Sgreen
เบื้องหลังแบรนด์และผลิตภัณฑ์ที่ตั้งเป้าลดปัญหาสิ่งแวดล้อม
O’right แบรนด์ความงามจากไต้หวันที่มีส่วนช่วยดูแลโลก จนได้การรับรอง Zero Carbon เป็นแบรนด์แรก
ปัจจุบันองค์ประกอบของการมองหาผลิตภัณฑ์ความงามสักแบรนด์ แค่ใช้แล้วผิวรอดผมสวยคงไม่พอ แต่ต้องพาโลกของเรารอดไปพร้อมๆ กันด้วย ทุกวันนี้คนไทยอาจคุ้นหูกับคำว่า ‘Zero Carbon’ ที่หมายถึงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์กันมากขึ้นผ่านงานประชุมใหญ่อย่าง COP26 และ COP27 ที่ผ่านมา แต่ใครจะรู้ว่า คำว่า Zero Carbon ที่พูดถึงกันไม่ใช่แค่ภาพใหญ่ที่ขับเคลื่อนเฉพาะภายในภาครัฐหรือองค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น เพราะสำหรับวงการผลิตภัณฑ์ความงามเองก็มีหลากหลายแบรนด์ที่พยายามทำผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระหว่างการผลิตให้ได้มากที่สุดเพื่อช่วยโลกของเรา คอลัมน์ Sgreen ขอพาไปรู้จักกับ ‘O’right’ แบรนด์ผลิตภัณฑ์ความงามจากประเทศไต้หวันที่มีส่วนผสมเป็นออร์แกนิกและวีแกนแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ แถมยังได้รับการรับรองว่าเป็นแบรนด์แรกที่ Zero Carbon ตั้งแต่ส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ ไปจนถึงกิจกรรม CSR แนวคิด ‘สีเขียว’ O’right เป็นแบรนด์ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมและความงามสัญชาติไต้หวันที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2002 โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพของผู้คน และดีต่อสุขภาพของโลกไปพร้อมๆ กัน ผ่านผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากสารเคมี ‘Steven Ko’ ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง O’right มีความตั้งใจในการเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันของทุกคนให้เป็นมิตรกับโลกมากขึ้น โดยเขามองว่าสิ่งที่จะช่วยลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ และเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ที่เรากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันได้คือ การมุ่งไปสู่การเป็น Zero Carbon นั่นเอง ปณิธานนี้สะท้อนตั้งแต่ในโลโก้ของแบรนด์ O’right […]
Wastic Thailand แบรนด์แว่นตากันแดดอัปไซเคิลที่เชื่อว่าเรามีไลฟ์สไตล์ชิกๆ ได้พร้อมกับการช่วยโลก
Wastic Thailand คือแบรนด์สินค้าอัปไซเคิลจากขยะพลาสติกที่อยากหลุดออกจากกรอบเดิมๆ ของสินค้ารักษ์โลก ตั้งแต่ชื่อ Wastic ที่มาจากคำว่า Waste กับ Plastic ตั้งใจให้อ่านออกเสียงว่า วาส-ติก ไม่ใช่ เวส-ติก เพราะไม่อยากให้ลูกค้านึกถึงภาพขยะเมื่อได้ยิน นอกจากชื่อ ผู้ก่อตั้งทั้ง 4 อย่าง กมลชนก คล้ายนก, รสลิน อรุณวัฒนามงคล, สินีนาฏ จารุวาระกูล และ อริสรา พิทยายน ยังเชื่อว่า สินค้ารักษ์โลกไม่จำเป็นต้องมีดีไซน์เรียบง่ายหรือดูออกว่าทำจากวัสดุอะไรเสมอไป แต่สามารถชิกได้ เปรี้ยวได้ เป็นสินค้าที่ให้สายแฟฯ สวมใส่ในชีวิตประจำวันได้อย่างมั่นใจ แว่นกันแดดของ Wastic คือตัวอย่างที่ยืนยันความเชื่อนั้นได้ดี ซึ่งก็ไม่ได้สักแต่ว่าจะดีไซน์ให้เก๋ไก๋ แต่สินค้าตัวแรกของพวกเธอยังสื่อสารเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมได้ในตัวมันเอง