Featured
Duxton & Keong Saik เดินเล่นร้านเก่าและร้านเก๋ ย่านประวัติศาสตร์ของชุมชนชาวจีนในสิงคโปร์
ถ้าคุณถามผมเมื่อปีที่แล้วถึงสิงคโปร์ ผมคงส่ายหัวเบาๆ ก่อนตอบแบบไร้เยื่อใยว่าไม่เห็นจะมีอะไรนอกจากเมอร์ไลออน ถนนออร์ชาร์ด เซ็นโตซา การ์เดนส์บายเดอะเบย์ แล้วก็…ข้าวมันไก่ – หารู้ไม่ว่าผมเองจะถูกโชคชะตาและสถานการณ์โควิดพัดพาชีวิตย้ายมาทำงานถึงประเทศนี้ – ประเทศที่ผมเคยบอกว่าไม่มีอะไรเลย คนสิงคโปร์ทำงานกันจริงจัง แต่ก็เที่ยวกันอย่างบ้าคลั่งเช่นเดียวกัน ท่ามกลางสถานการณ์ของโลกที่การเดินทางข้ามประเทศทำได้ยาก ผมถือโอกาสนี้สำรวจย่านต่างๆ ที่น่าสนใจและไม่ได้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายสำหรับนักท่องเที่ยวมือใหม่ หนึ่งในนั้นคือย่านแถบถนน Duxton (ดักซ์ตัน) และถนน Keong Saik (ค็องเซค) ครับ “โห แถวนั้นน่ะเหรอ มีแต่ร้านมิชลินเหอะ” – คำตอบจากเพื่อนเจ้าถิ่นเมื่อผมถามถึงย่านแถบถนน Duxton (ดักซ์ตัน) และถนน Keong Saik (ค็องเซค) คำตอบนี้ไม่เกินจริงเลย หากคุณลองกดดูแผนที่ร้านอาหารในเว็บไซต์หลักของมิชลิน ไกด์ในสิงคโปร์ (https://guide.michelin.com/sg/en) จะพบร้านที่ถูกปักหมุดว่าได้ดาวมิชลินหรือไม่ก็บิบ กูร์มองด์ กระจุกตัวอยู่ในย่านนี้นับได้เกินสิบร้าน – ไม่น่าแปลกใจที่ย่านด้านตะวันตกของไชนาทาวน์แถบนี้จะถูกนิยามโดยคนสิงคโปร์ว่าเป็นย่านแห่งร้านอาหารสุดฮิป ที่แม้ชื่อของย่านนี้จะไม่คุ้นหูนักท่องเที่ยวสักเท่าไหร่ แต่รับประกันได้ว่าแอบซ่อนอะไรไว้มากกว่าที่คิด หากใครมีโอกาสมาสิงคโปร์อยากให้ลองแวะมาที่ Duxton และ Keong Saik ดูสักครั้ง เพราะถนนสายเล็กๆ ทั้ง 2 […]
Seibuen Yuenchi สวนสนุกยุคโชวะอายุ 71 ปีที่เอาความคึกคักยุค 60 มาชวนเล่นฉลองวัยเก๋าและวันวาน
โลกแห่งจินตนาการที่พาทุกคนย้อนความทรงจำ คนที่เคยมาเที่ยวโตเกียวน่าจะคุ้นกับชื่อ Seibu กันบ้าง เพราะเป็นหนึ่งในบริษัทรถไฟยักษ์ใหญ่ในญี่ปุ่น คุณเซบุเขาทำสวนสนุกด้วยคือ Seibuen Yuenchi (เซบุเอ็น ยูเอ็นจิ) เริ่มสร้างความสนุกมาตั้งแต่ปี 1950 และเพิ่งอายุครบ 70 ปีเมื่อปีที่แล้วเลยรีโนเวตสวนใหม่เพื่อเฉลิมฉลองวัยเก๋า ซึ่งเพิ่งเปิดให้บริการอีกครั้งเมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมานี้เอง ธีมของสวนเจนฯ ใหม่คือโลกที่บรรยากาศเต็มไปด้วยความสุขและชวนให้อบอุ่นหัวใจ คนที่มาจะได้เพลิดเพลินไปกับบรรยากาศเก่าๆ สไตล์วินเทจที่ชวนให้คิดถึงยุคโชวะของญี่ปุ่นโดยอิงยุค 60 เป็นหลัก เราชอบสภาพภูมิประเทศของที่นี่มาก มีการเล่นระดับเนินน้อยใหญ่มากมาย แถมมีต้นไม้เขียวขจีชวนสดชื่น