ทำไมกรุงเทพฯ ถึงมีปัญหารถเก่าใช้งานไม่ได้ทิ้งตามรายทางอยู่เต็มไปหมด

กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีประชากรต่อพื้นที่หนาแน่นมากที่สุดในประเทศไทย ทุกพื้นที่มีความสำคัญและมูลค่าที่ทุกคนต้องแย่งชิง ไม่เว้นแม้แต่พื้นที่ของรถยนต์ ด้วยระบบขนส่งมวลชนของบ้านเราที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ ทำให้หลายคนเลือกที่จะซื้อรถยนต์ส่วนตัวเพื่อความสะดวกสบาย บ้านบางหลังมีรถยนต์มากกว่าหนึ่งคันแต่กลับไม่มีที่จอด เราจึงพบเห็นผู้จอดรถไว้ตามริมทางได้ทั่วเมือง บางคันเป็นรถเก่าที่ไม่มีที่เก็บและปล่อยทิ้งไว้เลยตามเลยจนกลายสภาพเป็น ‘ซากรถ’ ซากรถจำนวนมากถูกทิ้งด้วยความมักง่าย เกิดเป็นปัญหาสะสมที่ขัดขวางทั้งทางคนเดินและทางเดินรถ อีกทั้งยังเป็นแหล่งทิ้งขยะมูลฝอยสร้างความสกปรกให้กับพื้นที่ ถึงอย่างนั้น ต้นตอของปัญหาซากรถเต็มเมืองอาจมีมากกว่าจิตสำนึกของคน เพราะกฎหมายและนโยบายการจัดการซากรถเองก็มีส่วนสำคัญไม่แพ้กัน คอลัมน์ Curiocity ขอพาไปสำรวจถึงต้นตอของปัญหาการทิ้งซากรถ ทั้งค่าใช้จ่ายจุกจิกในการกำจัดรถ ขั้นตอนการดำเนินการที่มากมาย และนโยบายการแก้ไขที่ทางภาครัฐกำลังทำอยู่ ขั้นตอนมากมายกับค่าใช้จ่ายท่วมหัวในการกำจัดรถ คงไม่มีเจ้าของรถคนไหนอยากปล่อยรถของตนทิ้งไว้ริมทาง แต่ด้วยค่าซ่อมแซมที่มากโขในช่วงเศรษฐกิจซบเซา หรือจะขยายพื้นที่ทำที่จอดรถก็จำเป็นต้องใช้เงินสูง ส่งผลให้บางคนเลือกปล่อยเลยตามเลยทิ้งรถไว้ริมทางโดยไม่สนใจผลกระทบต่อสาธารณะ ครั้นจะเป็นพลเมืองดีนำรถไปกำจัด พอเห็นค่าใช้จ่ายและขั้นตอนก็ทำเอาหลายคนถอดใจไปก่อน ประกันภัยรถยนต์เป็นหนึ่งในตัวช่วยสำหรับการกำจัดรถที่น่าสนใจ เพราะหากรถยนต์คันหนึ่งเสียหายหนัก ต้องจ่ายค่าซ่อมมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของทุนประกัน เจ้าของรถสามารถเลือกขายซากรถคันนั้นให้ทางบริษัทประกัน เพื่อรับค่าชดเชยทุนประกันได้ทั้งหมด แต่ถ้าไม่มีประกันภัยรถยนต์ซึ่งรถเก่าส่วนใหญ่มักไม่มีอยู่แล้ว เจ้าของรถจำเป็นต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้วยตัวเองทั้งหมด ทั้งเรียกรถมายก ตรวจสภาพ ดำเนินเรื่องซื้อขายกับอู่ที่รับซื้อ และเตรียมเอกสารแจ้งกับทางขนส่ง ซึ่งแน่นอนว่าทุกขั้นตอนจำเป็นต้องเสียทั้งค่าใช้จ่ายและเวลา ทำให้หลายคนเลือกปล่อยทิ้งซากรถเหล่านั้นไว้ริมถนนเพราะเป็นตัวเลือกที่ง่ายที่สุด แต่สำหรับผู้มีทุนทรัพย์ที่พร้อมจ่ายค่าดำเนินการต่างๆ ก็ใช่ว่าจะทำได้สะดวกสบาย เพราะยังต้องพบเจอกับปัญหาสุสานรถยนต์หรือสถานที่กำจัดรถอย่างถูกต้องที่มีไม่เพียงพอ จนกลายเป็นการสร้างมลพิษจากการกำจัดรถยนต์ที่ไม่ถูกวิธี ขาดแคลนสถานที่กำจัดซากรถ แถมยังสร้างมลพิษ สถานที่ในการกำจัดรถยนต์ส่วนใหญ่มักตั้งอยู่นอกเมือง เพราะต้องใช้เนื้อที่กว้างขวางในการปฏิบัติงาน แค่ลำพังการหาพื้นที่โล่งขนาดใหญ่ในกรุงเทพฯ ก็เป็นเรื่องยากระดับหนึ่ง แต่การได้รับการยินยอมจากชาวบ้านในพื้นที่อาจยากยิ่งกว่า […]