อย่างสีทั้ง 3 ของตัวแว่นกันแดดเองก็ได้แรงบันดาลใจมาจากบรรยากาศของทะเล ซึ่งเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ได้รับผลกระทบจากขยะพลาสติกมากที่สุด คอลัมน์ Sgreen คราวนี้ ชวนคุณไปคุยกับกมลชนก หนึ่งในผู้ก่อตั้งแบรนด์ ฟังเธอเล่าเบื้องหลังการคิดค้นสินค้าที่เลอค่าทั้งรูปลักษณ์และเป้าหมาย ขั้นตอนกว่าจะเป็นแว่นกันแดดอันแรก ไปจนถึงความเชื่อที่ว่าสินค้าอัปไซเคิลก็ชิกได้ ใส่แล้วไม่อายใคร From Plastic to […]
L’Oréal Group บริษัทความงามที่รักษ์โลกตั้งแต่ต้นทางกระบวนการผลิตไปจนถึงปลายทางผู้บริโภค
ในยุคที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมกัน ลำพังความร่วมมือจากประชาชนตัวเล็กๆ คงไม่เพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงาน องค์กร หรือแบรนด์ใหญ่ๆ จากทั่วโลก ไม่เว้นแม้กระทั่ง ‘อุตสาหกรรมความงาม’ สำหรับ ‘L’Oréal Group’ (ลอรีอัล กรุ๊ป) บริษัทเครื่องสำอางชั้นนำของโลกจากฝรั่งเศส ผู้อยู่เบื้องหลังแบรนด์ดังอย่าง L’Oréal Paris, Garnier, YSL Beauty, La Roche-Posay และแบรนด์อื่นๆ อีกมากมาย ก็มีจุดยืนเรื่องความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้เริ่มต้นและปฏิบัติต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ อีกทั้งยังมีเป้าหมายที่ชัดเจนและเข้มข้นในการยกระดับการทำงานด้านความยั่งยืนและเอาใจใส่ สร้างผลกระทบเชิงบวกให้สังคมและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การทำงานต้นน้ำถึงปลายน้ำของการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ลอรีอัล กรุ๊ปเชื่อว่า ‘ความงามคือพลังสำคัญที่ขับเคลื่อนเรา พลังที่จะช่วยรักษาโลกของเราได้’ เพราะแม้จะไม่ได้ป่าวประกาศความเป็น Green หรือ Clean Beauty ผ่านตราสัญลักษณ์ใดๆ แต่ลอรีอัล กรุ๊ปก็ดำเนินนโยบายในการปรับแนวทางการบริหารจัดการ การผลิต ออกแบบสูตรและบรรจุภัณฑ์บนพื้นฐานของความยั่งยืนมาอย่างยาวนาน บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเคารพต่อ ‘ขีดจำกัดความปลอดภัยของโลก’ (Planetary Boundaries) หรือขีดจำกัดที่โลกสามารถรับไหวไว้อย่างชัดเจน คอลัมน์ Sgreen ขอพาไปรู้จักดีเทลเบื้องหลังของลอรีอัล กรุ๊ปกันให้มากขึ้น ว่าบริษัทเครื่องสำอางมาตรฐานระดับโลกจากฝรั่งเศสที่มีอายุยาวนานถึง 114 ปี […]
JAIKLA แบรนด์ขนมหมาจากโปรตีนแมลงที่เชื่อว่าน้องหมาก็ช่วยโลกได้
สัมภาษณ์ผู้คนที่ทำธุรกิจเพื่อความยั่งยืนมาหลายคน ใครจะคิดว่าวันหนึ่งเราจะได้นั่งคุยกับเจ้าของธุรกิจขนมหมา ‘ขนมหมากู้โลก’ แวบแรกที่ได้ยินนิยามนี้ของขนมยี่ห้อ JAIKLA เราก็ไม่กล้าเชื่อเท่าไหร่ แต่เมื่อได้สนทนากับผู้ก่อตั้งแบรนด์อย่าง ‘โด่ง-อิทธิกร เทพมณี’ และ ‘เพชร-พชรพล อัจฉริยะศิลป์’ เราก็เชื่อว่ามันเป็นไปได้จริงๆ เพราะนี่ไม่ใช่ขนมหมาธรรมดา แต่เป็นขนมที่ทำมาจากโปรตีนแมลงที่เลี้ยงอย่างดีในฟาร์มเฉพาะ เลี้ยงด้วยเศษผักและอาหารส่วนเกินที่รับมาจากแหล่งต่างๆ ในไทย นอกจากจะนำแมลงเหล่านั้นมาแปรรูปเป็นขนมคุกกี้กรอบรสชาติถูกใจเหล่าน้องๆ ในปี 2022 พวกเขายังช่วยลดปริมาณอาหารส่วนเกินในบ้านเราไปได้เกือบ 15 ตัน! ใครจะคิดว่าน้องหมาสี่ขาที่บ้านเราจะช่วยเซฟสิ่งแวดล้อมได้ แต่พวกเขาก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าทำได้ เรื่องราวการทำขนมของโด่งและเพชรก็น่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะต่อให้เป็นพ่อหมาที่เลี้ยงหมาของตัวเองอยู่แล้ว พวกเขาก็สารภาพกับเราว่าการทำขนมหมานั้นไม่ง่ายเลย ยิ่งท้าทายเข้าไปอีกเพราะเป็นขนมหมากู้โลก นอกจากโปรตีนแมลงที่เป็นส่วนผสมหลัก ขนมแบรนด์ JAIKLA มีอะไรเป็นส่วนประกอบบ้าง ให้บทสนทนาต่อจากนี้ของพวกเขาเล่าให้ฟัง ส่วนประกอบที่ 1ความมั่นคงทางอาหารที่ถูกสั่นคลอน ‘รู้จักประเด็นโลกร้อนแค่ผิวเผิน และไม่ได้รู้สึกว่าต้องเข้าไปแก้ไขอะไรมัน’ ถ้าคุณเคยรู้สึกแบบเดียวกัน โด่งบอกว่าเราเป็นเพื่อนกันได้ ด้วยพื้นฐานความรู้ด้านบริหารธุรกิจ เคยไปนั่งตำแหน่งนักวิเคราะห์การลงทุนที่ให้ความสำคัญกับเงินและประโยค ‘Greed is Good’ (ความโลภคือสิ่งดี) อยู่หลายปี โด่งไม่เคยคิดว่าวันหนึ่งจะได้มาเป็นส่วนหนึ่งของแวดวงที่ขับเคลื่อนเรื่องสิ่งแวดล้อม แต่ก็เป็นการงานอีกนั่นแหละที่ดึงดูดให้เขาได้เข้าไปคลุกคลีกับเรื่องนี้ เพราะต้องติดตามเทรนด์ธุรกิจ ซึ่งหนึ่งในเทรนด์ที่มาแรงและมีผลต่อทุกอุตสาหกรรมคือความยั่งยืน โดยโด่งไปอ่านเจองานวิจัยหนึ่งขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture […]
BRAVE SHOES แบรนด์สินค้าอัปไซเคิลที่เปลี่ยนเปลือกกล้วยและเศษมะนาวให้กลายเป็นรองเท้าทรงเก๋
สำหรับคนที่ไม่ได้ซื้อรองเท้าบ่อยๆ อย่างเรา โอกาสที่จะหยุดดูรองเท้าสักคู่ในช็อปอาจมีไม่มาก แต่บ่ายวันนี้ รองเท้าคู่หนึ่งชวนให้เราเดินทางมาถึงช็อปเล็กๆ ในย่านพุทธมณฑล สาย 2 เพื่อมันโดยเฉพาะ คุณอาจสงสัยว่า แล้วคนไม่ค่อยซื้อรองเท้าอย่างเราทำไปทำไม เฉลยให้ฟังว่าเพราะรองเท้าคู่นี้ไม่ใช่รองเท้าธรรมดา แต่เป็นรองเท้าหนังสังเคราะห์ที่ทำจากผักผลไม้เหลือทิ้งในอุตสาหกรรมเกษตร ทั้งเปลือกกล้วย เศษมะนาว และลูกมะพร้าว BRAVE SHOES คือชื่อแบรนด์รองเท้าที่เรากำลังพูดถึง เหมือนกับชื่อแบรนด์ นอกจากความกล้าที่จะใช้วัสดุซึ่งไม่เคยเห็นดีไซเนอร์ไทยคนไหนใช้มาก่อน ‘ตะวัน-กฤดิพัชร เจริญชัยปิยกุล’ และ ‘มาย-มาย การุณงามพรรณ’ สองผู้ก่อตั้งแบรนด์ยังใส่ความกล้าลงไปในแทบทุกองค์ประกอบ ไล่ไปตั้งแต่ดีไซน์รองเท้าสุดเก๋ไก๋ที่เหมือนหลุดออกมาจากหนังไซไฟสักเรื่อง การผลิตแบบสล็อตเล็กๆ ไม่มีซีซัน ไม่ขายตลาดแมส ไปจนถึงการตั้งราคาที่สูงเมื่อเทียบกับรองเท้าแฟชั่นแบรนด์อื่น ไม่ใช่เพราะอยากให้แบรนด์มีรายได้เยอะๆ แต่อยากให้ทุกคนในสายพานการผลิตได้รับผลตอบแทนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ทั้งคู่เอาความกล้านี้มาจากไหน ตะวันและมายพร้อมตอบคำถามเราแล้ว แบรนด์แฟชั่นยั่งยืนของเพื่อนสนิท BRAVE SHOES เปิดตัวแบรนด์ครั้งแรกบน Instagram ในเดือนธันวาคม 2564 แต่ความเป็นเพื่อนของตะวันกับมายเริ่มต้นมาเนิ่นนานก่อนหน้านั้น เรียนมัธยมฯ ที่เดียวกัน มหาวิทยาลัยก็อยู่คณะใกล้กัน ตะวันเรียนจบด้านแฟชั่นดีไซน์จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ส่วนมายจบสถาปัตย์ ต่างคนต่างแยกย้ายไปใช้ชีวิตของตัวเองหลังสำเร็จการศึกษา มายผู้สนใจเรื่องความยั่งยืนเป็นทุนเดิมเปิดสตาร์ทอัปทำเทคโนโลยีที่แปลงวัสดุใช้แล้วในอุตสาหกรรมต่างๆ ให้กลับมาใช้ได้อีกครั้ง ส่วนตะวันบินลัดฟ้าไปเรียนต่อปริญญาโทที่อิตาลี และมีโอกาสได้ทำงานเป็นฟรีแลนซ์ดีไซเนอร์ที่เมืองโคเปนเฮเกน […]
