-จักรกริช ติงหวัง’ นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ที่ตอนนี้หันมาทำงานด้านการท่องเที่ยวชุมชนอย่างเต็มตัว โดยปัจจุบันเป็ดเป็นประธานกลุ่มการท่องเที่ยวชุมชนบ้านหลอมปืน มากไปกว่านั้น เป็ดยังเป็นอีกหนึ่งตัวอย่าง ‘ต้นกล้าชุมชน’ จากโครงการ ‘Learn to Earn เรียนรู้เพื่ออยู่รอด’ แนวคิดจากมูลนิธิเอสซีจีที่ต้องการให้เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่เรียนรู้ ปรับตัว พร้อมรับมือสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เน้นไปที่การเรียนรู้ตลอดชีวิตซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในห้องเรียนเท่านั้น เป็ดเล่าให้ฟังว่า ตัวเองเป็นลูกหลานชาวประมงที่เกิดและโตในพื้นที่อ่าวทุ่งนุ้ย บ้านหลอมปืน ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล เขาเริ่มทำงานชุมชนตามรอยพ่อในงานด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ระบบนิเวศเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพในระดับท้องถิ่น […]

ชวนคนเจ้าอารมณ์มาสาดความโกรธ เศร้า เหงา สุข กับ 5 โซนสนามอารมณ์ในงาน ‘GOOD MOOD’ ที่โกดังเสริมสุข

หากมีสักพื้นที่ให้เราได้ปลดปล่อยความคิด ระเบิดอารมณ์ และระบายสิ่งที่อัดอั้นมาทั้งปีก็คงจะดีไม่น้อย เพราะในแต่ละวันเราต่างเจอเรื่องราวมากมายที่ก่อให้เกิดอารมณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโกรธ เศร้า เหงา หรือสุข สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป ซึ่งถ้าเราเอาแต่เก็บความรู้สึกเหล่านี้ไว้ คงไม่ดีต่อสุขภาพใจในอนาคตแน่ๆ จึงเกิดเป็นงาน ‘GOOD MOOD’ กิจกรรมส่งท้ายปีที่เกิดจากความร่วมมือของ ‘Eyedropper Fill’ บริษัทออกแบบสร้างสรรค์ที่ใช้สื่อผสมผสานและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่ก่อนหน้านี้สร้างสรรค์กิจกรรม ‘พาใจกลับบ้าน’ จนคว้ารางวัลจากงาน Adman Awards 2023 ไปครอง และ ‘Good Hood Services’ เทศกาลดนตรีพร้อมร้านอาหารที่จัดกันเป็นประจำทุกปี โดยครั้งนี้เป็นการชวนคนเจ้าอารมณ์มาสานสัมพันธ์กันที่ ‘โกดังเสริมสุข’ เพื่อทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเองตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมา ผ่านคำถามชวนคิดและกิจกรรมอินเตอร์แอ็กทีฟที่รับบทเป็น ‘สนามอารมณ์’ รองรับ 5 อารมณ์ ผ่าน 5 โซนกิจกรรมที่เปิดให้ทุกคนได้สาดอารมณ์ไปพร้อมๆ กัน GOOD RAGE : เตะกระสอบทราย ระบายความโกรธ เริ่มต้นกันที่โซนแรกที่เต็มไปด้วยสีแดงซึ่งแสดงถึงอารมณ์โกรธอย่าง ‘GOOD RAGE’ ที่มากับคอนเซปต์ ‘รักห่วย ป่วยการเมือง เคืองเจ้านาย ไม่พอใจตัวเอง’ […]

ชวนไปเดินชมความสร้างสรรค์กับ 6 กิจกรรมไฮไลต์ใน ‘Chiang Mai Design Week 2023’