Gateway to Isaan ประตูสู่อีสาน

10 ปีกับการอยู่โคราชตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัย จนเรียนจบเข้ากรุงเทพฯ มาทำงานเก็บประสบการณ์ แล้วย้ายกลับมาทำงานที่โคราชอีกครั้ง เวลาเลิกงานหรือว่างๆ ผมจะเดินออกสำรวจไปบริเวณรอบๆ ตัวเมืองกับกล้องหนึ่งตัว บางสถานที่เป็นสถานที่ธรรมดาๆ ที่ผมชินตามากๆ เพราะเห็นมาตลอด จนวันหนึ่งผมลองเปิดใจหามุมมองจากสิ่งที่ชินตาเหล่านี้ และมันทำให้ผมหลงรักความธรรมดาที่แสนพิเศษตรงหน้าผมไปแล้ว หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

Skyline Film ธุรกิจหนังกลางแปลงของคนรุ่นใหม่ ที่อยากให้ทุกคนมาสัมผัสประสบการณ์ใหม่ของการดูหนัง

ประสบการณ์การดูหนังที่เพอร์เฟกต์ของคุณถูกนิยามไว้แบบไหน ต้องอยู่ในห้องที่เงียบและมืดสนิท แอร์เย็นฉ่ำ เก้าอี้นุ่ม หรือมีป็อปคอร์นเสิร์ฟตลอดการฉาย ตามประสาคนรักหนัง เราเคยคิดว่าสิ่งเหล่านั้นช่วยสร้างอรรถรสได้ไม่น้อยเช่นกัน จนกระทั่งได้รู้จักกับ Skyline Film Bangkok กิจกรรมฉายหนังที่ป็อปขึ้นมาบนหน้าฟีดเมื่อไม่นานมานี้ ถ้าคุณเคยเห็นเหมือนกัน อาจพอรู้ว่า Skyline Film Bangkok นั้นเป็นการฉายหนังบนดาดฟ้า มองเผินๆ แล้วไม่ต่างอะไรจากหนังกลางแปลงที่เราคุ้นเคย แต่ที่พิเศษกว่านั้นคือ พวกเขาจัดฉายหนังบนดาดฟ้าที่เน้นขายบรรยากาศ ความสะดวกสบาย และสร้างประสบการณ์แบบใหม่ที่นักดูหนังอาจไม่เคยได้รับจากที่ไหนอย่างการดูหนังเอาต์ดอร์แล้วสวมหูฟังของตัวเอง ไหนจะมีกิจกรรมพิเศษต่างๆ อาทิ เครื่องดื่มพิเศษ โฟโต้บูท ให้มาทำคอนเทนต์รอดูหนัง ธรณ์ พิทูรพงศ์ และ แมน-พลัฏฐ์ เหมะจันทร์ คือสองชายหนุ่มที่อยู่เบื้องหลังอีเวนต์นี้ ซึ่งบอกเลยว่ากำลังเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นเทรนดี้และนักท่องเที่ยวสุดๆ จากการฉายครั้งแรกที่กะทำเอาขำๆ พวกเขาขยับขยายให้กลายเป็นธุรกิจจริงจัง เปลี่ยนภาพจำเกี่ยวกับประสบการณ์การดูหนังที่เพอร์เฟกต์ของหลายคนไปตลอดกาล ข้างหลังจอภาพ Skyline Film Bangkok เริ่มต้นด้วยวิธีคิดแบบใด และอะไรทำให้การฉายหนังของพวกเขาพิเศษขึ้นมา เราขอชวนคุณหย่อนก้นนั่ง ใส่หูฟัง แล้วตามไปฟังเคล็ดลับของพวกเขากัน จากไต้หวันสู่เมืองไทย บทเรียนภาษาจีนคือสิ่งที่ดึงดูดธรณ์ให้เดินทางไปไต้หวัน แต่ขากลับนอกจากสกิลภาษา เขาได้ธุรกิจติดมือมาประเทศไทยด้วย หลายปีก่อนระหว่างที่ไปลงคอร์สเรียนภาษา ชายหนุ่มสมัครงานพาร์ตไทม์ทำ เขาได้งานในบริษัทให้คำปรึกษาสตาร์ทอัพไต้หวันที่อยากมาลงทุนในไทย […]