เจ้าหน้าที่ของสวนแอบกระซิบบอกเรามาว่า เมื่อก่อนที่นี่เคยเป็นป่าเขา ตอนสร้างสวนสนุกเลยพยายามคงสภาพทางธรรมชาตินั้นไว้ให้ได้มากที่สุดรวมไปถึงต้นไม้ด้วย ถ้าเราขึ้นยูเอฟโอที่ชมวิวได้ 360 องศาหรือชิงช้าสวรรค์จะได้เห็นพื้นที่สีเขียวที่เต็มไปด้วยความร่าเริงของสวนสนุกซึ่งหาดูยากในเมืองใหญ่ ส่วนบรรยากาศวินเทจ ถ้าคิดไม่ออกว่าเป็นยังไง ลองคิดว่าเราได้เข้าไปอยู่ในโลกของหนังเรื่อง Always Sunset on the Third Street ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในปี 1958 ตอนโตเกียวทาวเวอร์กำลังจะสร้างเสร็จ เราสามารถเดินสำรวจวิถีชีวิตชาวบ้านในย่านที่อยู่อาศัยบนถนนที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะของผู้คน อันเป็นที่มาของความอบอุ่นที่จับใจ ความวินเทจก็ลงดีเทลมาก เช่น เมนูอาหาร ราคาสินค้าอาหารต่างๆ ปรับให้เข้ากับยุคนั้นทั้งหมด (เราเลยต้องแลกธนบัตรที่น่ารักสุดใจ) มีขนมที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนอย่าง shiberia […]
ทนายความเพื่อประชาชน I Somebody Ordinary EP.8
“หวังว่าอาชีพทนายสิทธิ์ของผมจะตกงาน เพราะถ้าเมื่อไรผมตกงานนั่นหมายถึงปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชนมันหมดแล้ว” Somebody Ordinary EP.8 นี้จะพาไปพูดคุยกับทนายรอน ที่ยืนหยัดสู้เคียงข้างประชาชน รับว่าความตั้งแต่เรื่องทั่วไปจนถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน.ฝันในวัยเด็กที่อยากเป็นทนายเพียงเพื่อครอบครัว กาลเวลาได้ทำให้ความคิดของทนายรอนเปลี่ยนไป ‘จากเพื่อตนเอง เป็นเพื่อสังคม’ ในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย กฎหมายอยู่ข้างความถูกต้อง หรืออยู่ข้าง…กันแน่ คุณสามารถถูกออกหมายจับได้เพียงแค่ความคิดเห็นทางการเมือง หรือแม้แต่การออกไปชุมนุม ในฐานะทนายของ ทนายรอน ทนายที่เก่งไม่ได้วัดกันที่ชนะคดี แต่คือทนายที่สามารถเรียกร้องบางอย่างในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการยุติธรรม.การพูดคุยในครั้งนี้จะสนุกขนาดไหนมารับชมคลิปนี้กันเลย! #urbancreature #ReinventTheWayWeLive #SomebodyOdinary #ทนายรอน #ชุมนุม #คดีความ
บันทึกหาด (แม่) รำพึง เมื่อน้ำมันรั่วกลางทะเล