‘เชียงใหม่’ เป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีวัฒนธรรม เรื่องราวที่น่าสนใจ และศักยภาพในการพัฒนาสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ จากการใช้พื้นที่ต่างๆ ในเมือง ทั้งที่ยังใช้งานได้อยู่และถูกทิ้งร้าง มาปรับปรุงให้เป็นพื้นที่ที่สามารถกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง อีกทั้งยังดึงเอาศิลปะและความสร้างสรรค์ของวัฒนธรรมพื้นถิ่นมานำเสนอผ่านกิจกรรมต่างๆ ใน ‘เทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ 2566’ หรือ ‘Chiang Mai Design Week 2023’ ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวและคนในท้องที่ให้ได้มาทำความรู้จักเชียงใหม่แบบใหม่ๆ ทุกปี โดยปีนี้ Chiang Mai Design Week 2023 จะจัดขึ้นในวันที่ 2 – 10 ธันวาคม ที่ย่านเมืองเก่าในเชียงใหม่อย่าง ‘กลางเวียง (อนุสาวรีย์สามกษัตริย์-ล่ามช้าง)’ และ ‘ช้างม่อย-ท่าแพ’ แน่นอนว่าเราคงไปเยือนกิจกรรมในงานที่มีมากกว่าร้อยกิจกรรมไม่หมด Urban Creature จึงขออาสาเลือกจุดไฮไลต์ใน Chiang Mai Design Week 2023 มาแนะนำให้คนที่เตรียมไปงานนี้กัน เปรี้ยว หวาน จากภูเขา (Minority Market)เวลา : 11.00 – 18.00 […]

‘โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ ณ ประชาธิปไตย’ ตำนานร้านอาหารเช้าโดยทายาทรุ่น 4 ที่อยากเพิ่มพื้นที่และบทสนทนาระหว่างมื้ออาหาร

เช้าวันหยุดเราเดินทางออกจากบ้านตั้งแต่เช้า ก่อนจะมุ่งหน้าไปยังถนนประชาธิปไตยในฝั่งพระนคร รู้ตัวอีกทีเราก็ยืนอยู่หน้าบ้านสไตล์วินเทจสีเหลืองนวลที่มีต้นไม้เขียวขจีแซมอยู่ตามจุดต่างๆ เป็นบรรยากาศที่ทำให้รู้สึกอบอุ่นและผ่อนคลายตั้งแต่แรกเห็น เมื่อเงยหน้าขึ้นไปบริเวณชั้นสองของอาคารก็จะเห็นป้ายตัวอักษรสีเหลืองขนาดใหญ่เขียนว่า ‘โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ ณ ประชาธิปไตย’ ใช่แล้ว ที่นี่คือสาขาใหม่ของร้านโกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ ตำนานร้านอาหารเช้าที่อยู่คู่วิถีชีวิตคนกรุงเทพฯ มาหลายทศวรรษ ทำให้หลายครั้งที่เราพูดถึงร้านกาแฟโบราณ ชื่อของร้านโกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่จะต้องติดอยู่ในลิสต์อันดับต้นๆ ของใครหลายคน แต่สิ่งที่ทำให้โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ ณ ประชาธิปไตย แตกต่างจากสภากาแฟทั่วไปคือการออกแบบร้านให้โมเดิร์นขึ้น แถมเฟอร์นิเจอร์และสีที่ใช้ตกแต่งยังช่วยสร้างบรรยากาศโฮมมี่ เหมาะกับการนั่งจิบกาแฟเพลินๆ ไม่เหมือนกับสภากาแฟแบบดั้งเดิมที่เน้นเสิร์ฟอาหารเพื่อความสะดวกรวดเร็ว ความอบอุ่นตลบอบอวลในบ้านหลังนี้ เพราะ ‘กั๊ก-สุวิชชาญ คมนาธรรมโกมล’  ทายาทรุ่นที่ 4 ร้านโกปี๊เฮี้ยะไถ้กี่เล่าให้เราฟังระหว่างทัวร์ร้านในวันนี้ว่า เขาอยากให้ลูกค้าที่เข้ามาทานอาหารรู้สึกเหมือนได้ทานข้าวอยู่บ้าน และพูดคุยแลกเปลี่ยนกันท่ามกลางบรรยากาศใหม่ๆ ขณะเดียวกัน เขาตั้งใจถ่ายทอดเรื่องราวและเสน่ห์ความเก่าแก่ของโกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ให้กับผู้มาเยือนทุกกลุ่มและทุกวัย “ปรับในสิ่งที่ควรปรับ เปลี่ยนในสิ่งที่ควรเปลี่ยน เก็บในสิ่งที่ควรเก็บ” คือแนวคิดในการทำธุรกิจของโกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ที่กั๊กย้ำกับเราตลอดบทสนทนานี้ ตำนานความอบอุ่นคู่พระนคร กั๊กเล่าย้อนให้เราฟังว่า โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่สาขาแรกเปิดให้บริการเมื่อ ค.ศ. 1952 แรกเริ่มเดิมทีถูกเรียกว่า ‘ร้านโชห่วย’ ที่มีกาแฟและชาขายอยู่ในมุมเล็กๆ มีพื้นที่ให้ลูกค้านั่งดื่มเพียง 3 โต๊ะเท่านั้น จากนั้นเป็นต้นมา โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ได้ยืนหยัดอยู่คู่ชาวพระนคร ผ่านทุกรอยต่อของกาลเวลา การเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ หรือแม้แต่ทิศทางการขับเคลื่อนของสังคม และดำเนินกิจการอย่างต่อเนื่องมานานถึง 71 […]