‘Urban Common Source’ แพลตฟอร์มรวมข้อมูลของกรุงเทพฯ ที่จะทำให้การแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาเมืองเป็นเรื่องง่ายแค่ปลายนิ้ว

การหาข้อมูลต่างๆ ในปัจจุบัน เราทุกคนต่างเชื่อว่าสามารถค้นหาทุกอย่างได้บนอินเทอร์เน็ต แต่บางครั้งการหาข้อมูลทั่วๆ ไปของเมืองที่เราอาศัยอยู่ กลับต้องใช้เวลาในการยื่นคำร้องสู่หน่วยงานอีกหลายขั้นตอนกว่าจะได้รับข้อมูลนั้นมา และไม่ใช่แค่ประชาชนทั่วไปที่ต้องการข้อมูลเหล่านี้ไปทำงานหรือทำวิจัย แต่เชื่อหรือไม่ว่า แม้แต่หน่วยงานรัฐเองบางครั้งก็ประสบปัญหาการสืบค้นข้อมูลเมือง ทำให้การพัฒนาพื้นที่บางจุดในเมืองเป็นไปอย่างล่าช้าเกินกว่าที่ควรจะเป็น คอลัมน์ Trouble Solver พาไปทำความรู้จักกับ urbancommonsource.com แพลตฟอร์มฐานข้อมูลเมือง ที่เกิดจากการทำงานของ Urban Studies Lab ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และการร่วมมือกับกรุงเทพมหานครและหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ เพื่อสร้างพื้นที่ส่วนกลางในการเก็บบันทึกและแลกเปลี่ยนข้อมูล ให้การทำงานของหน่วยงานรัฐ รวมถึงภาคส่วนอื่นๆ ที่ต้องการใช้ข้อมูลเมืองมีความสะดวกสบายและง่ายขึ้น Urban Studies Lab กับการเป็นตัวกลางเชื่อมรัฐและชุมชน ‘ศูนย์วิจัยชุมชนเมือง’ หรือ ‘Urban Studies Lab (USL)’ คือศูนย์วิจัยอิสระด้านการศึกษาเมือง ที่เน้นการพัฒนาเมืองในทุกมิติ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านสังคม คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน รวมถึงกลุ่มเปราะบาง ผ่านการวิจัยเชิงปฏิบัติและการพัฒนาเชิงพื้นที่แบบมีข้อมูลเป็นหลักฐาน การทำงานของ Urban Studies Lab จะเป็นการพัฒนาชุมชนโดยใช้การมีส่วนร่วมระหว่างภาคส่วนต่างๆ ภายในเมือง เช่น ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษาหรืองานวิจัย และภาคประชาสังคม […]

Abang Adik สองพี่น้องผู้ยังมีกันและกัน และความสัมพันธ์ที่ไม่เคยถูกเหลียวแล ณ ซอกหลืบที่ลึกสุดของความชายขอบ

ภาพยนตร์จากประเทศมาเลเซีย คงไม่ได้เป็นสิ่งที่หาชมได้บ่อยนักในโรงหนังไทย อีกทั้งน่าจะมีภาพจำว่าต้องเป็นหนังที่นำเสนอความเป็นศาสนาอิสลามแน่ๆ ยังไม่นับรวมกฎการเซนเซอร์หนังที่เคร่งครัดเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ หลายๆ คนอาจจะเข้าใจผิด ไม่คิดว่า Abang Adik หนังที่คว้ารางวัลนักแสดงนำชายจากเวทีม้าทองคำ (Golden Horse Awards) ที่ได้ชื่อว่าเป็นออสการ์ของจีน ซึ่งมีตัวละครนำเป็นชาวจีนจะเป็นหนังมาเลเซียไปได้ มากไปกว่านั้น มันยังเป็นหนังแนวชีวิตรันทด ขื่นขม และโหดร้าย ที่ตัวละครต้องการจะหลีกหนีจากโชคชะตาอันต้อยต่ำในสังคม ตะเกียกตะกายหาหนทางไปสู่ชีวิตที่ดีกว่าผ่านเส้นทางอันสุดแสนยากลำบาก ที่ไม่ว่ายังไงก็แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่พวกเขาจะหลุดออกจากวงจรเหล่านั้น เนื่องจากระบบสังคมกดทับพวกเขาอยู่ เราแทบไม่เคยเห็นเรื่องราวลักษณะนี้จากฟากฝั่งของหนังมาเลเซีย ทั้งที่หนังแนวนี้ในระดับสากลถูกเล่ามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสถานที่และเวลา ยกตัวอย่าง Rosetta (1999) ของพี่น้อง Dardenne ที่ว่าด้วยเด็กสาวผู้พยายามต่อสู้เอาชีวิตรอดเพียงหวังแค่การงานที่มั่นคง, Lilya 4-Ever (2002) ของ Lukas Moodysson ที่เล่าถึงชีวิตเด็กสาวที่ถูกพ่อแม่ทอดทิ้งในเมืองที่เคยเป็นสหภาพโซเวียต และถูกหลอกไปค้าประเวณีในสวีเดน, An Elephant Sitting Still (2018) หนังจีนของ Hu Bo ผู้ล่วงลับ ที่ฉายภาพของกลุ่มคนหลากวัยที่หมดหวังกับเมืองของเขา หรือ A Sun (2019) […]