เย็นวันที่ 29 มกราคม 2565 “เคราะห์ซ้ำกรรมซัด เพิ่งจะฟื้นตัวจากโควิด นี่มาน้ำมันรั่วอีก ทำไมอะไรๆ มันก็เข้ามาที่ระยอง” ป้าเจ้าของร้านอาหารทะเลเอ่ยเบาๆ ขณะยืนมองกลุ่มคนใส่ชุด PPE สีขาวกำลังทำความสะอาดคราบน้ำมันบริเวณชายหาดแม่รำพึง ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 ออกจากชายฝั่งท่าเรือมาบตาพุด จ.ระยอง ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร เวลาประมาณสามทุ่มเศษๆ เกิดเหตุการณ์ ‘น้ำมันดิบรั่วไหลบริเวณทุ่นผูกเรือน้ำลึกแบบเดี่ยวกลางทะเล’ หรือเรียกง่ายๆ ว่า จุดขนถ่ายน้ำมันกลางทะเล ของบริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด มหาชน (SPRC) และจากการคาดการณ์ทิศทางเคลื่อนตัวของคราบน้ำมันของกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ด้วยวิธีการ Oilmap ว่าคราบน้ำมันจะเข้ามาถึงฝั่งในวันที่ 28 มกราคม ที่บริเวณชายหาดแม่รำพึง เมื่อข่าวการรั่วของน้ำมันเป็นที่รับรู้ของชาวบ้าน และชาวประมงพื้นบ้านในบริเวณใกล้เคียงในวันรุ่งขึ้น แม่ค้าขายส่งหมึกในพื้นที่เล่าว่า “ลูกค้าประจำโทรมาถามแล้วว่าหมึกเอามาจากไหน ถ้าเป็นหมึกจากระยองต้องขอยกเลิกก่อน มันจะเหมือนน้ำมันรั่วคราวก่อนปี 56 ไหม ที่ชาวประมงออกไปหาปู หาปลา ไม่ได้ ถึงหามาได้ก็ไม่มีคนกล้าซื้อหรือกล้ากิน […]
Melayu Living กลุ่มคนเปลี่ยนปัตตานีให้ดีด้วยศิลปะ l Somebody Ordinary EP.7
“เราต้องการสื่อภาพออกไปว่า เมืองเราก็เป็นเมืองเมืองหนึ่งที่มีเหตุการณ์ปกติ ใช้ชีวิตปกติได้ ไม่ได้มีเหตุการณ์ร้าย” นี่คือเสียงจากกลุ่มพี่ๆ น้องๆ ‘Melayu Living’ ที่อยากบอกว่าทลายภาพจำ สามจังหวัดที่ว่า “พกระเบิดมาด้วยหรือเปล่า ที่นู่นเขายังใช้ชีวิตปกติเหรอ” เริ่มตั้งแต่แนวคิดของชื่อ ‘Melayu Living’ มีแฝงความหมายไม่ได้เจาะจงศาสนา แต่มันคือเรื่องราวของพื้นที่ ซึ่ง Somebody Oridinary EP นี้ จะพาทุกคนไปสนุกกับ Melayu Living กลุ่มคนเปลี่ยนปัตตานีให้ดีด้วยศิลปะ บอกเลยว่าคุณจะได้เห็นภาพที่เติมเต็มความรู้สึกที่ไม่เคยเห็นจากสื่อกระแสหลัก และพร้อมส่งต่อความรู้สึกเมืองเหล่านี้ก็น่ารัก และรอโอกาสให้คุณมาสัมผัส : ) #UrbanCreature #ReinventTheWayWeLive #SomebodyOrdinary #Melayu #MelayuLiving #3จังหวัดชายแดนใต้ #ปัตตานี
Jim Thompson Art Center จากพิพิธภัณฑ์ผ้าไทย สู่สเปซใกล้สยามฯ ที่รวมห้องสมุด คาเฟ่ และแกลเลอรีไว้ด้วยกัน
ปทุมวันน่าจะเป็นย่านหนึ่งในกรุงเทพฯ ที่มีคนเลือกเป็นจุดหมายปลายทางในการนัดพบ แลกเปลี่ยนบทสนทนา และใช้เวลาผ่อนคลายมากที่สุด นั่นเป็นเพราะย่านนี้เป็นที่ตั้งของสยามและศูนย์การค้าที่อุดมไปด้วยร้านรวงมากมาย แต่ขณะเดียวกันท่ามกลางบรรยากาศที่อบอวลไปด้วยวิถีชีวิตแบบร่วมสมัยและความวุ่นวายใจกลางเมือง ยังมีพิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน อาคารทรงเรือนไทยที่รายล้อมไปด้วยสวนเขียวขจีซ่อนตัวอยู่ในซอยเกษมสันต์ 2 ซึ่งนอกจากประวัติศาสตร์และของสะสมเก่าแก่ของจิม