GREY NATION ไทยชราเป็นเรื่องของคนทุกเจนฯ เวทีทอล์กจากงาน ‘มนุษย์ต่างวัย Talk 2023’

‘สังคมสูงวัย’ ไม่ใช่เรื่องน่ากังวลสำหรับคนวัยเกษียณเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น แต่เป็นความท้าทายที่คนทุกเจเนอเรชันต้องเผชิญและอาจได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า หากเราไม่เตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ตอนนี้ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2566 Urban Creature ได้เข้าร่วมงานมนุษย์ต่างวัย Talk 2023 ‘Out of the Box Aging’ ที่รวบรวมกิจกรรมเกี่ยวกับสังคมสูงวัย ไม่ว่าจะเป็นเวทีทอล์ก เวิร์กช็อปด้านการงานและการใช้ชีวิต ไปจนถึงโซน Market & Space ที่ชวนคนรุ่นใหญ่มองเห็นโอกาสในการทำงาน พบปะเพื่อนใหม่ และสร้างคุณค่าให้ตัวเอง แต่กิจกรรมที่เรามองว่าสะท้อนภาพใหญ่และทำให้ผู้ฟังมองเห็นปัญหาของสังคมสูงวัยได้ครอบคลุมที่สุดคือเวทีทอล์กในหัวข้อ ‘Grey Nation จากเจนฯ B – เจนฯ Z : ไทยชรา เป็นเรื่องของคนทุกเจนฯ’ บรรยายโดย ‘รศ. ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง’ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ ผู้ดูแลงานนโยบายสาธารณะให้กับวงการสื่อสารมวลชน มิติเกี่ยวกับสังคมผู้สูงอายุที่ประเทศไทยต้องกังวลมีอะไรบ้าง และทำไมคนทุกเจนฯ ถึงต้องให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ คอลัมน์ Events ชวนไปสำรวจปรากฏการณ์นี้พร้อมกัน สังคมสูงวัยคือเรื่องของคนทุกเจนฯ รศ. ดร.เจิมศักดิ์ เปิดเวทีทอล์กด้วยการโยนคำถามว่า […]

อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยแบบใส่ใจสิ่งแวดล้อม Bangkok River Festival 2023 ชวนลอยกระทงใน ‘บ่อลอยกระทงรักษ์โลก’