สำรวจ ‘ป่าในเมือง’ ที่สวนเบญจกิติไปกับเยาวชนตัวน้อย ในค่าย Power Green Camp ครั้งที่ 19

เพราะป่า เมือง และชีวิตต่างเชื่อมโยงถึงกัน จนขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่ได้ การปลูกฝังให้เยาวชนรับรู้ว่า พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ไม่ใช่ ‘เจ้าของ’ จึงเป็นเรื่องสำคัญ กว่า 19 ปีที่โครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Power Green Camp) บ่มเพาะเด็กรุ่นใหม่ให้สนใจและหวงแหนสิ่งแวดล้อมรอบตัว และในปีนี้เป็นปีที่เราต้องเผชิญกับสภาพอากาศแปรปรวน ปัญหาฝุ่นควัน มลพิษจากการจราจรที่หนาแน่น ประกอบกับอัตราส่วนพื้นที่สีเขียวในประเทศไทยที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นโอกาสดีที่จะร่วมปลูกฝังให้เยาวชนเห็นความสำคัญของ ‘พื้นที่สีเขียว’ หนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เพื่อให้พวกเขาสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างป่า-เมือง-ชีวิต Urban Creature ขอใช้โอกาสนี้ร่วมใช้เวลาหนึ่งวันไปกับการสำรวจ ‘ป่าในเมือง’ ที่สวนเบญจกิติพร้อมเหล่าเยาวชนตัวน้อย ภายใต้ธีม ‘Urban Rewilding ป่า-เมือง-ชีวิต’ ที่มาพร้อมกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในภาคทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติ เน้นการใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์มาดูแลทรัพยากรป่าไม้และฟื้นคืนความหลากหลายทางชีวภาพของป่าในเมืองอย่างเป็นระบบ ไอความร้อนภายในเมืองที่หลายคนลงมติว่าปีนี้ร้อนขึ้นกว่าทุกๆ ปี เป็นสัญญาณว่า ‘ภาวะโลกเดือด’ กำลังทำให้สมดุลของสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป ยิ่งในสังคมเมือง โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ของเราที่มีอัตราส่วนพื้นที่สีเขียวต่อประชากรอยู่เพียง 3.54 ตารางเมตรต่อคน ซึ่งไม่ถึงเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่กำหนดไว้ที่ 9 ตารางเมตรต่อคน ทำให้ปัญหาเรื่องพื้นที่สีเขียวกลายเป็นปัญหาสำคัญที่เราทุกคนต้องร่วมด้วยช่วยกัน อีกทั้งเทรนด์ในปัจจุบันที่คนหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับพื้นที่ธรรมชาติสีเขียวในเมืองมากขึ้น การให้ความสำคัญกับป่าในเมือง อีกหนึ่งพื้นที่สีเขียวของคนเมืองที่เป็นมากกว่าสวนสาธารณะทั่วไป จึงเป็นสิ่งที่เราต้องเริ่มต้นให้ความสนใจตั้งแต่วันนี้ […]

หมาเด็กแมวเด็ก ช่วยให้โฟกัสได้ดีขึ้น การเสพภาพหรือคลิปสัตว์โลกตัวน้อยทำให้มีสมาธิในการทำงานโดยไม่รู้ตัว