ทอมป์สัน ผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมผ้าไหมไทยแล้ว ที่นี่ยังติดท็อป 2 ในบรรดาสถานที่ที่นักท่องเที่ยวต่างชาติมาเที่ยวมากที่สุดรองจากวัดพระแก้วด้วย ถึงจะเป็นสถานที่ที่มีความน่าสนใจ แต่ด้วยองค์ประกอบทั้งหลายนี้ย่อมสร้างภาพจำให้คนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยคิดว่าตัวเองไม่เหมาะกับที่นี่ ขนาดเราที่อาศัยอยู่ย่านนี้มานานหลายปีก็ไม่เคยคิดมาเยือน เพราะมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว จนเมื่อช่วงปลายปี 2021 ที่ผ่านมา ได้มีการเปิดตัวหอศิลป์ Jim Thompson Art Center (JTAC) ขึ้นในบริเวณใกล้เคียงพิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน เป็นตึกสูง 4 ชั้นบนพื้นที่กว่า 3,000 ตารางเมตร มีพื้นที่ใช้สอยครบครันตั้งแต่ลานจอดรถ คาเฟ่ ห้องสมุด อาร์ตช็อป แกลเลอรี ไปจนถึงพื้นที่จัดกิจกรรม เพื่อตอบโจทย์ในการเป็นแหล่งความรู้และจุดพบปะของผู้คนที่สนใจศิลปะ ทำเอาเราต้องติดต่อขอพูดคุยถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่กับผู้อำนวยการหอศิลป์ ‘เจี๊ยบ-กฤติยา กาวีวงศ์’ ภายในหอศิลป์มีอะไรบ้าง ความตั้งใจและหมุดหมายของการขยับขยายเขตแดนทางศิลปะร่วมสมัยครั้งนี้คืออะไร เรามาทัวร์พื้นที่ทางศิลปะแห่งใหม่ในกรุงเทพฯ ไปพร้อมๆ กัน เพิ่มโอกาสด้วยการสร้างพื้นที่แห่งใหม่ ก่อนทัวร์หอศิลป์ Jim Thompson […]
ส่องทางม้าลายในกรุงเทพฯ l Urban Eyes
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าคนไทยประสบอุบัติเหตุจากการเดินบนท้องถนนถึง 2,500-2,900 รายต่อปี กว่า 1 ใน 3 เป็นพื้นที่ กทม. เฉลี่ย 900 รายต่อปี ตัวเลขดังกล่าวมาจากการบันทึกไว้เป็นสถิติยังมีอีกหลายปัญหาที่อยู่นอกเหนือจากสถิติ ทั้งภาพที่เราเห็นกันบ่อยครั้ง เช่นเวลาจะข้ามทางม้าลายแต่กลับต้องหลบให้รถที่มาเร็วไปก่อน หรือทางม้าลายตรงทางแยกที่เต็มไปด้วยรถจอดทับ หรือแม้แต่ข่าวน่าเศร้าที่เราต่างรู้กันดี Urban Eyes ในตอนนี้เราจึงอยากจะถ่ายทอดภาพที่เราเห็นเหล่านั้นออกมา เพื่อสะท้อนปัญหาที่เราทุกคน ผู้ใช้เท้าย่างเดินบนท้องถนนกำลังเผชิญ #UrbanCreature #UrbanEye #ทางม้าลาย #กรุงเทพ
‘พังก์ปาตานี’ 15 ปีแห่งวัฒนธรรมพังก์ร็อกกระแทกใจวัยรุ่น 3 จังหวัดชายแดนใต้