Eco-friendly Music Festivals 8 เทศกาลดนตรีที่การันตีเรื่องความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
หลายที่ทั่วโลกเริ่มกลับมาจัดอีเวนต์กันได้ตามปกติหลังจากต้องหยุดไปชั่วคราวเพราะโควิด-19 โดยเฉพาะ ‘เทศกาลดนตรี’ หรือ ‘Music Festival’ ที่หลายคนอดใจรอไปสนุกกับเสียงเพลงและกิจกรรมต่างๆ ภายในงานแทบไม่ไหวแล้ว ทว่าการจัดงานเทศกาลดนตรีขนาดใหญ่แต่ละครั้งย่อมมีผู้เข้าร่วมงานจำนวนมาก ซึ่งกระบวนการดำเนินงานและกิจกรรมของเทศกาลประเภทนี้ย่อมสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เช่น มลพิษจากการขนส่ง และขยะจำนวนนับไม่ถ้วน ดังนั้น หากมีการจัดงานเทศกาลดนตรีบ่อยขึ้นเรื่อยๆ ยังไงก็มีผลต่อความยั่งยืนทางธรรมชาติอย่างแน่นอน แต่ไม่ใช่ว่าทุกงานเทศกาลจะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมเสมอไป คอลัมน์ Urban’s Pick ครั้งนี้จึงอยากพาทุกคนไปสำรวจ 8 เทศกาลดนตรีทั่วโลก ที่นอกจากจะมอบความสุขและความสนุกผ่านเสียงดนตรีแล้ว เหล่านี้ยังจัดงานให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและคำนึงถึงเรื่องความยั่งยืนเป็นหลักด้วย แถมทั้งหมดยังการันตีเรื่องความรักษ์โลก เพราะล้วนได้รางวัลจาก A Greener Festival องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ช่วยให้งานแสดงดนตรีมีความยั่งยืนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาแล้วทั้งนั้น Terraforma Festival ประเทศ : อิตาลี ช่วงที่จัดแสดง : เดือนกรกฎาคม เริ่มต้นกันที่เทศกาลดนตรีจากประเทศอิตาลี ‘Terraforma Festival’ ที่จัดขึ้นในป่า Villa Arconati นอกเมืองมิลาน เทศกาลนี้ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมและพยายามลดผลกระทบจากการก่อสร้างตัวงานให้เหลือน้อยที่สุด เช่น ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์, ใช้หลอดไฟ LED, ใช้ระบบควบคุมน้ำสำหรับฝักบัวและอ่างล้างมือเพื่อลดการใช้น้ำ รวมถึงนำเอาวัสดุส่วนเกินที่เหลือจากการก่อสร้างมาใช้ใหม่เพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่น โต๊ะ […]
Coldplay วงป็อปร็อกจากอังกฤษที่ทัวร์คอนเสิร์ตสุดกรีน และผลักดันความยั่งยืนแบบรอบด้าน
ถ้าถามถึงวงดนตรีสากลที่คอเพลงชื่นชอบที่สุด เชื่อว่าคนจำนวนไม่น้อยต้องมีชื่อวงป็อปร็อกสัญชาติอังกฤษอย่าง Coldplay ติดอยู่ในอันดับต้นๆ ของลิสต์แน่ๆ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะแนวดนตรีที่มีเมโลดี้สุดยูนีก เนื้อเพลงความหมายลึกซึ้งที่ฟังเมื่อไหร่ก็รีเลตได้ทันที จึงไม่แปลกใจที่ผลงานของ Coldplay ช่วยปลอบประโลมและเยียวยาจิตใจของแฟนๆ ทั่วโลกได้นานถึง 26 ปี แต่ในปี 2022 วงดนตรีระดับโลกเจ้าของ 7 รางวัลแกรมมี่ (Grammy Awards) และ 9 รางวัลบริต (BRIT Awards) ไม่ได้หยุดอยู่แค่การถ่ายทอดความสุขให้แฟนเพลงผ่านเสียงดนตรีเท่านั้น แต่ยังยกระดับตัวเองให้เป็นแนวหน้าของวงการเพลงระดับโลกที่เปลี่ยนทัวร์คอนเสิร์ตให้มี ‘ความยั่งยืน’ และ ‘เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม’ มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ย้อนไปเมื่อปี 2019 Coldplay ได้ประกาศยกเลิกเดินสายทัวร์คอนเสิร์ตโปรโมตอัลบั้ม Everyday