ช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเข้าไปในโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มไหนก็มักเจอแต่ภาพและคลิปวิดีโอสัตว์น่ารักๆ เต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นแพนด้ากินไผ่ คาปิบาราแช่น้ำร้อน วอมแบตเกาก้น หรือเหล่าหมาเด็กที่ชาวเน็ตอยากอมหัวออนไลน์ แน่นอนว่าการดูคลิปหรือภาพสัตว์น่ารักๆ ช่วยลดความเครียด เพิ่มความสุขให้กับเรา และแม้ว่าเราจะใช้เวลานอนดูคลิปไปวันๆ โดยไม่ได้ทำอะไร แต่เชื่อหรือไม่ว่า นอกเหนือจากการช่วยขจัดความรู้สึกอันหนักหน่วงออกไปแล้ว ความน่ารักแบบไม่รู้ตัวของเจ้าสัตว์พวกนี้ยังช่วยให้มนุษย์มีสมาธิเพิ่มขึ้นอีกด้วย ประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้นได้ด้วยความคิวต์ของสัตว์โลก เวลาเครียดๆ เรามักหาวิธีการผ่อนคลายจากความหนักหนานั้นด้วยการไถหน้าจอดูอะไรสนุกๆ หรือน่ารักๆ ซึ่งภาพหรือคลิปสัตว์น่าจะเป็นสิ่งแรกๆ ที่เรานึกถึง โดยเฉพาะเจ้าสัตว์ตัวน้อยๆ ที่ยิ่งคูณความน่าเอ็นดูขึ้นไปอีก แต่มากไปกว่าความตะมุตะมิเกินต้าน ยังมีการศึกษาของนักวิจัย ‘ฮิโรชิ นิตโตโน’ แห่งมหาวิทยาลัยฮิโรชิมา ที่แสดงให้เห็นว่า เจ้าสัตว์โลกเหล่านี้ช่วยให้เราโฟกัสได้ดีขึ้นอีกด้วย โดยเขาได้ทำการทดลองผ่านการเล่นเกม แยกเป็นครั้งแรกให้ผู้ทดลองเล่นตามปกติ ส่วนครั้งที่สองแบ่งผู้ทดลองออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งดูภาพของลูกหมาและลูกแมว อีกกลุ่มหนึ่งดูภาพของหมาและแมวโตเต็มวัยที่มีความน่ารักน้อยกว่าวัยเด็ก  หลังจากกลับมาเล่นเกมอีกครั้ง ทีมผู้วิจัยพบว่า กลุ่มผู้ทดลองที่ดูภาพหมาเด็กแมวเด็กมีความรอบคอบมากขึ้น ผลลัพธ์ที่ออกมาก็ดีขึ้นกว่ารอบแรก ส่วนกลุ่มที่ดูภาพหมาแมวตอนโตนั้นใช้เวลาในการเล่นเท่าเดิมและประสิทธิภาพที่ออกมานั้นไม่ได้ต่างจากเดิมเท่าไหร่ การศึกษานี้ทำให้พบว่า สิ่งน่ารักๆ โดยเฉพาะลูกสัตว์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งอาจเกิดจากสมาธิที่เพิ่มขึ้น เพราะขอบเขตความสนใจที่แคบลงจากการเพ่งความสนใจทั้งหมดไปอยู่ที่รูปภาพหรือคลิปวิดีโอของสัตว์น่ารักๆ ตรงหน้าไปแล้ว สอดคล้องกับรายงานในปี 2009 ของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียที่พบว่า การดูรูปน่ารักๆ อย่างลูกหมาและลูกแมวนั้นส่งผลต่ออารมณ์เชิงบวกได้ง่าย ช่วยให้มีความตั้งใจความเอาใจใส่มากขึ้น และกระตุ้นให้เกิดการอยากมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมด้วย เพราะความกระจุ๋มกระจิ๋ม ทำให้ลูกสัตว์ส่งผลต่อใจคนมากกว่า […]