ดนตรีอาจเป็นสิ่งต้องห้ามในศาสนาอิสลาม ทว่าช่วงหนึ่งดนตรีและวัฒนธรรมพังก์กลับเคยรุ่งเรืองอย่างมากในดินแดนที่เรียกว่า ‘ปาตานี’ ‘ปาตานี’ ในภาษามลายู เป็นชื่อเรียกพื้นที่ครอบคลุมตั้งแต่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และบางส่วนในจังหวัดสงขลา ทั้งสี่จังหวัดอยู่ติดกันบริเวณชายแดนสุดปลายด้ามขวานของประเทศไทย ส่วน ‘พังก์’ คือ Pop Culture ที่ได้รับความนิยมมากในหมู่คนหนุ่มสาวทั่วโลก โดยเฉพาะความเฟื่องฟูช่วงปลายทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา บทเพลงเหล่านี้สอดแทรกนัยความขบถ การต่อต้านเชิงอำนาจที่แสดงผ่านพฤติกรรม การแต่งตัว การแต่งหน้า การทำผม การสักลาย และแน่นอน พังก์คือหนึ่งในแนวดนตรีร็อก มีจังหวะดิบๆ และเดือดดาล ส่งเสียงการขับร้องและการเล่นดนตรีอย่างเมามันเป็นเอกลักษณ์ ใช่ เรากำลังพูดถึง ‘พังก์ปาตานี’ วัฒนธรรมที่เคยผลิบานสุดๆ ในสามจังหวัดชายแดนใต้ ระหว่างราวปี 1995 จนกระทั่งถึงช่วงราวปี 2010 รวมระยะเวลากว่า 15 ปี ที่วัฒนธรรมได้โลดแล่นสร้างสีสันให้วัยรุ่นในพื้นที่ได้ปลดปล่อยความขบถของพวกเขาออกมาอย่างเต็มที่ ถ้าสมัยก่อนมีสื่อโซเชียลออนไลน์อย่างในปัจจุบัน เราคงได้เห็นภาพความสนุกสนานวาดลวดลายอย่างทั่วถึง แต่ด้วยยุคสมัย ภาพของชาวพังก์ปาตานีจึงหลงเหลือเพียงเศษเสี้ยวกระจัดกระจาย บ้างบนภาพถ่ายฟิล์ม บ้างในคลิปวิดีโอจากกล้อง Handycam และส่วนสำคัญคือความทรงจำในเนื้อตัวของชาวพังก์ร่วมสมัยที่เติบใหญ่จนมีอายุกลาง 30 ถึงปลาย 40 กว่าๆ […]
คนไทยเสียเงินตรวจ ATK เกือบ 7 พันบาทต่อปี ราคาที่ต้องจ่ายเองเพื่อตอบว่า ‘กูติด (โควิด) ยัง?’
2 ปีแล้วที่ประเทศไทยอยู่ภายใต้การระบาดของโควิด-19 แม้มีการฉีดวัคซีนไปหลายพื้นที่ แต่ใช่ว่าสถานการณ์ในปัจจุบันจะดีขึ้นมากนัก เพราะเชื้อไวรัสพัฒนาสายพันธุ์เรื่อยๆ และจำนวนผู้ติดเชื้อก็ยังคงสูงอยู่ แม้สายพันธุ์ล่าสุดอย่าง ‘โอไมครอน’ มีอาการไม่รุนแรงเท่าเดิมแต่คนก็ติดเชื้อง่ายขึ้นมาก ถึงสถานการณ์หนักหนาสาหัส แต่ทั้งผู้ประกอบการ คนค้าขาย และคนทำงานก็ไม่สามารถล็อกดาวน์หรือปิดร้าน โดยที่ไม่ได้รับการเยียวยาจากรัฐได้อีกแล้ว นั่นทำให้ประชาชนต้องหาหลักยืนยันความมั่นใจให้ตัวเอง ครอบครัว และเพื่อนร่วมงานรอบตัวว่า เรายังไม่ติดโควิด-19 จึงไม่แปลกที่ช่วงนี้เราจะเห็นคนโพสต์ภาพชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) กันเยอะเป็นพิเศษ แต่ใครจะรู้บ้างว่าเบื้องหลังราคาของการยืนยันความปลอดภัยนั้นมีมูลค่าเท่าไหร่ แน่นอนว่าบางบริษัทอาจจัดเตรียมชุดตรวจ ATK ให้พนักงานใช้ แต่บางบริษัทไม่เป็นแบบนั้น ยังไม่นับบางคนที่กังวลถึงความน่าเชื่อถือของผลตรวจ ทำให้ต้องซื้อชุดตรวจ ATK มาตรวจซ้ำเอง รวมราคาแล้วไม่น้อยเลยเมื่อเทียบกับค่าแรงที่ได้ ตามปกติแล้วถ้ายึดตามระยะเวลา การตรวจ ATK จะมีรอบการตรวจที่ 3 – 5 วันต่อหนึ่งเทสต์ ถ้านับเป็นเลขกลมๆ เข้าใจง่ายเท่ากับว่าเราจะใช้ชุดตรวจ ATK 1 ชุดต่อ 1 สัปดาห์ ถ้าขยับมานับเป็นระยะเวลา 1 เดือน เราต้องใช้ชุดตรวจ ATK 4 […]