ประเพณีลอยกระทง เป็นประเพณีที่ดีงามซึ่งพวกเราทุกคนสามารถอนุรักษ์วัฒนธรรมอันทรงคุณค่าไปพร้อมกับการรักษาสิ่งแวดล้อมได้  งาน ‘Bangkok River Festival 2023 สายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย’ ด้วยแนวคิด “ลำนำ วันเพ็ญ” ที่จัดขึ้นในวันที่ 25 – 27 พฤศจิกายน ก็เป็นอีกหนึ่งงานที่ต้องการอนุรักษ์ประเพณีไทยควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย “บ่อลอยกระทงรักษ์โลก” พร้อมกิจกรรมมากมายใน 10 จุดท่าน้ำสำคัญของกรุงเทพฯ ในช่วงเวลาก่อนที่จะถึงวันงานจริง Urban Creature ขอพาไปสำรวจงาน Bangkok River Festival 2023 ว่ามีไฮไลต์อะไรบ้าง เพื่อเป็นการวอร์มอัปให้ทุกคนเตรียมตัวไปสนุกกับประเพณีไทยที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ไฮไลต์ของงาน Bangkok River Festival 2023 ในปีนี้คือ ‘บ่อลอยกระทงรักษ์โลก’ ที่นอกจากจะเป็นการรักษาประเพณีวัฒนธรรมของไทยแล้ว ยังเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย การลอยกระทงในระบบปิดนี้นับเป็นวิธีหนึ่งในการช่วยลดจำนวนขยะจากกระทงในแหล่งน้ำตามธรรมชาติ เพราะถึงแม้ว่ากระทงจะทำจากวัสดุธรรมชาติก็ตาม แต่หากมีจำนวนที่มากเกินไปก็อาจทำให้แหล่งน้ำเกิดความสกปรกหรือเน่าเสีย นอกจากนี้ กระทงทุกใบที่จำหน่ายเพื่อลอยในบ่อลอยกระทงรักษ์โลกล้วนทำขึ้นจากวัสดุธรรมชาติทั้งสิ้น ซึ่งเมื่อจบงานในแต่ละวัน กระทงเหล่านี้ก็จะถูกจัดเก็บและส่งต่อให้ทางกรุงเทพมหานครนำไปรีไซเคิลเป็นปุ๋ย โดยกระทงหนึ่งใบนั้นสามารถนำไปผลิตปุ๋ยเพื่อปลูกต้นไม้ได้หนึ่งต้น ส่วนกระทงประทีปที่ทำจากเทียนไขนั้นสามารถนำกลับมาหลอมเป็นเทียนที่ใช้ในโบสถ์ได้ ปีนี้ใครที่อยากลอยกระทงตามประเพณีแต่ไม่อยากทำลายสิ่งแวดล้อม บ่อลอยกระทงรักษ์โลกนี้จะตั้งอยู่ใน 7 จุดทั่วกรุงเทพฯ ได้แก่ มากไปกว่ากิจกรรมลอยกระทงเพื่อสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทยแล้ว […]

สำรวจพื้นที่ระหว่างความเชื่อ ความตาย และความเป็นชุมชนในภาพยนตร์ ‘สัปเหร่อ’