Reserve a chair in Thailand style อากาศร้อน ขอจองที่ไว้ก่อนนะ

ผมเป็นคนชอบถ่ายภาพแนว Street Photography เพราะเสน่ห์ของการถ่ายภาพแนวนี้คือ เราไม่สามารถคาดเดาได้ว่า ในวันที่ออกไปถ่ายภาพเราจะได้ภาพอะไรบ้างหรืออาจไม่ได้อะไรเลย ส่วนใหญ่ภาพแนวสตรีทที่ผมถ่ายนั้นจะเป็น Single Photo หรือการเล่าเรื่องในภาพเดียว ซึ่งภาพเดี่ยวของภาพสตรีทนั้นมีแนวที่หลากหลาย ถ้าตามสากลที่ยึดแกนหลักกันคร่าวๆ จะมี Layer, Juxtaposition, Unposed เป็นต้น แต่บังเอิญว่าในวันที่ผมออกไปถ่ายภาพ ท่ามกลางแดดร้อนและเวลาที่จำกัด ผมที่เดินหาภาพก็ครุ่นคิดอยู่นานว่าจะถ่ายภาพอะไรดี จนกระทั่งเห็นลานที่มีเก้าอี้เรียงเป็นทิวแถว ซึ่งบนเก้าอี้แต่ละตัวเต็มไปด้วยสิ่งของที่วางไว้เพื่อทำหน้าที่จับจองพื้นที่ ทำให้การถ่ายภาพในวันนั้นเปลี่ยนจาก Single Photo มาเป็น Mini Series Reserve a chair in Thailand style หรือการจองเก้าอี้ในแบบไทย เป็นชุดภาพที่ต้องการเล่าแบบเรียบง่าย แต่ก็แอบแฝงความไทยแทร่ของคนไทยในการครีเอตวิธีการจองที่ได้เป็นอย่างดี เพราะต่อให้ไม่มีการยืนยันตัวตนเหมือนซื้อบัตรเข้าชมงาน แต่ผู้คนที่จะหาที่นั่งต่างก็รู้ดีว่า เก้าอี้เหล่านี้มีเจ้าของเรียบร้อยแล้ว งานภาพชุดนี้ไม่ต้องตีความให้ซับซ้อน เหมือนเราดู Review Before and After แค่ต้องอาศัยช่วงเวลาของแสงเพื่อทำให้เกิด Mood & Tone ของสิ่งที่ถ่ายให้ดูน่าสนใจยิ่งขึ้น หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive พฤษภาคม 2567

ของพวกนี้ดีไซน์แล้วหรือยังเป็นคำถามที่เกิดขึ้นกับตัวผมเองในช่วงไม่นานมานี้ หลังจากเริ่มเผยแพร่ภาพผลงานสิ่งประดิษฐ์อันแสนน่าอัศจรรย์ใจที่พบเจอตามริมทางท้องถนนเมืองไทยมาสักพักใหญ่ ทั้งผ่านช่องทางส่วนตัวหรือกับทาง Urban Creature เอง ตอนผมเรียนในโรงเรียนออกแบบ โดยทั่วไปอาจารย์มักสอนกันว่า เวลาสร้างผลงานใดๆ เราจำเป็นที่จะต้องตอบคำถามสิ่งที่เราดีไซน์กันอยู่ให้ได้ 3 เรื่อง ได้แก่1) ฟังก์ชันการใช้งาน2) ตอบโจทย์แก้ปัญหา3) ความสวยงาม แต่เมื่อเรามีประสบการณ์ทำงานดีไซน์ไปเรื่อยๆ ส่วนใหญ่ก็มักจะพบกันว่า ไอ้ข้อที่ 3 ที่ว่าเรื่องความสวยงาม เริ่มกลายเป็นเรื่องรองมากขึ้น เพราะในสังคมปัจจุบัน ความสวยงามเป็นเรื่องของปัจเจกสูง มีความแล้วแต่บุคคลจะมอง เทสใครเทสมัน ทำให้ยุคหลังๆ นักออกแบบหลายคนในหลายวงการโฟกัสผลงานดีไซน์ไปที่เรื่องฟังก์ชันและการแก้ปัญหาเป็นหลักเสียมากกว่า เพราะงานออกแบบที่สวยงามมากๆ แต่ไม่ตอบโจทย์การใช้งาน ก็อาจไม่เรียกว่างานดีไซน์ที่ดีได้เช่นกัน กลับมาที่สิ่งประดิษฐ์จากคนธรรมดาผู้ไม่ได้เรียนออกแบบที่เราพบเจอได้ตามท้องถนน แล้วของพวกนี้มันดีไซน์แล้วหรือยัง มันอาจจะดีไซน์แล้วมั้ง-เพราะมีฟังก์ชันและสามารถแก้ปัญหาได้ดีมากๆ แต่หน้าตาก็ดูแปลกๆ หรือมันยังไม่ได้ดีไซน์-เพราะหน้าตาแย่เกินไปกว่าที่เราควรจะไปชื่นชมมัน หรือต้องเป็นของที่ผ่านมือนักออกแบบเท่านั้นถึงจะเรียกว่าดีไซน์ บอกเลยว่าตัวผมเองก็ยังไม่มีคำตอบให้ เพราะเมื่อได้พบเจอกับของพวกนี้ชิ้นใหม่ๆ ทุกครั้ง ผมจะรู้สึกว้าวอยู่ตลอด มันชวนตั้งคำถามและท้าทายอาชีพนักออกแบบอยู่เสมอๆ ว่าพวกเราสามารถคิดวิธีออกแบบได้ดีเท่านี้ไหม แล้วเพื่อนๆ ทุกท่านคิดว่าของเหล่านี้ถูกดีไซน์แล้วหรือยัง หากยังไม่แน่ใจในคำตอบแบบเดียวกับผม ก็ขอชวนมาดูภาพของเหล่านี้กันเพลินๆ อีกครั้ง ที่ผมคัดสรรมาให้โดยเฉพาะกับคอลัมน์ดีไซน์-เค้าเจอ ประจำเดือนนี้ได้เลย Table + Height Adjustment ระดับความสูงของโต๊ะอ่างล้างจานมาตรฐานบ้านเรามักจะอยู่ที่ […]