@เปิ้น Don Moo Din จากงานอดิเรกสู่อาชีพนักปั้นเซรามิก I Somebody Ordinary | EP.6
เมื่อเส้นทางชีวิตแรกเริ่มไม่ได้บันดาลให้สาวคนนี้เป็นนักปั้นเซรามิก แต่ด้วยใจรัก สุดท้ายเธอได้มาเป็นนักปั้นเซรามิกอย่างที่ใจหวังในถิ่นบ้านเกิดของตัวเอง นี่คือเรื่องราวของ เปิ้น Don Moo Din นักปั้นเซรามิกที่บอกเล่าเรื่องราว วัฒนธรรม ลงบนจาน ชาม แก้วน้ำ และสารพัดเครื่องปั้นที่เธอทำ บวกกับเก๋ไก๋ในดีไซน์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ อย่างแก้วที่หูพับเป็นทรงยับๆ ที่ไม่ว่าคุณจะถนัดซ้ายหรือขวาก็จับได้ถนัดมือ แต่เดี๋ยวก่อน ถ้าคุณอยากได้เพิ่มต้องขอแสดงความเสียใจด้วย เพราะวัตถุดิบที่นำมาผลิตแต่ละครั้งมีลักษณะเฉพาะที่ทำให้เสน่ห์ของชิ้นงานเซรามิกที่ปั้นมีความแตกต่างกัน เหมือนที่พี่เปิ้นบอกเราว่า “ทุกอย่างเราไปบังคับอะไรไม่ได้หรอก ทุกคนมีตัวตน และคุณสามารถเลือกได้นะ” การพูดคุยกับเธอจะดี จะสุด จะมัน ขนาดไหน มาดูกัน! #UrbanCreature #ReinventTheWayWeLive #SomebodyOrdinary #DonMooDin #เซรามิก #เครื่องปั้นดินเผา
เมื่อกรุงเทพฯ มีรถเมล์ไฟฟ้าวิ่งครั้งแรก สิ่งนี้จะทำให้ชีวิตคนเมืองดีขึ้นได้ยังไง?
“เมื่อไหร่กรุงเทพฯ จะมีรถเมล์ใหม่สักที” คือคำถามยอดฮิตของคนกรุงตลอดหลายปีที่ผ่านมา และในเวลาเดียวกันก็มีข่าวคราวจากเพื่อนบ้านอาเซียนที่เปิดตัวรถเมล์ใหม่เรื่อยๆ ทั้ง พนมเปญ ย่างกุ้ง สิงคโปร์ ปีนัง หรือฮานอย เห็นรถเมล์ใหม่ๆ ของเหล่าเพื่อนบ้านก็อย่าเพิ่งน้อยใจไป เพราะกรุงเทพฯ ก็มีรถเมล์ใหม่แกะกล่องอย่าง ‘รถเมล์ไฟฟ้า’ กับเขาเหมือนกัน โดยเจ้ารถเมล์ไฟฟ้าได้เริ่มออกวิ่งตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 ในนาม ‘ไทยสมายล์บัส’ บริษัทเอกชนเจ้าใหม่แห่งวงการขนส่งสาธารณะไทย (ชื่อฟังดูคุ้นเหมือนสายการบิน แต่ไม่เกี่ยวอะไรกับไทยสมายล์แอร์เวย์) รถเมล์ไฟฟ้ามาใหม่ดียังไงบ้าง? 1. ทางขึ้นที่สะดวกยิ่งขึ้น นอกจากประตูที่ไม่มีบันไดสูงอีกต่อไป นี่คือรถเมล์ที่ทำให้คนทุกวัยขึ้นลงรถได้สะดวก สิ่งแรกที่อาจต้องรู้ก่อนขึ้นรถเมล์ไฟฟ้าคันนี้ก็คือ กติกาที่รณรงค์ให้ผู้ใช้งาน ‘ขึ้นรถประตูหน้า-ลงรถประตูหลัง’ ถือเป็นการเปลี่ยนประสบการณ์ผู้ใช้งานรถเมล์กรุงเทพฯ ให้เป็นระบบเดียวกับรถเมล์หลายๆ เมืองในต่างประเทศ ส่วนใครที่เคยใช้งานรถเมล์ ปอ.