หลังจากการเดินทางของหนังชุด ‘ไทบ้านเดอะซีรีส์’ ที่เล่าเรื่องของบรรดาตัวละครมาเป็นจำนวน 3 ภาค โดยมีภาคแยกของตัวละครในจักรวาลนี้ด้วยกันหนึ่งเรื่อง นั่นคือ ‘หมอปลาวาฬ’ รวมไปถึงหนังที่แยกออกจากจักรวาลหลักอย่าง ‘รักหนูมั้ย’ และ ‘เซียนหรั่ง’ ในที่สุดก็มาถึงคราวหนังภาคแยกเรื่องราวของตัวละครที่ทุกคนต่างรอคอยใน ‘สัปเหร่อ’ ซึ่งเป็นเสมือนภาคที่จะคลี่คลายเรื่องราวของตัวละคร ‘เซียง’ และ ‘ใบข้าว’ เมื่อดูผิวเผินจากตัวอย่างและใบปิด เราอาจรู้สึกเหมือนว่า หรือทีมคนทำหนังชุดไทบ้านต้องการทำหนังผีเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดหนังไทย เพราะด้วยภาพต่างๆ ที่เผยออกมาให้ได้ชม เป็นเรื่องราวของคนในหมู่บ้านที่ถูกวิญญาณผีใบข้าวตามหลอกหลอนจนหัวโกร๋น แต่เมื่อได้รับชมตัวหนังจริงๆ ปรากฏว่าเรื่องราวในเรื่องกลับเป็นสิ่งที่ไม่ได้ถูกนำเสนอบ่อยนักในหนังไทย เราจึงไม่แปลกใจที่ผู้ชมที่เริ่มต้องการสิ่งแปลกใหม่จากหนังไทยจะแห่กันไปดูหนังเรื่องนี้อย่างล้นหลาม จนรายได้จะทะลุ 1,000 ล้านแล้วในขณะนี้ นอกจากความแปลกใหม่ของรสชาติที่หนังไทยไม่ค่อยนำเสนอ หนังเรื่องนี้ยังหยิบเอาประเด็นความเป็น-ความตาย ที่เชื่อมโยงกับความเป็นชุมชนในต่างจังหวัดมาบอกเล่าได้อย่างเรียบง่ายและสมจริง ผ่านสายตาของลูกหลานผู้เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ คอลัมน์เนื้อหนังขอถือโอกาสพาผู้อ่านไปสำรวจแง่มุมเหล่านี้ในสัปเหร่อ เพื่อทำความเข้าใจบริบทประเทศไทยในพื้นที่ที่อาจห่างไกลจากตัวผู้อ่าน ไม่ว่าจะเป็นในเชิงกายภาพหรือความเข้าใจก็ตาม พื้นที่ของความเชื่อ สิ่งที่ทำให้สัปเหร่อโดดเด่นกว่าหนังไทยเรื่องอื่นๆ คือการเข้าไปลงลึกถึงอาชีพของสัปเหร่อ ราวกับเป็นสารคดีงานศพตามหลักความเชื่อและความต้องการของผู้ตายหรือผู้จัดงานให้ หนังค่อยๆ พาผู้ชมไปสำรวจการแสดงความรักต่อผู้ที่จากไปในรูปแบบต่างๆ นานา จากการที่ ‘เจิด’ (นฤพล ใยอิ้ม) ลูกชายคนเล็กของ ‘ศักดิ์’ (อัจฉริยะ ศรีทา) สัปเหร่อประจำหมู่บ้านที่กลับมาบ้านหลังจากไปร่ำเรียนมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ซึ่งนำพาเขาไปพบกับความหลากหลายของการจัดทำพิธีแก่ผู้ที่จากไป ไม่ว่าจะแบบท้องถิ่นของชาวไทยอีสานที่มีวัฒนธรรมการตั้งวงเล่นพนันกันในงานศพ […]