Life เนื่องจากความกังวลต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อนที่โลกของเรากำลังเผชิญ โดยทางวงให้เหตุผลว่าจะใช้ช่วงเวลาที่หยุดพักหาแนวทางการทัวร์คอนเสิร์ตที่ยั่งยืน ดีต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างผลกระทบทางบวกให้สังคม สองปีผ่านไป วงดนตรีจากเมืองผู้ดีคัมแบ็กพร้อมคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ด้วยการประกาศทัวร์คอนเสิร์ตอัลบั้มใหม่ Music of the Spheres World Tour 2022 ที่มีเป้าหมายปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) รวมถึงแนวทางที่ส่งเสริมเรื่องความยั่งยืนอีกเพียบ ครอบคลุมเกือบทุกมิติของการจัดคอนเสิร์ตที่วงดนตรีวงหนึ่งจะทำได้ […]
ผักDone แบรนด์กระถางหมักเศษอาหาร DIY ที่อยากเป็นสะพานเชื่อมคนเมืองกับธรรมชาติ
ตามประสาคนเมืองผู้ใช้ชีวิตอยู่กับห้องสี่เหลี่ยม เราโหยหาธรรมชาติเป็นพิเศษในวันที่ใจเหี่ยวเฉา ทุกครั้งที่รู้สึกหมดแรงทำอะไร เสียงน้ำ สายลมแผ่ว และสีเขียวเติมพลังเราได้ในหลายมิติ ‘นิต้า-มานิตา วิวัฒน์เศรษฐชัย’ ก็เป็นอย่างนั้น ถ้าถอดตำแหน่งเจ้าของแบรนด์สินค้าและบริการจัดการขยะอาหารออกไป ชีวิตของมานิตาก็ยังน่าสนใจสำหรับเราอยู่ดี เพราะหลังจากเรียนจบปริญญาตรีด้านชีวการแพทย์จากมหาวิทยาลัยมหิดล เธอก็ค้นพบว่าสิ่งที่อยากทำไม่ใช่การรักษาโรคภัย แต่เป็นการดูแลตัวเองเพื่อให้ได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ นั่นคือเหตุผลให้เธอเบนสายมาศึกษาเรื่องอาหาร จิตใจ และสิ่งแวดล้อม มานิตาเข้าไปทำงานในบริษัทเอกชนได้ 3 ปี ก่อนจะลาออกมาใช้ชีวิตของตัวเองโดยไม่อยากพึ่งเงินตรา ความฝันสูงสุดคือการใช้ชีวิตแบบโจน จันได 2 ปีหลังจากนั้น เธอปฏิเสธไม่ได้ว่าเงินคือเครื่องมือหนึ่งในการใช้ชีวิต แต่การจะหาเงินมาอย่างไร นั่นคือคำถาม คำถามนั้นกลายเป็นที่มาให้เธอสร้าง ‘ผักDone’ แบรนด์รักษ์โลกที่มีเป้าหมายในการเชื่อมให้คนเมืองได้เห็นความสำคัญของธรรมชาติและทรัพยากรหมุนเวียน ผ่านสินค้าและบริการในการจัดการขยะอาหาร โดยมีสินค้าไฮไลต์เป็นกระถางดินเผาหมักอาหารที่ผู้ใช้งานนำไปหมักแบบ DIY ได้เอง โดยไม่ต้องกังวลเรื่องพื้นที่ วิธี และกลิ่นเหม็น “เราเห็นความสำคัญของต้นไม้ รู้ว่าการไม่มีมันอยู่เป็นยังไง” เหตุผลในการลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างของคนคนหนึ่งอาจเป็นอะไรก็ได้ แต่สำหรับมานิตา ‘ต้นไม้’ คือคำที่เปลี่ยนมุมมองและรูปแบบการดำเนินชีวิตของเธอ ย้อนกลับไปก่อนหน้าที่เธอจะก่อตั้งผักDone มานิตาในวัยเด็กอาศัยในบ้านหลังเก่าที่ถึงแม้จะตั้งอยู่กลางกรุงเทพฯ แต่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่รกร้างและร่มเงาของต้นจามจุรีข้างบ้าน ช่วงชีวิตในวัยเยาว์ของเธอจึงผูกโยงกับสีเขียวอย่างแยกไม่ออก “มีต้นจามจุรีต้นหนึ่งอยู่ข้างบ้าน อีกต้นอยู่ด้านหลัง” เธอย้อนความให้ฟัง “มันร่มเย็นมาก ตอนนั้นไม่ได้ Appreciate มัน […]
Forest Green Rovers สโมสรฟุตบอลที่รักโลกพอๆ กับฟุตบอล จนได้เป็นเบอร์ 1 ด้านความยั่งยืนของโลก