พ. ของ Metro Bus ช่วงปี 2550 – 2557 ก็น่าจะคุ้นกับระบบนี้มาบ้างแล้ว รถเมล์ไฟฟ้าของไทยสมายล์เลือกใช้วิธีการติดตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิ (Hand temperature scanner) ไว้ข้างห้องคนขับ เมื่อก้าวขึ้นรถไป ทุกคนต้องสแกนวัดอุณหภูมิก่อนเป็นอันดับแรก ไม่แน่ใจว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ใช้งานรถสาธารณะท่ามกลางวิกฤต COVID-19 หรือเป็นกุศโลบายให้ต้องขึ้นประตูหน้า-ลงประตูหลังไปในตัว แต่อย่างไรก็ตามถือเป็นการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ดีทีเดียว […]
‘คุก’ พื้นที่ไร้สิทธิที่ไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของเมืองในมุมมอง ‘รุ้ง ปนัสยา’
รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล แกนนำนักศึกษาหญิงจากแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ ถูกจองจำในเรือนจำมาแล้ว 3 ครั้ง ส่วนอีก 1 ครั้งหลังคือ การใส่กำไล EM จำกัดพื้นที่ในเคหสถาน ถ้าย้อนกลับไปเกือบสามปีก่อน เราคงจินตนาการไม่ออกเลยว่าการเรียกร้องประชาธิปไตยจะมาไกลและมีการพูดถึงปัญหาตรงไปตรงมาอย่างในตอนนี้ แต่การกล้าตั้งคำถาม การเสนอแนวทางให้สถาบันปรับตัว และการขับไล่เผด็จการ ก็ต้องแลกมาด้วยพันธนาการผู้เรียกร้องครั้งแล้วครั้งเล่า จากการติดตามข่าวคราวของรุ้งและแกนนำคนอื่นๆ ช่วงที่อยู่ในเรือนจำ เราสังเกตเห็นว่าข่าวเหล่านี้ถูกเล่าในวงจำกัด มีการนำเสนอเฉพาะกลุ่มบนโซเชียลมีเดีย จากบุคคลหรือสำนักข่าวเจ้าเดิมๆ ส่วนสื่อกระแสหลัก หรือสื่ออนุรักษนิยม เราไม่เคยได้รับข้อมูลที่ตีแผ่ความเป็นจริงส่วนนี้เลย ช่วงเกือบสิ้นปีที่แล้ว ก่อนรุ้งเข้าเรือนจำเป็นครั้งที่สาม เราถามเธอ จากข้อสังเกตส่วนตัวว่า คิดยังไงที่ ‘ทัณฑสถาน’ หรือ ‘คุก’ เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเมืองที่แทบไม่เคยถูกพูดถึง และแน่นอน มันเป็นพื้นที่ลับแลที่คนส่วนหนึ่งไม่แยแสว่ามีปัญหามากมายสะสม นั่นหมายถึงคุณภาพชีวิตต่ำเตี้ยเรี่ยดินของผู้ต้องขังที่ไม่เคยถูกยกระดับ และกระบวนการยุติธรรมบิดเบี้ยวที่ไม่เคยได้รับการแก้ไข คุก : พื้นที่ห่างไกลเมืองและศิวิไลซ์ “คุก ส่วนใหญ่อยู่ไกลจากพื้นที่ชุมชน โดยเฉพาะคุกที่เกิดขึ้นใหม่ หรือคุกในต่างจังหวัด เพื่อให้ตั้งอยู่ไกลจากเมือง และเพื่อให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่ เขาคงไม่อยากให้คุกอยู่ในชุมชน แต่ถ้าคุกอยู่ไกลชุมชนมากๆ ก็จะทำให้ผู้ต้องขังลำบากมาก เพราะทนายความและญาติไปเยี่ยมได้ยาก สิ่งนี้สำคัญต่อผู้ต้องขังมาก ถ้าขาดตัวกลางนี้ไปก็แปลว่าคนข้างในจะไม่ได้รู้เรื่องข้างนอกเลย “มันจะทำให้คนข้างในมีความเครียดสูงขึ้นมากๆ […]