จาก ‘เด็กหญิงดอกไม้’ ถึง ‘มาลัยพวงสุดท้าย’ การเดินทางของศิลปิน Behind The Smile

สวัสดีมิตรรักแฟนเพลงทุกท่าน กลับมาอีกครั้งกับคอลัมน์แกะเพลง วันนี้เป็นคิวของศิลปินจากหาดทรายรี จังหวัดชุมพร หากเอ่ยชื่อออกไปหลายคนคงคุ้นหูในบทเพลงของเขา และมีอีกมากที่อาจยังไม่เคยได้ยินได้ฟัง ก่อนจะเอ่ยนาม เราขอหมุนเวลาย้อนไปเล่าเรื่องของเขาให้ฟังสักนิดพอให้ได้ทำความรู้จักกันสักหน่อย ตั้งแต่ช่วงประถมฯ จุดเริ่มต้นเส้นทางดนตรีของเขามาจากพี่ชายสองคน คนหนึ่งเป็นแนวเพื่อชีวิต ส่วนอีกคนเป็นสายเฮฟวี น้องคนสุดท้องอย่างเขาจึงมีกีตาร์เป็นเครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ได้ลองหัดและมีบทเพลงมากมายที่หลั่งไหลเข้ามาให้ได้ฟัง ต่อมาอาจารย์ที่สอนอยู่โรงเรียนแถวบ้านได้มองเห็นแววดนตรีของเขา จึงเปิดประตูสู่เส้นทางดนตรีให้ชายหนุ่ม หาเพลงแปลกใหม่ให้ฟัง พาไปดูเวทีประกวด แลกเปลี่ยนวิถีชีวิตศิลปิน และชวนไปเรียนต่อในระดับมัธยมฯ ทำให้เขาได้กลายเป็นนักดนตรีประจำวงดุริยางค์และวงสตริงของโรงเรียนในตำแหน่ง ‘มือกลอง’ “บ้านอยู่หัวกรู๊ดด ชอบฟังยูสสเอฟเอ็ม ชอบฟังดีเจจุ๊บบแจง เก้าสิบสองจู๊ดดเจ็ดห้า ที่ยูสสเอฟเอ็ม” สิ้นสุดช่วงวัยเรียน ดนตรีทำให้เขาได้ทำสิ่งที่ชอบ ได้รับรางวัล และยังทำให้ได้งานที่คลื่นวิทยุแห่งหนึ่งในตัวเมืองหัวหิน ซึ่งจิงเกิลคือหนึ่งในผลงานที่ทำให้รายการวิทยุ ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการแต่งเพลงของเขา เขาทำงานที่คลื่นวิทยุเป็นเวลา 10 ปี บางครั้งที่ดีเจไม่ว่างก็ต้องรับหน้าที่แทน ทำให้มีโอกาสสัมภาษณ์ศิลปินชื่อดังในยุคนั้น เขาเริ่มได้ยินเสียงตัวเองมากขึ้น ได้ใช้ไมค์ ได้ทำสปอตโฆษณา คุ้นเคยกับการอ่านข้อมูลหลายๆ หน้าและย่อความให้เหลือเป็นสคริปต์พูด 30 วินาที ฯลฯ ในเวลาเดียวกันนั้นเขาเริ่มเล่นดนตรีกลางคืน จากมือกลองวงโรงเรียนก้าวไปเล่นดนตรีหลายแนวมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเพลงร็อก เร็กเก้ สการ์ โซล ฟังกี้ แจ๊ส ฯลฯ และการเดินทางของเวลาก็นำพามาให้พบกับเหล่ามิตรสหายนักเรียนดนตรีจากกรุงเทพฯ […]

Supalai Self-Proved นวัตกรรมและนโยบายจาก ‘Supalai’ ที่พิสูจน์มาแล้วว่าดีต่อผู้อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม

เดี๋ยวนี้ไม่ว่าหันมองไปทางไหนก็เห็นแต่เทรนด์ ‘รักษ์โลก’ ที่มาแรงแซงทางโค้ง เพื่อต่อสู้กับสถานการณ์โลกรวนที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ แม้แต่การซื้อบ้านใหม่เองก็เป็นส่วนหนึ่งในการทำลายโลก เพราะกระบวนการก่อสร้างเต็มไปด้วยวัสดุอุปกรณ์ตัวร้ายที่อาจส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม แต่ครั้นจะซื้อบ้านในโครงการที่ใช้วัสดุรักษ์โลก ก็มักมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น แถมใจเราลึกๆ ยังกล้าๆ กลัวๆ ไม่มั่นใจว่าวัสดุเหล่านี้จะใช้งานได้เหมือนเดิมไหม แต่สำหรับโครงการบ้านในไทย อสังหาริมทรัพย์ที่อยู่มานานและผลักดันเรื่องความยั่งยืนมาตลอดคงหนีไม่พ้น ‘ศุภาลัย’ (Supalai) การันตีด้วยบ้านรักษ์โลกในบริษัทอสังหาริมทรัพย์รายแรกที่ได้รับโล่เกียรติคุณ ‘SCG Green Choice Sustainable Leader’ ทำให้ผู้อยู่อาศัยมั่นใจได้ว่า ตั้งแต่ขั้นตอนการก่อสร้าง การใช้วัสดุ ไปจนถึงเสร็จสมบูรณ์พร้อมเข้าอยู่อาศัย ล้วนเกิดขึ้นภายใต้แนวคิด Green Design ที่เน้นการประหยัดพลังงาน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นมิตรกับเงินในกระเป๋า แถมล่าสุดศุภาลัยยังปล่อยแคมเปญ ‘Supalai Self-Proved’ ที่ชวนทุกคนมาร่วมพิสูจน์การก่อสร้างที่รักษ์โลก พร้อมขับเคลื่อนนวัตกรรมที่อยู่อาศัยสีเขียวไปพร้อมๆ กับชูพลังรักษ์สิ่งแวดล้อมและสังคมผ่านโครงการต่างๆ และเพื่อยืนยันว่าบ้านจากโครงการศุภาลัยรักษ์โลกจริงๆ Urban Creature ขอหยิบ  นวัตกรรมและนโยบายช่วยโลกให้ยั่งยืนที่ศุภาลัยทำอย่างต่อเนื่องมาฝากทุกคนกัน ข้อต่อระบายน้ำ 4 ทาง ลดการสิ้นเปลืองวัสดุ ป้องกันน้ำรั่วซึม เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อย่างยั่งยืนที่พร้อมขับเคลื่อนนวัตกรรมที่อยู่อาศัยสีเขียว แคมเปญ Supalai Self-Proved จึงเป็นการถ่ายทอดโครงการคิดค้นนวัตกรรมก่อสร้าง การจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อมุ่งมั่นลดปริมาณขยะจากการก่อสร้างให้น้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดขึ้น โดยหนึ่งในนั้นคือการออกแบบท่อแบบใหม่โดยใช้ […]