ช่วงปลายปีนี้ คอฟุตบอลทั้งหลายคงกำลังตื่นเต้นและตั้งตารอการแข่งขันรายการใหญ่อย่าง ‘ฟุตบอลโลก 2022’ (FIFA World Cup 2022) ซึ่งจะเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการที่ประเทศกาตาร์ในวันที่ 21 พฤศจิกายนนี้ โดยที่ผ่านมาก็มีโปรแกรมแข่งขันระดับสูงสุดของอังกฤษอย่าง ‘พรีเมียร์ลีก’ (Premier League) ให้แฟนบอลยอมอดหลับอดนอน เฝ้าหน้าจอเพื่อลุ้นเอาใจช่วยทีมโปรดกันแบบตัวโก่ง หลายๆ คนคงรู้จักสโมสรดังๆ ในพรีเมียร์ลีกอยู่แล้ว แต่วันนี้ Urban Creature อยากพาทุกคนขยับไปยังดิวิชันที่เล็กลงมาอย่าง ‘อีเอฟแอลลีกวัน’ (EFL League One) เพื่อทำความรู้จักกับสโมสร ‘Forest Green Rovers (FGR)’ ที่นอกจากเป็นทีมฟุตบอลเก่าแก่อายุกว่า 133 ปี ที่นี่ยังได้รับการรับรองให้เป็น ‘สโมสรฟุตบอลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สุดในโลก’ โดยสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ รวมถึง ‘สโมสรฟุตบอลที่เป็นกลางทางคาร์บอนแห่งแรกของโลก’ โดยสหประชาชาติ Forest Green Rovers ให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมเกือบทุกมิติ ตั้งแต่ตัวสนามฟุตบอลที่ใช้พลังงานหมุนเวียน 100 เปอร์เซ็นต์ เมนูอาหารที่เป็นวีแกนทั้งหมด จนถึงเสื้อนักกีฬาที่ผลิตจากกากกาแฟ ที่สำคัญ ทีมฟุตบอลเล็กๆ จากเมือง Nailsworth […]
นโยบายรักษ์โลกแบบ ‘Patagonia’ ของ ‘อีวอง ชูนาร์ด’ มหาเศรษฐีผู้ไม่อยากเป็นนักธุรกิจ
จากเด็กที่ได้สัมผัสความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติในวัย 14 ปี เติบโตมาเป็นนักปีนเขาที่ยืมเงินพ่อแม่สามหมื่นกว่าบาทมาสร้างหมุดปีนเขาใช้เองและแบ่งขายเพื่อนฝูง จนในปี 1970 เขากลายเป็นเจ้าของบริษัทขายอุปกรณ์ปีนเขาเจ้าใหญ่ในอเมริกา แต่เมื่อพบว่าหมุดเหล็กที่เขาสร้างขึ้นส่งผลกระทบต่อภูเขา เขาจึงตัดสินใจเลิกขายและใช้เวลาสองปีค้นคว้าออกแบบหมุดปีนเขาที่ใช้เกี่ยวกับร่องหินโดยไม่เจาะเข้าไปให้ภูเขาได้รับผลกระทบใดๆ มาถึงปี 1973 ชายคนนั้นมองหาเสื้อผ้าสำหรับใส่ปีนเขาซึ่งมีคุณภาพอย่างที่ต้องการไม่เจอ จนได้พบ Fitz Roy หุบเขาแห่งหนึ่งใน Patagonia ประเทศอาร์เจนตินา เขาจึงได้เห็นจุดเริ่มต้นของแบรนด์เสื้อผ้าปีนเขาที่อยากใส่ ผ่านเวลามา 50 ปี ‘อีวอง ชูนาร์ด’ (Yvon Chouinard) เป็นที่รู้จักในฐานะผู้ก่อตั้ง ‘Patagonia’ (พาทาโกเนีย) แบรนด์เสื้อผ้าเอาต์ดอร์ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ครองใจคนทั้งโลก มีรายได้มากมายจนกลายเป็นมหาเศรษฐีคนหนึ่ง และใช้ชีวิตการทำงานเป็นนักธุรกิจที่เจ้าตัวไม่ได้อยากเป็น เดินหน้าสร้างต้นแบบธุรกิจที่มีหัวใจหลักคือ ‘ความยั่งยืน (Sustainability)’ ตลอดมา นโยบายธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ชูนาร์ดพูดอยู่เสมอว่า เขาไม่เคยคิดอยากเป็นนักธุรกิจ แต่ถ้าต้องเป็นนักธุรกิจ ก็จะเป็นนักธุรกิจแบบที่เขาอยากเป็น และนี่คือตัวอย่างบางส่วนของนโยบายของนักปีนเขาที่ต้องมาทำธุรกิจให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เริ่มตั้งแต่ต้นทางกระบวนการผลิตพาทาโกเนียมีโรงงานที่ใช้พลังงานลมและแสงอาทิตย์ รวมถึงมีอาคารสำนักงานที่ประหยัดพลังงาน และอาคารสีเขียวที่ผ่านการประเมินคะแนนวัดระดับอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของ LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) สินค้าของพาทาโกเนียใช้วัตถุดิบหลักเป็นผ้าฝ้าย […]
หลอดกระดาษไมโลปรับปรุงใหม่ แข็งแรงขึ้น ใส่ใจโลก!