เปิดตัวเลขการถ่ายหนัง ปี 2566 ในไทย จุดหมายของกองถ่ายทั่วโลก

จะว่าไปประเทศไทยของเรานั้นเนื้อหอมไม่เบา เพราะแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวต่างชาติหลั่งไหลเข้ามาไม่ขาดสาย จนติดโผเมืองที่นักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยี่ยมเยียนมากที่สุดอยู่ตลอด ต้องขอบคุณอาหารแสนอร่อยและสถานที่ท่องเที่ยวสวยงามหลากหลายที่มัดใจนักท่องเที่ยวรอบโลกไว้อยู่หมัด แต่ใช่ว่าประเทศไทยจะดึงดูดแต่นักท่องเที่ยว เพราะกองถ่ายภาพยนตร์ ซีรีส์ มิวสิกวิดีโอจากนานาประเทศก็เลือกประเทศไทยเป็นหมุดหมายของการถ่ายทำ ยกตัวอย่าง ซีรีส์ King the Land จากเกาหลีใต้ที่พาเที่ยวกรุงเทพฯ แบบจัดเต็ม ซีรีส์สายลับ The Sympathizer ที่เนรมิตเมืองหาดใหญ่เป็นไซ่ง่อนยุคสงครามเย็น หรือที่ผ่านไปไม่นานกับมิวสิกวิดีโอ Supernova สุดปั่นจากสี่สาว aespa ที่ยกกองมาขายขำกันถึงเมืองไทย คอลัมน์ City by Numbers วันนี้เลยชวนมาดูสถิติกันหน่อยว่า ในปีที่ผ่านมาประเทศไทยดึงดูดกองถ่ายจากต่างประเทศได้มากแค่ไหน โดยอ้างอิงจากสถิติการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย พ.ศ. 2566 จากกองกิจการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต่างประเทศ (TFO Thailand Film Office) งบลงทุนถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในไทยทุบสถิติ จากสถิติปีที่ผ่านมา มีกองถ่ายภาพยนตร์เดินทางมาถ่ายทำภาพยนตร์ในไทยจำนวนกว่า 466 เรื่อง มีงบประมาณลงทุนสูงกว่า 6,602 ล้านบาท ซึ่งนับว่าสูงสุดตั้งแต่มีการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในไทย โดย 5 ประเทศที่ลงทุนถ่ายทำภาพยนตร์ในไทยสูงที่สุดคือ 1) สหรัฐอเมริกา ใช้เงินลงทุนถ่ายทำกว่า 3,184 ล้านบาท2) […]