สัมผัส ‘สิงคโปร์’ มุมใหม่กับ ‘Made in Singapore’ เดินสำรวจย่านและสัมผัสธรรมชาติในพื้นที่เมือง

‘สิงคโปร์’ ประเทศขนาดเล็กที่อัดแน่นไปด้วยความเจริญก้าวหน้าอย่างรอบด้าน ทั้งเรื่องเทคโนโลยี ความใส่ใจในสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการสร้างธรรมชาติให้อยู่ร่วมกับชีวิตในเมืองได้อย่างสมดุล แต่ถึงอย่างนั้น เมื่อพูดถึงสิงคโปร์และสถานที่ท่องเที่ยว หลายครั้งเราก็มักจะคิดถึงแต่จุดท่องเที่ยวแบบเดิมหรือแลนด์มาร์กที่ไม่ว่าไปกี่ครั้งก็ต้องแวะไปเยี่ยมชมทุกครั้ง แม้จะคลาสสิกแต่กลับทำให้การท่องเที่ยวนั้นไม่แปลกใหม่ขึ้นเลย เพราะเหตุนี้ แคมเปญ ‘Made in Singapore’ โดย ‘การท่องเที่ยวสิงคโปร์’ (Singapore Tourism Board : STB) จึงเกิดขึ้นเพื่อชวนนักท่องเที่ยวทั่วโลกมาสัมผัสประสบการณ์ในสิงคโปร์ได้อย่างเต็มที่และต่างไปจากเดิม ผ่านจุดท่องเที่ยวธรรมชาติต่างๆ ที่แทรกตัวอยู่ในทุกที่ รวมถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่หลอมรวมอยู่ในเกาะแห่งนี้ ดังนั้นหากใครมีแพลนจะไปท่องเที่ยวสิงคโปร์เร็วๆ นี้ และยังไม่รู้ว่าจะไปเที่ยวที่ไหนบ้าง คอลัมน์ Urban Guide ขอแนะนำ ‘4 สถานที่’ และ ‘2 กิจกรรม’ ที่จะเปลี่ยนการเที่ยวสิงคโปร์แบบธรรมดาให้พิเศษมากกว่าเดิม รับรองว่าต่อให้เป็นการกลับไปเที่ยวซ้ำอีกครั้งก็จะไม่รู้สึกเบื่อหรือจำเจแน่นอน Jewel Changi สัมผัสธรรมชาติกลางศูนย์การค้าในสนามบิน ไปถึงสิงคโปร์ทั้งทีไม่ควรพลาดแลนด์มาร์กแห่งใหม่อย่าง ‘Jewel Changi’ ที่โดดเด่นด้วยลักษณะอาคารโดมกระจก มาพร้อม ‘น้ำตก’ ความสูงกว่า 40 เมตร รายล้อมด้วยสีเขียวของต้นไม้หลากหลายสายพันธุ์ จนแทบไม่เชื่อว่าธรรมชาติทั้งหมดที่เห็นอยู่นี้เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์การค้าภายในสนามบิน โดมขนาดใหญ่ที่เห็นประกอบด้วยกระจกกว่า 9,000 […]

1 2 3 4 5 48

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.