ตอนเด็กๆ พอรู้ว่ารถไมโลโรงเรียนจะมา เรานี่ตื่นเต้นจนอยากจะรีบไปต่อแถวคนแรก โตขึ้นมาหน่อยก็จำความได้ว่ามีไมโลติดกระเป๋าตลอด แม้กระทั่งตอนนี้ คิดอะไรไม่ออกก็ให้ไมโลช่วยรองท้อง ไมโลแทบจะอยู่กับเราทุกช่วงวัย ผ่านไปกี่สิบปี ความอร่อยของเครื่องดื่มช็อกโกแลตมอลต์กล่องสีเขียวก็ยังคงเหมือนเดิม แม้รสชาติความผูกพันจะไม่เปลี่ยนไป แต่ไมโลก็ไม่หยุดเติบโตไปพร้อมกับโลกที่เปลี่ยนแปลง กล่องนมยูเอชทีพร้อมดื่มคู่กับหลอดพลาสติกอาจจะเคยเป็นภาพในเมื่อก่อน แต่ตอนนี้มันได้เปลี่ยนไปแล้ว ไมโลเปลี่ยนสิ่งเล็กน้อยที่ยิ่งใหญ่อย่างหลอดพลาสติกเป็น ‘หลอดกระดาษ’ ที่ครั้งนี้มาพร้อมกับความแข็งแรงยิ่งขึ้น ทนทานขึ้น เจาะง่ายขึ้น และดื่มได้เพลินยิ่งขึ้น ผ่านความตั้งใจที่อยากให้คุณได้เป็นส่วนหนึ่งของการดูแลโลกใบนี้ไปด้วยกัน ไมโลขอบ๊ายบายพลาสติก เพื่อโลกที่ดีกว่า เมื่อเราไม่ได้ใช้ประโยชน์จากพลาสติกอย่างคุ้มค่าที่สุด แต่กลับทิ้งให้กลายเป็นขยะที่เข้าไปปะปนอยู่ในธรรมชาติและท้องทะเล กว่าจะย่อยสลายก็ใช้เวลากว่า 450 – 500 ปีเลยทีเดียว ขณะเดียวกัน การลดใช้-ใช้ซ้ำ-นำกลับมาใช้ใหม่ ก็เป็นสิ่งที่หลายคนพยายามร่วมด้วยช่วยกันเพื่อดูแลโลกของเรา และไมโลคือหนึ่งในนั้น นี่คือแบรนด์ที่ทำให้เรื่องรักษ์โลกนั้นง่ายขึ้นเป็นกอง เพราะแทนที่จะใช้หลอดพลาสติกแบบเดิมๆ ไมโลก็หันมาใช้หลอดกระดาษเพื่อจุดมุ่งหมายในการลดขยะพลาสติก แถมยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสามารถนำไปรีไซเคิลได้สบายๆ นอกจากเรื่องของการย่อยสลายได้ง่าย อีกเหตุผลว่าทำไมต้องใช้หลอดกระดาษ ก็เพราะไมโลไม่อยากจะรักษ์โลกแค่ผิวเผิน แต่ต้องการส่งมอบความตั้งใจในระยะยาว ลองคิดดูว่า ขณะเด็กๆ กำลังดื่มนมด้วยหลอดกระดาษ ครอบครัวเองก็สามารถสร้างบทสนทนาสนุกๆ ด้วยการชวนลูกๆ พูดคุยเรื่องสิ่งแวดล้อม โลกร้อน เต่าทะเล ไปจนถึงธรรมชาติที่รายล้อมอยู่รอบตัวเรา และชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของประเด็นนี้ เหมือนเป็นการปลูกฝัง Mindset เรื่องสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ยังเล็ก […]
loopers แพลตฟอร์มส่งต่อเสื้อผ้ามือสองที่ทำให้การซื้อ-ขายเป็นเรื่องง่ายและได้ช่วยโลก