NUSANTARA เมืองหลวงใหม่ของอินโดนีเซีย ที่ทั้งไฮเทคและเน้นความยั่งยืน

‘กรุงจาการ์ตา’ คือเมืองหลวงของอินโดนีเซียที่ขึ้นชื่อเรื่องปัญหาความแออัด เพราะมีประชากรอยู่ราว 10.5 ล้านคน ในพื้นที่เพียง 661.5 ตารางกิโลเมตร ทำให้เกิดปัญหาเมืองแสนซับซ้อนตามมา เช่น ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม การจราจรติดขัด ปัญหาน้ำท่วม แผ่นดินทรุดตัว และมลพิษทางอากาศอย่างฝุ่น PM 2.5 เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น ในปี 2019 รัฐบาลอินโดนีเซียจึงประกาศย้ายเมืองหลวงจากกรุงจาการ์ตาไปยังผืนป่าในจังหวัดกาลีมันตัน บนฝั่งตะวันออกของเกาะบอร์เนียว โดยเมืองหลวงใหม่มีชื่อว่า ‘นูซันตารา’ (Nusantara) ซึ่งแปลว่า ‘หมู่เกาะ’ ในภาษาอินโดนีเซีย อินโดนีเซียต้องการสร้างนูซันตาราให้เป็นเมืองที่ยึดเรื่องสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน และเทคโนโลยีเป็นหัวใจสำคัญ โดยหวังว่าจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทำให้ตัวเมืองมีชีวิตชีวา และเป็นอีกหนึ่งเมืองต้นแบบเรื่องความรักษ์โลก เมืองอัจฉริยะที่ปกป้องผืนป่า นูซันตารามีพื้นที่ครอบคลุม 2,560 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่กว่าเมืองหลวงเดิมเกือบ 4 เท่า โดยจะจัดสรรพื้นที่ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ให้เป็น ‘พื้นที่เมือง’ ส่วนอีกประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์จะรักษาไว้เป็น ‘พื้นที่สีเขียว’ สัดส่วนราว 65 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่สีเขียวจะปกคลุมไปด้วยป่าเขตร้อนที่ทำหน้าที่กักเก็บคาร์บอน สอดคล้องกับเป้าหมายออกแบบเมืองให้เป็น ‘เมืองป่าไม้ที่ยั่งยืน’ (Sustainable […]

Kyoto, our first early spring in memory แม่ และช่วงเวลาก่อนซากุระบานที่เกียวโต

เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เราสองแม่ลูกตัดสินใจไปเที่ยวด้วยกัน 2 คนครั้งแรก และเป็นทริปแรกของแม่ที่ไปเที่ยวต่างประเทศ เราเคยถามแม่ว่า ‘ถ้าแม่อยากออกไปเห็นที่ไหนสักที่หนึ่งบนโลกใบนี้ แม่อยากไปที่ไหน’ และจากลิสต์ที่แม่ไล่มา ญี่ปุ่นดูมีความเป็นไปได้ที่สุดของพวกเราในตอนนี้ ทำให้เกิดเป็นทริปของสองเราในดินแดนแห่งซากุระ ในช่วงเวลาก่อนที่จะผลิบาน และรอคอยให้ความอบอุ่นของฤดูใบไม้ผลิเข้ามาทักทาย อากาศที่ยังหนาวเย็น ส่งผลให้ทัศนียภาพของเมืองหลวงเก่าแก่แห่งนี้ถูกย้อมไปด้วยสีเทาและน้ำตาล แต่ก็มีใบไม้และดอกไม้ที่เริ่มผลิบานมาให้เราได้ชื่นใจ และฝนปรอยๆ ที่เข้ามาทักทายในวันแรก และกล่าวลาในวันสุดท้ายของทริป สร้างความหนาวเย็นและชุ่มฉ่ำในเวลาเดียวกัน  พวกเราใช้เวลาด้วยกัน เป็นบ้านของกันและกัน ในดินแดนที่ไม่คุ้นเคย ออกไปสัมผัสธรรมชาติที่สวยงาม เมืองที่เอื้อต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมิตรภาพ ความโอบอ้อมอารีของคนที่นี่ทำให้เราอบอุ่นและปลอดภัย และถึงจะเจออุปสรรคบ้าง หลงทางบ้าง แต่รอยยิ้มของแม่ทำให้เราที่ตึงเครียดอยู่ผ่อนคลาย ความเหนื่อยล้าที่เคยได้เห็นบนใบหน้าของแม่แทนที่ด้วยความมีชีวิตชีวาและสดใส แต่สิ่งหนึ่งที่จะไม่เปลี่ยนไปคือความโรยรา และร่องรอยของกาลเวลาของชีวิตที่กำลังเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง หากมองย้อนกลับไป ทุกอย่างได้กลายเป็นความทรงจำที่มีค่าของพวกเราสองคนเมื่อเวลาผ่านไป เราดีใจที่ได้ใช้เวลาด้วยกันกับคนที่เรารักและเป็นบ้านของเรา การผจญภัยและการอยู่ไกลบ้านของแม่ในวัย 60 ทำให้เรารู้ว่า ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัยไหน เราก็สามารถตื่นเต้นกับสิ่งที่พบเจอ มีความสุขกับสิ่งเล็กๆ ได้ ตราบใดที่ยังไม่ลืมความเป็นเด็กที่ผลิบานในตัวของเราเอง หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

1 7 8 9 10 11 90

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.