หากใครที่ติดตามกระแสสังคมอยู่แล้วคงทราบว่าในช่วง 1 – 2 ปีมานี้ อุตสาหกรรมเสื้อผ้าและแวดวงแฟชั่นมักถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นหัวข้อถกเถียงกันถึงการสร้างค่านิยมบริโภคนิยม และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งจากขยะสิ่งทอไปจนถึงคาร์บอนฟุตพรินต์ในกระบวนการผลิตเสื้อผ้าใหม่แต่ละชิ้น นอกจากคนทำงานเพื่อสังคม แอ็กทิวิสต์ และคนมีชื่อเสียงที่ออกมาเรียกร้องเรื่องนี้แล้ว คนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยก็ตื่นตัวกับปัญหานี้ เกิดเป็นบทสนทนาการพูดคุยแลกเปลี่ยนถึงฮาวทูการลดการใช้แบรนด์ฟาสต์แฟชั่น (Fast Fashion) การใส่เสื้อผ้ายังไงให้ยั่งยืน และชี้แหล่งแลกเปลี่ยนกับซื้อ-ขายเสื้อผ้ามือสอง เพื่อหาทางดูแลรักษาโลกไปพร้อมๆ กับการสนุกกับการแต่งตัว ถ้าเป็นในต่างประเทศ การแลกเปลี่ยนหรือซื้อ-ขายเสื้อผ้ามือสองคงไม่ใช่เรื่องยากอะไร หลายประเทศเองมีแพลตฟอร์มที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางส่งต่อเสื้อผ้าและของมือสองให้คนได้เลือกใช้งาน จนกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาไปแล้ว แต่สำหรับบ้านเรา ดูเหมือนว่ายังมีตัวเลือกไม่มากนัก แหล่งซื้อขายที่มีก็ไม่ค่อยตอบโจทย์ผู้ใช้งานที่เป็นคนรุ่นใหม่เท่าไหร่ ไหนจะความยุ่งยากของการซื้อ-ขายที่มีรายละเอียดยิบย่อย ไม่ว่าจะเป็นคนขายถ่ายภาพเสื้อผ้าไม่ดี ระบุรายละเอียดไม่ครบ ซื้อมาแล้วใส่ไม่ได้ ไปจนถึงไม่กล้าซื้อเพราะไม่รู้ว่าเจ้าของก่อนหน้าเป็นใคร เป็นเสื้อผ้าคนตายหรือเปล่าก็ไม่รู้ ฯลฯ ทำเอาบางคนถอนหายใจล้มเลิกการซื้อเสื้อผ้ามือสองไปซะก่อน ทั้งๆ ที่ก็อยากลดการซื้อเสื้อผ้าใหม่เช่นกัน หรือสุดท้ายแล้วซื้อมาก็กลายเป็นขยะในตู้เสื้อผ้าเพราะวัดไซซ์ผิด แทนที่จะได้ใช้เสื้อผ้ามือสองวนไป แต่กลับต้องทิ้งไว้เพราะได้ของไม่ตรงปก เพราะประสบปัญหานี้เช่นเดียวกัน เราจึงอยากแนะนำทุกคนให้รู้จักกับ loopers แพลตฟอร์มส่งต่อเสื้อผ้ามือสองหน้าตาดูดีที่เพิ่งเปิดให้บริการเมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ความพิเศษของแพลตฟอร์มนี้คือ การทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการจัดการ รวบรวม และส่งต่อเสื้อผ้าใช้แล้ว โดยที่ตัวผู้ซื้อ-ผู้ขายแทบไม่ต้องทำอะไรเลย แถมตัวเว็บไซต์เองก็ใช้งานง่ายเหมือนเว็บไซต์ขายเสื้อผ้ามือหนึ่งทั่วไปที่บอกรายละเอียดยิบย่อยอย่างชัดเจน แตกต่างจากปกติที่ร้านเสื้อผ้ามือสองเน้นการซื้อมาขายไป ไม่ถ่ายรูปหรือระบุรายละเอียดชัดเจนขนาดนี้ สอดคล้องกับสโลแกน ‘เราจะทำให้การส่งต่อเสื้อผ้าเป็นเรื่องง่าย ดีต่อใจ และดีต่อโลก’ ด้วยเหตุนี้ […]